-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/12/2010 8:20 am    ชื่อกระทู้: หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)











หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร

กลุ่มบ่มเพาะนวัตกรรม ทีม KU Agrobot มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างผลงานนวัตกรรม “Robo Farming หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง” คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวด BrandsGen ฉลาดคิดแบบคนรุ่นใหม่ ปี 3 รับรางวัลทุนการศึกษา 50,000 บาท และผลิตภัณฑ์ซุปไก่สกัด จัดการแข่งขันโดย บริษัท เซเรบอส ประเทศไทย จำกัด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดา

นิสิตทีม KU Agrobot ประกอบด้วย นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 1 คน ได้แก่ นายพงษ์ศิริ เตี๋ยมนา (ปี 4) และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จำนวน 4 คน ได้แก่ นายอธิมาตร ติระนาถวิทยากุล (ปี 4) นายภูชิต สุเสวนานนท์ (ปี 3) นายปัญณะภาคย์ ธงวาส (ปี 3) และ นายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์ (ปี 2) โดยมี อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง หรือ Robo Farming ประกอบด้วยหุ่นยนต์ 2 ตัว ซึ่งทำงานประสานข้อมูลเชื่อมโยงกัน หุ่นยนต์ตัวแรกมีชื่อว่า หุ่นยนต์ปฐพี เป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการขุดเจาะสำรวจหน้าดิน เก็บตัวอย่างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตามตำแหน่งพิกัดที่ได้จาก GPS และนำตัวอย่างดินที่เก็บได้มาวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหาร N,P,K ค่า PH และความเค็มของดิน สามารถ search ฐานข้อมูลการใช้ธาตุอาหาร(ปุ๋ย)ที่เหมาะสมสำหรับพืชไร่แต่ละชนิด พื้นที่ปลูก ลักษณะของดินที่เหมาะสม ความลาดเอียงของพื้นที่ การใกล้แหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศ ณ ช่วงเวลานั้น ระยะเวลาการปลูกผ่านมาเท่าไร ความต้องการพืชผลของตลาด ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดถูกจัดเก็บฐานข้อมูลในรูปแบบแผนที่ GIS ที่มีค่าที่เป็นปัจจุบันเสมอ

หุ่นยนต์ตัวที่ 2 คือ หุ่นยนต์วารี เป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการชดเชยหรือซ่อมแซมให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด ซึ่งได้มาจากค่าวิเคราะห์การเก็บจากตัวอย่างดินของหุ่นยนต์ปฐพี โดยหุ่นยนต์วารีจะให้ปุ๋ย ให้น้ำ หรือแก้สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือแก้ความเค็มของดิน หรือการใช้ยาปราบศัตรูพืช – วัชพืช การใช้ฮอร์โมนเร่งผลผลิต โดยไม่ทำให้ดินเป็นกรดหรือเค็ม อันเนื่องมาจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินไป นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเกินความต้องการของพืช และทำใหเกลือกลายเป็นอาหารของแมลงทำให้แมลงแพร่พันธุ์เร็วขึ้น ซึ่งหุ่นยนต์วารีจะทำการซ่อมแซมหน้าดิน เติมค่าธาตุอาหารให้เหมาะสม ตามพิกัดต่าง ๆ นำทางโดยระบบ GPS โดยชดเชยซ่อมแซมตามค่าที่รายงานจากหุ่นยนต์ปฐพี แต่ละตำแหน่งจะถูกให้ปุ๋ยค่าธาตุอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกและผลการวิเคราะห์ดินทั้งหมดในประเทศได้รับการสนับสนุนฐานข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการใช้ปุ๋ยแบบนี้ใช้หลักการแบบ “ปุ๋ยสั่งตัด” ไม่ใช่ให้ปุ๋ยแบบเหมาโหล (คล้าย ๆ เสื้อสั่งตัดกับเสื้อโหล) ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ เหมาะสำหรับการทำการเกษตรแบบ “เกษตรอุตสาหกรรม” ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการเร่งผลผลิตที่มีการให้ปุ๋ยและยามากเกินไป ไม่รู้จุดที่เหมาะสม ซึ่งยากมากที่จะใช้แรงงานคนทำการวัดค่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่ละเอียดอ่อน โดยหลักการทำงานการให้ปุ๋ยในฟาร์มอัจฉริยะนี้จะทำด้วยความแม่นยำสูง เริ่มจากหุ่นยนต์ปฐพีจะเข้าไปเก็บตัวอย่างดินในไร่โดยมีพิกัดแผนที่ Soil-Mapping การเคลื่อนที่อาศัยการควบคุมระยะไกลไร้สายผ่านทางจอคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมที่เกิดจากการพัฒนาด้วยโปรแกรม Delphi ดูเส้นทางผ่านระบบ GPS และควบคุมส่วนต่าง ๆ ของหุ่นยนต์ จากนั้นนำไปส่งที่ห้องทดสอบชุดตรวจสภาพดิน ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อทำการทดสอบตัวอย่างดินแล้วเชื่อมโยงฐานข้อมูล N P K กับระบบ GIS โดยข้อมูลจากห้องทดสอบจะบอกถึงค่า N P K ของดินแต่ละแปลง และจะถูกส่งข้อมูลไร้สายไปสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ตัวที่ 2 คือ หุ่นยนต์วารี เมื่อหุ่นยนต์วารีได้รับข้อมูลก็จะมีหน้าที่เดินเข้าไปฉีดปุ๋ย ตามข้อมูลที่ถูกส่งมาว่าดินแปลงนี้ต้องการค่า N P K เท่าไหร่

การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวนี้ในอนาคต เรามุ่งมั่นที่จะทำให้หุ่นยนต์มีสมอง ที่เป็นอัจฉริยะ (AI) สามารถให้ปุ๋ยที่เป็นการผสมส่วนกันของปุ๋ยชนิดน้ำ ซึ่งอนาคตต้องพัฒนาการให้ปุ๋ยชนิดเม็ด ซึ่งมีราคาถูกกว่า และไม่ถูกชะล้างได้ง่ายด้วยน้ำฝน นอกจากนี้ยังสามารถผสมปุ๋ยเองได้ตามค่าธาตุอาหารที่ต้องการแบบหลากหลายในแต่ละพิกัดของพื้นที่เพาะปลูก รวมไปถึงหุ่นยนต์ในอนาคตจะต้องเดินเข้าไปสำรวจภายในไร่ด้วยตัวของมันเอง สามารถตรวจสอบและกำจัดวัชพืชต่าง ๆ ได้ โดยจะเป็นการบูรณาการโดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงด้านวิศวกรรมและเกษตรกรรมมาพัฒนาร่วมกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นสิทธิบัตรของคนไทย และสามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาชาวไร่ผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลิตข้าวปลาอาหารเลี้ยงคนทั้งโลกได้อย่างภาคภูมิใจอีกด้วย


http://blog.eduzones.com/magazine/78114
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/12/2010 9:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







หุ่นยนต์ดำนา


จากสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับรางวัล

วันพุธที่ 27 มกราคม 2553 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดแข่งขันหุ่นยนต์ดำนา ในโครงการ The 1st Thailand’s Agrobot Competition ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ณ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในงานวันเกษตรภาคอีสานประจำปี 2553 โดยมี รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และอ.ดร.วาธีส ลีลาภัทร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน

รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ คณบดีคณะ วิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทที่จะสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรม ที่เป็นการนำเทคโนโลยีและศาสตร์ชั้นสูงด้านต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร โดยมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาและผลักดันภาคเกษตรของประเทศไทยให้ เป็นประเทศอุตสาหกรรมเกษตรในระดับโลกต่อไป

อ.ดร.วาธีส ลีลาภัทร หัว หน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การทำเกษตรกรรม ถือเป็นรากฐานของสังคมไทยมาแต่ดั้งเดิมจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีของโลกก้าวหน้าไปมาก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย
ก็ยังยึดอาชีพเป็นเกษตรกร ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงประชากรทั้งประเทศ และส่งออกเป็นรายได้หลักให้กับประเทศมายาวนาน ถึงแม้เทคโนโลยีในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมาก แต่การนำมาใช้ในการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงยังคงมีน้อย รวมถึงนักศึกษาที่มีความสนใจในการจะนำเทคโนโลยีชั้นสูง มาพัฒนาทางด้านการ เกษตรก็มีจำนวนน้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักในความสำคัญของภาคการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ดำนา โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 6 ทีม ได้แก่

ทีมดอกจาน จากสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ทีม EN43_Agrobot จากภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
ทีม Naihoi Agrobot
ทีม หวนหวย จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ทีม Maxha จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ทีม Hyper Cool จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
สำหรับ "ทีมดอกจาน" ประกอบไปด้วย

อ.ประเสริฐ แสนสอน : หัวหน้าทีม สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อ.ธนะพัฒน์ เชี่ยวชาญวัฒนา สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อ.อดิศักดิ์ บุตรวงษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

นายภัทรพงษ์ บุญศล สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
นายนที มหาศรี สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
นายภานุพงษ์ ชนะบุญ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
นายสมร สาลีวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
นายกิตติคุณ งามจิตร สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ได้ทุ่มเทแรงกายและความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกล ประดิษฐ์หุ่นยนต์ดำนาและเข้าร่วมการแข่งขัน จนได้รับรางวัล "ชมเชย" สำหรับผลงานในระดับประเทศครั้งนี้ ทางสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ต้องขอร่วมแสดงความยินดีและชื่นชม ทีมงานคณาจารย์และนักศึกษามา



http://www.udru.ac.th/~eleceng/index.php?option=com_content&view=article&catid=1%3Alatest-news&id=76%3A2010-01-28-06-36-18&Itemid=54
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©