-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ความหมายของปุ๋ย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ความหมายของปุ๋ย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ความหมายของปุ๋ย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/12/2010 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ความหมายของปุ๋ย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความหมายของปุ๋ย

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 11:03 น. ผู้ดูแลระบบ

ความหมายและประเภทของปุ๋ย
นักวิชาการเกษตรชี้ ปุ๋ยชีวภาพไม่สามารถทำการผลิตได้ในระดับเกษตรกร ต้องเป็นหน่วยงานที่มีการศึกษาวิจัยทางด้านปุ๋ยชีวภาพโดยตรงเท่านั้น

ปุ๋ย หมายถึง วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดปุ๋ย เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชที่จำเป็นแก่พืชซึ่งมี ทั้งหมด 16 ธาตุ คือ

คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O2)
ซึ่งทั้งสามธาตุนี้พืชได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงจึงไม่จำเป็นต้องให้

สำหรับอีก 13 ธาตุ ได้แก่
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โพแทสเซียม (K)

แคลเซียม(Ca)
แมกนีเซียม (Mg)
กำมะถัน(S)

เหล็ก (Fe)
แมงกานีส (Mn)
สังกะสี (Zn)
โบรอน (B)
ทองแดง (Cu)
โมลิปดินัม (Mo) และ
คลอรีน (Cl)

ซึ่งพืชจะต้องได้รับธาตุอาหารเหล่านี้ครบและในปริมาณที่พอเพียงจึงจะเจริญ เติบโตได้อย่างสมบูรณ์




ปุ๋ยได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ เช่น แร่และหินต่างๆ ที่มีธาตุอาหารพืชดังกล่าวเป็นองค์ประกอบโดยกระบวนการทางอุตสาหกรรมเคมีจึง มีสูตรโครงสร้างที่แน่นอน ถ้าเป็นปุ๋ยเดี่ยวจะให้ธาตุอาหารพืชชนิดเดียว เช่น ยูเรีย ให้ธาตุไนโตรเจน ถ้ามีธาตุอาหารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเรียกว่า "ปุ๋ยผสม" เป็นต้น


ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ผลิตจากการหมักวัสดุจากพืชหรือสัตว์ รวมทั้งปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ต่างๆ และปุ๋ยพืชสดด้วย ปุ๋ยอินทรีย์จะให้ธาตุอาหารพืชครบทุกธาตุ มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ผลิต


ปุ๋ยชีวภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่สามารถก่อให้เกิด กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารประกอบธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปที่พืช สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ จุลินทรีย์กลุ่มตรึงไนโตรเจนในอากาศที่นำมาใช้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยในพืชได้ และอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่กลุ่มที่ทำให้หินฟอสเฟตละลายให้พืชใช้ได้


ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จึงหมายถึง กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆ กัน และนำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในระบบนี้จะต่างออกไปจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆ ไป การผลิตในระบบนี้จะต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ทั้งโรคคนและโรคพืชแล้วจึงนำจุลินทรีย์กลุ่มปุ๋ยชีวภาพที่ได้คัดเลือกเชื้อเฉพาะ และทำการผลิตในรูปเชื้อบริสุทธิ์ แล้วนำมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตดังกล่าว จึงจะทำให้เนื้อปุ๋ยชีวภาพเจริญ อยู่ในวัสดุปุ๋ยอินทรีย์ได้ดีในความชื้น 30-40%

การที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี คือ มีปริมาณ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง จำเป็นต้องคัดเลือกวัสดุที่นำมาใช้ให้เหมาะสม จากผลงานวิจัยในโครงการ “การนำวัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมและวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า เมื่อนำวัสดุที่มีสัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สูง มาทำการผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์จะได้ ไนโตรเจน (N) 4.9-5.9% ฟอสฟอรัส (P) 3.8-5.0% และโพแทสเซียม (K) 1.5-2.8%


สำหรับจุลินทรีย์ที่นำมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ ได้คัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มตรึงไนโตรเจนสกุล Azotobacter และ Azospirillum และใส่จุลินทรีย์กลุ่มเชื้อราที่สามารถควบคุมโรครากเน่าของพืช คือ Trichoderma ไปด้วย จากผลการทดลองกับพืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา พวกสลัดต่างๆ และแตงกวา เปรียบเทียบกับปุ๋ยที่ผลิตโดยเกษตรกรเองเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้ง ทางด้านการเจริญเติบโตและเกิดโรครากเน่า การทดลองกับข้าวที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดสุรินทร์ ให้ผลดีมากเช่นเดียวกัน เพราะปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ผลิตจากโครงการวิจัยนี้มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง

การที่มีข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยในการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ ไม่อนุญาตให้ใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแบบของปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการสะสมของไนโตรเจนสูง เมื่อมีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีทำให้พืชมีอาการเฝือใบโดยเฉพาะ ข้าวเริ่มพบแล้วในบางแห่งที่จังหวัดสุรินทร์ จึง

มีผลทำให้ข้าวแก่ช้า และต้นล้มง่าย และที่สำคัญ คือ ทำให้ความหอมของข้าวลดลงเนื่องจากได้รับไนโตรเจนสูงเกินไป ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตโดยเกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไปนั้นมักได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เพราะไม่ได้รับฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่สมดุลกับไนโตรเจน วัสดุพืชส่วนใหญ่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำกว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียม เมื่อนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์จึงได้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสต่ำ


แนวทางแก้ไขในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ คือ จะต้องหาวัสดุธรรมชาติที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต

ในบ้านเราขณะนี้มีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่มาก ระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพ และมักเข้าใจว่าปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยชีวภาพ จนกระทั่งมีการนำเอายอดไม้ ใบไม้มาหมัก แล้วบอกว่าเป็นการผลิตปุ๋ยชีวภาพ จึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หลงทาง ....... ที่จริงแล้วปุ๋ยที่ทำการผลิตกันอยู่ ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นในรูปของน้ำหรือของแข็ง ล้วนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ทั้งสิ้น เพราะปุ๋ยชีวภาพไม่สามารถทำการผลิตได้ในระดับเกษตรกร จะต้องเป็นหน่วยงานที่มีการศึกษาวิจัยทางด้านนี้โดยตรง และตรวจสอบคุณภาพได้ เท่านั้น และ.....ปุ๋ยชีวภาพที่ใช้ได้ผลจริงๆ ก็คือ กลุ่มที่ผลิตไนโตรเจนเท่านั้น เพราะสามารถจับแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาให้พืชใช้เป็นปุ๋ยได้ และที่มีการผลิตใช้กันทั่วโลกขณะนี้ได้แก่ ไรโซเบียม. สำหรับใช้กับถั่วต่างๆ ไม่มีจุลินทรีย์ใดๆ ที่สามารถผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัส. โพแทสเซียม. และอื่นๆ ได้เลย


http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=254:2010-11-17-04-03-57&catid=34:random-posts&Itemid=29
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©