-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-"ทำมัง" ต้นไม้กลิ่นแมงดานา....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - "ทำมัง" ต้นไม้กลิ่นแมงดานา....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

"ทำมัง" ต้นไม้กลิ่นแมงดานา....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:21 pm    ชื่อกระทู้: "ทำมัง" ต้นไม้กลิ่นแมงดานา.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นไม้กลิ่นแมงดา

ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น

"ทำมัง" เป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นแมงดาอยู่ในสกุล Litsea วงศ์ Lauraceae ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ถึง 400 ชนิด ที่รู้จักกันดี ได้แก่ อบเชย สะทิด ทัง บง ต้นทำมังเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข ทำมังพบกระจายในเขตร้อนและ กึ่งร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอเมริกา คนไทยเรียกต้นไม้ ที่มีกลิ่นแมงดาว่า ทำมังเหมือนกันหมด มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์อยู่ใน ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง (อำเภอบางสะพานและ บางสะพานน้อย) ชุมพร สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส ส่วนใหญ่จะขึ้น อยู่ตามที่ชื้นในหุบเขา ตามริมลำธาร ในป่าดงดิบจนถึงในป่าพรุ แต่ไม่ค่อย พบในป่าบนภูเขา

ทำมังเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 30-44 เมตร ไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตค่อนข้างช้ามีทรงพุ่มแบบ พีระมิดค่อนข้างโปร่ง เส้นผ่า- ศูนย์กลางที่โคนต้นประมาณ 30-40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล จนถึงเทาและมีกลิ่นฉุน มีใบเป็นแบบใบเดี่ยว เรียงสลับหมุนเวียนรอบกิ่งใบกว้าง 3-9 เซนติเมตร ยาว 6-20 เซนติเมตร ก้านใบเรียวยาว 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นมันลักษณะใบคล้ายใบขนุน เส้นแขนงใบ 4-12 คู่ มองเห็นชัดเจนทางด้านท้องใบ (ด้านล่าง) ปลายใบทู่จนถึงแหลม บนใบมีต่อมน้ำมันและมีกลิ่นฉุน ใบแก่จะฉุนและเผ็ดมากกว่าใบอ่อน ผลมีรูปไข่ยาว 1 เซนติเมตร เมื่อผลแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ด เพียงเมล็ดเดียว

ต้นทำมังมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย (dioecious tree) มีดอกแยกเพศ เนื้อไม้แข็งมีกลิ่นฉุน นิยมนำไม้มาทำสากและใช้ในการก่อสร้างทั่วไป ต้นที่มีขนาดใหญ่สามารถนำมาเลื่อยทำไม้กระดานได้

ตามรายงานการสำรวจพันธุ์ไม้ดังกล่าวพบว่า มีต้นทำมังอยู่ใน ประเทศไทย 4 ชนิด มีลักษณะใกล้เคียงกันมากคือ

1. Litsea elliptica Boerl. มีชื่อพื้นเมือง ทำมัง มีมากที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นคือ ใบรูปมนรี (elliptic) ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่น คือ ใบกว้าง 2-6.5 เซนติเมตร ยาว 6-14 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 5-8 คู่ ฐานใบไม่เท่ากัน กระพื้ไม้สีเหลืองอ่อน มีต้นขนาดใหญ่ กว่าชนิดอื่น สูงถึง 45 เมตร เส้นรอบวงโคนต้น 240 เซนติเมตร หรือเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร มีก้านดอกสั้นมากเพียง 3 มิลลิเมตร

2 Litsea leiantha Hook.f มีชื่อพื้นเมือง ทำมัง พบมากที่จังหวัด สุราษร์ธานี มีลักษณะเด่นคือ ใบค่อนข้างใหญ่ ฐานใบเท่ากัน เส้นแขนงใบ และเส้นตาข่ายเห็นชัดเจนทางด้านล่างของใบ และมีก้านดอกสั้น

3. Litsea petiolata Hook.f มีชื่อพื้นเมือง ทำมัง พบมากที่จังหวัดตรัง มีลักษณะเด่นคือ ก้านใบยาวเรียว ใบมีขนาดกลาง มีกลิ่นฉุนกว่าอย่างอื่น และเป็นชนิดที่มีคนรู้จักมากกว่าชนิดอื่น

4. Litsea resinosa Bl. มีชื่อพื้นเมือง ทำมังพอกรง พบมากที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเด่นคือ มียางใสที่ใบ (resin) มีใบขนาดใหญ่ที่สุดคือกว้าง 4-9 เซนติ-เมตร ยาว 11-20 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 7-12 คู่ มีช่อดอก ยาวกว่าชนิดอื่นแต่มีลำต้นเล็ก กว่าชนิดอื่น คือสูง 30 เมตร เส้นรอบวงโคนต้น 180 เซนติเมตรหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีเปลือกในสีแดง

อย่างไรก็ตามการจำแนก ทำมังทั้ง 4 ชนิด ยังค่อนข้าง สับสนต้องพิจารณาลักษณะทุกส่วนของลำต้นเป็นเกณฑ์ ประกอบกับทำมัง เป็นต้นไม้ทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย จึงแยกแต่ละชนิดได้ค่อนข้างยาก และมีนัก พฤกษศาสตร์ที่ชื่อ Ridley กล่าวว่า ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 3 เป็นชนิดเดียวกัน ส่วน ในประเทศมาเลเซียมีรายงานว่ามีทำมังอยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดที่ 1, 3 และ 4

ทำมังหรือต้นไม้กลิ่นแมงดาชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นจนถึงป่าพรุ ปัจจุบัน ถูกตัดทำลายจนเกือบสูญพันธุ์ เพื่อนำพื้นที่มาใช้ทำการเกษตร เช่น ปลูก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด กาแฟและโกโก้ ในช่วงก่อนเกิด พายุไต้ฝุ่นเกย์ (4 พฤศจิกายน 2532) ยังมีต้นทำมังอยู่ประปรายในเขต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนล่างและจังหวัดชุมพรตอนบน รวมทั้งมีต้นที่ เกษตรกรปลูกกันอยู่บ้าง แต่หลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์แล้วในพื้นที่ดังกล่าว ถูกทำลายทั้งหมด ต้นทำมังจึงสูญไปจากบริเวณนั้น อย่างสิ้นเชิง

จากการที่ต้นทำมังมีกลิ่นแมงดาอยู่ในส่วนของใบ เปลือกลำต้น และเนื้อไม้ ชาวบ้านในภาคใต้ จึงนิยมนำใบอ่อนมาทำเป็นผักใช้ผสมลงใน แกงเลียง เพื่อให้มีกลิ่นฉุนของแมงดาติดอยู่ เมื่อนำใบแก่มาย่างไฟ แล้วตำผสมลงในน้ำพริกก็จะได้น้ำพริกกลิ่นแมงดา นอกจากนั้นยังมีการนำไม้ทำมัง มาทำสากสำหรับตำน้ำพริกที่ต้องการให้มีกลิ่นแมงดาได้อีกด้วย

ต้นทำมังนับวันจะใกล้สูญพันธุ์ลงไปตามลำดับ เนื่องจากถูกตัดฟัน ลงไปมากและมีขึ้นอยู่เฉพาะ ในป่าชื้นของภาคใต้ จึงมีลำต้นผอมสูงทรงพุ่มลีบ ไม่แผ่กว้าง การจะขึ้นไปเก็บเมล็ดทำได้ลำบากมากประกอบกับเมล็ดที่ร่วง ลงมากระจายหายไป ทำให้ต้นกล้าที่ขึ้นอยู่ในสภาพป่าธรรมชาติมีน้อยมาก การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จึงมีโอกาสน้อยมาก จากการที่ได้ทดลองขยาย พันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง พบว่าออกรากค่อนข้างยาก ใช้เวลา 3-4 เดือน จึงออกรากและตัดไปปลูกได้ ในการทดลองใช้ฮอร์โมนเร่งราก ABT หมายเลข 1 และ 2 ในระดับความเข้มข้น 2,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ทาในบริเวณที่ควั่น ใช้ใบตองแห้งหุ้มไว้ 2 สัปดาห์ แล้วจึงหุ้มด้วยขุยมะพร้าว พบว่าเร่งให้ออกรากได้เร็วขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 2 เดือน และกิ่งออกราก ได้สูงถึงร้อยละ 95

ต้นทำมังจึงควรเป็นพืชที่ปลูกขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ ก่อนที่พืชชนิดนี้จะสูญไปจากเมืองไทย


http://www.paktho.ac.th/learning/science_new/file3/13-7.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2011 7:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ต้นแมงดา "ทำมัง"

nachart@yahoo.com

อยากรู้จักต้นกลิ่นแมงดา เป็นอย่างไรอธิบายด้วยครับ

ไม้พันธุ์ที่มีกลิ่นเหมือนแมงดาคือ "ทำมัง" ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอธิบายไว้ว่า ทำมังเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นแมงดา สกุล Litsea วงศ์ Lauraceae โดยที่ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ถึง 400 ชนิด อาทิ อบเชย สะทิด ทัง บง ฯลฯ ทำมังเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข พบกระจายในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา สำหรับประเทศไทยซึ่งเรียกชื่อทำมังเหมือนกันหมด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่จ.ประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง (อ.บางสะพาน และอ.บางสะพาน น้อย) ชุมพร สุราษฎร์ธานี นรา ธิวาส โดยชอบอยู่ตามที่ชื้นในหุบเขา ริมลำธาร ในป่าดงดิบจนถึงป่าพรุ แต่ไม่ค่อยพบในป่าบนภูเขา

ทำมังเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มแบบพีระมิดค่อนข้างโปร่ง เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น 30-40 ซ.ม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาลถึงเทา ใบแบบใบเดี่ยวเรียงสลับหมุนเวียนรอบกิ่ง ใบกว้าง 3-9 ซ.ม. ยาว 6-20 ซ.ม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซ.ม. แผ่นใบบางเป็นมัน เส้นแขนง 4-12 คู่ มองเห็นชัดเจนทางด้านท้องใบ บนใบมีต่อมน้ำมัน ผลรูปไข่ยาว 1 ซ.ม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายใน มีเมล็ดเดียว ต้นทำมังมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ดอกแยกเพศ ส่วนกลิ่นแมงดามีอยู่ที่ใบ เปลือกลำต้น และเนื้อไม้ นิยมนำใบอ่อนมาผสมลงในแกงเลียงเพื่อให้มีกลิ่นฉุนของแมงดา หรือนำใบแก่ย่างไฟตำผสมลงในน้ำพริก จะได้น้ำพริกกลิ่นแมงดา และนำไม้มาทำสากสำหรับตำน้ำพริกที่ต้องการให้มีกลิ่นแมงดา

ในการสำรวจพันธุ์ไม้ พบประเทศไทยมีทำมัง 4 ชนิด ลักษณะใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ 1.Litsea elliptica Boerl. พบมากที่จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบรูปมนรี ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่น คือ กว้าง 2-6.5 ซ.ม. ยาว 6-14 ซ.ม. มีเส้นแขนงใบ 5-8 คู่ ฐานใบไม่เท่ากัน กระพี้ไม้สีเหลืองอ่อน ส่วนต้นขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่น และก้านดอกสั้นเพียง 3 ม.ม. 2.Litsea leiantha Hook.f พบมากที่ จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบค่อนข้างใหญ่ ฐานใบเท่ากัน เส้นแขนงใบและเส้นตาข่ายเห็นชัดเจนด้านล่างของใบ ก้านดอกสั้น

3.Litsea petiolata Hook.f พบมากที่จ.ตรัง ลักษณะเด่นคือก้านใบยาวเรียว ใบมีขนาดกลาง กลิ่นฉุนกว่าชนิดอื่น 4.Litsea resinosa Bl. พบมากที่จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะเด่นคือมียางใสที่ใบ มีใบขนาดใหญ่ที่สุดคือ กว้าง 4-9 ซ.ม. ยาว 11-20 ซ.ม. เส้นแขนงใบ 7-12 คู่ มีช่อดอกยาวกว่าชนิดอื่น แต่ลำต้นเล็กกว่า อย่างไรก็ตาม การจำแนกทำมังทั้ง 4 ชนิด ยังค่อนข้างสับสน โดยเฉพาะเมื่อทำมังเป็นต้นไม้ทั้งต้นตัวผู้และตัวเมียจึงแยกชนิดได้ยาก ส่วนในมาเลเซียมีรายงานว่ามีทำมังชนิดที่ 1, 3 และ 4

ทุกวันนี้ ทำมังในแหล่งธรรมชาติถูกตัดทำลายจนเกือบสูญพันธุ์ เพื่อนำพื้นที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด กาแฟและโกโก้ ข้อมูลระบุว่า ช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์ (4 พฤศจิกายน 2532) ยังมีต้นทำมังอยู่ประปรายในเขตประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง และชุมพรตอนบน รวมทั้งที่เกษตรกรปลูกอยู่บ้าง แต่หลังจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ต้นทำมังสูญไปจากบริเวณนั้นอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ เพราะลำต้นผอมสูง ทรงพุ่มลีบ การจะขึ้นไปเก็บเมล็ดทำได้ลำบาก ประกอบกับเมล็ดที่ร่วงลงมากระจายหายไป ทำให้ต้นกล้าที่ขึ้นอยู่ในสภาพป่าธรรมชาติมีน้อยมาก การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจึงมีโอกาสน้อยมากด้วย

ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีตอนกิ่ง ใช้เวลา 3-4 เดือนจึงออกรากและตัดไปปลูกได้ แต่ในการทดลองใช้ฮอร์โมนเร่งราก ABT หมายเลข 1 และ 2 เข้มข้น 2,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ทาบริเวณที่ควั่น ใช้ใบตองแห้งหุ้มไว้ 2 สัปดาห์ แล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าว พบว่าเร่งให้ออกรากได้ในเวลา 2 เดือน และกิ่งออกรากได้สูงถึงร้อยละ 95



http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakE0TURZMU13PT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdOaTB3T0E9PQ==


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2011 7:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมงดา




http://www.nanagarden.com/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2-112873-4.html

ลิงค์: http://www.nanagarden.com/2506.i
ที่อยู่ร้าน/สวน : 88/2 ม.7 ต.เนินหอม อ.เมือง ปราจีนบุรี
โทรศัพท์ : (088)209-9033


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2011 7:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลต้นทำมัง....





http://otvety.google.ru/otvety/thread?tid=242a7c6f2643a9ae
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





น้ำพริกจากใบทำมัง :
ผลผลิตจากสมุนไพรรักษาโรคความดันโลหิตสูง ท้องอืดท้องเฟ้อ ใบทำมังมีกลิ่นเหมือนแมงดานาใช้ทดแทนกลิ่นกันได้

กลุ่มทำน้ำพริกจากใบทำมัง 9 หมู่ 3 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ติดต่อ : กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านนาส้อง โทร :073-212065


http://www.thaitambon.com/tambon/tsmeprodsrc.asp?page=12&sSearch=&FL=SPRODUCT&ORDER=SPRODUCT&sProvCode=93&showimg=1&c1v1p=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำมังยอดขาว....





ชื่อท้องถิ่น ................ทำมังยอดขาว แมงดาไม้ แมงดาต้น
ชื่อวงศ์ ....................LAURACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์............Litsea Petiolata L took.F. Hook.f.

ลักษณะลำต้น .............เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้าน ออกเป็นทรงพุ่ม
ลักษณะใบ ................ใบกลมมนรี ปลายแหลม ผิวใบด้านหน้าเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบเรียว หลังใบขรุขระ
ลักษณะดอก .............. ปุ๋ยสีขาว ออกตามรายกิ่ง

ลักษณะผล .................กลม ผลสุกสีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร .........ยอดใบแก่ ใบเพสลาด ดอก ผล
ใช้เป็นอาหารประเภท .......ใบใส่ในแกงเผ็ด หรือใบและผลแก่ใช้ตำน้ำพริก หรือใส่ในเครื่องแกงใบอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักเหนาะ

รสชาติ ......................ฝาด มันร้อนและอมขมเล็กน้อย มีกลิ่นคล้าย แมลงดานา
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ .........เมล็ด การตอนกิ่งนิยมปลูกตามบ้านเป็นไม้มงคล(ธรรมมัง)
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ......ได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นที่มีน้ำท่วมถึงหรือน้ำขัง

ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ..........ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ................ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ............ลำต้นแก่ใช้แปรรูปทำบ้านเรือน ปลวก มอดไม่กิน

ความเชื่อ ....................นิยมปลูกตามบ้านเรือน ถือเป็นไม้มงคลมาแต่สมัยพุทธกาล
สรรพคุณทางสมุนไพร .......ใบสด กินเป็นผักเหนาะ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด เปลือก ผายลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้จุกเสียด


http://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/group_2/2_10.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/03/2013 7:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2011 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

องค์ประกอบของ น้ำมันระเหยจากทำมัง (Litsea petiotala)Volatile Composition of Essential Oils from Thammumg (Litsea petiotala)

ณภัทร พิมพ์ผะกา 1 ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์ 1 และ อรพิน เกิดชูชื่น 1
Pimpaka, N.1, Laohakunjit, N.1 and kerdchoechuen, O.1/


บทคัดย่อ
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบและกิ่งของทำมัง (Litsea petiotala) ด้วยการกลั่นพร้อมสกัด (simultaneoussteam distillation/extraction, SDE) และการต้มกลั่น (hydrodistillation) นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยโดย gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) พบว่าองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากกิ่งและใบทั้งสดและแห้งที่ได้จากการกลั่นทั้ง 2 วิธี มีองค์ประกอบของสารจำนวน 20 ชนิด โดยมีสารสำคัญ คือ 2-nonanone, 8-hydroxylinalool, 2-undecanone และ cyclopropane อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของ % relative peak area ของสารสำคัญจากส่วนของทำมังที่นำมาใช้สกัดและวิธีการสกัด สำหรับ %yield ของน้ำมันหอมระเหยจากวิธี SDE ของใบสดและกิ่งสดเท่ากับ 1.38 และ 1.62% ตามลำดับ ซึ่งให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าการต้มกลั่น ซึ่งให้ %yield เท่ากับ 1.22 และ 0.98% ตามลำดับ ส่วนการสกัดทำมังอบแห้งที่อุณหภูมิ 50°C ด้วยวิธี SDE ได้ปริมาณของน้ำมันหอมระเหยจากใบทำมังแห้ง และกิ่งทำมังแห้งเท่ากับ 3.65 และ 2.33% ตามลำดับ และสูงกว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบแห้งและกิ่งแห้งที่ได้จากสกัดด้วยวิธีการต้มกลั่นเช่นเดียวกับส่วนของทำมังสดนอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบและกิ่งทำมังสดและแห้งที่สกัดจากทั้ง 2 วิธีให้ค่าสีและค่า refractive index (RI) ไม่แตกต่างกัน


คำนำ
ทำมัง (Litsea petiotala) เป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นแมลงดาอยู่ในสกุล Litsea วงศ์ Lauraceae ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ถึง 400 ชนิด ที่รู้จักกันดี ได้แก่ อบเชย สะทิด ทัง บง ทำมังเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีสีเทาถึงน้ำตาลมีกลิ่นฉุน ใบเป็นแบบใบเดี่ยวคล้ายใบขนุน ใบทู่จนถึงแหลม บนใบมีต่อมน้ำมันและมีกลิ่นหอมคล้ายแมลงดานา (ไชยา, 2542 และ ปิยะ, 2538) ใบทำมังสามารถนำมาเป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ได้แก่ trans-2-hexenol acetate และ trans-2-hexenyl butyrate ที่มีกลิ่นคล้ายแมลงดานา รวมทั้งตัวแมลงดานาซึ่งปัจจุบันแมลงดานาในธรรมชาติมีปริมาณลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากทำมังด้วยวิธี simultaneous steam distillation/extraction (SDE) และวิธีการต้มกลั่น (hydrodistillation) และวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเครื่อง gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่คุณสมบัติที่เหมาะเป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสและเพิ่มมูลค่าของทำมังต่อไป


อุปกรณ์และวิธีการ
นำทำมังมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตัดกิ่งให้มีความยาว 60 เซนติเมตรจากปลายกิ่ง นำมาแยกใบและกิ่งออก แต่ละส่วนแบ่งเป็นชนิดสดและแห้ง ชนิดสดนำมาสกัดทันที ส่วนชนิดแห้งนำมาอบที่ อบที่อุณหภูมิ 50°C 24 ชั่วโมง นำทำมังแต่ละส่วนทั้งชนิดสดและแห้งมาสกัดด้วยวิธี SDE โดยใช้ diethyl ether เป็นตัวทำละลาย เปรียบเทียบกับวิธีการต้มกลั่นกลั่นเป็นเวลา 24 ชม. วิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านกายภาพ-เคมีของน้ำมันหอมระเหยได้แก่ %yield (w/w) ค่าดัชนีหักเหของแสง (RI) ด้วยเครื่อง hand-held refractometer ค่าการหมุนจำเพาะของสาร (specific rotation, [α ]tλ) ด้วยเครื่องโพลาริมิเตอร์ (polarimeter) ค่า boiling point (b.p.) ของน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี Equilibrium Reflux Boiling Point และ สีน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องวัดสี (chromameter) และวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากทำมัง โดยเครื่อง GC-MS รุ่น GC 8060 MS ของ Fisons Instrument ใช้ column DB5 (capillary column, 30-m × 0.25-mm i. d., 0.25 μm film thickness) มีสภาวะดังนี้ initial oven temperature 70°C เพิ่มอัตรา 4 °C/min จนถึง 100 °C เพิ่ม 2 & deg ; C/min จนถึง 140&deg ; C และเพิ่มอัตรา 10 & deg ; C/min จนถึง 250&deg ; C ใช้ helium gas เป็น carrier gas และ identify สารเทียบกับ NIST-MS และ Wiley Library และนำมาเทียบกับค่า retention index (R.I.) ที่ได้จากสาร n-alkanes (C11-C15)

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากใบและกิ่งทำมังทั้งชนิดสดและแห้งที่ได้จากการสกัด SDE และการต้มกลั่นพบว่ามีองค์ประกอบ 20 ชนิด แต่มีสารสำคัญ 8 ชนิด คือ 2-nonanone, 8-hydroxylinalool, 2-undecanone, cyclopropane, caryophyllene, methyllenecyclooctane, farnesene, 4-cyclopropylnorcarane และ cyclohexene ซึ่ง % relative peak ไม่แตกต่างกันตามวิธีการสกัดและส่วนของพืชที่นำมาสกัดทั้งชนิดสดและแห้ง (Table1 และ Fig 1) การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบและกิ่งของทำมังทั้งชนิดสดและแห้งพบว่าการสกัดด้วยวิธี SDE ให้ % yield มากกว่าการสกัดด้วยวิธีการต้มกลั่น โดย % yield ของน้ำมันหอมระเหยสกัดด้วยวิธี SDE จากใบสด กิ่งสด และใบแห้ง กิ่งแห้ง มีค่าเท่ากับ 1.385, 1.621 % w/w (wb.) และ 3.651, 2.336 % w/w (d.b.) ตามลำดับ ส่วนน้ำมันหอมระเหยสกัดด้วยวิธีต้มกลั่นมี % yield จากใบสดและกิ่งสด และใบแห้งและกิ่งแห้ง เท่ากับ 1.228 และ 0.984 % w/w (wb.) และ 3.329 และ 1.839 % w/w (d.b.)ตามลำดับ (Table 2)

น้ำมันหอมระเหยจากการสกัดทั้งสองวิธีทั้งจากกิ่งและใบทำมังสดและแห้งมีค่า RI ของน้ำมันหอมระเหย ค่าการหมุนจำเพาะ และค่า b.p. มีค่าใกล้เคียงกัน โดย RI มีค่าระหว่าง 1.431-1.439 ส่วนค่าการหมุนจำเพาะ (-11.00) ถึง (-10.25) และค่า b.p. 149-180 (Table 2)

วิจารณ์ผล
น้ำมันหอมระเหยจากทำมังทั้งสดและแห้งโดยการสกัดด้วยวิธี SDE และการต้มกลั่นได้สารสำคัญไม่แตกต่างกันโดยสารที่สกัดได้มี odor description แบบ sweet และ pungent เป็นลักษณะสำคัญของกลิ่นแมลงดานา ซึ่งสอดคล้องกับสมบัติทางกายภาพของน้ำมันหอมระเหยทำมัง การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากทำมังสดและแห้งทั้งส่วนใบและกิ่งโดยวิธี SDE ให้ปริมาณ % yield มากกว่าวิธีการต้มกลั่นเนื่องจากการสกัดด้วยวิธี SDE มีการใช้ตัวทำละลายร่วมในการสกัดจึงทำให้สารหอมระเหยที่มีขั้ว (polar) และไม่มีขั้ว (non-polar) ถูกสกัดออกมา ส่วนค่า RI ค่าการหมุนจำเพาะ และ boiling point ของน้ำมันหอมระเหยของทำมังสดและแห้งจากการสกัดด้วยวิธี SDE และต้มกลั่นให้ค่าใกล้เคียงกัน แสดงว่าน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีสารประกอบและคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (Hay และ Waterman, 1993) ค่า b.p. ของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้มีค่าสูงกว่า b.p ของน้ำ แสดงว่าวิธีการสกัดโดยใช้การกลั่นไม่ทำให้สารหอมระเหยสำคัญต่างๆ สูญเสียไปในระหว่างการสกัด นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยทำมังที่ได้ยังมี odor profile ที่ดีใกล้เคียงกับทำมังสดที่นำมาใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสในอาหาร

สรุปผล
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากทำมังสามารถสกัดโดยใช้วิธี SDE และการต้มกลั่น และทำมังที่นำมาใช้สกัดสามารถใช้ได้ทั้งส่วนของใบและกิ่ง แต่ถ้าต้องการให้ได้ % yield สูง ควรนำทำมังมาอบลดความชื้นก่อน องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากทำมังคือ 2-nonanone, 8-hydroxylinalool, 2-undecanone, cyclopropane, caryophyllene, methyllenecyclooctane, farnesene, 4-cyclopropylnorcarane และ cyclohexene ส่วนของใบมี % relative peak area ขององค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าส่วนของกิ่ง



http://www.kmutt.ac.th/CRDC_symposium/data/181-184.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©