-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-หญ้าหวาน (Stevia or sweet herb)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หญ้าหวาน (Stevia or sweet herb)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หญ้าหวาน (Stevia or sweet herb)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 24/01/2011 1:54 pm    ชื่อกระทู้: หญ้าหวาน (Stevia or sweet herb) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หญ้าหวาน....

หญ้าหวานคือสมุนไพรชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะคล้ายต้นใบกะเพรา ใบสมุนไพรหญ้าหวานมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเฉกเช่นเดียวกับในใบชาเขียว แต่มีมากกว่า คือ รสหวานจัด ตัวใบจะให้รสหวานกว่าน้ำตาล 15-20 เท่า แต่เมื่อนำใบมาสกัดจะให้ความหวานสูงถึง 250 เท่าของน้ำตาลทราย แต่ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นที่นิยมในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ผู้คนนิยมบริโภคแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาลหรือทดแทนน้ำตาลบางส่วนมากว่า 35 ปีแล้ว ทั้งในอาหารและเครื่องดื่มได้แก่ น้ำชาเขียว น้ำอัดลม ขนมเบเกอรี่ ไอศกรีม แยม เยลลี่ ซอสปรุงรส ลูกอม หมากฝรั่ง และอื่นๆ

ในบ้านเราคนทางภาคเหนือจะรู้จักสมุนไพรหญ้าหวานเป็นอย่างดีในรูปแบบชาชงสมุนไพรหญ้าหวานดื่มเพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่และยังมีการนำใบสมุนไพรหญ้าหวานแห้งมาใส่ในอาหารขณะปรุงเพื่อทดแทนน้ำตาลและผงชูรส จึงเหมาะสมมากสำหรับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน

สมุนไพรหญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย ชาวพื้นเมืองได้ใช้สารหวานจากใบหญ้าหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1,500 ปี ต่อมาญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2518 บริเวณที่ปลูกกันมากได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ภาคเหนือเป็นพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมเนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-16 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 ม.

สารสกัดจากใบหญ้าหวานได้แก่ Stevioside ให้รสหวานกว่าน้ำตาลถึง 250 เท่า และมีข้อดีเหนือกว่าน้ำตาลหลายอย่าง เช่น ไม่ทำให้ฟันผุ ทนต่อความร้อนและกรด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงๆ สามารถนำมาปรุงอาหารร้อนบนเตาได้ ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เพราะฉะนั้นเมื่อใช้กับอาหาร จึงไม่ทำให้เกิดการบูดเน่า และประการสำคัญที่สุด คือ ไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อย จึงไม่ให้พลังงาน ทานเท่าไรก็ไม่ทำให้อ้วน

ทีมวิจัยภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล คิดค้นสารสกัดจากใบหญ้าหวาน "สตีไวโอไซด์" มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อหิวาตกโรคเป็นโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Vibrio cholera ในลำไส้ เชื้อดังกล่าวสามารถสร้างสารพิษ cholera toxin กระตุ้นการหลั่งของคลอไรด์อิออน จากเซลล์ลำไส้เข้าสู่โพรงลำไส้เป็นจำนวนมาก

“คลอไรด์อิออน” ดังกล่าวสามารถดึงดูดเกลือโซเดียมและน้ำเข้าสู่โพรงลำไส้ จึงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำทางลำไส้และนำไปสู่การขาดน้ำอย่างรุนแรงซึ่งมี อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคนี้ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา แต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้หลายแสนคน โดยส่วนใหญ่เกิดกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี การรักษาในปัจจุบันคือการให้ผู้ป่วยกินสารละลายเกลือแร่ (ORS) เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป ซึ่งการรักษาโดยวิธีดังกล่าวไม่ได้ช่วยลดอาการท้องร่วงโดยเฉพาะในผู้ป่วย เด็กหรือผู้สูงอายุ

จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ทีมวิจัยของ รศ.ดร. วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์ และ อ.ดร.นพ. ฉัตรชัย เหมือนประสาท ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปสู่การศึกษาสารสกัดจากใบหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana Bertoni) ชื่อ "สตีไวโอไซด์" (stevioside) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล ซูโครส 300 เท่า เมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่จะย่อยสตีไวโอไซด์เป็นสตีไวออล (steviol)และน้ำตาลกลูโคส สตีไวออลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนน้ำตาลกลูโคสจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ดังนั้น สตีไวโอไซด์จึงเป็นสารให้ความหวานที่ให้แคลอรี่ต่ำมาก ในปัจจุบันได้มีการนำสารนี้ผสมในเครื่องดื่มและอาหารบางประเภทโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีนและบราซิล

ทีมวิจัย กล่าวเพิ่มว่า นอกจากประโยชน์ในการใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลซูโครสสำหรับคนที่ต้อง การลดความอ้วนหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว ยังมีรายงานว่า มีการใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ แถบทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย

“เราค้นพบว่า สตีไวออลสามารถยับยั้งการหลั่งของคลอไรด์อิออนในเนื้อเยื่อลำไส้ของมนุษย์ได้ และด้วยความร่วมมือกับนักเคมีทำให้ค้นพบสารอนุพันธุ์ของสตีไวออลอีกหลายตัว ที่มีฤทธิ์ดีกว่าสตีไวออล จากการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารในกลุ่มนี้พบว่าสารกลุ่มนี้ยับยั้ง การหลั่งของคลอไรด์อิออนในเซลล์ลำไส้มนุษย์โดยการยับยั้งการทำงานของโปรตีน ขนส่งคลอไรด์ อิออน ชื่อว่า Cystic fibrosis transmembrane conductance regulator (CFTR) และสารดังกล่าวไม่มีพิษต่อเซลล์ลำไส้ แต่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อโปรตีนขนส่ง คลอไรด์ อิออน CFTR เท่านั้น เมื่อฉีดสารพิษ cholera toxin เข้าลำไส้ของหนูถีบจักร พร้อมกับสารอนุพันธุ์สตีไวออลพบว่าสามารถลดการสูญเสียน้ำทางลำไส้ได้มากกว่า ร้อยละ 90"

อ.ดร.นพ.ฉัตรชัย ตัวแทนทีมวิจัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “การค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา สารอนุพันธุ์ของสตีไวออลเพื่อเป็นยารักษาอหิวาตกโรคและโรคท้องร่วงอื่นๆ ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ใหม่ คือ การลดการสูญเสียน้ำจากลำไส้และคาดว่าเมื่อใช้ ร่วมกับการรักษาแบบเดิม คือ การให้ผู้ป่วยดื่มสารละลาย ORS จะเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น ขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยกำลังพัฒนาสารในกลุ่มดังกล่าวเพื่อใช้ในการรักษาโรคท้อง ร่วงและโรคอื่นๆ ที่สามารถใช้อนุพันธ์สตีไวออลได้ผล




Thanks: ฝากรูป


ที่มาข้อูล http://www.yawangreensweet.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/01/2011 5:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หญ้าหวาน....

































[img]http://www.siam-shop.com/images/shop/p15177_m003[/img]


























http://www.sabuyjaishop.com/shop/goodherb/images/qwniqtfixqvl2laljqq0292552217.jpg



สังเกตุ :
บรรจุภัณท์ชิ้นไหนที่เข้าข่าย STYLE INTER ชิ้นไหนที่เข้าข่าย โบร้าณ โบราณ
คิดได้แค่นี้ ออกแบบได้แค่นี้ แล้วแบบนี้จะ GO INTER ได้ไง.....อย่าว่าแต่ GO INTER เลย แค่ในเมืองไทย คิดไหมว่า คนซื้อจะเลือกซื้อแบบไหน

คงไม่เฉพาะผลิตภัณท์ตัวนี้ตัวเดียวหรอก ผลิตภัณท์อื่นๆก็เหมือนกัน ขนาด OTOP 5 ดาว ยัง DESINGE ได้ไม่ถึงระดับ INTER เลย

ฉนี้แล้ว ถ้าลูกค้าต่างชาติมาเห็นเข้า เกิดสนใจอยากทำธุรกิจตัวนี้ แต่พอเห็นออกแบบผลิตภัณท์แบบนี้ เขาจะยังสนใจอยู่หรือ ?

อย่าว่าแต่ส่งออกเลย แค่ขายในประเทศ ระหว่างบรรจุภัณท์ "STYLE INTER กับ STYLE โบราณ" คนซื้อจะเลือกซื้อแบบไหน

ไม่มีเจตนาโจมตี แต่ต้องการสร้างสรรค์ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ผลิตไทยมองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเล็กๆ อย่างบรรจุภัณท์เลย....ยกตัวอย่าง ผลไม้อย่างเดียวกัน ขนาดลูกเท่ากัน ลูกหนึ่งหุ้มด้วยตาข่ายโฟม สีสันสวยงามแปลกตา กับอีกลูกหนึ่งวางอยู่บนพื้นเฉยๆ คิดว่าคนซื้อจะซื้อลูกไหน ?


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sap14
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/03/2010
ตอบ: 21

ตอบตอบ: 25/01/2011 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่กองคาราวานสีสันชีวิตไทย อาจารย์ณัฐขายสมุนไพรสำหรับคน เคยให้ลองชิมหญ้าหวานแล้ว รสหวานเหมือนน้ำตาล "Equal" เลยค่ะ แค่เอาใบหญ้าหวานแห้งๆ มาอมในปากก็หวานแล้วค่ะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sap14 เมื่อ 25/01/2011 9:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/01/2011 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โชคดีนะที่ได้ชิม ลุงคิมนอกจากยังไม่เคยชิมแล้ว ยังไม่รู้ด้วยว่า อ.ณัฐ มีหญ้าหวานมาด้วย.....เอาวะ งวดหน้าต้องขอชิมบ้างละ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©