-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ฟื้นฟูสวนยาง ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ฟื้นฟูสวนยาง ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ฟื้นฟูสวนยาง ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ฟื้นฟูสวนยาง ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นวลศรี โชตินันทน์

วิธีการฟื้นฟูสวนยาง ที่ประสบอุทกภัย-วาตภัย ภาคใต้

จากเหตุการณ์ที่เกิดอุทกภัย และวาตภัย พร้อมๆ กันในภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าสวนยางพาราของ
เกษตรกรเสียหายเป็นจำนวนมาก คุณไพโรจน์ สุวรรณจินดา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการ
เกษตร ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งมีคำแนะนำในการฟื้นฟูสวนยางที่เสียหาย

คุณไพโรจน์ สุวรรณจินดา กล่าวว่า อุทกภัยและวาตภัยที่เกิดขึ้นพร้อมกันในภาคใต้เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2553 นั้น ความเสียหายไม่ได้
เกิดจากอุทกภัย เพราะน้ำที่ท่วมนั้นเป็นการท่วมอย่างกะทันหัน และไม่ได้ท่วมขังเป็นเวลานานเหมือนอย่างที่ท่วมในภาคกลางหรือภาคอีสาน
บางแห่ง และถึงแม้จะท่วมเป็นเวลานานถึง 3-4 วัน ต้นยางก็สามารถทนอยู่ได้ สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสวนยางในภาคใต้นั้น เกิด
จากวาตภัยซึ่งเป็นพายุหมุน ทำให้ต้นยางโค่นล้มเป็นจำนวนมาก จากการออกสำรวจพบว่า ในหลายพื้นที่ในภาคใต้ตอนล่างนั้นพบว่าที่ อำเภอปาก
พยูน จังหวัดพัทลุง อำเภอบางแก้ว อำเภอสะทิงพระ อำเภอระโนด ที่เกาะใหญ่ จังหวัดสงขลา ต้นยางเสียหายมากมาย บางแห่งเสียหายถึง
100 เปอร์เซ็นต์

ความเสียหายของต้นยางแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เสียหายอย่างสิ้นเชิง คือ ต้นยางโค่นล้มรากหลุดลอยออกมาจากพื้นดิน เสียหายอย่างแก้ไข
อะไรไม่ได้ ต้องปลูกใหม่เพียงอย่างเดียว ตามระเบียบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ถ้าต้นยางล้มเสียหายเกิน
70 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรต้องปลูกใหม่ สำหรับในทางวิชาการแล้ว ยางที่มีอายุ 1-5 ปี ยังไม่ได้เปิดกรีด หรือต้นยางที่โดนพายุพัดล้มลงไป
รากไม่หลุดลอยออกจากพื้นดิน อยู่ในสภาพล้มระนาบลงไปกับพื้นดิน เราได้แนะนำให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งส่วนยอดให้โปร่ง เพื่อให้น้ำหนักเบา
ลง แล้วดึงต้นขึ้นมาให้อยู่ในแนวตรง พยุงด้วยไม้ค้ำยัน 2 อัน มัดกับลำต้นยางให้แน่น ให้ต้นยางคงอยู่ในสภาพเดิม เหยียบดินโคนต้นให้แน่น
ประมาณ 5-6 เดือน ต้นยางก็จะแตกใบใหม่ ไม่ต้องปลูกใหม่ให้เสียเวลา

"เราได้เคยทำงานทดลองมาแล้วเมื่อครั้งเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ ต้นยางสามารถตั้งตัวได้ภายใน 7-8 เดือน แต่กรณีที่โค่นล้มขนาดรากลอยหลุดจาก
พื้นดินแก้ไขอะไรไม่ได้ เกษตรกรต้องขอความอนุเคราะห์จาก สกย. เพื่อปลูกยางใหม่ ถึงอย่างไรก็อยากจะแนะนำว่า ถ้าสามารถกู้ต้นยางได้
ก็ควรทำในวิธีดังกล่าว" คุณไพโรจน์ แนะนำ

เมื่อกู้ต้นยางขึ้นมาแล้ว และเมื่อน้ำในสวนยางแห้งดีแล้ว เกษตรกรต้องบำรุงดินก่อนโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ช่วย ทั้งนี้เนื่องจากน้ำบ่ามาเร็วมาก หน้า
ดินได้ถูกชะล้างเอาธาตุอาหารออกไปหมด เมื่อรากแข็งแรงดีแล้ว ต้นยางเริ่มแตกใบให้ใส่ปุ๋ยเคมีตาม


จังหวัดสตูลไม่เสียหาย เพราะปลูกป่าทำแนวกันลม (wind break)
จากการที่ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดสงขลา ออกสำรวจความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่จังหวัดสตูล
พบว่า ต้นยางของเกษตรกรไม่ได้รับความเสียหาย เพราะเกษตรกรที่ปลูกยางบริเวณที่ราบเชิงเขา สร้างกลุ่มขึ้นมาจัดทำแนวกันลม หรือ wind
break เฝ้าระวังมิให้มีการบุกรุกทำลายป่า นอกจากนั้นยังช่วยกันปลูกป่าเป็นแนวกันลม เพื่อป้องกันลมมิให้มากระทบต้นยาง เมื่อเกิดภัยธรรม
ชาติฝนตกลงมาอย่างรุนแรง รากของไม้ป่าหรือไม้ยืนต้นยังจะช่วยซับน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา มิให้ไหลเร็วจนเกินไป จะได้ไม่ทำความเสียหาย
ให้กับต้นยางของเกษตรกร และบ้านเรือนของประชาชน

"การรวมกลุ่มกันป้องกันดูแลรักษาป่าไม่ให้ปลูกยางรุกล้ำขึ้นไปบนภูเขา โดยช่วยกันสร้างแนวกันลมซึ่งอาจจะปลูกไม้สักหรือไม้ยืนต้น เช่น
ไม้ประดู่ หรือไม้ที่กรมป่าไม้เพาะไว้เพื่อให้ราษฎรนำไปปลูก ไม้ยืนต้นเหล่านี้ถึงแม้จะโตช้า ต่อไปจะเป็นไม้เศรษฐกิจที่จะตัดขายได้ และยัง
จะเป็นประโยชน์กับชาวสวนยางไปชั่วลูกชั่วหลาน" คุณไพโรจน์ กล่าว


ปลูกยางในพื้นที่ที่เคยทำนา น่าเป็นห่วง
การปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ที่เคยทำนา เนื่องจากยางมีราคาดี เกษตรกรจึงเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกยางพาราแทน ถ้า
ปลูกยางในที่นาลุ่ม เมื่อฝนตกลงมามีน้ำท่วมขัง ต้นยางแช่น้ำไว้นานๆ รากของต้นยางจะหยั่งลึกลงไปถึงระดับน้ำใต้ดิน แต่ในที่นาน้ำใต้
ดินตื้น ต้นยางจะชะงักงันไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่เกษตรกรจะเลิกทำนาหันมาปลูกยางพารา

คุณไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า ถ้านำพื้นที่นามาปลูกพืชอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา หรือปลูกพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน ต่อไปคนไทยอาจจะ
ต้องสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศ ประเทศไทยเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำ ถ้าเรามีการวางแผนที่ดี ทำการเกษตรที่เหมาะสม แบ่งสัดส่วนระหว่าง
พืชอุตสาหกรรม พืชพลังงาน กับพืชอาหาร เราอาจจะเป็นมหาอำนาจได้ พื้นที่นาที่เป็นนาดอน จะปลูกยางพาราหรือปาล์มน้ำมันก็ได้ คน
ไทยยังบริโภคข้าวเป็นหลักและข้าวยังราคาดีอยู่ ถ้าเกษตรกรมีความอดทน จัดระบบการปลูกดี ใช้พันธุ์ข้าวที่ดีก็ควรจะเก็บพื้นที่ทำนาไว้ปลูกข้าว

"ถ้าวันหนึ่งวันใดเราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศกิน วันนั้นเราจะรู้ว่าเราได้เสียความเป็นไทย เสียชื่อเกษตรกรไทย" คุณไพโรจน์ แสดงความ
เป็นห่วง

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 ในเรื่องของการฟื้นฟูสวนยางและการปลูกสร้างสวนยางใหม่
ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางจะตัดสินใจว่า ควรจะปลูกยางด้วยวิธีการใด หรือสอบถามไปที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร
เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา โทร. (074) 586-753, (074) 445-905 โทรสาร (074) 586-753, (074) 445-907



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05034010354&srcday=2011-03-01&search=no


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2011 9:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2011 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การจัดการสวนยางในช่วงฤดูฝน และหลังน้ำท่วม


ในช่วงฤดูฝนของทุกปี อุทกภัยที่เกิดขึ้นจากฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะทางภาคใต้นั้น มักจะก่อ
ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ และก่อให้เกิดปัญหาแก่เจ้าของสวนยางสวนยางพาราของ
พี่น้องชาวสวนยางก็เช่นกัน ในแต่ละปีก็มักจะได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และขณะนี้ก็เป็นช่วงฤดูฝน
ที่มีฝนตกหนักติดต่อกันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมขึ้นมาได้ นอกจากจะไม่สามารถกรีดยางได้แล้ว การระบาด
ของโรคยางก็เป็นปัญหาสำคัญโรคที่มักจะเกิดกับต้นยางในช่วงฤดูฝน ถึงแม้จะไม่รุนแรงจนทำให้ต้นยางตายแต่มีผลทำให้ต้น
ยางแคระแกร็น ผลผลิตลดลงได้และในขณะเดียวกันการเกิดสภาวะน้ำท่วมก็อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ต้นยางได้เช่นกัน




การจัดการสวนยางหลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วม :
ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำท่วม เมื่อหลังน้ำท่วมผ่านไปชาวสวนยางควรทำประการแรก คือ ให้เกษตรกรทำการสำรวจสภาพทั่วไปของ
สวนยางของท่าน ถ้าหากยังมีน้ำท่วมขัง ให้ทำการระบายน้ำออกไปจากสวนยาง ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกไปจากสวน
ยางได้ เนื่องจากบริเวณรอบสวนยางมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ขอให้เกษตรกรขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง เพื่อให้น้ำระบายไป
อยู่ในร่องน้ำที่ขุดไว้ ไม่ควรใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการขุดร่องน้ำ เพราะจะทำให้โครงสร้างดินเสียหาย และอาจทำให้กระทบ
กระเทือนต่อระบบรากเป็นอันตรายต่อต้นยางได้ ควรใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขนาดเล็กได้ตามความเหมาะสมของสวนยางแต่ละแห่ง

ถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นกับต้นยางอายุน้อยกว่า 1 ปี ในกรณีที่ต้นยางได้รับความเสียหายมากหรือตายไปให้รอปลูกซ่อม
ด้วยยางชำถุงในปีถัดไป โดยปลูกซ่อมให้เร็วที่สุดเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับต้นที่กิ่งกระโดงได้รับความเสียหาย
ให้ตัดกิ่งกระโดงส่วนที่ได้รับความเสียหายทิ้งไป เพื่อป้องกันการตายจากยอดลงมา แล้วทาด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราเข้าทำลาย
ที่อาจก่อให้เกิดอาการเน่าของบาดแผล โดยใช้สารเคมีเบนเลทผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 5 % ทาให้ทั่วบาดแผลที่ตัดแต่งไว้

จากนั้นรอการแตกแขนงใหม่ตามวิธีบำรุงรักษาต้นยางปกติต่อไป โดยให้เหลือกิ่งกระโดงกิ่งเดียวเพื่อเจริญเป็นลำต้นที่สมบูรณ์
ตามปกติ ในกรณีที่ต้นยางอยู่ในสภาพตั้งตรงแล้วควรระมัดระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อรากต้นยางด้วย

กรณีต้นยางอายุ 1-2 ปี ซึ่งเป็นต้นยางที่ยังไม่มีทรงพุ่มใบ หรือมีการแตกกิ่งบ้างเพียงเล็กน้อย ให้รีบช่วยเหลือต้นยางที่ล้มเอน
เอียงให้ตั้งตรงในขณะดินเปียกชื้น แล้วใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคงอันดินที่โคนต้นให้แน่น ระวังอย่าให้เป็นอันตรายกับรากยาง ในกรณีที่
ยอดหักเสียหายให้ตัดทิ้ง แล้วทาด้วยเบนเลทผสมน้ำเข้มข้น 5 % เช่นกัน คอยตัดแต่งกิ่งที่แตกออกมาให้เหลือเพียงกิ่งเดียว
เพื่อเป็นลำต้นหรือยอดต่อไป และในกรณีที่เปลือกลำต้นได้รับความเสียหาย อาจจะต้องขูดส่วนที่เสียหายทิ้งไปบ้าง แล้วควรทา
ปูนขาวผสมน้ำเข้มข้น 10-20 % เพื่อป้องกันการคายน้ำและแดดเผาไหม้ ซึ่งอาจจะทำให้ต้นยางแห้งตายได้ในเวลาต่อมา ต้น
ยางเหล่านี้จะแตกแขนงออกมาภายใน 3-4 สัปดาห์ ต้องตัดแต่งออกให้หมดให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน 2.0-2.5 เมตร
ขึ้นไป เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่มและพัฒนาเป็นลำต้นที่สมบูรณ์ตามปกติต่อไป

กรณีต้นยางที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมมีอายุ 2-3 ปีแล้ว สภาพปกติต้นยางอายุ 2-3 ปี จะเริ่มสร้างทรงพุ่มที่มีขนาดเล็ก
ถึงปานกลาง ต้นยางที่ล้มเอนจะมีส่วนที่กิ่งก้านฉีดขาดไปบ้างบางส่วน ถ้าลำต้นยังอยู่ในสภาพปกติและรากแก้วสมบูรณ์ ให้รีบ
ตัดกิ่งก้านพุ่มใบทิ้งให้สูงจากพื้นดิน 2.5 เมตร แล้วใช้เชือกดึงลำต้นขึ้นตั้งตรงพร้อมกับใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคงจากนั้นกลบดินโคน
ต้นอัดให้แน่นแล้วทาปูนขาวที่ผสมน้ำเข้มข้น 10-20 % ส่วนลำต้น เพื่อป้องกันแดดเผาไหม้เสียหาย ขั้นต่อไปคอยตัดแต่ง
กิ่งแขนงตลอดลำต้นทิ้งออกไปให้หมด โดยพยายามตัดให้ชิดลำต้นมากที่สุด เหลือไว้เฉพาะส่วนยอดลำต้นที่ระดับ 2.0-2.5
เมตร เพื่อพัฒนาเป็นทรงพุ่มปกติต่อไป

กรณีต้นยางใหญ่กรีดได้แล้ว มักจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าต้นยางเล็ก ต้นยางเปิดกรีดที่ยังอยู่ในสภาพปกติ ขอให้งดการกรีด
ยางไปก่อนจนกว่าสภาพดินจะแห้งปกติ เพราะในสภาพน้ำท่วมขังรากยางบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย จะไม่
สามารถใช้ธาตุอาหารได้ การกรีดยางอาจจะเกิดความเสียหายให้กับหน้ากรีดได้ นอกจากนั้นควรทาหน้ากรีดด้วยสารเคมีเพื่อ
ป้องกันโรคเส้นดำ เช่นสารเคมีเมทาแลคซิล เป็นต้น


การจัดการน้ำท่วมขังสวนยาง :
นอกจากปัญหาเรื่องโรคยางแล้ว เจ้าของสวนยังต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบต่อสวนยาง จากภาวะน้ำท่วม ก็อาจจะเป็นปัญหาที่ตาม
มาอีก ถ้าหากเกิดน้ำท่วมขังในบริเวณสวนยาง มีแนวทางการจัดการ ดังนี้

ควรเร่งระบายน้ำออก ถ้าไม่สามารถทำได้เนื่องจากบริเวณรอบสวนมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ขอให้ทำการขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่าง
แถว เพื่อให้น้ำระบายไปอยู่ในคูที่ขุดไว้ต้นยางที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ที่เสียหายมากหรือตายไป ให้ปลูกซ่อมด้วยต้นยาง ชำถุง
ให้เร็วที่สุด เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับต้นยางเล็กอายุ 1-2 ปี ถ้าหากเอนล้มให้ทำการยกตั้งให้ตรง ใช้ไม้ค้ำยัน
ให้มั่นคง อัดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ในกรณีที่ยอดหักหรือเกิดความเสียหาย ให้ตัดทิ้งแล้วทาด้วยสารเบนเลท เข้มข้น 5%
หมั่นคอยตัดแต่งกิ่งให้เจริญเติบโตไปตามปกติต่อไป.


http://bettertree.blogspot.com/2009/10/blog-post_7407.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2011 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2011 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่ไม่ควรกระทำเมื่อน้ำท่วมสวนยางพารา






ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลในสมัยยุคปัจจุบันที่ว่า"โลกร้อน" หรือเหตุผลที่เคยเป็นมาแต่ในอดีต น้ำท่วม หรืออุทกภัย ก็เกิดขึ้นทุก ๆ ปี ไม่ที่นี่
ก็ต้องที่ไหนสักแห่งหนึ่ง แต่ปัจจุบันมักพบว่ามีหลาย ๆ พื้นที่ที่มีฝนตกหนักมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 10 ปี,
20 ปี หรือ 30 ปี และบางพื้นที่ก็เจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำ 3 หรือ ซ้ำ 4 แน่นอนว่า ชาวสวนยางพาราเองก็อาจหนีไม่พ้นภาวะ "น้ำท่วมสวน
ยางพารา" ดังเช่นในภาคใต้บางจังหวัดในขณะนี้..

ดังนั้น หลังจากน้ำท่วม(น้ำลดหมดแล้ว)ชาวสวนยางพาราก็ควรจะรอให้ดินในสวนยางแห้งหรือแข็งแรงพอที่จะเดินได้ เข้าสำรวจ
ต้นยางพาราว่าได้รับความเสียหายประการใดบ้าง

กรณีเป็นต้นยางเล็กอายุ 1-2 ปี ถ้าต้นยางตายก็ควรทำการปลูกซ่อมเมื่อถึงช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่เหมาะสม สำหรับต้นยางที่กิ่งกระโดง
ได้รับความเสียหาย ให้ตัดกิ่งกระโดงส่วนที่ได้รับความเสียหายทิ้งไปเพื่อป้องกันการตายจากยอด และปล่อยให้มีการแตกแขนงใหม่
โดยให้เหลือกิ่งกระโดงกิ่งเดียวเพื่อเจริญเป็นลำต้นที่สมบูรณ์ต่อไป

กรณีเป็นต้นยางอายุ 2-3 ปี ซึ่งต้นยางจะเริ่มมีทรงพุ่มขนาดเล็กถึงปานกลางบ้างแล้ว หากพบต้นยางที่ล้มเอนและมีกิ่งก้านฉีก
ขาดหรือหักไปบ้าง ถ้าลำต้นยังอยู่ในสภาพปกติและรากแก้วสมบูรณ์ ให้รีบตัดกิ่งก้านพุ่มใบทิ้งให้สูงจากพื้นดิน 2.5 เมตร แล้ว
ใช้เชือกดึงลำต้นขึ้นตั้งตรงพร้อมกับใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคง จากนั้นกลบอัดดินโคนต้นยางให้แน่น




กรณีเป็นต้นยางพาราให้ผลผลิตแล้ว ต้นยางพาราที่มีอายุมากขึ้นก็จะมีความทนทานต่อการถูกน้ำท่วมได้นานขึ้น แม้ว่าหลังจากน้ำ
ท่วมแล้วต้นยางพาราดูเหมือนยังอยู่ในสภาพที่เป็นปกติ แต่ในความเป็นจริง รากของต้นยางบางส่วนได้รับความกระทบกระเทือนหรือ
เสียหายจนไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ จึงควรงดการกรีดยางไปก่อนจนกว่าสภาพดินจะแห้งเป็นปกติ และให้สำรวจที่หน้ากรีด ถ้า
พบโรคเส้นดำหรือโรคเปลือกเน่า ก็ให้ทำการกำจัด

เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเสียสภาพโครงสร้างซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นยางพาราอย่างมาก ในช่วงที่ยังมีฝนตกหรือน้ำท่วมขังหรือดินยังอ่อน
นุ่ม ชาวสวนยางไม่ควรเข้าไปดำเนินการใด ๆ ในสวนยางพาราทั้งสิ้น หลังจากน้ำลดแล้ว รอให้ดินแข็งตัวพอสมควรก่อน จึงจะเข้า
ดำเนินการได้



http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/194-flood-on-rubber-plantation


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2011 9:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)











http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=1806
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีฟื้นฟูไม้ผลและปลูกไม้ผลหลังน้ำท่วม

เมื่อประมาณกลางเดือนตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้มีฝนตกหนักทำให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงในหลายพื้นที่ เริ่มต้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทยที่ จ.นครราชสีมา เป็นจังหวัดแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อมาได้ขยายพื้นที่ไปในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง รวมถึงภาคใต้ ทำให้ที่อยู่อาศัยรวมทั้งทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในบาง
จังหวัดของประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่เชื่อว่าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ยังต้องใช้เวลา เพื่อฟื้นฟูสภาพบ้านเรีอนที่ได้รับ
ความเสียหายรวมทั้งสภาพจิตใจด้วยเช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุการณ์มีหลายหน่วยงานร่วมกันให้ความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ฯลฯ รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่
ช่วยกันบริจาคเงิน และสิ่งของเพื่อบรรเทาความทุกข์ให้กับผู้ประสบภัย นั่นแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนคนไทย ในยาม
ที่บ้านเมืองเราเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการความร่วมมือ พวกเราประชาชนคนไทยก็แสดงให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ ทำให้เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นผ่าน
ไปได้ด้วยดีการเกิดอุทกภัยในครั้งนี้นอกจากที่อยู่อาศัย และทรัพย์สินของประชาชนจะได้รับความเสียหายแล้ว ยังทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความ
เสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งพื้นที่ปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ ยางพารา ฯลฯ




ผลิใบฯ ฉบับนี้ จึงมีคำแนะนำในการฟื้นฟูไม้ผล และการปลูกไม้ผลหลังประสบอุทกภัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในพื้นที่ที่กำลังได้รับ
ความเสียหายได้อย่างถูกต้องการฟื้นฟูไม้ผล หลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรจะต้องมีการบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่และให้แตกใบอ่อน
โดยเร็วขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย

ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ คือ
1. หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคน
ต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้

2. ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้ไหลออกจากพื้นที่ให้
มากที่สุด

3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะพาเอาดิน หรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นหลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำ
การขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่ง
ให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกบ้าง เพื่อช่วยต้นพืชอีกทางหนึ่ง

4. เพื่อช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจาก
ดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12 – 12 - 12 หรือ 12 – 9 – 6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21 – 21 – 21 และ 16 – 21 – 27 ละลายน้ำ
พ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของ น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม (6 ขีด) ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี (2.5 ช้อนแกง)
ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 30 - 15 จำนวน 20 กรัม (1.5 ช้อนแกง) โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และ
อาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น ควรพ่นสัก 2 - 3 ครั้ง

5. ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ภายหลังน้ำท่วม มักจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องรากเน่าและโคนเน่า เพราะรากต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ ทำให้ขาด
ออกซิเจน (อากาศ) ดังนั้นเมื่อดินแห้งแล้วควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

6. ในพืชที่ที่มีปัญหาของโรครากเน่า และโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทา
ด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอทิล- อลูมินั่ม (อาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วย
สารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่า และโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.)
สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือ
สเคลอโรเที่ยม(Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี หรือ เทอร์ราคลอร์ นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสม
ต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย

การปลูกพืชหลังประสบอุทกภัย
ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว และต้องการจะปลูกพืช อาจทำได้ 2 วิธีคือปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้งโดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนัก
เบา และกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดินและปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยัง
เปียกชื้นอยู่

การเลือกปลูกไม้ผล ควรพิจารณาความต้องการของตลาดด้วย และควรปลูกไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ควบคู่กับไม้ผล
ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานแต่มีศักยภาพทางการตลาดสูง เป็นการวางแผนในระยะยาว

ก่อนปลูกพืช หากดินแห้งพอที่จะไถได้ ควรไถดินตากแดดสัก 2-3 วันก่อน (ควรเลือกใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา) หากไถไม่ได้ ก็ใช้วิธีขุด
หลุมปลูกให้ได้ขนาดพอเหมาะตามชนิดของพืช แล้วผสมปุ๋ยคอก และปูนขาวเล็กน้อยรองก้นหลุมเพื่อปรับปรุงดิน หากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องโรค
รากเน่า และโคนเน่า ควรราดหรือโรยก้นหลุมด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในดิน เช่น เมตาแลคซิลฟอสเอทิล - อลูมินั่ม หรือ พีซีเอ็นบี
เทอร์ราคลอร์ แล้วแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุ หรือจะใช้วิธีจุ่มรากของกล้าพืชในสารเคมีดังกล่าวก่อนจะปลูกก็ได้

หลังปลูกพืช ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอกเป็นระยะๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชมีการปฏิบัติดูแลรักษาต้นพืช และการป้องกันกำจัด
โรคและแมลงศัตรูพืช ตามคำแนะนำสำหรับพืชแต่ละชนิด

หากเกษตรกรต้องการทราบคำแนะนำ ว่าในพื้นที่ของตนเองมีไม้ผลชนิดใดที่เหมาะกับพื้นที่ กรมวิชาการเกษตรพร้อมสนับสนุนข้อมูลทาง
วิชาการให้อย่างเต็มที่ โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 - 2579 – 0583 หรือ 0 – 2940 – 5484
ได้ในวัน เวลา ราชการ

(ขอบคุณ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร : ข้อมูล)


http://it.doa.go.th/pibai/pibai/rai.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2011 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลักษณะของน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูก


ลักษณะการท่วมขังของน้ำพอที่จะแยกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ
1. น้ำท่วมอย่างช้า ๆ ไล่ระดับน้ำใต้ดิน ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจึงท่วมขังที่รากและผิวดิน ลักษณะนี้น้ำจะไล่อากาศออกจากดินได้เร็วขึ้น ต้นไม้ก็จะเสียหายได้เร็วประมาณ 3-7 วัน ต้องรีบช่วยโดยด่วนที่สุด

2. น้ำท่วมอย่างรวดเร็วไหลบ่ามาท่วม และยังมีกระแสน้ำไหลอยู่เรื่อย ๆ ลักษณะนี้ในดินยังมีอากาศให้พืชใช้ได้นาน พืชอาจจะทนได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าน้ำเริ่มหยุดนิ่ง ก็จะทำให้พืชเสียหายได้เร็วขึ้น ภายใน 10-15 วัน ต้องรีบช่วยเติมอากาศเช่นกัน และถ้าน้ำมีคุณภาพไม่ดี มักมีกลิ่นเป็นน้ำเสีย ยิ่งจะต้องรีบเติมอากาศให้โดยด่วนที่สุด เพราะนอกจากในดินจะขาดอากาศแล้ว ในน้ำก็มีออกซิเจนละลายอยู่น้อยมาก

คำแนะนำการฟื้นฟูไม้ผลและการปลูกไม้ผลหลังประสบอุทกภัย
การฟื้นฟูไม้ผล หลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรจะต้องมีการบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่และให้แตกใบอ่อนโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย


ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ คือ
1.หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืชทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้

2. ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด

3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะพาเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น หลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำการขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกเสียบ้าง เพื่อช่วยเหลือต้นพืชอีกทางหนึ่ง

4. เพื่อช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของ :-

น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม ( 6 ขีด )
ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 20 กรัม ( 1.5 ช้อนแกง )
ฮิวมิค แอซิด 20 ซีซี ( 2.5 ช้อนแกง )
โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น ควรพ่นสัก 2-3 ครั้ง

5. ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ภายหลังน้ำท่วม มักจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องรากเน่าและโคนเน่า เพราะรากต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ ทำให้ขาดออกซิเจน (อากาศ) และเกิดรากเน่า ดังนั้นเมื่อดินแห้งแล้วควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

6. ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรกรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (กาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือ ไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) , ไรซ๊อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือ สเคลอโรเที่ยม (Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (เทอร์ราคลอร์, บลาสสิโคล) นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย


การปลูกพืชหลังประสบอุทกภัย
ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว และต้องการจะปลูกพืช อาจทำได้ 2 วิธีคือ
1.ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา และกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน

2. ปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่
การเลือกปลูกไม้ผล ควรพิจารณาความต้องการของตลาดด้วย และควรปลูกไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ควบคู่กับไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานแต่มีศักยภาพทางการตลาดสูง เป็นการวางแผนในระยะยาว

ก่อนปลูกพืช หากดินแห้งพอที่จะไถได้ ควรไถดินตากแดดสัก 2-3 วันก่อน (ควรเลือกใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา) หากไถไม่ได้ ก็ใช้วิธีขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดพอเหมาะตามชนิดของพืช แล้วผสมปุ๋ยคอก และปูนขาวเล็กน้อยรองก้นหลุมเพื่อปรับปรุงดิน หากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องโรครากเน่าควรราดหรือโรยก้นหลุมด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในดิน เช่น ริโดมิล อาลิเอท หรือเทอร์ราคลอร์ แล้วแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุ หรือจะใช้วิธีจุ่มรากของกล้าพืชในสารเคมีดังกล่าวก่อนจะปลูกก็ได้
หลังปลูกพืช ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอกเป็นระยะๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช มีการปฏิบัติดูแลรักษาต้นพืช และการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ตามคำแนะนำสำหรับพืชแต่ละชนิด


การช่วยเหลือต้นไม้หลังน้ำท่วม
เริ่มด้วยการสูบน้ำออกโดยเร็ว เพราะรากพืชที่จมอยู่ใต้น้ำจะขาดออกซิ- เจน สำหรับต้นไม้ใหญ่มีวิธีรับมือก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ ได้ด้วย การขุดหลุมเล็กๆ ห่างจากรากพืชเล็กน้อย เมื่อน้ำเริ่มท่วมก็วิดน้ำออกจากหลุม ทันที แต่ถ้าไม่ทันก็มีอีกทางเลือกหนึ่งคือเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้ด้วยการพ่นน้ำ หรือใช้กังหันตีน้ำให้เกิดการไหลเวียน

หลังน้ำลดดินจะเปียก จึงไม่ควรลงไปเหยียบย่ำ เพราะจะทำให้ดินอัดตัว แน่นจนขาดออกซิเจน และน้ำหนักของเกษตรกรที่เหยียบลงไปอาจทำให้รากพืช ขาดได้ จึงควรรอสักนิดให้ดินแห้งก่อนแล้วค่อยสำรวจความเสียหาย โดยการ ตรวจอาการของต้นไม้เป็นรายต้นซึ่งจุดที่สังเกตง่ายที่สุดคือ " ใบ " ที่จะเหี่ยวก่อน เพราะดูดน้ำไม่ได้ ในเบื้องต้นรีบช่วยเหลือด้วยการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการ คายน้ำและแสงแดดส่องได้ทั่วถึง อาการแทรกซ้อนจากโรคและแมลงจะได้ไม่ ตามมา สำหรับหญ้าและพืชคลุมดินให้รื้อออกเพื่อให้ดินแห้งเร็วยิ่งขึ้น ส่วนที่คาด ว่าจะรอด ให้ขุดขึ้นมาตัดรากส่วนที่เน่าออก และนำไปพักฟื้นในกระถางชั่วคราวก่อน ในระหว่างนี้งดให้น้ำให้อาหารชั่วคราว เพราะรากยังไม่ค่อยแข็งแรง จน เริ่มฟื้นตัวแล้วจึงให้น้ำเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นจึงให้อาหารและฮอร์โมนเร่ง การเจริญเติบโตของรากได้ ไม้ผลให้อาหารทางใบ 30 - 40 กรัม ผสมธาตุอาหาร ย่อย(เช่น โปรแตสบำรุงราก) 5 กรัม คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด รดกับไม้ผล 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน เพื่อป้องกันเชื้อราและฟื้นฟูสภาพ เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวจึงค่อยปรับปรุงสวนใหม่ ปรับความลาดเทของพื้นที่ ปรับดินให้ร่วนซุยขึ้นเพื่อการระบายน้ำ นอกจากนี้อาจจะปลูกต้นไม้ที่ทนต่อการ ถูกน้ำท่วมเสริม เช่น โมก จิกน้ำ กุ่มน้ำ ไทร เป็นต้น หรือพืชขนาดเล็กก็เลือกพืช ริมน้ำ เพื่อที่ฝนต่อไปจะได้ไม่สูญเสียมากนัก แต่ทั้งนี้ ปัจจัยอื่นที่ทำให้ต้นไม้ฟื้น จากอาการขาดน้ำเร็วขึ้นก็คือ ชนิด ความแข็งแรงทนทาน ระยะเวลาการเติบโต ของพืช

นอกจากนี้พืชที่ได้รับการตัดแต่งกิ่งจะฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนพืชที่ติดดอกออก ผลมาก อาหารสะสมในต้นจะถูกดึงไปทดแทนจึงอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว


ที่มา: กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร


www.moac-info.net/.../76_1_124102_4ลักษณะน้ำท่วมของในพื้นที่เพาะปลูก.doc
http://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2+Google&aq=f&aqi=&aql=&oq=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2011 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)















http://www.huaphaifarm.com/showdetail.asp?boardid=76
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©