-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-หนุ่มเมืองเพชร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หนุ่มเมืองเพชร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หนุ่มเมืองเพชร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 135

ตอบตอบ: 18/03/2011 10:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากฝากให้หลายท่านที่เป็นนักท่องเว็บ
ต้องทำใจว่าข้อมูลที่ปรากฎบางอย่าง
มันไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น

2. กรณีที่พบรุนแรงให้พ่นด้วยสาร carbaryl (เซฟวิน 85%WP) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ methamidophos (ทามารอน 600 56% SL) อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ monocrotophos (นูวาครอน 56% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ถ้าใครไม่เคยอยู่ในวงการเคมีเกษตรจะไม่รู้ แถมที่มาข้อมูล มาจากกรมส่งเสริม ตัวสารเคมี ทามารอน ในชื่อสามัญเมธามิโดฟอส และตัวยานูวาครอนในชื่ิอสามัญโมโนโครโตฟอส เขาห้ามใช้มาเกือบ 10 ปี

หน่วยงานราชการหลายที่สัักแต่ว่าให้ข้อมูล แล้วไปคัดลอกเอกสารเก่าๆ มาเผยแพร่
ในโลกอิเตอร์เน็ต ต้องใช้สติและความรู้อย่างมากก่อนจะเชื่ออะไร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 19/03/2011 6:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทางออกเรื่องนี้ "ไม่ต้องสนใจ หรือ สนใจพอรู้จัก" แล้วมาทุ่มเทความสนใจให้กับ "สารสมุนไพร" จะดีกว่าไหม พันฒนา/ปรับปรุง ทั้งวัสดุสมุนไพร วิธีทำ วิธีใช้ ให้มันแรงเทียบเท่ายาน็อคไปเลย

ดีมากหมง....ขอบคุณแทน สมช.ด้วย....ที่จริงคุณมี ข้อมูล/ประสบการณ์ เรื่อง "สารเคมี" ไม่ใช่น้อย เพราะอยู่ในวงการมานาน ก็น่าจะลำเลียงๆ ทะยอยๆ เอามาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะ....



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 19/03/2011 6:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสิทธิภาพของสารเคมีฆ่าแมลง ..... "ได้ผล 0.1% สูญเสีย 99.99%" ข้อความประโยคนี้ ลุงคิมจำไม่ได้ว่า ได้มาจากไหน หรือตัวเลขคลาดเคลื่อนหรือไม่

สมช.ท่านใดมีข้อมูลช่วย "เพิ่มเติม/แก้ไข" ให้ด้วยก็ดี



ลุงคิม (หัวดีแต่ขี้ลืม) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Weerawat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/02/2011
ตอบ: 15
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ.สมุทรสาคร

ตอบตอบ: 20/03/2011 12:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบตุณลุงคืมและคุณมงคลมากๆเลยตรับ มีอะไรรบกวนชี้แนะรุ่นน้องด้วยครับ ผมใช้แนวทางลุงคิมครับ เจอศัตรูอะไรของมะนาว เขียนข้างฝาไว้แล้วหาวิธืสู้กับมัน ขอบคุณครับ

ตุ๊ดตู่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 20/03/2011 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะนาว : เพลี้ยไฟไรแดง หรือแพ้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช


เพลี้ยไฟไรแดง, สภาพดินเสื่อมเสีย ต้นอ่อนแอ อมโรค จัดว่าอยู่เคียงคู่ครัวเรือนมานานแสนนานและยังคงอยู่ตลอดไป เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากจริง ๆ มากเสียจนไม่สามารถที่จะขาดหายไปจากครัวเรือนได้เลย... สิ่งที่ได้กล่าวถึงนั้นก็คือมะนาวนั่นเอง! ซึ่งไม่ว่าราคาจะถูกหรือแพงเพียงใด แม่บ้านต่างต้องซื้อหาติดครัวไว้เสมอ เพราะสามารถที่จะนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทต้มยำ ทำแกงยิ่งจำเป็น แต่ใครจะรู้บ้างว่าปัจจุบันนี้ สวนมะนาวนั้นลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ เพราะการปลูกการผลิตที่แสนจะลำบาก ยุ่งยาก โรคแมลงรบกวนการดูแลรักษาจัดได้ว่ายากพอ ๆ กับการปลูกส้มเขียวหวานเหมือนทุ่งรังสิตในอดีตเลยทีเดียว

ปัจจุบันเกษตรกรอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่ยังคงยึดอาชีพทำสวนมะนาวกันอยู่ก็พอมีอยู่บ้าง แต่ก็จัดว่าไม่มากไม่มายเหมือนในอดีตซึ่งถือว่าที่นี่เป็นแหล่งผลิตมะนาวรายใหญ่ระดับประเทศที่หนึ่งเลยทีเดียว ในปัจจุบันได้ล้มละลายสูญหายไปเยอะพอสมควร เพราะ.....

รูปแบบการผลิตส่วนใหญ่อิงกับการใช้ยาหรือสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลงทำให้สภาพดินเสื่อมเสีย ต้นอ่อนแอ อมโรค การเจริญเติบโตถดถอยเพราะพื้นดินได้รับการซึมซับสารที่เป็นโทษมากกว่าเป็นประโยชน์แก่ต้นมะนาว

ไม่ว่าจะเป็น ยาฆ่าหญ้า ยารักษาโรคแคงเกอร์ (คอปเปอร์) ยากำจัดศัตรูพืช จึงทำให้ระบบนิเวศน์พังทลาย ไร้ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่จะคอยช่วยกันปกปักษ์รักษาความสมดุลย์ให้แก่กันและกัน

จนในที่สุดความจริงก็ได้พิสูจน์ให้เห็นกันแล้วว่า ไม่ว่าจะใช้ยาหรือสารเคมีกำจัดโรคและแมลงกันอย่างไร โรคภัยต่างๆ ของมะนาวก็ยังคงอยู่ แต่ต้นมะนาวกลับมีแต่สภาพที่เสื่อมโทรมล้มตายลงไปแทน เพราะเพียงแค่ก้าวผิด เดินผิดมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง


สวนมะนาวที่ใช้เทคนิคและวิธีการดูแลสวนแบบที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษแนะนำนั้น ส่วนมากจะยังคงอยู่และทำต่อมาอย่างยั่งยืนและมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะได้เน้นถึงวิธีการและรูปแบบที่ปลอดสารพิษ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงก็ไม่ใช้ และยังสามารถรักษาผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่สูญเสียหรือลดน้อยลงไป

มีเกษตรกรบางท่านได้เข้ามาขอคำปรึกษาและได้เชิญชวนให้ไปดูสวนมะนาวของตนเอง เพราะทราบข่าวจากสวนของเพื่อนบ้านว่ามีทีมนักวิชาการจากชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้เข้ามาดูแลให้คำแนะนำปรึกษาอยู่ ซึ่งปรากฎว่ามะนาวของเขาสภาพโดยทั่วไปนั้นขาดสารอาหาร สภาพต้นไม่สมบูรณ์ มีบางส่วนเป็นแคงเกอร์ ผลเล็ก แห้งเหี่ยว เหลืองและร่วง และมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจและชาวสวนมะนาวต้องระวังคือ มะนาวของเขามีลักษณะอาการผิวลอก บวมพอง เปลือกลายมีรอยขีดข่วนเป็นทาง ซึ่งเกษตรกรได้แจ้งว่าได้มีเซลล์จากบริษัทยาเคมีได้เข้ามาดูชี้แจงและบอกกล่าวว่ามีต้นเหตุมาจากเพลี้ยไฟไรแดง ซึ่งในหลายสวนก็หลงเชื่อและการทำการซื้อยาเคมีจากบริษัทดังกล่าวมารักษาฉีดพ่นกันหลายราย แต่ผลปรากฏว่ายิ่งฉีด...ยิ่งเป็น...ยิ่งฉีด...ก็ยิ่งเป็นจนไม่รู้จะทำยังไงดี เพราะไม่ว่าจะใช้สารเคมีฉีดเพิ่มเข้าไปอย่างไร...ก็ปรากฏว่าเจ้าเพลี้ยไฟไรแดงดังที่กล่าวอ้างก็ไม่ได้ลดการระบาดลง ในที่สุดคุณสามารถ บุญจรัสนักวิชาการจากชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (081-646-0212) ได้นำมาผลของมะนาวมาวิเคราะห์และตรวจดูพบว่า ไม่ใช่เกิดจากสาเหตุของเพลี้ยไฟไรแดง แต่เป็นการแพ้สารเคมีและกลุ่มของสารจับใบ เพราะเมื่อนำผิวของลูกมะนาวมาขูดปรากฎว่าร่อนและลอกออกโดยง่าย และที่สำคัญอาการของโรคนั้นเกิดแต่เพียงผลของมะนาวเพียงอย่างเดียว ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริง ที่ว่าถ้าเกิดมีการระบาดของเพลี้ยไฟไรแดงจริง ยอดและใบอ่อนของมะนาวจะต้องหงิกงอและเสียหายไปด้วยแต่นี้ไม่เป็นเช่นนั้น คุณสามารถ จึงแนะนำให้หยุดการใช้สารเคมีและใช้วิธีการแบบปลอดสารพิษแทน ทำให้ผลมะนาวที่ว่าถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟกลับมามีผลเขียว สดใส สวยงามเหมือนเดิม


มนตรี บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

http://gotoknow.org/blog/thaigreenagro01/221017
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 20/03/2011 8:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกษตรกรราชบุรี เผย เทคนิคการปลูกมะนาวต้นคู่ ให้ผลผลิตเร็ว เก็บขายได้ทั้งปี


"มะนาว" ไม้ผลตระกูลส้ม มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ใช้ทำขนม เครื่องดื่ม เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ความงาม นำไปแปรรูป ตลอดจนเป็นวัตถุดิบสินค้าในภาคอุตสาหกรรมจำพวกผลิตภัณฑ์ประเภทซักล้าง จากคุณสมบัติที่รอบด้าน ส่งผลให้มะนาวขายได้ตลอดทั้งปี จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า อัตราการขยายตัวของการปลูกมะนาวเชิงการค้าเฉพาะในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และราชบุรี เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14 ต่อปี อีกทั้งในระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่ได้ส่งออกมะนาว เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศค่อนข้างสูง

ข้อมูลที่กล่าว ข้างต้น จะเห็นว่าตลาดมีความต้องการไม้ผลชนิดนี้มาก ดังนั้น จะดีแค่ไหน ถ้ามะนาวที่ปลูกสามารถย่นระยะเวลาเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ถ้าอยากรู้ "เทคโนโลยีชาวบ้าน" มีเคล็ดลับดีๆ ของ คุณประวิทย์ แซ่โง้ว เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ 20 ไร่ ในตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ผู้คิดค้นเทคนิคการปลูกมะนาวต้นคู่ โตเร็ว ให้ผลผลิตที่ไวกว่าเดิม



ฉีกกฎปลูกมะนาว จากต้นเดี่ยว เป็นต้นคู่
ก่อนเผยเทคนิคการปลูก คุณประวิทย์ เล่าประวัติส่วนตัวคร่าวๆ ว่า อยู่บ้านเลขที่ 104 หมู่ที่ 3 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ก่อนหน้านี้เคยปลูกมะพร้าว ต่อมาเปลี่ยนเป็นหน่อไม้ฝรั่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีโรคและแมลงรบกวน อีกทั้งเสี่ยงกับราคาขายที่ไม่เป็นธรรม หนที่สุดหันมาปลูกมะนาว เพราะเห็นว่าได้ราคาดี ประกอบกับต้นมะนาวสามารถปลูกแซมกับพืชชนิดอื่นได้ อาทิ ฝรั่ง เผือก มะพร้าว

ด้วยความที่คุณประวิทย์เป็นคนชอบคิดค้น สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เมื่อครั้งที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง เขาเคยนำพลาสติคทำเป็นรูปกรวยแล้วสวมปลายยอดหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อบังคับไม่ให้หน่อไม้ฝรั่งบาน ช่วยให้ขายได้ราคาดี จากจุดนั้นได้พัฒนาและต่อยอด จนกระทั่งเป็นมะนาวต้นคู่

"เดิมที่สวนปลูกแต่มะนาวต้นเดี่ยวเป็นแบบยกร่อง ต่อมาทดลองปลูกเป็นแบบต้นคู่ หรือ 2 ต้น ลักษณะลำต้นไขว้กันในหลุมเดียวกัน แทนที่มะนาวจะโตช้า กลับโตเร็วเหมือนแข่งกันโต ฉะนั้น จึงนำเทคนิคดังกล่าวมาขยายผลอย่างจริงจัง" คุณประวิทย์บอก

สำหรับพื้นที่ จำนวน 20 ไร่ ของคุณประวิทย์ เจ้าตัวกล่าวว่า ใช้ปลูกมะนาวต้นคู่ทั้งหมด โดยพันธุ์ที่ใช้เป็นพันธุ์แป้นพวง เพราะเปลือกบางให้น้ำปริมาณมาก ขายได้ราคาดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ในส่วนของกิ่งพันธุ์ ซื้อมาจากตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก ราคากิ่งละ 25-30 บาท กิ่งพันธุ์ที่ใช้มีอายุ 45 วัน 1 ไร่ จะใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 1,000 กิ่ง

รายละเอียดพื้นที่ปลูก เจ้าของสวนบอกว่า เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสวนแบบยกร่อง จึงใช้ระยะปลูกมะนาว 4x4 เมตร ขนาดหลุมกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ปลูกในดินได้ทุกชนิด อาทิ ดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย แม้กระทั่งดินลูกรัง บริเวณก้นหลุมรองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ส่วนวิธีปลูก นำกิ่งพันธุ์จำนวน 2 กิ่ง ลงปลูกในหลุมเดียวกัน ลักษณะลำต้นไขว้กัน หรือวางติดกัน จากนั้นกลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งล้มหรือกิ่งฉีกหัก นำไม้มาปักพร้อมกับผูกเชือก ตลอดจนถ้าบริเวณโคนต้นแดดแรง ให้ใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าว มาพรางแสงแดด ทั้งนี้ เพื่อรักษาความชื้น


เผยทุกเคล็ดลับ เข้าใจง่าย
ส่วน ของการใส่ปุ๋ยและการให้อาหาร ในสัปดาห์แรก คุณประวิทย์ จะให้น้ำวันละครั้ง จากนั้นจะให้วันเว้นวัน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากต้นมะนาวตั้งตัวได้ จะให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีจะใส่ครั้งแรกหลังจากปลูกไปได้ 1 สัปดาห์ สูตร 46-0-0 ปริมาณ 1 ช้อนแกง ต่อหลุม ถัดจากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ จะใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 หลุมละ 1 ช้อนแกง

เมื่อต้นมะนาวอายุ 3 เดือน เจ้าของสวนจะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หลุมละ 1 กำมือ ใส่เดือนละครั้ง ไปจนกระทั่งมะนาวอายุได้ 5 เดือน นอกจากนี้ บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ไร่ละ 1 ตัน ปีละ 2 ครั้ง หลังจากมะนาวเริ่มติดผล ปรับไปใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 หลุมละ 3 กำมือ ต่อครั้ง ซึ่งมะนาวต้นคู่จะให้ผลผลิตเร็ว และมีปริมาณสูงกว่าต้นเดี่ยวถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยต้นไม่โทรม แถมปุ๋ยที่ใช้ก็มีปริมาณเท่ากับต้นเดี่ยว มีเพียงต้นทุนค่ากิ่งพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่อย่างไรก็ตาม นับว่าคุ้มค่ากับผลผลิตที่ได้รับ

ทราบถึงกระบวนการปลูก ถามเจ้าของสวนถึงศัตรูพืชดังกล่าว ได้ข้อมูลว่า ศัตรูมะนาวที่สำคัญ ได้แก่ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ล้วนทำให้ผลผลิตลดลงถึงขั้นกิ่งและต้นแห้งตายไปในที่สุดเลยก็ว่าได้

"หนอนชอนใบ สังเกตได้จากใบจะหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ ใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นไม่ติดผล ส่วนเพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน หรือตั้งแต่เริ่มติดผล มะนาวที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผลและก้นผล สุดท้าย โรคแคงเกอร์ สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้ง ใบ กิ่งก้าน และผล ลักษณะอาการ ใบและผลจะเป็นแผล ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ส่วนอาการที่กิ่งและก้านจะมีแผลฟูนูนสีน้ำตาล ค่อยๆ ขยายไปรอบๆ กิ่ง เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มาก ต้นจะโทรม ใบร่วง แคระแกร็น ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายไปในที่สุด"

สำหรับวิธีการ ป้องกันและจำกัดศัตรูพืช เกษตรกรรายนี้ระบุว่า วิธีแรกหมั่นคอยสำรวจแปลง หากพบกิ่งหรือผลที่ติดโรค ให้ตัดออกแล้วเผาทำลาย แต่กรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้ใช้สารเคมีกำจัด


รับรองคุ้มทุน มะนาวไทยขายได้ทั้งปี
ด้านของปริมาณผลผลิต มะนาวต้นคู่จะเริ่มให้ผลผลิตภายใน 14-15 เดือน ต่างจากมะนาวทั่วไปที่ให้ผลผลิต 19 เดือน หลังให้ผลผลิต 3-4 ปี สังเกตต้นมะนาวจะมีต้นใดต้นหนึ่งเริ่มโทรม ให้ปลูกต้นเสริมมาแทนที่ จนกว่าต้นเสริมจะแข็งแรงดีให้ตัดต้นที่โทรมออก จะได้ต้นมะนาวที่อยู่ในระยะให้ผลผลิตเต็มที่ตลอดเวลา

"มะนาว จะออกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พื้นที่ปลูก 20 ไร่ มี 40 กว่าร่อง เก็บผลผลิตช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้ร่องละ 2,500 กิโลกรัม หรือประมาณไร่ละ 5 ตัน ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งเก็บมะนาวได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัม ต่อเดือน โดยผลผลิตที่เก็บได้ เป็นขนาดจัมโบ้ 40 เปอร์เซ็นต์ ขนาดกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ และขนาดเล็ก 20 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยแล้วมะนาวต้นคู่ 1 ต้น ให้ผลผลิตประมาณ 1,500 ลูก ต่อปี หากเป็นมะนาวต้นเดี่ยวจะให้ผลผลิตต้นละ 1,300 ลูก ต่อปี"

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ด้านช่องทางจัดจำหน่าย คุณประวิทย์ บอกว่า จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ ส่วนใหญ่นำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง สำหรับราคามะนาวแต่ละเกรดต่างกัน 70 สตางค์ ซึ่งเบอร์ใหญ่สุดจะขายได้ลูกละ 2.70 บาท

แม้ว่าการปลูกมะนาวแบบต้นคู่จะโตเร็ว แต่ในด้านเงินลงทุนถือว่าค่อนข้างสูง เพราะต้องซื้อกิ่งพันธุ์เพิ่ม เบ็ดเสร็จแล้ว 1 ไร่ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งเก็บผลผลิต ประมาณ 60,000 บาท แต่อย่างไรก็ตาม

คุณประวิทย์ บอกว่า คุ้มค่า เพราะภายหลังมะนาวออกผลเพียงครึ่งปีก็สามารถคืนทุนได้แล้ว แถมหลังช่วงเก็บเกี่ยว หรือเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะมีพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า "หญ้าชิวคัก" ขึ้นเองตามธรรมชาติ นำไปใช้ทำขนม เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ช่วยให้แป้งนิ่ม มีรสชาติดี ขายได้กิโลกรัมละ 300-400 บาท พื้นที่ 20 ไร่ มีหญ้าชนิดนี้ขึ้นราว 100 กิโลกรัม สร้างรายได้ครั้งละประมาณ 30,000 บาท

จะเห็นได้ว่า กรรมวิธีการปลูก การบำรุงดูแลรักษา "มะนาวต้นคู่" ไม่ได้มีความยุ่งยาก หรือแตกต่างไปจาก "มะนาวต้นเดี่ยว" ฉะนั้น เทคนิคง่ายๆ จากเกษตรกรรายนี้ นับว่าน่าลองนำไปใช้ทีเดียว




ผู้ปลูกรายใดที่สนใจ สามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ คุณประวิทย์ แซ่โง้ว ได้ ณ บ้านเลขที่ 104 หมู่ที่ 3 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เบอร์โทรศัพท์ (086) 573-4188, (032) 246-335

1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 490
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05028011153&srcday=&search=no

http://www.fisheries.go.th/cf-pak_panang/webbord/index.php?topic=541.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 20/03/2011 8:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศัตรูพืชมะนาว....

http://www.oranuch131.ob.tc/h3.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 20/03/2011 9:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว คือ มักจะพบโรคแคงเกอร์ระบาดในต้นมะนาว ทำให้ได้ผลผลิตลดลง และยังต้องเสียค่าต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องใช้สารเคมีในการกำจัดโรคนี้

คุณลุงเฉลียว น้อยแสง เกษตรกรที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ที่เกิดขึ้น โดยได้นำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาปรับใช้ ในการแก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ในต้นมะนาวของตนเอง โดยใช้มูลหมูขุน เนื่องจากงานวิจัย ระบุว่ามูลของหมูขุนที่ถ่ายออกมา มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่มาก เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน จึงเป็นการช่วยบำรุงต้นมะนาวให้แข็งแรงขึ้นด้วย

ส่วนวิธีการนำมาใช้ นำมูลหมูมาตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อเป็นการลดกลิ่นเหม็นของมูลหมูลง นำมูลหมูแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม ใส่ในถุงตาข่ายมัดปากถุงและนำไปแช่ในน้ำเปล่า 10 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน จึงนำมาใช้ได้ โดยเกษตรกรจะใช้น้ำหมักมูลหมู 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ซึ่งครั้งแรกจะฉีดพ่น 3 วันต่อ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง หลังจากนั้น ให้ฉีดสัปดาห์ละครั้ง และสังเกตว่า ถ้าอาการของโรคแคงเกอร์ลดลง ให้ลดการฉีดลงเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจาย ทั้งนี้ยังนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำหมักมูลหมู โดยนำสารสกัดชีวภาพที่ใช้ไล่แมลงมาผสมฉีดพ่นขับไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

เกษตรกรไม่มีต้นทุนค่าสารเคมีในการกำจัดโรคแคงเกอร์ และยังได้ผลผลิตที่ปลอดสารเคมี สามารถนำไปจำหน่าย สร้างรายได้เพิ่มขึ้น

(คุณ พันจ่าโทเฉลียว น้อยแสง เกษตรกร จ.ชัยนาท โทร.086-205-9124)


http://www.ch7.co.th/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=121006

คลิกไปดู คลิป วีดีโอ....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 20/03/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'มะนาวไร้ดิน'รายแรกในไทย [No. 0]

เกษตรกรแปดริ้วประสบความสำเร็จปลูกมะนาวไร้ดินเป็นรายแรกในไทย ทดลองปลูก 5 เดือนต้นไม้โตเร็วและออกผลดก ทดสอบรสชาติไม่แตกต่างจากมะนาวดิน เผยต้องดูแลและลงทุนสูงกว่าการเกษตรบนดิน พร้อมส่งผลงานร่วมมหกรรมพืชสวนโลกเชียงใหม่

นายทรงยศ ยงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประถมชัย ไฮโดรเทค จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการปลูกมะนาวระบบไฮโดรโปรนิก หรือปลูกโดยไม่ใช้ดิน จากที่ผ่านมาเป็นเพียงการปลูกไม้ใบ เช่น ผักสลัด เท่านั้น จึงถือเป็นรายแรกในประเทศที่ปลูกไม้ผลด้วยระบบดังกล่าว และแสดงให้เห็นว่าไม้ผล เช่น มะนาว มะเฟือง ส้ม ลำไย ก็สามารถปลูกด้วยวิธีนี้ได้เช่นเดียวกัน

บริษัทได้ทดลองปลูกมะนาวไร้ดินได้ประมาณ 5 เดือน จากการทดสอบปรากฏว่าขนาดและรสชาติ ไม่แตกต่างจากมะนาวทั่วไป ความคืบหน้าขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงการทดลอง และต้องเก็บสถิติข้อมูลให้ครบทุกด้าน ทั้งจำนวนผลผลิต ค่าใช้จ่ายและวิธีการดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม บริษัทได้นำต้นมะนาวไร้ดิน ร่วมจัดแสดงใน "มหกรรมพืชสวนโลก" จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายนถึง 31 มกราคมปีหน้า

การปลูกมะนาวด้วยระบบไฮโดรโปรนิกนั้น การดูแลรักษาจะต้องเอาใจใส่มากกว่าไม้ใบ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปลูกสั้นกว่าไม้ผล จะต้องดูแลการให้ปุ๋ยและศัตรูพืช อีกทั้งควรคำนึงถึงทิศทางการวางของต้น เพราะหากมีการเจริญเติบโตแล้ว ไม้ผลจะเคลื่อนย้ายได้ยาก ส่วนโรงเรือนต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระดับ 35-40 องศาเซลเซียส แสงแดดส่องไม่ถึงเพื่อป้องกันตะไคร้น้ำเกาะที่ราก ทำให้การดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่

"น้ำที่ใช้ในการปลูกต้องเป็นน้ำกลั่น เพื่อความสะดวกในการควบคุมปริมาณสารอาหารที่เติมลงในน้ำ และต้องเติมออกซิเจนตลอดเวลาด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้กับตู้ปลา หากไม่มีออกซิเจนเลี้ยงรากอาจทำให้รากเน่าได้ ขณะที่สารอาหารประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียมและแมงกานีส โดยจะเติมสารอาหาร 2 สัปดาห์ต่อครั้ง และค่าสารอาหารประมาณครั้งละไม่เกิน 20 บาท " นายทรงยศ กล่าว

แม้ว่ามะนาวไร้ดินจะเติบโตให้ผลผลิตเร็วและดกกว่าปลูกในดิน เพราะต้นมะนาวสามารถดูดซึมสารอาหาร ซึ่งอยู่ในรูปไอออนหรือโมเลกุลเล็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทันที ขณะที่รากของมะนาวดินจะต้องชอนไชหาสารอาหารเอง และต้องแก่งแย่งกับวัชพืชด้วย แต่การส่งเสริมมะนาวระบบไฮโดรโปรนิกให้แพร่หลายเชิงพาณิชย์ได้นั้น จะต้องพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลูกให้ราคาถูกลง


ทั้งนี้ ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ที่การเกษตรแบบธรรมดามีข้อจำกัด เช่น พื้นที่ที่เป็นหิน ภูเขาสูงชัน เป็นทะเลทรายหรือที่ดินเพาะปลูกมีปัญหา เช่น ดินเค็มจัด เปรี้ยวจัด หรือเป็นที่สะสมของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช นอกจากนั้นยังใช้น้ำและปุ๋ยน้อยกว่าการปลูกพืชในดิน เพราะน้ำและปุ๋ยไม่สูญเสียจากการไหลทิ้ง โดยสามารถนำปุ๋ยกลับมาใช้หมุนเวียนได้อีก ใช้แรงงานน้อยเพราะไม่ต้องเสียเวลากำจัดวัชพืช สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของราก เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช


http://www.pornkruba.net/webboard_286829_3097_th?lang=th

คลิกไปดูรูปที่เว้บอ้างอิง.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Weerawat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/02/2011
ตอบ: 15
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ.สมุทรสาคร

ตอบตอบ: 19/12/2011 6:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ไม่ได้เข้ามาโพสนานมากแล้วครับ แต่ก็ยังวนเวียนมาหาความรู้จากเวปนี้ตลอด....คิดถึงครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 135

ตอบตอบ: 19/12/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดีใจที่ได้ข่าวสมาชิกเก่าๆพวกเรากันเข้ามาบ้าง
ตอนนี้หลายคนคงผ่านปัญหาน้ำกันมามาก
แต่คาดว่าปัญหาน้ำลายท่วมสภาจะตามมา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Weerawat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/02/2011
ตอบ: 15
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ.สมุทรสาคร

ตอบตอบ: 20/12/2011 12:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าตอบกระทู้ได้แล้ว ผมเองก็รอจนมะนาวเริ่มเก็บลูกได้แล้วครับ Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©