-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-บึงพลาญชัย ได้ปลาบึกร่วม 200 ตัว....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - บึงพลาญชัย ได้ปลาบึกร่วม 200 ตัว....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

บึงพลาญชัย ได้ปลาบึกร่วม 200 ตัว....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 6:32 pm    ชื่อกระทู้: บึงพลาญชัย ได้ปลาบึกร่วม 200 ตัว.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทอดแหกลางบึงพลาญชัยได้ปลาบึก ร่วม 200 ตัว




คนนับหมื่นร่วมทอดแหกลางบึงพลาญชัย ได้ปลาบึกตัวละ 100 กิโลกรัม ร่วม 200 ตัว

วันนี้ 17 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ บริเวณบึงพลาญชัย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
กลางเมืองร้อยเอ็ด นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด พร้อม
คณะผู้บริหารได้ทำพิธีเปิดการทอดแหระดับประเทศขึ้น โดยมีเซียนแหจากทั่ว สาร
ทิศเดินทางมาลงทะเบียนเตรียมแหกันอย่างคึกคัก ท่วมกลางประชาชนผู้สนใจร่วม
ชมกันนับหมื่นคน เนืองแน่นทั่วบึงพลาญชัย ทันที ที่ประธานเปิดงานให้สัญญาณ
บรรดาเซียนแหต่างพากันเหวี่ยงแหลงน้ำกันสนั่นบึง ไม่นานเซียนแหต่างก็โชว์ฝีมือ
จับปลาบึกขนาดตั้งแต่ 10 กก.ไปจนถึง 150 กก.ขึ้นมาให้เห็นอย่างไม่ขาดสาย
ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชนที่มา มุงดูส่งเสียงเฮกันเป็นระยะๆ ซึ่งการทอด
แหจัดขึ้นวันเดียว แค่ครึ่งวันเซียนแหสามารถจับปลาบึกขนาดใหญ่ขึ้นมาได้กว่า
200 ตัว มีน้ำหนักตัวละ 100 กก. ประมาณ 100 ตัวในจำนวนนี้มีนายบุญล้น ชัย
เฉลิม ชาว อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด สามารถจับปลาบึกตัวใหญ่ที่สุด 1 ตัว น้ำหนักตัว
ละ 140 กก.นายไพศาล วงศ์สง่า จาก จ.มหาสารคาม ได้ปลาบึกน้ำหนัก 133
กก. 1 ตัว นายประหยัด สมสะอาด จาก อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ดได้ปลาบึกขนาด
132 กก. 1 ตัว นายประยูร บรรคูณ จาก จ.กาฬสินธุ์ ได้ปลาบึกขนาด 131 กก.
1 ตัว และมีน้ำหนักลดหลั่นกันลงไปอีกจำนวนมาก

นาย เรืองรัตน์ รัตนโภคาสถิต รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่า ผู้ที่ทอด
แหได้ปลาบึกขนาดต่ำกว่า 10 กก.จะได้รับเงินรางวัล 500 บาท น้ำหนักตัวละ 10
กก.ขึ้นไป จะได้รับเงินรางวัลตัวละ 1,000 บาท และ100 กก.ขึ้นไปจะได้รับรางวัล
พิเศษอีกมากมาย ซึ่งรายได้จากการลงทะเบียนทอดแหวันนี้มีจำนวน 420,000
บาท โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะนำไปรวมกับรายได้จากการแข่งขันตกเบ็ดเมื่อวันที่
15-16 ม.ค. ที่ผ่านมาอีกจำนวน 843,300 บาท เพื่อนำไปสมทบกองทุน
พัฒนาบึงพลาญชัยร้อยเอ็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การพัฒนาระบบน้ำในบึงพลาญ
ชัยให้มีความสะอาดสวยงามเป็น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคู่เมืองร้อยเอ็ดต่อไปใน
อนาคต.


http://www.dailynews.co.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2016 7:00 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

























































http://www.google.co.th มนุษย์นี่กินไม่เลือกจริงๆเนาะ....ในอนาคตโลกจะมีแต่มนุษย์ ไม่มีสัตว์ แล้วมนุษย์จะอยู่ยังไงเนี่ยยยย....

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2016 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 7:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลาบึก

Mekong Giant Catfish
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas

ลักษณะทั่วไป
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาวเกือบ 3 เมตร และมี
น้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม ลำตัวมีลักษณะยาวและแบนด้านข้าง ส่วนหัวค่อน
ข้างใหญ่ ตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวดสั้นๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ซ่อนอยู่ในร่อง
ตรงเลยมุมปาก ในขณะมีชีวิตสีลำตัวจะเป็นสีเทาออกแดงทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ
กลายเป็นสีเทาแกมฟ้าทางด้านข้าง และสีขาวทางด้านใต้ท้อง มีจุดดำจุดหนึ่งทาง
ด้านข้างตรงตำแหน่งปลายสุดของครีบหู และจุดดำอีกสามจุดบนครีบหาง ครีบทุก
ครีบเป็นสีเทาจางๆ


ถิ่นอาศัย, อาหาร
ปลาบึกพบอาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น เคยพบบ้างในแคว้น
ฉานของประเทศพม่า และแคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ ชอบบริเวณแม่น้ำที่มี
ความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวด และควรจะมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำ
ด้วย

อาหารได้แก่ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำเป็นอาหาร

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล

เชื่อว่าฤดูวางไข่ของปลาบึกจะตกอยู่ราวเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาบึกจะว่ายทวนน้ำ
ขึ้นไปวางไข่เหนือขึ้นไปจากประเทศไทย บริเวณหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็น
บริเวณนำลึกมีเกาะแก่งมากสะดวกในการผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูแล้ง พอถึงฤดูน้ำ
หลาก มันจะว่ายตามน้ำลงมายังแม่น้ำโขงตอนล่าง

สถานภาพปัจจุบัน
ในปัจจุบันประเทศไทยโดยทางกรมประมงได้ผสมเทียมปลาบึกเป็นผลสำเร็จตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2526 และในปีต่อมาสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากพอที่จะปล่อยใน
แหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าปลาบึกเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่ทราบว่าจะ
ผสมพันธุ์วางไข่ได้หรือไม่ ทุกปีจะมีเทศกาลจับปลาบึกขึ้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัด
เชียงราย ทำให้ปลาบึกที่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ถูกจับปีละนับร้อยตัว เพื่อนำเอามา
ขายเป็นอาหารราคาแพง ทำให้ปริมาณของปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงทุกปีๆ

สถานที่ชม
สวนสัตว์เชียงใหม่


http://www.moohin.com/animals/other-22.shtml


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2016 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)














http://www.photoontour.com/gall_slideshow_html/PlaBuK/PlaBuk14.htm




ไม่ต้องตอบก็ได้....ถามว่า คุณรู้สึกอย่างไร กับภาพของสิ่งที่จะหมดไป
จากแหล่งธรรมชาติ โดยการ "กิน" ของมนษย์.....แค่กิน แค่อิ่ม อิ่ม
แล้วก็ขี้ ไม่เหลืออะไรเลย แล้วมันต่างจากปลาเลี้ยงในบ่อตรงไหน....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 8:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลี้ยงปลาบึก.....

ไม่มีใครปฏิเสธว่าปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความ เชื่อ
ว่าผู้ใดได้บริโภคปลาบึกจะประสบแต่ความโชคดี มีอายุยืนยาว สติปัญญาเฉียบคม
ปลาบึกจึงมีสมญานามว่า “ปลาขงเบ้ง”

เพราะมีคุณค่า ทางโภชนาการสูง เนื้อแน่นเป็นแว่นๆ คล้ายวงปีของเนื้อไม้ มีมัน
แทรกรสหวานมัน จึงมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากทั้งในและนอกประเทศ ในขณะที่
ปลาบึกในลำน้ำธรรมชาติกลับมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว

ด้วยเหตุนี้ทำให้ รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและ
ทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย พยายาม
ค้นคว้าวิธีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ในบ่อดิน ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ จน
สามารถนำไปขยายพันธุ์เพื่อใช้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในโลก

รศ. ดร.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า โครงการวิจัยเพาะพันธุ์ปลาบึกเริ่มขึ้นจากตนมีความ
สนใจ จึงนำปลาบึกพ่อพันธ์แม่พันธุ์มาจากแม่น้ำโขงเข้ามาเลี้ยงเมื่อปี 2533 ต่อมา
ในปี 2543 ได้ทำการวิจัยอย่างจริงจัง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน
สนับสนุนงานวิจัย (สกว.) จนสามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกรุ่นแรกสำเร็จเมื่อปี
2545 จากการวิจัยครั้งนั้นทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถปรับปรุงพันธุ์เพื่อ เพาะ
เลี้ยงเชิงพาณิชย์จนเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ ซึ่งต้องทำในลูกปลารุ่นที่ 2-3 เพื่อให้เกิด
มาตรฐานของสายพันธุ์

“จุดเด่นของปลาบึกในสภาพการเลี้ยงในบ่อดินที่ดีจะสามารถโตได้ปีละ 5-10
กิโลกรัม มีผลตอบแทนจากการเลี้ยงประมาณ 5.1 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี ปัจจุบัน
สามารถพัฒนาการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ได้
เป็นอย่างดี ขณะนี้เตรียมขยายผลสู่เกษตรกรที่สนใจ”

เขาให้เหตุผลว่า ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้แม่โจ้ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงพันธุ์
ปลาบึกได้ นั้นคือการนำลูกปลาบึกที่เกิดเมื่อปี 2545 มาเพาะเลี้ยงควบคู่กับการ
ทดลองใช้อาหารสำหรับปลาบึกที่ ม.แม่โจ้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับปลาบึกพ่อ
พันธ์แม่พันธุ์ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการกินอาหารของปลาบึกจากแม่น้ำโขง พบ
ว่าปลาบึก ส่วนใหญ่จะกินสาหร่ายน้ำซึ่งมีโปรตีน พลังงาน แร่ธาติสูง มีกรดไขมัน
และวิตามิน มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก จึงนำสมมติฐานดังกล่าวมาพัฒนา
สูตรอาหารเม็ดสำหรับปลาบึกสำเร็จ โดยการนำสาหร่ายสไปรูลิน่ามาผสมในอาหาร
เม็ดทำให้เจริญพันธุ์ได้ดีและเติบโต รวดเร็ว

“จากการให้ปลาบึกรุ่นที่ 2 ในบ่อทดลองได้กินอาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของสาหร่าย
พบว่าจากเดิมที่ปลาบึกจะสามารถขยายผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 10 ปีขึ้นไป ก็จะ
เจริญพันธุ์ได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 5 ปี ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมี
น้ำเชื้อมากพอสำหรับเจริญพันธุ์และตัวเมียก็จะมีไข่ที่พร้อม ผสมพันธุ์เช่นกัน” รศ.
ดร.เกรียงศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย


สุรัตน์ อัตตะ


http://news.enterfarm.com


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2016 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/01/2011 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลี้ยงปลาบึกด้วยเศษอาหาร ต้นทุนต่ำ ได้กำไรสูง ที่ลำลูกกา


ปลาบึก เป็นปลาน้ำจืด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และช่วง 1-2 ทศวรรษ ที่ผ่านมา ใน
ธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยว่าถูกไล่ล่ามาเป็นอาหาร

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ สามารถนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะขยายพันธุ์ได้เหมือนกับปลา
เศรษฐกิจทั่วๆ ไปแล้ว

คนไทยที่จารึกชื่อไว้เป็นผู้ขยายพันธุ์ปลาบึกได้รายแรกของโลกคือ คุณเสน่ห์ ผล
ประสิทธิ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ปัจจุบันเป็นเจ้าของฟาร์ม
เพาะเลี้ยงปลาบึกรายใหญ่ จังหวัดเชียงราย

ช่วงแรกๆ หรือ 20-30 ปี ที่ผ่านมา นิยมจับพ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำโขง มารีดน้ำเชื้อ
และไข่ ทดลองมาหลายปี จนประสบความสำเร็จ จากนั้นนำลูกปลาที่เพาะเลี้ยงมา
ปล่อยคืนสู่กลับแม่น้ำ และเขื่อนต่างๆ ทั่วไป นอกจากนี้ ยังทดลองเลี้ยงไว้ในบ่อดิน
ตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งของภาครัฐและเอกชน ปรากฏว่าปลาแต่ละวัยเจริญเติบโต
ดี และพร้อมที่จะเป็นพ่อแม่พันธุ์รุ่นต่อไปด้วย

ไม่แปลกใจเลย ที่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้เห็นภาพการล่าปลาบึกจากธรรมชาติเพื่อมา
เป็นพ่อแม่พันธุ์ เพราะว่าส่วนใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนนิยมนำปลาจากบ่อเลี้ยงมา
เพาะพันธุ์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการจัดการและประหยัดเวลา รวมถึงการใช้จ่ายด้วย

ด้วยการพัฒนาการเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกปลาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนี้ ปลาบึกทั้ง
ตัวเล็กและใหญ่มีให้เห็นตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำชั้นนำทั่วประเทศ

และตามร้านอาหาร หรือโรงแรมทั่วๆ ไป ก็นิยมนำเนื้อปลาชนิดนี้มาแปรรูปเป็น
อาหารไว้บริการลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติด้วย

เนื้อปลาบึกที่นำมาเป็นอาหารนี้ ส่วนใหญ่มาจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำของภาคเอกชน
หรือเกษตรกรเกือบทั้งนั้น

"จากการทำงานวิจัยปลาบึกมา 20 ปีเศษ สามารถสรุปได้ว่า ปลาบึก เป็นปลาที่เกิด
มาเพื่อเลี้ยงปากท้องของพลโลกอย่างแท้จริง เพราะว่าปลาชนิดนี้มีคุณสมบัติ
สำคัญๆ ที่จะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าอย่างครบถ้วน คือเป็นปลาขนาดใหญ่ที่เจริญเติบโต
ได้รวดเร็วกว่าปลาน้ำจืดอื่นๆ ทุกชนิด ต้นทุนการเลี้ยงค่อนข้างต่ำ และทรหด อดทน
สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงได้ดี อีกทั้งมีภูมิต้านทานโรคสูง
ไม่เคยพบปลาชนิดนี้มีโรคระบาดร้ายแรงใดๆ เลย นอกจากนี้ เนื้อมีรสชาติดี อร่อย
ผู้คนให้ความนิยมบริโภคสูง และมีราคาแพงกว่าปลาชนิดอื่น เพราะเชื่อกันว่ากินแล้ว
อายุยืน และโชคดี" คุณเสน่ห์ เคยกล่าวไว้ในงานแถลงข่าวเมื่อหลายปีก่อน

ปลาบึกนี้ใช้ระยะการเลี้ยงเพียง 1 ปี ก็สามารถเจริญเติบโตได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 10
กิโลกรัม ต่อปีแล้ว ยิ่งเลี้ยงเข้าปีที่ 3 และ 4 ก็มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 50-80 กิโลกรัม
แล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณหนาแน่นในการปล่อยเลี้ยง และการให้อาหาร รวมทั้ง
สายพันธุ์ด้วย

"ตอนนี้มีเจ้าของฟาร์มสัตว์น้ำบางแห่ง นำปลาบึกมาผสมพันธุ์กับปลาสวาย กลายเป็น
ลูกผสม ชื่อ บิ๊กหวาย จำหน่ายลูกปลาในราคาถูกๆ ให้กับเกษตรกร ซึ่งปลาลูกผสม
ดังกล่าว จะมีข้อเสียคือ เจริญเติบโตช้า และราคารับซื้อเพียงกิโลกรัมละ 30-40
บาท เท่านั้น หากผู้บริโภคหรือเจ้าของร้านอาหารไม่มีความรู้หรือความชำนาญด้านนี้
จะดูไม่ออก เพราะว่าบิ๊กหวายกับปลาบึกนั้นมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่แตกต่างบริเวณ
หัว ลูกตา อาหาร สี และลักษณะตัว นอกจากนี้ ด้านรสชาติด้วย" คุณเสน่ห์ กล่าว

ปลาบึก ยิ่งตัวโต ยิ่งอร่อย ทั้งหนังและเนื้อ ส่วนบิ๊กหวายรสชาติคล้ายๆ ปลาสวาย

ฉะนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อลูกปลาบึกจากใคร ต้องสืบดูให้รู้แน่เสียก่อนว่าเป็นพันธุ์แท้
หรือไม่ เพราะว่าบางครั้งอาจเจอบิ๊กหวาย และหากเลี้ยงโตแล้วนำไปเสนอขายให้กับ
พ่อค้าหรือเจ้าของร้านอาหาร ราคารับซื้อไม่ดีอย่างที่คิดก็ได้

จากการศึกษาความแตกต่างปลาบึกและบิ๊กหวายของคุณเสน่ห์ โดยใช้ลูกปลา
ขนาด 3-5 นิ้ว พบว่า หัวปลาบึกพันธุ์แท้ ยาวใหญ่และจะงอยปากกว้างค่อนข้างตัด
ตรง เมื่อมองจากด้านบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยม และลูกตาอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากเล็ก
น้อย

หางของปลาบึกพันธุ์แท้ แพนหางบนและล่างเป็นแถบกว้างและถ่างออกจากกัน เป็น
มุมกว้าง มีแถบสีดำพาดไปตามความยาวของขอบแพนหางด้วย

หัวแก้ม สันหลัง และครีบทุกครีบมีสีเหลืองชัดเจน และลำตัวกว้าง ท่าทีล่ำสันแข็ง
แรง ตรงกันข้ามกับปลาบิ๊กหวายที่มีหัวแก้ม สันหลัง สีเทาอมดำชัดเจน เมื่อดูด้าน
ข้างลำตัวแคบ ว่องไว ปราดเปรียว

"ผมอยากให้ทุกคนที่อยู่ในวงการสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงหรือผู้บริโภค มีความรู้
รู้จักสังเกต ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถูกหลอก ไม่ใช่หลงเลี้ยงจนโต เมื่อถึงเวลา
จับขายกลับได้ราคาถูก หรือผู้บริโภคหลงซื้อราคาแพง แต่รสชาติหรือคุณภาพเนื้อ
ไม่อร่อย" คุณเสน่ห์ กล่าว

การเจริญเติบโตของปลาบึกนั้น ดังที่บอกแล้ว นอกจากสายพันธุ์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับ
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาด้วย

ตามธรรมชาติปลาบึก เมื่อยังเล็กอยู่จะกินพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตั้งแต่โรติเฟอร์ ไร
น้ำ หนอนแดงแมลงในน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลา ไปตามลำดับของอายุ และขนาดของตัว
เอง จนถึงเมื่อมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จึงจะเริ่มเปลี่ยนนิสัยการกิน
เพราะฟันในปากเริ่มเสื่อมสูญไป หันมากินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก

ปลาชนิดนี้หากใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปของปลาดุกหรือปลากินพืชก็จะทำให้ต้นทุนใน
การเลี้ยงค่อนข้างสูง เพราะว่าเป็นปลาตัวใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้ฟาร์มเลี้ยงปลาบึกทั่วๆ
ไป มักจะผลิตอาหารขึ้นมาเอง โดยใช้การผสมดังนี้ คือปลายข้าวเหนียว ปลาป่น
กากถั่วเหลือง รำละเอียด และน้ำมันพืช ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประหยัดต้นทุนในการเลี้ยง
ปลานั่นเอง

ข้อมูลการเลี้ยงปลาบึกของคุณเสน่ห์ พบว่า การที่จะให้ปลาโตหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
1 กิโลกรัม นั้นจะต้องลงทุนผลิตอาหารให้กินประมาณ 50 บาท ซึ่งเป็นการใช้เงินที่
สูง อย่างไรก็ตาม ราคารับซื้อผลผลิตปลาบึกโดยทั่วไป เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท ต่อ
กิโลกรัม

"ในอนาคตเมื่อมีผลผลิตออกท้องตลาดเยอะ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ราคารับซื้อจะดี
อยู่อีกหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าหากกรมประมงสามารถผลักดันให้ปลาบึก
เป็นปลาเศรษฐกิจสามารถจำหน่ายในต่างประเทศได้ ปัญหาการตลาดหรือผลผลิต
ตกต่ำแทบจะไม่มี เนื่องจากเป็นปลาน้ำจืดที่ตลาดต้องการมาก โดยเฉพาะประเทศ
จีน ผู้คนนิยมบริโภคกันเยอะเลยทีเดียว"

"ตอนนี้ปลาบึกอยู่ในบัญชี 1 ของไซเตส ผมเชื่อว่าในอนาคตจะมีการผลักดันปลา
บึกให้อยู่ในบัญชี 2 ซึ่งจะสามารถซื้อขายระหว่างประเทศได้ เหมือนๆ กับจระเข้
และเมื่อถึงเวลานั้น ปลาบึกจะเป็นปลาเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ ราคารับซื้ออาจจะดีขึ้น
กว่าเดิมก็ได้" คุณเสน่ห์ กล่าว

ลดต้นทุนการเลี้ยงด้วยเศษอาหาร
เอ่ยชื่อ คุณเม่งฉ่อง นิลพัฒน์ อยู่บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ที่ 10 ตำบลลาดสวาย อำเภอ
ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทร. (081) 839-2496 แฟนๆ นิยตสารเทคโนโลยีชาว
บ้านคงรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะว่าเมื่อปีที่แล้วได้นำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้เกี่ยว
กับการเลี้ยงสัตว์น้ำแนวธรรมชาติด้วยเศษอาหารมา 4 ตอน เต็มๆ โดยเน้นเรื่องปลา
สวาย ปลาจะละเม็ดน้ำจืด ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุกบิ๊กอุย เป็นต้น

วันนี้จะนำมาเสนออีกครั้ง แต่จะเน้นเรื่องปลาบึกเป็นหลัก เนื่องจากข้อมูลการเลี้ยง
ปลาชนิดนี้ยังมีการเผยแพร่กันค่อนข้างน้อย ทั้งๆ ที่การเพาะขยายพันธุ์ประสบความ
สำเร็จมานานหลายปีแล้ว

การเลี้ยงปลาบึกแบบฉบับของคุณเม่งฉ่องนั้นน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าใช้ต้น
ทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสองประการหลักๆ คือ หนึ่งใช้เศษ
อาหารเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้งหรือเปลี่ยนถ่าย
น้ำเลย

"ผมมีบ่อเลี้ยงปลาหลายสิบบ่อ รวมๆ เนื้อที่แล้ว ไม่ต่ำกว่า 500 ไร่ และรถกระบะ
อีก 10 คัน เพื่อไว้สำหรับวิ่งรับเศษอาหารตามศูนย์การค้า โรงแรม และโรงเรียน วัน
หนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ตัน เศษอาหารพวกนี้เราก็นำมาเลี้ยงปลาสวาย ปลาจะละเม็ด
ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุกบิ๊กอุย รวมทั้งปลาบึกด้วย" คุณเม่งฉ่อง กล่าว

เศษอาหารดังกล่าว คุณเม่งฉ่อง ไม่ใช่จะได้มาฟรีๆ ส่วนใหญ่จะใช้เงินซื้อมาในราคา
ค่อนข้างต่ำ รวมๆ แล้ว อยู่ที่ 2-3 บาท ต่อกิโลกรัม (รวมค่าขนส่งด้วย)

เขาเช่าที่ดิน เพื่อใช้เลี้ยงปลาบึกอยู่เกือบๆ 80 ไร่ ในราคา 70,000 บาท ต่อไร่ ต่อ
ปี ซึ่งที่ดินผืนนี้เดิมทีเป็นท้องนา แต่ถูกขุดหน้าดินขาย กลายเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่
ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ ยกเว้นเลี้ยงปลาอย่างเดียว


ซื้อพันธุ์ปลาบึกมาปล่อยเลี้ยง
พันธุ์ปลาบึกที่ซื้อมาเลี้ยงนั้น มาจากหลายฟาร์ม และส่วนหนึ่งก็ซื้อมาจากคุณเสน่ห์
ซึ่งคุณเม่งฉ่องจะเน้นปลาพันธุ์แท้เท่านั้น โดยเขาให้เหตุผลว่า จะเจริญเติบโตเร็ว
และรสชาติดี ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาด้านตลาดที่จะตามมา

"ตอนนี้ตลาดปลาบึกผมมีอยู่ในมือ 3-4 แห่ง คือ หนึ่ง ตามตลาดสดทั่วไป สอง ร้าน
อาหารและโรงแรมชั้นนำ สาม ผู้ส่งออก และสี่ บ่อตกปลาทั่วๆ ไป ซึ่งผมจะจับทั้ง
ปลาตายและปลาเป็น ตลาดสดราคารับซื้ออยู่ที่ 80 บาท ต่อกิโลกรัม ผู้ส่งออก
ราคาอยู่ที่ 90 บาท ต่อกิโลกรัม และร้านอาหารหรือโรงแรมชั้นนำ ประมาณ 130
บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนบ่อตกปลานั้น เราจะขายปลากันตัวเป็นๆ และรวมค่าขนส่ง
ด้วย ซึ่งราคาอยู่ที่ 150-300 บาท ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะ
ทางในการขนส่ง" คุณเม่งฉ่อง กล่าว

คุณเม่งฉ่องมีแรงงานในการเลี้ยงปลาทั้งหมด กว่า 20 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีผู้
เชี่ยวชาญในการลากอวนจับปลาจำหน่ายอยู่เพียง 7 คน เท่านั้น

แหล่งที่มาจาก
"ปลาทุกชนิดที่ผมเลี้ยงจะไม่มีดูดน้ำหรือถ่ายน้ำทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเตรียมบ่อ
ระหว่างเลี้ยง หรือขั้นตอนการจับขาย ผมจะใช้หลักการธรรมชาติที่ในบึงใหญ่ๆ หรือ
ทะเล ไม่เห็นว่ามีใครไปเปลี่ยนน้ำหรือเตรียมบ่ออะไรเลย พวกปลาหรือสัตว์น้ำมัน
อาศัยอยู่ได้ และมนุษย์ก็รู้จักจับปลาในธรรมชาติมายาวนานแล้ว ดังนั้น ที่ฟาร์มจะ
ยึดหลักธรรมชาติทั้งสิ้น" คุณเม่งฉ่อง กล่าว

คุณเม่งฉ่องจะใช้แรงงานลากอวนจับปลาบึกขายเกือบทุกๆ สัปดาห์ หรือตามใบสั่ง
ซื้อของลูกค้า เมื่อรู้ว่าปลาเริ่มเบาบางลง คุณเม่งฉ่องจะสั่งซื้อลูกพันธุ์ปลามาปล่อย
เพิ่มเติมลงไป

"ตอนนี้ ผมเลี้ยงปลาบึกเพื่อเป็นการค้าจริงจังมา 4 ปีแล้ว ซึ่งปลาบางตัวมีน้ำหนัก
มากถึง 80 กิโลกรัมแล้ว ผมจะเลี้ยงไปเรื่อยๆ ยิ่งโต ยิ่งดี เพราะว่าตลาดต้องการ
ปลาทุกไซซ์ และการจัดการเลี้ยงหรือโรคภัยไข้เจ็บไม่มีด้วย เพราะฉะนั้นการเลี้ยง
ปลาบึกในความคิดส่วนตัวของผมนั้นไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย"

พันธุ์ปลาที่นำมาปล่อยเลี้ยงนั้น คุณเม่งฉ่อง บอกว่ามีหลายขนาด แต่ถ้าจะให้
ปลอดภัยหรือสามารถปล่อยเลี้ยงในบ่อใหญ่ๆ ได้เลย ก็คือ ขนาดเท่ากับปลาทู ซึ่ง
ราคาซื้อขายพันธุ์ปลาขนาดดังกล่าวอยู่ที่ตัวละ 70-80 บาท

"ผมจะปล่อยเลี้ยง ในอัตรา 1,000 ตัว ต่อไร่ ช่วงแรกยังไม่กินเศษอาหาร ส่วนใหญ่
จะซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปปลาดุกมาหว่านให้กินก่อน เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 หรือ
น้ำหนักตัวได้ครึ่งกิโลกรัม ก็เปลี่ยนอาหารใหม่ โดยให้กินเศษอาหารแทน ซึ่งปลาจะ
ชอบมาก โดยเฉพาะพวกเศษขนมปังและผักต้มกับน้ำก๋วยเตี๋ยวด้วย

"บ่อ 80 ไร่ นั้น ผมจะให้กินอาหารวันละ 400-600 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษ
อาหารเสียมากกว่า ส่วนผักต้มนั้นนานๆ จะให้กินสักครั้ง มันขึ้นอยู่กับความขยันของ
เรา และเศษผักที่เหลืออยู่ตามท้องตลาด"

"บางวันเราก็เอาขนมปังหมดอายุจากโรงงานแถวๆ รังสิต มาให้ปลากิน ซึ่งปลาก็ชอบ
เหมือนกัน แถมให้กินเพียงวันละ 100-200 กิโลกรัม ต่อวัน ก็เพียงพอแล้ว เพราะ
ว่ามันเข้าไปพองในท้อง ทำให้ปลาอิ่ม ไม่เหมือนกับผักหรือเศษอาหาร ต้องให้กิน
มากถึง 1 เท่าตัว แต่ขนมปังนั้นมีข้อเสียอยู่คือ มีปริมาณน้อย และไม่ต่อเนื่อง แตก
ต่างกับเศษอาหารมาก เพราะว่ามีทุกๆ วัน เลยทีเดียว" คุณเม่งฉ่อง กล่าว

เมื่อเลี้ยงปลาได้ปีที่สอง เขาก็เพิ่มปริมาณอาหารเป็น 1,000 กิโลกรัม ต่อวัน และปี
ที่สามก็เพิ่มขึ้นอีก 1,500 กิโลกรัม

"เศษอาหารที่เราขนส่งหรือนำมาให้ปลากินเป็นอาหารนั้น ส่วนใหญ่จะใส่ไว้ภายใน
ถัง 200 ลิตร บรรทุกโดยรถกระบะมาถึงปากบ่อ จากนั้นก็เทใส่ในบ่อเลย ปลาบึกก็
จะว่ายเข้ามากิน และพวกปลาตัวเล็กๆ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน มาเก็บกินเศษ
อาหาร หรือกินปลาบึกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งช่วงแรกผมจะปล่อยลงเลี้ยงรวมกัน โดยมี
อัตรา 1,000 ตัว ต่อไร่ เพื่อไว้เป็นเทศบาลคอยทำความสะอาดภายในบ่อเลี้ยง แต่
เชื่อมั้ยว่าเลี้ยงได้ 1 ปี ปลาพวกนี้ก็จับขายได้ไม่ต่ำกว่า 20 ตัน ต่อปี เลยทีเดียว"
คุณเม่งฉ่อง กล่าว

คุณเม่งฉ่อง บอกว่า ช่วงเวลาให้อาหารที่เหมาะสมก็คือ ตอนกลางวัน หรือตอนบ่ายๆ
หากให้กินช่วงเช้า น้ำภายในบ่อ โดยเฉพาะจุดเทอาหารจะมีสภาพไม่ดี และมีกลิ่น
ด้วย เพราะว่าแสงแดดน้อย ทำให้ไม่สามารถมาฟอกสภาพน้ำได้ดีอย่างเพียงพอ

"ผมมีความสุขกับอาชีพเลี้ยงปลามากเลย เพราะว่าไม่มีเสียงพูด เสียงบ่น ไม่เหมือน
กับเลี้ยงสัตว์อื่นๆ พวกหมู พวกไก่ หากเราไม่ให้อาหารมันก็ร้องเสียงดัง แต่เลี้ยงปลา
นี้ วันไหนไม่ให้อาหารเลี้ยง หรือมีปริมาณน้อย มันก็ไม่ร้องเสียงดังเหมือนสัตว์อื่นๆ
เลย ผมชอบอาชีพนี้มาก และจะทำไปเรื่อยๆ" คุณเม่งฉ่อง กล่าว

และว่า พวกปลาบึกที่เลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่นี้ ก็จะเลี้ยงไปเรื่อยๆ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งดี
เพราะว่าจะได้ปลาตัวใหญ่ไปอีก ซึ่งคิดว่าราคารับซื้อคงจะไม่มีปัญหา เพราะว่า
สามารถตกลงกับผู้รับซื้อก่อนจับได้ หากไม่พอใจ ก็ยังไม่จับขาย

"ปลาบึกนี้มันเจริญเติบโตเร็วมาก ผมคิดว่า หากเลี้ยงถึง 7-8 ปี เราก็อาจได้ผลผลิต
ปลาแต่ละตัวเกือบ 200 กิโลกรัมเลย ซึ่งเวลาจับขายแต่ละครั้งก็ได้เงินมาค่อนข้าง
มาก คุ้มค่ากับการรอคอย อย่างไรก็ตาม ระหว่างเลี้ยงอยู่ ถ้าเราเดือดร้อนเรื่องเงินก็
สามารถจับขายได้เรื่อยๆ แต่ในส่วนของผมตอนนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเงิน ดังนั้น ขึ้น
อยู่กับความพอใจของเราเอง ว่าต้องการราคาเท่าไร ไม่ใช่ว่าให้ใครมากำหนดราคา
ขายของเรา เพราะว่าตลาดรับซื้อผลผลิตของผมมีหลายระดับ ทั้งตลาดสด ร้าน
อาหาร ผู้ส่งออก และบ่อตกปลา ไม่พอใจ ก็ไม่ขาย" คุณเม่งฉ่อง กล่าวทิ้งท้าย

ชวนทัศนศึกษาการเลี้ยงปลาด้วยเศษอาหาร ต้นทุนต่ำ กำไรงาม
ใครสนใจอยากศึกษาการเลี้ยงปลาบึก ปลาสวาย ปลาจะละเม็ด ปลานิล ปลา
ตะเพียน ปลาดุกบิ๊กอุย โดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ และใช้เศษอาหารเลี้ยงเพื่อลดต้นทุน
สูตรง่าย ๆ ของ คุณเม่งฉ่อง นิลพัฒน์ อยู่บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ที่ 10 ตำบลลาดสวาย
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โปรดสอบถามได้ที่โทร. (086) 318-5789 รับ
จำนวนจำกัด

งานนี้คุณเม่งฉ่องบอกว่า ช่วงเช้า เราจะเรียนรู้การเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติทุกชนิด
บริเวณปากบ่อ ช่วงบ่าย จะสาธิตการลากอวนจับปลาบึก และปลาอื่นๆ ส่งขายสู่
ตลาด

จุดประสงค์การท่องเที่ยวครั้งนี้ เพื่อศึกษาการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบต้นทุนต่ำ ซึ่งสามารถ
นำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ทั่วประเทศ รับรองไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร
พลาดไม่ได้ นานๆ มีสักครั้ง


http://www.raidaidd.com/forums/viewthread.php?tid=748


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/01/2011 8:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 17/01/2011 8:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มนุษย์........โหดร้าย..!

ที่อ้างว่า "ฆ่า" เพื่อเป็นอาหารก็ยังพอรับฟังได้ ทั้งที่จริงเราก็ "กิน" โดยไม่
ต้อง "ฆ่า" ก็ได้ เคยมั้ย ? ที่ผู้ถูกฆ่าเหล่านั้นบอกกับมนุษย์ว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็น
อาหารของมนุษย์

แล้วที่ "ฆ่า" แล้วอ้างว่าเป็นกีฬา เพื่อความสนุก เพื่อต้องการเอาชนะ เพื่อ....ฯ

มนุษย์เคยถามแล้วได้คำตอบจากผู้ถูกฆ่าเหล่านั้นหรือไม่ว่า เขาสนุกกับมนุษย์หรือเปล่า ?


หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/01/2011 10:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ล้างสมองปลาบึก.....


เกริ่นกล่าว :
เมื่อครั้งเรียนหลักสูตร "สายลับ ซีไอเอ" ว่าด้วยวิชาล้างสมอง ครูอเมริกันบอก
ว่า รัสเซีย.ล้างสมองหมา โดยวางอาหารไว้ข้างหน้าหมา ในขณะที่หมาหมอบอยู่
หน้าจานอาหาร มองด้วยความอยากกิน แต่ครูฝึกจะไม่ให้มันกินด้วยวิธีการ
ห้ามสารพัดรูปแบบ แม้แต่การตีแรงๆให้หมาเจ็บ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ครูฝึกจะเคาะ
กระดิ่งแล้วเลื่อนจานอาหารให้หมากิน เหมือนอณุญาตให้กินได้แล้ว เมื่อหมาลงมือ
กิน ครูฝึกก็จะเข้าไปปลอบพร้อมกับเล่นกับหมา เหมือนปกติ.....ทำซ้ำอย่างนี้
หลายๆครั้ง ตั้งแต่เป็นหมาตัวเล็กๆ กระทั่งถึงโต หมาจะเกิดความเคยชิน เมื่อหมา
เห็นอาหารในจานจะไม่กิน เพราะถ้าขืนกินจะถูกลงโทษ หมาก็จะจ้องมองอย่างนั้น
จนกระทั่งมีเสียงกระดิ่งดังขึ้น นั่นหมาจึงจะลงมือกิน

กับอีกหลากหลายวิธีการล้างสมอง จากล้างสมองสัตว์ถึงล้างสมองคน โดยมีเป้า
หมาย "ทำศัตรูให้กลายเป็นมิตร" กลับไปทำลายพวกตัวเองตามคำสั่งของรัสเซีย



เข้าเรื่อง.....

ธรรมชาตินิสัยของปลาบึก

..... ปลาบึกช่วงตัวเล็ก มีฟัน กินเนื้อเป็นปลาอาหารหลัก เมื่อโตขึ้นฟันจะหายไป
อาหารที่กินจะเปลี่ยนจากเนื้อเป็นแพลงค์คตอน. หรือตะไคร่ หรือไรน้ำ (เหมือน
ฉลามวาฬ ตัวโตน้ำหนักเป็นร้อยตัน กลับกินแพลงค์ตอน....ปลาตัวใหญ่ที่สุด กิน
อาหารชิ้นเล็กที่สุด)

.... ปลาบึกเป็นปลาใต้น้ำ อยู่และหากินใต้น้ำเป็นส่วนใหญ่ (ไม่มีข้อมูลว่า ปลาบึก
ขึ้นมาผุดบนผิวน้ำเพื่อหายใจหรือไม่)

.... ปลาบึกชอบอยู่ตามหลืบหิน เวิ้งหิน ตะโงกหิน ถ้ำ ใต้น้ำลึกโดยมีน้ำไหลรอบๆบริเวณที่อยู่

.... ฯลฯ


ถ้าจะเลี้ยงปลาบึกไว้ดูเล่น หรือประดับบารมี.....
1. สร้างสระน้ำขนาดใหญ่ (5-10 ไร่) เป็นอย่างน้อย
2. ลึกระหว่าง 1-10 ม. เป็นหย่อมๆ (ลึกน้อย ลึกปานกลาง ลึกมาก)
3. มีหลืบหิน หรือถ้ำ หลายๆขนาด สำหรับให้ปลาบึกเข้าไปอาศัยในบางอารมย์
4. น้ำถ่ายเทได้โดยไหลเข้าต้นทางแล้วออกปลายทาง เพื่อให้น้ำสะอาดและไหลเวียน

ได้ลูกปลามาแล้ว อนุบาลในกระชังขนาดใหญ่สักหน่อย มีร่มบังแดด ระหว่างอนุบาล
ในกระชัง หัดให้ลูกปลากินอาหารเม็ดลอยน้ำ โปรตีนสูง เพื่อเป็นการฝึกให้ปลาขึ้นมา
กินบนผิวน้ำ ให้ปลารู้จักแต่อาหารประเภทนี้ แม้ว่าธรรมชาติปลาบึกจะไม่กินอาหาร
ประเภทนี้ แต่เมื่อมันหิวมันก็ต้องกินตามสัญชาติญานความหิว การฝึกให้กินอาหาร
ผิดประเภท เริ่มจากให้กินครั้งละน้อยๆก่อน ครั้นเมื่อมันรู้แน่ว่านี่คืออาหารที่กินได้มัน
ก็จะกินเองด้วยความเคยชิน

วัตถุประสงค์ของการฝึกให้ปลาบึกกินอาหารลอยน้ำบนผิวน้ำก็เพื่อ เมื่อมันโตแล้ว
มันจะขึ้นมากินอาหารให้เราได้เห็นทุกครั้งนั่นเอง ไม่ใช่ว่า 5 ปี 10 ปี แล้วไม่เคย
โผล่มาให้เห็นเลย อาจจะสงสัย เอ....ยังอยู่หรือเปล่า หรือว่าตายไปแล้วล่ะ

ตั้งแต่ปลายังตัวเล็กๆ อยู่ในกระชัง ก่อนโรยอาหารลงไปให้เคาะระฆังทุกครั้ง สม่ำ
เสมอ เคาะแบบเดิมๆทุกครั้ง เคาะแล้วต้องให้ เพื่อสร้างความเคยชิน

อย่าให้อาหารแบบตรงเวลา น.ประจำ เพราะปลาจะเคยชิน แต่ให้แบบไม่กำหนดเวลา
แน่นอน ให้ครั้งละน้อยๆ อย่าให้ปลาอิ่มจนเกินไป เพื่อให้ปลาหิวทั้งวัน เมื่อคนอยาก
เห็นตัวปลาก็ให้เคาะระฆังแล้วให้อาหาร แบบนี้ก็จะได้ชื่นชมได้ดูตัวปลาทุกเวลาที่
ต้องการได้

เมื่อปลาโตพอสมควร หรือเริ่มคุ้นเคยต่อ "อาหารเม็ดลอยน้ำ + เสียงระฆัง" แน่
แล้ว จึงปล่อยออกสู่สระใหญ่ เมื่อปลาออกสู่สระใหญ่แล้วก็ยังคงให้ "อาหารเม็ด
ลอยน้ำ + เสียงระฆัง" เหมือนเดิม.....ห้าม เคาะแล้วไม่ให้ และห้าม ให้ โดยไม่ได้
เคาะ


สรุป :
ล้างสมองปลาบึก ก็เหมือนกับล้างสมองสัตว์ในคณะละครสัตว์




ลุงคิม (อาชีพเสริม รับจ้างล้างสมองคน) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/01/2011 3:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเลี้ยงปลาบึก

จรัลฟาร์ม" ความสำเร็จการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ตอนที่ 2 แนวทางการเลี้ยงปลาบึกแบบลดต้นทุน

"ปลาบึก" ยังจัดเป็นปลาน้ำจืดยอดนิยมของคนไทยและเป็นปลาที่มีราคาค่อนข้างแพง ในอดีตปลาบึกจะหารับประทานได้ยากมาก เพราะจะจับได้จากธรรมชาติเท่านั้น คือบริเวณแม่น้ำโขง ตั้งแต่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปจนถึง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายรายนำปลาบึกมาเลี้ยงในเชิงการค้ากันมากขึ้น หลายคนเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและทำรายได้ดี ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่? คุณจรัล ไชยองค์การ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นเจ้าของจรัลฟาร์ม เลขที่ 99 หมู่ 8 ต.ดอยงาม อ.พาน จ.เชียงราย 57120 โทร. (053) 677-505, (01) 672-1801 เริ่มเลี้ยงปลาบึกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 และจัดเป็นเกษตรกรรายใหญ่รายหนึ่งที่เริ่มต้นเลี้ยงและมีจำนวนปลาบึกมากที่สุดคือ เริ่มต้นเลี้ยงปลาบึก จำนวน 15,000 ตัว ซึ่งจัดเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาบึกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย พบปัญหาและอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาบึกมีต้นทุนสูงมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุน ความหนาแน่นของปลาบึกที่เลี้ยงในบ่อ และถ้าเกษตรกรรายใดที่เลี้ยงปลาบึกในเชิงการค้าและเลี้ยงเป็นปลาเดี่ยวมีโอกาสที่จะขาดทุนสูงมาก

เริ่มแรก อ.จรัล ไชยองค์การ เลี้ยงปลาบึกในพื้นที่ 20 ไร่ อ.จรัล ได้ซื้อพันธุ์ปลาบึกมาจากกรมประมงครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2534 ปล่อยปลาบึก จำนวน 15,000 ตัว ซึ่งคุณจรัลยอมรับว่าหนาแน่นเกินไป แต่ในขณะนั้นยังคำนวณอัตราการปล่อยที่เหมาะสมไม่ได้ ในระหว่างที่เลี้ยงปลาบึกมีอยู่ปีหนึ่ง อ.จรัล ทดลองให้อาหารปลาบึก จำนวน 15,000 ตัว เพื่อจะเร่งการเจริญเติบโต ได้ให้อาหารไปนาน 6 เดือน พบว่า หมดค่าอาหาร ในการเลี้ยงปลาบึกไปถึง 2 ล้านบาท เห็นว่ากินทุนไปมากและเมื่อไรจะได้ทุนคืน อาจจะกล่าวแบบชาวบ้านได้ว่า ปลาบึกกินไม่รู้จักอิ่ม ในการเลี้ยงปลาบึกครั้งแรกของจรัลฟาร์มในครั้งนั้น อ.จรัล ยอมรับว่าไม่ได้มองในเรื่องของต้นทุนในการผลิต และเป็นการเลี้ยงปลาบึก ในเชิงเดี่ยว มุ่งเน้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของปลาเพื่อจะจับขายได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการฝืนธรรมชาติ นอกจากจะใช้ต้นทุน ในการเลี้ยงสูงแล้ว ยังได้ปลาที่ไม่มีคุณภาพ คือ เนื้อไม่แน่น ต่อมา อ.จรัล จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงการให้อาหาร เน้นการใช้อาหาร จากธรรมชาติเป็นหลักคือ แพลงก์ตอนและมีการใช้วิธีการผสมผสานโดยเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลาเพื่อนำเอามูลไก่นำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ความหนาแน่นที่มีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาบึกควรจะเป็น 50 ตัว ต่อไร่ เท่านั้น และที่สำคัญจะต้องมีการ เลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียน เป็นต้น หลังจากที่เลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลาชนิดอื่นและมุ่งเน้น ให้อาหารจากธรรมชาติเป็นหลักพบว่า จากที่เคยให้อาหารปลาบึกจาก 5% ของน้ำหนักตัวปลา ลดลงเหลือเพียง 1% เท่านั้น อาหาร ที่เหลือจะได้จากแพลงก์ตอน ต้นทุนการผลิตจากที่เคยใช้อาหารเลี้ยงเพียงอย่างเดียว 65 บาท ต่อกิโลกรัม เหลือไม่ถึง 10 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งลดต้นทุนในเรื่องของค่าอาหารไปถึง 5-6 เท่า

เลี้ยงปลาบึกให้ประสบความสำเร็จ จะต้องพึ่งอาหารจากธรรมชาติมากที่สุด อ.จรัล ได้สรุปบทเรียนจากการเลี้ยงปลาบึกจากแรกเริ่มจนถึงปัจจุบันนี้ แนะนำให้เกษตรกรที่จะตัดสินใจเลี้ยงปลาบึกในเชิงการค้า ควรจะมีอาชีพอื่นควบคู่ไปด้วยและเลี้ยงโดยเน้นการให้อาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด และเน้นการให้อาหารสำเร็จรูปให้น้อยที่สุดเช่นกัน นอกจากนั้นแล้ว การเลี้ยงปลาบึกให้ประสบผลสำเร็จจำเป็นต้องมีพื้นที่ในการเลี้ยงมากพอสมควร ปัจจุบันที่จรัลฟาร์มมีบ่อปลาทั้งหมด 30 บ่อ ในพื้นที่ 350 ไร่ ปลาบึก จำนวน 15,000 ตัว จับขายส่งตลาดหมดแล้ว ขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท ขณะนี้มีปลาบึกรุ่นใหม่เหลืออยู่ประมาณ 6,000 ตัว คุณจรัล ยังได้ย้ำว่า ปลาบึกที่จะจับส่งขายยังตลาดควร จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 15 กิโลกรัม ต่อตัว และจะต้องใช้เวลาเลี้ยงอย่างน้อย 5 ปี ปลาบึกที่เร่งเลี้ยงโดยวิธีการขุนอาหารและใช้เวลาเลี้ยงเพียง 3 ปี เนื้อปลาจะไม่แน่น คุณภาพของเนื้อจะไม่ดี ตลาดจะไม่ยอมรับความลึกของบ่อเลี้ยงไม่ควรต่ำกว่า 2 เมตร สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาบึกให้มีประสิทธิภาพ คุณจรัล บอกว่า นอกจากจะต้องมีพื้นที่เลี้ยงมาก พอสมควรแล้ว ความลึกของบ่อถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะต่ำกว่า 2 เมตร และจากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า บ่อปลาบึกของจรัลฟาร์มจะเน้นการเลี้ยงโดยใช้อาหารธรรมชาติเป็นหลักคือ แพลงก์ตอน ดังนั้น จึงมีการเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลาโดยใช้อัตราการเลี้ยงไก่ไข่ 1 เล้า ต่อการเลี้ยงปลา 2-3 บ่อ และระบบถ่ายเทน้ำสำหรับบ่อปลาในแต่ละบ่อค่อนข้างดี ที่จรัลฟาร์มจะมี เครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ใช้เป็นระบบน้ำวน และจะมีบ่อที่ขุดว่างไว้ ประมาณ 50 ไร่ สำหรับการเลี้ยงปลาบึกในเชิงการค้านั้นควร จะใช้เครื่องตีน้ำ (ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง) ช่วยด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปลาบึกจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทานมาก และนี่เป็นข้อดีประการหนึ่งของปลาบึก ความทนทานมีมากกว่าปลาสวาย ปลานิล ฯลฯ ถ้าน้ำในบ่อเลี้ยงปลาบึกที่เลี้ยงร่วมกับปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียน เป็นต้น มีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอและถึงจุดที่ปลาจะต้องตาย ปลาตะเพียน ปลาไน และปลานิล จะต้องตายก่อน ดังนั้น เมื่อเกิดสภาพน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงจะพบปลาตะเพียนและปลาไนเริ่มตายหรือมีอาการลอยหัวในช่วงเช้า แสดงว่าน้ำในบ่อได้เกิดปัญหาเน่าเสียแล้ว ปริมาณของออกซิเจนไม่เพียงพอแล้ว จะต้องเร่งแก้ไขทันทีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงปลาบึกในเชิงการค้า อ.จรัล บอกว่า เกษตรกรที่เลี้ยงปลาบึกส่วนใหญ่มัก ไม่มองเรื่องการตลาดควบคู่ไปด้วย ว่าเมื่อเลี้ยงแล้วจะจับขายอย่างไรและขายที่ไหน เกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงปลาบึกจะต้องมีการเตรียมการในเรื่องนี้ไว้ให้ดีควบคู่ไปด้วย เนื่องจากในการจับปลาบึกขายในแต่ละครั้งไม่ได้มีการจับปลาหมดทั้งบ่อในครั้งเดียว จะต้องทยอยจับทีละไม่กี่ตัว จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดการทางด้านการขายปลาบึกที่ดี

ที่จรัลฟาร์มเคยมีบทเรียนในขณะที่จะย้ายปลาบึกจากบ่อหนึ่งเพื่อนำไปเลี้ยงอีกบ่อหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความหนาแน่นของบ่อและคัดขนาดของปลาควบคู่ไปด้วย เริ่มต้นจากการลดระดับน้ำในบ่อเพื่อจะได้จับปลาบึกได้ง่ายขึ้น จากการที่บ่อที่เลี้ยงปลาบึกมีขนาดใหญ่มาก ทำให้การจับปลาบึกมีความยุ่งยากมาก และพบว่าในการย้ายปลาบึกในครั้งนั้น ในเวลาเพียงวันเดียวปลาบึกตายไป จำนวน 300 ตัว ทำให้ อ.จรัล จะต้องค้นหาวิธีการจับปลาบึกด้วยวิธีใหม่ เพื่อให้ปลาบึกมีการตายน้อยที่สุด จึงได้มีการพัฒนาการจับปลาบึกใน รูปแบบใหม่ด้วยการทำโป๊ะไว้ในบ่อเลี้ยงปลาบึกใช้ไม้สาน เมื่อถึงเวลาจะจับปลาในแต่ละครั้งจะใช้อวนลากยาว ใช้รถอีแต๋นลาก จะต้อนปลาบึกส่วนหนึ่งเข้าไปในโป๊ะที่ได้จัดเตรียมไว้ และจับปลาบึกที่อยู่ในโป๊ะขึ้นมาขายลดความเสียหายไปได้มาก อ.จรัล ได้ย้ำว่า ในการค้นหาวิธีการนั้น "ได้ใช้วิธีการทั้งแรงงาน เงินทุน ความคิด ในเรื่องของการจับปลาบึกมาก" เนื่องจากในขณะนั้นไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจริง ๆ

อ.จรัล ไชยองค์การ ได้คำนวณค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลานิลควบคู่กับปลาบึกที่เลี้ยงในบ่อเดียวกันและจะเลี้ยงอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด ปลานิล พื้นที่ 1 ไร่ ปล่อยปลานิล จำนวน 4,000 ตัว เลี้ยงไป 1 ปี ได้น้ำหนัก 1,333 กิโลกรัม (น้ำหนักปลานิลที่จับได้เฉลี่ย 3 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม ขายปลานิลได้ราคากิโลกรัมละ 28 บาท ในเวลา 1 ปี จะมีรายได้ในการเลี้ยงปลานิลเป็นเงิน 37,300 บาท (ในพื้นที่ 1 ไร่) อาหารที่ใช้เลี้ยงในเวลา 1 ปี คิดเป็นเงิน 24,000 บาท (ให้อาหาร 1% ของน้ำหนักตัวปลา และเป็นอาหารปลากินพืชซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 10 บาท) หักค่าพันธุ์ปลานิล จำนวน 4,000 ตัว ตัวละ 30 สตางค์ คิดเป็นเงิน 1,200 บาท เหลือเป็นกำไรจากการเลี้ยงปลานิลเป็น เงิน 12,100 บาท ต่อพื้นที่เลี้ยง 1 ไร่ ในเวลา 1 ปี ปลาบึก พื้นที่ 1 ไร่ ปล่อยปลาบึก จำนวน 50 ตัว เลี้ยงไป 1 ปี ได้น้ำหนัก 750 กิโลกรัม (น้ำหนักปลาบึกที่จับขายตัวละ 15 กิโลกรัม ขายปลาบึกได้ราคากิโลกรัมละ 100 บาท เลี้ย ไปนาน 5 ปี จึงจะจับขายได้ เมื่อครบ 5 ปี จะได้เงินจากการจับปลาบึกขาย 75,000 บาท

ดังนั้น เมื่อคิดเป็นแต่ละปีจะมีรายได้จากการเลี้ยงปลาบึกเป็นเงิน 15,000 บาท ค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงในเวลา 1 ปี คิดเป็นเงิน 2,737 บาท (ให้อาหาร 1% ของน้ำหนักตัวปลา และเป็นอาหารปลากินพืช ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 10 บาท) หักค่าพันธุ์ปลาบึก จำนวน 50 ตัว ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ราคาตัวละ 80 บาท เลี้ยงนาน 5 ปี คิดเป็นค่าพันธุ์ปลาบึกในแต่ละปีเป็นเงิน 800 บาท เหลือเป็นกำไรจากการเลี้ยงปลาบึกเป็นเงิน 11,463 บาท ต่อพื้นที่เลี้ยง 1 ไร่ ในเวลา 1 ปี

ในภาพรวมของการเลี้ยงปลาบึกในขณะนี้ ในอดีตพันธุ์ปลาบึกยังมีอยู่จำนวนจำกัด เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้จากแม่พันธุ์ปลาบึกที่จับได้จากธรรมชาติเท่านั้น และจะต้องรอลูกปลาบึกที่ได้ จากการผสมพันธุ์จากแม่พันธุ์ปลาบึกที่จับได้จากธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งบางปีอาจจะจับไม่ได้เลย เท่ากับว่าในปีนั้นจะไม่มีลูกพันธุ์ปลาบึก

ขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีที่กรมประมงได้ประสบ ความสำเร็จในการนำแม่พันธุ์ปลาบึกที่เลี้ยงไว้นำมาเป็นแม่พันธุ์เพื่อใช้ในการผสมเทียมได้ และเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้นับแสนตัวใน ปี พ.ศ. 2544 และเป็นความสำเร็จแห่งแรกของโลก ทำให้ต่อไปในอนาคตปัญหาเรื่องลูกพันธุ์ปลาบึกที่จะนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเลี้ยงหมดไปและไม่ต้องพึ่งแม่พันธุ์ปลาบึกที่จับได้จากธรรมชาติ การเลี้ยงปลาบึกในเชิงการค้าจะใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ถึงแม้ทางกรมประมงจะประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกโดยใช้แม่พันธุ์ปลาบึกที่เลี้ยงไว้ แต่ในการเลี้ยงปลาบึกใน เชิงการค้ามีความจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเนื้อที่เลี้ยงจะต้องใช้มากพอสมควร อีกทั้งจะต้องมีระบบของการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงพบว่าเกษตรกรที่ เลี้ยงปลาบึกจึงเป็นเกษตรกรที่มีฐานะพอสมควร สำหรับปลาบึกที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงและมีการจับขายกันอยู่ในขณะนี้ พบว่าส่วนหนึ่งเป็นปลาบึกที่ด้อยคุณภาพ มีกลิ่นสาป

นอกจากนั้น ยังพบว่า มีการย้อมแมวขาย โดยเอาปลาบิ๊กหวาย มาขายเป็นปลาบึก จะต้องยอมรับว่าผู้บริโภคทั้งคนไทยและชาวต่างชาติอีกเป็นจำนวนมากไม่รู้จักปลาบึก และการให้อาหารเพื่อเร่งการเจริญเติบโตเพื่อที่จะจับปลาได้เร็วขึ้น มีผลทำให้คุณภาพของเนื้อปลาไม่แน่น เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัญหาทางด้านของการตลาดปลาบึกในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน อ.จรัล ไชยองค์การ พยายามชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงปลาบึกให้มีกำไรและมีความยั่งยืนนั้น จะต้องเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นและมุ่งเน้นการใช้อาหารธรรมชาติเป็นหลัก และที่สำคัญยิ่งผู้เลี้ยงอย่าหวังผลกำไรมากกว่าที่ควร จะเป็นโดยคิดเพียงแต่ว่าปลาบึกเป็นปลาที่มีราคาค่อนข้างแพงและหายาก จะทำให้มีกำไรมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุน ในการผลิตและระยะเวลาในการเลี้ยงที่ยาวนานกว่าการเลี้ยงปลาน้ำจืดชนิดอื่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกษตรกรหลายรายมักจะมองข้ามโดยไม่มีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจ เลี้ยง


"เมล็ดมะเขือเจ้าพระยา" (มะเขือเปราะ) ให้ผลผลิตดกมาก มีแจกฟรี เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 4 บาท ส่งมาขอฟรีได้ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถ.ศรีมาลา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, 650-145 และ (01) 886-7398 ผู้เขียน ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

ผู้เขียน ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
ข้อมูลจาก เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 271 ]


การเลี้ยงปลาบึก
เพาะพันธุ์ปลาบึกจากบ่อดิน กรมประมงทำได้หนึ่งเดียวในโลก เอ่ยชื่อ "ปลาบึก" ทุกคนคงรู้จักกันดี ด้วยว่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ข่าวปลาชนิดนี้ออกตีพิมพ์และออกอากาศทางโทรทัศน์บ่อยครั้ง เริ่มตั้งแต่ชาวบ้านจับปลาขนาดใหญ่น้ำหนักเกือบ 200 กิโลกรัม ในแม่น้ำโขง จากนั้น เมื่อ ปี 2526 กรมประมง ร่วมกับชาวบ้านออกไล่ปลาชนิดนี้เพื่อมารีดไข่เพาะขยายพันธุ์ และประสบความสำเร็จ กลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก

ลูกปลาบึกที่ได้จากพ่อแม่ปลาธรรมชาติ กรมประมงนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เขื่อน และให้ชาวบ้านที่สนใจอีกส่วนหนึ่งทดลองเลี้ยงในบ่อดินตามสถานีและศูนย์ประมงต่าง ๆ รวมแล้วนับล้านตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาถึงการเจริญเติบโต และการเลี้ยงปลาจากบ่อดินให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ รวมทั้งขั้นตอนเพาะขยายพันธุ์พ่อแม่ปลาจากบ่อเลี้ยง เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาบึกสูญพันธุ์นั่นเอง นอกจากไม่ให้ปลาสูญพันธุ์แล้ว ยังต้องการให้ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์เศรษฐกิจด้วย 17 ปี ที่กรมประมงได้พยายามศึกษาและเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของลูกปลาบึกในบ่อดิน จนปลาเข้าสู่วัยรุ่น และวัยเจริญพันธุ์ ในที่สุดเมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2544 คุณยงยุทธ อุนากรสวัสดิ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา พร้อมคณะ และ ดร.โกมุท อุ่นศรี หัวหน้าศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ พร้อมคณะ สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาบึกจากบ่อเลี้ยงได้ผลสำเร็จ ต้นเดือนกรกฎาคม 2544 คุณธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง ได้เปิดห้องประชุม ชั้น 7 ตึกกรมประมง แถลงข่าวครั้งใหญ่ถึงความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่เพาะพันธุ์ปลาบึกได้ และเป็นความสำเร็จที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของโลก

เนื่องจากปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและใกล้สูญพันธุ์ ความสำเร็จในครั้งนี้จึงเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมของประชากรทั่วโลก นอกจากเป็นการดำรงความหลากหลายทางธรรมชาติแล้ว ยังสร้างแหล่งอาหารของโลก เพราะว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดใหญ่ที่บริโภคได้ ซึ่งให้ปริมาณเนื้อมาก ในแง่เศรษฐกิจประเทศไทยจะได้สัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ พร้อมกับกล่าวว่า "ปลาบึกที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในครั้งนี้ เป็นปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา จำนวน 1 แม่ สามารถรีดไข่ได้น้ำหนัก 1,200 กรัม เป็นไข่ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ผสมน้ำเชื้อได้ลูกปลาวัยอ่อน จำนวน 350,000 ตัว และที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ ได้ลูกปลาวัยอ่อนอีก 5,000 ตัว จากแม่ปลา 1 ตัว สาเหตุที่ได้ลูกปลาจำนวนน้อยกว่า เนื่องจากที่เชียงใหม่ไม่มีน้ำเชื้อของพ่อปลาจึงต้องนำน้ำเชื้อจากพะเยา ทำให้ประสิทธิภาพของน้ำเชื้อที่นำมาผสมลดลง"

เสน่ห์ ผลประสิทธิ์ บิดาแห่งปลาบึก เบื้องหลังแรกแห่งความสำเร็จดังกล่าว ต้องขอยกนิ้วให้กับ คุณเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรประมง กรมประมง ด้วยว่าท่านได้เป็นคนริเริ่มศึกษาปลาบึกตั้งแต่ตามไล่พ่อแม่ปลาในแม่น้ำโขงรุ่นแรก และศึกษาอย่างต่อเนื่อง เกือบ 20 ปี แม้ว่าปัจจุบันนี้มีหน่วยงานของกรมประมงหลายแห่งได้ช่วยกันศึกษา แต่ทว่าอยู่ภายใต้การดูแลของท่านอย่างใกล้ชิด และติดตามผลงานตลอด ไม่แปลกประหลาดใจเลยที่ คุณธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง ประกาศว่า คุณเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ เป็นบิดาแห่งปลาบึกของโลก "เรื่องของเรื่องไม่ใช่ว่าเกิดจากผมอยากทำ แต่สมัยนั้น อธิบดีกรมประมง ชื่อ นาวาโท ฉวาก เจริญผล ท่านเป็นทหารเรือเก่า ท่านได้ไปตรวจราชการทางภาคเหนือ แล้วได้ทราบเรื่องว่าปลาบึกมันลดจำนวนลงทุกที ปีหนึ่งจับได้ไม่ถึง 10 ตัว ท่านก็เลยสั่งให้ผมเพาะปลาบึกให้ได้ ซึ่งตอนที่ท่านสั่งผมยังไม่เคยเห็นหน้าปลาบึกเลย ปี 2524 เรารับคำสั่งแล้วก็ต้องทำ ก็คิดหาทางว่าจะไปหาปลาบึกที่ไหนมาเพาะ ถ้าได้มาแล้วจะเพาะอย่างไร ก็ออกประกาศวิทยุ ติดประกาศตามหมู่บ้านแม่น้ำโขง แถวเชียงแสนแต่ไปไม่ถึงเชียงของ เพราะสมัยนั้นยังไม่ได้ราดยาง ก็จนกระทั่งมีลุงคนหนึ่งชื่อ ลุงธงชัย แสงเพชร แกมาซื้อลูกปลาที่สถานีประมง แล้วแกบอกว่ามาจากเชียงของ เราก็ลองคุยดูว่าแถวนั้นมีปลาบึกไหม ลุงแกบอกว่าที่เชียงของเขาจับปลาบึกกันทุกปี เราก็ชักมีความหวัง ก็ถามรายละเอียดแกว่า เขาจับปลาบึกกันอย่างไง และเมื่อไร" คุณเสน่ห์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นและอุปสรรคในการทำงานเพาะพันธุ์ปลาบึก พร้อมเล่าต่อไปว่า "จนกระทั่งได้เวลาจับปลาของชาวบ้าน เราก็ติดต่อไป ไปตีสนิทกับพวกชาวประมง แล้วก็บอกว่า ถ้าได้ปลาบึกดี ๆ เราจะขอซื้อนะ เค้าก็ตกลง ใช้ความพยายามอยู่ 2 ปี ยังไม่ได้เรื่องเลย เพราะว่าปลาบึกที่ซื้อมาส่วนใหญ่ตาย แต่เมื่อผ่าท้องดูมันมีไข่ เราก็มีความหวัง ปี 2526 เป็นปีที่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเราก็เตรียมงานไว้อย่างดี ได้เงินงบประมาณมา 1 แสนบาท ทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น แล้วก็เพาะได้ ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมน

จากนั้นทำติดต่อกันมาเรื่อย ๆ โดยใช้พ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำโขง คิดว่าในเมืองไทยมีลูกปลาบึกนับล้านตัวแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์จากพ่อแม่ปลาในบ่อเลี้ยง" เขาบอกว่า ลูกปลาบึกที่เพาะพันธุ์จากพ่อแม่ปลาแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่จะปล่อยลงไปเลี้ยงตามเขื่อนเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเท่าที่ตรวจดูพบว่า เจริญเติบโตดีมาก "ในเขื่อนสิริกิต์ เมื่อ 4-5 ปี ที่แล้ว ผมเคยขึ้นไปดูเขาจับปลาบึกตัวหนึ่งหนัก 160 กิโลกรัม เมื่อเราไปผ่าท้องดูพบว่า มันมีไข่ แต่รังไข่มันยังไม่พัฒนามากนักตอนนั้น คิดว่าตอนนี้คงจะขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติได้บ้างแล้ว ซึ่งในเขื่อนสิริกิติ์ผมไปเช็กสถิติจากสำนักงานประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ เขาบันทึกไว้ดีทีเดียว ปรากฏว่ารวม ๆ กันในทุก ๆ ปีที่เขื่อนสิริกิติ์มีการปล่อยปลาบึกไป ประมาณ 55,000 ตัว แล้วคิดดูว่าในบ้านเรากรมประมงปล่อยปลาบึกทุก ๆ เขื่อน นับตั้งแต่เขื่อนภูมิพลไล่ลงมา จำนวนก็ไม่หนีห่างกันเท่าไร คิดว่ารวม ๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัว แน่นอน" คุณเสน่ห์ กล่าว

เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึกในบ่อดิน คุณเสน่ห์ เล่าว่า นอกจากเราปล่อยพันธุ์ปลาบึกลงในเขื่อนเก็บน้ำต่าง ๆ แล้ว ลูกปลาส่วนหนึ่งได้นำมาเลี้ยงในบ่อดิน เพื่อการศึกษาทางวิชาการในการเพาะขยายพันธุ์รุ่นลูกต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก ๆ ประสบกับปัญหาด้านงบประมาณสนับสนุน แต่ใน ปี 2532 สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ให้งบประมาณมา 4 ล้านบาท เพื่อทำโครงการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึกในบ่อดิน และโครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาบึกด้วย "โครงการดังกล่าว ให้ระยะเวลาดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 4 ปี ปราฏว่า ไม่ประสบความสำเร็จสักเรื่องหนึ่ง เพราะว่าเลี้ยงปลา 60 ตัว ภายใน 4 ปี ปลาไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ แม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดไป แต่เราก็ไม่ทิ้ง ก็ดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ โดยใช้งบประมาณปกติของกรมประมง จนมาถึงยุคอธิบดีคนปัจจุบัน คุณธำมรงค์ ประกอบบุญ ท่านได้เรียกผมเข้าไปคุยแล้วบอกว่า ต้องทำโครงการเลี้ยงปลาบึกให้ประสบความสำเร็จ และได้จัดงบประมาณสนับสนุนมาให้ เราจึงเดินหน้าอย่างเต็มที่ ประกอบกับปลาเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จึงประสบความสำเร็จ" คุณเสน่ห์ กล่าว

สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินนั้นเขาจะใช้ระดับน้ำลึก ประมาณ 1 เมตรครึ่ง และปล่อยเลี้ยงในอัตราหนาแน่น 5-10 ตัว ต่อไร่ "ช่วงปลายังไม่ถึงฤดูเพาะพันธุ์เราเปลี่ยนถ่ายน้ำ 2 อาทิตย์ ต่อหนึ่งครั้ง แต่พอใกล้ ๆ ถึงช่วงผสมพันธุ์จะถ่ายน้ำให้ถี่ขึ้น จาก 2 อาทิตย์ครั้ง ก็เป็นอาทิตย์ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พ่อแม่ปลาอยากผสมพันธุ์วางไข่" "เดือนมิถุนายน เป็นเดือนที่ปลาบึกในบ่อเลี้ยงไข่แก่มากที่สุด แต่ในธรรมชาติจะเร็วกว่านี้ ราว ๆ กลางเดือนพฤษภาคม เพราะว่ามีความสมบูรณ์กว่า" คุณเสน่ห์ บอกว่า สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ได้เริ่มทดลองเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึก จำนวน 30 ตัว ในบ่อขนาด 2 ไร่ จำนวน 3 บ่อ โดยแบ่งเลี้ยงบ่อละ 10 ตัว ซึ่งเราวางแผนการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 โดยล้างบ่อเตรียมบ่อใหม่ และเปลี่ยนถ่ายน้ำ 1 ใน 3 ส่วน ทุก 2 สัปดาห์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2543-มีนาคม 2544 และเปลี่ยนถ่ายน้ำร้อยละ 50 ทุกสัปดาห์ ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2544 ส่วนอาหารนั้นจะให้กินอาหารผสมเอง โปรตีนไม่ต่ำกว่า 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ปลาป่น 56 เปอร์เซ็นต์ กากถั่วเหลืองและรำละเอียด อย่างละ 12 เปอร์เซ็นต์ ปลายข้าว 15 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันตับปลา 4 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและแร่ธาตุ 1 เปอร์เซ็นต์ โดยให้กินแต่ละครั้งร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวปลา

ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นความพร้อมพ่อแม่พันธุ์ปลาบึก เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์พ่อแม่ปลาบึกที่อยู่ในบ่อดินก็ถูกจับขึ้นมาตรวจความพร้อมไข่และน้ำเชื้อ ปรากฏว่า ที่พะเยาและเชียงใหม่มีแม่พันธุ์ที่ไข่แก่พร้อมที่จะฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการออกไข่ รวมแล้ว 10 ตัว แต่ที่ประสบความสำเร็จมีเพียง 2 ตัว เท่านั้น เนื่องจากมีประสบการณ์น้อย อีกทั้งปลาบึก เป็นปลาขนาดใหญ่ ทำให้ขั้นตอนการจับมาตรวจไข่ค่อนข้างบอบช้ำและการจัดการลำบากมากด้วย ปลาบึกเพศเมียที่ฉีดไข่ประสบความสำเร็จที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา มีน้ำหนัก 54 กิโลกรัม ด้วยฉีดฮอร์โมนเข็มที่ 1 เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2544 เวลา 18.30 น. โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRHa 10 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับ Domperidone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ทิ้งระยะห่าง 8 ชั่วโมง ฉีดฮอร์โมนเข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2544 เวลา 02.30 น. โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRHa 20 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับ Domperidone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของไข่ช่วงบ่ายแก่ ๆ ซึ่งสามารถรีดไข่ได้น้ำหนัก ประมาณ 1,200 กรัม "ปลาบึกเพศผู้นั้นไม่ค่อยมีปัญหาในการรีดน้ำเชื้อมากนัก ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ เพราะว่ามีความสมบูรณ์เพศอยู่แล้ว เพียงแต่ฉีดฮอร์โมน เข็มที่ 1 เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2544 เวลา 14.00 น. โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRHa 10 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับ Domperidone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม ทิ้งระยะห่าง 3 ชั่วโมง 20 นาที เมื่อเวลา 17.20 น. ฉีดเข็มที่ 2 โดยใช้ต่อมใต้สมอง 1 โด๊ส ตรวจสอบน้ำเชื้อเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2544 เวลา 15.50 น. สามารถรีดน้ำเชื้อได้ มีคุณภาพดีมาก" นำไข่ของแม่ปลาที่รีดได้ผสมกับน้ำเชื้อโดยรีดน้ำเชื้อปลาบึกเพศผู้ลงบนไข่ ใช้ขนไก่คนไข่และน้ำเชื้อผสมกันตามวิธีการผสมเทียมแบบแห้ง แบ่งไข่เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ล้างด้วยน้ำเกลือแล้วนำไปฟักไข่ในถังไฟเบอร์และบ่อซีเมนต์ และส่วนที่ 2 ล้างด้วยน้ำโคลน นำไปฟักในกรวยฟักไข่เหมือนกับการฟักไข่ปลานิล "ไข่ปลาบึกที่รีดได้จากแม่ปลา จำนวน 1,200 กรัม น้ำหนักไข่ 1 กรัม มีไข่ปลา 656 ฟอง ได้ไข่ปลาบึกทั้งหมด 787,200 ฟอง ไข่ที่ได้รับการผสมทั้งหมด 380,060 ฟอง คิดเป็น 48.28 เปอร์เซ็นต์ ได้ลูกปลาฟักออกเป็นตัวทั้งหมด 330,255 ตัว คิดเป็น 86.89 เปอร์เซ็นต์" คุณเสน่ห์ กล่าว

ไข่ปลาบึก เริ่มฟักออกเป็นตัว เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2544 เวลา 21.00 น. ใช้เวลาทั้งหมด 28 ชั่วโมง "ไข่ปลาบึกเมื่อรีดจากท้องแม่ปลามีขนาด 1.4-1.6 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนใส เปลือกไข่มีสารเหนียวใช้ยึดติดกับวัสดุ เมื่อไข่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อจะพองตัวออกเล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไป 25 นาที จะเริ่มเห็นเซลล์ 1 เซลล์ หลังจากนั้น จะแบ่งเซลล์ไปเรื่อย ๆ เมื่อพัฒนามาถึงระยะ Late Gastrula ใช้เวลา 10 ชั่วโมง 30 นาที ระยะนี้บลาสโตพอร์จะปิด ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเสียหมด ไข่พัฒนามาถึงระยะ Hatch out ใช้เวลา 28 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26.8-27 องศาเซลเซียส ลูกปลามีความยาว 3.5 มิลลิเมตร" ลูกปลาบึกอายุ 2 ชั่วโมง โยล์คมีขนาดใหญ่ โดยมีส่วนหัวแนบติดอยู่ ลูกปลาอายุ 12 ชั่วโมง โยล์คเริ่มยุบ เริ่มมองเห็นหนวดคู่แรก ลูกปลาอายุ 1 วัน มองเห็นหนวดคู่ที่ 2 ลูกปลาอายุ 2 วัน ปากเริ่มขยับปิด-เปิด มองเห็นฟันจำนวนมาก โยล์คยุบเกือบหมด ลูกปลาอายุ 3 วัน ปากเปิดกว้างเต็มที่ โยล์คยุบลงจนหมด


การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน คุณยงยุทธ อุนากรสวัสดิ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา อธิบายเสริมในการอนุบาลลูกปลาว่า เราเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนนี้ไว้ในถังไฟเบอร์กลาส ถังละ 30,000 ตัว จำนวน 10 ถัง เมื่อลูกปลามีอายุ 6 วัน มีขนาดความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นนำลงเลี้ยงในบ่อดินขนาด 2 งาน บ่อละ 25,000 ตัว คุณเสน่ห์ กล่าวถึงการให้อาหารลูกปลาวัยอ่อนว่า "ตอนแรกเรายังไม่เคยมีความรู้เลย เพราะไม่มีใครเขียนตำราการเลี้ยงปลาบึกให้เราอ่าน เราก็เตรียมไว้สารพัดเลย ไรแดงก็เตรียม ไข่แดงต้มก็เตรียม แล้วก็อาร์ทีเมียที่เขาเอามาทำเป็นแผ่นแดง ๆ เอามาบดให้ละเอียด ก็อุตส่าห์ซื้อมาแพงก็แพง ท้ายที่สุดมันก็ชอบกินไรแดง ก็กินไรแดงอยู่เป็นสิบวัน จึงเสริมอาหารลูกปลาดุก หรืออาหารที่มีโปรตีนสูง ๆ หลังจากนั้น พอมันโตขึ้นก็เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกธรรมดา หรือพวกอาหารปลากินพืชก็ได้" งานเพาะพันธุ์ปลาบึกในบ่อดินเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาปลาบึกให้ปลาเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้นี้

ในขณะที่ คุณธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กำลังดำเนินการจดสิทธิบัตรอยู่ และเตรียมรายงานให้ "ไซเตส" ซึ่งเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการค้า ระหว่างประเทศ ที่ห้ามทำการค้าขายสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ทราบว่า ขณะนี้ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกรุ่นหลานได้แล้ว เพื่อประเทศไทยสามารถส่งออกปลาบึกไปขายยังตลาดต่างประเทศได้ โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งนิยมบริโภคปลาบึกกันมาก "ขั้นตอนต่อไปเราจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงเป็น สัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ได้ เพราะเป็นปลาโตเร็ว มีเนื้อมาก ขายได้ราคาดี ราคาที่ขายอยู่ในท้องตลาดภายในประเทศขณะนี้ กิโลกรัมละ ประมาณ 200-300 บาท ส่วนไขมันของปลาก็สามารถนำมาทำเครื่องสำอางได้อีกด้วย" คุณธำมรงค์ กล่าวทิ้งท้าย


ผู้เขียน ศุภชัย นิลวานิช
ข้อมูลจาก เทคโนโลยีชาวบ้าน

http://poothai.bravehost.com/plab.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©