-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 21/03/2011 4:44 pm    ชื่อกระทู้: การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ช่วงนี้มีข่าวการระบาดของเพลี้ยค่อนข้างมากแต่ข่าวการเมือง
กับข่าวญี่ปุ่นกลบหมดเลย จึงอยากเตือนให้รับทราบและป้องกัน
ก่อนที่มันจะมาถึงแปลงท่าน

ในหลักการป้องกันเท่าที่พอจะไล่ในรายละเอียดขอเริ่มจาก
การแช่ต้นข้าวในสารไคโตซานก่อนปลูก
อย่าหว่านข้าวจนแน่น
อย่าฉีดสารไพรีทรอยด์ พวกยาน็อคเพราะมันจะไปฆ่าแมลงที่ดีหมด
อย่าบ้าหว่านยูเรียมากๆ เราจะเป็นการเรียกเพลี้ย

ควรฉีดสารสมุนไพรประเภทมีกลิ่นแรงๆเพื่อไล่หรือหลอกเพลี้ย
สมุนไพรที่ใช้กำจัดเพลี้ยต้องไปถามลุงคิม
ผมรู้จักแต่คอนฟิดอล. ลิตรละ 2,300 บาท
สตารเกิล. แอคทาร่า. พวกนี้แพงพอๆกับทอง

ใครมีคำแนะนำเพิ่มมาช่วยกันหน่อย
ไม่อยากเห็นชาวบ้านทำยาฝุ่นใช้เองมากๆ


.... จบข่าว .....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 6:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


http://www.rd1677.com/branch.php?id=60213




http://www.meeboard.com/view.asp?user=tanatporns&groupid=2&rid=1&qid=1




http://www.malaeng.com/blog/?p=7040






http://www.malaeng.com/blog/?cat=120





http://www.intercrop.co.th/eng/new/view_all.php?page=3





http://snatup.blogspot.com/2010/10/blog-post_4092.html





http://www.ladda.com/jurnal/A-rice2.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/03/2011 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1267545774&grpid=03





http://www.doae.go.th/library/html/detail/Rice-Ene/rice18.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/03/2011 7:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เร่งสร้างและอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ในแปลงนา


ควรให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์ในแปลงนา
จากในฤดูการผลิตข้าวที่ผ่านมา เกษตรกรชาวนาจำนวนไม่น้อย ที่นาข้าวพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บางรายนาข้าวก็เสียหายเกือบทั้งแปลง ส่งผลกระทบให้เกิดภาระหนี้สินขึ้นมา แต่ในทางกลับกัน ก็จะพบว่ามีเกษตรกรหัวไวใจสู้ หรือที่เรียกว่าปราชญ์ชาวบ้านก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่พยายามผลิตและใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร บางรายก็พยายามผลิตและใช้เชื้อราบิวเวอเรี่ย และเชื้อราเมตตาไรเซี่ยมและน้ำส้มควันไม้ บางรายก็พยายามสร้างและรักษาระบบนิเวศน์ให้เกิดขึ้นในแปลงนาของตนเอง มีความเข้าใจในการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ มีความเข้าใจในธรรมชาติว่ามีศัตรูธรรมชาติที่เป็นสิ่งมีชีวิต ที่คอยกำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูข้าวในแปลงนาก็มีอยู่มากมาย เช่นตัวห้ำ ตัวเบียนและเชื้อโรคต่างๆ คอยช่วยควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูข้าว

โดยทั่วไปก็จะมีเกษตรกรชาวนาจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่นิยมใช้สารฆ่าแมลง โดยไม่คำนึงถึงศัตรูธรรมชาติ แมลงที่มีประโยชน์ เหตุผลประการหนึ่งก็อาจจะเพราะว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจจะเป็นได้บางรายก็อาจจะยังไม่เข้าใจหรือขาดความรู้ไปก็ได้ การที่เกษตรกรชาวนาใช้สารฆ่าแมลงเกินความจำเป็น หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง ก็จะทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไป จึงมีผลต่อการขาดสมดุลธรรมชาติและเกิดการระบาดของแมลงศัตรูข้าวตามมาเหมือนปัจจุบันนี้ก็ได้

ในปัจจุบันนี้นักส่งเสริมการเกษตรรวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา ที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรชาวนา ควรจะต้องมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจ และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวที่มีอยู่ในชุมชนต่างๆ ได้รู้จักกับตัวห้ำ ตัวเบียน ที่อยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะในแปลงนาที่มีระบบนิเวศน์เหมาะสม จะหาดูตัวอย่างได้ไม่ยากเลย

ลองมาทำความรู้จักกับตัวห้ำที่ควรอนุรักษ์ไว้ในแปลงนาได้แก่ แมงมุมสุนัขป่า ซึ่งตัวเต็มวัยจะสามารถกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ถึง 24-25 ตัวต่อวัน นอกจากนี้แมงมุมสุนัขป่ายังกินผีเสื้อหนอนกอข้าว ริ้นน้ำจืด แมลงวันเป็นต้น เราจะพบในนาข้าวตั้งแต่ระยะเริ่มหว่าน แมงมุมชนิดนี้สามารถวิ่งบนผิวน้ำจากต้นข้าวต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้




แมงมุมสุนัขหมาป่า





แมงมุมสุนัขหมาป่า



ตัวห้ำอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญคือด้วงก้นกระดก เป็นตัวห้ำที่กินตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มักจะพบทั่วไปในนาข้าว ตั้งแต่ระยะต้นข้าวเล็กถึงระยะข้าวออกรวง เป็นแมลงที่มีอายุอยู่ได้ยาวนาน มีความว่องไว ไต่ไปตามต้นข้าว และสามารถบินได้ด้วย

ด้วงก้นกระดก



มวนเขียวดูดไข่ เป็นตัวห้ำอีกตัวหนึ่งที่กินไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำให้ไข่แฟบ ถ้าแปลงนามีจำนวนมวนเขียวดูดไข่มากว่าจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล2-3 เท่าก็จะสามารถควบคุมไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มปริมาณจนถึงระดับที่ทำความเสียหายแก่ต้นข้าวได้

มวนเขียวดูดไข่





สรุปท้ายจึงมีความจำเป็นที่นักส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันจะต้องลงไปปฏิบัติงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกร โดยมุ่งเน้นการให้ความตระหนักด้านการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ดังกล่าว(ความจริงแล้วยังมีศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด) ตลอดจนเร่งส่งเสริมในการสร้างและอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ โดยปลูกไม้ดอกและพืชที่มีประโยชน์ที่สามารถดึงดูดศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยและดูดน้ำหวานเป็นต้น



เขียวมรกต

28 กย.53

http://gotoknow.org/blog/peekwong17/399240


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2017 7:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 7:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://watbot.phitsanulok.doae.go.th/news/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2/pearkadod-180953/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 8:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้องตรวจนาอย่างเคร่งครัด

เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าว รายงานว่าได้มีการตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาเกษตรกรแถบภาคกลางมีปริมาณมากขึ้นในหลายพื้นที่ สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มค่อนข้างน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีพื้นที่เริ่มปลูกข้าวมากขึ้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เกษตรกรควรใช้สารฆ่าแมลงตามที่กรมการข้าวแนะนำอย่างเคร่งครัดและไม่ควรใช้สารอะบาเม็กติน และสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ สังเคราะห์ต่าง ๆ เพราะจะเป็นการทำลาย ศัตรูธรรมชาติและระบบนิเวศในนาข้าวเป็นผลเร่งการระบาดของเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาลอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

เกษตรกรควรทำการตรวจแปลงนาเป็นประจำ โดยมีการตรวจหาเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาลในแปลงนาร่วมกันในท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงจนกว่าข้าวจะมีอายุพ้น 40 วัน หรือรอให้ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลฟักออกจากไข่มากพอ เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ (10 ต้น) ขึ้นไป ควรควบคุมด้วยสารฆ่า แมลงที่กรมการข้าวแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยในระยะข้าวอายุ 40-60 วัน ใช้สารบูโพร เฟซิน (แอพพลอด) เพื่อป้องกัน การลอกคราบของแมลงหากพบส่วนใหญ่เป็นตัวอ่อน หรืออีโทเฟนพร็อกซ์ (ทรีบอน) หรืออิทิโพรล (เคอร์บิกซ์) ในระยะข้าวอายุ 60-80 วัน ใช้สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา) หรือไดโนทีฟูเรน (สตาร์ เกิล) หรือโคไทอะนิดิน (เด็นท็อซ) และหลีกเลี่ยงการใช้สารอะบาเม็กติน ซึ่งไม่ใช่สารที่แนะนำให้ใช้ในนาข้าว

นอกจากนี้เกษตรกรควรลดระดับน้ำในนาพอเปียกประมาณ 7 วัน ก่อนเอาน้ำเข้าสลับกันไป จะช่วยปรับสภาพที่ ไม่เหมาะสำหรับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ หากเป็นไปได้ควรเว้นปลูกข้าวฤดูถัดไปประมาณ 1 เดือน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือเปลี่ยนไปใช้ข้าวพันธุ์อื่นบ้างในฤดูถัดไป

เกษตรกรควรสังเกตโรคไวรัส 2 ชนิดที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะ คือ โรคเขียวเตี้ย และ โรคใบหงิก ซึ่งอาการที่สังเกตได้ง่ายคือต้นเตี้ยแคระแกร็น โรคใบหงิกจะพบปลายใบบิดสีเขียว ส่วนโรคเขียวเตี้ยสีจะเหลืองและใบแคบ แตกกอมากกว่าปกติ หากพบโรคดังกล่าวควรถอนทำลายไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อ ต่อไป

สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วควรไถกลบตอซัง เพราะว่าตอซังเป็นอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสที่สาเหตุเกิดโรคใบหงิกและโรคเขียวเตี้ย

อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการชาวนา 50 แห่ง ใกล้บ้าน หรือศูนย์อำนวยการควบคุมกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทรศัพท์ 0-2561-3220 หรือ e-mail : bph@ricethailand.go.th.


http://thairecent.com/Agriculturist/2010/707416/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมุนไพรกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นาข้าว




ยี่โถ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้พุ่มชนิดหนึ่ง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทา และที่ลำต้นจะมียางสีขาว คล้ายน้ำนม ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลมและโคนใบสอบขอบเรียบไม่มีจัก สีเขียวเข้มกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ รูปทรงกรวย มีทั้งชนิดลาหรือซ้อน ดอกสีขาว ชมพูเข้ม เหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักคู่ เมื่อแก่จัดจะแตกออกให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดจะมีขนละเอียดเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด การตอนและปักชำ

ประสิทธิภาพ
เปลือก และเมล็ดยี่โถ จะมีสาร glycocide neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง

วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สูตรที่ 1
ให้นำดอกและใบยี่โถมาบดให้ละเอียด แล้วผสมน้ำในอัตราส่วน 1: 10 จากนั้นแช่ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วกรองเอากากออก สามารถนำไปฉีดพ่นฆ่าแมลงและป้องกันกันหนอนได้หลายชนิด

สูตรที่ 2
นำใบและเปลือกไม้ยี่โถ แช่น้ำอย่างน้อย 30 นาทีแล้วนำไปฉีดพ่นกำจัดมด แมลงผลไม้และแมลงอื่นๆ




ผกากรอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ขอบจัก ผิวสาก กลิ่นเหม็นฉุน ดอกเล็กเป็นช่อกระจุกทรงกลมคล้ายร่ม กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร กลีบดอกย่อยสีชมพู แดง เหลือง ขาวและส้ม ติดกันเป็นหลอดส่วนปลายบานออกมีรอยแตกตื้นๆ แบ่งเป็น 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ขนาด ½ ของกลีบดอก มีเกสรตัวผู้ 4 อัน อยู่ติดกับกลีบดอก ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร เมื่อสุกมีสีดำภายในมี 2 เมล็ด ออกดอกตลอดปี เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประสิทธิภาพ
ผกากรอง มีสาร Lantadene ซึ่งมีอยู่ในเมล็ดเป็นสารที่มีพิษต่อระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผัก นอกจากนั้นการปลูกผกากรองไว้ใกล้แปลงผักก็ช่วยไล่แมลงได้อีกทางหนึ่ง

วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันจำกัดศัตรูพืช

วิธีที่ 1
บดเมล็ดผกากรอง 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 2 ลิตรแช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาไปใช้ฉีดพ่นฆ่าหนอนกระทู้ในแปลงผัก

วิธีที่ 2
ใช้ดอกและใบบดละเอียดหนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองผสมน้ำ 1: 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่น




บอระเพ็ด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย พาดพันไปตามต้นไม้ใหญ่เถากลม เถามีปุ่มปม ผิวมีเม็ดตุ่มถี่ๆ ตลอดเถา เปลือกสีเทาอมเขียว มีรากอากาศเล็กกลมยาว สีน้ำตาลเข้ม ใบเดี่ยวรูปหัวใจปลายแหลมเรียบ สีเขียว คล้ายใบโพธิ์ ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว เป็นพืชที่ปลูกง่าย ในเถาปักชำในดินขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด

ประสิทธิภาพ
ใช้ได้ดีในนาข้าว เนื่องจากมีรสขม เมื่อดูดซึมเข้าไปในพืชทำให้แมลงไม่ชอบมาทำลาย ใช้ไล่แมลงจำพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนกอแถบลาย และใช้ป้องกันโรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย หรือโรคข้าวลีบ


วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

วิธีที่ 1
- นำเถาบอระเพ็ดสด 5 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทุบหรือบดให้แหลกละเอียด
- ผสมน้ำ 12 ลิตร แช่ทิ้งไว้นาน 1-2 ชั่วโมง
- กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง
- ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซัลไลด์ หรือแชมพู ลงไปในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
- ใช้ฉีดพ่นเวลามีปัญหาศัตรูพืช


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=004335910d6203b9


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/03/2011 9:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้ำกลั่นสมุนไพร "โกอี๋ เนินศาลา" ปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่หมัด

ปัจจุบันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้กลายเป็นศัตรูร้ายที่อยู่คู่กับนาข้าวของชาวนาที่แยกกันไม่ออกไปเสียแล้ว เพราะยิ่งนานวันก็มักจะเกิดการแพร่ระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวนาต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีไปฉีดพ่น ซึ่งก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างมาโดยตลอด อีกทั้ง ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของชาวนา และสูญเสียความสมดุลย์ทางธรรมชาติอีกด้วย

“ใครๆ ก็ว่าเราบ้าที่ทำอะไรไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่องเขา ” นี่เป็นคำพูดของชาวบ้านที่พูดตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาโดยตลอด ของเกษตรกรที่เก่งอีกคนหนึ่งชื่อ โกอี๋ เนินศาลา หรือ คุณวชิระ - คุณปนัดดา รุ่งเจิดฟ้า อายุ 49 ปี สองสามีภรรยาที่อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 8 บ้านเขาถ้ำพระ ต.เนินศาลา อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ เล่าให้ฟังว่า อาชีพดั้งเดิมทำมาค้าขายมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อราว 10 ปีที่ผ่านมาได้หันเหชีวิตไปประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยไปซื้อที่ราบเชิงเขาที่บ้านเขาถ้ำพระพื้นที่ 15 ไร่ โครงสร้างของพื้นที่ดินเดิมเริ่มแข็งตัวน้ำซึมผ่านได้ยากขาดอินทรีย์วัตถุไม่ว่าจะปลูกพืชชนิดใดก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

ดังนั้นเมื่อเข้าไปใช้พื้นที่ดินก็เริ่มปรับโครงสร้างของดินเป็นอันดับแรกให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปปีละจำนวนมากๆ ทำอย่างนี้อยู่หลายปี จนสามารถปรับสภาพดินให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้ตามปกติ และต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี เพื่อนำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ที่เกษตรกรใช้กันโดยทั่วไปมาทำการศึกษาวิเคราะห์ด้วยตนเองแล้วค่อยๆ แกะสูตรเพื่อเอาความโดดเด่นของสมุนไพรในแต่ละสูตรออกมา จนกระทั่งปัจจุบันได้น้ำหมักสมุนไพรสูตรต่างๆ มากมาย น้ำหมักชีวภาพบางสูตรใช้เวลาหมักนานถึง 6 ปี ขอยืนยันว่า ในพื้นที่ 15 ไร่ ซึ่งได้ปลูกพืชที่หลากหลายในปัจจุบันเป็นการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด และปฎิเสธสารเคมีทุกชนิดอย่างสิ้นเชิง

โกอี๋ เนินศาลา เล่าต่อไปว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เป็นปัญหาสำคัญของชาวนาในปัจจุบัน สำหรับตนเองแล้วถือว่าไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะสามารถคิดสูตรน้ำกลั่นสมุนไพรที่หาได้ในพื้นที่ และบางส่วนได้เก็บจากที่อื่นมาปลูกสะสมไว้ โดยเฉพาะน้ำกลั่นสมุนไพรที่ใช้กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพร คือ ต้นและใบฟ้าทะลายโจร กิ่งและใบน้อยหน่า กิ่งและใบสะเดา กิ่งและใบสบู่เลือด ต้นและใบกระเพรา กิ่งและใบสาบเสือ เปลือกพญามือเหล็ก ต้นและดอกดาวเรือง หัวโล่ติ้น ต้นและใบสาบเสือ และต้นบอระเพ็ด โดยการนำเอาสมุนไพรเหล่านี้มาอย่างละเท่าๆ กัน จากนั้นก็ใช้มีดสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในถังกลั่นสมุนไพรเติมน้ำสะอาดให้ท่วมสมุนไพร

ถังกลั่นสมุนไพรก็คิดขึ้นมาเองโดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร แล้วเจาะรูห่างจากขอบถังด้านบนราว 50 ซม. จากนั้นใช้ท่ออลูมิเนียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ความยาว 70 ซม. สอดใส่รูที่เจาะไว้ ปลายท่อด้านที่อยู่ในถังใช้ถาดรูปกรวยปากกว้างต่อไว้เพื่อรองรับน้ำกลั่น ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะโผล่ออกมานอกตัวถังราว 30 ซม. และทำมุมเอียงลงมา 45 องศา เพื่อให้น้ำกลั่นสมุนไพรที่จะเกิดขึ้นภายใน เพื่อให้ไหลออกไปด้านนอกได้สะดวก และใช้ภาชนะที่ล้างสะอาดแล้วรองรับน้ำกลั่นสมุนไพรที่จะเกิดขึ้นต่อไป ส่วนปากถังก็ใช้กระทะขนาดใหญ่วางทับเอาไว้ ใช้ผ้าชุบน้ำพันรอบรอยต่อระหว่างกระทะกับขอบถังให้สนิท เพื่อกันไอน้ำร้อนออก จากนั้นใส่น้ำเย็นในกระทะเกือบเต็ม เมื่อเตรียมการเรียบร้อยดีแล้วก็ก่อไฟต้มสมุนไพรโดยเริ่มจากไฟแรงก่อนจนน้ำเดือดแล้วก็ลดระดับความร้อนของไฟลงมาให้อยู่ระดับกลาง เมื่อน้ำเริ่มเดือดก็จะเกิดกระบวนของไอน้ำสมุนไพรลอยขึ้นไปกระทบกับก้นกระทะที่มีน้ำล่อเย็นอยู่ด้านบน จนเกิดการมีกลั่นเป็นไอน้ำสมุนไพรที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งจะได้น้ำกลั่นสมุนไพรราว 20 ลิตร จากนั้นก็ผสมน้ำสะอาดอีก 50 ลิตร ซึ่งสามารถเก็บไว้ในที่อากาศปกติได้นานหลายปี

โกอี๋ เนินศาลา ยังกล่าวด้วยความภาคภูมิใจต่อไปว่า กระบวนการผลิตยังไม่จบเพียงแค่นี้ ยังจะต้องนำสมุนไพรหมักสดหมักเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง คือ ต้นและใบมะระขี้นก หัวหนอนตายยาก ต้นและใบสาบแร้งสาบกา ผลมะกรูด หัวกลอย ผลมะเขือขื่น หัวข่า ต้นและใบกระเซา และต้นตะไคร้ นำส่วนผสมเหล่านี้มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปแช่ในถังน้ำกลั่นทิ้งไว้ 10 วัน ก็จะได้สมุนไพรสูตรเด็ดที่สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อย่างยอดเยี่ยม

ส่วนวิธีการนำไปใช้ ก็นำน้ำกลั่นสมุนไพรที่ผ่านการหมักแล้ว 500 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร แล้วนำน้ำพริกแกงเผ็ด 2-3 ช้อนโต๊ะ มาละลายน้ำแล้วกรองเอากากออก เอาเฉพาะน้ำใส่ผสมลงไปด้วย และอีกตัวหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ แป้งมันนำมาผสมน้ำแล้วกรองเอากากออก เอาเฉพาะน้ำใส่ผสมลงไปอีกค้นให้เข้ากัน เพราะความเหนียวของแป้งมันจะช่วยให้น้ำกลั่นสมุนไพรเกาะตามปีก ลำตัว และขาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี ทำให้ปีกและลำตัวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้และก็จะตายในที่สุด ปัจจุบันนอกจากจะทำใช้เองและยังรับกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โกอี่ เนินศาลา หรือ คุณวชิระ - คุณปนัดดา รุ่งเจิดฟ้า โทร. 089-267-6788 , 081-962-5865


ธนภัทร ภคสกุลวงศ์



http://www.naewna.com/news.asp?ID=239431
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2011 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายข้าว กำจัดอย่างถูกวิธีก่อนที่จะสายเกินแก้


จากการติดตามการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูข้าวของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรได้ใช้สารเคมีหลายชนิดผสมกัน เพื่อประหยัดค่าแรงงานในการฉีดพ้น ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งบางครั้งมิได้คำนึงถึงว่าจะมีแมลงศัตรูข้าวหรือไม่ ด้วยความกลัวจึง "ป้องกันไว้ก่อน" ลักษณะการฉีดบนใบข้าว กอปรกับเกษตรกรปลูกข้าวหนาแน่นเกินไปและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณมากเกินไป ใบข้าวจะมากและโค้งงอ ละอองของสารเคมีไม่ถูกตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือถูกในปริมาณที่น้อยไม่ทำให้ตาย ได้แต่ทำให้เกิดภูมิต้านทาน

จากการปฏิบัติดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ การผสมสารเคมีหลายชนิดเข้าด้วยกัน เช่น สารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฆ่าหนอน ป้องกันเชื้อรา กำจัดวัชพืช และฮอร์โมน ส่งผลให้สารเคมีบางชนิดด้อยคุณภาพ หรืออาจเป็นพิษต่อผู้ฉีดพ่นสารเคมี "สารเคมีไม่ใช่วัคซีน" เมื่อใช้พร่ำเพรื่อเป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ

รวมทั้งการใช้ฮอร์โมนทุกครั้งที่ฉีดพ่นด้วยเหตุผลที่ว่า "ให้เมล็ดข้าวเต่งผลผลิตดี" อาจไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของแมลงศัตรูพืชให้มีการ เจริญเติบดีได้ดี พี่นริศรา จำรูญวงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กล่าวกับผู้เขียนว่า "เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคงจะงงนะที่เกษตรกรผสมฮอร์โมนในสารเคมีที่จะไปทำลาย เพราะจะฆ่าหรือจะไปกระตุ้นให้โตกันแน่ ตัวที่รอดมาได้เลยโตวันโตคืนลูกหลานเลยเก่งตามไปด้วย"

ดังนั้น ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจจะอพยพมาตามลมมรสุม หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างต่อเนื่องโดยให้สังเกตตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ต้นข้าวบริเวณกาบใบ เหนือระดับน้ำ ถ้ามีจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากข้าวจะแห้งตายเป็นหย่อมๆ เกษตรควรป้องกันกำจัดดังนี้

1. ถ้าควบคุมระดับน้ำในแปลงนาได้ให้ระบายน้ำออกให้แห้งประมาณ 7-10 วัน เพื่อปรับสภาพ ไม่ให้เหมาะสมกับตัวอ่อน

2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวห้ำ : มวนดูดไข่, มวนจิงโจ้น้ำ, ด้วงเต่า, ด้วงดิน, จิ้งหรีดหนวดยาว, ตั๊กแตนหนวดยาว, แมลงปอเข็ม,แมลงวันตาโต., (เป็นตัวห้ำและตัวเบียน), แมงมุมหมาป่า, แมงมุมนักล่า, แมงมุมกระโดด, แมงมุมแคระ, แมงมุมใยกลม, แมงมุมเขี้ยวใหญ่, แมงมุมขายาว, แมงมุมสวน, ตัวเบียน : แตนเบียน

3. พบการเข้าทำลายให้ใช้เชื้อราขาวบิวเวอเรีย อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรต่อไร่ ผสมสารจับใบฉีดเวลาตอนเช้าหรือตอนเย็น และควรพ่นให้เชื้อราสัมผัสกับเพลี้ยกระโดดโดยตรง สามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้เชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในตอนเย็น (ถ้าภาชนะ อุปกรณ์ใช้ในการฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราต้องล้างให้สะอาดมากที่สุด) ซึ่งถ้าเกษตรกรใช้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากผู้เขียนได้ไปส่งเสริมให้เกษตรกรที่พบปัญหาจนอยากจะทิ้งข้าวให้เพลี้ยกระโดดกินแล้วไถกลบ ใช้เชื้อราบิวเวอเรียแล้วประสบผลสำเร็จ แต่มีข้อจำกัดว่าต้องไม่ใช่แปลงข้าวที่เพลี้ยกระโดดดูดกินน้ำเลี้ยงจนเสียหายมากแล้ว

4. เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปริมาณมากกว่า 5 เท่าของศัตรูธรรมชาติให้ใช้สารเคมีพ่นกำจัด อย่างถูกชนิด และระยะการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่นระยะแตกกอ (อายุ 40-60 วัน) เพลี้ยฯ เป็นตัวอ่อน ควรใช้ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟน พรอกซ์ หรือ อิทิโพรล แต่ถ้าข้าวอยู่ระยะตั้งท้องถึงระยะออกดอก (อายุ 60-80 วัน) เพลี้ยฯ ระยะตัวอ่อนผสมตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้น ควรใช้สารฆ่าแมลงคือไทอะมิโทแซม หรือไดโนทีฟูเรน และโคลไทอะนิดิน ทั้งนี้อย่าใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทรินและสารเอ็นโดซัลแฟน พาราไธออน เมทธิล เมทามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส และไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกำจัดโรค หรือสารกำจัด วัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง อีกทั้งเวลาพ่นสารให้หัวฉีดอยู่ระดับใกล้โคนต้นข้าวมากที่สุด

5. ในการทำนาครั้งต่อไป ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น กข 9 กข 23 กข31 สุพรรณบุรี 1 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 90

6. อย่าปลูกข้าวหนาแน่นเกินไปโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่พอเหมาะ ประมาณ 15 กก./ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีถูกเวลา ถูกอัตรา และถูกสูตร ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี และการใช้สารสกัดสมุนไพรในการป้องกันกำจัด

นายโสภณ ทองโพธิ์งาม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี และปัจจัยการผลิตอื่นๆ มีราคาแพง จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน โดยมีหลักการสำคัญ คือ การปลูกพืชให้แข็งแรง มีการจัดการอย่างเหมาะสมในการเลือกใช้พันธุ์ การใช้ปุ๋ย ใช้น้ำ และการจัดการดินที่เหมาะสม การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เพื่อการใช้ศัตรูธรรมชาติได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน และสารชีวภัณฑ์ ควบคุมแมลงศัตรูพืช และการลงแปลงสม่ำเสมอ เพื่อการติดตาม/ประเมินพัฒนาการในระบบนิเวศ เพื่อการจัดการแปลงที่ถูกต้องสามารถจัดการสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดำเนินการตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทและสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้ถ่ายทอดความรู้ในทุกตำบล ขอให้เกษตรกรได้นำวิธีการใช้อย่างสม่ำเสมอ จะพบความสำเร็จในการทำนา ทำการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด ใกล้บ้านท่าน


http://www.ryt9.com/s/bmnd/982460
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
jeepgm
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/02/2011
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 22/03/2011 2:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชาวนาแถวบ้านผมใช้ ฟิโน้+โซล่า+เบนซิน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 22/03/2011 10:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชาวนาแถวบ้านผมใช้ ฟิโน้ + โซล่า + เบนซิน

ผมเข้าใจว่า เป็นการหยดเพลี้ยใช่ไหมครับ
ถือเป็นการดิ้นรนหาทางออกที่พอเห็นผลดี
แต่ปลาตายหมดคลองแน่

ถ้าไม่เหลือทนการหยดเพลี้ยขอเป็นทางสุดท้าย
แต่ก่อนใช้เอ็นโด. ตอนนี้เขาแบนไปแล้ว แต่ก็มีคนพอหาได้
จากขวดละไม่เกิน 250 บาท ตอนนี้ราคาไม่รู้เท่าไร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©