-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 8:13 pm    ชื่อกระทู้: เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศูนย์วิจัยยางหนองคาย เตือนเกษตรกร
ที่จะดำเนินการ เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน

นายสุรเดช ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหนองคาย ได้กล่าวว่าในช่วงที่ยางพารามีราคาสูงขึ้น มีเจ้าของสวนยางหลายรายในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี นครพนม และสกลนคร ให้ความสนใจคิดจะเปลี่ยนจากการกรีดยางแบบเดิม มาใช้วิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน และได้สอบถามมายังศูนย์วิจัยยางหนองคายถึงเรื่อง “ผลกระทบของการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนต่อต้นยาง” เนื่องจากมีพ่อค้านำชุดเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนมาแนะนำและขายให้เจ้าของสวนยาง โดยพ่อค้าดังกล่าวบอกแต่เพียงข้อดี แต่ไม่บอกถึงข้อเสียหรือข้อจำกัดของการใช้ชุดเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน

ศูนย์วิจัยยางหนองคาย ขอนำเอาคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง มาเป็นข้อชี้แจงให้กับเจ้าของสวนยาง เพื่อให้เจ้าของสวนยางได้เข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัด และสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาก่อนจะตัดสินใจวิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนแทนการกรีดยางแบบเดิม ดังนี้

1. โดยทั่วไปการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน สถาบันวิจัยยางแนะนำสำหรับยางแก่ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี หรือ ต้นยางก่อนโค่น 3-5 ปี หรือ ยางที่หน้ากรีดเสียหายมากไม่สามารถกรีดต่อไปได้แล้ว

2. ต้นยางต้องสมบูรณ์ มีขนาดลำต้นโต ทรงพุ่มและใบสมบูรณ์ดี ไม่แคระแกรน

3. การเจาะยางใช้ได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก การใช้แก๊สจะได้ผลดีเมื่อความชื้นในดินสูง

4. ต้องมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อความต้องการของต้นยาง

5. หากเจาะลึกถึงเนื้อไม้ จะทำให้บริเวณที่ถูกเจาะเป็นแผลและมีสีคล้ำ หรือเกิดอาการปลือกบวม ทำให้เกิดสีคล้ำบนเนื้อไม้บริเวณที่เจาะได้

6. ต้นทุนการใช้แก๊สค่อนข้างสูง

7. การใช้แก๊สต้องมีการเปลี่ยนถุงพลาสติกที่ใช้ใส่น้ำยางจำนวนมาก ซึ่งถุงพลาสติกเฉพาะ เหล่านี้จะก่อให้เกิดขยะที่ไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาวได้

สำหรับสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแม้จะมีฝนตกชุกและความชื้นสูงในฤดูฝนแต่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้งกลับมีความชื้นในอากาศ และในดินต่ำและเป็นเวลานานกว่า ดังนั้น การเจาะยางในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูหนาวจึงอาจมีผลต่อต้นยาง ทำให้ต้นยางทรุดโทรมเร็ว

อย่างไรก็ตาม วิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนในยางเปิดกรีดใหม่ สถาบันวิจัยยางยังไม่แนะนำให้ใช้ จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบในระยะยาวต่อไปก่อน

หากท่านเกษตรกรต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอข้อมูล หรือขอรับรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย ต.พระบาทนาสิงห์ กิ่ง อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย 43120 โทรศัพท์ 042-421396

ศูนย์วิจัยยางหนองคาย : ข่าว


www.moac-info.net/.../43_1_18454_ศูนย์วิจัยยางหนองคาย%20%20เตือนเกษตรกร.doc
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

..... ต้นยางพารา 16 ปี อยู่ จ.สุรินทร์ตอนนี้มีโรคที่หาสาเหตุยังไม่พบ อาการคือ ลำต้นยางเจริญเติบโตปกติเหมือนต้นยางทั่วแต่กรีดแล้วน้ำยางแทบไม่ออก (1-2 หยด) ตอนแรกเป็นอยู่ 2 ต้น ตอนนี้เป็นหลายต้นมากขึ้น สวนคนอื่น ๆ ก็เป็นเหมือนกัน ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรค่ะ ?

อาการดังกล่าวน่าจะเกิดจากอาการเปลือกแห้ง (Tapping panel dryness) : TPD อาการที่พบโดยทั่วไป คือ ที่หน้ายาง ในรอยกรีดของเปลือกที่ติดกับเนื้อเยื่อเจริญ (cambium) จะเป็นสีน้ำตาล กว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และจะขยายต่อไปเรื่อยๆ ตามรอยกรีด ในเนื้อเยื่อที่ผิดปกติจะมีความชื้นสูง น้ำยางจับก้อนอยู่ในท่อน้ำยาง สโตนเซล (stone cell) เพิ่มขึ้น ทำให้เปลือกยางแห้งไม่มีน้ำยาง และเปลือกยางจะแยกเป็นแผ่นหนาและแข็ง จนในที่สุดก็หลุดล่อนออกมา เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างในจะมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ และเจริญผิดปกติ จนกลายเป็นปุ่มปม โดยปกติการเกิดอาการเปลือกแห้งจะมีอาการจากหน้ากรีดและจะลุกลามไปเรื่อย ๆ ลงสู่ข้างล่าง แต่ไม่ลุกลามไปยังเปลือกเดิมที่อยู่เหนือรอยกรีด

ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งได้เกิดจากวิธีการกรีด ระบบการกรีด ความชำนาญของคนกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง แต่ตัวกระตุ้นทำให้เปลือกแห้งมากที่สุดเกิดจากการกรีดที่หักโหมจนเกินไปทำให้ต้นยางไม่มีเวลาพัก

เพราะฉะนั้นวิธีรักษาที่ถูกต้องที่สุด ต้องหยุดพักการกรีดต้นที่เปลือกแห้งเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ต้นยางมีเวลาพักฟื้น จึงทำการเปิดกรีดหน้าใหม่ทางด้านตรงข้าม หรือเปิดกรีดหน้าสูง และต้องบำรุงรักษาโดยการให้ปุ๋ยควบคู่ไปด้วยตามคำแนะนำของทางการ




..... ดิฉันเห็นข้างสวนเร่งแกสให้กับต้นยาง ประมาณ 300 ต้น 1 ต้น ยางกรีดได้ประมาน 3 กิโลจะเป็นอันตรายไหมเห็นเขาทำกันเยอะมาก ?

ตามที่ทีมกลุ่มวิจัย และพัฒนาการผลิตยาง ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้มาทำการทดลองที่องค์การสวนยาง กิ่ง อ. ช้างกลาง จ. นครศรีธรรมราช ช่วง ต.ค. 39-ก.ย. 40 นั้น การให้แก๊สเร่งน้ำยางเป็นเอทิลีนแก๊ส ที่มีความเข้มข้น 68 % ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้น้ำยางแข็งตัวช้า และเพิ่มแรงดันออสโมติกของน้ำยาง มีผลให้การไหลของน้ำยางนานกว่าปกติ และให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จากผลการทดลองในยางพันธุ์ RRIM 600 ปรากฏว่าการใช้ระบบเจาะวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง (เจาะ 120 วัน) ให้ผลผลิตยางแห้ง 9.25 กิโลกรัม/ต้น/ปี

ส่วนกรรมวิธีการใช้ระบบเจาะวันเว้นสี่วันร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง ให้ผลผลิตยางแห้ง 8.29 กิโลกรัม/ต้น/ปี (เจาะ 72 วัน) แต่จากการเก็บข้อมูลของสถบันวิจัยยางในยางพันธุ์ RRIM 600 ในการกรีดยางโดยทั่วไป 13 ปีกรีด ผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 289 กิโลกรัม/ไร่/ปี วันกรีดเฉลี่ย 132 วัน ก็เท่ากับผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 2.19 กิโลกรัม/ไร่/วัน

จะเห็นได้ว่าการใช้แก๊สเร่งน้ำยางจะให้ผลผลิตสูงกว่าการกรีดปกติโดยทั่วไปสองเท่า คือลองเอา 9 คูณด้วย 65 = 585 ก.ก. (65 ต้นต่อไร่ เผื่อตาย แคระแกรน หัก ล้ม โค่น) ปกติ 1 ไร่ ระยะปลูก 3 X 7 = 76 ต้น เมื่อสิ้นสุดการทดลองไม่พบต้นแสดงอาการเปลือกแห้ง ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มรายได้แก่เจ้าของสวนยาง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในการกรีดยางได้ และยังสามารถปฏิบัติงานได้ในวันที่มีฝนตก แต่ควรจะใช้กับต้นยางที่อายุ 15 ปีขึ้นไป


http://www.tla-latex.org/question.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การตัดสินใจของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในการใช้วิธีการกรีดยางระหว่าง
วิธีเจาะต้นยางกับการใช้มีกรีดยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อการตัดสินใจการใช้วิธีการเจาะต้นยาง รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้การเจาะต้นยางระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีการเจาะต้นยางกับเกษตรกรที่ใช้มีดกรีดยาง เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

ดำเนินการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาจำนวน 137 ครัวเรือน แบ่งเป็นครัวเรือนเกษตรกรกลุ่มที่ 1 คือ เกษตรกรที่ใช้วิธีการเจาะต้นยางจำนวน 56 ครัวเรือน และครัวเรือนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 คือ เกษตรกรที่ใช้มีกรีดยางจำนวน 81 ครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่าขนาดพื้นที่สวนยาง จำนวนหน่วยแรงงานในการทำสวนยาง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างของอายุและระดับการศึกษา มีผลต่อการตัดสินใจใช้วิธีการเจาะต้นยาง เกษตรกรตัดสินใจใช้วิธีการเจาะต้นยาง จากการรับรู้ข่าวสารจากตัวแทนบริษัทฯ และจากการพูดคุยกับเพื่อนบ้านที่ทำแล้วได้รับผลดี คือ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาในเรื่องแรงงานและช่วงเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานในการใช้มีดกรีดยางได้

ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการใช้วิธีการเจาะต้นยาง ด้านผลประโยชน์เห็นด้วยมากกว่าน้ำยางที่ได้มีความสะอาด ได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอตลอดปี ด้านแรงงานไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีความชำนาญ สามารถปฏิบัติงานในเวลากลางวันและในช่วงฝนตกได้ ใช้แรงงานน้อยกว่า ทำให้มีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นเพิ่มขึ้น

ด้านปฏิบัติและความเสี่ยง ต้องใช้เงินลงทุนสูง และอาจเกิดผลเสียต้อเนื้อไม้ในระยะยาว เปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ต่อการใช้วิธีการเจาะต้นยาง

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพ อายุของต้นยาง และผลผลิตน้ำยาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01)

ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ รายได้สุทธิจากการใช้วิธีการเจาะต้นยาง พื้นที่ทำการเกษตรกร/หน่วยแรงงาน และหน่วยแรงงานในการทำสวนยาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01)

ส่วนรายได้สุทธิจากการทำสวนยาง รายได้รวมของครัวเรือนเกษตร และสมาชิกที่ใช้แรงงานในการทำการเกษตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01)

ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้วิธีการเจาะต้นยาง ทั้งความคิดเห็นด้านผลประโยชน์ ด้านแรงงาน ด้านวิธีการปฏิบัติ และความเสี่ยง ด้านการรับรู้ข่าวสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01)

คำสำคัญ : การตัดสินใจ, วิธีการกรีดยาง, วิธีเจาะต้นยาง, วิธีใช้มีดกรีดยาง, เกษตรกรชาวสวนยาง



http://kaekae.oas.psu.ac.th/psuhsej/rst/rst.php?op=view_metadata&id=108
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©