-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-น้ำ...น้ำ...น้ำ... และ น้ำ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - น้ำ...น้ำ...น้ำ... และ น้ำ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

น้ำ...น้ำ...น้ำ... และ น้ำ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 2:35 pm    ชื่อกระทู้: น้ำ...น้ำ...น้ำ... และ น้ำ.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แหล่งน้ำต่างๆ ในโลก

อ, สุรเสกข์

น้ำผิวดิน
ทะเลสาบชันการาในประเทศชิลีตอนเหนือ
น้ำผิวดินได้แก่น้ำในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืด ปกติน้ำผิวดินจะได้รับการเติมจากฝนหรือหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการะเหย การไหลออกสู่ทะเลและการซึมลงไปใต้ดิน

แม้ว่าการเติมน้ำจืดโดยธรรมชาติของระบบน้ำผิวดินจะได้จากการตกของฝน หรือหิมะ ลงเฉพาะบนบริเวณลุ่มน้ำนั้นๆ ณ เวลาหนึ่งก็ตาม แต่ปริมาณรวมของน้ำยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงปริมาณความจุของทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำ ที่มนุษย์สร้างขึ้น อัตราการซึมของดินในพื้นที่กักเก็บต่างๆ ดังกล่าว ลักษณะของการไหลตามผิวพื้นของลุ่มน้ำ ช่วงเวลาการตกของฝนหรือหิมะ และอัตราการระเหย ของพื้นที่นั้นๆ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อสัดส่วนของน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล ระเหยและซึมลงใต้ดิน

กิจกรรมของมนุษย์สามารถสร้างผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้มาก มนุษย์มักเพิ่มความจุน้ำเก็บกักด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำ และลดความจุน้ำเก็บกักด้วยการระบายพื้นที่ชุ่มน้ำ ให้แห้ง มนุษย์เพิ่มปริมาณและความเร็วไหลตามผิวของน้ำด้วยการดาดผิวพื้นต่างๆ ให้แข็งรวมทั้งการทำทางให้น้ำไหลทิ้งไปรวดเร็วขึ้น

ปริมาณโดยรวมของน้ำที่มีให้ใช้ ณ เวลาหนึ่งนับเป็นข้อพิจารณาที่มีความสำคัญมาก การใช้น้ำบางประเภทของมนุษย์เป็นการใช้แบบหยุดๆ เดินๆ ตัวอย่างเช่น การทำเกษตรกรรม หลายแห่งต้องการน้ำเป็นปริมาณมากในช่วงฤดูเพาะปลูก และไม่ใช้น้ำอีกเลยหลังฤดูเก็บเกี่ยว การจ่ายน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมประเภทดังกล่าว ระบบน้ำผิวดิน เพื่อการนี้อาจต้องมีขนาดการเก็บกักที่ใหญ่เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งปีไว้ สำหรับปล่อยมาใช้ภายเวลาที่สั้นเป็นต้น การใช้น้ำประเภทที่ค่อยๆ ใช้ในปริมาณครั้งละไม่มากแต่สม่ำเสมอทั้งปี เช่นน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า การจ่ายน้ำในกรณีนี้ ระบบน้ำผิวดินต้องการเพียงอ่างหรือแหล่งกักเก็บที่มีความจุให้พอสำหรับไว้ชดเชยน้ำในลำธาร ที่มีอัตราการไหลเข้าอ่างในฤดูแล้งต่ำกว่าอัตราการใช้น้ำในการหล่อเย็น

น้ำผิวดินตามธรรมชาติสามารถเพิ่มพูนได้โดยการนำน้ำเข้ามาจากแหล่งในลุ่มน้ำอื่นด้วยการขุดคลองส่งน้ำ หรือวางท่อส่งน้ำ หรืออาจทำด้วยวิธีอื่นๆ แต่ก็ได้ไม่มาก มนุษย์เรามีส่วนทำให้ระบบน้ำผิวดินไม่มั่นคงหรือ "หายไป" จากการสร้างมลพิษ

บราซิลเป็นประเทศที่ประมาณกันว่ามีแหล่งน้ำจืดมากที่สุดในโลกตามด้วยแคนาดา และรัซเซีย

น้ำใต้ผิวดิน
อัตราความเร็วการไหลของน้ำใต้ดิน
น้ำใต้ผิวดินหรือน้ำใต้ดินหมายถึงน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน และยังหมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ภายในชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ (Aquifer) ซึ่งอยู่ตำกว่าระดับน้ำใต้ดิน (water table) ในบางครั้งก็มีประโยชน์ที่จะแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง น้ำใต้ผิวดินที่อยู่ใกล้และสัมพันธ์กับน้ำผิวดิน กับ น้ำผิวดินที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ลึกมากในชั้นหินอุ้มน้ำ บางครั้งก็เรียกน้ำชนิดนี้ว่า "น้ำซากดึกดำบรรพ์" (Fossil water)

น้ำใต้ผิวดินอาจคิดเชิงคำศัพท์ให้หมือนน้ำผิวดินก็ได้ นั่นคือ การรับเข้า(inputs) การปล่อยออก(outputs) และการเก็บกัก (storage) นัยสำคัญของความแตกต่างก็คือ: ในแง่ของน้ำใต้ผิวดิน ที่เก็บกักมักมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการรับเข้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผิวดินที่มีขนาดเก็บกักเล็กแต่มีขนาดการรับเข้ามากกว่า ข้อแตกต่างนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้น้ำใต้ดินได้มากมาย (แบบไม่ยั่งยืน) ได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น ในระยะยาว ในที่สุดอัตราเฉลี่ยของการซึมซับของแหล่งน้ำผิวดินที่ไหลลงใต้ดิน ย่อมจะต้องช้ากว่าอัตราการสูบออกไปใช้โดยมนุษย์

การรับเข้าตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินเกิดจากการไหลซึมลงชั้นใต้ดินของน้ำผิวดิน การปล่อยออกตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เกินขนาดที่เก็บกักคือน้ำพุธรรมชาติและการไหลซึมออกสู่ทะเล

ถ้าแหล่งน้ำผิวดินมีปัญหาด้านอัตราการระเหย แหล่งน้ำใต้ดินอาจกลายเป็นน้ำเค็ม ได้ สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการไหลลงแอ่งน้ำใต้ดิน เองหรือเกิดจากฝีมือการชลประทาน เพื่อการเกษตรกรรม ของมนุษย์ ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล การใช้แหล่งน้ำใต้ดินของมนุษย์เองอาจเป็นเหตุให้การไหลออกทะเลโดยธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดหยุดลงและเกิดการไหลย้อนของน้ำเค็มสวนเข้าตามทางน้ำจืดเดิมก่อให้เกิดน้ำใต้ดินที่มีความเค็มได้ มนุษย์สามารถทำให้น้ำใต้ดินให้ "หาย" ไปได้ (เช่น การขาดเสถียรภาพ) เนื่องจากมลพิษ ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็สามารถเพิ่มการรับเข้าของน้ำใต้ดินได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือแก้มลิง

น้ำในดินมีลักษณะเป็นส่วนๆ เรียกว่าชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกซึมซับและไหลมารวมกันที่นี่ ปกติองค์ประกอบของมันน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำจะอยู่ในสภาวะที่เกือบเป็นการ "สมดุลอุทกสถิต" (Hydrostatic equilibrium) องค์ประกอบของน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของช่องหรือรูพรุนของหิน ซึ่งหมายความว่าอัตราการดึงหรือสูบน้ำออกมาใช้จะถูกจำกัดด้วยอัตราการซึมผ่านที่เลว

การกำจัดความเค็ม
การกำจัดความเค็ม คือกระบวนการเทียมในการทำให้น้ำเค็ม (ส่วนใหญ่คือน้ำทะเล) เปลี่ยนเป็นน้ำจืด กระบวนการกำจัดความเค็มที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ วิธีการกลั่น (distillation) และ วิธีออสโมซิสผันกลับ (reverse osmosis) การกำจัดความเค็มสำหรับการสร้างแหล่งน้ำใช้ ในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น การใช้น้ำด้วยวิธีกำจัดความเค็มของน้ำทะเลของมวลมนุษย์ในขณะนี้จึงมีสัดส่วนเศษส่วนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับแหล่งน้ำที่ใช้วิธีการอื่น ดังนั้น การทำแหล่งน้ำโดยวิธีกำจัดความเค็มจึงมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งและจำกัดการใช้เฉพาะการบริโภคในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ปัจจุบัน การผลิตแหล่งน้ำโดยวิธีนี้มากที่สุดได้แก่ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย

น้ำแข็ง
ภูเขาน้ำแข็งมองจากนิวปาวด์แลนด์
มีวิธีการหลายแบบที่มีผู้คิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากภูเขาน้ำแข็ง เพื่อนำน้ำมาทำเป็นแหล่งน้ำจืด แต่ถึงปัจจุบันความพยายามนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาวะขั้นการคิดต้นเพื่อความแปลกใหม่

น้ำที่ละลายไหลจากภูเขาน้ำแข็งถือเป็นน้ำผิวดิน
ความเครียดน้ำ (Water stress)
แนวคิดของความเครียดน้ำค่อนข้างตรงไปตรงมา สมัชชาธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development) ให้ความหมายว่าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ในกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมหรือภาคครัวเรือน การใช้เพื่อบ่งชี้ขีดเริ่มเครียดน้ำในแง่ของความเพียงพอของน้ำต่อหัวนับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้โดยทั่วไปหมายถึงการใช้น้ำและประสิทธิภาพของการใช้น้ำ ได้มีการเสนอว่าเมื่อใดที่น้ำจืดที่ใช้หมุนเวียนได้ที่ใช้ต่อคน/ปีลดต่ำลงกว่า 1,700 ลูกบาศก์เมตร ประเทศนั้นๆ จะพบกับปัญหาการเครียดน้ำ ต่ำกว่า 1,000 ลบม. ความขาดแคลนน้ำจะเริ่มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและเกิดปัญหาสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน

มีหลายสิ่งที่คุกคามต่อแหล่งน้ำจืดของโลก สิ่งคุกคามดังกล่าวได้แก่
การเพิ่มจำนวนประชากร
ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรของโลกมีประมาณ 6,200 ล้านคน องค์การสหประชาชาติได้ประมาณว่าเมื่อถึง พ.ศ. 2590 ประชากรโลกจะเพิ่มอีกประมาณ 3,000 ล้านคน โดยการเพิ่มประชากรจะมากในประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้รับความยากลำบากจากความเครียดน้ำอยู่แล้วดังนั้นอุปสงค์ของน้ำจะเพิ่มเว้นแต่จะมีน้ำเพิ่มจากการอนุรักษ์น้ำและการนำน้ำใช้แล้วมาบำบัดใช้ใหม่

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะมีผลกระทบที่รุนแรงมากต่อทรัพยากรน้ำทั่วโลก เนื่องความสัมพันธ์อย่างมากที่เป็นอยู่ระหว่างภูมิอากาศ และวัฏจักรทางอุทกวิทยา การเพิ่มอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มอัตราการระเหยและนำไปสู่การเพิ่มปริมาณฝนและหิมะ หรือที่เรียกรวมว่า "หยาดน้ำฟ้า" แม้จะมีความผันแปรที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคก็ตาม แต่โดยรวมแล้วย่อมทำให้แหล่งน้ำจืดของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งความแห้งแล้งและน้ำท่วมอาจเกิดถี่ขึ้นและเกิดในต่างภูมิภาคและต่างเวลา จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในการตกของหิมะและการละลายของหิมะในพื้นที่ที่เป็นภูเขาในเขตหนาว อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำในเชิงที่ยังอธิบายไม่ได้ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดได้แก่ "สภาวะสารอาหารมากเกิน" (eutrophication) การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอาจมีผลทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อการชลประทานเพื่อการเกษตร การดน้ำในสวนด้วยหัวกระจายน้ำและแม้แต่สระว่ายน้ำ

การหมดของชั้นหินอุ้มน้ำ
สืบเนื่องจากการเพิ่มประชากรของโลก ในอัตราที่มากเกินไป การแก่งแย่งน้ำจึงเกิดขึ้นในลักษณะที่ชั้นหินอุ้มน้ำหลักๆ ของโลกกำลังจะหมดลง ปรากฏการณ์นี้เกิดจากบริโภคโดยตรงของมนุษย์และจากการชลประทาน ในงานเกษตรกรรม ที่นำน้ำใต้ดินมาใช้ ณ ขณะนี้ มีเครื่องสูบขนาดใหญ่น้อยนับล้านเครื่องที่กำลังสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา การชลประทานในพื้นที่แห้งแล้ง เช่นจีนตอนเหนือและอินเดียก็กำลังใช้น้ำจากแหล่งใต้ดินซึ่งสูบขึ้นมาในอัตราที่ไม่ยั่งยืน

มลพิษและการปกป้องน้ำ
น้ำที่เป็นมลพิษ
มลพิษทางน้ำ เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังมีความห่วงใยมากในปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้พยายามฟันฝ่าหาทางแก้ไขหรือลดปัญหานี้ลง มีตัวต้นเหตุที่ทำให้น้ำเสียอยู่หลายตัว แต่ตัวที่สร้างปัญหาได้กว้างขวางมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาได้แก่การปล่อยน้ำโสโครก ที่ไม่ได้บำบัดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดี ประเทศกำลังพัฒนาเช่น จีน อินเดียและอิหร่านก็ยังใช้วิธีนี้มากอยู่

การใช้น้ำ
การใช้น้ำจืดสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทที่เรียกว่า "บริโภคแล้วหมดไป" (consumptive) และ"บริโภคได้ต่อเนื่อง" (non-consumptive) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ใช้ได้ต่อเนื่องได้ใหม่" การใช้น้ำที่นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปได้แก่การใช้ที่เมื่อใช้แล้วไม่อาจนำกลับมาใช้อย่างอื่นได้อีกในทันที การสูญเสียจากการไหลซึมซับลงสู่ใต้ผิวดินและการระเหยก็นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปเช่นกัน (แม้ไม่ได้ถูกบริโภคโดยมนุษย์) รวมทั้งน้ำที่ติดรวมไปกับผลิตภัณฑ์เกษตรหรรืออาหาร น้ำที่สามารถนำมาบำบัดแล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำผิวดินใหม่ได้อีก เช่น น้ำโสโครกที่บำบัดแล้ว จะนับเป็นน้ำประเภทใช้ต่อเนื่องได้ใหม่ ถ้าถูกนำไปใช้ต่อเนื่อในกิจกรรมการใช้น้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง

เกษตรกรรม
ฟาร์มแห่งหนึ่งในออนทาริโอ
มีการประมาณกันว่า ปริมาณน้ำจืดร้อยละ 70 ของโลกถูกใช้ไปเพื่อการชลประทาน ในบางส่วนของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบชลประทานเลยก็ได้ แต่ในบางพื้นที่การชลประทานมีความจำเป็นมากในการเพิ่มผลผลิตการปลูกพืชชนิดที่จะได้ราคาดี วิธีการชลประทานแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแลกกันระหว่างผลผลิตที่ได้กับปริมาณน้ำที่ใช้ รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และโครงสร้าง วิธีการชลประทานแบบปกติบางแบบ เช่นแบบยกร่องและแบบหัวกระจายน้ำด้านบนจะถูกที่สุด แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่จะไหลตามผิวและซึมลงไปในดิน หรือระเหยเสียปล่าไปมาก

วิธีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารวมถึงการชลประทานแบบน้ำหยด แบบน้ำเอ่อเป็นระลอก (surge irrigation) และแบบหัวกระจายบางประเภทที่ใช้หัวจ่ายใกล้ระดับดิน ระบบเหล่านี้แม้จะแพงแต่ก็สามารถลดการไหลทิ้งตามผิวและการระเหยลงได้มาก ระบบชลประทานใดๆ ก็ตาม หากไม่จัดการให้ถูกต้อง ความสูญเปล่าก็ยังมีมากอยู่ดี สิ่งแลกเปลี่ยนกับการใช้ระบบชลประทานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอได้แก่การทำให้เกิดความเค็มของน้ำใต้ดิน

การเพาะเลี้ยงในน้ำคือเกษตรกรรมขนาดเล็กที่กำลังเติบโตในแง่ของการใช้น้ำ การประมงน้ำจืดเชิงพาณิชย์นับเป็นการใช้น้ำทางเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน แต่ยังถือเป็นการใช้น้ำที่มีลำดับความสำคัญที่ต่ำกว่าการชลประทาน

ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่แหล่งน้ำกลับมีคงที่ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นวิธีเพิ่มผลผลิตอาหารโดยใช้น้ำน้อยลงซึ่งได้แก่: การปรับปรุงวิธีการและเทคโนโลยีด้านการชลประทาน การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเลือกพันธุ์พืชและระบบการเฝ้าสังเกตและตรวจสอบการใช้น้ำ

อุตสาหกรรม
โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในโปแลนด์
ประมาณว่า ร้อยละ 15 ของการใช้น้ำโดยรวมของโลกเป็นการใช้เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหลักๆ ที่ใช้น้ำมากได้แก่การผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำในการหล่อเย็นและใช้ผลิตไฟฟ้า (เช่นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และการถลุงแร่ การกลั่นน้ำมัน ซึ่งใช้น้ำในกระบวนการทางเคมี โรงงานผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้น้ำเป็นตัวละลาย

สัดส่วนการใช้น้ำทางอุตสาหกรรมที่นับประเภทเป็น "การใช้หมดไป" นี้มีความผันแปรแตกต่างกันมากก็จริง แต่โดยรวมแล้วยังนับว่าน้อยกว่าการใช้น้ำทางเกษตรกรรมมาก

ครัวเรือนน้ำดื่ม
ประมาณว่าภาคครัวเรือนทั้งโลกใช้น้ำเพื่อบริโภคและอุปโภคเฉลี่ยร้อยละ 15 ซึ่งรวมถึงน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำเพื่อการปรุงอาหาร เพื่อการสุขาภิบาล และเพื่อการรดน้ำต้นไม้และสวน

ความต้องการพื้นฐานของการใช้น้ำภาคครัวเรือนได้รับการประมาณไว้โดย "ปีเตอร์ กลีก" ว่าเท่ากับ 50 ลิตรต่อคน-ต่อวัน โดยไม่รวมน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้

น้ำใช้แล้วในภาคครัวเรือนจะถูกบำบัดแล้วปล่อยกลับคืนสู่แหล่งธรรมชาติ มีข้อยกเว้นอยู่บ้างที่มีการนำน้ำบำบัดแล้วไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ดังนั้นที่น้ำใช้ในภาคครัวเรือนจึงมีสภาวะเป็นประเภทใช้แล้วหมดไปน้อยกว่าน้ำที่ใช้ทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ลำธารไวท์วอเตอร์
น้ำมีคุณค่าด้านนันทนาการ ค่อนข้างสูงมาก
ปริมาณน้ำที่ใช้ในด้านนันทนาการมีปริมาณน้อยมากแต่ก็กำลังเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่การใช้น้ำด้านนันทนาการมักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอ่างเก็บน้ำ ถ้าอ่างเก็บน้ำถูกบรรจุน้ำเต็มมากกว่าปกติเพื่อนันทนาการ ในกรณีนี้ น้ำที่ถูกเก็บกักไว้อาจจัดอยู่ในประเภทการใช้เพื่อนันทนาการได้ การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อให้เล่นเรือในทางน้ำใต้อ่างได้ก็สามารถนับน้ำที่ปล่อยเพื่อการนี้เป็นน้ำเพื่อนันทนาการได้เช่นกัน ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่แหล่งน้ำเพื่อกักกันไว้เพื่อกีฬาตกปลา การเล่นสกีน้ำ การเที่ยวชมธรรมชาติและการว่ายน้ำในธรรมชาติ

การใช้น้ำเพื่อนันทนาการจัดอยู่ในประเภทบริโภคต่อเนื่องที่ไม่หมดไป (non-consumtive) แต่อย่างไรก็ดี มันอาจทำให้น้ำที่อาจนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นลดลงในบางขณะและบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่นการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บในช่วงฤดูแล้งเพื่อใช้ในการเล่นเรืออาจทำให้ขาดน้ำเพื่อการเกษตรในต้นฤดูเพาะปลูกครั้งหน้า รวมทั้งน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเพื่อให้สามารถล่องแพหรือเรือยางเพื่อการท่องเที่ยวในฤดูแล้งได้ก็อาจทำให้ขาดน้ำเพื่อใช้ทำไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้เช่นกันก็เป็นต้น

สิ่งแวดล้อม
พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ
การใช้น้ำในด้านสิ่งแวดล้อมที่พอจะเห็นได้ชัดเจนจริงๆ มีน้อยมาก แต่โดยภาพรวมแล้วอาจนับได้ว่ากำลังเพิ่มปริมาณขึ้น การใช้น้ำด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่การนำมาใช้ในการทำพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ใช้ทำทะเลสาบเทียมเพื่อเพิ่มที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงของสัตว์ป่า ใช้ทำบันไดปลาโจน ตามเขื่อน ต่างๆ และใช้เป็นน้ำสำหรับปล่อยเป็นเวลาจากอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยการขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำในทางน้ำใต้อ่าง

เช่นเดียวกับการใช้ในด้านนันทนาการ การใช้น้ำในด้านสิ่งแวดล้อมจัดอยู่ในประเภทบริโภคได้ต่อเนื่อง แต่ก็อาจมีผลให้น้ำที่เก็บกักไว้เพื่อใช้สำหรับกิจกรรมชนิดอื่นลดลงในบางช่วงเวลาและเฉพาะบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่น น้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยการขยายพันธุ์ปลาอาจทำให้น้ำที่จะใช้เพื่อการเกษตรกรรมเหนือน้ำขาดแคลนหรือมีน้อยลงดังกล่าว

การประปาของโลกและการแจกจ่าย
อาหารและน้ำคือสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ จากภาพแผนภูมิที่แสดงข้างต้น การขาดแคลนน้ำจะเกิดมากในประเทศยากจนที่มีแหล่งน้ำจำกัดแต่มีอัตราการเพิ่มประชากรสูงและรวดเร็ว เช่นประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกาและบางส่วนของเอเชีย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2550) พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่และปริมณฑลโดยรอบจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ให้มากพอสำหรับการประปาเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดและปลอดภัยแก่ประชากรและเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่เพียงพอ ภาพดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้เพื่อการเกษตรซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบันกับการใช้น้ำสำหรับชุมชนเมืองย่อมมีความรุนแรงขึ้น

อาจกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 ประเทศพัฒนาแล้วในอเมริกาเหนือ ยุโรปและรัสเซียจะไม่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมากนัก ไม่ใช่เพียงเพราะประเทศเหล่านั้นร่ำรวยกว่าแต่เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นมีจำนวนประชากรที่ไม่เพิ่มมาก จึงพอรับได้กับปริมาณแหล่งน้ำที่มีอยู่

ประเทศแถบแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้และตอนเหนือของประเทศจีนจะพบกับสภาวะการขาดแหล่งน้ำอย่างรุนแรงเนื่องจากสภาพทางกายภาพทางภูมิศาสตร์ที่ขาดแหล่งน้ำอยู่แล้ว ผนวกกับการเพิ่มจำนวนประชากรที่เกินขีดความสามารถในการรองรับ ของแหล่งน้ำ ประเทศส่วนใหญ่ในแถบอเมริกาใต้ แอฟริกาแถบซาฮะรา (sub-Saharan Africa) จีนตอนใต้และอินเดีย จะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในปี พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ซึ่งประเทศในภูมิภาคดังกล่าวนี้ จะพบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่สืบเนื่องมาจากขีดจำกัดทางเศรษฐกิจที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแจกจ่ายน้ำประปาที่สะอาดและปลอดภัยได้เพียงพอ ปัญหาประชากรมากเกินไปในพื้นที่นั้นๆ และอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรโดยรวมที่สูงมากก็เป็นต้นเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งแห่งการขาดแคลนน้ำด้วยเช่นกัน



http://www.watermis.com/wemis/th/node/275


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2011 7:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“ธีระ” ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 60 ล้านไร่ ทั่วประเทศ หวังวางรากฐานของการเกษตรของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืน ควบคู่การ พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมให้กับเกษตรกร

วันที่ 13 ก.ค. 2550

"ธีระ” ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 60 ล้านไร่ ทั่วประเทศ หวังวางรากฐานของการเกษตรของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืน ควบคู่การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมให้กับเกษตรกร

ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการบริหารและจัดการ น้ำกว๊านพะเยาในพื้นที่จังหวัดพะเยา ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดพะเยา เมื่อเร็วๆนี้ ว่า

เนื่องจากกว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดพะเยาและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ แต่ปัจจุบันได้ประสบปัญหาการตื้นเขิน คุณภาพน้ำตกต่ำ การบุกรุกพื้นที่ การขยายตัวของวัชพืชน้ำ และปัญหาอุทกภัยบริเวณพื้นที่โดยรอบ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

กระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานพะเยา ได้เข้ามาบริหารจัดการน้ำทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง และกรมประมงโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและใช้ประโยชน์โดยตรงจากกว๊านพะเยา โดยได้ดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เพื่อจัดทำโครงการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างเป็นระบบ อาทิ การบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งและฤดูฝน การเฝ้าระวังในการพร่องน้ำออกจากกว๊านพะเยา การปรับปรุงระบบชลประทานในลุ่มน้ำอิง การแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชลอยน้ำในกว๊านพะเยา ฯลฯ ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมพบว่าการดำเนินการต่างๆมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการบริหารจัดการน้ำในกว๊านพะเยา จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้และปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมก็จะลดลงด้วย ศ.ดร.ธีระ ยังได้กล่าวถึงภาพรวมของการบริหารจัดการด้านชลประทานของประเทศว่า น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเกษตรไม่ว่าจะเกิดกรณี น้ำแล้งหรือน้ำท่วม ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของเกษตรกร

ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานจากปัจจุบัน 27 ล้านไร่เป็น 60 ล้านไร่ ในระยะเวลา 15 ปี เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทและหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละจังหวัด เพื่อจัดทำแผนความต้องการใช้น้ำของจังหวัด โดยจะได้นำข้อมูลมารของจังหวัดมาบรูณาการเชื่อมโยงกัน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด "สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น คือ การวางรากฐานของการเกษตรของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งในเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตร

ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยง ได้มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทานจากพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศ 140 ล้านไร่ให้ได้ 60 ล้านไร่ ในเวลา 15 ปี

โดยจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในราวเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังผลักดันกฎหมายหลายฉบับเพื่อเอื้อประโยชน์และลดอุปสรรค ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร อาทิ พ.ร.บ.ยางแห่งประเทศไทย พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ร.บ.พืช พ.ร.บ.สหกรณ์ รวมถึงพ.ร.บ.มาตรฐาน สิ้นค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดในและนอกประเทศ ผ่านศูนย์ข้าาวชุมชน ซึ่งขณะนี้เรายังไม่สามารถผลิตพันธุ์ข้าวได้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศซึ่งมีมากถึงปีละ 6 แสนตันต่อปี ขณะที่ปัจจุบันมีกำลังการผลิตได้เพียง 2 แสนตันต่อปีเท่านั้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวดีไว้ปลูกและได้รับรายได้จากการจำหน่ายได้มากขึ้น” ศ.ดร.ธีระ กล่าว


http://cms.opsmoac.go.th/ewt/moac/ewt_news.php?nid=2750&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 2:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ก.เกษตรฯเพิ่มพื้นที่ชลประทานเก็บน้ำต้นทุน วางรูปแบบการใช้น้ำให้เหมาะสม



นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เพื่อบูรณาการหน่วยงานในสังกัดระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดยตรง โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ ความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ รวมทั้งใช้พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่า การตลาด และการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ โดยมีคณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

การดำเนินงานจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การคัดเลือกสำรวจข้อมูลพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสม ทั้งเชิงโครงสร้างและรายสินค้า อย่างน้อยจังหวัดละ 1 พื้นที่ โดยมีการสำรวจครัวเรือนเกษตรกร และจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย แล้วจัดทำเวทีประชาคมขึ้นเพื่อสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมในชุมชน และสรุปแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งในด้านแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อันจะเป็นผลดีต่อการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้มีการสื่อสารการปฏิบัติงานตามแผนงานบูรณาการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ในปี 2553 กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง เขต 3 ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ และ เขต 9 ได้แก่ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด เพื่อศึกษาทิศทางและผลการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่มี ประสิทธิภาพในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

สำหรับการดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของจังหวัด ฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ดำเนินงาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่งานก่อสร้างท่อระบายปากคลองส่งน้ำ กม.6+000 หมู่ 5,6 ตำบลเมืองเก่า, หมู่ 6 ตำบลท่าถ่าน หมู่ 10, 11 ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จำนวนพื้นที่ได้รับประโยชน์รวม 2,000 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่นา 1,800 ไร่ พื้นที่บ่อเลี้ยงปลา 200 ไร่ จำนวนเกษตรกรได้รับประโยชน์ 93 ครัวเรือน และ 2) พื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จำนวนพื้นที่ได้รับประโยชน์ 3,100 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 1,200 ไร่ บ่อเลี้ยงปลา 200 ไร่ ยางพารา 500 ไร่ ยูคาลิปตัส 400 ไร่ มันสำปะหลัง 300 ไร่ ไม้ผล 300 ไร่ และอื่นๆ อีก 200 ไร่ จำนวนเกษตรกรได้รับประโยชน์ 154 ครัวเรือน ซึ่งพื้นที่ทั้ง 2 แห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เป็นแหล่งผลิตข้าวพันธุ์ดีของจังหวัด จึงส่งเสริมการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง



http://www.corehoononline.com/index.php?option=com_multisitescontent&view=article&id=8012:2010-09-11-11-59-06&catid=34:2010-06-01-12-40-05&Itemid=4&site_id=Corehoon
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก.เกษตรฯ เดินหน้าเขตชลประทานโคราชพันล้าน สั่งเร่งช่วย 44 จว.สังเวยน้ำท่วม 1.9 ล้านไร่

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - “รมว.เกษตรฯ” ลงโคราช ส่งมอบสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อ.โนนสูง ร่วม 20 ล้าน เดินหน้าเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2.8 หมื่นล้าน ระบุโคราชได้ 42 โครงการ กว่า 1 พันล้าน เผยสั่งเร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วม 44 จว.ทั่วประเทศ เบื้องต้นคาดพื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 1.9 ล้านไร่ ชี้ระดับน้ำในอ่างทั่วประเทศเพิ่มต่อเนื่องอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ

วันนี้ (27 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านหนองโจด ต.ลำมูล อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีส่งมอบ “สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านหนองโจด” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการบูรณาการพัฒนาการเกษตรภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งก่อสร้างตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP 2) ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลลำมูล โดยมี นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน, นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.สัดส่วน พรรครวมชาติพัฒนา (รช.) พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ ประชาชนเกษตรกร อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก

ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแหล่งสูบน้ำจากแม่น้ำมูลเข้าสู่ระบบคลองส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มพื้นที่ชลประทานและสูบน้ำเก็บสำรองไว้ในแก้มลิงคลองละลมบ้านหนองโจด เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกรในเขตพื้นที่ ต.ลำมูล และตำบลใกล้เคียง ของ อ.โนนสูง โดยมีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 1,548 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์ 350 ครอบครัว ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 19.8 ล้านบาท

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจำนวนกว่า 4.7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณเพื่อเพิ่มพื้นที่เขตชลประทานจำนวน 2.88 หมื่นล้านบาท ประมาณ 4.7 ล้านไร่ โดยในปี 2553 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 3.99 แสนไร่ สำหรับ จ.นครราชสีมา ได้รับงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 42 โครงการ รวมเงินกว่า 1,140 ล้านบาท เฉพาะเขต อ.โนนสูง ได้รับจัดสรรจำนวน 8 โครงการ งบประมาณ 130 ล้านบาท

นายธีระกล่าวถึงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งกรมปศุสัตว์, กรมประมง และกรมชลประทาน ได้ให้การช่วยเหลือและแนะนำเกษตรกรในการเตรียมรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ส่วนระยะที่ 2 พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ เข้าให้การช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการด่วนและเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ

จากรายงานล่าสุดพบว่า ในพื้นที่ 44 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมคาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรด้านพืชเสียหายประมาณ 1.9 ล้านไร่ ด้านประมง ประมาณ 5,000 ไร่ ส่วนด้านปศุสัตว์ ประมาณกว่า 1 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ปีก ส่วนมูลค่าความเสียหายยังไม่สามารถประเมินได้ ซึ่งหลังน้ำลดแล้วได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งทำการสำรวจให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว โดยเบื้องต้นให้ใช้เงินสำรองราชการในอำนาจของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด หากเกินนั้นให้ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาลต่อไป

สำหรับหลักการให้ความช่วยเหลือพื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วมนั้นมีระเบียบกำหนดไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว เช่น นาข้าว ได้รับการชดเชยไร่ละประมาณ 600 บาท พืชไร่ประมาณ 800 บาท เป็นต้น ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งกำชับเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือเกษตรกรให้เร็วที่สุด และทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ซึ่งอยากฝากไปถึงเกษตรกรด้วยว่า ขอให้แจ้งข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่และช่วยตรวจสอบเกษตรกรด้วยกันเองเพื่อเจ้าหน้าที่ได้จะประเมินพื้นที่ที่เสียหายได้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

นายธีระกล่าวอีกว่า จากภาวะฝนตกต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาส่งผลดีต่อน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ล่าสุดจากรายงานพบว่าปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นโดยภาพรวมทั่วประเทศอยู่ที่ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ ของความจุซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมากหากมีฝนตกลงมาอีกไม่ต้องเป็นกังวลแต่อย่างใด


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000135586
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขื่อนไม่ใช่คำตอบ สถานการณ์ความแห้งแล้ง

หาญณรงค์ เยาวเลิศ
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย-ในพระบรมราชินูปถัมภ์


ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ เป็นต้นมา หลังการเลือกตั้งยังไม่ทันเสร็จดีก็มีการประกาศพื้นที่ผู้ประสบภัยจากความแห้งแล้ง ประมาณ ๕๖ จังหวัด ไม่ถึง ๑๕ วัน ก็ขยับมาเป็น ๖๖ จังหวัด แล้วการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดแรกของคณะรัฐมนตรีทักษิณ ๒ ก็มีสรุปสถานการณ์ความแห้งแล้ง ถึง ๗๑ จังหวัด กำลังเกิดอะไรขึ้น

แม่ผา กองธรรม ชาวบ้านจากอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ดใกล้กับทุ่งกุลาร้องให้ กล่าวในเวทีสัมมนา “นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำ:ปัญหาและทางออก” ที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่า สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ดูท่าทีจะมีการโปรโมตให้เกิดความแห้งแล้ง เกินความเป็นจริงเพราะฤดูนี้เป็นฤดูแล้ง พื้นดินอีสานก็แล้งเป็นอย่างนี้ทุกปีหรือการประโคมข่าวสถานการณ์ความแห้งแล้งปีนี้มีเจตนาเพื่อผลักดันโครงการขนาดใหญ่ รวมทั้งโครงการโขง-ชี-มูน เข้าไปด้วย

สรุปสถานการณ์ภัยแล้งตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์ความแห้งแล้ง (๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ถึง ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๘) มีดังนี้

๑. สถานการณ์ความแห้งแล้ง มีจังหวัดประสบภัย จำนวน ๖๖ จังหวัด ๖๓๓ อำเภอ ๖๑ กิ่งอำเภอ ๔,๘๐๘ ตำบล ๔๑.๖๖๘ หมู่บ้าน (จากหมู่บ้านทั่วประเทศ ๗๓,๙๖๓ หมู่บ้าน)

๒. ราษฎรเดือดร้อน จำนวน ๒,๔๗๙,๖๒๖ ครัวเรือน ๙,๕๙๖,๘๘๓ คน

๓. พื้นที่เกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง ประเภท นาข้าว พืชไร่ พืชสวน ๑๓,๗๐๔,๖๗๕ ไร่ และจะเสียเพิ่มอีก ๑๐ ล้านไร่

เปรียบเทียบสถานการณ์ความแห้งแล้ง เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งห่างจากข้อมูลแรกเพียง ๑๑ วัน ได้ดังนี้
๑. สถานการณ์ความแห้งแล้ง มีจังหวัดประสบภัย จำนวน ๗๑ จังหวัด ๖๙๖ อำเภอ ๖๑ กิ่งอำเภอ ๕,๓๔๐ ตำบล ๔๔,๕๑๙ หมู่บ้าน (จากหมู่บ้านทั่วประเทศ ๗๓,๙๖๓ หมู่บ้าน)

๒. ราษฎรเดือดร้อน จำนวน ๒,๘๔๓,๕๑๙ ครัวเรือน ๑๑,๐๕๘,๙๐๒ คน

๓. พื้นที่เกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง ประเภท นาข้าว พืชไร่ พืชสวน ๑๓,๗๓๖,๖๖๐ ไร่ และจะเสียเพิ่มอีก ๑๑.๗๕๖,๓๑๘ ไร่


สรุปจากข้อมูล ห่างกันเพียง ๑๐ วัน มีจังหวัดที่ประสบความแห้งแล้ง เพิ่มจาก ๖๖ เป็น ๗๑ จังหวัด เพิ่มจากเดิมถึง ๕ จังหวัด หมู่บ้านผู้ประสบความแห้งเล้งเพิ่มขึ้นอีก ๕๐๐ ตำบล ๓,๐๐๐ หมู่บ้าน ผู้เดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก ๑.๕ ล้านคน ด้วยระยะเวลาในการเก็บข้อมูลห่างกันเพียง ๑๑ วัน

การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ มีดังนี้ การช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
- ใช้รถบรรทุกน้ำ ๓๗๗ คัน ๘,๓๐๖ เที่ยว ประมาณน้ำ ๗๕,๔๘๑,๑๘๐ ลิตร
- ใช้เครื่องสูบน้ำ รวม ๓๒,๙๐๑ เครื่อง
- สร้างทำสบ ฝายเก็บกักน้ำ ๗,๖๘๙ แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ ๔,๖๓๘ แห่ง
- พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการช่วยเหลือ ๕,๓๑๗,๐๐๐ ไร่
การช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน ๒,๑๒๙ คัน ๑๒๐,๗๗๓ เที่ยว
- ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย จำนวน ๑,๐๑๓,๒๔๔,๙๙๔ ลิตร
- การเป่าล้างบ่อบาดาล ๑๑,๙๖๗ บ่อ
- ซ่อมถึงน้ำขนาดกลาง ๙๔๒ ถัง
- ซ่อมประปาหมู่บ้าน ๑,๖๓๙ แห่ง

งบประมาณดำเนินการจ่ายไปแล้ว รวม ๑,๒๓๕ ล้านบาท

ถ้าพิจารณาจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะเห็นว่าได้ให้ความช่วยเหลือไปมากพอสมควร ทั้งพื้นที่การเกษตรและน้ำอุปโภค บริโภคก็ไม่น่าเป็นห่วง อย่างน้อยที่นาที่คิดว่าจะเสียหาย ถึง ๑๓ ล้านไร่ ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว ถึง ๕ ล้านไร่ ส่วนน้ำกินน้ำใช้ก็ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว ประมาณ หนึ่งพันล้านลิตร

ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลของมหาดไทยและมีบางส่วนที่กระทรวงเกษตรได้ออกมาให้สำรวจเพิ่มจากวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๘ ถึง ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ กรมชลประทานเสนอสร้างเขื่อนแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

ท่ามกลางสถานการณ์ความแห้งแล้ง อธิบดีกรมชลประทานออกมากล่าวถึงความแห้งแล้งนี้ว่า ภัยแล้ง ดังนั้นกรมชลประทานต้องผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ๕ เขื่อน และต้องสร้างเขื่อนขนาดกลางอีกนับร้อย ด้วยงบประมาณ ๕ ปี ราว ๒ แสนล้านบาท

ดูท่าทางเขื่อนจะเป็นสูตรสำเร็จอีกแล้ว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งนี้ โดยที่ไม่ต้องจำแนกว่าที่ยกตัวแลขผู้เดือดร้อนนั้นทำไมสูงกว่าปีก่อน ๆ ถึง ๔-๕ เท่าของฤดูกาลเดียวกันในปีก่อน ๆ นี้ มีเขื่อนตามที่อธิบดีกรมชลประทานกล่าว แล้ว สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้หรือแล้วเหตุใดเขื่อนที่มีอยู่แล้วจึงไม่บรรเทาได้แล้วเขื่อนยังเป็นทางออกอีกหรือเป็นจังหวะหรือจงใจให้เหตุการณ์นี้เหมาะกับการเสนองบประมาณ ๒ แสนล้าน

แล้วรายละเอียดอยู่ที่ไหน ไม่ทราบ ทราบแต่ว่ากรมชลประทานมีงบประมาณ ปี ๆ ละ ๕-๖ หมื่นล้าน ดังนั้นก็ไม่แปลกหรอกที่ ๔ ปี งบประมาณ ๒ แสนล้านบาท (กำลังเอางบประมาณเป็นตัวตั้งอีกแล้ว) พื้นที่ชลประทาน

จากสถานการณ์ความแห้งแล้งปีนี้มีความจำเป็นที่ต้องนำเอาพื้นที่ชลประทานมาพิจารณากันว่า ถ้ากรมชลประทานสร้างเขื่อนหมดทุกเขื่อน จะสามารถหาน้ำเพื่อแก้ไขฤดูแล้งได้หรือไม่

จากข้อมูลของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องน้ำและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วพร้อมทั้งความสามารถในการส่งน้ำในระบบชลบประทานที่มีอยู่และจะหาเพิ่มได้อีกหรือไม่ พิจารณาจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ดังนี้

กรมชลประทาน
- โครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง ๖๘๙ โครงการ ความจุน้ำ ๙,๕๒๙ ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน ๒๒.๐๓ ล้านไร่
- โครงการขนาดเล็ก ๙,๓๖๒ โครงการ ความจุน้ำ ๑,๓๙๗ ล้านลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน ๑๒.๗๙ ล้านไร่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- โครงการไฟฟ้าพลังน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำ ๑๐ โครงการ มีความจุน้ำ ๖๑,๒๐๓ ล้าน ลบ.ม.
- โครงการขนาดเล็ก จำนวน ๑,๒๔๔ โครงการ ความจุน้ำ ๗๑๓ ล้าน ลบ.ม.มีพื้นที่ชลประทาน ๒.๑๓ ล้านไร่

สรุป
รวมพื้นที่ชลประทานทั้งหมด ๓๖.๙๕ ล้านไร่ทั้งหมดนี้คืองานที่กรมชลประทานและหน่วยงานอื่น ร่วมกันก่อสร้างเขื่อนทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ถ้ารวมทั้งโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าอีกก็น่าจะอยู่ที่ ๔๐ ล้านไร่ ด้วยระยะเวลา ถึง ๑๐๓ ปี ตั้งแต่ตั้งกรมชลประทานมา อธิบดีกรมชลประทาน อ้างว่าอีก ๔ ปี หรือ ๕ ปี จะหาพื้นที่ชลประทานเพิ่มอีก ๑๑ล้านไร่ ไม่น่าจะเป็นไปได้ ด้วยเหตุผลว่า ใช้เวลาเป็นร้อยปี

สร้างระบบชลประทานได้เพียง ๒๒ ล้านไร่ แล้วประสาอะไรที่ ๔ ปีจะเนรมิตได้มากขนาดนั้นข้อจำกัดถ้าพิจารณาเขื่อนที่ไม่ได้สร้างในปัจจุบันมีเหตุผลอันใด
ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดหลาย ๆ ประการด้วยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็น

เขื่อนแม่วงก์....................... จังหวัดนครสวรรค์(อุทยานแห่งชาติแม่วงก์)
เขื่อนแก่งเสือเต้น .................จังหวัดแพร่ (อุทยานแห่งชาติแม่ยม)
เขื่อนใสน้อย-ใสใหญ่............. จังหวัดปราจีนบุรี(อุทยานเขาใหญ่)
เขื่อนแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่..... (เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติออบหลวง)

ชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน เช่น แก่งเสือเต้นจังหวัดแพร่ เขื่อนรับร่อ-ท่าแซะ จังหวัดชุมพร ลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานีเขื่อนเหล่านี้ได้รับบทเรียนมาจากเขื่อนอื่น ๆ และไม่มีพื้นที่อพยพทั้งสิ้น (ยายใฮ ห้วยละห้า ไม่กี่ครอบครัวยังหาที่ให้ไม่ได้)พื้นที่ไม่เหมาะสม เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนรับร่อ-ท่าแซะ เขื่อนแม่วงก์ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องแผ่นดินไหว ไม่แน่ใจว่าสร้างเขื่อนแล้วปลอดภัยหรือไม่

ข้อมูลทางวิชาการยังหาข้อสรุปไม่ได้การลงทุนที่สูง เขื่อนบางเขื่อนลงทุนค่าก่อสร้างอย่างเดียว ราคาหมื่นล้าน ได้น้ำประมาณ หนึ่งพันล้านลูกบาศก์เมตร ราคาค่าก่อสร้างก็ลงทุน นับพันล้านบาทต้องพิจารณาถึงค่าความคุ้มทุนก่อนก่อสร้าง เพราะนั่นคือ ภาษีของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ เขื่อนหลายเขื่อนที่สร้างมายังไม่คุ้มกับการลงทุน เช่นเขื่อนปากมูล ราษีไศล บางปะกง เป็นต้น

ตั้งแต่สถานการณ์ความแห้งแล้ง ดูการจัดการน้ำที่ผ่านมาต่อการประโคมข่าวเรื่องภัยแล้ง ซึ่งพ่อนิมิต หาระพันธ์ ชาวบ้านจากจังหวัดยโสธร คนอีสานแท้ ๆ กล่าวว่า คนอีสานเจอแล้งอย่างนี้ทุกปีเพราะเป็นฤดูแล้ง ยังไม่เคยมีใครอดน้ำตายหรอก ที่บ้านยังมีน้ำกินอยู่ดูแล้วเหมือนกับการประโคมข่าวเรื่องภัยแล้ง เพื่อผลักดันโครงการขนาดใหญ่ได้ดูโครงการที่กั้นลำน้ำชี ๖ โครงการ

เคยสงสัยว่าทำไมน้ำท่วมได้ตระเวนดูเขื่อนในลำน้ำชี ทำให้เข้าใจได้ว่า เขื่อน เป็นตัวทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่สร้างเขื่อนมา ข้าวไม่ได้กินเพราะถูกน้ำท่วมหมด ท่วมหนักกว่าที่เคยผ่านมา เพราะไปสร้างเขื่อนขวางทางน้ำ วันนี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีเขื่อนแล้วเกิดภัยแล้งดูแล้วเขื่อนก็สร้างปัญหาให้กับชาวบ้านทั้งแล้งและน้ำท่วมผ่าแผนพัฒนาลุ่มน้ำ ๒๕ ลุ่มน้ำ

ตั้งแต่วันแรกที่รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้ารับตำแหน่ง มีกระแสข่าวว่าจะรวมแผนพัฒนาลุ่มน้ำขึ้นมาอีกครั้ง จริง ๆ ถือว่า เป็นเรื่องดีที่แผนการจัดการลุ่มน้ำได้ถูกหยิบยกมาพิจารณาบ่อยขึ้นและเปิดเผยต่อสาธารณะบ่อยขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาบางลุ่มน้ำไม่มีเวลามากพอที่จะให้ได้คิดถึงวิธีการจัดการแบบอื่น ๆ

การคิดบางลุ่มน้ำก็มีบริษัทที่ปรึกษาคิดผ่านคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำแล้วให้เสนอผ่านกันมาเป็นทอด ๆ เช่น โครงการผันน้ำโครงการคิดเอาน้ำมาจากต่างประเทศ เป็นต้น ที่กล่าวว่าคิดโดยบริษัทที่ปรึกษา เนื่องจาก ในลุ่มน้ำน้ำนั้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาไปร่วมทำแผนลุ่มน้ำ

แผนการจัดการลุ่มน้ำส่วนใหญ่ ก็รวบรวมแผนที่เคยรวบรวมโดยสภาพัฒน์ฯ เมื่อปี ๒๕๓๗ เมื่อคิดแผนใหญ่รวบรวมเสร็จก็ยังมีโครงการเหล่านี้ในลำดับต้น ๆ โครงการที่จะให้ชุมชนจัดการน้ำในลุ่มน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือการดูแลต้นน้ำมีน้อยมาก ยังหาปริมาตรน้ำเป็นที่ตั้ง

ไม่ได้หาสาเหตุว่า การขาดน้ำบางพื้นที่จะจัดการอย่างไรหรือมีทางแบบกี่แบบการทำแผนในลุ่มน้ำต่าง ๆ ต้องจัดทำให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลาของการเสนองบประมาณประจำปีจึงจำเป็นต้องเร่งให้เสร็จ จึงเห็นว่าเมื่อทำแผนลุ่มน้ำเสร็จส่งโครงการทั้งหมดให้คณะกรรมการทั้งชุดพิจารณา ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงอนุมัติแผนนับพันล้านบาทหรือไม่ก็ใช้วิธีส่งจดหมายให้คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำรับทราบแผน

เรียกว่าขออนุมัติกันทางจดหมาย อย่างนี้จะเรียกว่าบูรณาการได้อย่างไรเอาเวลาเป็นตัวเร่ง จึงเห็นด้วยที่ต้องกลับกันมาดูใหม่อีกครั้งจะได้รับทราบกันมากขึ้น วันนี้ ดูจะเป็นสูตรสำเร็จของกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าถึงแม้นจะเกิดภาวะแห้งแล้ง ก็ยกเขื่อนเป็นข้ออ้างได้ทั้งนั้น

แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นฤดูกาลตามวัฎจักรของธรรมชาติ ที่ ๑ ปี จะต้องมีฤดูฝนฤดูแล้ง และฤดูหนาว จะทำอย่างไรให้เข้าใจธรรมชาติไม่ต้องชนะธรรมชาติทุกเรื่องหรอก คนรุ่นใหม่ต้องทำความเข้าใจว่าทุกฤดูจะมีน้ำให้เหมือนกันหมดไม่ได้ ฤดูแล้งจะใช้น้ำอย่างไรจะไม่เกิดปัญหา กิจกรรมอะไรที่ต้องงดต่างหาก ถ้าไม่เข้าใจก็ร่ำร้องอยู่ร่ำไปการทำแผนการจัดการลุ่มน้ำ ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้และทรัพยากรอื่น ๆ ด้วยควบคู่กันไป



http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0307
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โครงการโขง-ชี-มูล

ความเป็นมา :

- ในปี พ.ศ. 2530 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้ทำการศึกษาเบื้องต้น (Desk study) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงมาเสริมในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลโดยได้ข้อสรุปว่ามีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์

- ในปี พ.ศ. 2531 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้เสนอโครงการโขง–ชี-มูล เข้าบรรจุในแผนงานโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องตามแนวพระราชดำริซึ่งในขั้นต้นได้รับงบประมาณสำหรับสำรวจและเก็บข้อมูล

- เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2532 ครม. ได้มีมติให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ดำเนินการโครงการโขง-ชี-มูล ให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมภายใน 3 ปี วงเงิน 18,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การสำรวจ และศึกษาความเหมาะสม
โครงการ การสำรวจ-ออกแบบ และการพัฒนาให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

- จากการศึกษาสรุปได้ว่าการพัฒนาตามโครงการโขง-ชี-มูล มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 4.98 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัด และได้แบ่งระยะเวลาในการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ คือ

แผนพัฒนาระยะที่ 1 (ปี 2533-2543) ใช้เวลาพัฒนาทั้งสิ้น 9 ปี มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 2.323 ล้านไร่ โดยจะเป็นการพัฒนาเพื่อใช้น้ำภายในประเทศให้มากที่สุดก่อน และจะผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาทางอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบขององค์การ ดังนี้

(1) ระบบการนำน้ำจากแม่น้ำโขง จำนวน 2 โครงการ
(2) ระบบผันน้ำบนลำน้ำชี 6 ฝาย และบนลำน้ำมูล 5 ฝาย
(3) ระบบกระจายน้ำ และส่งน้ำจากแม่น้ำชีและน้ำมูลไปยังลำน้ำสาขา รวม 8 โครงการ

แผนพัฒนาระยะที่ 2 จะใช้เวลาพัฒนาทั้งสิ้น 16 ปี จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีก 1.693 ล้านไร่ โดยจะทำการผันน้ำจากแม่น้ำโขง เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งก่อสร้างระบบผันน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังพื้นที่ลุ่มน้ำชีและมูล

แผนพัฒนาระยะที่ 3 จะใช้เวลาพัฒนาทั้งสิ้น 17 ปี จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีก 0.964 ล้านไร่ โดยจะเป็นการก่อสร้างระบบผันน้ำจากแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดเลย ส่งให้กับพื้นที่ชลประทานในเขตลุ่มน้ำเลยและลุ่มน้ำชีตอนบน

- เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานดำเนินการก่อสร้างฝาย และระบบชลประทานในลุ่มน้ำชี-มูล และลำน้ำสาขาเพื่อใช้น้ำภายในประเทศตามแนวพัฒนาระยะที่ 1 จำนวน 13 โครงการย่อย ในวงเงิน 9,996 ล้านบาท และโครงการระบบชลประทานรอบอ่างห้วยหลวงเพื่อการเก็บกักน้ำภายในประเทศ ในวงเงิน 350 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,346 ล้านบาท


http://www.rid7.com/Web/EX7/page07.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รายงานพิเศษ : โปรดประเมินความคุ้มค่าโครงการ ‘โขงชีมูล’ ก่อนเดินหน้าอุโมงค์ผันน้ำโขง

ชื่อบทความเดิม : อุโมงค์ผันน้ำโขง จะเดินหน้าไม่ได้ หากไม่หันกลับไปประเมินความคุ้มค่าจากโครงการโขงชีมูลเสียก่อน

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา


1. แนวผันน้ำที่บกพร่อง
เขื่อนกักเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปี แต่ข้าราชการและนักการเมืองที่ผลักดันโครงการนี้เรียกว่าฝาย เป็นเขื่อนหรือโครงการย่อยตัวหนึ่งของโครงการโขงชีมูลฉบับเต็ม [1] ที่ถูกเลือกสำหรับการสูบน้ำโขงเข้ามาเติมตามแนวผันน้ำห้วยหลวง-หนองหานกุมภวาปี เพื่อเชื่อมต่อไปยังอ่างเก็บน้ำลำปาว และลุ่มน้ำชี-มูนต่อไป

โครงการหนองหานกุมภวาปีได้เริ่มดำเนินการศึกษา สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการตั้งแต่ปลายปีงบประมาณ 2532 และเริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2534 แล้วเสร็จในปี 2537 ลักษณะโครงการเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกินกว่าจะเรียกว่าฝาย สามารถกักเก็บน้ำและยกระดับน้ำในลำน้ำปาวเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร และมีคันดินกั้นน้ำ (dike) ล้อมรอบหนองหานยาว 112 กิโลเมตร เพื่อกักเก็บน้ำไว้ มีพื้นที่ผิวน้ำกักเก็บประมาณ 36 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,500 ไร่ ปริมาตรน้ำกักเก็บ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นประตูเหล็กระบายน้ำ 5 บาน แต่ละบานมีความสูง 4.3 เมตร และกว้าง 12 เมตร โดยความสูงของคันดินกั้นน้ำประมาณ 4 เมตร และกว้างประมาณ 3-6 เมตร มีสถานีสูบน้ำรวม 14 สถานี เพื่อปล่อยน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก 55,000 ไร่ ราคาค่าก่อสร้างโครงการประมาณ 920 ล้านบาท

ส่วนอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงจะมีระดับท้องน้ำอยู่ที่ 151 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (เมตร รทก.) และมีระดับกักเก็บน้ำที่ 160 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (เมตร รทก.) โดยจะสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นปากห้วยหลวงห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 1 กิโลเมตร และจะสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำโขงเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ต่อจากนั้นก็จะผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงเข้าคลองสาย A เพื่อนำน้ำสู่อ่างเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีอีกทอดหนึ่ง แต่น้ำทั้งหมดไม่สามารถไหลเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกได้ เพราะระดับเก็บกักน้ำของอ่างห้วยหลวงอยู่ในจุดที่ต่ำกว่าระดับท้องน้ำของอ่างเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีประมาณ 6 เมตร ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยทำการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าส่งเข้ามาตามคลองสาย A แทน

นั่นก็เท่ากับว่าเราต้องใช้ไฟฟ้าสูบน้ำหลายทอด เพื่อลำเลียงน้ำจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงกว่า ตามแนวคลองผันน้ำสาย A ซึ่งมีความยาวกว่า 60 กิโลเมตร และยังจะต้องสร้างสถานีสูบน้ำตามแนวคลองสาย A ไว้เป็นช่วง ๆ เพื่อเพิ่มแรงดันของน้ำให้ไหลมาสู่อ่างเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีให้เร็วขึ้นอีกด้วย นั่นก็หมายความว่าเราจะสูญเสียค่าไฟฟ้าสูบน้ำหลายทอดกว่าน้ำจะถึงหนองหานกุมภวาปี ตรงจุดนี้เองที่ทำให้แนวผันน้ำนี้มีความบกพร่อง

เหตุที่ต้องเลือกแนวผันน้ำห้วยหลวง-หนองหานกุมภวาปี ตามคลองผันน้ำสาย A ก็เพราะมีแรงผลักดันจากนักการเมืองจังหวัดอุดรธานีซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนั้น เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้อนโครงการโขงชีมูลเข้าสู่นโยบายการเมือง “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ในยุคของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ.2531-2534) ก็เพราะว่าแนวผันน้ำนี้พาดผ่านจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของนักการเมืองคนดังกล่าว แม้ข้าราชการส่วนใหญ่ในกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน [2] ได้ทักท้วงว่าแนวผันน้ำนี้ไม่เหมาะสม มีความบกพร่องสูงจากการใช้กระแสไฟฟ้าสูบน้ำสูงมาก ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อความคุ้มทุนของโครงการโขงชีมูลโดยรวม แต่นักการเมืองคนดังกล่าวก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะต้องพัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงและหนองหานกุมภวาปีเพื่อเตรียมการรองรับการผันน้ำโขงเข้ามา หากโครงการโขงชีมูลในส่วนที่ใช้น้ำโขงมีมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในอนาคต

ปัจจุบันโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงและหนองหานกุมภวาปีได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยมาหลายปีแล้ว แต่การผันน้ำโขงเข้ามาตามแนวผันน้ำนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2537 [3] ให้ระงับโครงการโขงชีมูลในส่วนที่ใช้น้ำโขงเอาไว้ก่อน แต่หลังจากการแถลงผลักดันโครงการอุโมงค์ผันน้ำโขงของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไทย ในขณะนั้น ไปก่อนหน้านี้ จึงทำให้การผันน้ำโขงเข้ามาใช้สำหรับการเกษตรภายในประเทศมีความหวังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำออกมาขานรับนโยบายดังกล่าว และได้เสนอทางเลือกแนวผันน้ำโขงไว้หลายแนวทาง หนึ่งในนั้นก็คือแนวผันน้ำจากเขื่อนน้ำงึมสู่ห้วยหลวง

โครงการอุโมงค์ผันน้ำโขงของนายสมัคร สุนทรเวช และพรรคพลังประชาชน คาดว่าคงใช้แนวผันน้ำหลายแนวทาง เพื่อทำให้น้ำกระจายครอบคลุมทั่วภาคอีสานให้มากที่สุด ซึ่งแนวผันน้ำจากเขื่อนน้ำงึมสู่ห้วยหลวงจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะมาต่อยอดกับระบบอ่างเก็บน้ำจากโครงการโขงชีมูลที่ได้ก่อสร้างรองรับเอาไว้แล้วได้ แต่มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ คือ

1) แนวผันน้ำนี้ไม่สามารถส่งน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ต้องใช้การสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง กล่าวคือเมื่อผันน้ำจากเขื่อนน้ำงึมใส่ท่อลอดใต้แม่น้ำโขงมาที่ห้วยหลวงแล้วจะต้องนำปริมาณน้ำที่ได้จากเขื่อนน้ำงึมทั้งหมดมาไว้ที่หนองหานกุมภวาปี ซึ่งเป็นจุดที่สูงกว่าห้วยหลวง จึงทำให้แนวผันน้ำนี้มีราคาค่าก่อสร้างโครงการสูงกว่าแนวผันน้ำอื่นที่สามารถส่งน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกได้

2) น้ำที่จะผันมาจากเขื่อนน้ำงึมมีปริมาณเท่าไหร่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด หากเป็นตัวเลขที่กรมทรัพยากรน้ำเคยศึกษาไว้ในแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเมื่อปี 2536 ก็คือจะทำการผันน้ำในอัตรา 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้อนพื้นที่เกษตรกรรม 1.2 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็นปริมาณน้ำสูงถึง 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร นั่นย่อมหมายความว่าเราจะต้องมีอ่างเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีถึง 23 ตัว เพื่อรองรับน้ำที่ผันมาจากเขื่อนน้ำงึมได้หมด

จากสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ จึงเห็นได้ว่าแนวผันน้ำนี้ไม่ได้สรุปบทเรียนข้อผิดพลาด
ในอดีตตั้งแต่โครงการโขงชีมูลเลย แม้จะรู้ว่าแนวผันน้ำนี้มีราคาค่าก่อสร้างสูงและให้ผลตอบแทนต่อเกษตรกรต่ำก็ยังคงผลักดันต่อไป มิหนำซ้ำปริมาณน้ำจากน้ำงึมที่จะผันเข้ามาเป็นจำนวนมากจะทำให้อ่างเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีไม่สามารถแบกรับได้ จึงทำให้เห็นแผนการในอนาคตของโครงการอุโมงค์ผันน้ำโขงแล้วว่าจะต้องทำการเสริมคันเขื่อนและคันดินกั้นน้ำรอบอ่างหนองหานกุมภวาปี และเขื่อนลำปาวให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อรองรับน้ำจากเขื่อนน้ำงึมได้หมด

ปัจจุบันโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำหนองหานกุมภวาปีมีปริมาตรน้ำกักเก็บที่ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ถูกชาวบ้านเรียกร้องค่าชดเชยคิดเป็นจำนวนเงินสูงเกือบ 500 ล้านบาท จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ที่นาอยู่ในอ่างเก็บน้ำถูกล้อมรอบไว้โดยคันดินกั้นน้ำ คันดินกั้นน้ำทับที่นา และน้ำท่วมขังในที่นาและที่อยู่อาศัยเพราะถูกคันดินสกัดกั้นไว้ไม่ให้ไหลลงหนองหาน นี่คือความเสียหายจากโครงการดังกล่าวที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับค่าชดเชยตามที่ร้องขอ เพราะรัฐบาลไม่ยอมให้และถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกม็อบเดินขบวนที่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้นเพื่อหลอกลวงเอาเงินค่าชดเชยจากรัฐ หากหนองหานกุมภวาปีและเขื่อนลำปาวจะต้องเสริมคันเขื่อนและคันดินกั้นน้ำสูงขึ้นไปอีก ก็ย่อมจะมีผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมนาและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอีกมากอย่างแน่นอน

2. โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ด้อยประสิทธิภาพ
โครงการโขงชีมูลคือโครงการต่อขยายมาจากโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า [4] เพื่อต้องการยกระดับน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ให้สูงขึ้นด้วยการสร้างเขื่อนหรือฝายเพื่อที่จะให้สูบน้ำด้วยไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะฤดูแล้ง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อการทำนาฤดูแล้งแก่เกษตรกรว่าน้ำจะพอใช้ไม่ขาดแคลน

จากตัวเลขเมื่อปี 2542 [5] กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้จัดตั้งโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้ากระจายไปทั่วประเทศ โดยจำนวนสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ได้ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2516–2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,984 สถานี มีพื้นที่ส่งน้ำรวม 3,073,766 ไร่ หากกล่าวเฉพาะในภาคอีสานมีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 975 สถานี มีพื้นที่ส่งน้ำรวม 1,522,884 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมดในภาคอีสาน (พื้นที่ชลประทานในภาคอีสานเมื่อปี 2541 ประมาณ 6.8 ล้านไร่)

นับตั้งแต่มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแห่งแรกในภาคอีสานเมื่อปี 2510 จนมาถึงปี 2542 มีพื้นที่ทำการเกษตรฤดูแล้งจากโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในภาคอีสานอยู่ในอัตราเฉลี่ยเพียงร้อยละ 14 ของพื้นที่ส่งน้ำเท่านั้น หรือหากคิดพื้นที่ส่งน้ำโดยเฉลี่ย 1,500 ไร่ ต่อ 1 สถานีสูบน้ำ จะมีพื้นที่ที่ทำการเกษตรเพียง 210 ไร่ เท่านั้น

ตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา พื้นที่ส่งน้ำจากโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นจาก 1,000 ไร่ เป็น 1,522,884 ไร่ ในปี 2542 แต่ปรากฎว่าการใช้น้ำของเกษตรกรในภาคอีสานในพื้นที่ส่งน้ำเติบโตช้ามาก อัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 14 เท่านั้น

นี่คือตัวเลขที่ได้ทำการวิเคราะห์เอาไว้ตั้งแต่ปี 2543 แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าได้มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรฤดูแล้งจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในภาคอีสานสูงขึ้นแต่อย่างใด

โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นโครงการที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและรัฐบาลประกาศถึงความสำเร็จตลอดมา แท้จริงแล้วประสิทธิภาพและความสำเร็จถูกประเมินจากการขยายสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและพื้นที่ส่งน้ำเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของ “การจัดหาน้ำ” ไม่ใช่ “ความต้องการน้ำ” ที่แท้จริงของเกษตรกรเลย

จุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ ของโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้านั่นก็คือ หนึ่ง-หาน้ำมาให้เกษตรกร และสอง-ต้องบริหารและส่งเสริมการใช้น้ำให้ได้ตามเป้าหมายด้วยการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต” เนื่องจากว่าเกษตรกรจำเป็นต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูบน้ำ ดังนั้น จะต้องปลูกพืชเศรษฐกิจที่ขายได้ราคาดี ไม่ใช่ปลูกข้าวเพียงชนิดเดียว โดยจะต้องทำการปรับรูปแบบการเพาะปลูกของชาวบ้านให้เหมาะสมสำหรับเกษตรอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับการวางแผนการใช้น้ำของโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ด้วยการส่งเสริมการปลูกพืชอย่างมะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ไผ่ตง เมล็ดพันธุ์ผักและผลไม้ในท้องถิ่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวโพด พริก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และงา เป็นต้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่โครงการอีสานเขียวเมื่อประมาณปี 2529 จนถึงปัจจุบัน กลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากภาวะหนี้สินของเกษตรกรที่หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจเหล่านี้แต่กลับขายไม่คุ้มทุน

ดังนั้นเอง โครงการอุโมงค์ผันน้ำโขงจะใช้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเหมือนโครงการโขงชีมูล หรือว่าจะใช้ท่อส่งน้ำก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องไม่ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาวะหนี้สินจากการจ่ายค่าไฟฟ้าสูบน้ำหรือค่าท่อส่งน้ำ และจากการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจของรัฐและขายไม่ได้ราคา ถ้าไม่เช่นนั้นโครงการอุโมงค์ผันน้ำโขงก็คงจะล้มเหลวเหมือนโครงการโขงชีมูลอย่างแน่นอน


http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=1227&d_id=1227
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก โขง–ชี-มูล ถึงชลประทานท่อ และคนอีสาน


เบญจา ศิลารักษ์

ค.ร.ม. สัญจร จ.นครพนมผ่านไปแล้ว ขณะที่ยังมีคำถามคาใจคนอีสานที่บรรดาคณะรัฐมนตรียังไม่ได้ตอบ นอกจากนโยบายอันสวยหรูที่ป่าวประกาศว่าจะพลิกฟื้นแผ่นดินอีสานให้อุดมสมบูรณ์ คึกคักขึ้นด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทย-เวียดนาม ประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์สำคัญในหลาย ๆ เรื่อง ล้วนแล้วแต่เป็นแผนการพัฒนาที่มุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการค้าแทบทั้งสิ้น คำถามของคนอีสาน คือ โครงการพัฒนาสารพัดสารพันที่ทำกันมาก่อนหน้านี้ เฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการโขง-ชี-มูล ที่ส่งผลกระทบกับคนอีสานในปัจจุบัน จนบัดนี้ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ไม่ว่าจะเป็นปัญหา การแพร่กระจายของดินเค็มอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อน เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ราษีไศล จนทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเกษตรใด ๆ ได้ การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำในโครงการโขง–ชี–มูล นอกจากจะทำลายถิ่นฐานทำกินของคนอีสานแล้ว ประชาชนที่ต้องเสียสละจนถึงทุกวันนี้ก็ยังได้รับค่าชดเชยไม่ครบถ้วนเสียที หากค.ร.ม.ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ก็ไม่สมควรเดินหน้าต่อโครงการพัฒนาใด ๆ ต่อไปได้ ก่อนจะเดินหน้าต่อไป คนอีสานประกอบด้วย องค์กรชาวบ้าน เอ็นจีโอ นักวิชาการจากหลายหลายองค์ร่วมสะท้อนบทเรียนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคนอีสาน คือโครงการโขง-ชี-มูล ในเวทีคู่ขนานค.ร.ม.สัญจรด้วยเช่นกัน

โขง-ชี-มูล : ภายหลังการประชุม ค.ร.ม.สัญจร เมษายน ปี 2532 โครงการโขง-ชี-มูล โครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ก็ผุดขึ้น ไอเดียเริ่มต้นของรัฐบาลยุคนั้นลอกเลียนแบบการจัดการจัดการน้ำจากลุ่มน้ำเมอร์เรย์-ดาร์ลิง ประเทศออสเตรเลีย โดยมีความคิดว่าจะผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาใช้เพื่อขยายพื้นที่ชลประทานในภาคอีสาน แบ่งโครงการออกเป็น 3 ระยะ ระยะเวลาดำเนินการยาวนานถึง 42 ปี (2532-2576) หลังการประชุมค.ร.ม.สัญจรมีการอนุมัติงบประมาณทันทีงวดแรกจำนวน 1,800 ล้านบาท ก่อนจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 228,000 ล้านบาท

วัตถุประสงค์หลัก อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรกรรม ตั้งเป้าครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม 4.98 ล้านไร่ 15 จังหวัด ประกอบด้วยเขื่อน ฝาย สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองผันน้ำ และคลองส่งน้ำ

จากการรวบรวมผลกระทบโดยองค์กรในท้องถิ่น อาทิ โครงการทามมูล โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ โครงการสิทธิชุมชนศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำ—มูล และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมอีสาน พบว่านับแต่โครงการโขง-ชี-มูลดำเนินการมาพบว่าสร้างความวิกฤตต่อแผ่นดินอีสานดังนี้

1. การแพร่กระจายของดินเค็ม โดยที่พื้นที่อีสานนั้น 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ดินเค็ม เมื่อโครงการโขง-ชี-มุลดำเนินการนั้นส่วนใหญ่ดำเนินการบนพื้นที่ดินเค็ม เมื่อสร้างเขื่อนมีผลทำให้เกิดการแพร่กระจายดินเค็มไปทั่วอีสาน พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ กุมภาวาปี จ.อุดรธานี การแพร่กระจายของน้ำเค็มทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำไปใช้ทำการเกษตรได้ นาข้าว พืชสวนของเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก

จากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าเฉพาะพื้นที่ราษีไศลเพียงแห่งเดียวพบว่ามีการกระจายของเกลือเพิ่มขึ้นถึง 20 แห่ง

2. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศน์ท้องถิ่น ภายหลังการดำเนินการโครงการโขง-ชี-มูล ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลกระทบต้องสูญเสียที่ดินทำกิน และแหล่งทำกินเพื่อการสร้างเขื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำลายป่าทาม อันเป็นป่าที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพันธุ์ พืช และสัตว์น้ำ ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา พื้นที่เลี้ยงสัตว์ และป่าหาอาหารของชุมชน

3. ไม่มีความคุ้มทุนด้านการจัดการน้ำ โดยโครงการทามมูลระบุว่าหากมีการคำณวนต้นทุนการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการโขง-ชี-มูล เฉพาะพื้นที่ราษีไศลจะอยู่ที่ 170,000 บาทต่อไร่ ถ้าหากเปรียบเทียบระบบการจัดการน้ำของชาวบ้าน ต้นทุนที่ชาวบ้านลงทุนขุดคูคลองร่วมกันในชุมชน และสูบน้ำไปใช้ในแปลงเกษตรจะอยู่ที่ไร่ละ 1,000 บาทเท่านั้น ขณะที่การสร้างเขื่อน รวมทั้งคันดิน ถนนรอบเขื่อนเป็นตัวการปิดทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ ทำลายพื้นที่ทำกิน ทำลายแหล่งโบราณวัตถุไปถึง 167 แห่ง รวมทั้งสร้างความขัดแย้งในชุมชน ผลกระทบด้านสุขภาพของชุมชน เป็นต้น

ชลประทานท่อ : หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของ ค.ร.ม.สัญจรที่คนอีสานค่อนข้างเป็นห่วงอย่างมากคือ ยุทธศาสตร์ที่เสนอโดย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี คือ โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ โดยระบุว่าเพื่อให้เกิดการกระจายน้ำให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง และเกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการวางโครงข่ายระบบท่อ

คณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เสนอแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กค.2546 จะเน้นการสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำภายในประเทศและการผันน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีน้ำใช้ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 103 ล้านไร่ โดยกำหนดให้เสร็จสิ้นภายในปี 2551 โดยมีข้อเสนอการพัฒนาโครงการต่างๆ อาทิเช่น โครงการผันน้ำเชียงคาน-ฝายชนบท-ชี-มูล , โครงการผันน้ำปากคาด-น้ำสงคราม , โครงการผันน้ำเซบังเหียง-เซบาย-เซบก , โครงการผันน้ำเซบังไฟ-มุกดาหาร , โครงการผันน้ำสตึงนัม-ตราด-จันทบุรี-ระยอง

นอกจากนี้ จะพัฒนาชลประทานระบบท่อและเครือข่ายคลองส่งน้ำ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี คือ สำรวจและออกแบบทั้งระบบภายในปี 2547 และดำเนินการก่อสร้างปี 2547-2551 แต่จากการติดตามของเครือข่ายลุ่มน้ำภาคอีสาน พบว่าโครงการชลประทานโดยระบบท่อส่งน้ำไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่เกษตรกรแต่อย่างใด และอาจจะเป็นการใช้งบประมาณที่สูญเปล่า โดยยกตัวอย่าง โครงการชลประทานระบบท่อที่บ้านโนนฆ้อง บ้านโพธิ์ตาก บ้านหนองแสง ต.หนองผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เมื่อมีการวางแนวท่อผ่านหน้าบ้านและพื้นที่ทำการเกษตร ปรากฎว่าประสบปัญหาท่อแตก รั่ว ซึมไม่สามารถส่งน้ำไปยังท่อส่งน้ำที่อยู่เหนือสถานีสูบน้ำได้ เกษตรกรต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่เกิดจากการสูบน้ำ เนื่องจากการตั้งสถานีสูบน้ำอยู่ต่ำกว่าถังพักน้ำ หรือพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระค่าไฟ ต้นทุนสูงขึ้น

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคอีสาน ได้ชี้ให้เห็นว่า โครงการชลประทานระบบท่อนั้นนอกจากจะล้มเหลวทางด้านเทคนิคแล้ว ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกด้วย เพราะแท้ที่จริงแล้วการจัดการน้ำควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเลือกรูปแบบ การผลิตของตนเองตามภูมิปัญญา และตามระบบนิเวศน์ของท้องถิ่น

ดังนั้น หากจะมีการผลักดันอภิมหาโครงการขึ้นอีกครั้ง ก็ควรย้อนทบทวนบทเรียนเก่า แก้ปัญหาเก่าที่เกิดขึ้นจากโครงการโขง-ชี-มูลให้ได้เสียก่อน ขณะที่โครงการจัดการน้ำวางโครงการข่ายระบบท่อก็ต้องถามความเห็นของภาคประชาชนให้กว้างขวางด้วย เพราะยังมีคำถามตามมาอีกมาก เช่นว่า โครงการชลประทานระบบท่อเอื้อให้แก่ภาคเกษตรกรรมจริงหรือไม่ คนที่เข้าถึงน้ำจะถูกเปลี่ยนไปตาม ความสามารในการจ่าย หรือมีเงินจ่ายหรือไม่ จะเป็นการใช้งบประมาณที่สูญเปล่าหรือไม่จะทำลายภูมิปัญญาการจัดการน้ำของท้องถิ่น


http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0188
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล กับ SEA ลวงโลก


แนวคิดครอบงำการจัดการน้ำ
สูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมที่ครอบงำสังคมเราอยู่ปัจจุบันคือ การสร้างเขื่อน การสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ โครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ดังเช่นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาลอย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ โขง-เลย-ชีมูล โดยแรงโน้มถ่วงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กำลังดำเนินการในปัจจุบันนี้

การดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวนี้จะต้องลงทุนลงแรงมหาศาล และเป็นเรื่องที่ประชาชนชาวบ้านทั่วๆ ไปเข้าไปมีส่วนอะไรได้ยากมาก เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิควิศวกรรมแหล่งน้ำ ที่ผูกขาดอยู่ในกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายที่เติบโต ร่ำเรียน และทำงานอยู่กับเรื่องดังกล่าว คือ ศึกษา ออกแบบ วางแผน แล้วก็สร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คลองส่ง คลองซอย หรือผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ ฯลฯ ระเกะระกะเต็มไปหมดทุกสายน้ำ ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเบื้องแรกของโครงการนี้คือ การใช้งบประมาณของรัฐทำการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ จัดทำรายงานการศึกษาเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำ ซึ่งแต่ละปีใช้เงินหลายพันล้านบาท เช่น การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Environmental Assessment : SEA) ซึ่งเครื่องมืออย่างหลังนี้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยที่น่าสนใจ และไม่ควรถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ

SEA คืออะไร
หากอธิบายอย่างง่าย SEA หรือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Environmental Assessment: SEA) น่าจะหมายถึง การศึกษาถึงยุทธศาสตร์ทางเลือกของการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะสมที่สุด และยั่งยืนที่สุด โดยพยายามที่จะทำขั้นตอนกระบวนการให้เกิดความรอบคอบรอบด้านที่สุด มีส่วนร่วมกับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เมื่อได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว จึงเอาแนวทางนี้ไปออกแบบโครงการ หลังจากนั้นจึงค่อยไปทำ EIA หรือ HIA จนดำเนินการโครงการต่อไป หรือหากได้ทางเลือกและแนวทางที่เหมาะสมที่ไม่ต้องทำโครงการขนาดใหญ่แล้ว อาจจะไม่ต้องทำ EIA ก็ได้ อาจจะทำแค่ IEE (การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น) ก็พอ เช่น สมมุติว่าโจทย์ของการแก้ไขปัญหา ฝนแล้ง น้ำท่วมในลุ่มน้ำยม น่าจะมีทางเลือกที่ดีที่สุดคืออะไร หากกระบวนการ SEA ทั้งหมดได้ข้อสรุปออกมาว่าต้องทำ ๓ เรื่อง คือ

๑) การฟื้นฟูศักยภาพและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ
๒) การทำแก้มลิงกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำยมตอนกลางและตอนล่าง และ
๓) การจัดการระบบการผลิตให้สอดคล้องกับภูมินิเวศและอุทกวิทยาลุ่มน้ำ ดังนั้น ทางเลือกจึงไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ไม่ต้องมีโครงการขนาดใหญ่ ไม่ต้องเสียพื้นที่ป่าสักทอง ไม่ต้องเสี่ยงกับแผ่นดินไหวแล้วเขื่อนแตก ไม่ต้องอพยพคนท่าสะเอียบ ไม่ต้องทะเลาะกัน ไม่ต้องจัดม็อบมาตีกัน และไม่ต้องผูกขาดการจัดการเอาไว้ที่กรมชลประทาน เพราะเรื่องฟื้นฟูป่าต้นน้ำกรมชลประทานทำไม่เป็น และการปรับปรุงระบบการผลิตพืชผลที่เหมาะสมกับสภาพลุ่มน้ำกรมชลประทานก็ทำไม่เป็นอีก

SEA จึงต้องมีเจ้าภาพหลายฝ่ายที่ทำงานูบูรณาการกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งทำในทุกเรื่อง (ทั้งเรื่องที่ตนเองถนัดและไม่ถนัด) อย่างนี้ล่ะเรียกว่า SEA จากนั้นค่อยไปออกแบบรายละเอียดในเรื่องยิบย่อยต่อไป หากทั้งหมดแล้วโครงการต่างๆ ในยุทธศาสตร์ทางเลือกที่กำหนดออกมาไม่ใช่โครงการอะไรที่ใหญ่โต หรือไม่มีผลกระทบอะไรมาก ก็ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทองเสียเวลาทำ FS, EIA, HIA ให้มันวุ่นวายก็ได้

ดังนั้น SEA จึงเป็นกระบวนการที่ควรต้องทำก่อน FS และ EIA และโดยหลักการแล้วต้องคำนึงถึงข้อจำกัดและเงื่อนไขต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะนโยบาย กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในลักษณะ ร่วมคิดร่วมทำ ไม่ใช่แค่มาร่วมเวทีเฉยๆ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อตกลงหรือมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ประโยชน์สูงสุด ความยั่งยืน และไม่สร้างปัญหาเรื่องอื่นให้ซ้ำซ้อนขึ้นมา รวมถึงขึ้นอยู่กับ Concept ของการพัฒนาด้วย เช่น หากต้องเน้นการพัฒนาในลักษณะโครงการที่ ถูก ง่าย ดี อะไรที่แพงๆ ยากๆ และสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดปัญหาก็ต้องตัดออกไป เป็นต้น

SEA ผันน้ำกับฅนอีสาน
ฅนอีสานคงเคยได้ยินโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ในช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ความฝันของรัฐบาลสมัครตั้งใจจะสานต่อโครงการโขงชีมูลเดิม จนกระทั่งต่อมานายกสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้มีการผลักดันโครงการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดย ครม. มีมติเห็นชอบให้ทำการศึกษาโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ จะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ ๗๒๐ วัน (ตั้งแต่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ – ๕ กันยายน ๒๕๕๔) แต่ไม่มีการเปิดเผยจำนวนเงินในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่ทำการศึกษาครั้งนี้

รายละเอียดของการศึกษาครั้งนี้ จะมีการจัดทำรายงาน ๓ ฉบับคือ
๑) รายงานการประเมินยุทธศาสตร์ทางสิ่งแวดล้อม (SEA),

๒) รายงานการศึกษาความเหมาะสมของการผันน้ำโขงโดยแรงโน้มถ่วง (Feasibility Study)เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,

๓) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแนวทางผันน้ำที่ปากแม่น้ำเลยมายังพื้นที่ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำโขงอีสาน,

๔) รายงานการประเมินผลกระทบด้านสังคม (SIA) และรายงานการผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ตามแนวนโยบายของสำนักงานแผนและนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การศึกษาได้คืบหน้าอย่างเงียบๆ โดยบริษัทที่ปรึกษาจำนวน ๔ บริษัท ซึ่งเป็นบริษัเดิมๆ ที่เคยทำงานศึกษาโครงการต่างๆ ในอีสานมามากมาย เช่น บริษัทปัญญา คอนซัลเทนต์ และบริษัททีม คอนซัลเทนต์ เป็นต้นฯ

งานศึกษาครั้งนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๒ จนถึงสิ้นกรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยขณะนี้รายงานการประเมินยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือ SEA กำลังจะ “แล้วเสร็จ” ท่ามกลางความงุนงงสงสัยของคนอีสาน ชุมชนที่อยู่ในเขตได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์ยังไม่เคย หรือรับรู้งานศึกษาครั้งนี้ แต่ผู้ศึกษาได้กำหนดเวทีการสัมมนาเพื่อเปิดเผยรายงานการศึกษาที่กำลังจะแล้วเสร็จ และเสนอทางเลือกให้ประชาชนในอีสานได้เลือกว่า จะเอาทางเลือกในการพัฒนาโครงการผันน้ำนี้อย่างไรบ้าง เส้นทางไหน พร้อมกับยกเหตุผลว่า เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโครงการตามรัฐธรรมนูญไทย ปี ๒๕๕๐ หมวดที่ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ว่าด้วยเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร, สิทธิชุมชน แนวนโยบายการมีส่วนร่วมของรัฐ การมีส่วนร่วมครั้งนี้จะใช้เวลาเพียงครึ่งวัน ใน ๔ เวที ๔ วัน ๔ จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี นครพนม และอุบลราชธานี โดยจะมีตัวแทนจาก ๑๙ จังหวัดในภาคอีสานเข้าร่วม ภาคประชาชนที่ติดตามสถานการณ์นโยบายการจัดการน้ำของภาคอีสานมาตลอดจึงมีคำถามว่า

“ระยะเวลาเพียงครึ่งวันกับการตัดสินใจอนาคตของคนอีสาน เป็นเรื่องสมควรแล้วหรือ”

ทางเลือกที่ซ้ำรอยเก่า
รายงานการศึกษาครั้งนี้ มีข้อสรุปทางเลือกที่จะนำเสนอให้กับภาคประชาชนได้เลือกนั้นมี ๓ ทางเลือกคือ

ทางเลือกที่ ๑ การพัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักความยาว ๕๓๐ กม. จะส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเดิม ๑.๘๓ ล้านไร่

ทางเลือกที่ ๒ พัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักความยาว ๑,๑๙๕ กม.ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ จำนวน ๓๑.๒๔ ล้านไร่

ทางเลือกที่ ๓ พัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักให้เต็มศักยภาพ (ความยาวประมาณ ๒,๑๔๓ กม.) จะส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเดิมและพื้นที่เปิดใหม่ จำนวน ๓๓.๐๗ ล้านไร่

ชีวิตคนอีสานที่คนอื่นเลือกให้
รายงานฉบับนี้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังความเห็นต่อการตัดสินใจมาแล้วใน ๓ ระดับคือ ระดับ นโยบาย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ, เลขาธิการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งคณะระดับนโยบายนี้ให้ความเห็นว่า

“เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อประโยชน์ของชาติ เพื่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทย”

ในส่วนของข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืนเมื่อปี ๒๕๓๘ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า

(๑) โครงการนี้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การผันน้ำในฤดูน้ำมากและใช้น้ำภายในลุ่มน้ำ ซึ่งหากมีการพัฒนารัฐบาลไทยเพียงต้องแจ้งไปให้ประเทศภาคีทราบเท่านั้น และหากจะต้องผันน้ำในฤดูแล้งต้องหารือก่อน

(๒) โครงการนี้จะไม่มีการก่อสร้างในแม่น้ำโขงทำให้ไทยสามารถตัดสินใจได้ตามลำพัง

(๓) การสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนของจีน ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้งและลดปริมาณน้ำในฤดูฝนอันเป็นผลดีต่อท้ายน้ำของไทย

ส่วนการจัดเวทีการพิจารณาระดับภูมิภาค (กลุ่มจังหวัด) มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรเลือกทางเลือกที่ ๓ คือการพัฒนาเต็มศักยภาพจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้ครอบคลุมพื้นที่อีสานทั้งหมดได้ โดยการทำคลองส่งน้ำและอุโมงค์ผันน้ำเป็นองค์ประกอบ พร้อมกับมีข้อสรุปถึงผลประโยชน์ที่จะตามมาว่า

มีปริมาณน้ำที่จะผันเข้ามาประมาณ ๑๕,๒๓๘ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อตอบสนองพื้นที่ชลประทานทั้งหมด ๓๓.๐๗ ล้านไร่ โดยเป็นพื้นที่ชลประทานเดิม ๓๑. ๒๔ ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ ๑.๘๓ ล้านไร่

ครัวเรือนที่จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจำนวน ๑,๕๔๕,๓๒๗ ครัวเรือน หรือประมาณ ๕๔.๔๕ เปอร์เซ็นต์ และจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๓,๐๓๗ บาทต่อปี (รายได้เพิ่มขึ้น ๕๔ เปอร์เซ็นต์/ปี)

ครัวเรือนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ ๒,๒๘๑ ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการประมาณ ๒๘๓,๕๕๒.๗๕ ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างรองลงมา

แนวผันน้ำนี้จะตัดผ่านแนวดินเค็มเพียง ๒๕๕ ไร่ และจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ประมาณ ๑,๔๕๙,๘๓๑ ครัวเรือน โดยจะทำให้คนจนในอีสานที่มีอยู่ประมาณ ๒.๘ ล้านคน ลดลงประมาณ ๑.๙ ล้านคน และจะทำให้คนจนเหลือเพียง ๑.๒๙ ล้านคนเท่านั้นในภาคอีสาน โดยมีเพียงจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดชัยภูมิเท่านั้นที่อยู่นอกเหนือจากองค์ประกอบของแนวผันน้ำและคลองส่งน้ำหลักเดิมในพื้นที่ชลประทาน จึงทำให้โครงการนี้ครอบคลุมเพียง ๑๗ จังหวัดในภาคอีสาน

นี่เป็นข้อสรุปเบื้องต้นที่มีการศึกษาผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการผันน้ำนี้ โดยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า จะต้องส่งเสริมรูปแบบการผลิตให้กับชุมชนอย่างไร จะต้องเพาะปลูกหรือสร้างระบบเกษตรแบบใด จึงจะสามารถเพิ่มรายได้ให้มากถึง ๕๔ เปอร์เซ็นต์ต่อปีได้ และการนำน้ำปริมาณมหาศาลเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำท่าทั้งหมดต่อปีในภาคอีสานนั้น ปริมาณน้ำที่เหลือจากการเกษตรจะจัดการอย่างไร ลำพังเพียงฤดูน้ำหลากน้ำก็มากมายเพียงพอแล้ว

หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า รายงานผลการศึกษาดังกล่าว “ไม่ใช่” ทางเลือกใหม่ในการจัดการทรัพยากรน้ำของภาคอีสาน และไม่อาจจะถือได้ว่าเป็นกระบวนการ SEA เป็นเพียงแนวทางพัฒนาโครงการแบบเดิมๆ ของกรมชลประทานที่อาศัยชื่อ SEAมาใช้ประโยชน์แบบสุกเอาเผากิน ไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคอีสาน และผลที่ออกมาก็สะท้อนความคับแคบของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักเทคนิควิศวกรรมทั้งหลายที่ไม่เข้าใจบริบทภูมินิเวศวัฒนธรรมของอีสานทั้งระบบ เป็น SEA จอมปลอมลวงโลกที่ดูถูกภูมิปัญญาคนอีสานอย่างที่สุด เป็นการเสนอทางเลือกปัญญาอ่อนให้คนอีสานเลือกว่าจะเอาคลองยาวกี่กิโลเมตร SEA โครงการนี้ไม่ได้แสดงถึงภูมิปัญญาอะไรใหม่ๆ ที่บ่งชี้ถึงความชาญฉลาดของกรมชลประทานที่ก่อตั้งมากว่าร้อยปีเลย

และที่สำคัญและน่าเจ็บปวดที่สุดก็คือมันเป็นทางเลือกที่ซ้ำซ้อนกับแนวคิดเดิมของ “โครงการโขงชีมูล” ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ที่ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในโครงการนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ วิถีชีวิตและละเมิดสิทธิของชุมชนอีสานอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ในขณะนี้ปัญหาผลกระทบดังกล่าวก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ กรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการโขงชีมูลในปัจจุบันน่าจะรู้ดี

นอกจากนี้ สิ่งที่เสนอในทางเลือกยังบอกเอาไว้ว่า หากมีการผันน้ำเข้ามามากถึง ๑๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีนั้น ควรเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็ไม่รู้ว่าการผันน้ำเข้ามาช่วยให้เกิดการใช้น้ำอย่างประหยัดได้อย่างไร เพราะแค่ต้นทุนการผันน้ำก็มีค่าใช้จ่ายมากมายแล้ว และก็ไม่แน่ว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหากเกษตรกรอาจจะต้องจ่ายค่าน้ำ โครงการนี้จึงน่าจะขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่า เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งตนเองและสร้างระบบการจัดการน้ำในระดับไร่นาเพื่อตอบสนองการผลิตในระดับครัวเรือน

ดังนั้น ประชาชนอีสานทั้งหลายคงต้องร่วมกันเสนอความเห็นต่อการจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นที่ภูมินิเวศและวัฒนธรรมการผลิตของคนอีสาน และข้อสำคัญ คือ การร่วมกันติดตามและตรวจสอบ “ธุรกิจการศึกษารายงานความเหมาะสม” ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในอีสานต่างๆ ที่แต่ละปีมีรายงานในลักษณะนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายโครงการและทางเลือกที่ไม่ควรจะเลือกมาตั้งแต่ต้นเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ แต่ที่ได้แน่นอนคือ งบประมาณของรัฐที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ปรึกษาหลายแห่งทำการศึกษาในลักษณะนี้มันคือภาษีของประชาชนเป็นจำนวนมหาศาลซึ่งหากศึกษาให้ดีจะพบว่า มีการศึกษาซ้ำซ้อนกันหลายหน่วยงานมาก และก็มีไม่กี่บริษัทที่รับงานแบบนี้ไปทำ โดยที่กระบวนการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย คือ เป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ และนักเทคนิคทางวิศวกรรมชลประทาน คนอื่นอย่าเข้ามายุ่ง

หากนับรวมงบประมาณที่จ้างบริษัทที่ปรึกษาเหล่านั้นไปทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ คงสามารถสร้างระบบจัดการน้ำที่เหมาะสมให้กับชุมชนอีสานได้อีกมากมายหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาระบบจัดการน้ำตามภูมินิเวศ การขุดสระน้ำในไร่นา หรือแม้แต่การปรับปรุงระบบชลประทานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คนอีสานอยากได้น้ำก็จริง แต่ไม่เอาโครงการผันน้ำ อยากเสนอทางเลือกเองบ้าง และไม่เอา SEA (ฉบับเลือกความยาวของคลอง) ฉบับนี้...

ฅนขอบคุณ
ฅนต้นเรื่อง : ไพรินทร์ เสาะสาย เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน

๑] เอกสารประกอบการเขียน : เอกสารประกอบการประชุมหารือผู้ทรงคุณวุฒิ, โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Environment Assessment : SEA) โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มิถุนายน ๒๕๕๓

๒] ข้อมูลชมรมนักข่าวสีเขียว ,มูลนิธีโลกสีเขียว www.greenworld.or.th/greenworld


http://www.oknation.net/blog/konthaiban/2010/10/13/entry-1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จับเรื่อง "น้ำ - น้ำ - และ น้ำ" ขึ้นมาเป็นประเด็นก็เพื่อจะดูวิสัยทัศน์ของผู้นำ/ผู้บริหารประเทศ ทั้งราชการและการเมือง

ปี 53 ปีเดียว เมื่อต้นปีรัฐบาลประกาศสภาวะภัยแล้ง ถึงกลางปีค่อนไปทางปลายปีประกาศสภาวะน้ำท่วม สิ้นปีประกาศสภาวะภัยหนาว ต้นปี 54 เพียงไม่กี่วัน ภัยหนาวยังไม่สร่างซา ประภาศ "ห้ามทำนาปรัง" อีกแล้ว ว่าน้ำน้อย ซึ่งก็คือแล้งดีๆนี่เอง..... เพิ่งเสร็จจากน้ำท่วมวินาสสันตะโร พอน้ำลดกลายเป็นแล้งได้ไง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวิเคราะห์ ทุกปีฝนตกลงมาได้ปริมาณน้ำเท่ากันทุกปี แต่ที่น้ำไม่พอใช้เป็นเพราะ "ระบบการบริหารน้ำ" ไม่ดี ไม่ถูกต้อง น้ำทั้งหมดถูกปล่อยทิ้งลงทะเล

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกวิเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางเดียวกันว่า ทศวรรษนี้และทศวรรษหน้า ทรัพยากรธรรมชาติที่มวลมนุษย์จะแก่งแย่งกันมากที่สุด คือ "น้ำ" อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

ประเทศอินเดียที่ประชากรจะมีมากที่สุดในโลก (แซงจีน) ในทศวรรษนี้ทศวรรษหน้า จะประสบภัยแล้งอย่างหนัก เมื่อแม่น้ำสายหลัก 4 สายที่ต้องอาศัยหิมะ/น้ำแข็งละลายจากยอดเขาเอฟเวอร์เรสต์ไหลงมาเติมเต็มให้ตลอดปีตลอดชาติ แต่เนื่องจากสภาวะโลกร้อน ปริมาณการเกิดหิมะ/น้ำแข็งบนยอดเขาลดลง ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำละลายลงสู่แม่น้ำสายหลักทั้ง 4 สายลดลงด้วย

เขื่อนขนาดใหญ่ของจีน 3 เขื่อน เพียงเริ่มใช้งานได้เท่านั้น ส่งผลต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงทันที

ที่จริงโครงการ "โขง-ชี-มูล" พูดกันมาตั้งแต่ปี 2505 (จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์) จนถึงวันนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้

คนอิสานยากจนเพราะไม่มีรายได้....สังคมชนบทล่มสลาย คนหนุ่มสาวต้องไปหางานทำยังต่างถิ่นแล้วทิ้งลูกหลานให้คนแก่เลี้ยง.....ประชาชนไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ทั้งๆที่มีศักยภาพ.....กับอีกหลายๆปัญหา ทุกปัญหาเกิดจากต้นตอแห่งปัญหาเดียวกัน คือ "น้ำ" เท่านั้น

ประเทศไทย ประเทศแห่งการเกษตร สามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งโลกได้ หากมีการบริหารจัดการ วางแผนระดับโลก เชื่อว่า ไทยจะต้องเป็นมหาอำนาจทางด้านอาหารได้ เหมือนกับหลายๆประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม

การลงทุนสร้างแหล่งน้ำทั้งในอิสาน และทั่วประเทศ ให้เป็นเครือข่ายเหมือนใยแมงมุม แม้จะต้องลงทุนสูงก็จำเป็นต้องทำ เพราะประเทศไทยเหมาะสำหรับเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่ใช่อุตสาหกรรม หรือจะเป็นทั้งอุตสาหกรรม (NICK) และเกษตรกรรม (NACKs) ควบคู่กันไปก็ยังพอได้ โดยเฉพาะ "เกษตรอุตสาหกรรม" ด้วยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแล้วส่งออก แทนการส่งวัตถุดิบเกษตรให้ประเทศอุตสาหกรรมเขาแปรรูปแล้วย้อนกลับมาขายให้เรา

น้ำเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความยากจน ความขาดแคลน และปัญหาการดำรงชีวิตต่างๆได้ หากแก้ปัญหาน้ำได้ ผลรับนี้จะต่อทอดไปถึงลูกหลานเหลนโหลนอย่างแท้จริง


ลุงคิม (ใครมีความคิดเห็นอย่างไร แสดงหน่อยก็ดีนะ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2011 10:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2011 8:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้ 7 ธ.ค. เวลาตอนนี้ 19.49 เมื่อตะกี้นี้ 19.45 ได้รับโทรศัพท์จาก สมช.สายวิทยุ สระบุรี ถามเรื่องน้ำนาปรัง ให้คำตอบไปว่าช่วงระยะกล้าให้ถึงน้ำหน่อย ซักประมาณดินแฉะ หรือน้ำขังรอยตีนวัวตีนควาย รอให้ถึงระยะออกรวงแล้ว น้ำน้อยหน่อยยังพอไหว

สอบถามเพิ่มเติมทราบว่า น้ำในแม่น้ำป่าสัก เมื่อเดือนกว่าๆที่ผ่านมา ท่วมตลิ่ง วัดพุ่มพวงอยู่ริมตลิ่งท่วมเสียหาย เวลาผ่านไปเพียงเดือนกว่าๆ วันนี้น้ำในแม้น้ำป่าสักแห้งขอดถึงก้นแม่น้ำแล้ว.....ถามว่า น้ำหายไปไหนหมด

คงไม่ใช่แค่แม่น้ำป่าสักหรอกนะ แม้น้ำอื่นๆก็คงไม่ต่างกัน เอ้า แม่น้ำบ้านใครไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลยบ้าง เล่าสู่กันฟังหน่อยซี่


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©