-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สตรอเบอรี่-ลิลลี่-ทิวลิป...บ้านไร่ อุทัยธานี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะละกอ.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะละกอ.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2011 6:52 pm    ชื่อกระทู้: มะละกอ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://www4.pantown.com/data/15361/board23/7-20100910100722.gif


วันนี้ท่องไปในโลกเน็ต เห็นภาพมะละกอต้นหนึ่งแปลกจากมะละกอทั่ๆไป เลย COPY มาให้ดู อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ให้คลิกไปตามลิงค์ (เครดิต) ก็แล้วกัน

ในธรรมชาติไม่มีความแปลก หรือความลับใด ทุกอย่าง คือ ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ทั้งสิ้น ส่วนที่ว่า "แปลก หรือ ความลับ" นั้น เป็นคำพูดของมนุษย์เอง ความที่เข้าไม่ถึงธรรมชาติก็เลยว่าแปลก ความที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน พอรู้เข้าก็ว่ารู้ความลับของธรรมชาติ....ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับโลก



- หากต้องการทำต้นมะละกอที่สูงให้เตี้ยแล้วออกดอกติดผลได้ตามปกติ สามารถทำได้โดย.....

1) โน้มต้นให้เอียงหรือนอนราบ โดยขุดดินตัดราก ห่างจากโคนต้น (คอดิน) 20-30 ซม. ด้านตรงข้ามกับด้านที่ต้องการให้ต้นเอนหรือนอนราบลงไป ขุดดินตัดรากให้น้อยที่สุดเท่าที่พอให้ต้นเอนหรือล้มได้ ขุดดินแล้วกลบตามเดิม กลบแล้วบำรุงตามปกติ ช่วงนี้รากเดิมที่เหลือจะหาอาหารส่งไปเลี้ยงต้น พร้อมกันนั้น รากส่วนที่ถูกตัดก็จะค่อยๆพัฒนาสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่.....การโน้มต้น คือ เมื่อต้นเอนลงแล้ว ให้มีไม้ค้ำรองรับต้นบริเวณส่วนปลายไว้ ต้องการให้ส่วนของลำต้นที่เอนนั้นสูงกว่าพื้นดินมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสูงของไม้ที่ค้ำรับน้ำหนักต้น.....การนอนราบ คือ ปล่อยให้ลำต้นทั้งหมด (ถึงยอด" นอนแบนราบกับพื้นดินไปเลย....ทั้งแบบต้นเอน หรือต้นนอนราบ เมื่อต้นฟื้น ส่วนยอดจะงอชูขึ้นต่อจากยอดเดิม แล้วออกดอกติดผลได้เหมือนเดิม กลายเป็นมะละกอต้นเตี้ย เพราะส่วนยอดสูงจากพื้นดินเพียง 50-80 ซม.เท่านั้น แล้วก็จะโตตามปกติกระทั่งหมดอายุขัย
[......การปลูกต้นกล้าตามร่องปลูก และมีเทคนิคการบิดต้นมะละกอตอนที่ต้นมะละกอมีความสูงประมาณ 60 ซม. เพื่อให้ต้นเอนราบไม่ตั้งตรง ข้อนี้มีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและเป็นการชะลอการเติบโตของต้นมะละกอให้ช้ากว่าปกติ และให้ผลผลิตนาน
โดย นายอาภากร บุตรจันทา.....www.alro.go.th/alro/ess/upload/32/pf32_1324_1.doc -...]



2....ตอน แบบเดียวกับการตอน ชวนชม. โป๊ยเซียน. ณ ความสูง 50-80 ซม. จากยอดลงมา เมื่อรากงอกดีแล้วก็ให้ตัดลงมาปลูกเหมือนปลูกกิ่งตอนทั่วๆไป กิ่ง (ยอด) มะละกอตอนกิ่งนั้นจะเจริญเติบโตต่อจากเดิม พร้อมกับออกดอกติดผลตามปกติเหมือนเดิม
[......การเปลี่ยนเพศมะละกอให้มีลูกดก.......ในสมัยก่อนการปลูกมะละกอไว้หลังบ้านๆ ครอบครัวละต้นสองต้น เกษตรกรจะแสวงหาพันธุ์ที่ให้ลูกยาวเท่าแขนถึงแม้ต้นหนึ่งๆ ให้ลูกเพียง 3-4 ลูก ก็พอใจ ใครเห็นใครชม แต่ปัจจุบันนี้ครับการทำสวนมะละกอก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้อย่างดี ดังนั้นเกษตรกรจะต้องชื้อปุ๋ยและฮอร์โมนมาฉีดเร่งให้มะละกอ มีลูกดก เคล็ดลับในการเปลี่ยนเพศมะละกอให้เป็นต้นกระเทย และติดลูกดกได้อีกด้วย โดยเริ่มจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ก่อน และก่อนย้ายกล้าที่เพาะไว้ลงปลูกในแปลง คุณพ่อจะใช้ภูมิปัญญาเก่าๆ ที่สืบทอดกันมาทำให้มะละกอเป็นต้นกระเทยเสียก่อนโดยการตัดรากแก้วออกให้เหลือประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ แล้วนำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีนี้นอกจากจะทำให้มะละกอติดลูกดกแล้ว ยังทำให้มะละกอโตเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 1 เดือน ทั้งยังติดลูกดกทุกต้นด้วย.....
http://www.ayutthaya.go.th/KM/Knowledge/plan1/3/papaya.pdf]



3.... ตัด มะละกอที่ลำต้นสูงเกินความต้องการ ให้ตัดลำต้นจนขาดด้วยมีดคม เพื่อให้แผลรอยตัดเกิดอาการช้ำน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัดแล้วปล่อยให้แผลแห้งหรือยางหยุดไหล แล้วใช้ปูนกินหมากหรือสีทาบ้านทาบนแผลตัดนั้นเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้า ขั้นตอนนี้อาจให้มีถุงพลาสติกใหญ่ๆ ปิดแผลพอหลวม ป้องกันน้ำเข้าแผลด้วยจะดีมาก จากนั้นบำรุงต้นตามปกติ จากต้นที่เหลือแต่ตอ ก็จะเกิดยอดใหม่ออกมาตามผิวลำต้นตอ (จำนวนมาก 5-20 ยอด) ให้เลือกยอดที่อยู่ด้านล่าง อวบอ้วน สมบูรณ์ไว้ 2 ยอด (ซ้ายขวา) หรือ 3 ยอด (แฉกตราเบ็นซ์) เอาไว้สำหรับให้เป็นลำต้นแทนต้นแม่ต่อไป ส่วนยอดที่เหลือให้เด็ดทิ้งทั้งหมด เมื่อยอดทั้งหมดที่คงไว้โตขึ้น ความสูงของต้นก็จะลดลงจากเดิม พร้อมกับออกดอกติดผลเหมือนเดิม


ลุงคิมครับผม
ปล.
มะละกอ ตอบสนอง (ชอบ) ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้นส่วนผสม) ดีมากๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2011 10:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนองหญ้าปล้อง"มะละกอพันธุ์ใหม่ จุดเด่น"ทนแล้ง-ลูกดก-รสหวาน"


ในแวดวงเกษตร เมื่อพืช "กลายพันธุ์" อาจไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอ บางครั้งอาจนำมาซึ่ง "โอกาสทอง" ของชาวนาชาวไร่เช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีของมะละกอลูกผสมระหว่างพันธุ์แขกดำ กับพันธุ์สายน้ำผึ้ง ซึ่งนักวิชาการของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.ราชบุรี ผสมพันธุ์แล้วขยายต้นกล้าด้วยวิธี "เพาะเมล็ด" ทำให้เกิดมะละกอลักษณะดีที่ตลาดต้องการ

มะละกอพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ทนแล้ง ผลเรียวยาวคล้ายพันธุ์แขกดำ เนื้อแน่นหนา สีแดงอมส้ม เมล็ดน้อย หรือเรียกว่า "มะละกอไส้ตัน" ส่วนรสชาติหวานจัดเหมือนกับพันธุ์สายน้ำผึ้ง น้ำหนักผลผลิต 0.7-2.7 กก. เบื้องต้นนักวิชาการและชาวสวนพร้อมใจกันเรียกพันธุ์ใหม่นี้ว่า "พันธุ์หนองหญ้าปล้อง" ตามพื้นที่ปลูกของเกษตรกรนั่นเอง

สุวิต ทับทิม เกษตรวัย 46 ปี ที่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งนำต้นกล้ามะละกอพันธุ์หนองหญ้าปล้องมาปลูกตั้งแต่ปี 2541 บนพื้นที่จำนวน 8 ไร่ หลังจากที่ประสบความล้มเหลวจากปลูกอ้อยโรงงาน จึงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิด แล้วเข้ารับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอในพื้นที่ พร้อมเข้ารับการอบรมการจัดทำไร่นาตัวอย่าง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น

"ผมตัดสินใจปลูกมะละกอพันธุ์หนองหญ้าปล้อง เพราะมองแล้วน่าจะจัดการได้ง่าย และให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชชนิดอื่น โดยเลือกวิธีเพาะต้นกล้าด้วยเมล็ด แม้ว่ามีโอกาสกลายพันธุ์สูงก็ไม่หวั่น เพราะมองว่าอาจเป็นการสร้างโอกาสให้ได้มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสูงกว่าต้นปัจจุบัน แต่เราคัดเมล็ดจากต้นคุณภาพดีเท่านั้นไว้ขยายพันธุ์ ซึ่งพิจารณาจากขนาด รสชาติ และให้ลูกดก เป็นสำคัญ" สุวิต กล่าว

สุวิต บอกอีกว่า การปลูกมะละกอเกษตรกรต้องเข้าใจธรรมชาติของมันว่า พืชชนิดนี้ไม่ชอบความชื้นสูง เพราะทำให้เกิดปัญหารากเน่า เขาจึงต้องปลูกแบบเทคนิค "โคนลอย" กล่าวคือ ตามปกติเกษตรกรจะขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 1 ศอก แต่วิธีโคนลอยขุดหลุมลึกแค่ 3 นิ้ว ช่วยให้รากหาอาหารดี ระบายน้ำเร็ว และดินรอบๆ โคนต้นยึดลำต้นไว้ป้องกันลมพายุ

ทั้งนี้ มะละกอพันธุ์นี้มีความต้องการน้ำปริมาณน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ สุวิตจึงให้น้ำระบบสปริงเกอร์เดือนมีนาคม-เมษายน เปิดต่อเนื่อง 1 ชม. หากเป็นเดือนอื่นๆ งดให้น้ำก็ได้ แต่ให้สังเกตหากยอดเหี่ยว หรือใบตก แสดงว่าต้องการน้ำ ควรเปิดสปริงเกอร์ 20-30 นาที

การปลูกด้วยเมล็ดมะละกอเริ่มให้ผลิตผลเมื่อประมาณ 9 เดือน ซึ่งมะละกอ 1 ต้น สามารถให้ผลผลิต 25-30 กก.ต่อปี หรือ 2,966 กก.ต่อไร่ น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.7-2.5 กก. หากไม่มีปัญหาโรคแมลงทำลาย สามารถเก็บผลผลผลิตต่อเนื่องได้นาน 3-4 ปี

"สิ่งที่เกษตรกรกลัวมากที่สุด คือ ศัตรูตัวฉกาจอย่างโรคด่างจุดวงแหวนนั้น เราต้องหมั่นเข้าสวน เฝ้าระวังการระบาด หากพบให้รีบโค่นต้นและทำลายทัน ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง หรือถ้าคุมไม่อยู่ จำเป็นต้องใช้สารเคมีพ่นก็ให้ทำอย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้ เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีตกค้างถึงผู้บริโภค" สุวิต อธิบาย

ส่วนผลผลิตจากสวนสุวิตนั้น ลำเรียงไปยังตลาดศรีเมือง จ.ราชบุรี ขนาดที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ น้ำหนักผลละ 1.7-1.8 กก. โดยแบ่งผลผลิตออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ "ผลสด" ขายราคาส่ง กก.ละ 2 บาท ส่วน "ผลสุก" ขายราคาส่ง กก.ละ 9 บาท แต่บางช่วงราคาพุ่งสูงถึง กก.ละ 12 บาท สร้างรายได้เข้ากระเป๋าของสุวิตไม่น้อยทีเดียว อย่างในปีที่แล้ว รับเงินจากการขายมะละกอถึง 6 แสนบาท

มะละกอ "พันธุ์หนองหญ้าปล้อง" นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทย ที่น่าสนใจในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้


บายไลน์ - เกรียงศักดิ์ เผ่าอินทร์
ที่มา คมชัดลึก
http://songkhlahealth.org/paper/561
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2011 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะละกอผลเล็ก “ขอนแก่น 80”

มะละกอเป็นผลไม้ยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนทั่วโลก สามารถขึ้นได้ดีในเขตร้อนและกึ่งร้อน รวมทั้งประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม สามารถปลูกมะละกอคุณภาพดีส่งไปขายต่างประเทศได้ แต่ปริมาณการส่งออกในปัจจุบันไม่มากนัก ส่วนใหญ่ 90% ใช้บริโภรคภายในประเทศ แต่ในอนาคตมะละกอน่าจะเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้

การปลูกมะละกอของไทย ประสบปัญหาการระบาดของโรคจุดวงแหวน เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ยังขาดแคลนพันธุ์ดี ประกอบกับมะละกอมีความแปรปรวนทางสายพันธุ์สูง และพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า เช่น แขกดำ แขกนวล เป็นมะละกอผลขนาดกลางเหมาะสำหรับบริโภคดิบ (ทำส้มตำ) และส่งโรงงานแปรรูป รสชาติอร่อย แต่อ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวนมากที่สุด

การปรับปรุงพันธุ์มะละกอ
กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตขอนแก่น หรือสถานีทดลองพืชสวนขอนแก่นเดิม ได้ปรับปรุงพันธุ์มะละกอที่เหมาะสมสำหรับบริโภคสด และส่งโรงงานแปรรูป คือ พันธุ์แขกดำศรีสะเกษ และยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาพันธุ์มะละกอทนทานโรคจุดวงแหวนควบคู่ไปกับการพัฒนามะละกอผลเล็ก เพื่อรองรับตลาดในอนาคต มาตั้งแต่ปี 2530 โดยนำพันธุ์ Florida Tolerant ของมหาวิทยาลัยฟลอริดา ที่มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวน มาผสมกับพันธุ์แขกดำที่คนไทยนิยมแต่อ่อนแอต่อโรคมากที่สุด ได้ลูกผสมหลากหลาย จึงคัดเลือกต่อไปโดยวิธีคัดเลือกพันธุ์ซ้ำถึง 5 รอบ

ในปี 2537 คัดเลือกได้มะละกอ 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ท่าพระ 1 ท่าพระ 2 และท่าพระ 3 ที่มีความทนทานโรคจุดวงแหวน และมีลักษณะทางการเกษตรและคุณภาพดี

มีการทดสอบพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ และแปลงเกษตรกรตั้งแต่ปี 2537-2540 จึงคัดเลือกพันธุ์ท่าพระ 2 เสนอกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์แนะนำและตั้งชื่อใหม่ว่า “แขกดำท่าพระ” เผยแพร่สู่เกษตรกรไปตั้งแต่ปี 2541

มะละกอแขกดำท่าพระมีลักษณะผลยาวเรียว เมื่อดิบเนื้อจะกรอบ ผลสุกมีเนื้อสีเหลืองหวานหอม มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดี เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับกินดิบ (ส้มตำ) กินสุก และส่งโรงงานแปรรูป




สำหรับพันธุ์ท่าพระ 1 ยังมีความแปรปรวนของคุณภาพ และพันธุ์ท่าพระ 3 เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกเป็นมะละกอผลเล็กสำหรับตลาดอนาคต มีรสชาติหวานอร่อย อย่างไรก็ตาม ขนาดและคุณภาพของผลยังมีความแปรปรวน และมีความทนทานดรคน้อยกว่าพันธุ์ท่าพระ 1 และท่าพระ 2 จึงทำการพัฒนาต่อตั้งแต่ปี 2541-2547 จนคัดได้สายพันธุ์ที่มีขนาดผลเล็ก จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ TPL1 และ TPL2

เมื่อปี 2547-2549 ทำการทำลองพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ ตามขั้นตอนการวิจัย และในปี 2547 มีการนำไปให้เกษตรกรที่ปลูกมะละกอส่งออกทดลองปลูก และทดสอบตลาดต่างประเทศ

ปี 2550-2551 ทดลองปลูกสายพันธุ์ TPL2 เป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อศึกษาศักยภาพที่จะปลูกเพื่อการค้า

จากมะละกอ 2 พันธุ์
พันธุ์มะละกอที่เป็นฐานพันธุกรรมซึ่งนำมาปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์ขอนแก่น 80 นี้ได้มาจากมะละกอ 2 พันธุ์ คือ Florida Tolerant และแขกดำที่มีลักษณะประจำพันธุ์ ดังนี้

- Florida Tolerant เป็นมะละกอที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น(Dioecions) มีผลขนาดเล็กกลม น้ำหนัก 400-700 กรัม เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลสุกเก็บเกี่ยวได้ภายใน 5 - 6 เดือน มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดี เป็นพันธุ์ที่พัฒนาโดย Dr.Corover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ตั้งแต่ปี 2524-2528 ต่อมาในปี 2530 Dr. D.Gonsalves ที่ปรึกษาโครงการมะละกอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำมะละกอพันธุ์ Florida Tolerant มาให้ทดลองปลูกที่ จ.ขอนแก่น พบว่า สามารถเจริญให้ผลผลิตดีและมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลักษณะผลที่กลมเล็ก ทำให้สับเป็นเส้นทำส้มตำลำบาก เมื่อสุกมีสีเหลืองคนไทยไม่ชอบ

- มะละกอพันธุ์แขกดำ มีปลูกแพร่หลายในประเทศไทย คนไทยคุ้นเคยนิยมรับประทานทั้งผลดิบและผลสุก เป็นพันธุ์ที่มีทั้งต้น ที่เป็นเพศผู้ต้นเพศเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ (กระเทย) โดยต้นกระเทยให้ผลยาวเรียว เป็นผลขนาดกลาง 1-1.3 กก. ผลดิบเนื้อแน่นกรอบ ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้มอย่างไรก็ตาม มะละกอแขกดำมีความอ่อนแอต่อโรคมากที่สุด

ขั้นตอนการผสมและคัดเลือกพันธุ์
วิธีการผสมพันธุ์มะละกอ และคัดเลือกมะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 มีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้

1. การผสมพันธุ์ ในปี 2530-2531 ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างมะละกอแขกดำกับพันธุ์ Florida Tolerant ได้คู่ผสมจำนวนมาก

2. การคัดเลือกพันธุ์ลูกผสม วัตถุประสงค์แรกเริ่มของโครงการ คือการพัฒนาพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวน และคัดเลือกผลที่มีคุณภาพที่คนไทยนิยม และโดยที่พันธุกรรมการถ่ายทอดลักษณะที่ทนทานต่อโรคจุดวงแหวนเป็นแบบเชิงปริมาณ (quantitative) ความทนทานต่อโรคจุดวงแหวน สามารถเพิ่มขึ้นโดยการคัดเลือกพันธุ์ซ้ำ ( recurrant selection) วิธีการคัดเลือกโดยนำเมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์มาเพาะเ็ป็นต้นกล้าแล้วปลูกเชื้อไวรัสโรคจุดวงแหวนให้ต้นกล้า คัดเลือกต้นที่มีอาการน้อยที่สุด นำไปปลูกในแปลงทดลองหรือปลูกต้นกล้าปราศจากโรคในแปลงก่อน แล้วจึงปลูกเชื้อไวรัสจุดวงแหวน ด้วยวิธี Hand inoculation ใช้ระยะปลูก 2 x 2 เมตร ปลูกเป็นแถว คู่ผสมละ 2 แถว แถวละ 10 หลุม ปลูกหลุมละ 3 ต้น เมื่อมะละกอออกดอกแสดงเพศ คัดต้นสมบูรณ์เพศ (กะเทย) ไว้หลุมละ 1 ต้น ให้น้ำแบบระบบน้ำหยด มีการดูแลใส่ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง ปุ๋ยเคมีเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20 กรัม/ต้น พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามความจำเป็น มีการบันทึกข้อมุลการเกิดโรคจุดวงแหวน และประเมินระดับความรุนแรงของโรค บันทึกข้อมูล น้ำหนักผล สีของเนื้อผลสุก ความหนาเนื้อ และอื่นๆ คัดเลือกต้นและเก็บเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกและคัดเลือกรอบต่อไป ทำการคัดเลือก 5 รอบ ตั้งแต่ปี 2531-2537 การปลูกทุกขั้นตอนมีการปฏิบัติดูแลเหมือนกัน ทั้ง 5 รอบ




3. การทดสอบพันธุ์ ปี 2537–2540 ทำการทดสอบพันธุ์ที่คัดเลือกได้คือ ท่าพระ 1 ท่าพระ 2 และท่าพระ 3 ในหลายพื้นที่ ทั้งในแปลงทดลองของศูนย์วิจัย สถานีทดลอง และแปลงเกษตรกร ในจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขอนแก่น ศรีสะเกษ หนองคาย อุดรธานี และหนองบัวลำภู ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร

4. การคัดเลือกมะละกอท่าพระ 3 ผลเล็ก จากการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสม ตามวิธีและขั้นตอนที่กำหนด ส่วนหนึ่งคัดเลือกได้มะละกอสายพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กคือ พันธุ์ท่าพระ 3 แต่ยังมีความแปรปรวนของลักษณะผลและขนาด จึงมีโครงการคัดพันธุ์มะละกอท่าพระ 3 ตั้งแต่ปี 2541-2547 เพื่อคัดเลือกให้มีผลเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 1,000 กรัม

5. การทดสอบพันธุ์ท่าพระ 3 ผลเล็ก ปี 2547-2549 ทำการทดสอบพันธุ์ท่ารพะ 3 line 1 (TPL1) และท่าพระ 3 line (TPL2) ในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตขอนแก่น และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตอุดรธานี โดยวิธีการปลูกและดูแลปฏิบัติเช่นเดียวกับที่ดำเนินการที่ ศบป.ขอนแก่น มีการเก็บข้อมูลเพื่อบันทึกการเกิดโรคจุดวงแหวนเดือนละ 1 ครั้ง เก็บเกี่ยวผลผลิตและบันทึกข้อมูลต่างๆ ตามกำหนดเวลา

6. การทดลองในไร่เกษตรกร ปี 2547 ได้ส่งเมล็ดท่าพระ 3 ให้คุณนนทศักดิ์ เนาวสัยศรี เกษตรกร อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ที่มีอาชีพปลูกมะละกอผลเล็กพันธุ์ Sunrise เพื่อส่งขายต่างประเทศ เกษตรกรได้ปลูกท่าพระ 3 และทดลองส่งผลผลิตไปจำหน่ายตลาดฮ่องกง พร้อมกับมะละกอฮาวาย

7. การศึกษาศักยภาพการปลูกมะละกอสายพันธุ์ TPL2 เป็นการค้า ปี 2550-2551 ปี 2550 ได้ปลูกมะละกอ TPL2 เป็นแปลงขนาดใหญ่พื้นที่ 2 ไร่ (540 ต้น) ที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตขอนแก่น (ศบป.ขอนแก่น) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของสายพันธุ์ TPL2 ที่จะปลูกเป็นการค้าสำหรับมะละกอกินสุกที่มีผลขนาดเล็ก (table consumption) และการส่งออกมีวิธีการปลูกและดูแลให้พืชเจริญเติบโต บันทึกข้อมูลและเก็บผลผลิตวิธีเดียวกับการปลูกในการทดสอบพันธุ์ดังกล่าวมาแล้ว

ทดลองส่งออก
ในฤดูกาลปี 2548 เมื่อมะละกอท่าพระ 3 มีผลผลิตแล้วเกษตรกรได้ทดลองส่งออกไปยังตลาดฮ่องกง พร้อมกับมะละกอฮาวาย เพื่อทดสอบการตอบสนองของตลาด ปรากฎผลดังนี้

1. รสชาติหวานหอม เป็นที่ยอมรับของตลาด

2. ผลมีขนาดใหญ่เกินไป มีน้ำหนักผล 800-1,200 กรัม ซึ่งลูกค้าในฮ่องกงนิยมมะละกอขนาดเล็ก เช่น พันธุ์ฮาวายหรือซันไรซ์ น้ำหนักผลประมาณ 450-600 กรัม แต่ในปัจจุบันผลขนาด 700-900 กรัม กลับเป็นที่นิยมมากขึ้น

3. ผิวบาง ไม่คงทนต่อการขนส่งทางไกล โดยใช้ระยะเวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมฉบัง - ตลาดกวางเจา ประมาณ 8-9 วัน ทำให้ช้ำและเสียหายเมื่อถึงตลาดปลายทาง




ลักษณะเด่น
จากผลการศึกษาศักยาภาพการปลูกมะละกอขอนแก่น 80 พบว่า มะละกอสายพันธุ์ TPL2 มีการเจริญเติบโตทั่วไปดีและสม่ำเสมอ ดอกแรกบานเมื่ออายุ 74 วัน และติดผลแรกเมื่ออายุ 81 วัน ความสูงเมื่ออายุ 7 เดือน เฉลี่ย 132 ซม. ผลแรกเริ่มสุก เมื่ออายุ 7 เดือน หลังย้ายปลูก มีรูปร่างผลสม่ำเสมอเป็นรูปรี ส่วนหัวเล็กก้นปล่อง (pear shaped) น้ำหนักผลเฉลี่ย 0.77 กิโลกรัม ผลสุกเนื้อสีแดงส้ม รสชาติหวานหอม ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ ผลผลิตเท่ากับ 6,036.8 กก./ไร่

มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดี คือ แสดงอาการเหลืองด่างที่ใบ แต่ไม่มีอาการที่ผล นอกจากนี้ ผลมีผิวเป็นมัน เปลือกหนา เนื้อแน่นและหลังการเก็บเกี่ยวสุกช้ากว่าพันธุ์แขกดำและแขกดำท่าพระ

ผลมีขนาดเล็ก เหมาะที่จะผ่าและใช้ช้อนตักรับประทานเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีมาก มีศักยภาพที่จะเป็นพันธุ์แนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าได้

ความคาดหวังของนักปรับปรุงพันธุ์
จากการทดสอบพันธุ์มะละกอสายพันธุ์ TPL1 และ TPL2 ร่วมกับพันธุ์แขกดำศรีสะเกษและ Florida Tolerant พบว่า สายพันธุ์ TPL2 มีคุณภาพดีเด่นใกล้เคียงกับพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าในปัจจุบัน แต่เป็นพันธุ์ผลขนาดกลาง และปัจจุบันทั้งคนไทยและต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอสุกผลเล็ก เนื้อสีแดง

ดังนั้น มะละกอสายพันธุ์ TPL1 และ TPL2 ที่มีความดีเด่นในแง่ความหวานและขนาดของผลที่เล็กกว่า อาจใช้เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับบริโภคสุก สมควรใช้เป็นพันธุ์แนะนำแก่เกษตรกรปลูกเป็นการค้า ขายในประเทศและเพื่อการส่งออก และเพื่อความเหมาะสมจึงขอเรียกชื่อมะละกอสายพันธุ์ TPL2 ว่า มะละกอพันธุ์ “ขอนแก่น 80”


สนใจมะละกอผลเล็ก “ขอนแก่น 80” ติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4326-1504 และ 0-4326-2380


http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_11-nov/jakfam.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©