-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แมลงกินยอดอ่อนลำไย ทำอย่างไรดี ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงกินยอดอ่อนลำไย ทำอย่างไรดี ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงกินยอดอ่อนลำไย ทำอย่างไรดี ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Rin
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/10/2010
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 03/10/2010 5:32 pm    ชื่อกระทู้: แมลงกินยอดอ่อนลำไย ทำอย่างไรดี ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนถามคุณลุงคิมและทุกท่าน

รายงานตัวค่ะ เป็นชาวสวนสมัครเล่น ซื้อที่แต่ได้ต้นลำไยอายุประมาณ 20 ปีมา 200 ต้น (สวนร้างมาประมาณ 10 ปี) ก็เลยจะลองทำให้มันออกดอกออกผลค่ะ แผ้วถาง ตัดกิ่ง

จนเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนลำไยเริ่มแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 มีหนอน + แมลง เล็กน้อย(คิดเอาเอง) เนื่องจากไม่ต้องการใช้ยาฆ่าแมลง จึงใช้จุลินทรีย์ผสมสมุนไพรไล่แมลงมาพ่น

ผ่านไป 1 สัปดาห์ กลับไปดูสวน พบว่าใบอ่อนแตกออกมามากแต่เหลือส่วนใบประมาณ 50% นอกนั้นเหลือแต่ก้าน จะพ่นยาวันนั้นก็ไม่ทัน

วันรุ่งขึ้นไปพ่นยาฆ่าแมลงพบว่า ผ่านไป 1 คืนใบอ่อนเหลือประมาณ 30% หลังพ่นยามีหนอนบนพื้นแทบทุกตารางนิ้ว

วันนี้ (3 ต.ค.53) หลังจากพ่นยาฆ่าแมลง 1 สัปดาห์ มีใบอ่อนแตก (ต่อยอด) ออกมาเล็กน้อย และส่วนใหญ่เห็นยอดใบเล็กๆ ยาวประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวขี้ม้า ส่งสัยว่ามันจะเจริญเป็นใบสมบูรณ์ต่อไปหรือไม่ และกรณีนี้จะทำอย่างไรถึงจะมีใบลำไยเพียงพอที่จะได้ผลผลิตคะ

ขอบคุณค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/10/2010 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคยพูดมานานนับ 10 ปี ทั้งในรายการวิทยุ. รายการสีสันสันจร (ตะลอนตระเวนไปสอนถึงถิ่น). เขียนในหนังสือ. ว่า...

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา ถ้ามาจะเอาไม่ทัน
- ในโลกนี้ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรตัวใดสามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายแล้วดีคืนเหมือนเดิมได้
- ใบอ่อนที่ออกมาแล้ว ถ้าถูกทำลายไปต้องเสียเวลาเรียกใหม่ ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- ปลูกลำไยหรือพืชใดก็ตาม ต้องรู้ล่วงหน้าว่า อะไรคือศัตรูพืช แล้วป้องกันล่วงหน้า
- มาตรการกันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ได้ ถือว่าเป็น "คติเตือนใจ" ได้ดีที่สุด
- สารสมุนไพร ผสม หรือใช้รวมกับสารเคมีได้ (ในเว้บนี้มีเทคนิคการใช้ "สารสมุนไพร + สารเคมี" ว่าด้วยวิธี ลด-ละ-เลิก สารเคมี ย้อนไปดูกระทู้เก่าๆก็จะเข้าใจและรู้ว่าตัวเอง "พลาด" ตรงไหน



ทำเกษตรวันนี้ "อย่า...อินทรีย์ตกขอบ - อย่า...เคมีบ้าเลือด" ในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์

..... อินทรีย์ใช้ไม่เป็น........................ก็ไม่ได้ผล
..... เคมีใช้ไม่เป็น............................ก็สูญเปล่า

แม้ว่าเรื่องเกษตรจะไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว....ไม่รู้ต้องเรียน เรียนให้รู้....ทำลำไย รู้ลำไย เพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล

ลำพังหนอนผิวบางๆ ภูมิต้านทานในร่างกายจะซักเท่าไหร่เชียว เพราะฉนั้นสารเคมีตัวไหนก็ได้ ขนาดคนยังตายแล้วหนอนจะรอดได้ยังไง ว่าแต่ยาฆ่าแมลงที่ใช้แน่ใจหรือว่า "ผสมถูกต้อง" หลักการเคมี "กรด+ด่าง = เกลือ+น้ำ" ตรวจสอบหรือเปล่า

ทำไมจ้องกำจัดแต่หนอน ถ้า (IF) กำจัดไข่แม่ผีเสื้อ แล้วจะเกิดหนอนไหม ? ถ้าหลอกแม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้ แล้วจะเกิดหนอนไหม ? .... นี่คือแนวคิดในการวางแผนสู้รบกับหนอน....ตัดลมต้นไฟ ย่อมดีกว่านะ

ที่ตอบอย่างนี้ ไม่ใช้ยียวนกวนประสาท วิเคราะห์แล้วรู้ว่า คุณมีพื้นฐานเรื่องลำไยน้อยมาก




ให้ข้อมูลได้ละเอียดดีมาก ทุกอย่างเห็นภาพ แต่คำตอบมีเพียงคำเดียวว่า "เสียใจ" เพราะทุกอย่างสายเกินแก้ไปแล้ว

จุลินทรีย์ กับ สมุนไพร น่ะรวมกันไม่ได้นะ เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต เจอสารออกฤทธิ์ในสมุนไพร จุลินทรีย์ก็ตาย สองอย่างนี้ต้องแยกกันใช้ จึงจะได้ผล

พืชสมุนไพรแต่ละตัวมีสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติต่างกัน การใช้สารสกัดสมุนไพรต้องเลือกสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช (หนอน-แมลง-โรค) นอกจากนี้วิธีการสกัดให้ได้สารออกฤทธิ์แรงที่สุด เทคนิคการใช้ ช่วงเวลาในการใช้ ล้วนแต่มีผลทำให้ "ได้ผล หรือ ล้มเหลว" ทั้งสิ้น

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 04/10/2010 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณทำสวนลำไยที่ไหนหรือครับ? ผมอยู่สอยดาวพอมีประสบการณ์เรื่องพวกนี้อยู่บ้าง (ทั้งประสบการณ์ตรงและเว็ปลุงคิม) ปีนี้ของผม 200 กว่าต้นราดสารออกดอกน่าจะเรียกได้ว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็น ช่วงนี้ดอกกำลังใกล้จะบานแล้ว ยินดีให้คำปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ ไม่มีเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ

ผมเป็นสมาชิกที่นี่มาระยะหนึ่ง ดีครับ ได้รับคำแนะนำและความรู้ที่เป็นประโยชน์จากลุงคิมและเพื่อนพ้องน้องพี่สมาชิกเรียกได้ว่ามหาศาล

ยินดีต้อนรับสู่ชมรมคนเหงื่อหยดครับผม(อันนี้เลียนแบบคุณยุทธ ไม่รู้ไปไหนไม่เห็นออกมาต้อนรับสมาชิกใหม่)

หมึกครับผม Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Rin
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/10/2010
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 04/10/2010 6:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณคุณลุงมากค่ะ

ความรู้น้อยมากจริงๆ ค่ะ ศึกษาจนสมองบวมแต่พอจะทำ...ทำไงดีว้า....

ตอนพ่นยาฆ่าหนอน ก็เลือกสูตรที่ฆ่าแมลงได้ด้วย และผสมสูตรกำจัดไข่ไปด้วย(ในใจก็คิดว่าจะใช้ยาเกินจำเป็นหรือเปล่า ..... จะบาปไหมนะ)

ส่วนเรื่องความเป็นกรด-ด่าง(เกลือ+น้ำ)ไม่ทราบค่ะ ใช้น้ำบาดาลดูดจากความลึก 85 เมตรพื้นที่ อ.แม่แตง เชียงใหม่ ต้องเอาน้ำไปตรวจความเป็นกรดด่งไหมคะ แต่ผสมยาตามฉลากค่ะ

คงต้องนั่งอ่านกระทู้และข้อมูลจนตาลายเนื่องจากมือใหม่ (ใจร้อน) จริง ๆ ค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 04/10/2010 2:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีคุณ Rin ค่ะ

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะ

ความเป็น "กรด-ด่าง" ของน้ำ ทดสอบง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง ด้วยกระดาษลิตมัส ดูรูปหน้าตาเจ้ากระดาษลิตมัส ในหน้าแรกของเว็ป ลำดับภาพที่ 27 ค่ะ คลิกไล่ภาพไปเรื่อย ๆ

หาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์ (จำได้มั้ยค่ะ เคยใช้ตอนเรียนประถม-มัธยมไง) ไม่แพงด้วย

นำแผ่นกระดาษลิตมัส 1 แผ่น จุ่มลงไปในน้ำที่ต้องการตรวจสอบ แล้วนำมาเทียบสีที่กล่อง ใกล้เคียงสีใดที่สุด อ่านค่าที่เทียบได้ ก็จะทราบว่าเป็น "กรด-ด่าง" เท่าไหร่เหมาะสมพร้อมใช้หรือยัง

kimzagass บันทึก:
มาตรการกันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ได้ ถือว่าเป็น "คติเตือนใจ" ได้ดีที่สุด


การป้องกันไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืชหรือโรคพืช ต้องกันก่อนแก้ คือ ฉีดพ่นป้องกันไว้ก่อนเลย ทุก 3-5 วัน เห็นไม่เห็น มาไม่มา ก็ต้องฉีดไว้ก่อน

มาแล้วเป็นแล้ว..ก็สายเสียแล้ว เสียไปแล้วเรียกกลับมาให้เป็นอย่างเดิมไม่ได้ ต้องเริ่มใหม่...จริง ๆ นะ โดนมาแล้วววว.... Razz

นกขุนทอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โดยเฉพาะช่วง "วิกฤต" ที่ต้องระวังสุดชีวิต เพราะถ้าพลาดไปแล้วต้องกลับไปเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ใหม่ ทำให้เสียเวลา เผลอปีการผลิตปีนั้นหลุดไปเลย โน่นแหละ ๆ ไปเริ่มต้นเอาใหม่ปีการผลิตหน้า

ช่วงวิกฤตของลำไย (ไม้ผลอื่นๆ ก็เหมือนกัน) ได้แก่....

- ใบอ่อน
- ดอกตูม
- ผลเล็ก

เพราะฉนั้น "กันก่อนแก้" เป็นดีที่สุด


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Rin
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/10/2010
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 04/10/2010 5:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะคุณ catcaty สวนอยู่เชียงใหม่ ทำลำไยในฤดู ยังไม่กล้าทำนอกฤดูค่ะ(ฮะฮ่า...ในฤดูยังทำท่าจะไม่รอดเลยค๊า..)

คุณ nokkhuntong ขอบคุณนะคะ

คุณลุงคิมคะ ว่าแต่รู้เรื่องความเป็นกรดด่างของน้ำแล้วทำอย่างไรต่อคะ Embarassed (อิ..อิ..ขอ short cut ยังไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลค๊า...)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักวิชาเคมีเบื้องต้น หลักสูตร ป.6 (เรียน ป.ปริญญา แล้วลืม ป.ประถม) บอกว่า "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ปฏิกิริยา "เกลือ + น้ำ" นี้ ภาษาวิชาเคมีบอกว่าเป็น "กลาง" แต่ภาษาบ้านลุงคิมบอกว่า "เสื่อม"

- น้ำที่จะใช้มีทั้งสถานะเป็นกรด และเป็นด่าง
- ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี มีทั้งสถานะเป็นกรด และเป็นด่าง

ถ้าต้องการรู้ว่าอะไรเป็นกรด หรือด่าง ต้องวัดด้วย พีเอช มิเตอร์ หรือกระดาษลิสมัส เท่านั้น

- น้ำที่เป็น "ด่าง" ผสมกับ "ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี" ที่เป็น "ด่าง" ก็คือ "ด่าง + ด่าง = ด่าง" นั่นคือ ไม่เสื่อม แต่ใช้กับพืชไม่ได้
- น้ำที่เป็น "ด่าง" ผสมกับ "ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี" ที่เป็น "กรด" ก็คือ "ด่าง + กรด = เกลือ + น้ำ" นั่นคือ ใช้ไม่ได้ หรือ เสื่อม
- น้ำที่เป็น "กรด" ผสมกับ "ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี" ที่เป็น "กรด" ก็คื่อ "กรด + กรด = กรด" นั่นคือ ไม่เสื่อม และใช้กับพืชได้

.... โดยทั่วๆ ไป ธรรมชาติของน้ำมักเป็นด่างอยู่แล้ว เพียงแต่จะมีค่าเป็นด่างเท่าไหร่ เท่านั้น
.... โดยทั่วๆ ไป ธรรมชาติของ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี มักเป็นกรดอยู่แล้ว เพียงแต่จะมีค่าเป็นกรดเท่าไหร่ เท่านั้น

ธรรมชาติของพืชชอบความเป็นกรดอ่อนๆ ทั้งทางใบและทางราก เมื่อรู้ว่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี เป็นกรด แต่น้ำที่ใช้ผสมเป็นด่าง และพืชชอบกรดอ่อนๆ ด้วย จึงจำเป็นต้องปรับค่า กรด-ด่าง ของน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ ก่อนผสมกัน

ต้องการปรับให้น้ำเป็นกรด ก็คือ เติม "กรด" ลงไป กรดที่ดีที่สุด เมาะสมที่สุด ประหยัดที่สุด และเป็นกรดอินทรีย์ ก็คือ "น้ำส้มสายชู" นั่นเอง

การปฏิบัติ :
ผสม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ที่เป็นกรด :

- ขั้นตอนที่ 1. ใช้ "น้ำสายชู ชนิด 5% อัตรา 1-1.5 ซีซี./น้ำที่ใช้ 1 ล." จะได้ค่า กรด-ด่าง ประมาณ 5.5-6.0 ถือว่า O.K.
- ขั้นตอนที่ 2. เติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ลงไปตามต้องการ คนเคล้าให้เข้ากันดี

ผสม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ที่เป็นด่าง :
- เติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ลงไปได้เลย แล้วคนเคล้าให้เข้ากันดี

ผสม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ที่เป็นกรดและด่างพร้อมกัน :

ขั้นตอนที่ 1 เติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ที่เป็นด่างก่อน คนเคล้าให้เข้ากันดี
ขั้นตอนที่ 2 เติมน้ำส้มสายชูชนิด 5% อัตรา 2-3 ซีซี./น้ำ 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี
ขั้นตอนที่ 3 เติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารเคมี ที่เป็นกรดตามต้องการ คนเคล้าให้เข้ากันดี

หมายเหตุ :
ตามหลักวิชาการจริงๆ แนะนำให้ใช้ BUFFER ปรับให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคยตั้งข้อสังเกตุไหม.....

1.... ทำไมสารเคมีกำจัดหนอน ฉีดพ่นแล้วหนอนไม่ตาย ทั้งๆที่ลำตัวของหนอนแสนจะบอบบาง เพิ่งเกิดออกมาจากไข่ เปรียบเสมือนเด็ก ที่ภูมิต้านทานยังไม่มี แต่สามารถสู้กับฤทธิ์ของสารเคมีได้ (ขนาดคนกินยังตาย....ไม่เชื่อลองดู) คำตอบก็คือ สารเคมีที่ใช้ "เสื่อม" ในขั้นตอนผสม น่ะซี..... เกษตรกรแก้ปัญหาโดยการใส่ "เพิ่ม + แถม" ให้มากกว่าอัตราใช้ที่ระบุบนฉลาก 2-3-4 เท่า

2.... ทำไมยาฆ่าหญ้า ใช้ตามอัตราฉลากข้างขวด ฉีดพ่นแล้วหญ้าไม่ตาย คำตอบก็คือ ยาฆ่าหญ้าที่ใช้ "เสื่อม" ในขั้นตอนน่ะซี..... กรณียาฆ่าหญ้าใช้แล้วไม่ได้ผล เกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการ "เพิ่ม+ แถม" จากอัตราใช้ตามฉลากระบุให้ใช้ 50 ซีซี.(สมมุติ)/น้ำ 20 ล. เติม "เพิ่ม + แถม" เป็น 200-250 ซีซี./น้ำ 20 ล. จึงได้ผล คือ หญ้าตาย

ทั้ง 2 กรณีสมมุตินี้ การ "เพิ่ม + แถม" แล้วได้ผล เพราะตัวสารเคมีที่ใส่ครั้งแรกเป็นตัวปรับน้ำให้เป็นกรดก่อน ครั้นใส่ครั้งสุดท้ายจึงได้ผล ไงล่ะ

การใช้สารเคมีหรือใช้ตัวมันเองเป็นตัวปรับน้ำ กับ ใช้น้ำส้มสายชูปรับน้ำ อย่างไหนจ่ายแพงกว่ากัน


ปุจฉา วิสัชนา :
- ทำไมคนขายสารเคมีจึงไม่แนะนำไห้เกษตรกรปรับน้ำก่อน คำตอบคือ ต้องการให้ใช้ครั้งละมากๆ เมื่อใช้หมดแล้วจะได้มาซื้อใหม่ ไงล่ะ

- ทำไมเกษตรกรจึงไม่ถามคนขาย คำตอบคือ ไม่รู้ ไม่มีความรู้ แล้วถ้าถามต่ออีกว่า ทำไมไม่รู้ ไม่มีความรู้ คำตอบก็คือ ไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่า ความรู้- วิชาการ ไม่สังเกตุ ไม่เฉลียวใจ ไงล่ะ


แล้วคุณล่ะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 7:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Rin บันทึก:
ขอบคุณคุณลุงมากค่ะ

ความรู้น้อยมากจริงๆ ค่ะ ศึกษาจนสมองบวมแต่พอจะทำ...ทำไงดีว้า....
คงต้องนั่งอ่านกระทู้และข้อมูลจนตาลายเนื่องจากมือใหม่ (ใจร้อน) จริง ๆ ค่ะ



เกษตรน่ะ เรียนยากแต่ทำง่าย.....LEARNING BY DOING เดี๋ยวก็เป็นเอง เผลอๆ เก่งกว่าครูด้วย


ดูอย่างนกขุนทองซี่ เมื่อก่อนร้อง ชิ้ว ชิ้ว แต่เดี๋ยวนี้ร้อง วู้ วู้ แล้ว...
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=98

ต้นลำไยอายุ 20 ปี ติดผลดกที่สุดตั้งแต่ปลูกลำไยมา น้ำหนักผลในแต่ละช่อไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัมเป็นสวนลำไยของ คุณสุรชัย กิตติกรวัฒนา หมู่ 2 บ้านหนองสมณะ ต.นครเจดีย์ อ.ป่างชาง จ.ลำพูน ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ เบี้ยวเขียว และสีชมพู่ แต่มีพันธุ์อีดอมากที่สุด ปัจจุบัน ต้นที่มีอายุ 20 ปี มีจำนวน 104 ต้น อายุ 7 ปี จำนวน 30 ต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------



เห็นบอกว่าลำไยที่สวนอายุ 20 ปี เลยนึกถึง "พ่อเลี้ยงสุรชัย กิตติกรวัฒนา" ตามข่าวที่ตัดมาเพียงส่วนหนึ่ง ที่นั่นเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว มีประสบการณ์ตรงที่อยากเล่าให้ฟัง คือว่า....

ลำไยต้นอยู่ติดบ้าน อายุต้นกว่า 20 ปี สูงเท่าสันจั่วบ้าน 2 ชั้น เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 15-20 ม.

พ่อเลี้ยงตัดสินใจติดสปริงเกอร์ให้กับทุกต้นทั้งสวน เฉพาะต้นนี้ต้นเดียว ติดสปริงเกอร์ เหนือทรงพุ่ม 4 หัว, ในทรงพุ่ม 6 หัว ที่พื้นโคนต้นเขตทรงพุ่ม 6 หัว เปิดน้ำแต่ละทีอลังการ์มากกกกก

ปีนั้นเป้าหมายทำลำไยนอกฤดู กะเก็งให้ออกดอกเดือน ส.ค. แล้วเก็บเกี่ยวได้ช่วง ก.พ. ซึ่งตรงกับสารทจีนพอดี แนวทางใช้แบบ "บังคับด้วยการบำรุงต้น" แทนการ "บังคับด้วยการทรมาณต้น"

สวนนี้ "ไม่ได้ราดสารโปแตสเซียม คอเรต" สภาพต้นสนบูรณ์มาก ขนาดใบใหญ่เท่าๆกับใบมะม่วง ต่างกับสวนข้างเคียงที่บังคับแบบทรมาณต้นด้วยการราดสาร ขนาดใบเล็กเท่าปกติของลำไย

เดือน พ.ค.- มิ.ย. มีฝนตก ต้องบำรุงด้วยสูตร "กดใบอ่อนสู้ฝน" อย่างหนัก ถึงขนาดใบกร้าน ปลายใบไหม้ทั้งต้น ครั้นถึง ก.ค. ฝนทิ้งช่วง เปิดโอกาสให้เปิดตาดอกได้ งานนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ดอกดกมากๆ บำรุงดอกเต็มที่ก็เลยติดผลดเกมากๆ ช่วงผลเล็กบำรุงด้วยสูตร "สร้างเมล็ด" ช่วงผลกลางบำรุงด้วยสูตร "หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ" ทั้งทางใบทางราก ช่วงก่อบเก็บเกี่ยว 1 เดือน บำรุงด้วยสูตร "เร่งหวาน-เร่งสี-เร่งกลิ่น" ทุกขั้นตอน O.K.

เก็บเกี่ยวลำไยต้นนี้เพียงต้นเดียวได้ผลบนต้น 1,200 กก. ผลร่วงที่พื้น 200 กก. ไซส์ขนาด 55 ผล/กก. ราคาหน้าสวน 45 บาท/กก. คนรับซื้อต้องเฝ้าที่สวนเพราะเกรงจะขายคนอื่น ลำไยชุดนี้ส่งออกมาเลเซีย. สิงค์โปร์.

ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นผลพวงมาจากการบำรุงแบบ "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของลำไยต้นนั้น" โดยแท้

พ่อเลี้ยงสุรชัยฯ อยู่ กทม. เป็นเจ้าของโรงงานอุปกรณ์เครื่องเหล็ก ต้องนั่งเครื่องบินไปดูสวนลำไยประจำ ทำอยู่ 2-3 ปี ต้องขายสวน ไม่ใช่เพราะขาดทุน ตรงกันข้ามกลับได้กำไร แต่ที่ต้องขายสวนเพราะเจ๊งด้วยค่าเครื่องบิน


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 04/10/2010 11:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ดูอย่างนกขุนทองซี่ เมื่อก่อนร้อง ชิ้ว ชิ้ว แต่เดี๋ยวนี้ร้อง วู้ วู้ แล้ว...

ได้ครูดีจ้ะ ครูลุงคิมไงคะ
ต่อไปอาจจะร้อง...ยูเรก้า...แต่อยู่ในสวนนะคะลุง ไม่ใช่ห้องน้ำ Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/10/2010 7:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โลกโบราณว่า "ศิษย์ต้องเก่งกว่าครู" มิฉนั้นโลกก็จะไม่ก้าวหน้า ใช่ไหม ?
ครูสอนศิษย์ไปแล้ว ศิษย์ได้เป็นนายกฯ แต่ครูก็ยังเป็นครูอยู่เหมือนเดิม


โลกปัจจุบัน "ครูต้องเก่งกว่าศิษย์ 1 ก้าว" เพื่อเสริมเติมเพิ่มให้ศิษย์
ครูสอนศิษย์ไปแล้ว ศิษย์เป็นนายกฯ ครูก็เป็นประธานที่ปรึกษานายกฯ


ก้าวที่ลุงคิมต้องนำหน้าศิษย์นั้น ณ วันนี้กำลังทดสอบสูตรใหม่ คาดว่า
ใน 1 เดือน หรือหนาวนี้คงเป็นผล



ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©