-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ทำสวน-ทำไร่
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ต้องการบำรุงปาล์มน้ำมัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ต้องการบำรุงปาล์มน้ำมัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kantap50
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 05/12/2010
ตอบ: 10

ตอบตอบ: 18/12/2010 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ต้องการบำรุงปาล์มน้ำมัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณลุงข้างบ้านฝากถามครับ

ต้องการบำรุงปาล์มน้ำมัน......ครับลุงคิม ปาล์มอายุ 15-18 ปี

เขาไม่ใส่ปุ๋ยอะไรเลยมา 2 ปีแล้วครับ
สภาพต้นยังแข็งแรงดี แต่ไม่มีลูกครับ
( 200 ต้น มีลูกประมาณ 50 ต้น )แต่น้อยมาก
สภาพใบทั่วไปค่อนข้างดี ยังเขียว 70-80 %

ใช้ปุ๋ยอะไร สูตรไหนดีบ้างจะให้มันฟื้นเร็วๆและกลับมา
ออกดอก ลูก ดังเดิมครับผม

**ขอทั้ง "เคมี+ชีวภาพ" น่ะครับ


ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 6:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความรู้พืนฐานเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน :

- ปาล์ม ต้องการน้ำมาก ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง สังเกตุ ปาล์มน้ำมันยภาคใต้ ที่นั่น ฝนแปด-แดดสี่ กับตามลำต้นจะมีพืชประเภทเฟิร์น-มอสส ขึ้น พืชพวกนี้ไม่ใช่กาฝากที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากปาล์มนะ ตรงกันข้าม กลับสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ต้นปาล์มอย่างดีอีกด้วย

- เดือนใดของปีนี้ ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ เดือนเดียวกันนี้ของปีรุ่งขึ้น ผลจะขาดคอ คือ ไม่ออกจั่น

- ช่วงใดปาล์มขาดน้ำหรือกระทบแล้งมาก ช่วงนั้นจั่นหรือดอกที่ออกมาจะเป็นตัวผู้มากกว่าตัวเมีย หรืออาจจะเป็นตัวผู้ทั้งหมดก็ได้

- ระยะห่างระหว่างต้นเมื่อต้นเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ไม่ควรห่างกันจนแดดจัดส่องลงพื้นดินได้ แล้วก็ต้องไม่ปลายทางชนกัน เกยกัน จนแสงแดดส่องลงพื้นไม่ได้

- สารอาหารหรือปุ๋ยที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. กำมะถัน. โบรอน. เป็นตัวหลัก ที่เหลือเป็นตัวเสริม. เติม. เพิ่ม. บวก. ตามความจำเป็นหรือตามความเหมาะสม


แนวทางปฏิบัติ :
- เอาเศษทะลายปาล์มจากโรงงานน้ำมันปาล์ม คลุมโคนต้นหนาๆ เมื่อเศษซากทะลายปาล์มย่อยสลายจะได้ "โบรอน" บำรุงต้นปาล์ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพ หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย + ธาตุหลัก ทางราก 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้ฮอร์โมนไข่ (สูตรปาล์มน้ำมัน) ทางใบ 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้ Mg + Zn + Ca.Br. + TE ทางใบ 2-3 เดือน/ครั้ง

หมายเหตุ :
- Mg สำหรับทางใบใช้ MgSo 4 ส่วน Mg ทางรากใช้ MgO
- B. ชนิดให้ทางราก ราคาถูกกว่า B ทางใบ


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/12/2010 9:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมัน

1. การป้องกันและการกำจัดวัชพืช
วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงฤดูแล้ง ไม่ควรกำจัดวัชพืชเพราะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่น

2. การใส่ปุ๋ย
ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยอัตราการใช้

3. การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เมื่อพบศัตรูพืชเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี

4. การตัดช่อดอก
ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้


การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน
1. ระยะเวลา และการแบ่งใส่
ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมบ่งใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ

ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ช่วงหลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

2. วิธีการใส่ปุ๋ย
1) ให้ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 กรัม/ต้น รองก้นหลุมตอนปลูก โดยใช้ดินชั้นบน ผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหินฟอสเฟต ใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินชั้นล่าง
2) อายุระหว่าง 1-4 ปี ใส่ปุ๋ยภายในวงกลม (รัศมี 1.5-2 เมตร) บริเวณที่กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น
3) อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้น 50 ซม. จนถึงบริเวณปลายทางใบ
4) การใส่ปุ๋ยควรหว่านให้ทั่วและสม่ำเสมอ บริเวณทรงพุ่มใบรอบโคนต้น, ยกเว้นปุ๋ยหินฟอสเฟต แนะนำให้ใส่เป็นแนวรอบทรงพุ่ม ภายในรัศมีวงกลมรอบโคนต้น และควรใส่ปุ๋ยหลังจากกำจัดวัชพืชแล้ว

3.อัตราปุ๋ยที่ใช้
อัตราปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยทั่ว ๆ ไป ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ได้ แสดงดังตารางต่อไปนี้
ี้
แสดงตารางการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน อายุ 1-4 ปี
(คลิก) ....... http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=898


วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อย สะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน
*ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
- รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกอง ในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
- รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์ม อีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3. ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4. ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5. ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6. ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7. ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า

ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน
1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอย ู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไป จะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุก ควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มชอช้ำ้ำน้อยที่สุด

การกำหนดคุณภาพของผลปาล์มทั้งทะลายที่มีคุณภาพดี
1.ความสด เป็นผลปาล์มที่ตัดแล้วส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2.ความสุก ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐาน คือ ลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
3.ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
4.ความชอกช้ำ ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
5.โรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
6.ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
7.ความสกปรกไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
8.ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเจือปน
9.ก้านทะลาย ความยาวไว้เก็บ 2 นิ้ว


ศัตรูพืชที่สำคัญ
ศัตรูปาล์มน้ำมัน หมายถึง สิ่งที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน

ชนิดของศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
2. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
3. โรค

สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มฟันแทะ : หากินบนพื้นดินหรือบนต้นไม้
1) หนูพุกใหญ่ = สีขนด้านท้อง และหลังสีเทาเข้ม
2) หนูท้องขาว = พบมากในสวนปาล์มอายุ 6 ปีขึ้นไป จัดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด มีลักษณะหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ตัวยาวเรียว ขนเรียบ ขนท้องสีเทา, น้ำตาลปนเทา
3) เม่น มี 2 ชนิด คือ
- เม่นใหญ่แผงคอยาว เป็นเม่นขนาดใหญ่ หางสั้ัน ขนปกคลุมตัวด้านหน้า สีน้ำตาลดำ ขนด้านหลังเป็นหนามแหลม ขนสีขาวแกมดำ
- เม่นหางพวง หางพวงมีเกล็ดและที่ปลายหางมีขนเป็นพวง

2.กลุ่มสัตว์กินแมลง
1 กระแตธรรมดา เป็นกระแตขนาดใหญ่ มีหางเป็นพวง สีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ และความชื้นสูง สีขนจะเป็นสีแดง สดใส ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำ สีขนจะเป็นสีเทา หรือเทาน้ำตาล ใบหูเล็กหนาคล้ายหูคน

3.กลุ่มสัตว์จำพวกนก
นกสร้างความเสียหายโดยกินลูกปาล์ม ความเสียหายเกิดเฉพาะที่และจะเกิดซ้ำที่ เป็นนกตระกูลนกเอี้ยง และนกขุนทอง

4.กลุ่มสัตว์ป่าอื่น ๆ
หมูป่า


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=898
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระตุ้นปาล์มน้ำมัน “แทงช่อดอก” ที่ พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

2. ฮอร์โมนไข่ : มีประโยชน์ ดังนี้

• แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ): ซึ่งได้จากเปลือกไข่จะช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ เช่น กรดออกซาลิก ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen)

• กรดอมิโน วิตามิน และเกลือแร่ : ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสงพืช เพิ่มพลังงานให้แก่จุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีชีวิต

• ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค ช่วยให้พืชแก่เร็ว ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น

• เหล็ก (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟีลล์ และของ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ ช่วยสร้างโปรตีนส่งเสริมให้เกิดปมที่รากถั่วและช่วยดูดธาตุอาหารอื่น

• สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์หลายชนิดเช่น Carbonic anhydrase Alcoholic dehydrogenase เป็นต้น ช่วยให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติมีส่วนการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและมีผลต่อการแก่และการสุดของพืช

• คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) : ช่วยในขนวนการสังเคราะห์แสง การสร้างแป้งและน้ำตาลของพืช

• กลุ่มจุลินทรีย์ : ช่วยในขบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เพิ่มธาตุอาหารในดิน ประโยชน์ในการสังเคราะห์แสง



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2050
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกปาล์มระบบน้ำหยด


นายอนวัช สะเดาทอง รองผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยถึงที่มาและความสำคัญที่กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกปาล์มแบบการให้ธาตุอาหารในรูปแบบระบบน้ำหยดว่า โดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันจะเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง ตามศักยภาพของสายพันธุ์ ต้องการน้ำประมาณ 1,800 – 2,000 มม./ปี (150-200 มม./เดือน) แต่ในเขตปลูกปาล์มน้ำมันทั่วไปของประเทศไทยจะมีช่วงขาดน้ำฝนประมาณ 2-4 เดือน/ปี (300-350 มม./ปี) การกระทบแล้งดังกล่าวทำให้คุณภาพผลผลิตปาล์มสดลดลง การติดตั้งระบบชลประทาน จะทำให้ผลผลิตปาล์มสดเพิ่มขึ้น 15- 30 %

ดังนั้นการนำระบบการติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยดสามารถเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตปาล์มน้ำมันซึ่งระบบดังกล่าวมีข้อดีดังนี้คือ ทำให้การให้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการให้น้ำสูงสุด เมื่อเทียบกับการให้ระบบชลประทานแบบอื่นๆ ถ้าหากเป็นระบบสปริงเกลอร์ จะสามารถให้น้ำที่มีประสิทธิภาพถึง 60-75% ระบบมินิสปริงเกลอร์ 75-85% ส่วนระบบน้ำหยดจะสามารถให้น้ำที่มีประสิทธิภาพถึง 85-95% ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวระบบน้ำหยด เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะนอกจากจะสามารถช่วยลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินใต้โคนปาล์มได้ดีแล้วยังสามารถารกระจายน้ำให้เหมาะสมพอดีกับบริเวณรากปาล์มได้ดี และช่วยลดการสูญเสียน้ำจากการไหลออกนอกเขตรากปาล์ม และช่วยให้มีการดูดไปใช้ของวัชพืชในโคนปาล์มได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องลมในขณะให้น้ำ สะดวกต่อการปฏิบัติงานในแปลงปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัด ไม่กีดขวางการทำงาน การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยว การตัดแต่งทางใบไม่ชำรุดเสียหายง่าย(ไม่ต้องมีเสาปักยึดหัวน้ำหยด) ที่สำคัญระบบน้ำหยดนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้ 15-25%

ทั้งนี้หากเกษตรกรปลูกปาล์มแล้วขาดน้ำจะเกิดผลเสียดังนี้คือมีลักษณะคือผลผลิตปาล์มสดลดลง ยอดใบใหม่ไม่คลี่ เพิ่มอัตราฝ่อของช่อดอกเพศเมีย จำนวนช่อดอกเพศผู้เพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำมันในเนื้อผลลดลง นอกจากนี้ระบบน้ำหยดยังส่งผลดีต่อ การให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารไปพร้อมระบบน้ำ ซึ่งจะส่งผลดีของการให้ปุ๋ยไปพร้อมระบบน้ำที่สำคัญคือ สามารถจัดการธาตุอาหารให้ตรงตามปริมาณและเวลาที่พืชต้องการได้ รวมทั้งยังช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยหรือธาตุอาหารทำให้ประหยัดค่าปุ๋ยไปได้ 10-25% และลดปัญหาแรงงานในการใส่ปุ๋ย ลดการระบาดของวัชพืชได้มาก ซึ่งระบบการให้น้ำในรูปแบบนี้มีการใช้และดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานนาน

นายอนวัชยังกล่าวถึงรูปแบบการให้น้ำ หรือรูปแบบการติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยด จะวางสายส่งน้ำไปตามแนวต้นปาล์ม และจะติดตั้งหัวน้ำหยดไว้รอบๆใต้โคนปาล์ม ระยะที่ต้นปาล์มยังมีขนาดทรงพุ่มเล็กอยู่ จะวางหัวน้ำหยดไว้ไกล้โคนปาล์ม เพื่อให้น้ำหยด กระจายรอบโคนปาล์มและน้ำซึมลงไปให้เหมาะสมกับเขตรากปาล์มพอดี เมื่อต้นปาล์มมีขนาดทรงพุ่มใหญ่ขึ้น ก็สามารถขยับหรือจัดหัวน้ำหยดให้อยู่ในตำแห่งเขตรากได้ตามความเหมาะสม เมื่อต้นปาล์มโตเต็มที่ก็สามารถปรับหัวน้ำหยดให้ห่างจากโคนปาล์มประมาณ 1.2-1.5 เมตร หัวน้ำหยดก็จะกระจายน้ำให้กับต้นปาล์ม

สำหรับการลงทุนติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยดในสวนปาล์มน้ำมันนั้นในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยระบบน้ำหยดจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการปลูกโดยวิธีธรรมชาติประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ ขนาดพื้นที่ การจัดการปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ(Fertigation) การลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มน้ำมันสามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 20% คิดง่ายๆ ถ้ามีระบบน้ำจะไม่ทำให้ทะลายปาล์มฝ่อหรือหายไป (ขาดคอ)สมมุติว่าถ้า 1 ปี สามารถเพิ่มทะลายปาล์มน้ำมันได้ 2 ทะลายต่อต้นต่อปี(25 กก./ทะลาย) 1ไร่จะมีทะลายปาล์มเพิ่ม 40 ทะลายต่อไร่ต่อปี = 1,000 กก./ไร่/ปี ราคาปาล์มทะลายสด 4 บาท/กก.จะเป็นเงิน 1,000 x 4 = 4,000 บาทใช้เวลา 1 ปีครึ่ง ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคุณภาพของปาล์มทะลายสดจะสูงมาก (%) น้ำมันจะสูงตรงตามศักยภาพของสายพันธุ์

ในส่วนของการติดตั้งระบบชลประทานในระบบนี้มีความเหมาะสมในเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนแล้งติดต่อกันตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สำหรับเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนกระจายตลอดทั้งปี มีปริมาณฝนตกทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องลงทุนติดตั้งระบบชลประทานเพื่อให้น้ำแก่ต้นปาล์ม แต่อาจมีความเหมาะสมกับเขตปลูกปาล์มที่มีปัญหาแรงงาน เพราะระบบน้ำหยดสามารถให้ปุ๋ยกับต้นปาล์มได้โดยใส่ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ ซึ่งเป็นระบบจัดการธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

นายอนวัชยังกล่าวถึงข้อดีหรือข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นว่าการติดตั้งระบบชลประทานมีข้อดีและแตกต่าง จากการปลูกปาล์มที่ไม่ติดระบบน้ำ อธิบายโดยสังเขปได้ว่าตามหลักธรรมชาติการเจริญเติบโตของพืชแทบทุกชนิดต้องการน้ำที่เพียงพอ และเหมาะสมโดยเฉพาะช่วงอายุระหว่างการเจริญเติบโตและช่วงให้ผลผลิต ในช่วงของการเจริญเติบโต(ก่อนให้ผลผลิตอายุ 1-3 ปี) การติดตั้งระบบชลประทานมีส่วนสำคัญมากในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน และป้องกันความเสียหายจากการขาดน้ำ การขาดน้ำทำให้ต้นปาล์มแคระแกรนชะงักงัน การเจริญเติบโตให้ผลผลิต ล่าช้ากว่าปกติ เพราะโดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันจะผลิตตาดอกประมาณ 30 เดือน ก่อนที่ช่อดอกจะโผล่พ้นดอกมาจากต้น ถ้ามีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ขบวนการเจริญเติบโตและการผลิตตาดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ตรงตามสายพันธุ์ และให้ผลผลิตเร็วตามอายุ

ในช่วงให้ผลผลิต(อายุ 4 ปีขึ้นไป) การให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะส่งเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีทะลายเพิ่มขึ้น(ช่อดอกไม่ฝ่อ) น้ำหนักต่อทะลายเพิ่มขึ้น และเปอร์เซ็นต์น้ำมันในเนื้อผลปาล์มไม่ลดลง เป็นการเพิ่มผลผลิตปาล์มสดต่อไร่ได้มากขึ้นประมาณ 15-20% เพราะว่าปาล์มน้ำมันถ้าขาดน้ำติดต่อกันเกิน 2 เดือน (300-350 มม.) จะทำให้ผลผลิตปาล์มสดลดลง ข้อดีที่สำคัญของการติดตั้งระบบชลประทานสามารถชดเชยการขาดน้ำช่วงฝนแล้งเป็นการป้องกันและลดการเสียหายของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสม่ำเสมอ และลดปัญหาผลปาล์มล้น และขาดในบางฤดู ผลผลิตปาล์มสดออกสู่ตลาดสม่ำเสมอ แก้ปัญหาราคาผลปาล์มตกต่ำในช่วงฤดูปาล์มออกมาก

นายอนวัชกล่าวเสริมว่าในปัจจุบันระบบนี้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบชลประทานในสวนปาล์มยังมีค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับจำนวนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะมีบ้างที่ติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก สาเหตุที่สำคัญน่าจะมาจากการขาดข้อมูลที่ดี ขาดการแนะนำ ที่สำคัญปาล์มน้ำมันส่วนมากจะปลูกในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ทำให้ผลผลิตลดลงไม่มาก ชาวสวนจึงขาดความสนใจ ในอนาคตคาดว่าจะมีการติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มมากขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น เพราะการเพิ่มผลผลิตปาล์มโดยการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ ในอนาคตจะมีอย่างจำกัด การเพิ่มผลผลิต/ไร่ จึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก โดยเฉพาะเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนน้อย เช่นภาคกลาง ภาคอีสานและภาคตะวันออก การติดตั้งระบบชลประทานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้มีการตื่นตัวในการติดตั้งระบบชลประทานน้ำหยดมากขึ้นวัตถุประสงค์หลักคือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เช่นอ้อยน้ำหยด มันสำปะหลังน้ำหยด ข้าวโพดน้ำหยด สำหรับในพืชผักส่วนมากจะติดตั้งในพืชตระกูลแตง สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงและสร้างผลตอบแทนได้มาก อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนปาล์มน้ำมันสิ่งที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันหันมาสนใจในการติดตั้งระบบชลประทาน ระบบน้ำหยด และเพิ่มความเข้มข้นในการดูแลเอาใจใส่สวนปาล์ม เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ/ไร่ให้มากขึ้น ราคาผลผลิตปาล์มสดมีส่วนสำคัญมาก

ในด้านของอายุการใช้งานของระบบชลประทานแบบน้ำหยดเป็นระบบที่ติดตั้งและดูแลรักษาง่ายไม่ซับซ้อนที่สำคัญชาวสวนปาล์มหรือผู้ใช้ ต้องมีความเข้าใจ การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพดี การออกแบบที่ถูกต้องจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบใช้การได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน รวมทั้งการดูแลรักษาระบบที่ถูกต้องมีคำแนะนำจากบริษัทผู้ออกแบบติดตั้ง การเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้ออกแบบติดตั้งและผู้ใช้ จะทำให้การใช้งานของระบบคุ้มค่าต่อการลงทุน และอายุการใช้งานยาวนาน ปกติอายุการใช้งานของระบบมากกว่า 10 ปีขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัสดุและการบำรุงรักษานายอนวัชกล่าว


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2056
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใช้ปุ๋ยจากทะลายปาล์มเปล่า เทคนิคเพิ่ม่ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ในยุคที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายหันมาให้ความสนใจกับการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลิตไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งพืชที่มีการกล่าวถึงอย่างมากและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ ปาล์มน้ำมันที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล….

ปาล์มน้ำมัน....พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกและของประเทศไทย...โดยสามารถนำผลผลิตมาใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภคและบริโภค

ใน ยุคที่น้ำมันมีราคาแพงหูฉี่....สามารถใช้เป็น พลังงานทดแทน โดยผสมกับน้ำมันดีเซล ในระดับ B2 และ B5...ใช้ในเครื่องยนต์ ได้ดี...ราคาถูกกว่าปิโตรเลียม

อีกทั้งวัสดุที่เหลือ ใช้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม เช่น กะลาปาล์ม เส้นใยปาล์ม สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย...ส่วนกากเนื้อในปาล์ม สามารถนำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ให้ ทั้งโปรตีนและพลังงานสูง ส่วนที่มีความสำคัญที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันอีกอย่าง คือ ทะลายปาล์มเปล่า ซึ่งเป็นแหล่งของ อินทรียวัตถุ อย่างดี เมื่อย่อยสลายจะให้ ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง

ศูนย์วิจัยปาล์ม สุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาการใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนต้นปาล์ม...ตั้งแต่ เริ่มปลูกจนปาล์มอายุ 8 ปี ใส่ทะลายเปล่าปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ทำให้ผลผลิตทะลายสด เพิ่มขึ้นจาก 2.6 ตันต่อไร่ เป็น 3.1 ตันต่อไร่ หรือให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 19.2% และมีแนวโน้มว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีก เมื่อมีการใช้ทะลายปาล์มเปล่าในปริมาณที่มากขึ้น......โดยทะลาย ปาล์มเปล่า 1,000 กก. จะให้ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) 11.7 กิโลกรัม และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) 7.45 กิโลกรัม...

นอกจากนี้ทะลาย ปาล์มเปล่า ยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ ดินร่วนซุย ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน และลดการชะล้างพังทลายของดิน การใส่ทะลายปาล์มเปล่าร่วมกับปุ๋ยเคมี จะช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์จากธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ และทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน อีกทั้งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

มหา วิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ร่วมกับ บริษัทอาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ได้จัดทำ "โครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร" เพื่อเป็นความรู้นำมาช่วยเหลือเกษตรกร

โดยมี...นายเลอพงษ์ รักร่วม เกษตรกรตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งเข้าร่วมในโครงการนี้ บอกว่า...การนำทะลายเปล่ามาใช้คลุมผิวหน้าดินรอบโคนต้นปาล์ม ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และช่วยลดความร้อนอีกทั้งยังทำให้น้ำหนักและปริมาณลดลง ทำให้สะดวกในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายไปใส่คลุมโคนต้นปาล์ม

ผลการ ทดลองสิ่งที่พึงระมัดระวัง คือ ไม่ควรคลุมทะลายปาล์มเปล่าสูงเกิน 15 ซม. เพื่อหลีกเลี่ยง กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของด้วงแรด และควรป้องกันตัวเต็มวัยของมันที่จะเข้ากัดทำลายคอ ยอด ปาล์มน้ำมัน โดยใช้สารฆ่าแมลงคาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3% จี) อัตรา 100 กรัม/ต้น ใส่รอบยอดอ่อนและซอกโคนทางใบ

ผู้สนใจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมไปชม แปลงได้ที่ โครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร หรือกริ๊งกร๊างหา เลอพงษ์ 08-6293-6977, 08-4063-9327.


ที่มา : ไชยรัตน์ ส้มฉุน ไทยรัฐออนไลน
www.oatthailand.org/index.php/en/joomla-overview/163-news7 -


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2057
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตอนที่ 38 บทบาทของธาตุโพแทสเซียมในปาล์มน้ำมัน


โพแทสเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง การหายใจกระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดจนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืช มีความสมดุลและควบคุมการเปิดปิดปากใบในเซลล์พืช ดังนั้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับโพแทสเซียม เพียงพอจะทนทานต่อความแห้งแล้งและโรค และทำให้ทะลายปาล์มมีขนาดใหญ่และจำนวนเพิ่มขึ้น

ปาล์มน้ำมันต้องการโพแทสเซียมสูง ในดินทรายและดินพรุมักจะพบอาการขาดธาตุโพแทสเซียมอย่างรุนแรง ในปาล์มน้ำมันที่ธาตุโพแทสเซียม ใบจะมีจุดประสีส้ม ถ้าอาการขาดรุนแรง จะพบเนื้อเยื่อตายบริเวณจุดสีส้ม ปลายใบและขอบใบแห้ง การแก้ไข ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 3-4 กก./ต้น/ปี



www.chumphon.mju.ac.th/research/article/plam/unit38.pdf


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2060


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/12/2010 8:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น สำหรับปาล์มน้ำมัน

ข้อมูลโดย กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร


ปาล์มน้ำมัน ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุ เหมือนกับพืชชนิดอื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะความต้องการของปาล์มน้ำมัน ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ในปริมาณมาก หรือค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น ได้แก่ ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ปาล์มน้ำมันไม่ต้องการมากนัก และมักไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารในดินทั่วๆ ไป ได้แก่ แคลเซียม กำมะถัน คลอรีน ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม สังกะสี และเหล็ก

อย่างไรก็ตาม ปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในกลุ่มที่ 1 มากที่สุด ธาตุอาหารทั้ง 5 นี้ มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีอิทธิพลต่อกระบวนการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มในขั้นสุดท้าย


1. ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของโปรตีน มีความสำคัญต่อกระบวนการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก มีผลต่อพื้นที่ใบ สีของใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร โดยเฉพาะในระยะที่ต้นปาล์มน้ำมันยังมีอายุน้อย เพราะในระยะดังกล่าวต้นปาล์มน้ำมันจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจนมากกว่าต้นขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องให้ไนโตรเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 6 ปี อาการขาดธาตุไนโตรเจน มักจะพบมากในต้นปาล์มน้ำมันเล็กที่ปลูกในดินทรายตื้นๆ ดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี หรือดินที่มีการระบายน้ำเร็ว รวมทั้งหน้าดินมีการชะล้างพังทลาย แก้ไขได้โดยการระบายน้ำก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตาม และพบในพื้นที่ที่มีวัชพืชปกคลุมหนาแน่นบริเวณรากของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากไปลดการตรึงไนโตรเจนของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันที่มีอาการขาดธาตุไนโตรเจน จะมีอัตราการเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะอัตราการผลิตใบใหม่จะลดลง อาการที่พบได้ชัดเจน คือ ใบย่อยของทางใบล่างจะเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ถ้าขาดรุนแรงใบจะมีสีเหลือง

อัตราการใส่ไนโตรเจนในแต่ละท้องถิ่นขึ้นอยู่กับอายุ และศักยภาพการให้ผลผลิต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ชนิดของดินและสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ไนโตรเจน ในอัตรา 1.5-8.0 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟต

วิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กให้หว่านไนโตรเจนรอบๆ โคนต้น ส่วนในปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ให้ใส่บริเวณระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย ไม่ควรใส่ไนโตรเจนในปริมาณที่มากเป็นแถบๆ รอบโคนต้น เพราะเป็นการสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย และความเข้มข้นของไนโตรเจนที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อรากได้

ช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงเวลาของการใส่ไนโตรเจนนับว่ามีความสำคัญมากกว่าธาตุอาหารอื่น เนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียได้ง่ายจากการระเหิดและการชะล้างของน้ำบริเวณผิวดินและใต้ดิน ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียจากการระเหิดควรใส่ยูเรียในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่ควรใส่มากกว่า 1 กิโลกรัม ต่อต้น ในครั้งเดียวกัน ควรแบ่งใส่หลายครั้ง


2. ฟอสฟอรัส
มีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์ประกอบของเซลล์และการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่เป็นตัวรับและถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่างๆ ในกระบวนการที่สำคัญ เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ เป็นต้น

ผลกระทบจากปาล์มน้ำมันที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส จะทำให้มีการชะงักการเจริญเติบโต หรืออัตราการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันต่ำ ทางใบสั้น ลำต้นเล็ก และขนาดของทะลายเล็ก ในกรณีที่มีฟอสฟอรัสที่ละลายได้ในดินมากเกินไป ซึ่งมักพบในดินทรายจะเป็นสาเหตุทำให้ขาดธาตุทองแดง และสังกะสีในปาล์มน้ำมันได้

การขาดธาตุฟอสฟอรัสอาจเกิดจากในดินมีฟอสฟอรัสน้อย หรือฟอสฟอรัสจากอินทรียวัตถุถูกชะล้างไป หรือหญ้าคาขึ้นมาก ซึ่งสังเกตการขาดฟอสฟอรัสของปาล์มน้ำมันได้จากวัชพืชที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น หญ้าคา มีสีม่วงอมแดง วัชพืชแคระแกรน พืชคลุมดินจะมีใบเล็กกว่าปกติ

อัตราการใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ควรใส่ฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ทริบเปิ้ลซุปเปอ์ ฟอสเฟต (TSP) หรือไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) หรือหินฟอสเฟตที่มีคุณภาพดี ละลายน้ำได้สูง ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ใช้หินฟอสเฟต เพราะมีความเหมาะสมในด้านการจัดการดิน และด้านเศรษฐกิจ

วิธีใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มน้ำมันเล็กให้หว่านบริเวณรอบโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ส่วนปาล์มน้ำมันต้นใหญ่ให้ใส่ระหว่างแถว

ช่วงเวลาการใส่ฟอสฟอรัส ควรใส่ในช่วงที่มีฝนตกพอเพียง หรือดินมีความชื้นพอที่รากพืชจะดูดฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์


3. โพแทสเซียม
โพแทสเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง การหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุล และควบคุมการเปิดปิดของปากใบในเซลล์พืช ดังนั้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับโพแทสเซียมเพียงพอ จะทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรคได้ดี และช่วยให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดใหญ่ และจำนวนเพิ่มขึ้น ในดินทรายและดินพรุมักมีปัญหาขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง

อาการขาดโพแทสเซียม ลักษณะอาการขาดโพแทสเซียมค่อนข้างแปรปรวน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และชนิดของพันธุ์ อาการที่พบโดยทั่วไป คือ

1. ลักษณะเป็นจุดสีส้มตามใบ บางครั้งพบเป็นจุดสีเหลืองซีด อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดเหลืองซีดรูปร่างจุดไม่แน่นอน พบในใบย่อยของทางใบล่าง เมื่ออาการรุนแรงจุดเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม อาการรุนแรงมากขึ้นจุดเนื้อเยื่อตายตรงส่วนกลางของจุดสีส้ม และถ้าพบว่าใบปาล์มน้ำมันทางใบล่างมีลักษณะอาการจุดส้มดังกล่าว แต่แสดงอาการเพียงต้นเดียวในขณะที่ต้นข้างเคียงไม่แสดงอาการให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นผลทางพันธุกรรมมากกว่าอาการขาดธาตุโพแทสเซียม

2. อาการใบเหลืองหรือกลางทรงพุ่มเหลือง มักพบในดินทรายและดินอินทรีย์หรือดินพรุ โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ใบย่อยของทางใบกลางจนถึงทางใบล่างมีอาการสีเหลืองส้ม ถ้าอาการขาดโพแทสเซียมรุนแรงจะพบใบย่อยของทางใบล่างแห้งเพิ่มขึ้น และตายในที่สุด

3. อาการตุ่มแผลสีส้ม อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแถบสีเขียวมะกอกในใบย่อยของทางใบล่างของปาล์มน้ำมัน เมื่ออาการขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง สีใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม น้ำตาลอมส้ม และตายในที่สุด

4. แถบใบยาว มีลักษณะคล้ายแท่งดินสอ มักพบตรงส่วนกลางของใบย่อยปาล์มน้ำมัน อายุ 3-6 ปี อาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร เนื่องจากปาล์มน้ำมันได้รับไนโตรเจนมากไป หรือได้รับโพแทสเซียมน้อยไป

การใส่โพแทสเซียมคลอไรด์ควรอยู่ในช่วง 1-5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์มน้ำมัน ชนิดของดิน และผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งการตอบสนองต่อการใส่โพแทสเซียมจะลดลงถ้าปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เนื่องจากปลูกปาล์มน้ำมันแน่นมากเกินไป

การใส่โพแทสเซียมสามารถใส่ในขณะดินแห้งได้ การสูญเสียโพแทสเซียมส่วนใหญ่เกิดจากการชะล้างจากหน้าดิน การลดการสูญเสียสามารถทำได้โดยการหว่านปุ๋ยโพแทสเซียมรอบๆ ต้นปาล์มน้ำมันเล็กบริเวณที่กำจัดวัชพืช ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ให้หว่านโพแทสเซียมระหว่างแถวหรือบริเวณทางใบที่นำมากองระหว่างแถว


4. แมกนีเซียม
บทบาทสำคัญของธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน คือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการต่างๆ เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ และมีบทบาทในการสังเคราะห์กรดไขมัน อาการขาดแมกนีเซียม มักพบในบริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในดินทรายและดินกรวด หรือบริเวณที่หน้าดินถูกชะล้าง ลักษณะอาการขาดธาตุแมกนีเซียมสังเกตุได้ง่าย อาการในระยะแรก ใบย่อยของทางใบตอนล่างจะมีสีซีดคล้ายสีเขียวมะกอก โดยเฉพาะใบที่รับแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ส่วนใบย่อยที่ไม่สัมผัสแสงอาทิตย์จะยังคงมีสีเขียวอยู่ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงเป็นสีส้มเข้มทั้งใบ และแห้งตายในที่สุด มักเรียกอาการนี้ว่า "ทางใบส้ม" อาการขาดแมกนีเซียมอาจเกิดจากต้นปาล์มน้ำมันได้รับโพแตสเซียมมากเกินไปก็ได้

การแก้ไขอาการขาดแมกนีเซียมที่รุนแรง ให้ใส่กลีเซอไรด์ (MgSo4) 2-5 กิโลกรัม ต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี สำหรับการดูแลรักษาทั่วๆ ไป ควรใส่ 0.5-1.5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยหว่านรอบๆ โคนต้นบริเวณที่มีการกำจัดวัชพืชแล้ว ต้นปาล์มน้ำมันใหญ่ควรใส่บริเวณระหว่างแถว หรือบริเวณกองทางใบปาล์ม ส่วนหินโดโลไมท์ควรหว่านในบริเวณระหว่างแถว ไม่ควรใส่โดยไม่กำจัดวัชพืช และควรใส่แมกนีเซียมก่อนการใส่โพแทสเซียม ประมาณ 2 สัปดาห์


5. โบรอน
โบรอนมีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในพืช ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร จำเป็นในการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายราก เกี่ยวข้องกับการดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช ดังนั้นโบรอนเป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อาการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก การขาดธาตุโบรอนของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ และค่อนข้างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

อาการขาดธาตุโบรอนจะแสดงออกในส่วนที่อ่อนที่สุดของพืช เนื่องจากเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้นการขาดธาตุโบรอนจะส่งผลต่อการพัฒนาของใบ ทำให้ใบมีรูปร่างผิดปกติ ดังนี้

1. ทางใบยอดจะย่นพับเข้าหากัน ทำให้ใบสั้นผิดปกติ
2. อาการขาดที่ไม่รุนแรง ปลายใบจะหักงอคล้ายตะขอ
3. อาการขาดที่รุนแรง ใบยอดจะย่นและปลายใบหัก นอกจากนี้มีอาการใบเปราะและสีเขียวเข้ม
4. ทะลายปาล์มจะมีเมล็ดลีบ หรือมีเปอร์เซ็นการผสมไม่ติดสูง

โดยทั่วไปจะใส่โบแรกซ์ 50 กรัม ต่อต้น ต่อปี ให้กับปาล์มน้ำมัน ในปีที่ 4-6 จะเพิ่มเป็น 100 กรัม ต่อต้น ต่อปี ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงจะมีการใส่โบรอนไปเรื่อยๆ โดยใส่ในบริเวณรอบโคนต้น ปริมาณความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันแปรปรวน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สมบัติของดิน และสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนระยะปลูก

http://www.kasetd.com/nutrient_plam.html


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2061
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kantap50
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 05/12/2010
ตอบ: 10

ตอบตอบ: 18/12/2010 8:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับข้อมูลครับ
มีความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ
ผมจะปริ๊นและถ่ายให้กับพี่น้องเกษตรกรด้วยครับ

แต่ยังคาใจเรื่องปุ๋ย
แม็กเนเซียม. สังกะสี. กำมะถัน.สามตัวนี้ไม่เคยใช้เลยครับ
(ส่วนมากที่ใส่กัน สูตร 15-15-15, 21-0-0 และ 0-0-60 ครับ)
ตอบ :
ไม่เคยก็เคยใช้ซะซี่ ไม่เห็นจะยาก....ปลูกปาล์มตามใจปาล์ม ไช่ตามใจคน....บำรุงเต็มที แต่จะเอาผลเต็มที่ มันไม่ได้....ว่ามั้ย



เป็นแบบไหนครับ มีขายร้านปุ๋ยหรือเปล่าครับ
ตอบ :
ก็ในเมื่อมันคือปุ๋ยสำหรับต้นไม้ ร้านขายปุ๋ยก็ต้องมีซี่คุณ.....ที่ไหนๆก็มีทั้งนั้นแหละ ยกเว้นบ้านคุณ (ประชด)




ส่วน โบรอน. รู้จักครับที่สวนผมใส่อยู่ครับ
ช่วยแนะนำด้วยครับ
ตอบ :
ปลูกปาล์ม....รู้เรื่องปาล์ม ให้กระจ่าง แต่อนย่างเดียว...แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล....
ถึงเวลาที่ต้องหาความรู้ประดับตัวแล้วแหละ สำหรับคนรุ่นใหม่

ลุงคิมครับผม




ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2010 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


การปลูกปาล์ม :


ปีที่ .................................... 4
อัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้..................... 1 : 1 : 3
สูตร (หรือสูตรใกล้เคียง) ............ 10-8-30
อัตรา (กก./ต้น/ปี) .................. 4.5-5
กีเซอร์ไรท์ อัตรา(กก./ต้น/ปี) ...... 0.8
โบแรกซ์ อัตรา(กก./ต้น/ปี).......... 80


http://www.trang.ru.ac.th/LO/lo1.html



------------------------------------------------------------------------------------------------


3. โพแทสเซียม

โพแทสเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง การหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุล และควบคุมการเปิดปิดของปากใบในเซลล์พืช ดังนั้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับโพแทสเซียมเพียงพอ จะทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรคได้ดี และช่วยให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดใหญ่ และจำนวนเพิ่มขึ้น ในดินทรายและดินพรุมักมีปัญหาขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง

อาการขาดโพแทสเซียม ลักษณะอาการขาดโพแทสเซียมค่อนข้างแปรปรวน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และชนิดของพันธุ์ อาการที่พบโดยทั่วไป คือ

1. ลักษณะเป็นจุดสีส้มตามใบ บางครั้งพบเป็นจุดสีเหลืองซีด อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดเหลืองซีดรูปร่างจุดไม่แน่นอน พบในใบย่อยของทางใบล่าง เมื่ออาการรุนแรงจุดเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม อาการรุนแรงมากขึ้นจุดเนื้อเยื่อตายตรงส่วนกลางของจุดสีส้ม และถ้าพบว่าใบปาล์มน้ำมันทางใบล่างมีลักษณะอาการจุดส้มดังกล่าว แต่แสดงอาการเพียงต้นเดียวในขณะที่ต้นข้างเคียงไม่แสดงอาการให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นผลทางพันธุกรรมมากกว่าอาการขาดธาตุโพแทสเซียม

2. อาการใบเหลืองหรือกลางทรงพุ่มเหลือง มักพบในดินทรายและดินอินทรีย์หรือดินพรุ โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ใบย่อยของทางใบกลางจนถึงทางใบล่างมีอาการสีเหลืองส้ม ถ้าอาการขาดโพแทสเซียมรุนแรงจะพบใบย่อยของทางใบล่างแห้งเพิ่มขึ้น และตายในที่สุด

3. อาการตุ่มแผลสีส้ม อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแถบสีเขียวมะกอกในใบย่อยของทางใบล่างของปาล์มน้ำมัน เมื่ออาการขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง สีใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม น้ำตาลอมส้ม และตายในที่สุด

4. แถบใบยาว มีลักษณะคล้ายแท่งดินสอ มักพบตรงส่วนกลางของใบย่อยปาล์มน้ำมัน อายุ 3-6 ปี อาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร เนื่องจากปาล์มน้ำมันได้รับไนโตรเจนมากไป หรือได้รับโพแทสเซียมน้อยไป

การใส่โพแทสเซียมคลอไรด์ควรอยู่ในช่วง 1-5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์มน้ำมัน ชนิดของดิน และผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งการตอบสนองต่อการใส่โพแทสเซียมจะลดลงถ้าปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เนื่องจากปลูกปาล์มน้ำมันแน่นมากเกินไป

การใส่โพแทสเซียมสามารถใส่ในขณะดินแห้งได้ การสูญเสียโพแทสเซียมส่วนใหญ่เกิดจากการชะล้างจากหน้าดิน การลดการสูญเสียสามารถทำได้โดยการหว่านปุ๋ยโพแทสเซียมรอบๆ ต้นปาล์มน้ำมันเล็กบริเวณที่กำจัดวัชพืช ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ให้หว่านโพแทสเซียมระหว่างแถวหรือบริเวณทางใบที่นำมากองระหว่างแถว



บทความความรู้ เรื่องการเกษตร
ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น สำหรับปาล์มน้ำมัน
ข้อมูลโดย กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร
http://www.kasetd.com/nutrient_plam.html

---------------------------------------------------------------------------------------


สังเกตุ :

ข้อมูลบน (สีแดง) จาก สนง.เกษตรตรัง ให้ใช้ปุ๋ย K. ต่ำ
ข้อมูลล่าง (สีดำ) จากกรมวิชาการเกษตร บอกถึงอาการขาด K.

แบบนี้ถ้าทำตามเกษตรตรัง ปาล์มมิเสียหายตามที่กรมวิชาการแนะนำหรอกรึ


อย่างที่เคยบอกบ่อยๆ นั่นแหละ.....
จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา


ลุงคิม (เชื่อตัวเอง + เชื่อปาล์ม) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
commando
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2010
ตอบ: 27

ตอบตอบ: 19/12/2010 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

การปลูกปาล์ม :


ปีที่ .................................... 4
อัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้..................... 1 : 1 : 3
สูตร (หรือสูตรใกล้เคียง) ............ 10-8-30
อัตรา (กก./ต้น/ปี) .................. 4.5-5
กีเซอร์ไรท์ อัตรา(กก./ต้น/ปี) ...... 0.8
โบแรกซ์ อัตรา(กก./ต้น/ปี).......... 80


http://www.trang.ru.ac.th/LO/lo1.html



------------------------------------------------------------------------------------------------

สังเกตุ :

ข้อมูลบน (สีแดง) จาก สนง.เกษตรตรัง ให้ใช้ปุ๋ย K. ต่ำ
ข้อมูลล่าง (สีดำ) จากกรมวิชาการเกษตร บอกถึงอาการขาด K.

แบบนี้ถ้าทำตามเกษตรตรัง ปาล์มมิเสียหายตามที่กรมวิชาการแนะนำหรอกรึ


อย่างที่เคยบอกบ่อยๆ นั่นแหละ.....
จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา


ลุงคิม (เชื่อตัวเอง + เชื่อปาล์ม) ครับผม


K.(โปแตสเซี่ยม) ไม่ได้ต่ำนะครับลุง เขาแนะนำ 1:1:3 คือ 10-8-30 ไม่เห็นต่ำเลยครับ

คำพูด:
โบแรกซ์ อัตรา(กก./ต้น/ปี).......... 80


โปแรกซ์น่าจะเป็น 80 กรัม/ต้น/ปี มากกว่าครับ เดี๋ยวมีคนไปใส่ 80 กก. ต้นปาล์มตายแน่นอนครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/12/2010 8:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

commando บันทึก:
kimzagass บันทึก:

การปลูกปาล์ม :


ปีที่ .................................... 4
อัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้..................... 1 : 1 : 3
สูตร (หรือสูตรใกล้เคียง) ............ 10-8-30
อัตรา (กก./ต้น/ปี) .................. 4.5-5
กีเซอร์ไรท์ อัตรา(กก./ต้น/ปี) ...... 0.8
โบแรกซ์ อัตรา(กก./ต้น/ปี).......... 80


http://www.trang.ru.ac.th/LO/lo1.html



------------------------------------------------------------------------------------------------

สังเกตุ :

ข้อมูลบน (สีแดง) จาก สนง.เกษตรตรัง ให้ใช้ปุ๋ย K. ต่ำ
ข้อมูลล่าง (สีดำ) จากกรมวิชาการเกษตร บอกถึงอาการขาด K.

แบบนี้ถ้าทำตามเกษตรตรัง ปาล์มมิเสียหายตามที่กรมวิชาการแนะนำหรอกรึ


อย่างที่เคยบอกบ่อยๆ นั่นแหละ.....
จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา


ลุงคิม (เชื่อตัวเอง + เชื่อปาล์ม) ครับผม





K.(โปแตสเซี่ยม) ไม่ได้ต่ำนะครับลุง เขาแนะนำ 1:1:3 คือ 10-8-30 ไม่เห็นต่ำเลยครับ
ตอบ :
คุณเข้าใจถูกต้อง....ลุงคิมเข้าใจผิด เห็น P. เป็น K. ....มือไว (พิมพ์) ปากไว (พูด) ไปหน่อย....แต่ ขอบคุณ คงไม่ช้านะ.....ขอบคุณมาก




คำพูด:
โบแรกซ์ อัตรา(กก./ต้น/ปี).......... 80


โปแรกซ์น่าจะเป็น 80 กรัม/ต้น/ปี มากกว่าครับ เดี๋ยวมีคนไปใส่ 80 กก. ต้นปาล์มตายแน่นอนครับ
ตอบ :
ลุงคิมก็คิดอย่างคุณนั่นแหละ แต่ดูหลักฐานข้อมูล (COPY มาตรงๆ ไม่ใช่มาพิมพ์เองใหม่) ระบุ "กก." ชัดเจน.....ขอบคุณอีกครั้ง

ลุงคิมครับผม



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sita
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/10/2010
ตอบ: 452

ตอบตอบ: 19/12/2010 8:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

..แป้งไม่ได้เข้ามาป่วนนะคะ..แต่อยากจะบอกว่า
การแย้ง..ชี้แจง..ท้วงติงกันแบบนี้..อ่านแล้วรู้สึกว่า...ใช่เลย

ตรงใจแป้งเลย..ถูกใจใช่เลย..ประมาณนี้เลย..แน่นอน..
มันดูคุยกันสบายๆเหมือนครอบครัวเลยค่ะ..ว่ามั้ยคะ..???


แป้ง..(ขออนุญาตนิดนึงนะคะ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/12/2010 9:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เก่งจัง ลูกสาวคนนี้.......ลูกใครหว่า...

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©