-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สมาชิกใหม่สวัสดี ค่ะ...ถาม เรื่องทะเบียนปุ๋ย...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ประเภทของการทำสวนผัก...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ประเภทของการทำสวนผัก...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 7:37 pm    ชื่อกระทู้: ประเภทของการทำสวนผัก... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประเภทของการทำสวนผัก (types of vegetable gardening)

โดย นายวัฒนา เสถียรสวัสดิ์






การทำสวนผักอาจจัดแบ่งออกได้ ๕ ประเภท




การทำสวนครัวหรือสวนผักหลังบ้าน (home gardening)

เป็นการทำสวนผักเล็กๆ น้อยๆ เป็นงานอดิเรก เพื่อให้มีผักไว้ใช้รับประทานในครอบครัว เป็นการประหยัดรายจ่าย นอกจากนั้นอาจจะมีเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน หรือขายเป็นรายได้พิเศษ

การทำสวนครัวเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกครัวเรือน เพราะการที่เรามีผักสดรสดีไว้รับประทานเอง เราจะไม่ต้องพะวงเรื่องความสกปรก และพิษยาฆ่าโรคแมลงที่ตกค้างเหมือนกับผักที่ไปซื้อหามา การทำสวนครัวเหมาะต่อการฝึกเด็กๆ ที่บ้านให้รู้จักทำงาน ให้รู้จักธรรมชาติ รู้จักใช้มือ ใช้สมองตลอดจนเป็นการออกกำลังกายไปด้วยในตัว

การทำสวนครัว เหมาะต่อคนทุกเพศวัยเหมาะที่สุดสำหรับคนเมืองหลวง โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องออกทำงานนอกบ้านต้องพบกับภาวะประจำวันที่น่าเบื่อหน่าย อาทิถนนสายต่างๆ รถติดยาวเหยียด อากาศที่ร้อนอบอ้าว ประกอบกับไอร้อนและควันพิษรถยนต์ ถ้าทุกคนทุกครอบครัวหันมาทำสวนครัวกันเสียก็จะช่วยสุขภาพจิตได้ การทำสวนครัวจึงเป็นยารักษาจิตอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงพยาบาลประสาท ถ้าท่านไม่มีที่ดินจะปลูกผัก ก็อาจปลูกในปีบรั่ว ถังแตกกะละมังทะลุ ลังไม้ ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ฯลฯ ท่านจะปลูกผักอะไรก็ได้ ถึงแม้ไม่มีที่ภายนอกอาคารเลย อย่างน้อยท่านอาจจะเพาะถั่วงอกไว้กินเองได้โดยเพาะกับกระสอบเก่าๆ ที่ชุบน้ำให้ชื้นหรือใช้ถุงพลาสติกใส่ขี้เลื่อยเพาะเห็ดทำได้ไม่ยาก








การทำสวนผักเพื่อส่งตลาดใหญ่ (truck gardening)

เป็นการปลูกผักอาชีพสำหรับส่งตลาดไกลๆ การทำสวนผักประเภทนี้ชาวสวนมักจะมุ่งทำพืชเฉพาะอย่าง (specialized gardening) เช่น ปลูกผักกาด ก็ปลูกผักกาดอย่างเดียว ปลูกพริกก็ปลูกพริกอย่างเดียว และพืชที่ปลูกก็มักจะทำตามความเหมาะสมกับดินฟ้าอากาศ ผักที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านตลาดกลางในกรุงเทพฯ ก่อน เช่น ตลาดปากคลองตลาด ตลาดท่าเตียน ตลาดมหานาคจากนี้ผักก็ถูกส่งไปจำหน่ายตามต่างจังหวัดอีกทอดหนึ่ง ตัวอย่างการปลูกผักกาดหัว ถั่วเขียว พริก หอมแดง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี การปลูกผักคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี คลองรังสิตอำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี คลองมหาสวัสดิ์ อำเภอภาษีเจริญและตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี การปลูกหอมฝรั่ง กระเทียม ถั่วเหลือง ในเขตที่มีการชลประทานในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เป็นต้น





การทำสวนผักเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร (vegetable production for processing)

การทำสวนผักประเภทนี้ มักจะทำอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับที่ตั้งโรงงาน ในที่ซึ่งการขนส่งจากสวนผักไปโรงงานทำได้สะดวก หรือในขอบเขตที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโรงงานจะเข้าไปติดต่อแนะนำส่งเสริมได้สะดวกการผลิตที่เกี่ยวข้องกับชนิดผัก ปริมาณและคุณภาพของผัก มักจะกระทำตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างโรงงานกับเจ้าของสวน การทำสวนผักประเภทนี้ ผักที่ส่งโรงงานอาจจะเป็นผักที่เอาไปทำอาหารกระป๋อง (canning vegetables) ผักที่เอาไปทำแห้ง (dehydrated vegetables) หรือผักที่เอาไปแช่เย็น (frozen vegetables) หรือผักที่เอาไปทำน้ำซ๊อส น้ำคั้น ทั้งนี้ก็สุดแท้แต่ความประสงค์ของโรงงาน







การทำสวนผักด้วยวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อม (vegetable forcing)

เป็นการปลูกผักนอกฤกาล หรือเมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำนวย เช่น หนาวจัดเกินไป ร้อนจัดเกินไป ฝนตกหนักเกินไป การปลูกผักวิธีนี้กระทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง อาทิการผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ การวิจัยด้านการเพิ่มผลผลิต

การปลูกผักเป็นการค้าในเรือนกระจกหรือเรือนพลาสติก กระทำในฤดูหนาว และในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ยังนิยมปลูกผักในน้ำ (water culture) แทนการปลูกในดินด้วย เป็นต้น

การควบคุมสภาพแวดล้อมต้องอาศัยอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม เช่น เครื่องปรับอากาศอุ่น ซึ่งเป็นการปลูกผักภายในโรงกระจกในฤดูหนาว ในประเทศที่อากาศหนาวจัด การใช้พวกเครื่องปรับอากาศเย็นช่วยการปลูกผักภายในโรงกระจกในที่มีอาการร้อนจัด นอกจากนี้ก็ต้องมีการควบคุมความชื้น แสงสว่าง การปลูกผักด้วยวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อมนี้ต้องลงทุนสูง และต้องใช้วิธีการพิเศษ

การปลูกผักด้วยวิธีการคุมสภาพแวดล้อมนี้ โดยทั่วไปในบ้านเราไม่นิยมกระทำกันทั้งนี้เนื่องจากผลได้ไม่คุ้มทุน การปลูกผักด้วยวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อมนี้ เราจะทำเฉพาะในกรณีที่ให้ผลคุ้มค่า หรือเป็นการทดลองเท่านั้นส่วนใหญ่การปลูกผักด้วย

การควบคุมสภาพแวดล้อมในประเทศเรา เราจะควบคุมเฉพาะปัจจัยที่จำเป็น ตัวอย่างการเพาะกล้าผักที่เมล็ดมีราคาแพง เรามักจะควบคุมปัจจัยของสภาพแวดล้อมเป็นบางอย่าง เช่น ควบคุมการรบกวนจากฝนและแสงแดดที่มากเกินพอ โดยการใช้หลังคาจากหรือผ้าดิบคลุม และมีการปิดเปิดให้แสงแดดเข้าในช่วงเวลาที่เหมาะสม เมื่อกล้าโตพอสมควร อาจจะย้ายลงปลูกในกระทง ถุงพลาสติก กระถาง หรือแท่งเพาะกล้าตั้งไว้ในโรงกระจกหรือโรงไม้ระแนง (lathehouse) หรือโรงกันแมลง (screen house) ทั้งนี้สุดแท้แต่ความเหมาะสม ต่อเมื่อสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอำนวย จึงจะทำการย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่อีกทีการปลูกผักภายใต้

สภาพการควบคุมภาวะแวดล้อมนี้ มักจะกระทำกันมากในการเพาะเห็ดต่างๆ เช่นเห็ดฟาง เห็ดหูหนู ซึ่งต้องมีการควบคุมอากาศให้อบอุ่น ควบคุมแสง ควบคุมความชื้น ฯลฯ








การปลูกผักเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ (vegetable growing for seed production)

เป็นการปลูกผักที่ต้องใช้เวลานานกว่า ใช้วิธีการดูแลรักษามากกว่า และเสี่ยงมากกว่าการปลูกเพื่อขายสด ตัวอย่างผักกาดหัว การปลูกขายสดจะใช้เวลาราว ๔๕-๖๐ วัน แต่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จะต้องใช้เวลา ๑๒๐-๑๕๐ วัน บางทีเมล็ดอาจจะติดไม่ดีเนื่องจากมีอากาศร้อนจัดในระยะที่ดอกกำลังจะมีการผสมเกสร (pollination) บางทีติดเมล็ดน้อยเพราะแมลงผสมเกสร (insect pollinators) มีปริมาณไม่เพียงพอ ดังนั้น เราจะเห็นว่ามีการเสี่ยงมากกว่า

ในการปลูกผักกาดหอมห่อ ถ้าจะให้ช่อดอกออกดีก็ต้องมีการผ่าหัว (deheading)

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพืชจำพวก ๒ ฤดู (biennial vegetable crops) เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หอมฝรั่ง ฯลฯ ก็ต้องใช้วิธีการพิเศษและยุ่งยากมากกว่าการปลูกเพื่อขายสด

ผักบางชนิดนอกจากจะต้องมีการทำลายการพักตัวด้วยอากาศเย็นเป็นเวลานานเพียงพอแล้ว ยังจะต้องมีการป้องกันการงอกในระหว่างเก็บรักษา และก็ยังจะมีปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีก

อนึ่ง การทำสวนผักเป็นอาชีพในบ้านเรา ถ้าเป็นบริเวณที่ลุ่ม เช่นในภาคกลางจะนิยมทำสวนผักแบบยกร่องใหญ่ โดยปกติจะทำเป็นแปลงกว้าง ๔ เมตร ยาวไม่เกิน ๘๐ เมตร ตรงกลางพูนเป็นแปลงปลูก มีทางเดินและคูน้ำรอบแปลง เพื่อประโยชน์ในการรดน้ำและระบายน้ำ เดิมการปลูกผักแบบนี้ใช้แรงงานคนทั้งสิ้น ปัจจุบันได้หันมาใช้เครื่องมือกลทุ่นแรง (mechanisation) มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดิน การฉีดยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การรดน้ำ ดังนั้นขนาดของแปลงปลูก ทางเดินและคูน้ำรอบแปลง จึงมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับเครื่องมือกลที่ใช้

การปลูกผักในบริเวณที่ดอนจะนิยมทำเป็นแปลงใหญ่แบบยกร่องเล็ก (furrow) แต่ทำเป็นแปลงใหญ่มีทางสำหรับให้เครื่องมือกล เช่น แทรกเตอร์เข้าทำงานได้ ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือกลช่วยในการเตรียมดิน การยกร่อง การพรวน การชลประทานและการระบายน้ำ โดยที่ค่าแรงงานในประเทศเรายังถูกและคนว่างงานมาก ดังนั้นจึงยังมีการใช้แรงงานคนช่วยในกิจกรรมต่างๆ มาก เช่น การย้ายปลูก การใส่ปุ๋ย การพรวน การถอนแยก ฯลฯ ส่วนการฉีดยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช การชลประทาน นิยมใช้เครื่องมือกล

การปลูกผักตามเชิงเขาและที่ลาดชันก็นิยมใช้วิทยาการสมัยใหม่ในการรักษาหน้าดินมากขึ้นอาทิมีการปลูกผักตามแนวระดับ หรือปลูกตามแนวขั้นบันได ในประเทศที่พัฒนาแล้วค่าแรงสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศเราและแรงงานหายาก เขาจึงนิยมใช้เครื่องมือกลทุ่นแรงช่วยในกิจกรรมของสวนผักทุกอย่างตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว แม้แต่การปลูกผักที่เมล็ดมีขนาดเล็กมาก เช่น หอมฝรั่ง (onion) เซเลอรี (celery) ผักกาดหอม (lettuce) ก็ไม่มีการเพาะกล้าและย้ายปลูก แต่เขาจะปลูกในแปลงปลูกโดยตรง (direct seeding) เพราะทุ่นค่าแรงงานกว่าประหยัดเวลากว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า (ดูเพิ่มเติมเรื่อง การขยายพันธุ์พืช)


บรรณานุกรม
• นายวัฒนา เสถียรสวัสดิ์

http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C__(vegetable_growing_for_seed_production)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขั้นตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์

• การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย

• ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

• การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง
ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเอง คือ เอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ

การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง
ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

การเก็บเกี่ยว
เมื่อถึงอายุควรเก็บเกี่ยวทันทีถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมี ประมาณ 34.40 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชโดยใช้สารเคมีเลย

ปลูกพืชหมุนเวียน
หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรเช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดีหลักเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีก จะไม่ได้ผลเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเชียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุกๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

การปลูกพืชอินทรีย์
ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสมุนไพรสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำ จะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีน ฯลฯ และแนวนอน คือ พืชผักต่างๆ คะน้า กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุกพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์

การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง
ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป



http://www.doae.go.th/library/html/detail/110750/page8.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเพิ่มประสิทธิภาพการงอก ของเมล็ดพันธุ์


เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกมีความสำคัญมากสำหรับการปลูกผักไร้สารพิษเพราะการมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ จะนำไปสู่การเพาะปลูกที่ประสบผลสำเร็จ เมล็ดพันธุ์ที่ดี จะทำให้การงอกของผักดี ต้นแข็งแรง สมบูรณ์ ต่อสู้กับแมลงและโรคได้ดี เจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูง

เกษตรกรผู้ปลูกผักควรเน้นการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง แทนการซื้อจากตลาด เพื่อลดรายจ่าย และลดความเสี่ยงจากการได้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ เพราะปัญหาของผู้ปลูกผักในปัจจุบันก็คือ เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาเพาะไม่งอก เก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อไม่ได้ถ้าเก็บมาปลูกก็จะกลายพันธุ์

คำถามจึงมีอยู่ว่าทำอย่างไรเราจึงจะมีเมล็ดพันธุ์ดีๆ มาปลูก
คุณสมบัติของเมล็ดพันธุ์ที่ดี
๑. จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง
๒. ทนต่อดินฟ้าอากาศ
๓. ต้านทานต่อโรคและแมลง
๔. ปลูกแล้วให้ใบดอก ผล สวยสมบูรณ์ น่ารับประทาน มีรสชาติดี

เมล็ดพันธุ์ผักที่มีลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ที่ผ่านการพัฒนาพันธุกรรมโดยธรรมชาติ และการเก็บคัดเลือกพันธุ์ของคนที่อยู่ในที่นั้นๆ จึงทนทานต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี

หลักในการเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี
๑. เมล็ดถูกบรรจุในภาชนะที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง กรวด ทราย
๒. ภาชนะบรรจุและเมล็ดพันธุ์ไม่มีความชื้น ไม่มีเชื้อรา
๓. ไม่มีรอยสัตว์แทะหรือแมลงติดกับเมล็ดพันธุ์
๔. ไม่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีโรคระบาด
๕. ซื้อเมล็ดพันธุ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ โดยพิจารณาจากประสบการณ์ในการปลูกครั้งที่ผ่านๆ มา ว่าเมื่อนำมาปลูกแล้วมีอัตราการงอกสูงหรือไม่ มีผลสูง มีรูปร่างดี มีน้ำหนักและรสชาติดีตรงตามลักษณะที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าปลูกแล้วได้ผลดี เมล็ดพันธุ์จากผู้ผลิตนั้นก็มีความน่าเชื่อถือสูง

๖. รูปทรงของเมล็ดตรงตามพันธุ์ ไม่บิดเบี้ยวจากพันธุ์ที่ต้องการ

อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาจากตลาด อย่างมากก็จะเก็บพันธุ์ไว้ปลูกได้เพียง ๑-๒ ครั้งเท่านั้น บางชนิดก็ไม่สามารถเก็บพันธุ์ได้เลย ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการปลูกผักไร้สารพิษ จึงควรพัฒนาความรู้ ผลิตและพัฒนาพันธุ์ผักเอง เพื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเองมากที่สุด

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาจากตลาด หรือเก็บไว้นานแล้ว อาจมีประสิทธิภาพการงอกต่ำ หากนำไปปลูก อาจไม่งอกได้ ดังนั้นเพื่อลดการเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ก่อนปลูกควรได้ทดสอบเปอร์เซ็นต์ การงอกของ เมล็ดพันธุ์เสียก่อน โดยวิธีการดังต่อไปนี้


การทดสอบประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์
การทดสอบเมล็ดพันธุ์พืชว่าเสียหรือดี ขอแนะนำวิธีง่ายๆ เพียง ๒ วิธี ดังนี้
๑. การแช่เมล็ดผักในน้ำ นำถังใส่น้ำมา แล้วสุ่มหยิบเมล็ดพันธุ์จากภาชนะบรรจุใส่ลงไปในถังน้ำนั้น เมล็ดที่เสียจะลอยน้ำขึ้นมา ส่วนเมล็ดดีจะจมน้ำ ถ้ามีเมล็ดลอยน้ำ ก็หมายความว่ามีเมล็ดเสียมาก อย่าซื้อมาปลูก


๒. การทดสอบหาเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด
อุปกรณ์
๑. จานหรือกระบะ
๒. วัสดุซับน้ำ เช่น กระดาษทิชชู ผ้าสำสี หรือทรายสะอาด
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก
๔. น้ำ

วิธีการ
๑. ขีดตารางขึ้น ๑๐๐ ช่องบนกระดาษทิชชูหรือผ้า แล้ววางลงบนจานแบบพรมน้ำให้ชุ่ม ถ้าเป็นทรายก็เอาทรายใส่กระบะพรมน้ำให้ชุ่ม แล้วขีดตาราง ๑๐๐ ช่อง
๒. สุ่มหยิบเมล็ดผัก ในจุดต่างๆ ของภาชนะที่ใส่เมล็ดพันธุ์ ใส่ลงไปในช่องบนกระดาษ/ผ้า/ทราย ทั้ง ๑๐๐ ช่อง รวม ๑๐๐ เมล็ด
๓. เอากระดาษทิชชูทับ และพรมน้ำอีกที ถ้าเป็นผ้าก็ให้ใช้ไม้ม้วน ถ้าเป็นกระบะก็เอาผ้าชุบน้ำคลุมไว้
๔. ทิ้งไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสบายๆ ดูแล กระดาษ/ผ้า ให้ชุ่มตลอดเวลา แต่อย่าให้แฉะ ประมาณ ๑-๓ วัน เมล็ดพืชจะเริ่มงอกออกมา
๕. คลี่กระดาษ หรือผ้าออก แล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอก

*** ถ้างอกเกิน ๙๐ เมล็ดขึ้นไปนำไปปลูกได้
*** ถ้างอก ๗๐-๘๐ เมล็ดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ควรนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการงอก
*** ถ้างอกแค่ ๖๐ เมล็ด ไม่ควรนำไปปลูก
*** การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์


จากการทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ และพบว่าเมล็ดผักที่มีประสิทธิภาพการงอกต่ำนั้น มีสาเหตุได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

๑. เมล็ดพันธุ์กำลังอยู่ในระยะการฟักตัว นอนหลับ
๒. เมล็ดพันธุ์ถูกเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม
๓. ดูแลต้นพันธุ์ที่เก็บเมล็ดมานั้นไม่ดี
๔. ภาชนะ และวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไม่ดี มีความชื้น
๕. เมล็ดพันธุ์ถูกเก็บไว้นานเกินไป

และบางครั้งถ้าใช้วิธีทดสอบการงอกไม่เหมาะสมกับชนิดของเมล็ดผักแล้ว อาจทำให้ประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดผักต่ำได้ จึงควรเลือกวิธีการทดสอบให้เหมาะสมกับเมล็ดผักด้วย


วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ด
๑. การตัดบางส่วนของเมล็ดออกหรือนำเมล็ดมาขัดบนกระดาษทราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมล็ดผักที่เป็นไม้ยืนต้น และเป็นเมล็ดที่เปลือกแข็ง

๒. การแช่เมล็ดในน้ำร้อน ๕๐-๕๕ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๑๕-๒๐ นาที แล้วนำมาตากให้แห้งในที่ร่ม วิธีนี้ยังช่วยป้องกันโรคผักที่จะเกิดจากเชื้อราได้ด้วย (และมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ)

๓. การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำเย็น ๔-๑๒ ชั่วโมง แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดที่เก็บไว้นานมีเปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น ต้นผักแข็งแรงขึ้น

ผักที่เหมาะสมกับวิธีแช่น้ำร้อนหรือเย็น ก็คือ ข้าวโพด มะเขือ มะเขือเทศ ผักกาด แครอท หอมหัวใหญ่ พริก พริกไทย แตงกวา และดอกทานตะวัน

ผักที่ใช้วิธีแช่น้ำในการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกไม่ได้คือ ผักในตระกูลถั่ว เพราะถั่วจะดูดซับน้ำได้ดี เมื่อแช่น้ำนานๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อเมล็ดเสียหาย เมล็ดผักในตระกูลถั่วจึงต้องแช่ในขี้เถ้าแกลบ/ผงถ่าน/ขี้เลื่อย/กระดาษทิชชู หรือผ้าที่ชุ่มน้ำ แทนการแช่ในน้ำโดยตรง วัสดุเหล่านี้จะคายน้ำออกมาช้าๆ ทำให้เมล็ดค่อยๆ ดูดซึมน้ำไว้ และค่อยๆ ฟื้นตัวจากการนอนหลับขึ้นมา


ข้อน่าสังเกต
โดยปกติแล้วเมล็ดผักจะใช้เวลาในการงอกประมาณ ๑-๕ วัน เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความสามารถในการงอก และปริมาณน้ำ ถ้าเป็นเมล็ดใหม่คุณภาพสูงจะใช้เวลาการงอกสั้นและใช้น้ำน้อย เมล็ดที่งอกช้า ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดที่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา

มีข้อน่าสังเกตอีกอย่างคือ บางครั้งการทดสอบเปอร์เซ็นต์การงอกได้ผลดี แต่เมื่อนำไปปลูกแล้วกลับไม่ได้ผล ซึ่งสาเหตุที่เป็นอย่างนี้ให้พิจารณาในเรื่อง ดิน ไม่เหมาะสม ดินมีความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป หรือขาดธาตุอาหารในดิน หรือดินมีความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ



(ข้อมูลจากชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน)


http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k160/062.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 8:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมล็ดพันธุ์ คือชีวิตและลมหายใจของเกษตรกร

ในสภาวะเศรษฐกิจโลก ณ ขณะปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่อย่างทุกวันนี้ ท่ามกลางการแสวงหาและทรัพากรที่มีอยู่อย่างจำกัดที่มนุษย์เราส่วนใหญ่พยายาม ตักตวงเอาจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยใช้เงินเป็นตัวชี้วัดแลกซื้อความพอใจของตัวเอง

หากคนไม่เข้าใจจิตเดิมแท้แล้ว มันย่อมมีการปรับเปลี่ยนปรุงแต่งมากยิ่งขึ้น ตรงจุดตรงนี้เองที่ทำให้ความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ล้ำสมัยของมนุษย์มีมาก ขึ้น เช่น มีการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืช พันธุ์สัตว์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติดั่งเดิมมี มากขึ้น จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรไม่รู้ถึงลักษณะดั่งเดิมของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ทางธรรมชาติ ที่ใช้ชีวิตการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองในแต่ละสภาพภูมิประเทศ ที่ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ความหลากหลายทางชีวภาพจึงลดลงและหายไป

ในทางตรงกันข้ามกระแสการบริโภคได้กระตุ้นความต้องการของผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไร้ขอบเขต เนื่องจากความอยากของคนไม่มีความสิ้นสุด ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่ทำกิน แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร เพิ่มมากขึ้นๆ และที่มากไปกว่านั้น คือ ความต้องการชื่อเสียง การยกย่องในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งปะปนมาด้วย การใช้ทรัพยากรในธรรมชาติจึงไม่เป็นไปแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” ซึ่งหากถ้าทำเชิงอนุรักษ์แล้ว จะทำให้มีใช้ตลอดไปและยั่งยืน


การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชผักไว้ขยายพันธุ์เองในครัวเรือน
การคัดเลือกและการเก็บเกี่ยว
การคัดเลือก พืช ผัก เพื่อใช้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรจะคัดจากต้นที่ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ที่สำคัญคือพ่อแม่พันธุ์ต้องมีความสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด โดยจะต้องทำการคัดแยกเมล็ดจากผลสุกแล้วหลังจากการเก็บเกี่ยว สำหรับพวกพริก มะเขือเทศ มะเขือชนิดต่างๆ แตง ฟักทอง ฯลฯ ถ้าหากเป็นผักจะต้องรอสักระยะหนึ่งเพื่อให้ผลสุกแก่ดีหรือรอให้ผักแห้งดี ก่อนค่อยเก็บ หากมีต้นผักที่เราต้องการรักษาไว้เก็บพันธุ์พิเศษ จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำสัญลักษณ์ติดป้ายหรือใช้ฟางสีแดง หรือขาวผูกติดไว้ที่เฉพาะต้นหรือลูกที่เราต้องการจะเก็บพันธุ์เพื่อเตือน ความจำเรา จะช่วยทำให้รู้ว่าจะเก็บพันธุ์ไว้ใช้ต่อในครั้งต่อไป

การคัดแยกเมล็ดพันธุ์จากพืชผักแบบต่าง ๆ
1. เมล็ดพันธุ์แห้ง ที่อยู่ในต้นพืช เช่น ผักจำพวก ข้าวโพด กระเจี๊ยบ บวบ ผักกาดดอก ผักกาดขาว ชีหอม ผักกินใบต่างๆ พืชเลื้อยจำพวก น้ำเต้า ผักชนิดอื่นๆที่มีเมล็ดพันธุ์อยู่ในฝักหรือช่อดอกที่แห้งอยู่ในต้น เมื่อผลแห้งพอสมควรแล้วเราก็จะเก็บผลที่แห้งมาลดความชื้นให้แห้ง 2-3 วัน โดยการผึ่งแดดหรืออยู่ใกล้ความร้อนจากกลิ่นควันไฟ จากนั้นก็นำเมล็ดมาแยกด้วยมือหรือไม้นวดแยกส่วนเปลือกออกจากเมล็ดแล้วนำ เมล็ดไปตากแดดให้แห้งไปอีกพอสมควร ก่อนนำไปเก็บรักษาต่อไป หมายเหตุ กรณีข้าวโพดเก็บแบบวิถีชาวบ้านอีกวิธีหนึ่งซึ่งได้ผล มอดไม่เจาะเมล็ดคือไม่ต้องเอาเปลือกออกจากฝักให้นำมามัดรวมกันแล้วนำไปใช้ วิธีรมควัน กลิ่นควันในครัวจะช่วยให้มอดไม่ทำลายเมล็ดพันธุ์ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่ายมากๆ

2. เมล็ดพันธุ์ในผลสดที่ไม่ชุ่มน้ำ ได้แก่พืชผักที่มีเมล็ดในผลที่ไม่ชุ่มน้ำ เช่น พริก ฟักทองและบวบต่างๆ เมื่อเห็นว่าผลสุกเต็มที่แล้วให้นำมาผ่าแล้ววคัดเอาเมล็ดที่จะทำพันธุ์ไป ล้างน้ำสะอาดดีแล้วนำมาผึ่งบนผ้าหรือกระดาษเพื่อให้เมล็ดพันธุ์แห้งก่อนนำไป เก็บรักษาต่อไป

3. เมล็ดพันธุ์ในผลสดที่มีความชุ่มน้ำมาก ได้แก่พืชผักที่มีเมล็ดในผลที่มีความชุ่มน้ำเช่น มะเขือ แตงกวา มะละกอ แตงโม ฟักหอม ฟักแฟง ฯลฯ ให้นำไปผ่าลูกใช้ช้อนโต๊ะแคะเฉพาะส่วนเมล็ดพันธุ์แยกออกจากเปลือกและเนื้อ ปล่อยให้มีการหมักต่อไปอีก 3-5 วัน เพื่อให้เมล็ดหลุดและแยกออกจากเนื้อเยื่อ นำเมล็ดมาล้างน้ำสะอาด ขณะที่กำลังล้างเมล็ดหากปรากฎเห็นเมล็ดที่ลอยอยู่เหนือน้ำส่วนใหญ่ ให้แยกออกเพราะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ฝ่อ แฟบ ควรคัดทิ้ง ให้คัดเอาเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำอยู่ซึ่งเมล็ดพันธุ์มีน้ำหนักดี เหมาะสำหรับการทำพันธุ์ (กรณีมะละกอไม่ควรให้ถูกแสงจัดมากเกินไป) การเก็บแบบวิถีชาวบ้าน ควรผึ่งในที่ร่ม 3-5วัน แล้วนำไปเพาะพันธุ์ได้เลย

การลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์
การลดความชื้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะให้เมล็ด พันธุ์มีความแข็งแรงสมบูรณ์ เมื่อนำเมล็ดพันธุ์มาผึ่งแดดให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เกลี่ยเมล็ดให้กระจายบางๆ หากมีโรงอบเมล็ดพันธุ์ก็ยิ่งดี ช่วยป้องกันแมลง สัตว์ที่จะมาทำความเสียหาย โรงอบจะรักษาอุณหภูมิ และป้องกันฝุ่นละอองที่จะปนเปื้อนเมล็ดพันธุ์ได้ ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ โรงอบก็สามารถทำการเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ อุณหภูมิพอเหมาะในการอบเมล็ดพันธุ์ 30-35 องศาเซลเซียส หากความร้อนสูงมากกว่านี้อาจทำให้เมล็ดพันธุ์ตายได้ (เมื่อเมล็ดพันธุ์แห้งพอสมควรความชื้นประมาณ 10-18%)


วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ให้ได้ผลที่สุด
1. เมล็ดพันธุ์นี้หากเก็บแก่จัดได้เต็มที่ จะเก็บได้นานมากขึ้น

2. ความชื้นของเมล็ดพันธุ์และสภาพอากาศ ถ้าเมล็ดแห้งและอากาศแห้งจะเก็บได้นาน ควรเก็บในภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ในที่ๆไม่มีแสงแดดส่อง ภาชนะบรรจุใส่โอ่งหรือดินที่แห้งเก็บได้นานประมาณ 1 ปี

3. อุณหภูมิเมล็ดพันธุ์โดยปกติไม่เกิน 40 องศา และการเก็บที่อุณหภูมิต่ำ จะเก็บได้นานกว่าอุณหภูมิสูง

4. ส่วนประกอบของเมล็ดที่มีพวกแป้ง เช่น ข้าวโพด มะเขือ พริก ฯลฯ จะเก็บได้นานกว่าพวกที่ประกอบด้วย ไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกพืชตระกลูถั่วต่างๆ


การตากเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์เป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่เราต้องเข้าใจหากเมล็ดพันธุ์มีความชื้นมากก็ เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ง่าย ๆ การตากแดดเป็นการลดความชื้นให้มีอยู่ในเมล็ดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการ มีชีวิตโดยไม่งอก การทำให้เมล็ดแห้งจึงมีความจำเป็นมาก การให้ความร้อนโดยการตากโดนแสงตลอดทั้งวัน อาจต้องเกลี่ยเมล็ดพันธุ์กลับไป-มาวันละ2-3 ครั้ง เมื่อเย็นควรระวังอย่าเก็บจนค่ำมากเพราะน้ำค้างลงอาจทำให้เชื้อราเกิดขึ้น ได้อีก เก็บรักษาเมื่อแห้ง แล้วบรรจุภาชนะหากความชื้นยังมีอาจใช้ถ่านและขี้เถ้าช่วยดูดซับความชื้นได้


การบรรจุสารดูดซับความชื้น
เราสามารถทำได้ง่ายโดยใช้วิธี การ คือ การใช้ถ่านที่ได้จากการเผาถ่านไม้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยในการดูดซับความ ชื้น กลิ่นต่างๆที่ตกค้างอยู่ในเมล็ดพันธุ์ ที่เกิดขึ้นไว้ในความพรุนของถ่านไม้หรืออาจใช้ขี้เถ้าจากการหุงต้มอาหารเป็น ขี้เถ้าใหม่ ๆ แต่ไม่ร้อนมากมีลักษณะเป็นฝุ่นสีขาวสามารถดูดซับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ได้ เช่นกันโดยใช้ผ้าหรือกระดาษห่อขี้เถ้าวางไว้ด้านล่างของห่อเมล็ดพันธุ์ ให้ห่อเมล็ดพันธุ์อยู่ด้านบนภาชนะ

วิธีการเก็บรักษา
ควรปิดภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ให้สนิท เช่น ใส่ขวดแก้วที่มีฝาแผ่นยางบุไว้ด้วย ขวดน้ำเปล่า หรือขวดเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว วิธีแบบชาวบ้านอาจใช้ลูกน้ำเต้าแห้งที่ทำความสะอาดแล้วมาบรรจุปิดฝาให้สนิท ป้องกันแมลงเข้าทำลาย หากเมล็ดพันธุ์มีน้อยก็ควรใส่ภาชนะบรรจุขนาดเล็ก บ่อยๆครั้งความชื้นเมื่อมีมากเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ ดังนั้นจึงควรใช้ภาชนะขนาดบรรจุให้มิดชิดไม่ให้มีที่ว่างของอากาศ หรือมีแต่น้อย เมล็ดพันธุ์พืชผักส่วนใหญ่จะงอกไม่ดีเท่าที่ควรถ้าเรานำมาปลูกทันทีภายหลัง การเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จากประสบการณ์การทดลองปลูกพืชผักที่ผ่านมาหลายๆครั้งก็คือ เพาะพันธุ์แบบวิธีชาวบ้านที่ได้ผลมากที่สุดคือให้เก็บรักษาอย่างน้อย 10-15 วัน ก่อนนำมาใช้ในการเพาะปลูก หากเรามีความต้องการที่จะให้เมล็ดพันธุ์ต่างๆงอกเสมอกันมากขึ้น ก็นำเอาน้ำส้มควันไม้ที่เรามีอยู่ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:100 โดยนำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำที่ผสมน้ำส้มควันไม้แล้ว 2-3 ช.ม. แล้วใช้ผ้าชุบน้ำห่อทิ้งไว้อีกหนึ่งคืนก่อนนำไปหยอดหรือการเพาะปลูก


การป้องกันการทำลายจากมอด และแมลง
ในการบรรจุเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่มักมีปัญหาเกี่ยวกับการเจาะทำลายของมอดและ แมลง โดยเฉพาะเมล็ดถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว ฯลฯ วิธีป้องกันหาได้ดังนี้

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 1 ก.ก.ใช้เมล็ดละหุ่งบด 40 กรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วก่อนบรรจุ
2. ใช้น้ำมันพืช ช่วงใช้ในอัตรา 2 ช้อนชาต่อเมล็ดพันธุ์ถั่ว 1 ก.ก. ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วก่อนบรรจุ

ประโยชน์ของการเก็บเมล็ดพันธุ์
1. เก็บพันธุ์เองได้ตลอดไป ทำอยู่อย่างนั้นปลูกหมุนเวียนตามฤดูกาล (ก็จะไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์)
2. เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไป
3. ต้านทานโรค และแมลงได้ดี
4. ตอบสนองต่อการดูแลรักษาง่าย โดยวิธีการแบบธรรมชาติ
5. รักษาสายพันธุ์พื้นเมืองไม่ให้กลายพันธุ์และสูญหาย
6. รสชาติ ความกลมกล่อมของพืชที่มีทั้งรส ขม หวาน เปรี้ยว ได้รสที่เป็นธรรมชาติแท้ๆแน่นอน

ปัญหาของการเก็บพันธุ์
- แมลงที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และแมลงภายนอกมาทำลายเมล็ดพันธุ์พืชเช่น มอด แมลงสาบ หนู มด เป็นต้น ควรนำเมล็ดพันธุ์ออกผึ่งแดดประมาณ 2 เดือน/ครั้ง

- เมล็ดพันธุ์ เมื่อครบ 6 เดือนแล้วควรทดลองความงอกในกะบะทรายครั้งหนึ่ง เพาะ 100 เมล็ดต่อครั้งทำอย่างนี้ทุกๆ 6 เดือนก่อนนำไปใช้อีกครั้งทุกชนิด เพื่อจะได้รู้คุณภาพเมล็ด พันธุ์มีเปอร์เซ็นความงอกอยู่ได้นานเท่าไหร่


วิธีการพัฒนาเพื่อให้อยู่รอดพอเพียง (เพิ่มเติม)
1. เก็บเมล็ดพันธุ์ให้มีพันธุ์ของตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ไม่ตระหนี่ มีวัฒนธรรมที่มีการแลกเปลี่ยนกันในชุมชนทำให้มีทั้งผักก็มีมากขึ้น มีเพื่อนร่วมในกิจกรรมที่เป็นมิตร
2. มีคุณธรรม จริยธรรมในความเป็นมนุษย์ รู้จักการใช้สติเข้ามาใช้ประกอบกับการทำงาน
3. มีความเมตตา กรุณา สร้างสรรค์ เสียสละ ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันอุ้มชูกันและกัน
4. ยกตัวอย่างผู้มีความเพียรตั้งใจในการทำเกษตรธรรมชาติให้เป็นปราชญ์แห่งการศึกษา



ทรงสิทธิ์ หาญมนตรี สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
อาศรมพลังงาน จ.นครราชสีมา

คัดจาก เว็บไซต์สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
http://www.ata.or.th/th/show_litle.php?id_news=6



ที่มา : ทรงสิทธิ์ หาญมนตรี (222.123.50.107) [2010-04-21 11:29:37]


http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=report&No=12361
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©