-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ให้น้ำสำปะหลัง สู้เพลี้ยแป้ง ผลผลิตเพิ่ม.....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ให้น้ำสำปะหลัง สู้เพลี้ยแป้ง ผลผลิตเพิ่ม.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ให้น้ำสำปะหลัง สู้เพลี้ยแป้ง ผลผลิตเพิ่ม.....
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2010 5:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใจลุงคิมนะ....(ขอโทษ) ไม่เอาทั้ง 2 แบบ (ว่ะ).....

ยุ่งยาก หลายขั้นตอน ใช้เวลามาก สิ้นเปลืองแรงงาน ฯลฯ


ลุงคิม (ม้วนเดียว วันเดียว คนเดียว .... จบ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 22/12/2010 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีนี้เป็นไงครับลุง ประยุกต์แนวคิดของลุงคิม (ประสิทธิภาพสูงสุด)

๑) ใช้พื้นที่กลางร่องมันเป็นพื้นที่ปฏิับัติการ (กลางร่องมันที่กำลังปลูก)

๒) โรยส่วนผสมเดียวกับที่ใช้ในการหมักปุ๋ย ตามลำดับ
- ขี้หมูแห้ง
- ขี้ัวัว (อันนี้มีปัญหาแน่ เพราะไม่ได้หมักให้ร้อนทำลายเมล็ดวัชพืชก่อน)
- ขี้เค้กอ้อย
- รำข้าว ผสมแกลบ
- ฟางตะไคร้หอม/ข้าว
- รดน้ำจุลินทรีย์พื้นถิ่น

๓) ค่อยๆ ทำทีละร่อง ทีละร่อง (ใช้เวลาเท่ากับที่หมักปุ๋ย)

พอครบรอบขุดหัวมัน ก็พลิกปุ๋ยหมักผสมดินไปโดยปริยาย
ได้ผลสามต่อ ต่อแรกปุ๋ยกลางร่องสลายตัวให้มันชุดที่กำลังปลูก
ต่อสองอินทรีย์วัตถุสลายมากขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ในรุ่นถัดไป
ต่อสาม คุมวัชพืช

อย่างนี้ เป็นไปได้มั้ยครับ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง
เท่าที่คิดได้ จะมีปัญหาเช่น
๑) ขี้้วัว ไม่สามารถใช้ได้
๒) ความร้อนจากการหมักจะเกิดขึ้นมั้ย (ความหนาไม่มาก ไม่น่าจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก) ความร้อนนี้จะทำให้เกิดผลเสียกับมันมั้ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2010 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Redmountain บันทึก:
วิธีนี้เป็นไงครับลุง ประยุกต์แนวคิดของลุงคิม (ประสิทธิภาพสูงสุด)
ตอบ :
แนวคิดของลุงคิมอย่างหนึ่ง คือ....จะวางแผนทำอะไร ศึกษาส่วนที่จะเป็น และคาดว่าจะเป็น "ปัญหา" ให้ครบทุกมุมก่อน เมื่อรู้ว่าอะไรจะก่อปัญหาก็ให้หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า แล้วจึงลงมือทำ เมื่องลงมือทำแล้วไม่เกิดปัญหา การกระทำนั้นย่อมประสบความสำเร็จ เป็นธรรมดา.....ในทางกลับกัน หากทำๆไปแล้ว ยิ่งทำยิ่งมีแต่ปัญหา แต่ละปัญหาล้วนแต่ปัญหาโลกแตก คุณจะ "ต๊อ แต๊" สุดท้ายไม่เลิกก็ขาดทุน.....ลุงคิมชอบ "ทำอะไรแล้วไม่ต้องตอบคำถามคนเป็นดีที่สุด..."




๑) ใช้พื้นที่กลางร่องมันเป็นพื้นที่ปฏิับัติการ (กลางร่องมันที่กำลังปลูก)
ตอบ :
คุณปลูกสำปะหลังแค่ 3 ร่อง เท่านั้นเหรอ....คำนวนซิ ปลูกกี่ร่อง ? ใช้วัสดุอุปกรณ์เท่าไหร่ ? ใช้แรงงานกี่คน ? ใช้ระยะเวลากี่วัน ?



๒) โรยส่วนผสมเดียวกับที่ใช้ในการหมักปุ๋ย ตามลำดับ
- ขี้หมูแห้ง
ตอบ :
ขี้ไก่/นกกระทา/ค้างคาว (สัตว์ปีก) เหมาะกับสำปะหลังมากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ขี้หมูใช้ไม่ได้นะ ..... นอกจากวิธี "โรย" แล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่ ดี ง่าย สะดวก ประหยัด กว่านี้ไหม



- ขี้ัวัว (อันนี้มีปัญหาแน่ เพราะไม่ได้หมักให้ร้อนทำลายเมล็ดวัชพืชก่อน)
ตอบ :
ถ้าเอาเมล็ดหญ้า เมล็ดวัชพืช ออกก่อน จะแก้ปัญหานี้ได้ไหม ?



- ขี้เค้กอ้อย
ตอบ :
ค่าขนส่ง (แรงงาน น้ำมัน รถ) จาก รง.น้ำตาลแล้วเอามาลงที่แปลง หว่านให้ทั่วแปลง ตั้งแต่เริ่มถึงจบพร้อมไถกลบได้ ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ทุกอย่าง) เท่าไหร่ ?


- รำข้าว ผสมแกลบ
ตอบ :
เหมือนขี้เค้กอ้อยนั่นแหละ อินทรีย์วัตถุตัวนี้จำเป็นมากนักเหรอ ? อย่างอื่นแทนได้ไหม ?



- ฟางตะไคร้หอม/ข้าว
ตอบ :
ฟางตะไคร้หอม คืออะไร ลุงคิมไม่รู้จัก คุณเอามาจากไหนมากมายขนาดใส่แปลงสำปะหลังได้ทั้งแปลง....ฟางข้าวก็เหมือนกัน มันง่ายนักเหรอกับการไถกลบฟางลงไปเนื้อดินน่ะ อย่าลืมว่า แปลงปลูกสำปะหลังไม่เหมือนนาข้าวที่น้ำหล่อนะ


- รดน้ำจุลินทรีย์พื้นถิ่น
ตอบ :
อันนี้นี่แหละ น่าใจที่สุด ทำไมไม่ศึกษาหาข้อมูลแล้วเอาไป "ประยุกต์" ใช้.....
แรงงานคนเดียว หรือสองคนผัวเมียก็ทำได้ อยู่แต่ว่าคุณรู้จัก "น้ำจุลินทรีย์พื้นถิ่น
ซุปเปอร์ สำหรับสำปะหลัง" ไหม ? ...... ทำงาน ว่าจ้างแรงงาน แน่ใจนะว่า จะ
ไม่มีการสู้รบกับแรงงาน....แค่ "เขียน" ถึงแรงงานก็ปวดหัวแล้ว เอาจริงๆ ไม่ ป.
ส.ด.เรอะ....ลูกเราน่ะด่าได้ แต่ลูกจ้างด่าไม่ได้นะ.....



๓) ค่อยๆ ทำทีละร่อง ทีละร่อง (ใช้เวลาเท่ากับที่หมักปุ๋ย)
ตอบ :
กำหนดระยะเวลาไว้ "กี่ปี" จึงจะเสร็จ ครบทุกร่อง แต่ถ้าปลูกสำปะหลังแค่ 3 ร่องก็ O.K. 3 วันเสร็จ



พอครบรอบขุดหัวมัน ก็พลิกปุ๋ยหมักผสมดินไปโดยปริยาย
ได้ผลสามต่อ ต่อแรกปุ๋ยกลางร่องสลายตัวให้มันชุดที่กำลังปลูก
ต่อสองอินทรีย์วัตถุสลายมากขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ในรุ่นถัดไป
ต่อสาม คุมวัชพืช
ตอบ :
อ่าน 3 รอบ ยังไม่เข้าใจเลยว่า "ทำยังไง" มันจะไปกันใหญ่แล้วนะ เอาเป็นว่า ถ้าทำได้ให้ จุด-จุด-จุด เลยเอ้า....



อย่างนี้ เป็นไปได้มั้ยครับ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง
เท่าที่คิดได้ จะมีปัญหาเช่น
๑) ขี้้วัว ไม่สามารถใช้ได้
ตอบ :
ขี้วัวใช้ได้ แต่ขี้สัตว์ปีกดีกว่าเท่านั้น



๒) ความร้อนจากการหมักจะเกิดขึ้นมั้ย (ความหนาไม่มาก ไม่น่าจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก) ความร้อนนี้จะทำให้เกิดผลเสียกับมันมั้ย
ตอบ :
เดาว่า คุณยังไม่เคยสัมผัสกับมือ ไม่เคยเห็นกับตา แค่ฟังเขามาเท่านั้น มูลสัตว์ใหม่ๆ ทำให้เกิดแก๊สไฮโดรเจน ซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า/ร้อน) แต่นั่นมันต้องมากเป็นตันๆ ขนาดกองสูงท่วมหัว แล้วไอ้ที่คุณเอาไปใส่ในแปลงสำปะหกลังน่ะ มันมากมายขนาดนั้นเชียวหรือ....จะบอกให้ อินทรีย์วัตถุในแปลงสำปะหลัง (พืชไร่ทุกตัว) เทียบกับเนื้อดินแล้ว แค่ 5-10% ของเนื้อดินก็พอเหลือเฟือแล้ว


ลุงคิม (กำลังปวดหัวกับความคิดคุณ....อย่าท้อนะ คิดต่อไป ทำต่อไป) ครับผม





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/12/2010 9:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sita
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/10/2010
ตอบ: 452

ตอบตอบ: 22/12/2010 8:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตนะคะคุณลุง...

รู้สึกดีและชอบมากเลยละค่ะกับการ "ถก" กันแบบนี้....
และชื่นชมคุณ Redฯ นะคะ....ที่คุณกล้าที่จะคิด กล้าที่จะถาม....
แค่ได้อ่านในทุกเรื่องที่ "ถก" กันก็ถือว่าเป็นความรู้แล้วละค่ะ...

ขอบคุณนะคะลุงคิม..
แป้ง..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2010 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป้าประสงค์ในการสอนของลุงคิม คือ "สอนให้คิดเป็น" ด้วยการยกอ้างเหตุผล ที่มา ที่ไป ต่างๆที่มันเกี่ยวเนื่องกันให้เขามองเห็นภาพ และเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพราะมั่นใจว่า เมื่อเขาเข้าใจแล้ว เขาจะสามารถต่อยอด หรือขยายผลไปสู่แนวทางไหน หรือเรื่องอะไรก็ได้.....แต่ถ้าบอกสูตรสำเร็จไปเลย โดยที่เขาไม่ต้องคิด แล้วเขาก็จะไม่รู้ว่า อะไรที่ "ดี - ดีกว่า - ดีที่สุด -เหนือกว่าดีที่สุด....ดี - ดีขึ้น - ดีขึ้นเรื่อยๆ - ดียาว - ดีอย่างยั่งยืน" น่ะซี.... สิ่งต่อไปที่จะตามมา คือ เขาช่วยตัวเองได้ และ ช่วยเหลือคนอื่นได้

เกมส์ในกระทู้นี้ใกล้ "คำตอบสุดท้าย" ที่เปรียบเสมือนสูตรสำเร็จเข้าไปทุกทีแล้ว เว้นเสียแต่เจ้าของกระทู้เกิดอาการ "รับไม่ได้" กับลีลาการตอบตามสไตล์ลุงคิมเสียก่อนเท่านั้น

ลุงคิม (ห้าวแต่จริงใจ) ครับผม

ปล.
แล้วเราล่ะ.....พี่ๆ เค้าไปไหนกันหมดล่ะ
เหลือลุงคนเดียวรึไง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sita
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/10/2010
ตอบ: 452

ตอบตอบ: 22/12/2010 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่ทราบเหมือนกันค่ะลุง..เค้าหายไปไหนกันหมด..แป้งตามให้มั้ยคะ..?
คิดๆๆๆ...จะไปตามยังงัย?? ที่ไหน??(หว่า)

ถ้าตามพี่ขุนทอง ต้องร้อง..วู้..!!ใช่มั้ยคะ?


แป้ง..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 22/12/2010 9:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ได้ยินเสียงเรียกดังแผ่วมาแต่ไกล ๆ ....

ว่าไงน้องแป้ง Razz

เงียบจริง ๆ ด้วยยยยย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2010 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อือ ว่ะ.....

ถ้าตามหนูแป้งล่ะ ต้อง "โว้ยยยยย..." ใช่ไหมลูก ?


ลุงคิม (ไม่กล้าตาม) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 22/12/2010 10:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รู้แล้ว

๑) หว่านปอเทือง (ปุ๋ยพืชสด) กลางร่อง พอออกดอกก็เอายางรถวิ่งล้มปอเทือง
๒) ทำน้ำหมักจุลินทรีย์ให้ดีที่สุด ผสมด้วย น้ำหมักขี้สารพัด ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ น้ำส่าเหล้า
๓) หลังล้มปอเทืองก็ไล่พ่นให้ จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ

เยสเซอร์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 7:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

GOOD.....ข้อที่ 1

ข้อที่ 2 - 3 - 4 มีไหม ?


ลุงคิม (มีหลายข้อ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 23/12/2010 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องสารอาหารและตัวย่อยอินทรีย์วัตถุ(จุลินทรีย์) ผมว่าน่าจะเคลียร์ได้ ด้วยการให้พร้อมน้ำ

แต่โจทย์ที่ยากก็คือ การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้เยอะที่สุด ด้วยวิธีที่สิ้นเปลืองแรงงานและเงินให้น้อยที่สุด ดังนั้นปอเทืองนี่ ไม่ยากเลย

ที่ต้องทำแน่ๆอยู่แล้ว คือ ตอนขุดหัวมัน ก็สับกิ่งที่ไม่เอา และเหง้ามันทิ้งลงในแปลง

ยังพอจะมีอีกวิธีหรือเปล่า คือ การให้อินทรีย์วัตถุตอนยกร่อง
นั่งหลังโครงผาน แล้วให้คนถือกระสอบนั่งโรย ปุ๋ยผสมแกลบกับใบไผ่แห้ง
แต่วิธีนี้จะเสียเวลามากตอน ทำปุ๋ย(วนกลับมาที่เดิม) กับตอนเก็บใบไผ่แห้ง

อีกวิธีคือ หาอินทรีย์วัตถุที่มีความละเอียดพอที่จะผสมกับน้ำแล้วพ่นสายยางรดน้ำได้
เช่น อะไร อะไร อะไร???

ยากเหมือนกันนะครับเนี่ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แทนนิน จากใบมันสำปะหลัง หยุดเพลี้ยแป้งระบาด

โดย ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม วันที่ี่ 2010-12-02 15:38:43

บจก.กิตติรัตนพรรณ เพิ่มมูลค่าใบมันสำปะหลัง ผลิตสารแทนนินจากใบมันฯ รายแรกของไทย แก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้ง โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(iTAP)

บจก.กิตติรัตนพรรณ เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากภาคเกษตร ผลิต “สารแทนนินจากใบมันสำปะหลัง” นวัตกรรมจากฝีมือคนไทยรายแรก แก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งด้วยวิธีธรรมชาติ ลดอัตราความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ระบุ ผลสำเร็จที่ได้เกิดจากการวิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของโครงการ iTAP

‘มันปะหลัง’เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศมีมูลค่าการส่งออกปีละหลายหมื่นล้านบาทมากว่า 40 ปี เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในดิร่วนและดินทราย แม้แต่บริเวณที่แห้งแล้งไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ มันสำปะหลังก็สามารถเจริญเติบโตได้ ผลผลิตจากหัวมันสำปะหลังนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำซึ่งหลายคนอาจไม่รู้

ส่วนใบมันสำปะหลังซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการผลิตในไร่ นอกจากใช้เป็นอาหารสัตว์แล้ว ล่าสุดมีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นอีก โดยมีเอกชนไทยเห็นความสำคัญถึงประโยชน์นำมาสู่งานวิจัยและพัฒนาวิธีการสกัดสารแทนนินจากใบมันสำปะหลัง เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง นอกจากเพิ่มมูลค่าแล้วยังสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกด้วย

แทนนิน (tannin) เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อน รสฝาด มีอยู่ในต้นพืชหลายชนิด ซึ่งสารนี้จะมีอยู่ทั้งในใบ,ลำต้น,เปลือก,ราก และฝัก โดยแทนนินมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannin) และไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable tannin) ประโยชน์ของแทนนินที่นิยมนำมาใช้กันในอุตสาหกรรมฟอกหนัง

เพราะมีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีนทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในการยับยั้งการเจริญโตเติบของจุลินทรีย์ , ย้อมผ้า , บำบัดน้ำเสีย , กาว , ปุ๋ย , ยารักษาโรค และธุรกิจปลาสวยงาม เป็นต้น แต่แทนนินที่สกัดได้ส่วนใหญ่สกัดมาจากพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ “ใบมันสำปะหลัง”

บริษัท กิตติรัตนพรรณ จำกัด เป็นบริษัทของคนไทยรายแรกและรายเดียวที่สามารถพัฒนาสารแทนนินที่สกัดจากใบมันสำปะหลังออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ถือเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ร่วมกับอาจารย์จากภาควิชาพฤษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นายสุดชาย กำเนินมณี รองประธานกรรมการ บริษัท กิตติรัตนพรรณ จำกัด ในฐานะผู้ที่ศึกษาวิจัยเรื่องมันสำปะหลังมานานกว่า 14 ปี และเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นว่า ตนเองนั้นจบการศึกษาจากคณะเกษตร สาขาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงมีความสนใจเรื่องมันสำปะหลังมานานแล้ว

จนเมื่อมีการจัดทำปัญหาพิเศษของนิสิตจากภาควิชาพฤษศาสตร์ ที่ต้องการศึกษาวิจัยเรื่องปริมาณของสารแทนนินในใบมันสำปะหลังเมื่อปี 2549 จึงให้เข้าใช้พื้นที่แปลงทดลองของตนที่ อ.สีคิ้ว เพื่อทำการศึกษาดังกล่าว

จากการคลุกคลีกับเรื่องดังกล่าวมานาน นำมาสู่การทำธุรกิจ โดยเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นเมื่อประมาณปี 2548 เน้นจำหน่ายท่อนพันธุ์ และผลิตใบมันสำปะหลังบดคัดพิเศษบรรจุกระสอบจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ให้กับฟาร์มโคนม โคเนื้อ และฟาร์มปลาสวยงาม และจากปัญหาพิเศษฉบับดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดใหม่ในการเพิ่มมูลค่าใบมันฯ

การพัฒนา สารสกัดแทนนินจากใบมันสำปะหลัง โดยทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในไร่มันสำปะหลัง พบว่า การใช้สารสกัดแทนนินนี้ช่วยให้ต้นมันสำปะหลังสะอาด ไล่เพลี้ยแป้ง แตกยอดใหม่ได้ดี ไม่หงิกงอ ลำต้นยืดยาวได้เป็นปกติและมีการแตกทรงพุ่มได้ดี เนื่องจากแทนนินมีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง (ป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง) นอกจากนนี้ยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตสมบูรณ์พ้อมที่จะลงหัวได้อย่างเต็มที่

นายสุดชาย กล่าวว่า ผลการศึกษาปริมาณของแทนนินในใบมันสำปะหลังจากรายงานปัญหาพิเศษฉบับดังกล่าว เป็นที่มาของการเข้ารับการสนับสนุนจากโครงการ iTAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.)

โดยมีรศ.ดร.วัลลภ อารีรบ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มโครงการแรกปี 2552 เพื่อศึกษาวิธีการสกัดสารแทนนินจากใบมันสำปะหลังในเชิงพาณิชย์ จนประสบผลสำเร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ

ประกอบด้วยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบมันสำปะหลัง เพื่อศึกษาวิธีการและชนิดของสารที่ใช้ในการสกัดสารแทนนินในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งปริมาณที่ได้ยังไม่เพียงพอที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการสกัดแทนนินจากใบมันสำปะหลังตามมา เพื่อพัฒนาเครื่องสกัดต้นแบบขนาด 10 ลิตร

จากนั้นยังได้ดำเนินการต่อในโครงการพัฒนาสกัดแทนนินจากใบมันสำปะหลังเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้สารสกัดแทนนินจากใบมันสำปะหลัง สำหรับควบคุมการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังปลอดภัยกับเกษตรกร และยังช่วยปรับปรุงบำรุงดินอีกทางหนึ่ง

จากผลวิจัยและทดลองนำสารแทนนินที่สกัดได้ไปฉีดพ่นในไร่มันสำปะหลัง พบว่า มีผลในการลดจำนวนการเข้ามากัดกินทำลายต้นมันสำปะหลังของเพลี้ยแป้งได้กว่า 75% หรือจากความรุนแรงระดับ 5 เหลือระดับ 1 ซึ่งสาเหตุที่เพลี้ยแป้งลดลงเพราะคุณสมบัติของสารแทนนินนั้น มีรสฝาด

เมื่อแมลงเจาะเข้าไปเพื่อดูดน้ำเลี้ยงในลำต้นของมันสำปะหลังก็จะขม แมลงจะไม่ชอบ ทำให้ไม่อยากดูด เกิดอาการท้องอืดและเบื่ออาหาร เพลี้ยก็จะค่อยๆ หายไป เป็นการไล่เพลี้ย ช่วยลดการระบาดของเพลี้ยแป้งที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมากของเกษตรกรและโรงงานผลิตแป้งมัน เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างแท้จริง

แม้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานได้มีความพยายามหาวิธีการควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งแทนการใช้สารเคมีก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้สารแทนนินแทนการใช้สารเคมีในการไล่เพลี้ยแป้งได้จริง บริษัทฯ จึงสนใจพัฒนาสารแทนนินบริสุทธิ์เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป

นายสุดชาย กล่าวว่า“ แทนนินในประเทศไทยยังไม่มีใครทำ บริษัทฯ จึงถือเป็นรายแรกที่ผลิตและจำหน่ายสารแทนนินสกัดจากใบมันสำปะหลัง

ส่วนที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดขณะนี้เป็นแทนนินที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยแทนนินที่สกัดจากเปลือกไม้โกงกางมีเพียง 2 ประเทศ คือ บราซิลและนิวซีแลนด์ ส่วนลิตภัณฑ์ Back Water ที่นิยมใช้กันในธุรกิจปลาสวยงามนั้น นำเข้าจากเยอรมนีซึ่งสกัดจากพีสมอส
มีราคาแพง ลิตรละ 1,200 บาท

ส่วนของไทยราคาเพียง 500 บาท เพราะนอกจากความได้เปรียบเรื่องของต้นทุนการผลิตแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ คือ ใบมันสำปะหลัง ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง โดยใช้เวลาว่างเก็บใบในช่วงเช้าและเย็น นำใบตากแห้งมาขาย ปัจจุบันบริษัทรับซื้ออยู่กิโลกรัมละ 5-10 บาท (การเก็บใบจะเริ่มเก็บได้เมื่อมันสำปะหลังมีอายุตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป จนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว โดยเก็บเพียงต้นละ 5-10 ใบเอาเฉพาะใบที่โตเต็มที่เท่านั้น

ซึ่งเกษตรกรจะต้องมีวิธีการเก็บใบและการตากแห้งที่ถูกต้อง เพราะหากเก็บใบออกจนหมดจะทำให้ผลผลิตของหัวมันลดลง) เชื่อว่าผลิตภัณฑ์นี้จะเข้ามาเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ง หากได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร สนใจนำสารแทนนินจากใบมันสำปะหลังไปใช้กำจัดเพลี้ยแป้ง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีอันตรายให้กับเกษตรกรได้ ”

ที่สำคัญสารแทนนินที่สกัดจากใบมันสำปะหลังนี้เป็นการเอาของเหลือจากภาคเกษตร คือ “ใบ” ปกติจะตกหล่นอยู่ในไร่หรือถูกเผาทิ้ง การนำมาสกัดสารแทนนินโดยกากที่เหลือจากการสกัด ยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพราะในใบมันฯ จะให้ธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ปกติ จึงเป็นที่มาของโครงการที่ 4

ซึ่งผลการศึกษายังพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยลดต้นทุนของเกษตรกรในเขตภาคอีสานได้ 30% สำหรับดินทราย และ 32% สำหรับดินร่วนปนทราย ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสร้างโรงงานผลิต คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554 ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มีการทดลองตลาดและออกวางจำหน่ายบ้างแล้ว ทั้งที่ตลาดนัดสวนจตุจักร และร้านขายผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงบางแห่ง หรือสั่งซื้อโดยตรงกับทางบริษัท

“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นการพัฒนาซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งหมดทุกขั้นตอนของการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยกับเกษตรกรผู้ใช้ ไม่เป็นพิษ ไม่มีผลตกค้างต่อผู้ใช้ ไม่ทำลายระบบนิเวศวิทยาเหมือนสารเคมี และกากที่เหลือยังสามารถนำไปใช้ได้หมดไม่เหลือทิ้งให้สูญเปล่า

การนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่ายังสร้างงานและสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร เพราะเป็นการรับซื้อของที่ไม่มีราคาจากเกษตรกรโดยตรง นำมาพัฒนาสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้ศึกษาพัฒนาต่อยอดในอีกหลายด้าน เช่น การบำบัดน้ำเสีย การใช้ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยง การช่วยติดสีในผ้าไหมย้อมธรรมชาติ และกาวไม้อัดที่ปราศจากสารก่อมะเร็ง เพราะประโยชน์ของแทนนินนั้นยังมีอยู่มาก” รองประธานกรรมการ บจก.กิตติรัตนพรรณ กล่าว

สำหรับความเห็นต่อโครงการ iTAP นายสุดชาย กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดี เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยลดภาระด้านต้นทุนในการวิจัยให้กับผู้ประกอบการ เพราะงานวิจัยบางอย่างต้องทำอย่างต่อเนื่องกว่าจะเห็นผล เช่นกรณีของบริษัทที่ต้องทำวิจัยอย่างต่อเนื่องถึง 4 โครงการจึงจะได้ผลผลิตออกมา เพื่อพัฒนาออกมาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางบริษัทฯ จะยังคงพัฒนาต่อไป


http://www.thailandindustry.com/home/news_preview.php?id=12544&section=3


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/12/2010 5:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/12/2010 5:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ทำระหัสตัวอักษรสีแดงนั้น เพื่อให้คิด/วิเคราะห์ถึงหลักการและเหตุผล...

ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น "ทำเอง" ได้หรือไม่ ?

เช่น สารสกัดสะเดา กับ สารสกัดใบมันสำปะหลัง...วิธีสกัดต่างกันตรงไหน ?
นอกใบสำปะหลังแล้ว ยังมีพืชสมุนไพรชนิดอื่นอีกหรือไม่ที่มีสารแทนนิน ?


ลุงคิม (คิดแล้วก๊อปปี้) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 24/12/2010 4:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องกลับกองปุ๋ยรุ่นจิ๋ว (เล็กที่สุดในโลก)
http://www.kasettoday.com/kasetboard/index.php?topic=182.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/12/2010 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


รางวัลที่ได้รับ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2549 รองชนะเลิศอันดับ 2
ด้านสังคม จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยี




























ปุ๋ยหมักกองเติมอากาศ

เนื้อหาผลงานโดยสังเขป
กรรมวิธีการศึกษา

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในปี พ.ศ. 2545 โดยมีโจทย์วิจัยเพื่อแก้ปัญหาการต้องพลิกกลับกองปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร ซึ่งต้องใช้แรงงานและกระบวนการแล้วเสร็จใช้เวลานานถึง 3-6 เดือน

กรรมวิธีการศึกษาโดยสรุปมี 3 การทดลอง คือ
1. การทดลองระดับห้องปฏิบัติการ (Lab Scale) เป็นการศึกษาการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบกองเล็ก ๆ ข้อค้นพบคือ การใช้เศษพืชและมูลสัตว์เพียง 2 ชนิดเท่านั้นและมีการพลิกกลับทุกวัน จะทำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีภายในเวลา 30 วัน ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการคือ ความชื้น ปริมาณจุลินทรีย์ ปริมาณออกซิเจน ความพรุนในกองปุ๋ย และค่า C/N ratio

2. การทดลองระดับจำลองสภาพจริง (Pilot Scale) เป็นการศึกษาการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษพืชและมูลสัตว์ภายในถังปฏิกิริยาแบบโปร่งขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ที่มีการเติมอากาศเป็นระยะๆ ด้วยพัดลมโบลเวอร์ (Blower) ข้อค้นพบจากการทดลองคือ ท่อพีวีซีที่ใช้เป็นท่ออากาศควรมีขนาด 4 นิ้ว พัดลมโบลเวอร์ควรเป็นแบบกรงกระรอก 15 นิ้ว ใช้มอเตอร์ 3 แรงม้า การเติมอากาศวันละ 2 ครั้งๆ ละ 15 นาที ก็จะทำให้มีออกซิเจนพอเพียงต่อกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ โดยพบว่า มีการเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยตามธรรมชาติจากปรากฏการณ์พาความร้อนแบบปล่องไฟ (Chimney Convection) จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องมีค่าอัตราการไหลของอากาศที่จำเพาะ และพบว่าสัดส่วนผสมระหว่างเศษพืชและมูลสัตว์ที่จะให้ค่า C/N ratio ที่เหมาะสมคือ 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร กระบวนการแล้วเสร็จภายในเวลา 30 วัน

3. การทดลองในระดับทำงานจริง (Full Scale) เป็นการศึกษาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในสภาพทำงานจริง ข้อค้นพบคือ กองปุ๋ยขนาด 1 ตันมีความเหมาะสมกับสภาพการทำงานของเกษตรกรมากที่สุด และสามารถออกแบบให้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ครั้งละ 10 กอง กองปุ๋ยวางบนพื้นดินกลางแจ้งโดยไม่มีผลกระทบจากน้ำฝนในฤดูฝน กระบวนการเสร็จภายใน 30 วัน สัดส่วนผสมระหว่างเศษพืชและมูลสัตว์ที่เหมาะสมคือ 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร

ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา
จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและจากข้อเด่นของงานวิจัยนี้ ที่เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีมีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรได้โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ได้ปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมาก 10 ตันเสร็จภายในเวลาเพียง 30 วัน ทำให้งานวิจัยนี้มีผู้นำไปใช้จริงแล้วถึง 470 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งถ้าหากแต่ละแห่งมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพียงร้อยละ 50 ของกำลังการผลิต ก็จะมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ถึง 28,200 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าถึงปีละ 112.8 ล้านบาท เศษพืชทุกชนิดที่เหลือจากการเกษตรกรรมสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้โดยไม่ต้องเผาทำลาย

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้มีต้นทุนการผลิตเพียงกิโลกรัมละ 0.75 บาท ในขณะที่ราคาในท้องตลาดกิโลกรัมละ 4-5 บาท มีค่าไฟฟ้าเพียงกองละ 100 บาท ระบบนี้ต้องมีการลงทุนเครื่องมืออยู่บ้างแต่ก็มีความคุ้มค่า เพราะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ครั้งละ 10 ตัน คิดเป็นมูลค่าสูงถึงครั้งละ 4 หมื่นบาท อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่
(1) พัดลมโบลเวอร์แบบกรงกระรอก 15 นิ้ว มอเตอร์ 3 แรงม้าไฟ 220 โวลท์
(2) ท่ออากาศท่อพีวีซี 4 นิ้วและอุปกรณ์อื่น
(3) เครื่องย่อยเศษพืช และ
(4) เครื่องเย็บถุงกระสอบ

ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน
1. มีกลุ่มเกษตรกรนำผลงานวิจัยนี้รวม 470 แห่งไปใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษพืช เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินในงานเกษตรกรรม ทำให้สามารถลดหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงได้ และเกษตรกรบางกลุ่มสามารถทำการเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ ที่มีความพอเพียงและยั่งยืนตามกระแสพระราชดำรัสอย่างได้ผลดี

2. เศษพืชจากการเกษตรกรรมที่อยู่อย่างมากมาย ถูกนำมาใช้ประโยชน์แทนการเผาทำลายที่สร้างปัญหามลพิษทางอากาศ

3. ระบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์นี้มีความเหมาะสมกับการทำงานแบบกลุ่มสมาชิก จึงช่วยให้มีความเข้มแข็งภายในกลุ่มเกษตรกรจากกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมภายในกลุ่ม

4. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบกองเติมอากาศนี้ได้ถูกประยุกต์ไปใช้ในการจัดการของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารอย่างได้ผลดี ช่วยให้โรงงานมีการจัดการของเสียที่ดี ลดการนำของเสียไปฝังกลบร่วมกับขยะมูลฝอยชุมชน ทำให้ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้

แหล่งติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290

สถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โทรศัพท์ 0-8691-7484-6 โทรสาร 0-5349-8902
E-mail: teerapongs@mju.ac.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

option=com_content&view=article&id=1143:
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/12/2010 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ปุ๋ยหมักแบบ 'ลูกหมุน' เติมอากาศลดปัญหาแรงงาน ได้ผลผลิตเร็ว

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 53

ทางเลือกหนึ่งของการลดต้นทุนการผลิต จากฝีมือและมันสมองของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ด้วยวิธีหมักแบบใหม่ที่ให้ผลที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา

"การหมักปุ๋ยอินทรีย์" ใช้เอง แม้เป็นทางเลือกหนึ่งของการลดต้นทุนการผลิต แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรมักประสบ "ปัญหาขาดแคลนแรงงาน" ส่งผลให้หลายรายต้องหันไปพึ่ง "ทางด่วน" ด้วยการสั่งซื้อปุ๋ยหมักสูตรสำเร็จมาใช้ ซึ่งโดยรวมนั้นไม่ได้ช่วยให้ต้นทุนลดลงมากนัก

ฉะนี้ นายเรวัตร จินดาเจี่ย เจ้าหน้าที่จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.) พร้อมคณะ จึงคิดค้นวิจัย "การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเติมอากาศแบบลูกหมุน" ขึ้น และทำการทดลองในพื้นที่สถานีวิจัยลำตะคอง ถ.มิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

นายเรวัตร บอกว่า การหมักปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้งหรือปุ๋ยหมักนั้น แบ่งเป็น 2 แบบ ตามลักษณะของจุลินทรีย์คือ การหมักแบบไม่เติมอากาศ (static pile) และการหมักแบบเติมอากาศ (active aeration) ซึ่งต้องใช้ขบวนการระบายอากาศที่นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการหมัก ที่ให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสม สำหรับการหมักต้องมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่หากใช้แรงงานคน การกลับกองปุ๋ยแต่ละครั้งต้องใช้ 6-7 คน นอกจากทำให้สิ้นเปลืองแล้วยังเพิ่มต้นทุน อีกทั้งกว่าจะได้ปุ๋ยหมักต้องรอนาน 4-6 เดือน

เพื่อแก้ปัญหาอีกทั้งเป็นทางเลือกให้เกษตรกร ทีมวิจัยจึงคิดค้นวิธีการหมัก 3 แบบ ซึ่งขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากเลือกสถานที่ควรเป็นที่ร่มสภาพพื้นที่เรียบแน่นไม่ยุบตัวง่าย สำหรับวางซองหมัก เสร็จแล้ววางแนวแปลนสร้างซอง โดยใช้เชือกดึงเป็นแนวหรือบล็อกประสาน วว. กว้าง 12.5 ซม. ยาว 25 ซม. สูง 10 ซม.

ก่อเป็นรูปทรงเหลี่ยมผืนผ้า ด้านในซองหมักขนาด 1.5๚2 เมตร หลังวางแนวเรียบร้อยแล้วเปิดบล๊อก ด้านยาวออก ก่อสร้างซองหมัก ในลักษณะที่ทีมวิจัยออกแบบ เสร็จแล้วเติมอากาศ โดยใช้ท่อ หรือ ไม้ไผ่ทะลวงปล้อง จำนวนหลายอันวางในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียง เพื่อให้เกิดการระบายอากาศชนิดที่เรียกว่า passive aeration วิธีดังกล่าวพบว่ายังมีข้อจำกัดในกรณีที่วัสดุที่หมักแน่นทึบ ทำให้ระบายได้ไม่ดีเท่าที่ควร

รูปแบบที่สอง คือ ใช้เครื่องเป่าลม ซึ่งต้องลงทุนซื้อพัดลมอัดอากาศ และระบบท่อนำฯเข้าสู่กองปุ๋ย นอกจากทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น ยังสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับเป่าอากาศเข้ากองปุ๋ยในแต่ละวัน ดังนั้น จึงพัฒนารูปแบบสุดท้าย คือ ลูกหมุน (Mechanical roof 's ventilation fan) โดยใช้เป็นชนิดเดียวกันกับลูกหมุนระบายอากาศตามหลังคาบ้าน อาคาร โรงงาน ซึ่งมีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดี

และเมื่อนำการเติมอากาศทั้ง 3 รูปแบบมาเปรียบเทียบ ผลที่ได้พบว่า การหมักด้วยระบบใช้ลูกหมุน นอกจากช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน เกษตรกรยังจะได้ปุ๋ยหมักใช้เร็วกว่าวิธีการกลับกอง 20-30 วัน

สำหรับเกษตรกรรายใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-4439-0107 หรือ tistr.or.th/lamtakhong

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 19 เมษายน 2553
http://www.thairath.co.th/content/edu/77520

http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=160
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 25/12/2010 2:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โอ้พระเจ้า เอาลูกหมุนระบายลมหลังคามาใช้ อันนี้โดนครับลุง
ผมใช้จุลินทรีย์พื้นถิ่นช่วยหมักด้วย น่าจะเวลาไม่เกินสองอาทิตย์ครับ

แต่ต้องดูพื้นที่ให้เหมาะกับการรับลม ผมว่าถ้าเปลี่ยนกระเบื้องโกดังเป็นชุดระบายลมซักสองตัว หรือ ตั้งตัวหมุนให้สูง แล้ววิ่งท่อลงมา เจอกองปุ๋ย

วางกองปุ๋ยแนวยาวกว้าง ๑ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑ เมตร วางท่อระบายลมขนานคู่ โผล่ปล่องขึ้นมาซัก ๔ ตัว แล้วต่อท่อรวบสี่จุดเข้ากับท่อเข้าตัวระบายลมสองจุด

ชักสนุกแฮะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/12/2010 2:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าทำเพื่อ "จำหน่าย" ก็สมควรลงทุน สำหรับความน่าเชื่อถือในคุณภาพของ
สินค้า....

แต่ถ้าทำเพื่อใช้ในแปลงส่วนตัวละก็ น่าจะหาวิธีที่ประหยัดต้นทุน (ทุกอย่าง) ได้
มากกว่านี้.......ทำไมไม่คิดวิธี "แสวงประโยชน์" จากธรรมชาติบ้างล่ะ


ลุงคิม (ไม่ชอบขี่ช้างจับตั๊กแตน) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2011 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมัย ลิ้มวัชราภรณ์ ทำน้ำหยดในไร่มัน ที่โนนสุวรรณ เพิ่มผลผลิต หยุดเพลี้ยแป้ง

เพราะได้แรงบันดาลใจจากผู้เป็นบิดา คือ คุณประกอบ ลิ้มวัชราภรณ์ ที่ได้นำระบบน้ำหยดเข้ามาใช้กับการปลูกแตงกวา และข้าวโพด จนได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี จึงทำให้ คุณสมัย ลิ้มวัชราภรณ์ ผู้เป็นลูกชาย และเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จำกัด เลขทะเบียน 936 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาเฮียง ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำระบบน้ำหยดเข้ามาในแปลงปลูกมันสำปะหลังจนประสบความสำเร็จ

ในวันนี้ บนพื้นที่ 20 ไร่ ในครอบครองของคุณสมัย ที่เน้นการปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยด จึงกลายเป็นแปลงสาธิตการผลิตมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เปิดให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่สนใจ ได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ

คุณสมัย บอกว่า ได้ปลูกมันสำปะหลังมาเป็นเวลาประมาณ 13 ปีแล้ว โดยในครั้งที่ยังปลูกมันสำปะหลังแบบเดิมจะได้ผลผลิตเพียง 3-4 ตัน ต่อไร่ มีรายได้จากการขายหัวมันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเท่าไรนัก

แต่ในวันนี้ เมื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบการปลูกแบบน้ำหยด ทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสดที่ดีขึ้นมาก โดยเฉลี่ยที่ไร่ละประมาณ 7-8 ตัน ทีเดียว

"สิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้จากการนำระบบน้ำหยดมาใช้ในการปลูก มันสำปะหลังนั้น มีด้วยกันหลายประการ ทั้งประหยัดเวลาในการดูแล ผลิตมันได้มากขึ้น ลดการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ และมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย" คุณสมัย กล่าว

"อย่างเพลี้ยแป้งนั้น เห็นได้ชัดเลยว่า มีอัตราการระบาดลดลงอย่างมาก ตั้งแต่มีระบบน้ำหยด โดยจากเดิมนั้น ไร่มันสำปะหลังจะต้องได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 แต่เมื่อนำระบบน้ำหยดมาใช้แล้ว การระบาดลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น"

คุณสมัย ยังกล่าวถึงรายได้ที่ได้รับว่า ในช่วงที่ผ่านมาขายมันสำปะหลังได้ กิโลกรัมละ 2.50-3 บาท เฉลี่ยไร่ละ 24,000 บาท หากรวมทั้ง 20 ไร่ จะมีรายได้ประมาณ 480,000 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถขายท่อนพันธุ์ได้อีก ต้นละ 2 บาท เฉลี่ยแล้วไร่หนึ่งจะมีรายได้จากการขายท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ประมาณ 3,000 บาท

แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมมองหนึ่งของคุณสมัยที่ทำให้ระบบการปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยด ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งที่มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ ปัญหาการขาดเงินลงทุน การขาดแคลนแหล่งน้ำและปัญหาระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึงพื้นที่ปลูก

"สำหรับระบบการทำน้ำหยดในไร่มันนั้น จะต้องใช้ต้นทุนประมาณ 7,000 บาท ต่อไร่" คุณสมัย บอกกล่าวถึงต้นทุนที่ต้องเตรียมการไว้

ในไร่มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ทั้ง 20 ไร่ ในวันนี้ของคุณสมัย จึงมีระบบน้ำหยดวางอยู่ทั่วทั้งแปลง ซึ่งหมายถึงว่าต้องใช้เงินทุนสำหรับการนี้ประมาณ 140,000 บาท

"ทั้งนี้ จะเป็นการลงทุนในครั้งแรกมากที่สุด เพราะต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าเครื่องสูบน้ำ ท่อน้ำ และอื่นๆ แต่หลังจากนั้นจะลงทุนน้อยลง โดยเฉพาะอยู่ที่ไร่ละ 3,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีค่าไฟฟ้าอีกปีละ 6,000 บาท และค่าปุ๋ยหมักชีวภาพที่ให้ไปพร้อมกับระบบน้ำอีก เฉลี่ยไร่ละ 1,500 บาท"

"แต่เราจะมีรายได้จากการขายหัวมันสำปะหลังและท่อนพันธุ์ เฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง โดยอายุของต้นมันที่ขุดได้นั้น อยู่ที่ประมาณ 6-7 เดือน จากที่ผมทำมานั้นเพียงแค่ขุดหัวมันขายในรอบแรก เราก็สามารถคืนทุนได้แล้ว ส่วนรอบ 2 นั้นถือว่าเป็นกำไร" คุณสมัย กล่าว

สำหรับระบบน้ำหยดของ คุณสมัยนั้น จะใช้น้ำจากบ่อน้ำที่ขุดไว้ ซึ่งเป็นบ่อน้ำซับ สามารถมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งพื้นที่บ่อมีความจุประมาณ 1,260 ลูกบาศก์

ให้ปุ๋ยทางน้ำไว้ด้วย โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ คือ นำปุ๋ยชีวภาพมาผสมกับน้ำและคนให้เข้ากันในถังพลาสติคใบใหญ่ และจะต่อสายยางในรูปแบบของกาลักน้ำ เพื่อนำปุ๋ยที่ผสมแล้วเข้าไปสู่ระบบท่อที่สูบน้ำจากบ่อ ปุ๋ยดังกล่าวจะไหลไปตามท่อเมนที่วางยาวไว้กลางไร่มันสำปะหลัง ซึ่งจะมีการต่อท่อน้ำหยดในลักษณะก้างปลากระจายไปทั่วทุกแถวของต้นมัน สำปะหลัง

"ระบบท่อน้ำหยดนี้ สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรทั่วไป คุณสมัยจะวางเครื่องสูบน้ำที่จะมีการวางระบบซึ่งเป็นสายสำเร็จรูป เราเพียงนำมาวางในไร่มัน โดยวางไปตามร่องปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งระยะของรูที่เจาะเพื่อปล่อยให้น้ำหยดออกมานั้น จะอยู่ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร" คุณสมัย กล่าว

สำหรับท่อน้ำหยดที่วางไปตามร่องปลูกต้นมัน สำปะหลังนั้น คุณสมัย บอกว่า จะวางท่อไปพร้อมกับการนำต้นพันธุ์มาปลูก พอเมื่อจะเก็บเกี่ยวขุดหัวมันปะหลังขึ้นมาขาย จะดำเนินการรื้อท่อออกก่อน แล้วจึงเริ่มขุด ส่วนท่อที่รื้อมานั้นจะเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับท่อน้ำหยดที่วางไว้ในไร่มันสำปะหลังนั้น คุณสมัย บอกว่า จะมีอายุการใช้งานได้นานประมาณ 3-4 ปี

"โดยจะให้น้ำหยดแก่ต้นมันสำปะหลังที่ปลูก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง"

ในส่วนของการให้ปุ๋ยนั้น ครั้งแรกคุณสมัยบอกว่า จะให้ปุ๋ยชีวภาพในช่วงก่อนการไถกลบ เมื่อต้นมันสำปะหลังอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะให้ปุ๋ยสูตรระเบิดหัว และในเดือนที่ 5 จะให้ปุ๋ยสูตรระบิดหัวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะใช้ปุ๋ย 7 กระสอบ และเมื่อต้นมันสำปะหลังอายุได้ประมาณ 7 เดือน จะขุดหัวขึ้นมาขาย

"พอผมมาใช้ระบบน้ำหยดแบบนี้ ในเรื่องของการเก็บเกี่ยวก็เร็วขึ้น จากเดิมหากปลูกตามธรรมชาติ การดูแลจะต้องปล่อยให้ต้นเติบโตนาน 12 เดือน จึงขุดหัวมันขึ้นมาได้ แต่พอมาใช้ระบบน้ำหยดสามารถย่นระยะเวลาได้มากขึ้น เหลือเพียง 7 เดือน ก็สามารถขุดหัวมันขายได้แล้ว ที่สำคัญได้หัวมันที่ใหญ่ น้ำหนักดีขึ้นกว่าเดิมมากด้วย" คุณสมัย กล่าว

"ในการทำไร่มัน สำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าที่อื่นจะมีใครทำหรือไม่ แต่จากที่ผมได้ทำมา รับรองได้เลยว่า สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีมากจริงๆ" คุณสมัย กล่าวในที่สุด

สำหรับผู้สนใจ ต้องการไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 607-187 ซึ่งทางสหกรณ์พร้อมที่จะให้คำแนะนำและนำเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกมัน สำปะหลังน้ำหยด เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถนำไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับ คุณสมัย ลิ้มวัชราภรณ์


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&date=14-10-2010&group=8&gblog=119
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 05/01/2011 8:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สงสัยอยู่อย่างครับว่า ขุดหัวมันที่ ๗ เดือนนี่ แล้วเอาต้นพันธุ์ ๗ เดือนไปปักนี่
มันจะไหวรึเปล่า ถ้าซัก ๑๐ เดือน นี่ยังพอไหว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2011 5:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะนำ.....

สอบถามไปที่เว้บอ้างอิง หรือไม่ก็โทร.ในข้อมูลก็ได้
ได้เรื่องได้ราวยังไง ส่งข่าวด้วยก็ดีนะ.....

เว้บนี้ลุงคิม COPY เขามาให้รู้กันเท่านั้น



ลุงคิม (ก็สงกะสัยเหมือนกัน) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2011 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชุบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปราบเพลี้ยแป้ง

จากการที่เพลี้ยแป้งสีชมพูของมันสำปะหลังระบาดรุนแรงมาตั้งแต่เดือน มกราคม - พฤษภาคม 2552 และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนตกลงมา การระบาดของเพลี้ยแป้งได้ลดลงไปชั่วระยะหนึ่ง ต่อมาในช่วงเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน หลังฝนทิ้งช่วงเพลี้ยแป้งกลับระบาดรุนแรงขึ้นมาอีก เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลังค่อนข้างจะกำจัดยากกว่าเพลี้ยแป้งธรรมดา เนื่องจากในช่วงฤดูฝนเพลี้ยแป้งจะหลบลงไปอยู่ที่บริเวณโคนต้น หลังจากฝนทิ้งช่วงอากาศร้อนเพลี้ยแป้งจะเคลื่อนย้ายขึ้นมาอยู่ที่ยอดทำลายใบให้หงิกงอ กรมวิชาการเกษตรจึงได้ทำการศึกษาวิจัยการป้องกัน และกำจัดทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ในระยะสั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อยับยั้งการระบาดมิให้กระจายออกอย่างกว้างขวาง ได้ศึกษาการใช้สารเคมีโดยการวิจัยของกลุ่มกีฏและสัตววิทยาพบว่า สารเคมีที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้แก่ไทอะมีโทแซมใช้ในอัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารไวท์ออยล์ 67% EC. 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง

นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังมาตั้งแต่ต้น กล่าวว่า หลังจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแล้ว กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยาก็ได้ทำศึกษาวิจัยการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีก่อนปลูก โดยศึกษาการแช่ท่อนพันธุ์ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้สารเคมีสำหรับแช่ท่อนพันธุ์คือ




1. ไทอะมีโทแซม 25 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. อิมิดาคลอพริด 70 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ไดโนทีฟูแรม 10 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู พี 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

อย่างใดอย่างหนึ่งนาน 5-10 นาที หลังจากแช่แล้วนำไปปลูก ได้ทดสอบแล้วจะสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างน้อยประมาณ 1 เดือน

การแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีที่ได้ผลที่สุด คือ ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพร้อมปลูก แล้วนำไปแช่สารเคมีที่แนะนำไปแล้วข้างต้นประมาณ 5-10 นาที สารเคมีจะถูก ดูดซึมเข้าไปในเซลพืชได้มากที่สุด และไม่ทำให้พืชเกิดอาการเป็นพิษ จากการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในแนวนอนจะต้องใช้เวลา 15 นาที สารเคมีจึงจะซึมเข้าได้หมด ขณะเดียวกันได้ทดลองแช่ท่อนพันธุ์ในแนวตั้งปรากฎว่าใช้เวลาแช่ 24 ชั่วโมง พบว่าสารเคมียังซึมไม่ถึงยอด ซึ่งเราจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่าการแช่ในแนวตั้งนานแค่ไหน สารเคมีจึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้

“ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วพร้อมปลูก หรือแช่ท่อนพันธุ์ในแนวนอนไปก่อน โดยปกติแล้วเกษตรกรมักจะทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยฮอร์โมนเร่งราก หรือฮอร์โมนที่มีสารอาหารต่างๆ ก่อนปลูกอยู่แล้ว เกษตรกรจะเพิ่มสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งโดยยอมเสียเวลาแช่ไปอีกสักหน่อย ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ซึ่งนอกจากเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์จะตายแล้ว เพลี้ยแป้งก็ไม่สามารถทำลายต้นมันสำปะหลังที่งอกออกมาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน” นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่าหลังจากที่นำท่อนพันธุ์ที่แช่สารเคมีไปปลูก เมื่อต้นมันสำปะหลังงอกได้ปล่อยเพลี้ยแป้งไปที่ต้นมันทุกสัปดาห์ และเฝ้าดูว่าวิธีไหนที่เพลี้ยแป้งมีชีวิตอยู่รอด เมื่อเปรียบเทียบกับ ต้นมันสำปะหลังที่ปลูกโดยแช่น้ำเปล่า พบว่าวิธีที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีได้ผลดีที่สุด คือหลังจากที่ปลูกไปแล้วระยะเวลาการทำลายของเพลี้ยแป้งจะช้าลง เพลี้ยแป้งไม่สามารถบินไปได้เนื่องจากไม่มีปีก โอกาสที่จะระบาดก็คือลมพัดมา ติดมากับคนและสัตว์เลี้ยงหรือมดพามาเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ได้มีข้อมูลจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย รายงานว่า ได้ทำการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารไทอะมีโทแซม 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู่ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 5 บาท มูลนิธิได้รายงานด้วยว่า จากการทดลองปลูกไปแล้ว 6 เดือน ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเลยแต่ในแปลงที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ได้มีการพ่นสารเคมีไปแล้ว 3 ครั้ง




นอกจากนั้น กรมวิชาการเกษตรยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม โดยการนำแตนเบียนสายพันธุ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการกำจัดเพลี้ยแป้งที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มาทำการเลี้ยงขยายพันธุ์แล้วนำไปปล่อยในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยนำมาดำเนินการร่วมกับวิธีแช่ท่อนพันธุ์ หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ปล่อยแตนเบียนไปทำลายเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมี ซึ่งเป็นนโยบายการลดการใช้สารเคมีของกรมวิชาการเกษตรอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามในระยะนี้ ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังไปก่อนเพราะอยู่ในช่วงหน้าแล้ง และยังอยู่ในช่วงของการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกในช่วงที่เหมาะสมคือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม ของฤดูปลูกปี 2553


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 - 2579 5583 และ 0 2579 7542



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_5-june/rai.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Redmountain
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 19/01/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[สำหรับผู้สนใจ ต้องการไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 607-187/quote]


ถามไปที่สหกรณ์ เค้าก็ให้เบอร์ลุงสมัยมา โทรไปคุยมาแล้วครับ สไตล์เกษตรกรทั่วไป ไม่ค่อยพูดมาก ตกลง ถ้าปลูกด้วยวิธีนี้แล้ว ต้นจะใหญ่โตเร็ว ดังนั้น ขุดหัวเสร็จ เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อได้ครับ

แต่ยังงั้นก็เหอะ ผมว่า การปลูกให้ครบวงจร ๑๑ เดือน น่าจะดีกว่า เพราะรอบการขุดจะคงที่ทุกปี ถ้าเราปลูกปลายฝน (พ.ย.) กับ ต้นฝน (เม.ย.) ไปได้ตลอด มันจะจัดการวงจรชีวิตง่ายกว่า แถมไม่ต้องเสียค่าไถที่ชักร่องถี่ตามไปด้วย ช่วงที่รอไปอีก๓ เดือน ก็ถือว่าให้หัวมันโตตามไปด้วย

ยังไง ผมก็คงจะลองขุดหัวมันดูก่อนว่า ช่วง ๘ เดือน ถึง ๑๑ เดือน จะได้น้ำหนักหัวเพิ่มกี่มากน้อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/01/2011 5:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องการบริหารเวลา ปลูก-ขุด ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่ ปัญหาต่างๆไม่เหมือนกัน


สำปะหลัง ถ้าบำรุงถูกต้อง (ตามสำปะหลัง) อายุ 6 เดือนก็ขุดได้แล้ว แต่ลุงคิมว่า 8 เดือนกำลังสวย เพราะ "เวลา" ก็เป็นต้นทุนเหมือนกัน

รายการเกษตร ทีวี.ตรานกปีกฉีก (จำช่องไม่ได้) บอกว่า ปลูกสำปะหลัง 2 ปี (24 เดือน) ได้ผลผลิต 6 ตัน แต่ถ้าปลูกปีเดียวได้แค่ 3 ตัน.....แล้วตีความแบบเหมาจ่ายว่า ปลูกครั้งเดียวแต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็นการ "ลดต้นทุน" ค่าปลูก ค่าเตรียมดิน แต่เขาไม่คิดเลยหรือว่า "เวลาตั้งปีกว่า" ก็คือต้นทุน


หลักนิยมในการปลูกสำปะหลัง มักกะเวลาปลูกแล้วให้ได้อายุขุดตรงกับหน้าแล้ง นัยว่าขุดง่าย บางครั้งถึงหน้าแล้งแล้วไม่ได้ขุด จะด้วยเหตุผลใดก็สุดแท้ จำเป็นต้องปล่อยสำปะหลังค้างคาอยู่ในแปลงอย่างนั้น ........ ช่วงที่ปล่อยค้างคาอยู่ในแปลงนี้ ชาวไร่สำปะหลังบอกว่ามันจะ "กินตัวเอง" นั่นคือ หัวสำปะหลังจะยุบ ไส้กลวง ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีเปอร์เซ็นต์แป้ง


ว่าด้วยสรีระวิทยาสำปะหลัง :
หัวสำปะหลัง คือ ราก เรียกว่า "รากสะสมอาหาร" ช่วงระหว่างที่ต้นสามารถสร้างอาหารได้ ซึ่งก็คือหน้าฝนนั่นเอง สารอาหารที่สร้างได้ส่วนใหญ่จะเอาไปสต๊อกไว้ที่หัว (ราก) กับส่วนน้อยที่ส่งไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ (ลำต้น-ใบ) ของต้น

ครั้นถึงหน้าแล้ง ไม่มีน้ำ ไม่มีฝน ต้นไม่สามารถสร้างสารอาหารได้จึงไม่มีสารอาหารไปสะสมที่หัว (ราก) อีก หัวก็จะไม่โตขึ้น ในขณะเดียวกัน ต้นจะต้องเลี้ยงส่วนอื่นๆด้วย เมื่อไม่มีสารอาหารใหม่จากดินก็ต้องเอาสารอาหารเก่าที่เคยสะสมไว้ในหัวส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นแทน นี่คือ สาเหตุ "กินตัวเอง" ไงล่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้สำปะหลังกินตัวเอง ก็คือ "ให้อาหาร" เพื่อไม่ให้ต้นต้องเอาสารอาหารเก่าที่สะสมไว้ไปใช้ แบบนี้หัวสำปะหลัง (ราก) ก็ยังคงสภาพเดิม หรือดีกว่าเดิม

ข้อสังเกตุ :
- ต้นสำปะหลัง ลักษณะลำต้นเรียวเล็ก ข้อถี่ ใบน้อย แค่กระจุกเดียวที่ปลายยอด(เหมือนผมโก๊ะ).... นั่นแหละ สำปะหลังขาดน้ำ ขาดสารอาหาร สำปะหลังแบบนี้ หัวเล็ก ผิวเปลือกที่หัวเป็นสีน้ำตาล เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ลำต้นใช้ทำพันธุ์ต่อไม่ดี

- สำปะหลัง ลักษณะลำต้นอวบอ้วน ข้อห่าง ใบมากจากยอดถึงโคน ใบใหญ่หนา เขียวเข้ม (เหมือนบ้าใบ) ...... นั่นแหละ สำปะหลังได้น้ำ ได้สารอาหาร สำปะหลังแบบนี้หัวใหญ่ ผิวเปลือกที่หัวเรียบ สีขาวเป็นมัน น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ลำต้นใช้ทำพันธุ์ต่อดี (ขายได้ มีรายได้เพิ่ม)

- สำปะหลังบ้าใบ ไม่ลงหัว หรือลงหัวไม่ดี แก้ไขด้วยการควบคุมปริมาณ "น้ำ" ให้น้ำพอหน้าดิน "ชื้น" น้อยๆ (ชื้น - ชุ่ม - โชก - แฉะ - แช่) กับควบคุม "สูตรปุ๋ย" ที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ โดยเน้นปุ๋ยสูตรสร้างแป้ง มากกว่าสูตรสร้างต้นสร้างใบ



ประสบการณ์ตรง :
สำปะหลัง อายุ 6 เดือน ให้ "น้ำ + สารอาหาร" สม่ำเสมอ คาดว่า (ดูด้วยสายตาจากประสบการณ์) จะได้ผลผลิตประมาณ 6 ตัน กอร์ปกับช่วงนั้นเข้าสู่หน้าแล้งแล้ว เพราะปีนั้นแล้งมาเร็วผิดปกติ คิดอยู่ว่า อายุแค่ 6 เดือน เปอร์เซ็นต์แป้งคงยังไม่ดีนัก ต้องเลี้ยงต่อไปอีก จึงจัดการให้ "น้ำ + สารอาหาร" ตามปกติเหมือนช่วงที่ยังไม่แล้ง ให้สม่ำเสมอต่ออีก 2 เดือน สิริรวมอายุสำปะหลังเป็น 8 เดือน คราวนี้สุ่มขุดขึ้นมาดู

ต๊กกะใจ ! หัวสำปะหลังใหญ่ขึ้น คาดว่า (ดูด้วยสายตาจากประสบการณ์) น่าจะได้ผลผลิตถึง 8 ตัน แต่เนื่องสถานการณ์ด้านแรงงานขุดไม่พร้อม จำต้องตัดสินใจปล่อยสำปะหลังไว้ในแปลงต่ออีก 2 เดือน พร้อมกับให้ "น้ำ + สารอาหาร" สม่ำเสมอตามปกติ กระทั่งครบกำหนด 10 เดือน คราวนี้ลงมือขุดได้....

ปรากฏว่า ผลผลิตที่ได้ 12 ตัน แป้ง 30 เปอร์เซ็นต์ตามเกณท์ที่ลานมันกำหนด



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/01/2011 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เปอร์เซ็นต์แป้งเกิน ไล่ออก.....

ลานรับซื้อสำปะหลังแห่งหนึ่ง ประมาณที่ลำนารายณ์ - ชัยบาดาล ลพบุรี รับซื้อหัวมันสำปะหลังแบบทั้งหัว โดยให้ราคาตามเปอร์เซ็นต์แป้ง นั่นหมายความว่า หลังจากชั่งน้ำหนักแล้ว จะต้องสุ่มเอาหัวสำปะหลังไปวัดเปอร์เซ็นต์แป้งก่อน

เสมียน (ภาษาชาวบ้าน) ผู้หญิงเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจเปอร์เซ็นต์แป้ง ได้รับคำสั่งตามอำนาจเด็ดขาดจากเถ้าแก่ลานมันว่า

"......เปอร์เซ็นต์แป้งวัดได้เท่าไหร่ใส่เท่านั้น แต่ถ้าเปอร์เซ็นต์เกิน 30 ให้ใส่แค่ 30 ......"

คราวหนึ่งเสมียนวัดเปอร์เซ็นต์แป้งสำปะหลังของคนที่ทำตามแนวทางลุงคิม ปรากฏว่าได้เปอร์เซ็นต์ 32-33% เสมียนก็เขียนในใบจ่ายเงินตามนั้น

พอเถ้าแก่รู้ เท่าแหละ เถ้าแก่ไล่ออก ข้อหา ไม่รักษาผลประโยน์ของลานมัน แถมแย้งอีกว่า ไม่เคยมีใครทำได้เปอร์เซ็นต์สูงขนาดนั้น คนที่ทำได้มันไม่รู้หรอก แค่ใส่เต็มที่ 30% ก็น่าจะพอแล้ว


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©