-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การใช้ไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การใช้ไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การใช้ไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/12/2010 10:07 pm    ชื่อกระทู้: การใช้ไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช


ไนโตรเจนเป็นธาตุปุ๋ยที่จำเป็นสำหรับพืชสำหรับใช้สร้างความเจริญขึ้นในทุกส่วนที่กำลังเติบโต หากขาดไนโตรเจน พืชจะเหลืองซีดโดยเริ่มจากใบล่างขึ้นไปด้านบน การเจริญลดลงจนถึงไม่เติบโต ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป จะเขียวเข้ม อวบอ้วน อ่อนแอ ถูกศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย ไนโตรเจนที่เป็นก๊าชในอากาศนั้นพืชดูดใช้ไม่ได้ ยกเว้นสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน บักเตรีอิสระ อะโซโตแบ็คเต้อร์ และบักเตรีในปมรากพืชตระกูลถั่วคือ ไรโซเบี้ยน จากนั้นกากไนโตรเจนจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สลายตัวไปเป็นแอมโมเนีย และแปรรูปจนเป็นไนเตรท พืชทั่วไปใช้ได้


การเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า การเผาไหม้ ทั้งในและนอกเครื่องยนต์ ไนโตรเจนรวมกับออกซิเจน กลายเป็นออกไซด์ของไนโตรเจน พอรวมกับน้ำหรือความชื้นกลายรูปไปจนในที่สุดเป็นไนเตรท พืชดูดไปใช้ได้

พืชยังใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมได้ดีมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงประมาณ 1% ต้องใช้เป็นปริมาณมาก จึงใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดินส่วนเนื้อปุ๋ยเพื่อผลิตพืชใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ยูเรีย (46-0-0) แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แคลเซียมไนเตรท (15-0-0) หรือใช้ปุ๋ยผสม เช่น 15-15-15. 16-11-14 ซึ่งเลขตัวหน้า คือ เปอร์เซ็นต์ของปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยเคมีในไทยเป็นปุ๋ยละลายเร็วทันทีเมื่อเปียกน้ำ หากฝนตกมากจนน้ำไหลไปที่อื่น น้ำก็พาปุ๋ยไนโตรเจนไปด้วย ป้องกันปัญหานี้โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้น คลุกกับภูไมท์ซัลเฟต 2 ส่วน ปุ๋ยนี้จะกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ลดการสูญเสียปุ๋ยไนโตรเจนจากการชะล้างเมื่อฝนตก จนน้ำไหลไปที่ต่ำยังคงมีการชะล้างปุ๋ยบ้างแต่น้อยกว่า ปุ๋ยคงเหลือมากกว่า ค่อย ๆ ละลายออกมาช้า ๆ เป็นประโยชน์มากกว่า พืชมีผลผลิตมากกว่า.



ที่มา : อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

http://www.kroobannok.com/2109
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 16/12/2010 10:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคยฟังเรื่องการนำปุ๋ยเคมีพรมน้ำพอชื้น แล้วคลุกกับภูไมท์ซันเฟด ที่อาจารย์ดีพร้อมสอนเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด ภูไม้ท์ซันเฟด อาจารย์ดีพร้อมบอกว่า เป็นหินภูเขาไฟมีรูพรุน ทำให้ตรึงปุ๋ยไว้ได้ (ถ้าจำผิดขออภัยด้วย)

ที่สงสัยคือแล้วถ้าเป็นขี้เถ้าแกลบ ก็คือถ่านก็มีรูพรุนจะตรึงปุ๋ยได้หรือไม่

Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/12/2010 5:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

eawbo บันทึก:
เคยฟังเรื่องการนำปุ๋ยเคมีพรมน้ำพอชื้น แล้วคลุกกับภูไมท์ซันเฟด ที่อาจารย์ดีพร้อมสอนเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด ภูไม้ท์ซันเฟด อาจารย์ดีพร้อมบอกว่า เป็นหินภูเขาไฟมีรูพรุน ทำให้ตรึงปุ๋ยไว้ได้ (ถ้าจำผิดขออภัยด้วย)

ที่สงสัยคือแล้วถ้าเป็นขี้เถ้าแกลบ ก็คือถ่านก็มีรูพรุนจะตรึงปุ๋ยได้หรือไม่

Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes





ภูไมท์ซัลเฟต.(ชื่อการค้า) ก็คือ "หินภูเขาไฟ + ยิบซั่มธรรมชาติ" นั่นแหละ

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©