-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เบญจมาส - ริลลี่.....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เบญจมาส - ริลลี่.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เบญจมาส - ริลลี่.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/01/2011 6:56 pm    ชื่อกระทู้: เบญจมาส - ริลลี่..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เบญจมาส......





























การปลูกภายใต้โรงเรือน
จะช่วยลดการเกิดโรคและความเสียหายอันเกิดจากความ ผิดปกติของธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามหากเป็นการปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความสูงน้อยกว่า 1,000 เมตร ควร
คำนึงถึงการระบายอากาศที่ดี เพื่อป้องกันการสะสมของความร้อนจาก การใช้หลังคา
พลาสติกดังกล่าว โดยมีหลักกว้างๆว่ายิ่งอากาศร้อนเท่าใด โรงเรือนควร จะ สูงขึ้น
มากเท่านั้นความสูงที่เหมาะสมจะประมาณ 4 เมตร และควรออกแบบให้โรงเรือน มี
ช่องระบายความร้อน ควรเปลี่ยนพลาสติกใหม่เมื่อพลาสติกเดิมเสื่อมคุณภาพจน
เกิด สีขุ่นมัว เพราะ จะทำให้ การสังเคราะห์แสงลดลงอย่างมาก



การให้แสงเบญจมาศ

การควบคุมการออกดอกของเบญจมาศ
พันธุ์เบญจมาศที่ปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่เป็นพืชวันสั้นตามทฤษฎี หมายถึง เมื่อ
กลางวันสั้นกว่า 14.5 ชั่วโมง เบญจมาศจะเริ่มสร้างตาดอก แต่ดอกจะพัฒนาเป็น
ดอกที่ สมบูรณ์ได้ต้องมีช่วงวันสั้นกว่า 13.4 ชั่งโมง ดังนั้นหากปลูกเบญจมาศใน
ช่วงวันสั้น เบญจมาศจะออกดอกเร็ว หรือให้ดอกเมื่อต้นยังเล็กอยู่ ส่วนเมื่อกลางวัน
ยาวกว่า 14.5 ชั่วโมง เบญจมาศจะไม่สร้างดอกหรือให้ดอกที่ผิดปกติ (เกิดตาดอก
แต่ดอกไม่พัฒนาต่อ หรือเรียกว่าดอกวันยาว) ดังนั้นเกษตรกรจึงใช้การบังคับช่วง
วัน ให้เบญจมาศสร้างดอกเมื่อต้องการได้ตลอดทั้งปี

การบังคับไม่ให้เบญจมาศสร้างดอก
ในทางปฏิบัติการบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอกก่อนกำหนด จะต้องให้แสงไฟช่วง
กลางคืนหากกลางวันสั้นกว่า 16 ชั่วโมง แต่เนื่องจากประเทศไทยมีช่วงกลางวันสั้น
กว่า 16 ชั่งโมง ตลอดทั้งปี จึงจำเป็นต้องให้แสงช่วงกลางคืนแก่เบญจมาศตลอดทั้ง
ปี ระยะเวลาการให้แสงยึดหลักให้มีช่วงมืดไม่เกิน 4 ชั่วโมง เช่น ช่วงที่มีแสงตั้งแต่
6.00 ถึง 18.00 นาฬิกา จะเริ่มให้แสงช่วงกลางคืน เวลา 22.00 ถึง 2.00
นาฬิกา เป็นต้น ปริมาณแสงที่ให้ 80-100 ลักซ์ (LUX ) ที่ระดับแปลง โดยติดตั้ง
ระบบหลอดไฟ 2 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของกระแสไฟด้วย ดังนั้นจึง
ควรตรวจวัดความเข้มของแสงด้วยอุปกรณ์วัดแสงเพื่อให้มั่นใจว่าเบญจมาศได้ รับ
แสงอย่างถูกต้อง และไม่ออกดอกก่อนกำหนด

การบังคับให้เบญจมาศสร้างดอก
ในทางปฏิบัติการบังคับเบญจมาศสร้างและพัฒนาตาดอกที่สมบูรณ์ จะต้องให้ช่วง
วันสั้นกว่า 13 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่ต้นสูง 30 เซนติเมตร ถึงระยะที่ดอกเริ่มเห็นสี
(ประมาณ 5 สัปดาห์) ซึ่งช่วงวันสั้นนี้เริ่มจากปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือน
มีนาคม (ข้อมูลเฉพาะพื้นที่ สามารถสอบถาม ได้จาก กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุ
นิยมวิทยา) ดังนั้นในช่วงเดือนเหล่านี้จะสามารถบังคับให้เบญจมาศสร้างและพัฒนา
ดอกโดยธรรม ชาติโดยงดให้แสงไฟช่วงกลางคืน (การผลิตในฤดู) ส่วนการบังคับ
เบญจมาศสร้างและ พัฒนาตาดอกขณะที่ช่วงวันยาวกว่า 13 ชั่วโมง หรือช่วงฤดู
ร้อน (มีนาคม ถึง กันยายน) ทำโดยใช้ผ้าดำหรือพลาสติกดำคลุมแปลงปลูก
เบญจมาศ ให้มีช่วงมืด 13 ชั่วโมง เช่น คลุมผ้าดำเวลา 18.00 นาฬิกา และเปิดผ้า
ดำเวลา 7.00นาฬิกา ปัญหาของการคลุมผ้าดำ คือ การสะสมความร้อนระหว่างคลุม
ทำให้อุณหภูมิสูง ดอกที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ และผ้าดำที่ไม่มืดสนิทเนื่องจากรอยรั่ว
หรือคุณภาพของวัสดุ ทำให้เบญจมาศสร้างดอกไม่สม่ำเสมอ

http://www.doae.go.th/library/html/detail/banja/t6.htm





ปัจจัยภายนอกมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกดอกของพืช


แสง
พืชบางชนิดมีการตอบสนองต่อแสงในเรื่องของการออกดอก การตอบสนองต่อแสง
นี้จะเกี่ยวข้องกับความยาวของช่วงกลางวันที่ต้นไม้ได้รับแสงในแต่ละวัน ในรอบปี
ความยาวของเวลาช่วงกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันไป เช่น ในฤดูร้อน ช่วง
กลางวันจะยาวนานกว่าในช่วงฤดูหนาว หมายความว่า ต้นพืชที่ปลูกในฤดูร้อนย่อมได้
รับแสงยาวนานกว่าในช่วงฤดูหนาว พืชบางชนิดออกดอกได้เมื่อความยาวของวันสั้น
ลง เช่น ในฤดูหนาว จึงเรียกพืชเหล่านี้ว่า พืชวันสั้น ส่วนพืชบางชนิดออกดอกได้ใน
สภาพที่มีความยาวของวันนานกว่า จึงเรียกพืชเหล่านี้ว่า พืชวันยาว อย่างไรก็ตาม
ช่วงความยาวของวันที่กำหนดการออกดอกหรือไม่ออกดอกของพืชนั้น ไม่ได้แบ่งที่
ความยาวของวัน ๑๒ ชั่วโมงเป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด จุดที่แบ่งความยาว
ของวันที่พืชแต่ละชนิดต้องการนี้เรียกว่า ช่วงความยาววันวิกฤติ หมายความว่า พืชวัน
สั้นจะออกดอกได้ที่ช่วงความยาวของวันสั้นกว่าช่วงความยาววันวิกฤติ เช่น ต้น
เบญจมาศ บางสายพันธุ์จัดเป็นพืชวันสั้น และสามารถออกดอกได้ที่ความยาวของวัน
สั้นกว่า ๑๓.๕ ชั่วโมง แต่หากปลูกในสภาพ ที่ความยาวของวันมากกว่า ๑๓.๕
ชั่วโมง ก็จะไม่มีการออกดอก การควบคุมการออก ดอกของพืชเหล่านี้จึงทำได้โดย
การควบคุมจำนวนชั่วโมงที่จะให้พืชได้รับแสงหรือให้อยู่ในที่มืด หากเป็นพืชขนาด
เล็ก ก็สามารถใช้แสงไฟจากหลอดไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดแสงได้ และหากต้องการ
จำกัดชั่วโมงการรับแสงให้น้อยลงกว่าธรรมชาติ ก็อาจทำได้โดยการใช้ผ้าดำคลุม
แปลงปลูก โดยทั่วไป ไม้ผลยืนต้นส่วนใหญ่ที่ปลูกในประเทศไทยมักไม่ตอบสนอง
ต่อช่วงแสง นั่นคือ การออกดอกไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่วงความยาวของวัน แต่ขึ้นอยู่กับ
อุณหภูมิและปริมาณน้ำในดินเป็นสำคัญ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK27/chapter4/t27-4-l1.htm









ริลลี่......


































http://www.klongdigital.com/webboard3/43695.html



ลิลลี่ (Lily, Lilium hybrids)
เป็นไม้ดอกประเภทหัว มีดอกขนาดใหญ่เป็นสง่าและสวยงามมาก บางชนิดมีกลิ่น
หอมมาก นับว่าเป็นดอกไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในปัจจุบัน ใช้ได้ทั้งเป็นไม้ตัดดอกและ
ไม้กระถาง ชนิดที่นิยมปลูกในปัจจุบันคือ ลิลลี่ปากแตร เนื่องจากดอกมีรูปทรง
เหมือนแตร ชนิดนี้มีดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศเรียก Easter lily อีกชนิด
หนึ่งเป็นลูกผสมเอเชีย (Asiatic hybrids) มีช่อดอกตั้ง มีดอกหลายสี ชนิดนี้
มีดอกไม่หอม อีกชนิดหนึ่งมีดอกหอมมากมีราคาแพงที่สุด คือลูกผสม Oriental
hybrids

ในพื้นที่ของโครงการหลวง เช่น ดอยปุย ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ พบว่ามี
ลิลลี่พันธุ์พื้นเมือง หรือเรียกว่าลิลลี่ดอยขึ้นอยู่ในป่า ออกดอกในเดือนสิงหาคมดอก
หอมมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืนที่มีอากาศหนาวเย็น

ปัจจุบันนี้โครงการหลวงได้ทำการวิจัยขยายพันธุ์ลิลลี่ โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ให้เกษตรกรชาวเขาปลูก นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ลิลลี่ลูกผสมต่างชนิด
โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศผสมกับลิลลี่ดอยอีกด้วย

สภาพที่เหมาะสมในการผลิต
1. วัสดุปลูก ลิลลี่ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำ และอากาศดี มีอินทรีย์วัตถุสูง
ph 6-7 รักษาความชื้นในแปลงโดยการคลุมดิน ด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว
หรือเปลือกถั่ว

2. อุณหภูมิ ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิประมาณ 12-15 ซ.
หากต่ำกว่านี้จะทำให้ยอดเจริญช้าเกินไป หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการ
เจริญเติบโตของลิลลี่ คือ กลางคืน 14-16 ซ. และกลางวัน 22-25 ซ.

3. ความชื้น ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ของลิลลี่ คือความชื้น สัมพัทธ์ ร้อยละ
80-85 ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความชื้น แบบกระทันหัน เพราะจะทำให้เกิด
ใบไหม้ (leaf scorn) ในพันธุ์ที่อ่อนแอ กับอาการนี้ หารมีการเปลี่ยนแปลงควร
ค่อยเป็น ค่อยไป จึงควรใช้การพรางแสง การระบายอากาศ และการให้น้ำ เพื่อ
ป้องกันการเปลี่ยนแปลง อันรวดเร็วน

4. แสง ในช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิสูง ทำให้คุณภาพดอกต่ำ ในช่วงแดดจัดควร
พรางแสงให้ ลิลลี่กลุ่มเอเชียติก และลองจิฟลอรัม ร้อยละ 50 ส่วนกลุ่ม ออเรียน
เทิล ร้อบละ 70 การพรางแสง ยังช่วยรักษาความชื้นด้วย

การปลูก
แปลงปลูกควรยกแปลงสูง 20-30 ซ.ม กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซ.ม

ระยะปลูก
ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ เมื่อได้รับหัวพันธุ์ ในลักษณะแช่แข็ง (- 4 ซ.) ให้เปิด
ถุงพลาสติกในร่มมีหลังคา และปล่อยให้ละลายในถุง เป็นเวลา 1 - 2 วัน จากนั้น
จึงนำไปปลูก โดยขุดหลุม และกลบดินเหนือหัวพันธุ์ประมาณ 10 - 15 ซ.ม เพื่อ
ให้รากที่เกิดขึ้นบนต้นเหนือหัวพันธุ์เจริญได้สมบูรณ์ที่สุด ร้อยละ 90 ของการ
เจริญของลิลลี่ขึ้นอยู่กับรากนี้

การให้น้ำ
ควรให้น้ำ 2-3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น ในระยะแรกที่ปลูกใหม่ จากนั้น ควรรด
น้ำวันละครั้ง ในช่วงเช้า พยายามให้ดินมีความชื้นอยู่ เสมอ

การให้ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมัก ปริมาณ 1 ลูกบาตรเมตร ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ให้
ปุ๋ยครั้งแรก 3 สัปดาห์หลังปลูก ควรให้ปุ๋ย แคลเซี่ยมไนเตรต สูตร 15 - 0 - 0
อัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ต่อมาให้สูตร 12 - 10 - 18 ทุก 2 สัปดาห์
หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวพันธุ์ ควรให้ปุ๋ยที่มี โปแตสเซี่ยมสูง เพื่อช่วยใน
การพัฒนาหัว เช่นสูตร 13 - 13 -21 ทุก 2 สัปดาห์

การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
ระยะที่เหมาะสมในการตัดดอกลิลลี่ นั้น จะแตกต่างกันแล้วแต่สายพันธุ์ แต่หลักการ
ทั่วไป คือ ควรตัดดอกลิลลี่ ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มแสดงสี และพร้อมที่จะ
บานในวันถัดไป เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หรือสังเกต ระยะก่อนดอกบาน 1
วัน เป็นระยะที่เหมาะสมในการตัดดอก การตัดดอกเร็วเกินไปทำให้ทำให้ดอกบาน
ช้า สีซีด จำนวนดอกบานน้อย และคุณภาพต่ำ ควรตัดช่อ โดยเหลือต้นไว้เหนือดิน
ประมาณ 10-20 ซม. จากนั้นควรคัดเกรด ตามจำนวนดอก ความยาว และความ
แข็งแรงของก้าน ควรริดใบที่โคนก้านใบประมาณ 10 ซม. เพื่อยืดอายุการปัก
แจกัน และป้องกันน้ำเสีย มัดกำ คัดก้าน เนื่องจากดอกลิลลี่เสียหายง่าย หากได้รับ
แก๊สเอ็ทธิลีน หลังการตัดดอก ควรแช่ในสาร ชิลเวอร์ไธโอซัลเฟส อัตรา 30 ซีซี
ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่ในน้ำสะอาด ที่ปรับค่า ph เท่า
กับ 3.5 เก็บที่อุณหภูมิ 3-5 ซ.ม. หากได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะสามารถเก็บ
ดอกลิลลี่ ในห้องเย็นเป็นเวลา นานถึง 4 สัปดาห์ แต่ใบอาจเป็นสีเหลือง หรือ
น้ำตาลแม้ว่าจะเก็บในช่วง สั้นก็ตาม


http://www.the-than.com/FLower/F/01.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©