-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยเจาะลำต้น....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยเจาะลำต้น....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยเจาะลำต้น....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 9:10 am    ชื่อกระทู้: ให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยเจาะลำต้น.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมันโดยการเจาะลำต้น

ให้ข้อมูลโดย : คุณธีระพงศ์ จันทรนิยม


กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีครับท่าน สำหรับ การใส่ปุ๋ยให้กับปาล์มโดยการเจาะลำต้นแล้วใส่ท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว โดยใส่ปุ๋ยทางท่อ PVC ที่ฝังไว้ในลำต้น ซึ่งมีการอ้างว่าจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ....จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ช่วงนี้มีเกษตรกรสนใจและถามข้อสงสัยเข้ามามากครับ ประกอบกับขณะนี้ปาล์มทะลายมีราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ถึงระดับ 7.20-7.50 บาท/กิโลกรัม และจากราคาปาล์มที่สูงขึ้นดังกล่าวทำให้เกษตรกรสนใจที่จะเพิ่มผลผลิตปาล์มอย่างรวดเร็ว และได้รับคำแนะนำว่าควรใส่ปุ๋ยโดยการเจาะลำต้น ประกอบกับการใช้ปุ๋ยโดยการเจาะต้นได้ถูกเผยแพร่ในวารสารบางเล่มว่ามีข้อดีต่างๆมากมาย สำหรับเรื่องนี้ผมจึงอยากให้เกษตรกรตั้งสติแล้วคิดถึงความเป็นไปได้ โดยอยู่ในกรอบของเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ครับ




1. การเจาะลำต้นแล้วใส่ปุ๋ย ทำให้ผลผลิตปาล์มเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าหรือไม่ ?

ในการวัดผลผลิตปาล์มว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น จะต้องศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บข้อมูลผลผลิตนานถึง 3-5 ปี ตามอายุปาล์ม เนื่องจากการพัฒนาของตาดอกจนถึงการผสมเกสรจะใช้เวลาประมาณ 15 เดือน สำหรับปาล์มเล็ก ซึ่งมีการสร้างทางใบ 3 ทางใบ/เดือน ส่วนในปาล์มที่มีอายุมากซึ่งมีการสร้างทางใบ 2 ทางใบ/เดือน จะต้องใช้เวลานานถึง 22 เดือน ดังนั้นการให้ปุ๋ยกับปาล์มในวันนี้ ผลของการให้ปุ๋ยดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนทะลายหรือไม่ สำหรับปาล์มเล็กเราจะต้องไปดูอีก 15 เดือน ข้างหน้า หรืออีกประมาณ 22 เดือนสำหรับปาล์มใหญ่ การเพิ่มผลผลิตของทะลายปาล์มอีก 2-3 เดือนข้างหน้าไม่ได้เกิดจากการใส่ปุ๋ยในวันนี้ แต่เป็นผลจากการใส่ปุ๋ยและดูแลรักษา เมื่อ 15-22 เดือนที่ผ่านมา

ผลผลิตของปาล์มจะสัมพันธ์กับปริมาณธาตุอาหาร (ปุ๋ย) ที่ใส่ มีการศึกษาพบว่า การตัดทะลายปาล์มออกไป 1,000 กก. จะทำให้มีการสูญเสียธาตุไนโตรเจน (N) 2.94 กก., สูญเสียฟอสฟอรัส (P) 0.44 กก., สูญเสียโพแทสเซียม (K) 3.71 กก., สูญเสียแมกนีเซียม (Mg) 0.77 กก. และสูญเสียแคลเซียม (Ca) 0.81 กก. จากข้อมูลดังกล่าวอยากให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์ม วิเคราะห์ดังนี้ครับจากคำอ้างว่าการเจาะต้นจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้นเป็น 2 เท่า หากปัจจุบันสวนปาล์มให้ผลผลิต 3 ตัน/ไร่/ปี ก็จะทำให้ผลผลิตสูงเป็น 6 ตัน/ไร่/ปี

ปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ มี 22 ต้น ให้ผลผลิต 6 ตัน (6,000 กก.)
ดังนั้นปาล์ม 1 ต้น จะให้ผลผลิต = 6,000 = 272.7 กก./ต้น/ปี

นั่นหมายความว่า หากจะให้ได้ผลผลิต 6 ตัน/ไร่/ปี ปาล์มแต่ละต้นจะต้องให้ผลผลิต 272.7 กก./ต้น/ปี ซึ่งจะมีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับทะลายดังนี้

สูญเสียไนโตรเจนไปกับทะลาย 272.7 กก./ต้น = 2.94 x 272.7 = 0.80 กก./ต้น

สูญเสียฟอสฟอรัสไปกับทะลาย 272.7 กก./ต้น = 0.44 x 272.7 = 0.12 กก./ต้น

สูญเสียโพแทสเซียมไปกับทะลาย 272.7 กก./ต้น = 3.71 x 272.7 = 1.01 กก./ต้น

ดังนั้น การชดเชยธาตุอาหารสำหรับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิต 6 ตัน/ไร่/ปี ในกรณีที่ไม่มีการสูญเสียปุ๋ยระหว่างการใส่จะต้องให้ธาตุอาหารต่อต้น ดังนี้

- ธาตุไนโตรเจน 0.80 กก./ต้น หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 = (100/46) x 0.8 = 1.74 กก.
- ธาตุฟอสฟอรัส 0.12 กก./ต้น หรือปุ๋ยสูตร 18-46-0 = (100/46) x 0.12 = 0.26 กก.
- ธาตุโพแทสเซียม 1.01 กก./ต้น หรือปุ๋ยสูตร 0-0-60 = (100/60) x 1.01 = 1.68 กก.



หากการเจาะลำต้นปาล์มแล้วใส่ปุ๋ย และปาล์มสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องใส่ปุ๋ยรวม 3.68 กก. (46-0-0 = 1.74 กก., 18-46-0 = 0.26 กก., 0-0-60 = 1.68 กก.)

คำถาม ? ช่องเจาะใส่ปุ๋ยที่ลำต้นปาล์มเป็นเพียงท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต จะเพียงพอสำหรับปุ๋ย 3.68 กก. หรือไม่ ?


2. การดูดธาตุอาหารของพืช
ตามปกติการดูดธาตุอาหารของพืช อาหาร (ปุ๋ย) จะซึมผ่านรากขนอ่อนแล้วเคลื่อนย้ายสู่ใบทางท่อน้ำ (Xylem) แล้วไปสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบ เมื่อได้อาหารแล้วจะส่งผ่านทางท่ออาหาร (Phloem) ไปยังส่วนต่างๆของพืช ในกรณีของปาล์มจะไปเก็บไว้ที่ลำต้นหรือส่งไปบำรุงดอก ทะลายปาล์ม ซึ่งโครงสร้างของธาตุอาหาร ใน Xylem และ Phloem จะมีโครงสร้างที่ต่างกัน ดังนั้นการเจาะต้นเพื่อให้ปุ๋ยจะมีคำถามว่า...

ประการแรก ปุ๋ยที่ให้มีโครงสร้างที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีหรือไม่ ?
ประการที่สอง เมื่อเจาะเข้าลำต้นจะเป็นการตัดท่อน้ำและท่ออาหารของปาล์ม หากปุ๋ยมีการซึมผ่านจริงปุ๋ยนั้นก็จะเข้าไปอยู่ในท่อน้ำและท่ออาหาร แล้วปาล์มจะเอาอาหารดังกล่าวไปสังเคราะห์ก่อนหรือไม่ หรือนำไปใช้ได้เลย (หากนำไปใช้ได้เลยธาตุอาหารจะต้องอยู่ในรูปที่เหมือนกับอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นในใบ)

3. ความสะอาดและสภาพปลอดเชื้อของอาหาร
โดยปกติภายในลำต้นปาล์มจะอยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อ ซึ่งการเจาะลำต้นอาจทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายต้นได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นปาล์มตายได้

จากข้อมูลที่นำเสนอมาทั้ง 3 ข้อ ข้างต้น จึงอยากให้เกษตรกรที่จะทำการเจาะลำต้นปาล์มเพื่อใส่ปุ๋ย ควรพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดและรอบคอบ


หมายเหตุ :
แนวคิดการเจาะลำต้นเพื่อใส่ปุ๋ย น่าจะมาจากแนวทางการป้องกันโรคและแมลง ซึ่งมีการเจาะต้นเพื่อฉีดยาเข้าไป ในกรณีนี้ไม่มีปัญหาเพราะยาสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในท่อน้ำและท่ออาหารของพืช

ในกรณีที่มีเทคโนโลยีที่แปลกๆ เกษตรกรควรศึกษาว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีการใช้ในสวนปาล์มขนาดใหญ่หรือไม่? เพราะถ้าเทคโนโลยีดังกล่าวดีและประหยัดจริง ทางบริษัทที่ปลูกปาล์มน่าจะมีการศึกษาและนำมาใช้แล้ว



http://share.psu.ac.th/blog/r-center1/18092
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เจาะลำต้นใส่ปุ๋ยปาล์ม นวัตกรรมหรือว่าอันตราย


เจาะลำต้นใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรชาวสวน โดยเฉพาะชาวสวนยางพารากับชาวสวนปาล์มน้ำมันที่ราคาผลผลิตกำลังดีมาก ยางพารากิโลกรัมละ 100 กว่าบาท และปาล์มน้ำมันกิโลกรัมละ 5 บาทกว่า ก็ถือเป็นผลดีต่อเกษตรกรและระบบเศรษฐกิจ

แต่เมื่อมาดูผลผลิตปาล์มน้ำมันในแต่ละสวนจะพบว่า ผลผลิตไม่มี ผลทะลายปาล์มลดลง ซึ่งอาจเกิดจากผลกระทบในช่วงแล้งที่ผ่านมา ด้วยผลผลิตที่ลดลงแต่ความต้องการมากขึ้น ทำให้ราคาของปาล์มน้ำมันสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม อุปสงค์ และอุปทานของตลาดสิ้นค้าเกษตร หรือเป็นเพราะเหตุปัจจัยอย่างอื่น แต่อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นโอกาสดีของเกษตรกร

เมื่อฤดูฝนเข้ามาพัดพาความชุ่มชื่นคืนมาอีกครั้ง เกษตรกรก็มักจะเริ่มใส่ปุ๋ยบำรุงพืชกันทั่วหน้า ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชที่มีความต้องการปริมาณธาตุอาหารเป็นจำนวนมากในการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต เพื่อทดแทนธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต

จึงนับได้ว่าปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตปาล์มน้ำมัน เพราะ 60-70 % ของต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน คือปุ๋ย เพราะฉนั้นเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกปริมาณอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี เพื่อให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยให้ได้มากที่สุด ส่งผลต่อผลผลิตที่สูงสุดและคุ้มค่าการลงทุน

ด้วยความสำคํญดังกล่าวข้างต้น ได้มีวิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น นั้นคือ การเจาะลำต้นแล้วใส่ปุ๋ย วิธีการทำคือ ใช้สว่านเจาะลำต้น แล้วนำท่อ PVC ขนาดสองนิ้วที่เจาะรูรอบๆแล้ว ใส่เข้าไปในลำต้น แล้วก็ใส่ปุ๋ยทางท่อ พร้อมปิดฝา แล้วพืชก็จะดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ วิธีนี้จะเป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและประหยัดปุ๋ยจริงหรือ??? หรือเป็นวิธีที่ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายเร็วขึ้น ?

การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะเป็นนวัตกรรม หรือว่าอันตราย ? ?

ไม่มีนักวิชาการใดมารองรับวิธีการนี้ แต่มาดูหลักการและเหตุผลกันว่า การเจาะลำต้นถือเป็นการทำลายเนื้อเยื่อปาล์ม เกิดการเสียหาย บริเวณเนื้อเยื่อดังกล่าวก็จะไม่มีเนื้อเยื่อเจริญมาทดแทน ส่งผลให้เนื้อเยื่อลำต้นบริเวณนั้นเน่า และมีเชื้อโรคอื่นๆตามมา ส่งผลให้ต้นปาล์มตายได้ และในกรณีที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก และหนาแน่น จะพบว่าวัชพืชบริเวณนั้นตายหรือแม้แต่รากพืชก็อาจตายได้ เพราะฉนั้นการเจาะลำต้นแล้วใส่ปุ๋ยก็ย่อมเป็นอันตรายแก่ต้นปาล์มด้วยเช่นกัน

ซึ่งปกติแล้วธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปไอออน หรือประจุ และรากพืชจะดูดเข้าท่อลำเลียงต่อไป แล้วนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของพืช การเจาะลำต้นเป็นเหตุให้พืชเกิดสภาวะเครียด ส่งผลให้พืชเร่งสร้างผลผลิตเพื่อการสืบพันธุ์ ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงแรก จนเกษตรกรบางท่านเกิดความหลงผิด คิดว่าวิธีการดังกล่าวสามารถทำได้และเกิดประโยชน์ เพราะว่าสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ แต่หลังจากนั้นต้นปาล์มจะโทรม เนื้อเยื่อก็จะเน่าผลผลิตก็จะลดลง และอาจทำให้ต้นตายไปในที่สุด

ด้วยเหตุและผลดังกล่าวการเจาะลำต้นเพื่อใส่ปุ๋ยปาล์มถือว่าเป็นอันตราย จึงอยากจะฝากถึงเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทุกท่านได้ไตร่ตรองและพิจารณา ด้วยหลักการและเหตุผล อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอะไรง่ายๆ ยังมีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ท่าน หากมีข้อสงสัยและข้อเสนอแนะอื่นใดสามารถปรึกษาได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน มีความยินดีและพร้อมแนะนำ เพื่อการพัฒนาวงการปาล์มน้ำมันให้มีประสิทธิภาพต่อไป



http://gotoknow.org/blog/sawit-corn/404046
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าเชื่อคำโฆษณา...


ความเชื่อของคนเรานั้นมีหลายระดับ บางคนเชื่อมากหัวปักหัวปำ เชื่ออย่างไร้เหตุผล พูดง่ายๆ วิธีการล้างสมองของ คนที่มีความสามารถในการพูดล้างสมองจนมีการหลงเชื่อมีอยู่มากมายในยุคนี้ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก..โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มการเมือง หัวหน้าม็อบต่างๆ รวมไปถึงธุระกิจ MLM..ที่ประโคมข่าวโฆษณา หาลูกค้า อวดอ้างประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ......มีให้เห็นมากมายในบ้านเรา..




มีคนเห็นวิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยการเจาะลำต้น แล้วใช้ท่อ พีวีซี สอดเข้าไป โดยเจาะรูให้เอียง ๔๐-๔๕ องศา ท่อขนาด ๑ นิ้ว เจาะลึกเข้าไป ๗ นิ้ว ตัดท่อน้ำท่ออาหารของต้นปาล์มน้ำมัน แล้วใส่ปุ๋ยเข้าไปในท่อ ครั้งละ ๒๐๐ กรัม ต่อต้น โดยอ้างเหตุผลว่า ลดการสูญเสียของปุ๋ย......ในประเทศมาเลย์เซีย..



ใส่ทุกเดือน ฟังดูแล้ว น่าเชื่อ..แต่ตามหลักวิชาการ ขบวนการนำธาตุอาหารไปใช้นั้น ถ้าใช้วิธีการตามนี้ เป็นวิธีการที่ผิดธรรมชาติ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ตามกระบวนการตามสรีระของพืช



ไม่ใช่เป็นวิธีการที่กรมวิชาการแนะนำ และไม่รับรอง เป็นการทำเพื่อต้องการขายวัสดุ ต่างๆเช่น เครื่องเจาะต้นปาล์มน้ำมัน ท่อพีวีซี..และอื่นตามมาหลายอย่างกระทบเช่น โรคเชื้อราที่อาจเข้าทำลายแผลที่เจาะได้ เป็นที่อยู่ของด้วงแรด เพื่อทำลายต้นปาล์ม อย่าหลงเชื่อเป็นอันขาดขอให้เกษตรกรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เกษตรอำเภอ หรือผู้รู้ที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงเท่านั้น ...


โดย กำหนัน


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=655782
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.เจาะเพื่อใส่ปุ๋ยบำรุงปาล์ม














วิธีนี้ เป็นเหมือนการให้อาหารทางด่วน หากเป็นคนก็ให้อาหารทางน้ำเกลือประมาณ นั้น สําหรับกรณีปาล์มน้ำมัน ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน แต่ที่ไปเห็นมา พบว่าปาล์มทีไม่เคยให้ผลผลิต ก็มีผลผลิตเพิ่ม มีผลดีแน่ ในระยะแรก แต่ต้องรออีกสักพัก หากผ่าน 2 -3 ปีไป แล้ว จะมีความชัดเจนขึ้น

นอกจากลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยได้จํานวนมาก ผลผลิตเพิ่มขึ้น กําไรแน่นอน แล้ว ยังเป็นการประหยัดค่าแรงงาน ในการใส่ปุ๋ย กําจัดวัชพืช จากเดิม 7-8 คน เหลือ 1-2 คนเท่านั้น การกําจัดวัชพืชก็ไม่หนักหนา ปีละ 2 ครั้ง ก่อนฝนและปลายฝน

ผลดีที่เห็นชัดคือประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยน้อยเพียง 200 กรัมต่อต้นต่อเดือน ปีละ 2.4 กิโลกรัม ลดลงจากเดิมที่ต้องใช้ถึง 6 -7 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี นับว่าประหยัดปุ๋ยได้มาก และนับเป็นทางเลือกอย่างที่น่าสนใจของเกษตรกร

การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีนี้ จะให้คุณภาพที่ดีกว่าการใส่ปุ๋ยบนดิน เพราะรากของต้นปาล์มจะซึมซับสารอาหารได้มากกว่า ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน2ปี ผลผลิตก็จะได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน



2. เจาะเพื่อทำลายต้นปาล์ม
เนื่องจากเมื่อต้นปาล์มมีอายุมาก จะให้ผลผลิตลดน้อยลงไม่คุ้มกับการลงทุน จึงจำเป็นต้องโค่นทำลายเพื่อทำการปลูกใหม่ แต่การทำลาย (โค่น) ที่ทำกันในปัจจุบันจะใช้วิธีโค่นด้วยเลื่อยยนต์ ดันด้วยรถแทรกเตอร์, ข่มด้วยรถแบคโฮ วิธีเหล่านี้ทำได้ยาก ลงทุนมากและใช้เวลานาน การใช้ยาฆ่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยขึ้นไปหยอดยาที่ยอดต้นปาล์ม ซึ่งวิธีนี้ทำได้แต่ยากและเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย จึงคิดหาวิธีที่สามารถทำลายต้นปาล์มได้ง่ายและไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ โดยคิดเครื่องมือเจาะบริเวณโคนลำต้นของปาล์มและใช้ยาหยอดในรูที่เจาะเข้าไป


จุดเด่นและลักษณะพิเศษของสว่านเจาะปาล์ม
1. สามารถเจาะได้รวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 1 นาทีต่อ 3 ต้น
2. มีเกียร์บังคับให้ดอกสว่านหมุนเร็ว ช้า หรือให้หยุดได้
3. มีคันเร่งพิเศษเพื่อเร่งหรือเบาเครื่องยนต์ให้มีกำลังตามที่ต้องการได้
4. สามารถบังคับให้เจาะลึกหรือเอียงตามที่ต้องการได้ เพื่อประโยชน์ในการหยอดน้ำยาฆ่าต้นปาล์ม และป้องกันน้ำยาไหลออก
5. เครื่องมือนี้สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่อไปได้ง่าย ไม่ต้องใช้แรงมากเพราะออกแบบให้วางบนรถเข็น
6. มีเพลา 2 เพลา คือ เพลากลวงและเพลาตัน เพลากลวงสามารถบังคับเพลาตันให้หมุนตามได้ และขณะที่ ดอกสว่านกำลังหมุนสามารถดึงเข้าและออกจากรูเจาะ เพื่อคายขี้สว่านออกได้ง่าย สามารถทำงานได้สะดวก


ประโยชน์ของสว่านเจาะปาล์ม
1. ลงทุนน้อย การทำลายต้นปาล์มโดยใช้สว่านเจาะลำต้นและหยอดยาราคา 30-50 บาทต่อต้น
2. ทำได้ง่าย ไม่เสียเวลา ต้นใบไม่เกะกะกีดขวาง สามารถเตรียมพื้นที่ปลูกต้นใหม่ได้ทันที
3. สำหรับสวนปาล์มที่ปลูกแซมไว้ก่อนแล้ว การทำลายต้นเก่าโดยวิธีนี้ง่ายและอันตรายน้อยที่สุด




http://plamthai.siam2web.com//?cid=1001079
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©