-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มะเยาหิน-สบู่ดำ...พืชพลังงาน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะเยาหิน-สบู่ดำ...พืชพลังงาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะเยาหิน-สบู่ดำ...พืชพลังงาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2011 9:35 pm    ชื่อกระทู้: มะเยาหิน-สบู่ดำ...พืชพลังงาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ต้นมะเยาหิน....



ต้นสบู่ดำ....



ลูกมะเยาหิน....



ลูกสบู่ดำ....


http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99&imgurl=http://3.bp.blogspot.com/_9uGTXQUO1ek/TPxkNjQmwXI/AAAAAAAAABw/gVbbsND0nos/s1600/schoolbot3.jpg&imgrefurl=http://noknicle-woodoiltree.blogspot.com/&usg=__Ldr-gQFVJNetUYtOjCa37hBPP_0=&h=308&w=410&sz=44&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=4ReofyR7PYNRkM:&tbnh=94&tbnw=125&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=10#tbnid=4ReofyR7PYNRkM&start=14


http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B3&imgurl=http://www.thaiselling.com/%255Cimageuser%255C08/07/02/thaisellingp6645220n1.jpg&imgrefurl=http://www.thaiselling.com/Thaiselling_Postlist.asp%3Fstart%3D700%26page%3D8%26Parentid%3D116&usg=__SiD5tQgFLHBsiDU9SNVucaapxJA=&h=622&w=449&sz=49&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=1X3uhu5QxgwSpM:&tbnh=136&tbnw=98&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B3%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=0#tbnid=rLLfxTwkunn0KM&start=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2011 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)









"มะเยาหิน" ไม้ป่าน้ำมันชุมชน

นักวิชาการด้านพืชพลังงานเผยพบพืชพลังานทดแทนใหม่ตัวใหม่ใช้ผลิตไบโอดีเซล
ศักยภาพใกล้เคียงปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ แนะผู้นำชุมชนขยายผลให้ความรู้ชาวบ้าน
ปลูก "มะเยาหิน" ผลิตไบโอดีเซลชุมชน ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์
วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพลังงาน ม.แม่โจ้ ร่วมมือสหกรณ์
ผู้ผลิตพลังงานทดแทนเพื่อชาติ ได้วิจัยโครงการการประเมินศักยภาพพืชน้ำมันชนิด
ใหม่ (มะเยาหิน) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานพัฒนาวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เครือข่ายภาคเหนือ)

เนื่องจากวิกฤติการณ์ด้านน้ำมันของโลกทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของประเทศไทย
สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืช
พลังงานขึ้นใช้ภายในประเทศเป็นแนวทางในการลดการนำเข้าน้ำมันได้ โครงการ
วิจัยนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของผลิตพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะเยาหิน) ซึ่งเป็นพืช
ท้องถิ่นที่ปลูกในประเทศลาว และเวียดนาม ซึ่งพบว่ามะเยาหินมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า
สบู่ดำ มีปริมาณน้ำมันสูงถึง 400-500 ลิตร/ไร่ ซึ่งใกล้เคียงปาล์มน้ำมัน สามารถ
นำไปผลิตไบโอดีเซลได้ 300 ลิตร ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลและผลิตเป็นน้ำมันหล่อ
ลื่นเครื่องยนต์และเครื่องจักรได้

มะเยาหิน เป็นพืชป่าที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นไม้ป่าสามารถเจริญเติบโตได้
ทุกพื้นที่แม้ไม่ได้รับการดูแล ทนแล้งได้ดี ใบสวย ดอกงาม ให้ร่มเงา ใช้เวลาเพียง
2-3 ปีก็ให้ผลผลิต เมื่อสกัดน้ำมันจากเมล็ดแล้ว พบว่า มีเปอร์เซนต์น้ำมันสูง ไม่
ระเหิดง่าย ค่าความร้อนมากกว่าปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ ทำให้มีการเผาใหม่ดีกว่า แต่
มะเยาหินกลับมาค่าความหนืดมากกว่าอาจส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ได้ จึงต้องนำมา
ผลิตเป็นไบโอดีเซล คาดว่า มะเยาหิน จะเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้ให้แก่
ชุมชนได้อย่างแน่นอน โดยขณะนี้กำลังทำโครงการของบประมาณจากกระทรวง
พลังงาน 8 ล้านบาท และสร้างแหล่งเรียนรู้พืชพลังงานทดแทน ที่บ้านแม่นาป้าก
หมู่ 6 ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบผลิตไบโอดีเซล
จากมะเยาหิน สบู่ดำหรือน้ำมันปาล์ม ให้กับกลุ่มเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น (อปท.) ที่สนใจ

ทางด้าน อ.พัฒนา ปัญญาเจริญ เจ้าของกิจการโรงงานผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบ
โอดีเซล กล่าวว่า ในอดีตน้ำมันเชื้อเพลิงราคา 20 บาท/ลิตร น้ำมันพืชเหลือใช้ 80
บาท/ปี๊บ ต้นทุนในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจึงไม่สูงนัก ปัจจุบัน น้ำมันพืชเหลือใช้
ราคาสูงถึง 300 บาท/ปี๊บ ทำให้ต้องหันผลิตใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้มากขึ้นเพื่อลด
งบประมาณในการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ แต่การผลิตไบโอดีเซลชุมชนนั้นไม่
ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควรและไม่ต่อเนื่อง โดยรัฐสนับสนุนและให้
การอบรมแก่ชาวบ้านด้านการผลิตไบโอดีเซล แต่กลับประสบปัญหาด้านวัตถุดิบ ทำ
ให้หลาย ๆ โครงการยุบตัวลง เนื่องจากภาครัฐไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ นอกจากนี้แล้ว
ภาครัฐมองว่าการผลิตไบโอดีเซลชุมชนเป็นระบบเล็กไม่สามารถผลิตไบโอดีเซล
บริสุทธิ์ได้ และรัฐบาลให้ค่าชดเชยน้ำมันไบโอดีเซลเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น
ไม่สนใจผู้ผลิตรายย่อย ทำให้ต้นทุนสูง และขาดทุนในที่สุด

ส่วน อ.สัมฤทธิ์ อัครปะชะ นักวิชาการอิสระด้านพืชพลังงาน กล่าวว่า ต้องการให้
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทำไบโอดีเซล 1 ตำบล 1 ปั๊ม โดยส่ง
เสริมเกษตรกรปลูกมะเยาหินและรับซื้อในราคาเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้ชุมชนโดย
ตรงและเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชนด้วย


"เราใช้น้ำมันดีเซล 64 ล้านลิตร/วัน มูลค่า 2,000 ล้านบาท ถ้าผลิตไบโอดีเซลจาก
พืชทดแทน 20-30% จะลดต้นทุนได้ 600 ล้านบาท/วัน และไม่กระทบต่อสิ่งแวด
ล้อม ส่วนเปลือกมะเยาหินสามารถทำเป็นเครื่องประดับ เพราะเปลือกแข็งไม่แตก
ง่าย จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนพืชพลังงานทด
แทนอย่างจริงจัง เพราะราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ" นายสัมฤทธิ์ กล่าว

สนใจ "มะเยาหิน" สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัย
พลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทร. 053-875-
140 053-878333 08-1531-5376 หรือ e-mail :

www.energy@mju.ac.th
http://alameen2008.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=1710






นักวิจัยชูพืชพลังงานชนิดใหม่ "มะเยาหิน" พืชพลังงาน
จากประเทศลาว ปลูกได้ดีในไทย ให้น้ำมันมาก


ศ.วิจิตรา
นับย้อนไป 2-3 ปี ให้หลัง แนวโน้มการศึกษาวิจัยพืชพลังงานทดแทนภายใน
ประเทศไทยเริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สบู่ดำ และปาล์มน้ำมัน พืชพลังงานทดแทนน้ำมันใน
อันดับต้นๆ ที่นักวิชาการหลายคนเล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ทางน้ำมัน กระทั่ง
นำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลและนำไปทดลองใช้กับเครื่องยนต์จริงๆ บ้างแล้ว และจาก
ความพยายามในการค้นหาแหล่งพลังงานทดแทนชนิดอื่นที่สามารถให้น้ำมันได้
มากกว่าพืชทั้ง 2 ชนิด ที่กล่าวข้างต้นนั้น ล่าสุด นักวิจัย จากศูนย์วิจัยพลังงาน มหา
วิทยาลัยแม่โจ้ ได้ออกมาเปิดเผยว่า พบแหล่งพลังงานบนดินชนิดใหม่ จาก "มะเยา
หิน" พืชพลังงานทดแทนน้ำมันจากฝั่งลาว วิจัยปลูกได้ผลดีในประเทศไทย คาดจะ
เป็นแหล่งพืชพลังงานชนิดใหม่ ที่เป็นทางเลือกทดแทนพืชน้ำมันเดิมในประเทศ
ไทย เนื่องจากมีค่าความร้อนที่มีศักยภาพสูง พร้อมสนับสนุนส่งเสริมการปลูกเพื่อ
ผลิตเป็นน้ำมันสำหรับใช้ทดแทนน้ำมันในเครื่องยนต์ดีเซลของเกษตรกร หรือผลิต
เป็นน้ำมันไบโอดีเซล

เดินหน้า...โครงการวิจัย มะเยาหิน
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี หัวหน้าโครงการการประเมินศักยภาพพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะ
เยาหิน) สำหรับภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมมือกับสหกรณ์ผู้ผลิตพลังงาน
ทดแทนเพื่อชาติ ได้วิจัยโครงการการประเมินศักยภาพพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะเยา
หิน) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (เครือข่ายภาคเหนือ) และจากวิกฤติการณ์ด้านน้ำมันของโลก
ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของประเทศไทยสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการครองชีพและ
รายได้ที่ลดต่ำลงของประชาชน การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชพลังงานขึ้นใช้
ภายในประเทศเป็นแนวทางในการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ โครงการ
วิจัยนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของการผลิตพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะเยาหิน) ซึ่งเป็นพืช
ท้องถิ่นที่ปลูกในประเทศลาว

จากการศึกษาเบื้องต้นของศูนย์วิจัยพลังงานและสหกรณ์ผู้ผลิตพลังงานทดแทนเพื่อ
ชาติ พบว่าผลผลิตต่อไร่สูงกว่าสบู่ดำ มีปริมาณน้ำมันสูงถึง 400-500 ลิตร ต่อไร่
ใกล้เคียงปาล์มน้ำมัน มีค่าความร้อน 9,279 cal/g ใกล้เคียงกับสบู่ดำและปาล์ม
น้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ปริมาณผลผลิต ปริมาณ
น้ำมันของมะเยาหิน เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ยังจำเป็นต้อง
มีการศึกษาวิจัยก่อนที่จะนำไปส่งเสริมการผลิตเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่าง
ประเทศต่อไป

สำหรับการวิจัยโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

1.การศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและปริมาณน้ำมันของมะเยาหิน

2. การศึกษาสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเมื่อใช้น้ำมันที่สกัดจากต้นมะเยาหิน
โดยกระบวนการวิจัยจะเริ่มจากการรวบรวมสายพันธุ์มะเยาหินจากประเทศลาว นำ
มาทดสอบการให้ผลผลิต โดยมีการทดสอบที่ระยะการปลูกต่างๆ กัน และศึกษาแนว
ทางการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นเตี้ย สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว และศึกษาแนวทางการ
สกัดน้ำมันที่เหมาะสม ทั้งการสกัดน้ำมันด้วยวิธีกล และการสกัดน้ำมันโดยใช้ตัวทำ
ละลายทางเคมี นำน้ำมันที่ได้ไปศึกษาคุณสมบัติทางความร้อน เคมี และฟิสิกส์ หลัง
จากนั้นนำไปใช้ทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก สำหรับการเกษตร
และประเมินผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์ของการผลิตมะเยาหิน เปรียบเทียบกับสบู่
ดำและปาล์มน้ำมัน

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสุ่มสำรวจเบื้องต้นของพืชน้ำมันชนิดใหม่ที่
ปลูกในประเทศลาว พบว่าพืชชนิดนี้ ที่อายุ 5 ปี ติดผลปานกลาง ให้ผลผลิตต้นละ
ประมาณ 3,026 ลูก คิดเป็นน้ำหนักเมล็ดประมาณ 22 กิโลกรัม ถ้าประเมินที่ระยะ
ปลูก 4x4 เมตร จะให้ผลผลิตประมาณ 1,200-1,500 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าผลผลิต
สบู่ดำที่ปลูกในประเทศไทย 3-4 เท่า จากการนำตัวอย่างน้ำมันที่ได้มาวิเคราะห์ที่
ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ค่าความร้อนใกล้เคียงกับสบู่ดำ

ทั้งนี้ จะเห็นว่าพืชพลังงานชนิดใหม่มีศักยภาพสูงที่จะส่งเสริมการปลูกเพื่อผลิตเป็น
น้ำมันสำหรับใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์เกษตร หรือผลิตเป็นน้ำมันไบโอ
ดีเซล แต่อย่างไรก็ตาม การนำพืชน้ำมันชนิดใหม่นี้มาปลูกในประเทศไทยจำเป็น
ต้องมีการนำข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน ทั้งทางด้านการผลิต เช่น ปริมาณการให้ผล
ผลิต การตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี อัตราการใช้น้ำ ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ การตอบ
สนองต่อสภาพแวดล้อม ต้นทุนการผลิต รวมถึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ
ทางด้านเชื้อเพลิง เช่น ค่าความร้อน ค่าความหนืด จุดวาบไฟ ฯลฯ ว่ามีความเหมาะ
สมเพียงใด ที่จะส่งเสริมการผลิตในประเทศไทย

สำหรับพืชพลังงานชนิดใหม่ มะเยาหิน เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่คนส่วนมากยังไม่
ค่อยรู้จัก และมีศักยภาพในการผลิตพืชน้ำมันสูง รวมถึงอีกหลายคุณสมบัติที่เด่นชัด
คือ เป็นพืชโตเร็ว ภายใน 2-3 ปี จะให้ผลผลิตและขนาดต้นที่ใหญ่ ช่วยคืนความชุ่ม
ชื้นให้กับสภาพแวดล้อมและพื้นดิน มีอายุยาวนาน 60-70 ปี การบริหารจัดการ
น้อย เนื่องจากเป็นพืชป่า สามารถโตได้ตามธรรมชาติ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะส่ง
เสริมให้กับเกษตรกรที่สนใจนำไปทดลองปลูกแซมในพื้นที่สวน อาทิ สวนลำไย
สวนลิ้นจี่ เป็นต้น


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&date=21-04-2008&group=8&gblog=80


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2011 9:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2011 9:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




สบู่ดำ

เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามา
ปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจาก
เมล็ดสบู่ดำใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล

ในหลายประเทศได้มีความเห็นคัดค้านการปลูกสบู่ดำเพื่อสกัดน้ำมัน โดยเสนอแนะ
ให้นำพื้นที่เหล่านั้นไปปลูกพืชสำหรับบริโภคแทนที่ แก้ปัญหาขาดความอาหารแทน
และนอกจากนี้ปัญหาการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อคิดเทียบเท่าต่อพลังงานที่ได้
จากพืชชนิดอื่นเช่นอ้อยหรือข้าวโพด สบู่ดำใช้น้ำเป็นปริมาณ 5 เท่า

ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้น
และยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือ
ส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว

ดอก
ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม
อ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน

ผลและเมล็ด
เมล็ดสบู่ดำผลและเมล็ดมีสาร hydrocyanic เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า
CURCIN หากบริโภคแล้วทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด เมื่อติดผลแล้วมีสี
เขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์
รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง

ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่า
เมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บ
ไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม.
หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสี
ดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว

ประโยชน์
ต้นสบู่ดำเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายโรค เช่น ใช้น้ำยางใสป้ายริมฝีปากรักษา
โรคปากนกกระจอก รักษาแผลในปาก แก้อาการปวดฟัน นำมาผสมกับน้ำนมมารดา
ป้ายลิ้นขาวในเด็กก็หาย หยอดตาแดงหายได้เช่นกัน หรือผสมกับน้ำเจือจางเป็นยา
ระบาย

ส่วนลำต้นนำมาผ่าสับเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคซางในเด็ก แก้โรคคันได้ เอาใบสบู่
ดำห่อข้าวสุกแล้วหมกขี้เถ้าให้เด็กกินแก้ตาแฉะ หรือนำมาห่ออิฐร้อนนาบท้องใน
หญิงคลอดบุตรอยู่ไฟสมัยก่อน รวมทั้งประชาชนบางประเทศใช้น้ำมันสบู่ดำใส่ผม
ด้วย

น้ำมันสบู่ดำ
ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมัน
ดีเซล โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำเพิ่มมากขึ้น


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B3





บทความพิเศษ เกี่ยวเนื่องด้วย สบู่ดำ

ข้อมูลจากงานวิจัยของ Hecker ปี 2520

เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีข่าวเกรียวกราวเกี่ยวกับต้นสบู่ดำว่า น้ำมันจากเมล็ดของพืชนี้สามารถ
ที่จะนำไปใช้ทดแทนน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ ได้ และอาจจะมีการส่งเสริมให้
เกษตรกรปลูกสบู่ดำ เพื่อบีบน้ำมันใช้ภายในไร่แทนน้ำมันเครื่องยนต์อื่นๆ ในฐานะที่
ผู้เขียนได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีในพืชตระกูลนี้จึงใครขอเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับ
ต้นสบู่ดำที่รวบรวมได้จากเอกสารวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรและท่านผู้
สนใจได้ทราบไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาน้ำมัน จากเมล็ดสบู่ดำเพื่อใช้ทด
แทนน้ำมันเครื่องยนต์ต่อไป

สบู่ดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas เป็นพืชในตระกูล
Euphorbiaceas ใน เมล็ดมีน้ำมันซึ่งติดไฟได้ประกอบอยู่ ในสมัยก่อนเด็ก ๆ จะ
เสียบเมล็ดสบู่ดำติดปลายไม้เจาะรูแล้วจุดไฟใช้เป็นคบไฟในยามค่ำคืน การวิเคราะห์
ปริมาณน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำนั้นมีกันมานานแล้ว เมื่อ 60 ปีที่แล้ว มีผู้พบว่าเมล็ดสบู่
ดำมีน้ำมันอยู่ถึงร้อยละ 34-37 โดยน้ำหนักแต่พบว่าน้ำมันนี้ไม่เหมาะสมในการใช้
หล่อลื่นเครื่องยนต์ (Chemical Abstracts 16, 2038, 1922)

จากการศึกษาน้ำมันนี้เพิ่มเติมในระยะต่อมา จึงได้พบว่า น้ำมันนี้มีองค์ประกอบที่เป็น
โปรตีนอยู่ (ซึ่งเรียกว่า toxalbumin หรือ curcin) ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบความเป็น
พิษโดยกรรมวิธีทดลองที่ใช้กันทั่วไปแล้วพบว่าหนูที่ใช้ทดลองตายหมดภายใน 96
ชั่วโมง(Chemical Abstracts 56, 10579f, 1962)

ในระหว่างทศวรรษทีแล้ว ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ทำให้มีการหันมาสนใจศึกษาเกี่ยว
กับความเป็นไปได้ในการใช้น้ำมันจากเมล็ดสบู่ ดำนี้แทนน้ำมันเครื่องยนต์ และได้มี
การศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันนี้อย่างละเอียดก่อนที่จะนำ ไปทดลอง
ใช้ต่อไป จึงได้พบว่าน้ำมันนี้มีสารประเภทฟอร์บอลเอสเตอร์ (phorbol ester)
ประกอบด้วย (Hecker, 1977) สารประเภทนี้เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดความระคาย
เคืองบนผิวหนังและจากการทดลอง แต้มสารนี้บนผิวหนังของหนูหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ
กันเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดเนื้องอกที่เป็นมะเร็งขึ้น (Hecker, 1977) ผู้
เขียนเองได้มีโอกาสเห็นหนูทดลองเหล่านี้ด้วยตาตนเอง เมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่
สถาบันวิจัยมะเร็งในประเทศเยอรมัน ภาพหนูที่เป็นมะเร็งจากการถูกแต้มด้วยสาร
ประเภทนี้ ยังเป็นภาพที่ติดตาผู้เขียนอยู่จนทุกวันนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้เรียกน้ำมันนี้ว่า Hell oil ซึ่งแปลเป็นไทยตรง ๆ ได้ว่า น้ำมัน
นรก (Burkil 1935, Watt and Breyer- brandwijk 1962)

ส่วนอื่นๆ ของพืชนี้ก็มีอันตรายไม่น้อยเช่นกันและเพราะคงจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง
จึงมีผู้ปลูกสบู่ดำไว้ตามหลุมฝังศพ หรือไว้เป็นรั้วกันวัวควายไม่ให้เข้าใกล้บ้าน
(Barrett 1956, Irvine 1961) เมล็ดจากแต่ละต้นสบู่ดำจะมีพิษมากน้อยไม่เท่า
กันขนของผลนั้นแข็งและสามารถ แทงผ่านผิวหนังได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
มากนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง บางครั้งก็จะมีไข้ตามมาด้วย (Watt and Breyer-
brandwijk 1962 ) น้ำยางเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ (Huret 1942,
Morton 1998, Watt and Breyer- brandwijk 1962) และน้ำจากใบเมื่อ
เข้าตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ (Irvine 1961)

สำหรับ การพัฒนาน้ำมันจากต้นสบู่ดำให้เป็นประโยชน์ไม่ว่าใช้เป็นน้ำมันเครื่องยนต์
หรือในการอื่น ๆนั้นยังเป็นสิ่งที่น่าจะกระทำกันต่อไป แต่ก่อนที่จะประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนได้ทราบทั่วกันนั้น จำเป็นจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าจะไม่มีพิษตกค้างหรือ
เป็นโทษในภายหลัง โดยอาจจะค้นหากรรมวิธีทำลายหรือแยกสารพิษฟอร์บอลเอส
เตอร์ออกเสียก่อนที่จะนำ ไปใช้งาน ในขณะเดียวกัน ก็ควรจะมีการศึกษาการผสม
พันธุ์ของต้นสบู่ดำเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีสารเหล่า นี้น้อยที่สุดและมีผลผลิตของน้ำมัน
เมล็ดมากที่สุด

การวิจัยในแนวนี้ได้กระทำกันอยู่หลายประเทศในปัจจุบันนี้โครงการหนึ่งที่น่าจะ
กล่าวถึงในที่นี้ก็คือโครงการพัฒนาน้ำมันจากต้น Euphorbia Catyiris ใน
มหาวิทยาลัยคาลิฟฟอร์เนีย ที่เมืองเบอร์คลี ในประเทศอเมริกา โดยศาสตราจารย์
Malvin calvin โครงการวิจัยนี้สามารถผลิตน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ได้ในราคา
ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ซึ่งแพงกว่าน้ำมันดิบที่ใชกันอยู่ในปัจจุบันที่มี
ราคาเพียง 34 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล แต่ศาสตราจารย์ Calvin เชื่อ ว่าเมื่อสามารถ
ผสมพันธุ์จนสามารถได้พันธุ์ที่ผลิตน้ำมันได้มากขึ้นและเมื่อ ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นใน
อนาคตแล้วก็จะสามารถนำน้ำมันจากพืชดังกล่าวใช้แทน น้ำมันได้คุ้มค่ากับต้นทุน
การผลิต

ผู้เขียนหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาน้ำมันจากสบู่ดำให้เป็น
ประโยชน์ และทำให้เกษตรกรเพิ่มความระมัดระวัง เมื่อจะปลูกต้นสบู่ดำ และถ้าจะ
บีบน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ ที่ขึ้นอยู่ในไร่ไปใช้ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัส
น้ำมันเมล็ดสบู่ดำให้ มากที่สุด แม้ว่าเนื้องอกจะไม่เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสน้ำมันเมล็ด
สบู่ดำก็ตาม แต่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสัมผัส หลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ กัน

ท่านจะรู้ว่า มีเนื้องอกบนผิวหนังของท่านก็ต่อเมื่อมันงอกขึ้นมาแล้วเท่านั้น มารักษา
กันตอนนั้นคงจะไม่เหมาะสมแน่


http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=360:as-a-special-article-about-black-soap&catid=39&Itemid=193
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 135

ตอบตอบ: 03/01/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผ่านมาหลายปีดีดัก ยังไม่เห็นโรงงานน้ำมันจากพืชเหล่านี้เลย
ยกเว้นปาล์ม ที่เห็นมีแต่คนขายพันธุ์รวย ..... รวย......รวย...

คนปลูกสำเ็ร็จแบบครบวงจรไม่เห็นมีเลย
ผมว่านะ เสี่ยเจริญ แล้วตระกูล CP เขามีความพร้อมทั้งพื้นที่
ทุน นักวิชาการ แรงงาน

แปลกนะ เขาไม่ยักสนใจ
เท่าที่จำได้ เขาสนใจแต่
ข้าว มัน อ้อย ปาล์ม

เขาคงลืมเนาะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2011 7:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


อืมมมม....ลุงคิมก็คิดอย่าง "คุณมงคล" นั่นแหละ แถมคิดกว้างกว่านี้อีกนะ...
สมมุติ ลงสบู่ดำ 10 ไร่ ต้องลงทุนค่าปลูก-บำรุง-แรงงาน-เท่าไหร่ ? ได้น้ำมัน
เท่าไหร่ ? น้ำมันที่ได้มาเอาไปขายที่ไหน ? หรือใช้เอง ใช้มากเท่าไหร่ ? กับอีก
จิปาถะต้นทุน...... คิดใหม่ ทำใหม่ เนื้อที่ 10 ไร่ ปลูกมะเขือ (สมมุติ) ซึ่งก็ต้อง
ลงทุนเหมือนกันเป็นธรรมดา แต่มะเขือขายง่ายกว่าขายน้ำมันสบู่ดำ (มั้ง) ขาย
มะเขือได้กำไรเอาไปซื้อน้ำมันจามปั๊มมาใช้ น่าจะดีกว่ารนะ

ก็น่าจะพิจารณาเลือกพืชที่มีอนาคตอยู่แล้ว ทั้งตลาดในประเทศ ตลาดต่างประเทศ
เนื้อที่ 10 ไร่ที่มี (สมมุติ) ลงพืชพวกนี้ แล้วทำให้ได้เกรด มิดีกว่ารึ ว่ามั้ย ?

ลุงคิมครับผม





ไม้ผล

การผลิต
การผลิตผลไม้ตามปกติอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักหากเป็นการผลิตเพื่อบริโภค
เองในครัวเรือน ผู้ปลูกก็สามารถรอคอยจนกระทั่งถึงฤดูกาลออกดอกและติดผลตาม
ปกติ แต่การปลูกเพื่อการค้า ซึ่งราคาของผลิตผลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ
ผลิตผลในขณะนั้นๆ และคุณภาพของผลไม้คือถ้าเป็นช่วงจังหวะที่มีผลไม้ชนิดนั้น
ออกสู่ตลาดมาก เช่น ในฤดูกาลออกดอกติดผลตามปกติราคาของผลิตผลก็จะต่ำลง
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีผลไม้ออกมาสู่ตลาดน้อยราคาก็ย่อมต้องสูงขึ้น ดังนั้น ผู้
ที่ปลูกไม้ผลเป็นการค้าหลายราย จึงมีความต้องการที่จะผลิตผลไม้นอกฤดูกาลปกติ
เพื่อที่จะได้จำหน่ายผลไม้ในปริมาณเท่าเดิมแต่ได้ราคาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การผลิตผล
ไม้นอกฤดูกาลจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้จึงจะ
ได้ผลตามที่ต้องการ

ประเทศไทย
ประเทศไทยมีเขตที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 – 20 องศาเหนือ
สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลผลิต
ไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดปี พื้นที่ปลูกไม้ผลตามภาคต่าง ๆ ของ
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2548 ประมาณ 9.68 ล้านไร่ แบ่งออกเป็นมะม่วง
22.68% ทุเรียน 10.08% ลำไย 10.07% กล้วยน้ำว้า 8.33% เงาะ 6.79%
และผลไม้อื่น ๆ 42.05% ให้ผลผลิต 12.69 ล้านตัน การส่งออกทั้งในรูปผลสด
และผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ 1.4 ล้านตัน ด้วยมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท หรือ
ประมาณ 6.6% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ไม้ผลเมืองร้อนของประเทศ
ไทยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ คือ

กลุ่มที่ 1
- ไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากและมีมูลค่าการส่งออกสูง จำนวน 10
ชนิด ได้แก่ ลำไย, ทุเรียน, มังคุด, ลิ้นจี่, มะม่วง, ส้มโอ, เงาะ, สับปะรด,
มะพร้าวน้ำหอม และมะขาม


กลุ่มที่ 2
- ไม้ผลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตหรือเป็นไม้ผลท้องถิ่นหรือพื้นเมือง มี
การบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก ได้แก่ กระท้อน, ชมพู่, น้อยหน่า,
พุทรา, มะปราง, ฝรั่ง, ลองกอง, ลางสาด, สละ, ขนุน, มะนาว, องุ่น และกล้วย
เป็นต้น





ไม้ผลทางเศรษฐกิจของไทย


ลำไย - มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ
ตอนบนของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 938,033 ไร่
ผลผลิต 868,022.93 ตัน ผลผลิตลำไยส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ ประเทศ
ไทยส่งออกลำไยสดปริมาณ 133,646 ตัน ลำไยแช่แข็งส่งออก 787 ตัน และ
ลำไยแห้งส่งออก 94,774 ตัน

ทุเรียน - มีถิ่นกำเนิดในสุมาตรา จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูก
แทบทุกภาค แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ นอกจากบริโภค
ภายในประเทศแล้วยังมีการส่งออกทุเรียนสดไปยังประเทศจีน, ฮ่องกงและไต้หวัน
ทุเรียนแช่แข็งส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และทุเรียนกวนส่งไปยังประเทศ
สิงคโปร์และมาเลเซีย

มังคุด - มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาลายู ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง
เนื่องจากรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป มีการปลูกมากทางภาคใต้และภาค
ตะวันออกของประเทศ ประเทศไทยส่งออกมังคุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ประเทศคู่
ค้าสำคัญที่มีการนำเข้ามังคุด ได้แก่ จีน, ฮ่องกง และญี่ปุ่น ส่วนการส่งออกมังคุดแช่
แข็งไปยังประเทศญี่ปุ่น

ลิ้นจี่ - เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อนกึ่งเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดที่เมืองกวางดองและฟูเจียน
ทางตอนใต้ของประเทศจีนและมีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ฮงฮวย, พันธุ์โอวเฮียะ,
พันธุ์กิมเจ็งและพันธุ์จักรพรรดิเป็นต้น ประเทศไทยมีการปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ
มีการส่งออกทั้งลิ้นจี่สดและลิ้นจี่กระป๋อง ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยส่งออกลิ้นจี่สูงที่
สุดได้แก่ มาเลเซีย รองลงมาคือ สิงคโปร์และฮ่องกง ตามลำดับ

มะม่วง - เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน - พม่า และในแถบเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ มีการปลูกทุกภาคของประเทศไทย มีการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก
ต่างประเทศมีทั้งในรูปผลไม้สดและแปรรูป โดยพันธุ์ที่มีศักยภาพในการส่งออก
ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง, น้ำดอกไม้มหาชนก และโชคอนันต์

ส้มโอ - เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดทางเกาะมลายูและหมู่เกาะโปลินีเซีย มีศักยภาพ
การส่งออกสูง มีลักษณะเด่นคือรสชาติดีและผลสามารถเก็บรักษาได้นาน ประเทศผู้
นำเข้าส้มโอจากประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ แคนนาดา, จีน, เนเธอแลนด์และ
ฮ่องกง

เงาะ - เป็นไม้ผลเขตร้อนของเอเชียมีถิ่นกำเนิดแถบหมู่เกาะมลายู ต่อมาได้กระจาย
พันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สิงคโปร์, ไทย, พม่า รวมทั้งประเทศใน
แถบอเมริกากลาง พื้นที่ปลูกเงาะในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกและ
รองลงมาคือภาคใต้ ตลาดหลักที่สำคัญคือตลาดภายในประเทศ มีการส่งออกเงาะใน
รูปแบบผลไม้สดและผลไม้กระป๋องสอดไส้สับปะรดในน้ำเชื่อม

สับปะรด - เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และบริเวณ
ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศบราซิล สับปะรดเป็นพืชที่ทำรายได้และชื่อเสียง
ให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยประเทศไทยส่งออกสับปะรดสดและ
ผลิตภัณฑ์สับปะรด ทั้งสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก

มะพร้าวน้ำหอม - เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเป็นแหล่งผลิตมะพร้าว
น้ำหอมประเทศเดียวในโลก มีการส่งออกในรูปผลอ่อนไปยังต่างประเทศ โดย
ประเทศนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์
และมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

มะขาม - เป็นไม้ผลที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย มะขามในประเทศไทยมี 2
ชนิด คือ

มะขามหวาน - มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันออก พันธุ์มะขามหวานใน
ประเทศไทยได้แก่ พันธุ์สีทอง, พันธุ์ศรีชมพู, พันธุ์ขันตี, พันธุ์อินทผลัมและพันธุ์
ประกายทอง

มะขามเปรี้ยว - มีถิ่นกำเนิดแถบร้อนของทวีปแอฟริกา พันธุ์มะขามเปรี้ยวในประเทศ
ไทยได้แก่ พันธุ์ฝักโตและพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรคือ พันธุ์ศรีสะเกษ
ในส่วนของการส่งเสริมวิชาชีพเกษตรของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็
ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อ
ผลิตเกษตรกรไม้ผลที่มีคุณภาพ


อ้างอิง
เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “ไม้ผลเมืองไทย


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/01/2011 7:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2011 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทความส่งเสริมการเกษตร เรื่อง

ผลไม้ไทย.....ศักยภาพการส่งออกของประเทศ


ผลไม้เป็นสินค้าที่ประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตเพียงพอให้ผลผลิตตามฤดูกาล
สลับกัน บางชนิดให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ปัจจุบันการเพาะปลูกมิได้มุ่งเพื่อบริโภคภาย
ในประเทศเพียงอย่างเดียว ยังมุ่งส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยเกษตรกรและหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ได้
มาตรฐานของตลาดส่งออกมายิ่งขึ้น

การส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้โดยภาพรวมของปี 2543 มีการส่ง
ออกรวมทั้งสิ้น 723,821.75 ตัน มูลค่า 14,699.64 ล้านบาท ลดลงจากปี
2543 คิดเป็นร้อยละ 0.22 และมีมูลค่าลดลง ร้อยละ 17.10 ผลไม้สดมีปริมาณ
และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.10 และ 12.56 ตามลำดับ ผลไม้แช่แข็ง
มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อย
ละ 42.58 และ 32.94 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกในรูปผลไม้กระป๋อง กลับมี
ปริมาณและมูลค่าลดลง โดยการส่งออกได้ลดลง คิดเป็นร้อยละ 9.53 และ
29.25 ตามลำดับ

ในปี 2544 คาดว่าจะมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการประมาณ
การณ์ว่า การผลิตผลไม้ในปี 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.03 และรัฐบาล
ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ปรับปรุง
คุณภาพผลผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานการส่งออกและมีการควบคุมคุณภาพในขั้นตอน
การผลิตตาม GAP ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกมากขึ้น
โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด ลำไย และมะม่วง

ทุเรียน เป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มจะขยาย
การส่งออกได้อีกมาก จึงถูกกำหนดให้เป็นพืชที่จะต้องเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลิตเพื่อการส่งออก แต่ที่ผ่านมา แม้ว่าชาวสวนทุเรียนจะพบกับปัญหาด้านการผลิต
และการตลาดค่อนข้างมาก แต่ทุเรียนยังไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ถ้าสามารถ
จัดการสวน วางแผนการผลิต และการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางวันทนา บัวทรัพย์ ผู้จัดการทุเรียน กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน เปิดเผยถึง
สถานการณ์การผลิตทุเรียนในปีนี้ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งสิ้น
847,000 ไร่ ( เป็นพืชที่ให้ผลแล้วถึง 627,500 ไร่ ) ผลผลิตรวมปีละ
900,000 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (45.57 %) ระยอง
(15.02%) ชุมพร (11.90%) ตราด (5.4 %) นครศรีธรรมราช (4.01%)
สุราษฎร์ธานี (2.96 %) ระนอง (2.91%) ยะลา (1.74 %) และอุตรดิตถ์
(1.48%)

ทางด้านสถานการณ์การส่งออกนั้น ทุเรียนเป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญ มีมูลค่าการส่ง
ออกมากเป็นอันดับที่ 2 - 3 รองจากสับปะรดที่เป็นอันดับหนึ่ง และสลับกับลำไย
ปริมาณการส่งออกทุเรียนในปี 2543 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 112,281.7 ตัน คิดเป็น
มูลค่า 2,330.3 ล้านบาท ตลาดนำเข้าทุเรียน (ผลสด) ที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง
(48.47%) ไต้หวัน (39.87%) จีน (2.95 %) อินโดนีเซีย (2.24 %) สหรัฐ
อเมริกา (1.44 %) และมาเลเซีย (1.23 %)

จากสถานการณ์การออกดอกติดผลของทุเรียนในปีนี้ เนื่องจากธรรมชาติของทุเรียน
ส่วนใหญ่จะออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวในเวลาที่ใกล้เคียงกัน และมักจะเกิดปัญหา
เรื่องตลาด และราคาตกต่ำในช่วงกลางฤดูอยู่เสมอ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร
และสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว
จึงได้จัดทำโครงการกระจายสินค้าเกษตรคุณภาพ (ทุเรียน) เพื่อสนับสนุนการ
จำหน่ายผลผลิตทุเรียนของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน ดังนี้

- สนับสนุนให้กลุ่มฯ มีการรับรองคุณภาพทุเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ส่ง
ออก ผู้ค้าทุเรียน และผู้บริโภค โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดได้สนับสนุนให้สมาชิก
กลุ่มฯ มีการติดสติกเกอร์ที่ขั้วผล เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพและยังระบุราย
ละเอียด ชื่อกลุ่มและรหัสของเกษตรกรเจ้าของสวนไว้บนสติกเกอร์

- ปัจจุบัน มีกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน รวมทั้งสิ้น 158 กลุ่ม สำหรับในเขตจังหวัด
จันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญ มีกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ
ทุเรียนอยู่รวมทั้งสิ้น 102 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มในจังหวัดจันทบุรี 60 กลุ่ม ระยอง 25
กลุ่ม และตราด 17 กลุ่ม ผลผลิตทุเรียนจาก 102 กลุ่มนี้ จะมีประมาณ 79,000
ตัน หรือ ประมาณร้อยละ 13 ของผลผลิตรวมทั้งหมด


- สนับสนุนให้มีการจำหน่ายทุเรียนของกลุ่มฯ ให้กับผู้ส่งออก ผู้ค้าและผู้บริโภคโดย
ตรง โดยกำหนดการจัดตั้งจุดจำหน่ายทุเรียนคุณภาพของสมาชิกกลุ่ม ฯ ในแหล่ง
ผลิตภายใต้การดูแลของสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ซึ่ง
ในกรณีนี้มีกลุ่ม ฯ จำนวนหนึ่ง ที่พร้อมจะรวบรวมและจัดการขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยวจน
กระทั่งบรรจุกล่องพร้อมส่งออกให้กับบริษัทส่งออกที่ต้องการ โดยดำเนินการในจุด
ต่างๆ ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งสิ้น 17 จุด รวมผลผลิตประมาณ
10,000 ตัน


นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพในจังระยอง จันทบุรี และ
ตราด นำผลผลิตทุเรียนที่รับรองคุณภาพ ปริมาณไม่น้อยกว่า 1,600 ตัน ไป
จำหน่ายในจังหวัดอื่นๆ นอกแหล่งผลิตเพื่อลดปัญหาการประดังของผลผลิตในช่วง
กลางฤดูและหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตออกมาก

มังคุด เป็นผลไม้ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในสายตาของชาวต่างประเทศ ทั้งในรูปลักษณะ
และรสชาติจากการทดสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ชนชาติใดก็ตามที่ได้
ลองชิมรสชาติของมังคุดแล้ว จะต้องกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าชอบมาก จนมีผู้ขนาน
นามให้เป็นราชินีผลไม้

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมังคุดรวมทั้งสิ้น ประมาณ 301,924 ไร่ (เป็นพื้นที่
ให้ผลแล้ว 169,898 ไร่ ) ผลผลิตรวมประมาณปีละ 168,325.13 ตัน แหล่ง
ผลิต ที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร และตราด การส่งออกมังคุด
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ประเภทผลสดและมังคุดแช่แข็ง ซึ่งใน ปี 2543 ปริมาณ
การส่งออกมังคุดผลสดมีทั้งสิ้น 12,886.45 ตัน คิดเป็นมูลค่า 257.67 ล้านบาท
ส่วนมังคุดแช่แข็ง มีปริมาณการส่งออกประมาณ 227.12 ตัน มูลค่า 25.81 ล้าน
บาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย และญี่ปุ่น

คุณวิรัตน์ น้อมเจริญ เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดส่งออก และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม
ปรับปรุงคุณภาพมังคุด จังหวัดระยอง เล่าถึงการดำเนินงานของกลุ่มฯ ว่า “ ได้รวบ
รวมสมาชิกจัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินงานมาแล้ว 8 ปี ใน
การทำงานของกลุ่มได้นำระบบผู้จัดการเข้ามาใช้ โดยมีการทำธุรกิจในรูปแบบของ
การคัดมังคุดคุณภาพดีส่งออกต่างประเทศ และรับซื้อมังคุดนอกกลุ่มมาบริหารด้วย
แต่จะแยกส่วนไม่ปะปนกัน ซึ่งในปีนี้ทางกลุ่ม ได้วางแผนการผลิตมังคุดว่าจะติด
สติกเกอร์ และแพ็คใส่ถุงแบบถุงส้มจำหน่าย เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพมังคุดและ
ทำให้ผลผลิตที่จำหน่ายออกไปนั้นมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ”

ในปีนี้ คาดว่าผลผลิตมังคุดเริ่มออกสู่ตลาดประปรายในช่วงกลางเดือนเมษายน และ
ผลผลิตจะออกมากในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนมิถุนายน ผลผลิตจาก
จังหวัดจันทบุรี รวมประมาณ 59,300 ตัน คิดเป็นร้อยละ 77.9 จังหวัดตราด
9,869 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12.9 และจังหวัดระยอง 7,000 ตัน หรือร้อยละ 9.2
รวมผลผลิตจากทั้ง 3 จังหวัดประมาณ 76,200 ตัน

ลำไย เป็นผลไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยรวมประมาณ 600,000 ไร่
พื้นที่ปลูกมีการขยายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้สารคลอเรตบังคับให้
ลำไยออกดอกมากขึ้น

แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และ
ลำพูน มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 400,000 ไร่ รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงราย
พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ตาก และมีปลูกมากในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตาก

ผลผลิตลำไยในปีที่ผ่านมา (2543) เป็นปีที่สภาพอากาศเหมาะสมในการออกดอก
ติดผล ทำให้ผลผลิตลำไยมีมากถึง 350,000 ตัน ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ในปี 2543 ผลผลิตลำไยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 5,050 ล้านบาท โดยส่ง
ออกในรูปลำไยอบแห้ง มูลค่า 2,414 ล้านบาท ลำไยสดมูลค่า 2,040 ล้านบาท
ลำไยกระป๋อง มูลค่า 476 ล้านบาท และลำไยแช่แข็งมูลค่า 119 ล้านบาท ตลาด
ส่งออกลำไย (ผลสด) ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงค์โปร์

นายวิษณุ อุทโยภาส ผู้จัดการลำไย กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน กล่าวถึง
มาตรการช่วยเหลือด้านการตลาดลำไยในปีที่ผ่านมาว่า “ รัฐบาลได้อนุมัติเงิน
โครงการช่วยเหลือเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่ม
แม่บ้านเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการยืมไปซื้อลำไยสดจาก
เกษตรกรนำไปแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งและลำไยกระป๋อง และยังได้อนุมัติเงิน
คชก. อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท ให้ ธกส. และ อตก. รับจำนำลำไยอบแห้งของ
เกษตรกร นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้จัดทำโครงการกระจายสินค้า
เกษตรคุณภาพ (ลำไย) โดยดำเนินการกระจายผลผลิตลำไยจากจังหวัดแหล่งผลิต
คือ เชียงใหม่ ลำพูน ในช่วงที่ผลผลิตออกมากระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชน
ในประเทศบริโภคลำไยเพิ่มมากขึ้น ”

มะม่วงเป็นผลไม้เมืองร้อน ที่นับวันจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งออกผลไม้
ของไทย เพราะนอกจากจะมีศักยภาพทั้งในการผลิตและการตลาดอยู่ในระดับที่สูง
แล้ว แนวโน้มและลู่ทางในการขยายการส่งออกยังมีความเป็นไปได้มาก

ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกมะม่วงประมาณ 2,151,478 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24
ของพื้นที่ปลูกไม้ผลทั้งหมด ซึ่งผลผลิตมะม่วงที่เก็บได้ในแต่ละปี ส่วนใหญ่ร้อยละ
90 ใช้บริโภคภายในประเทศทั้งในรูปผลสดและใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน
อุตสาหกรรมแปรรูป

แม้ว่าผลผลิตมะม่วงส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศมีเหลือส่งออกเพียงร้อยละ
10 ของปริมาณผลผลิตทั้งประเทศ แต่ในปัจจุบันปริมาณและมูลค่าการส่งออก
มะม่วงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือมีปริมาณการส่งออกในรูปผลสดมีประมาณ 10,500
ตัน คิดเป็นมูลค่า 160 ล้านบาท มะม่วงแปรรูปจำนวน 6,400 ตัน มูลค่า 212 ล้านบาท

ตลาดส่งออกมะม่วงสดที่สำคัญอยู่ในแถบเอเซียซึ่งมีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 95
ของการส่งออกทั้งหมด ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงค์โปร์ และ
ตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง นั่นคือ ตลาดประเทศญี่ปุ่นซึ่งประเทศไทยได้ส่งออก
มะม่วงไปตลาดนี้เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปัญหาที่สำคัญของการ
ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นได้ไม่มากนั้น มี 2 ประการ คือ ประการแรก ผลผลิตมะม่วง
เมื่อไปถึงปลายทางจะประสบปัญหาโรคแอนแทรกโนส ประการที่สอง วิธีการขนส่ง
ได้ทางเครื่องบินเพียงอย่างเดียว ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้พยายามหาแนวทาง
แก้ไข โดยการพัฒนาขบวนการผลิตในส่วนของเกษตรกร โดยสนับสนุนผ่านศูนย์
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ให้ความรู้ตั้งแต่เทคโนโลยีการจัดการ
ผลผลิตเพื่อการส่งออก การดูแลรักษา การห่อผล วิธีการเก็บเกี่ยว การเตรียมการ
ก่อนการขนส่งมายังโรงอบไอน้ำ VHT เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ที่สำคัญได้พัฒนา
วิธีการขนส่งจากทางอากาศมาเป็นการขนส่งทางคอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศ
(CA Control ) ช่วยให้มะม่วงเมื่อถึงปลายทางยังคงคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายใน
การขนส่งทางเครื่องบินได้ประมาณ 40 % ซึ่งในปี 2544 กรมส่งเสริมการเกษตรมี
เป้าหมายการส่งออกมะม่วงสุกถึง 1,000 ตัน ซึ่งมากกว่าทุกปีและเชื่อว่ามะม่วงน้ำ
ดอกไม้ของไทย จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญกับมะม่วงจากประเทศฟิลิปปินส์

ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกมะม่วงที่มักพบอยู่เสมอ ได้แก่ ปัญหาด้าน
คุณภาพผลผลิตมะม่วงไม่สม่ำเสมอ มีทั้งผลแก่และผลอ่อนปะปนอยู่ในกล่องบรรจุ
เดียวกัน ปัญหาต้นทุนการผลิตและการขนส่งอยู่ในระดับที่สูง ปัญหาผลผลิตที่ออก
คือประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลไม้ชนิดอื่นออกมามาก ทำให้
ราคาตกต่ำ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการบรรจุหีบห่อไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพต่ำ
ทำให้เกิดการสูญเสียภายหลังการส่งออก

นายมนู โป้สมบูรณ์ ผู้จัดการมะม่วง กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน ได้ให้ราย
ละเอียดของการดำเนินการส่งเสริมการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกว่า “ ในปี 2544
นี้ ได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมะม่วง โดยคาดหวังให้
มะม่วงไทยมีรูปลักษณ์คล้ายกับมะม่วงในต่างประเทศ คือ มีคุณภาพดี มีการติด
สติกเกอร์ที่ผล เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพผลผลิตแต่ละผล ซึ่งการส่งเสริมส่วนใหญ่
เน้นรูปแบบการสาธิตและจัดทำแปลงเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบแก่เกษตรกร นอกจาก
นี้ ยังดำเนินการจัดตั้งกลุ่มนำร่องพัฒนาการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ 12
จังหวัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามแบบเกษตรดีที่เหมาะสม
(GAP) และขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มอื่นๆ ต่อไป ”

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลไม้ไทยจะมีมูลค่าการส่งออกมาก เมื่อเทียบกับสินค้า
อุตสาหกรรม แต่มักประสบปัญหาในการผลิตและการส่งออกหลายประการ อาทิ
เช่น ปัญหาคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาการแข่งขัน ปัญหาระเบียบสุขอนามัย
ปัญหาการขนส่งที่มีค่าระวางสูงและไม่เพียงพอ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้า
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้พยายามหาทางแก้ไข โดยมีนโยบาย
ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับโครงสร้างการผลิต การถ่ายทอด
เทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่เกษตรกร การควบคุมขั้นตอนการผลิตตาม GAP การ
รับรองคุณภาพผลผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีสามารถแข่งขันในตลาด
โลกได้



ข้อมูล กองส่งเสริมพืชสวน
กองส่งเสริมธุรกิจเกษตร
กองแผนงาน
E-mail Agricom02@doae.go.th.

http://www.doae.go.th/report/bt100.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2011 7:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องเล่า .. เกี่ยวกับผักผลไม้ส่งออกของไทย

สืบเนื่องจากกระทู้ของป้าสำราญกระทู้นี้

http://www.pantip.com/cafe/isolate/topic/M8142133/M8142133.html

ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า เพื่อนๆ ของเรา พำนัก พักอาศัยอยู่ต่างแดนหลายคน และเราก็
ทำงานในวงการส่งออก ผักสดผลไม้มาเกือบ 7 ปี ได้รู้และได้เห็นวิธีการและขั้น
ตอนของการเตรียมผักสดและผลไม้เพื่อการส่งออกเกือบทั้งหมด

ด้วยความเป็นห่วง ก็เลยขอพื้นที่ตรงนี้ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ รับประทาน
ผักสดผลไม้ของไทยด้วยความสบายใจกัน

เนื่องจากขั้นตอนการส่งผักสดผลไม้นั้น ค่อนข้างซีเรียสเกี่ยวกับสารตกค้าง และศัตรู
พืชมาก ๆ

อย่างผักสด ต้องผ่านการตรวจสารตกค้าง ตรวจสอบศัตรูพืช ห้ามมีดินปนเปื้อนแม้
กระทั่งซอกหลืบของตัวผัก

ผู้ส่งออก จะตัดจุกหรือรากออก เช่น รากหัวหอม รากผักชี ต้นหอม ผักต่างๆ จะถูก
ส่งออกไปด้วนๆ ยกเว้นถ้าจะต้องติดราก รากนั้นก็จะต้องปลอดจากเศษดิน 100%

และนำผักเหล่านี้ไปแช่น้ำยา (ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเป็นสารเคมีอะไร ) หรือบางเจ้าเอา
ผักไปแช่น้ำยาล้างจาน แช่ด่างทับทิม .....แล้วล้างน้ำทิ้ง ผึ่งลม แล้วลงแพ็กใส่
ซอง หรือหีบห่อต่อไป

ส่วนผลไม้ส่งออก เขาจะคัดไซด์ใหญ่ๆ คะ ผิวสวย ๆ และบ่มแก๊ส ผลไม้บางชนิด
เขาจะแช่สารเคมีเพื่อขจัดเพลี้ยแป้ง เอามาล้าง เป่าลม

บางประเทศ เขามีกฏตายตัวว่า ผลไม้ชนิดไหนต้องมีวิธีการอย่างไร ถึงจะส่งเข้า
ประเทศได้ เช่น มะม่วง มังคุด ถ้าจะส่งไป ญี่ปุ่น ต้องเข้าห้องอบไอน้ำ อย่างน้อยกี่
ชม. เพื่อเราใบรับรอง ส่วนเรื่องสารเคมีตกค้าง และแมลงศัตรูพืชก็ยังคงต้องระวัง
เหมือนเดิมเช่นกัน...

และมีอีกหลายอย่างที่ขออนุญาตละไว้ เอาคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพ

ก่อนส่งสินค้าขึ้นเครื่อง ก็จะต้องมีการตรวจ (สุ่มตรวจ) แต่ผุ้ประกอบการหัวใสจะจัด
สินค้าแยกออกมาเพื่อการตรวจโดยเฉพาะ คือไม่ได้เลือกจากหีบห่อที่จะทำการส่ง
เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจพบสารเคมี และแมลงศัตรูพืชตกค้าง

ซึ่งถามว่า ทางประเทศปลายทางได้มีการตรวจด้วยหรือไม่ คำตอบคือ มี แต่
ครั้งแรก เขาจะยึดถือเอกสารที่มาจากประเทศต้นทางเป็นส่วนประกอบก่อน และอาจ
จะมีการขอสุ่มตรวจอีกแต่ไม่มาก ถ้าตรวจแล้วไม่พบปัญหา สินค้านั้นก็จะถูกนำออก
มาวางจำหน่ายต่อไป

แต่ถ้าตรวจพบสารเคมีตกค้าง หรือศัตรูพืช บางประเทศก็อาจจะทำเมล์แจ้งมายัง
ประเทศไทย และทำการเผาสินค้าทิ้งทั้งหมด หรือบางประเทศก็จะส่งสินค้ากลับมา
ประเทศไทย พร้อมกับบวกค่าขนส่งเที่ยวกลับเพื่อมาเก็บกับลูกค้า พร้อมทั้งขึ้น
BLACKLIST ไว้ ว่าบริษัทนี้ห้ามส่งสินค้าประเภทนี้เข้าประเทศกี่เดือน จนกว่าจะมี
การปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยต่อไป

อยากจะบอกเพื่อนๆ ในต่างแดนว่า เวลาซื้อผักสดผลไม้ ถ้ามาจากเมืองไทย
(ประเทศอื่นเราไม่ทราบนะ) รบกวนให้แช่น้ำเกลือไว้สักพัก ประมาณ 3-5 นาที
และล้างน้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดสารเคมีตกค้าง ลำพัง ค่าขนส่งอย่างเดียว ก็
แพงกว่าราคาผลไม้จริงหลายเท่า ผู้ประกอบการจึงไม่อยากเสี่ยงให้สินค้าต้องโดน
เผาหรือโดนตีกลับเพราะว่ามันจะไม่คุ้มกัน

ผู้ประกอบการที่ดีก็มีมาก เพียงแต่บางรายเอาอาศัยมักง่าย ขอให้สินค้าได้ส่ง แพ็ค
เร็ว และได้จำนวนมาก

มาตรฐานการส่งออกนั้นมีอยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ปฏิบัติมักจะหลีกเลี่ยง หาช่องทางที่
สะดวก รวดเร็ว อันนี้ก็น่าจะพอทราบๆ กันอยู่

ปลาเน่าเพียงตัวเดียว ....... มันก็เดือนร้อนได้หมด






http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/2009/07/M8143108/M8143108.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©