-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 05/10/2010 10:58 am    ชื่อกระทู้: วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว


ขณะนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทานพื้นที่ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทั้งยังมีรายงานว่า พบการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรีด้วย อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด

นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังได้ให้ ศูนย์บริหารศัตรูพืช 9 แห่ง เร่งสำรวจปริมาณ เชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่มีอยู่ในสต๊อก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ระบาดนำไปใช้ควบคุมและป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยเน้นให้ใช้ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นฐานในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรียและเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้และแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดด้วย

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนด มาตรการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว และชีพจักรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3 ระยะ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร โดย

ระยะที่ 1
ข้าวระยะกล้า-แตกกอ หรืออายุ 0-35 วัน มักพบ การเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวอพยพเข้าแปลงนาเพื่อวางไข่

ดังนั้น เกษตรกรจึงควรสำรวจแปลงนา ถ้าพบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลควรควบคุมโดยวิธีผสมผสาน คือ ใช้สารเคมีประเภทยับยั้งการลอกคราบฉีดพ่นตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น สารบูโปเฟซิน (แอฟพลอด 10% WP หรือ 25% WP) หรือใช้ สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบ

กรณีที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง (ประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป) ให้พิจารณา ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น และระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ 4 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้านาเพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของศัตรูพืชชนิดนี้

ระยะที่ 2
ข้าวตั้งท้อง-ออกรวง (อายุ 60-90 วัน) มักพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวอ่อนรุ่นที่ 2 และตัวเต็มวัย เกษตรกรสามารถใช้วิธีควบคุมที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีการระบายน้ำออก-เข้าแปลงนาด้วย หากจำเป็นต้อง ใช้สารเคมีควรฉีดพ่นตามคำแนะนำ เช่น ไดโนทีฟูแรน (สตาร์เกิล 10% WP) สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา 25% WP) และสารอีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% EC) เป็นต้น

ระยะที่ 3
ข้าวออกรวง-เก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน) ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะสร้างปีก และตัวเต็มวัยจะอพยพออกจากแปลงนาไปตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งสามารถควบคุมโดยใช้วิธีกลและฟิสิกส์ อาทิ ใช้กับ ดักกาวเหนียวทาวัสดุ เช่น ใบตอง และถุงพลาสติก หรือใช้แสงไฟ (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ล่อให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นไฟ แล้วจับทำลายทิ้ง โดยทุกพื้นที่ควรรณรงค์ให้ดำเนินการควบคุม ป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

...นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลง.. ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาดก็อย่านิ่งนอนใจ ศัตรูพืชตัวรายนี้อาจกำลังรุกคืบเข้าใกล้แปลงนาของท่าน ดังนั้น ควรเกาะติดสถานการณ์เอาไว้และเตรียมพร้อมรับมือ ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้.



ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=95792
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/10/2010 6:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนาข้าว ชอบเข้าหาต้นข้าวประเภท "เขียว-อวบ"
ด้วยยูเรีย มากกว่าข้าวที่ "เขียวเข้ม" ด้วย 16-8-8 + Mg + Zn +
Ca + Br




หากวงจรชีวิต ขั้นตอนใดขั้นหนึ่งถูกตัดทำลาย ย่อมหมายถึงการตาย
อย่างแน่นอน...นั่นคือ มาตรการ "ป้องกัน = ดีที่สุด"



ชักไม่แน่ใจว่า เพลี้ยกระโดดที่ตายๆ เนี่ย ตายเพราะฤทธิ์สารเคมี หรือ
ตายเพราะหมดอายุขัย ข้าวไม่กี่กอมันจะมากมายอะไรปานนั้น

เพลี้ยกระโดดน่ะ อายุจริงๆมันจะซักกี่วันเชียว ถ้าในอีก 2-3 วันจะสิ้น
อายุขัย แล้วโดนน้ำเปล่าๆ ฉีดใส่มันก็ตายได้.....ว่าไหม




ปีหนึ่ง ปีไหนจำไม่ได้ (ไม่รู้จะจำไปทำไม...) เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด
อย่างหนัก (ธรรมดา) ในนาข้าวที่ จ.ขอนแก่น ตกกลางคืนบรรดาเพลี้ยกระ
โดดพากันบินเข้าไปเล่นแสงไฟในบ้านเต็มพรืด บางบ้านกวาดได้เป็นปี๊บๆ
แสดงว่าแสงไฟสามารถใช้เป็นเครื่องมือกำจัดเพลี้ยกระโดดได้ ไม่จำเป็น
ต้องรอให้มันเข้ามาเล่นไฟในบ้านหรอก ติดหลอดไฟในบ่อ ตามแหล่งน้ำ
ใกล้ๆ นาข้าวก็ได้ แต่มีข้อแม้ทุกคนต้อง "รวมกลุ่ม" ทำพร้อมๆกัน
....................... ดีไหม - ดี - แต่ทำไม่ได้ .............................






เอ้า ฉีดเถอะนะพ่อฉีด....พ่นเถอะนะ พ่อพ่น....ฉีดฉีด พ่นพ่น....

ไม่รู้เหมือนกันว่า ที่ฉีดๆ พ่นๆ น่ะ สารเคมีแท้ๆ หรือเป็นสาร "ผลาญงบ มัยซิน"
เกมนี้เล่นไม่ยาก ได้สารเคมีจริงมา 20 ล. แบ่งเป็น 2 ถัง เท่ากับถังละ 10 ลิตร
จัดการเติม "น้ำ พีเอช 3.5-4.0" ลงไปถังละ 10 ลิตร แค่นี้ก็ได้สารเคมี 20
ลิตรเหมือนเดิมแล้ว....คงไม่น่ะ ไม่มีใครเขาหากินบนหลังเกษตรกรหรอกนะ

ไม่รู้เหมือนกันว่า สารเคมีที่ผสมในถังน่ะ ปรับน้ำให้เป็น "กรดอ่อนๆ" ก่อนหรือ
เปล่า ถ้าปรับก่อนก็โชคของชาวนา ถ้าไม่ได้ปรับก็โชคของเพลี้ย



แมลงศัตรูพืชขอบเข้าหาต้นพืชที่อ่อนแอ มากกว่า เข้าหาต้นพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง
และเมื่อเข้าหาต้นพืชแล้ว ในต้นที่อ่อนแอ การแพร่ระบาดและความเสียหาย
มากกว่า ในต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง......(สารคดีดิสคัพเวอรี่)


http://www.google.co.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2017 7:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/10/2010 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บริการวิชาการ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

ปลวก ศัตรูในบ้านเรือน ศัตรูทางการเกษตร และการป้องกันกำจัดด้วยสมุนไพร


รศ.ดร.สุรพล วิเศษสรรค์ และคณะวิจัย ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ปีหนึ่งๆประเทศไทยนำเข้าสารเคมีมาใช้กำจัดปลวกและศัตรูในบ้านเรือนและทางการเกษตรจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุของอันตรายต่อผู้บริโภค สภาพแวดล้อม และพิษตกค้างในอาหารและยังเป็นปัญหาต่อเนื่องกับเศรษฐกิจของประเทศ เราทราบหรือไม่ว่าสารเคมีต่างๆเหล่านั้นส่วนหนึ่งมีอยู่แล้วในพืชสมุนไพรบ้านเราพืชก็เหมือนสัตว์โดยทั่วไป เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ต้องมีการต่อสู้ กับการรบกวนจากสิ่งที่มีชีวิตอื่น เช่นแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันนับร้อยล้านปี และถือเป็น animal plant interaction ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ส่วนหนึ่งของการป้องกันตัวเองของพืชคือการสร้างสารธรรมชาติที่เรียกว่าสารทุติยภูมิ (secondary plant substanes) หรือสาร alleochemicals สารดังกล่าวเป็นสารที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมในการดำรงชีพของพืช และได้รับการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) ให้คงอยู่ในระบบนิเวศวิทยา ทำให้พืชเหล่านี้ประสบผลสำเร็จอยู่รอดจากศัตรูที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตมาได้นับร้อยล้านปี ตัวอย่างเช่นสารธรรมชาติที่พบในต้นสัก ซึ่งปลวกไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้ไม้สักเป็นต้นไม้ชนิดเดียวที่ปลวกไม่สามารถย่อยสลายได้

สารเคมีธรรมชาติในพืชมีหลายชนิดที่แสดงผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชากรศัตรูพืชและศัตรูในบ้านเรือน เช่น

สาร cucumin ที่พบในเหง้าขมิ้นชัน มีผลหยุดการทำงานของเอนไซม์ของเชื้อราและฆ่าจุลลินทรีย์ในท้องปลวก และหนอนใยผัก

สาร annonine ในเมล็ดน้อยหน่า มีผลต่อการทำลายเยื่อ mucus membrane สามารถใช้ในการควบคุมประชากรของไรแดงอัฟริกัน และหอยเจดีย์ ได้อย่างดี

สาร azadirachtin จากเมล็ดสะเดามีผลต่อการยับยั้ง ecdysol hormone ใช้เป็นสารที่ลดการพัฒนาการของด้วงถั่ว หนอนใยผัก ทำให้แมลงไม่โต

สารrotenone จากรากหางไหล และรากหนอนตายหยากเป็นสารที่มีผลต่อการหายใจระดับเซลล์ ของแมลงจำพวกปากดูดและเจาะดูด และปลวก

สาร citronellol จากใบตะไคร้หอม มีผลต่อเอนไซม์ที่ใช้ในการสื่อประสาทในยุง
แมลงวัน และ แมลงสาบ

สาร eupathal จากใบสาบเสือมีผลต่อการเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลทำให้แมลงโดยไปลดระดับเอนไซม์เอสเทอเรสทำให้แมลงไม่วางไข่ ใช้ในการกำจัดหนอนใยผัก และเห็บหมัด

สาร capsaisin จากเมล็ดพริก เป็นสารที่เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ในระบบ mixed function oxidase ลดอนุมูลอิสระในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลลดการทำงานของ glutathion-S-transferase ในมอดข้าวสาร กดภูมิคุ้มกันในปลวก
รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของสมุนไพรอื่นเช่น ฟ้าทะลายโจรในการไล่หนู และใช้ผสมกับ

สารสกัดจากสาบเสือใช้ไล่นกพิราบ สาร selinnadiene ในหัวแห้วหมูเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้าย organochlorine มีผลในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เอสเทอเรสในปลวก และลูกน้ำยุงก้นปล่อง รวมถึงใช้ในการควบคุมประชากรมดได้อย่างดี

สาร sesamine ในเมล็ดงา เป็นสารที่มีผลในการยับยั้งการพัฒนาของอนุมูลอิสระในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลในการลดการทำงานของ monooxygenase ในแมลงวันผลไม้ และ หนอนเจาะสมออเมริกัน

สาร mangostin ในเปลือกมังคุดเป็นสารที่พบว่ามีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในแมลงหลายชนิดที่อยู่ในโรงเก็บ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สาร alkaloids จากเหง้าว่าน้ำ และ บอระเพ็ด มีผลในการยับยั้ง โคลีนเอสเทอเรส ในเลือดและเห็บหมัด ทำให้เห็บหมัดและเลือดไม่สามารถเจาะดูดเลือดและเกาะบน host ได้ และมีผลทำให้สัตว์เหล่านี้ไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอและฝ่อในที่สุด

สาร saponin จากกากเมล็ดชา และผลปะคำดีควาย ให้ผลดีต่อการลดประชากร
หอยเชอรี และปลาศัตรูของชาวนากุ้ง ได้อย่างดี


จากการวิจัยที่ผ่านมาเป็นระยะเวลา 25 ปี ได้ผลการวิจัยสมุนไพรเพื่อทำการกำจัดแมลงและศัตรูในบ้านเรือนและในไร่นา ได้ถึง 16 ชนิด คือ

สมุนไพรกำจัดปลวก เหยื่อล่อปลวก สมุนไพรกำจัดหนู เหยื่อล่อหนู

สมุนไพรกำจัดแมลงสาบ เหยื่อล่อแมลงสาบ สมุนไพรกำจัดมด เหยื่อล่อมด แชมพูกำจัดเห็บ-หมัด - เลือด

สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี สมุนไพรกำจัดหนอนใยผัก สมุนไพรกำจัดแมลงวันและแมลงวันผลไม้

สมุนไพรกำจัดมอดในเนื้อไม้

สมุนไพรกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สมุนไพรกำจัดเชื้อรา

สมุนไพรไล่นก

สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไหมไทย

นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดจากพืชสมุนไพรดังกล่าวมีผลต่อร่างกายในแง่สารบำรุงร่างกาย โดยได้พบสูตรสมุนไพรเพื่อทำเป็นเครื่องสำอาง เช่น ครีมหน้านวล และสมุนไพรเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ เช่น สมุนไพรบำรุงหลอดเลือดจากกระชายดำ งานวิจัยทั้งหมดนี้ได้ให้บริการวิชาการและอบรมบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นวิทยาทานทั่วประเทศไทย ในรูปการบรรยาย สาธิต แผ่นพับ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ทีวี หรือทาง
WWW.SURAPHON.COM ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยทั่วไป

ผู้สนใจสามารถหาดูและสอบถามทาง web ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อโดยตรงที่ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือโทรศัพท์ 089-980-4983,
089-260-9725

http://zoo.sci.ku.ac.th/Research/surporn%20vi/kaset51.pdf
zoo.sci.ku.ac.th/Research/surporn%20vi/kaset51.pdf -



แนะสูตรปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดนาข้าวได้ผล

พิษณุโลก 21 ก.ย.- นางพรทิพย์ ศรีแสงจันทร์ เกษตรจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า นายประเสริฐ ผามั่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ค้นพบวิธีป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดนาข้าวอย่างได้ผลดีเยี่ยม ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นดัดแปลงมาจากสูตรของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยนำพริกแกงเผ็ดมาผสมกับน้ำส้มควันไม้ ใบสะเดาแก่ หรือเมล็ดสะเดาบด ผงซักฟอก ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะประกอบด้วยสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน

จากนั้นได้ทดลองใช้อย่างต่อเนื่องกับนาข้าวจำนวน 5 รุ่น เน้นฉีดเวลาเย็นเท่านั้น ทุก 5–7 วัน ปรากฏว่าไม่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดกินนาข้าว อีกทั้งต้นทุนถูกมากเพียงแค่ 2 บาท/ไร่ และยังปลอดภัยต่อเกษตรกร หากส่วนผสมเหลือและต้องการเก็บไว้ใช้ให้บรรจุในภาชนะปิดแน่น แล้วนำไปแช่ในบ่อหรือสระน้ำ อย่าโดนแสงแดด มีอายุการใช้งานนานไม่เกิน 6 เดือน

ส่วนรายละเอียดขั้นตอนการทำและการใช้สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก โทร 055-258816 หรือคุณประเสริฐ ผามั่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ โทร 081-9738543.-สำนักข่าวไทย

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/105331.html
www.mcot.net/cfcustom/cache_page/105331.html -



เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล : ศัตรูในนาข้าวไทย

ผศ. สุพัฒน์ ชัยตั้งจิต1 และ ดร. สุขใจ รัตนยุวกร2
1 สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
2 สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

................................ ฯลฯ .......................................

การป้องกันและการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

1) ควรเลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น ข้าวพันธุ์ กข.๙, กข.๒๑, กข.๒๓, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณบุรี 90, สุพรรณบุรี 60, ปทุมธานี 1, พิษณุโลก 2, ชัยนาท 1, และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูแปลงปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

2) ในแปลงนาที่มีการระบาด ควรควบคุมระดับน้ำหลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง และระยะเก็บเกี่ยวในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือให้มีการระบายน้ำออกจากแปลงนา 7-10 วัน แล้วปล่อยทิ้งให้แห้งเองสลับกันไปมา จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3) หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงหรือสารเคมีใดในการทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพราะสารเคมีจะทำลายแมลงชนิดอื่นๆร่วมด้วย แต่ควรใช้ศัตรูทางธรรมชาติที่สามารถควบคุมการระบาดของมันได้ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน หรือใช้แสงไฟล่อให้แมลงมาเล่นไฟ แล้วจับทำลายเสีย

4) ควรตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม คือ ค่าพีเอชของดินโดยทั่วไป 5.8 - 6.3 ถ้าดินมีสภาพเป็นกรด พีเอชต่ำกว่า 5.8 ควรเติมวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล, ปูนขาว, ปูนแคลเซียม, โดโลไมท์ และฟอสเฟต หรือถ้าดินเป็นด่างควรใช้ ยิปซั่ม, ภูไมท์ซัลเฟต รวมถึงการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก จะทำให้ต้นข้าวไม่ขาดสารอาหาร มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ ลำต้นของข้าวมีความแข็งแรงและแข็งแกร่ง กลุ่มของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเข้าทำลายส่วนของลำต้นได้ยากขึ้น จึงช่วยลดปัญหาการระบาดได้

5) มีรายงานการใช้สมุนไพรที่มีรสขม เช่น ตะไคร้หอม, ขมิ้นชัน, ไพร, ฟ้าทะลายโจร, บอระเพ็ด หรือสารสกัดจากสะเดา ฉีดพ่นไปยังต้นข้าว สารเหล่านี้จะไหลจากปลายใบลงไปกองสุมหรือเคลือบอยู่ที่กาบใบของข้าว ทำให้บริเวณกาบใบมีรสชาติที่แย่ลง เผ็ด ขมไม่อร่อยไปในทันที จึงไม่เป็นที่ต้องการของหนอนและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

6) การใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย เช่น “จุลินทรีย์ ทริปโตฝาจ” ให้ใช้ 2 – 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน หรือใช้ทุก ๆ 3 วัน ในกรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรง เพราะจุลินทรีย์ ทริปโตฝาจจะค่อยๆสร้างเส้นใยเข้าปกคลุมรัดตรึงและเจาะทำลายผนังลำตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ จนตายในที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้สารเคมี ก็มีผลกระทบกับแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ

7) การงดการเพาะปลูกข้าวประมาณ 1 เดือน ในขณะที่มีการระบาดอย่างรุนแรง จะสามารถช่วยตัดวงจรการแพร่กระจายของเพลี้ยงกระโดดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน


http://www.surin.rmuti.ac.th/research/documents/BHP.pdf
www.surin.rmuti.ac.th/research/documents/BHP.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©