-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การผสมสารอาหารต่างๆ สำหรับพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การผสมสารอาหารต่างๆ สำหรับพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การผสมสารอาหารต่างๆ สำหรับพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
supat
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/08/2009
ตอบ: 27

ตอบตอบ: 26/01/2011 10:50 am    ชื่อกระทู้: การผสมสารอาหารต่างๆ สำหรับพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมครับ ผมขอรายละเอียดเกี่ยวกับการผสมสารอาหารสำหรับพืช ดังนี้ครับ

1. มีสารอาหารสำหรับพืชตัวใดบ้างที่ผสมกับน้ำแล้วไม่ต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ และสารอาหารตัวใดต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ

2. มีปุ๋ยตัวใดบ้างที่ผสมกับน้ำแล้วไม่ต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ และปุ๋ยตัวใดต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ

3. มีสารอาหารตัวใดบ้าง ที่ไม่สามารถผสมกับปุ๋ยได้

4. ผมเอาปุ๋ย 25-7-7 จำนวน 50 กก. ผสมกับน้ำ 150 ลิตร แล้วใส่แมกนีเซียมกับสังกะสี อย่างละ 1 กก. คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปใช้ โดยใช้ 5 -
6 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดลงในแปลงมันสำปะหลัง ตอนก่อนผสมผมได้คนทุกครั้ง แต่เมื่อใกล้หมดถัง มีสารอาหารที่ละลายไม่หมดลักษณเหมือนน้ำตาลทรายสีขาวขุ่นๆ น่าจะเกิดจากอะไร ? และควรแก้ไขอย่างไร ?

5. ท่อนมันสำปะหลัง เมื่อแช่ B1 และสารอาหารแล้ว นำไปผึ่งลม แล้วจึงนำไปปลูกมีอัตราการเกิดน้อยมาก น่าจะเกิดจากอะไร ?

6. มันสำปะหลัง ควรเปลี่ยนจากสูตร 25-7-7 มาเป็นสูตรลงหัวได้ เมื่อไร ( กรณีดูจากลำต้นหรือราก ) เพราะแปลงที่ปลูกมีหลายรุ่น

ขอบคุณครับ
จาก SUPAT
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/01/2011 5:43 pm    ชื่อกระทู้: Re: การผสมสารอาหารต่างๆ สำหรับพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

supat บันทึก:
ลุงคิมครับ ผมขอรายละเอียดเกี่ยวกับการผสมสารอาหารสำหรับพืช ดังนี้ครับ

1. มีสารอาหารสำหรับพืชตัวใดบ้างที่ผสมกับน้ำแล้วไม่ต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ และสารอาหารตัวใดต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ
ตอบ :
ไม่มีตัวไหนที่ไม่ต้องปรับ....ปุ๋ยตัวไหนเป็นด่างต้องปรับน้ำให้เป็นด่างรองรับการผสม.....ปุ๋ยตัวที่เป็นกรดต้องปรับน้ำให้เป็นกรดรองรับการผสม....ตัวไหนเป็นกลาง ผสมในน้ำที่เป็นกลางก่อนแล้วปรับต่อให้เป็นกรดอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงใช้งาน...แค่นี้แหละ

หมายเหตุ :
พืชต้องการปุ๋ยที่เป็นกรดอ่อนๆ (5.5-6.5) .... ปุ๋ยที่เป็นด่างต้องผสมในน้ำที่เป็นด่าง เมื่อผสมเสร็จ จะเริ่มใช้งานจริงก็ต้องปรับจากด่างให้เป็นกรดอ่อนๆก่อนอีกครั้ง แล้วจึงใช้งาน



2. มีปุ๋ยตัวใดบ้างที่ผสมกับน้ำแล้วไม่ต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ และปุ๋ยตัวใดต้องปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ
ตอบ :
ปุ๋ยมี 100 กว่าตัว ไม่รู้จะตอบยังไง อย่าว่าแต่ 100 ตัวเลย ต่อให้ 1,000 ตัว 10,000 ตัว ต่างก็มีหลักการเดียวกันเหมือนกันหมด นั่นคือ อยากรู้ว่าปุ๋ยตัวไหนเป็นกรดหรือเป็นด่าง ก็วัดด้วย "อุปกรณ์วัดค่า พีเอช." ซี่ แค่ก็รู้แล้ว

เมื่อรู้แล้วว่า ..... ตัวไหนเป็นกรดให้ผสมกับน้ำที่เป็นกรด (กรดอ่อน ๆ) แล้วใช้งานได้เลย......ตัวไหนเป็นด่างให้ผสมในน้ำที่เป็นด่างก่อน แล้วปรับให้เป็นกรดอ่อนๆ อีกครั้ง ก่อนใช้งาน




3. มีสารอาหารตัวใดบ้าง ที่ไม่สามารถผสมกับปุ๋ยได้
ตอบ :
สารอาหาร กับ ปุ๋ย คือตัวเดียวกัน แล้วคำถามอยู่ทีไหนเนี่ยยย....



4. ผมเอาปุ๋ย 25-7-7 จำนวน 50 กก. ผสมกับน้ำ 150 ลิตร แล้วใส่แมกนีเซียมกับสังกะสี อย่างละ 1 กก. คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปใช้ โดยใช้ 5 -
6 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดลงในแปลงมันสำปะหลัง ตอนก่อนผสมผมได้คนทุกครั้ง แต่เมื่อใกล้หมดถัง มีสารอาหารที่ละลายไม่หมดลักษณเหมือนน้ำตาลทรายสีขาวขุ่นๆ น่าจะเกิดจากอะไร ? และควรแก้ไขอย่างไร ?
ตอบ :
เรื่องแช่ท่อนพันธุ์ คลิกไปที่....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1577&postdays=0&postorder=asc&start=50&sid=453e44ce198258a7a9f07f98583cd68c


สารอาหารที่ละลายไม่หมด ลักษณะเหมือนน้ำตาลทรายสีขาวขุ่น....คุณทำกับมือ คุณไม่รู้ แล้วลุงคิมจะรู้มั้ยเนี่ย....

ทดสอบซี่....เอาสังกะสี.เดี่ยวๆ ละลายน้ำ แล้วดู ละลายไหม ? ถ้าละลายเข้ากับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกันดี น้ำสีขาวใสแจ๋ว หรือเป็นสีแต่ใส ก็ O.K. ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ละลายก็จะเห็นเลยว่า มันใช่ไอ้ตัวที่เหมือนน้ำตาลทรายไหม ถ้าใช่ก็เลิกใช้ยี่ห้อนี้ซะ....ว่าแต่ว่า สังกะสีที่เอามาใช้น่ะเป็น สังกะสี คีเลต. หรือสังกะสี ซัลเฟต. หรือสังกะสี อ๊อกไซด์. หรือสังกะสี ไนเตรต. หรือสังกะสี คลอไรด์. หรือสังกะสี ฯลฯ เพราะแต่ละตัวทื่ว่ามานี้ ไม่เหมือนกัน ต่างกันทางรูปเคมี (ชื่อสังกะสีเหมือนกัน แต่คนละนามสกุล แล้วก็ใช้งานได้คนละอย่าง ประมาณนั้น...สังกะสีที่ลุงคิมใช้ "สังกะสี อะมิโน คีเลต" ชนิดน้ำ )

ทดสอบเอา 25-7-7 ละลายในน้ำจนกระทั่งอิ่มตัวไม่ละลายต่อ ก็จะเห็นตัวที่ไม่ละลายว่า ใช่ไอ้ตัวที่ว่าเหมือนน้ำตาลทรายน่ะ ใช่ตัวนี้ไหม





6. มันสำปะหลัง ควรเปลี่ยนจากสูตร 25-7-7 มาเป็นสูตรลงหัวได้ เมื่อไร ( กรณีดูจากลำต้นหรือราก ) เพราะแปลงที่ปลูกมีหลายรุ่น
ตอบ :
โดยทั่วๆไป ถ้าปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูกสำปะหลัง ทุกอย่าง O.K. อายุต้นหลังปลูกประมาณ 3-4 เดือนก็เริ่มลงหัว เพื่อความแน่ใจ "แหวกดิน" โคนต้นดูซี่ เมื่อเห็นว่าเริ่มลงหัวก็เริ่มบำรุงด้วย "สูตรลงหัว" ไง


ลุงคิมครับผม



ขอบคุณครับ
จาก SUPAT
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/01/2011 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นานา นานา ปุ๋ยปุ๋ย.....


ปุ๋ย หมายถึง สารที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และกล่าวในภาพรวมว่า ปุ๋ย คือ สารอนินทรีย์ หรือ สารอินทรีย์ ซึ่งมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สารนี้จะมาจากธรรมชาติหรือเป็นสารสังเคราะห์ก็ได้



การจำแนกปุ๋ยตามชนิดสารประกอบ

ปุ๋ยเคมี
คือ ปุ๋ยที่เป็นอินทรีย์สาร อาจเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบ ตัวอย่างปุ๋ยเคมีได้แก่ ยูเรีย,ปุ๋ยเม็ด 16-20-0 แต่ไม่รวมถึงสารที่ใช้สำหรับปรับปรุงดิน เช่น ซีโอไลต์ ,ภูไมท์ และ สารต่างๆที่มีคุณสมบัติโครงสร้างทางฟิสิกส์ของดินให้ดีขึ้น


ปุ๋ยอินทรีย์
คือ ปุ๋ยที่ทำมาจากอินทรียวัตถุโดยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นๆ แต่ไม่ไช่ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยชีวภาพืซื่งเน้นไปในเรื่องของปุ๋ยหมัก


ปุ๋ยชีวภาพ
คือ การนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ปุ๋ยชีวภาพอาจมีบทบาทในการปรับปรุงบำรุงดินทางชิวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี และปุ๋ยชีวภาพยังหมายความรวมถึง หัวเชื้อจุลินทรีย์



การจำแนกปุ๋ยตามชนิดของธาตุอาหาร

ปุ๋ยธาตุหลัก
คือ ปุ๋ยที่มีธาตุหลักเป็นองค์ประกอบ ซึ่งแบ่งเป็น ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัส ปุ๋ยโพแทสเซียม และปุ๋ยที่มีธาตุหลักมากกว่า 1 ธาตุ

ปุ๋ยธาตุรอง
คือ ปุ๋ยที่มีธาตุรองหนึ่งธาตุหรือมากกว่าหนึ่งธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน


ปุ๋ยธาตุอาหารเสริม
คือ ปุ๋ยที่มีจุลธาตุเป็นองค์ประกอบ มี 2 ประเภท
- ปุ๋ยจุลธาตุอนินทรีย์ คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่ให้จุลธาตุ เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง

- ปุ๋ยคีเลต คือ สารคีเลตที่มีจุลธาตุพวกโลหะเป็นองค์ประกอบ เช่น เหล็ก
การจำแนกจากจำนวนธาตุหลัก


ปุ๋ยเชิงเดี่ยว
คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน,ปุ๋ยฟอสเฟต,ปุ๋ยโพแทช


ปุ๋ยเชิงผสม
คือ ปุ๋ยเคมีได้ที่จากการผสม ปุ๋ยชนิดต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ


ปุ๋ยเชิงประกอบ
คือ ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยวิธีทางเคมี และ มีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป




http://www.puynum.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mixfeed
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/08/2009
ตอบ: 29

ตอบตอบ: 29/01/2011 7:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมก็เจอครับลุงคิม พอละลายปุ๋ยจะพบตะกอนสีขาวๆ เม็ดเล็กๆ ละเอียดที่ละลายน้ำไม่ได้อยู่ก้นถัง จะเจอกับพวกปุ๋ยสูตรทั้งหลาย โดยเฉพาะตราพาหนะลอยในน้ำได้ไม่ค้องใช้เครื่อง (ไม่กล้าเอ่ยตรงๆ เดี๋ยวถูกฟ้อง)

น่าจะเป็นส่วนของฟิลเลอร์ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นทราย สมัยก่อนใช้ดินเหนียวเป็นฟิลเลอร์ ก็ถูกโจมตีว่าทำให้ดินแข็ง เลยใส่ทรายซะเลยดินจะได้ร่วน 5555
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/01/2011 6:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยทางดิน .....

- ปุ๋ยทางดินกับปุ๋ยทางดิน ต่างสูตรกัน (บางสูตร) ผสมกันแล้วใช้ได้ เช่น
16-16-16 + 46-0-0 แทน 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 30-10-10 สำหรับนาข้าว หนือผักกินใบ เรียกใบอ่อนไม้ผลหลังตัดแต่งกิ่ง,


- ปุ๋ยทางใบ.................... ให้ทางดินได้
- ปุ๋ยทางใบ + ปุ๋ยทางดิน ..... ให้ทางดินได้

หมายเหตุ :
1. อย่ากังวลเรื่องเลขสูตรหรือเปอร์เซ็นต์เนื้อปุ๋ย แต่ให้ดูที่ เรโช.ของทั้ง 3 ตัว (N-P-K) เป็นหลัก

2. อย่ากังวลเรื่องฟิลเลอร์หุ้มเม็ดปุ๋ยจนเกินเหตุ แต่ให้ระวังการเกิดประสิทธิภาพของเนื้อปุ๋ย เช่น ถูกดินยึดตรึงไว้, ไม่มีจุลินทรีย์ช่วย, ตกค้างอยู่ในดินนานจนเกิดอาการเปลี่ยนรูปทางเคมี เช่น ไนโตรเจน เปลี่ยนรูปเป็นไนไตร์ท. ไนเตรท. ฯลฯ หรือเรโช.ระหว่างปุ๋ยแต่ละตัว เช่น ฟอสเฟต.ตรึงปุ๋ยตัวอื่นๆ จนพืชไม่สามารรถดูดซึมไปใช้งานได้ เป็นต้น

3. ปุ๋ยสูตรสำเร็จที่ผลิตในประเทศ จะมีสารตัวเติม (ฟิลเลอร์) 30-60% ....รวมมูลค่าสารตัวเติมที่เกษตรกรต้องเสียเงินซื้อ 7,445.35 ล้านบาท (ดร.ชอบ คณะฤกษ์/ คู่มือการผสมปุ๋ยสูตรต่างๆ ใช้เอง/กรมวิชาการเกษตร-กรมส่งเสริมการเกษตร/ส.ค. 2542)

- เปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยทางดิน โดยการละลายน้ำแล้วให้สังเกตุ
..... กากมาก คุณภาพด้อยกว่า กากน้อย
..... ละลายช้า คุณภาพด้อยกว่า ละลายเร็ว
..... ปุ่ยทางดิน + ปุ๋ยทางดิน ผสมเสร็จแล้วเก็บได้นาน
..... ปุ๋ยทางดิน + ปุ๋ยทางใบ (ชนิดน้ำ) ผสมเสร็จควรใช้เลย และไม่ควรเก็บนาน
..... ปุ๋ยหลายตัว (ปุ๋ยทางดิน + ปุ๋ยทางดิน หรือ ปุ๋ยทางดิน + ปุ๋ยทางใบ) ผสมกัน แล้วทุกตัวละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันได้ดี ถือว่า O.K.




ปุ๋ยทางใบ ....
- ตรวจสอบอายุคุณภาพเบื้องต้นที่ "สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง-ตะกอน" ถ้ามีอย่างในอย่างหนึ่งปรากฏในภาชนะบรรจุเดิม แสดงว่าคุณภาพเริ่มเปลี่ยนไปทางเสื่อมแล้ว

- ให้ทางใบได้ ให้ทางดินก็ได้
- ราคาสูงกว่าปุ๋ยทางดินมาก
- พืชต้องการใช้ในอัตราน้อยมาก เมื่อเทียบกับปุ๋ยทางดิน แต่เมื่อพืชได้รับแล้วจะมีคุณภาพเหนือกว่าการไม่ได้ให้เลยอย่างชัดเจน

- ระหว่างปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางใบ เมื่อผสมกันแล้วเกิดอาการไม่เข้ากัน หรือผสมกันไม่ได้ จะมีอาการให้เห็นทันที่ผสมกัน โดยส่วนที่ไม่ละลายยังมีปริมาณเท่าที่ใส่เติมลงไป กรณีนี้ไม่ควรใช้

- ระหว่างปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางใบ เมื่อผมกันแล้ว ตอนแรกเข้ากันดี ละลายดี แต่ครั้นเมื่อตัวใดตัวหนึ่งเริ่มมากๆเข้า ผสมกันแล้วเกิดตะกอน อาการนี้เรียกว่า "อิ่มตัว" โดยส่วนที่ไม่ละลายมีปริมาณน้อยกว่าปริมาณทั้งหมดที่ใส่เติมลงไป ตะกอนที่นอนก้นหรือไม่ละลายนี้มีลักษณะละเอียด เนียนนิ่ม กรณีนี้เมื่อผสมเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้นอนก้น เอาส่วนน้ำใสไปใช้งานได้

- ปุ๋ยทางใบตัวเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันแต่ต่างบริษัทผู้ผลิตกัน เมื่อนำมาผสมกันบางครั้งเข้ากันได้ดี บางครั้งเข้ากันไม่ได้ เนื่องมาจากโครงสร้างทางเคมีของแต่ละบริษัทผู้ผลิตต่างกัน (ลิขสิทธิ์) แก้ไขโดยการเปลี่ยนบริษัท

- การใส่แต่ละตัวผิดลำดับก่อนหลังก็ทำให้เกิดอาการ "ไม่เข้ากัน หรือ ไม่ละลาย" ได้เหมือนกัน

- ค่า กรด-ด่าง ไม่เหมาะสมก็ทำให้ "ไม่เข้ากัน หรือ ไม่ละลาย" ได้เหมือนกัน

- ปัญหายังมีอีกเยอะ....



ลุงคิม (เททิ้งมาเยอะแล้ว) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
supat
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/08/2009
ตอบ: 27

ตอบตอบ: 01/02/2011 4:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับ
ลุงคิมครับ น้ำส้มสายชูชนิดความเข้มข้น 95% ควรใช้อัตราส่วนเท่าไร
( ไปซื้อที่แยกคอกวัว มาลองใช้ แต่ไม่รู้ว่าจะคุ้มกว่าชนิด 5% หรือไม่ )

ขอบคุณครับ
จาก SUPAT
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/02/2011 5:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้องดูค่า พีเอช น้ำที่จะนำมาใช้ก่อน แล้วค่อยเติม 99% เติมแล้ววัด วัดแล้วเติม เติมจนกว่าจะได้ค่า พีเอช ตามต้องการ

คุณเติมน้ำปลาลงไปในหม้อแกง คุณจะรู้ได้ไงว่าพอดีหรือยัง ต้องชิม ไช่ไหม อันนี้ก็เหมือนกันนั่นแหละ วัดค่า พีเอช เอาซิครับ

วัดค่า พีเอช ครั้งแรกครั้งเดียวก็รู้แล้ว ครั้งต่อๆไปไม่ต้องวัด แต่ใช้วิธีกะประมาณเอาได้....ก็แค่นี้แหละ

ส่วนราคาชนิด 99% กับชนิด 5% ก็ดูที่ความจำเป็นต้องใช้ในแต่ละซิครับ ถ้าทำขายก็คุ้ม แต่ถ้าทำใช้ก็คงไม่คุ้ม



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©