-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยาง...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยาง...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยาง...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Bangtong
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/11/2011
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 12/11/2011 3:18 pm    ชื่อกระทู้: ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยาง... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยางหน่อยครับ...


1. พื้นที่สวนยางของผมเป็นพื้นที่ลาดชัน ขึ้นๆลงๆเหมือนคลื่น ผมได้ใส่ปุ๋ยตามกรมสวนยางโดยการใช้จอบขุดดิน 2 หลุม ใส่ปุ๋ยแล้วคราดกลบ ปรากฏว่าผมขุดไปฟันโดนรากต้นยางขาด ตอนแรกผมคิดว่าเป็นรากของวัชพืช แต่ผมเริ่มเอะใจ ผมจึงใช้มือขุดดูต้นกำเนิดราก พบว่า เป็นรากต้นยางซึ่งเป็นรากที่ยาวและแผ่ขยายออกจากลำต้น ผมยังพบว่ารากฝอยและรากแขนงที่แตกจากลำต้นจะอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 1 ข้อนิ้วชี้ (3 ซม.)และรากแก้วจะอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 2 ข้อนิ้วชี้ (5 ซม.) รากแก้วบางต้นก็อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 1 ข้อนิ้วชี้ด้วย จึงรู้ว่ารากต้นยางอยู่ระดับตื้น ผมขุดยังไงก็ต้องโดนรากฝอยต้นยาง ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และถ้าขุดตื้นๆ หลุมมันก็จะไม่ลึกพอที่จะใส่ปุ๋ยที่มากขึ้นได้และอาจถูกฝนชะล้างได้ ผมต้องขุดลึกขนาดไหนขุดแบบไหนถึงจะไม่โดนรากต้นยางและมีวิธีไหนบ้างที่จะใส่ปุ๋ยต้นยางโดยไม่กระทบต่อรากต้นยาง ไม่ถูกฝนและน้ำชะล้างได้


2. การกลบหลุมใส่ปุ๋ยต้องกลบหนาขนาดไหนครับและถ้ากลบหนาเพื่อป้องกันการชะล้าง พืชจะดูดปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ไหมแล้วน้ำจะเข้าไปได้ไหมครับ


3. การขุดหลุมใส่ปุ๋ยต้นยางต้องขุดห่างจากลำต้นตามแนวทรงพุ่มใบ คือ กิ่งใบต้นยางกางออกไปไกลขนาดไหนก็ขุดห่างจากลำต้นไกลเท่ากับปลายกิ่งที่กางออก คือใส่ปุ๋ยตรงใต้ใบของกิ่งที่กางออกมากที่สุดใช่ไหมครับ


4. ผมขุดดินใส่ปุ๋ย 2 หลุมในบริเวณรอบทรงพุ่มใบยางแล้ว แต่ไม่เจอรากต้นยางขยายไปในทางที่ขุดหลุมใส่ปุ๋ย รากแก้วมันขยายไปในที่ที่ไม่ได้ขุดหลุมแทน การขุดหลุมใส่ปุ๋ยนี้ ต้นยางจะดูดสารอาหารจากปุ๋ยได้ไหมเเละได้อย่างเต็มที่เท่ากับขุดให้ถูกเจอรากต้นยางและใส่ปุ๋ยตรงรากต้นยางเลยใช่ไหมครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/11/2011 3:54 pm    ชื่อกระทู้: Re: ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยาง... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บ่น :


เสียดายนะที่คุณไม่ได้บอกว่า สวนยางคุณอยู่จังหวัดไหน เพราะยาง ใต้-เหนือตอนบน-เหนือตอนล่าง-อิสานตอนบน-อิสานตอนล่าง-กลางตอนบน-กลางตอนล่าง-ตะวันออก-ตะวันตก แต่ละแหล่งเหล่านี้ สภาพอากาศ โดยเฉพาะความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศในแต่ละฤดูกาลไม่เหมือนกัน

น่าจะบอกหน่อยว่า "น้ำ" ดีไหม ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่ต้องการน้ำ ภาคใต้ ฝน 8 แดด 4 แต่ถ้าเป็นเหนือ อิสาน แดด 8 ฝน 4 แค่นี้ก็ต่างกันแล้ว บนความต่างกันนี้สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องมีข้อมูล

เทคนิคการแนะนำ หรือให้ข้อมูลของที่นี่ ไม่ "เหมาจ่าย" แต่ว่ากันไปตามความเป็นจริงของธรรมชาติของพืช.....ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน





Bangtong บันทึก:
ขอคำเเนะนำการใส่ปุ๋ยสวนยางหน่อยครับ...

1. พื้นที่สวนยางของผมเป็นพื้นที่ลาดชัน ขึ้นๆลงๆเหมือนคลื่น ผมได้ใส่ปุ๋ยตามกรมสวนยางโดยการใช้จอบขุดดิน 2 หลุม ใส่ปุ๋ยแล้วคราดกลบ ปรากฏว่าผมขุดไปฟันโดนรากต้นยางขาด ตอนแรกผมคิดว่าเป็นรากของวัชพืช แต่ผมเริ่มเอะใจ ผมจึงใช้มือขุดดูต้นกำเนิดราก พบว่า เป็นรากต้นยางซึ่งเป็นรากที่ยาวและแผ่ขยายออกจากลำต้น ผมยังพบว่ารากฝอยและรากแขนง ที่แตกจากลำต้นจะอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 1 ข้อนิ้วชี้ (3 ซม.)และรากแก้ว จะอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 2 ข้อนิ้วชี้ (5 ซม.) รากแก้วบางต้น ก็อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน 1 ข้อนิ้วชี้ด้วย จึงรู้ว่ารากต้นยางอยู่ระดับตื้น ผมขุดยังไงก็ต้องโดนรากฝอยต้นยาง ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และถ้าขุดตื้นๆ หลุมมันก็จะไม่ลึกพอที่จะใส่ปุ๋ยที่มากขึ้นได้และอาจถูกฝนชะล้างได้ ผมต้องขุดลึกขนาดไหนขุดแบบไหนถึงจะไม่โดนรากต้นยางและมีวิธีไหนบ้างที่จะใส่ปุ๋ยต้นยางโดยไม่กระทบต่อรากต้นยาง ไม่ถูกฝนและน้ำชะล้างได้

ตอบ :
ท่องโลกเน็ตเรื่องยางพารามาก็มากพอ พอมารู้เรื่องขุดดินใส่ปุ๋ยให้ยางพาราของคุณเข้า ชักเกิดอาการไม่แน่ใจ ย้อนกลับไปในโลกเน็ตอีกครั้งเพื่อดูงานวิจัย กับสอบถามตรงไปหาคนที่ปลูกยางพาราก็ไม่พบว่าใครทำแบบนี้ เลยชักสงสัยสงสัย "กรมสวนยาง" ที่คุณอ้างถึงนั้นน่ะ คือใคร ? ..... เรื่องยางมันต้อง "สกย" ไม่ใช่เหรอ ?

อยู่ในแวดวงเกษตรมา ที่เคยเห็นคนตัดแต่งรากไม้ยืนต้นอย่างมะม่วง มีเพียงรายเดียวเท่านั้น คือ "บุญช่วย ปั้นหยัด" พังตรุ ท่าม่วง กาญจนบุรี นัยว่า ได้ข้อมูลมาเมื่อครั้งไปดูงานที่ญี่ปุ่น นอกนั้นไม่เคยเห็นใครตัดแต่งรากมะม่วงเลย แม้แต่เซียนระดับเกษตรกรดีเด่น .....ไม้ผลยืนต้น ที่ตำราแนะนำให้ตัดแต่งราก 2 ปี/ครั้ง คือ มะขามเทศที่ต้นอายุมากๆเท่านั้น....ไม้ยืนต้นที่ห้ามตัดแต่งราก ที่ตำราแนะนำก็มีแต่พืชตระกูลส้ม เพราะรากลอยอยู่ที่ผิวดิน....ที่เห็นมากับตา ทุเรียน (จันทบุรี) - ลำไย (ลำพูน) บำรุงรากเพื่อเรียกรากใหม่โดยไม่ต้องตัดแต่งรากเดิม ก็ได้รากใหม่ ใหญ่-อวบ-อั้น-อึ๋ม จำนวนมากขึ้นมาที่ผิวดิน

การใส่ปุ๋ยโดยการขุดดินก่อน ที่รู้ๆมาเห็นมีแต่ "พืชไร่" ใช้จอบพรวนดิน ดายหญ้ากำจัดวัชพืช ขุดดินลึกครึ่งฝ่ามือ (ครึ่งหน้าจอบ) หยอดเม็ดปุ๋ยลงไป แล้วกลบดิน ก็แค่นี้แหละ .... กับไม้ยืนต้น ไม่เคยเห็นมีใครเขาทำกัน

ประสบการณ์ตรง :
การใส่ปุ๋ยแบบส่งถึงปลายรากเลย ใช้น้ำผสมปุ๋ยทางราก (ถูกสูตร/อินทรีย์+เคมี+ฮอร์โมน) ในถังให้เรียบร้อย.....ติดปั๊มแรงดันสูงๆหน่อยดี ใช้เครื่องฉีดพ่นสารเคมีธรรมดาๆ เปลี่ยนหัวฉีดพ่นเป็นท่อเหล็กปลายแหลม มีรูขนาดตะปู 1 นิ้ว ด้านข้างของปลายท่อ 3-4 รู มีวาล์วปิดเปิดที่มีจับ....ใช้งานโดยการแทงปลายท่อผ่านอินทรีย์วัตถุที่ผิวดินลงไปในเนื้อดินลึก 5-6 นิ้ว เปิดวาล์วปล่อย "น้ำ+ปุ๋ย" ลงไป ประมาณ ครึ่งลิตร/จุด ..... แทงเป็นจุดๆ ห่างกันจุดละ 1-2 ม. เป็นวงกลมรอบทรงพุ่ม 2-3 วง แต่ละวงห่างกัน 1-2 ม.เหมือนกัน....แบบนี้ ทำให้ปุ๋ยที่ละลายน้ำเรียร้อยแล้วลงไปถึงรากทันที

ถ้าหว่านปุ๋ยด้วยมือ ในขณะที่พื้นดินโคนต้นมีอินทรีย์วัตถุ (ใบไม้แห้ง) แล้วรดน้ำตามจะทำให้...
1. เม็ดปุ๋ยค้างอยู่บนใบไม้
2. รดน้ำตาม เม็ดปุ๋ยละลายน้ำแล้วก็ยังค้างอยู่ในบนใม้
3. ต้องรดน้ำหลายๆรอบ (5-6-7 รอบ) น้ำละลายปุ๋ยจึงจะลงไปถึงพื้น ถึงรากพืชได้


เห็นบอกว่า "พื้นที่ลาดเอียง" ใครๆก็ว่า น้ำจะพัดพาปุ๋ยไปหมด ..... คุณก็ลองเองเลยซี่ ทำกับมือ ดูกับตา ต่อสายยางรดน้ำ รดด้วยวิธีปกติ ปริมาณน้ำปกติ อย่างที่เคยทำ คุณคงไม่ฉีดน้ำเฉพาะจุด จุดเดียวจนเจิ่งนองหรอกมั้ง มันก็ต้องส่ายน้ำไปเรื่อยๆให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม แบบนี้น้ำน่าจะลึกหรือสูงไม่เกิน "หัวนิ้วก้อยเท้า" ระดับน้ำแค่นี้มันไหลไหม ไหลแรงขนาดพัดพาปุ๋ยไปได้เลยเหรอ.....ลองแล้ว ดูซิ ที่ว่าน้ำซึมลงดินหมด หรือมีการไหลพัดพาปุ๋ยไปทางไหน คราวนี้จะได้รู้กันซะที

กรณีที่น้ำน้อยๆแค่นี้จะไหลบ่าไปเลยโดยไม่ซึมลงดินก่อนน่ะ ดินต้องแข็งขนาดพื้นคอนกรีตโน่น แต่นี่มันดินโคนต้นยางพารา รากชอนไชไปทั่วบริเวณทรงพุ่ม เนื้อดินมันคงไม่แข็งแล้วก็คงไม่แน่นจนน้ำซึมลงไม่ได้หรอกมั้ง ......

ถ้าพื้นเอียงขนาด 45-60 องศา ลาดชันมากๆ ขนาดคนต้องคลานสี่ขาขึ้นลงละก็ คงไม่ไหวมั้ง อย่าว่าแต่น้ำไหลเลย แม้แต่คนจะเดินขึ้นเดินลงตอนกรีดยางจะทำยังไง คุณคงไม่เลือกพื้นที่แบบนี้หรือไม่ก็ไม่ปลูกดีกว่า จริงมั้ย .... นั่นหมายความว่า พื้นที่คงไม่ลาดเอียงขนาดนี้ อย่างดีก็แค่ 5-10 องศา ลาดเอียงขนาดนี้น้ำไม่ไหลหรอก น้ำไม่ไหลปุ๋ยก็ไม่ไหล เพราะฉนั้น อย่าวิตก-อย่าวิตก และอย่าวิตก.....สิ่งที่น่าวิตกมากกว่า คือ
- จะหาน้ำที่ไหนให้เขาอย่างพอเพียงช่วงหน้าแล้ง
- จะให้ปุ๋ยสูตรไหน ปุ๋ยทางราก-ปุ๋ยทางใบ
- เทนิคใหม่ๆสำหรับยางพาราต่างหาก

ที่น่าสงสัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในเมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่า ทั่วพื้นที่ทรงพุ่มมีรากเขากระจายอยู่เต็มไปหมด แล้วทำไมคุณจึงใส่ปุ๋ยแค่ 2 หลุม/ต้นเท่านั้น ..... สมมุติว่า ทั้งต้นมีราก 100 เส้น แต่มีรากที่ดูดปุ๋ย (เพราะมีปุ๋ยให้ดูด) เพียง 20 ราก แล้วที่เหลืออีก 80 ราก ปล่อยไว้ทำไม ทำไมไม่ส่งปุ๋ยไปให้รากทั้ง 100 รากเลยล่ะ

น่าจะคิดวิธี ละลายปุ๋ยในน้ำก่อน แล้วฉีดลงพื้นในเขตทรงพุ่ม ฉีดบนพื้น ทุกตารางนิ้วหรือไม่ก็ฉีดอัดลงดินไปเลย....น่าจะดีกว่านะ





2. การกลบหลุมใส่ปุ๋ยต้องกลบหนาขนาดไหนครับและถ้ากลบหนาเพื่อป้องกันการชะล้าง พืชจะดูดปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ไหมแล้วน้ำจะเข้าไปได้ไหมครับ

ตอบ :
ไม่ต้องขุด ไม่ต้องกลบ - ไม่มีการขุด ไม่มีการกลบ ..... ก็รู้นี่ว่า การขุดเป็นการทำลายราก ที่จริงคุณก็รู้คุณก็เห็นนี่ว่ารากเขาอยู่ตื้นๆ ลึกแค่ข้อนิ้วมือเดียว แล้วยังจะคิด ขุด-ขุด-ขุด อีกเหรอ เรื่องอย่างนี้เห็นกับตาตัวเองแล้ว ไม่จำเป็นต้องถามใครอีก ถ้าต้นไม้ไม่มีราก แล้วเขาจะกินอาหารได้ยังไงล่ะ

ทำไมไม่คิดติดสปริงเกอร์ล่ะ แล้วปล่อยปุ๋ยไปกับสปริงเกอร์เลย สปริงเกอร์ติดครั้งเดียวอยู่ได้ 10-20 ปี ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลของเนื้องานเหนือกว่าลากสายยางเดินฉีดทีละต้นๆ เป็นไหนๆ

ยางเปิดกรีดแล้ว แบ่งเป็นโซนๆ โซนละ 20 ต้น แรงงานคนเดียว ใช้เวลา 10 นาที เท่ากับ 10 นาที ไฟฟ้า ..... ลากสายยาง ต้นละ 5 นาที ใช้เวลา 100 นาที เท่ากับ 100 นาทีไฟฟ้า ต่อ 1 รอบการทำงาน..... ฉนี้แล้ว 1 ปี, 2 ปี. 5 ปี สปริงเกอร์ประหยัดไฟฟ้ากว่าเท่าไหร่....





3. การขุดหลุมใส่ปุ๋ยต้นยางต้องขุดห่างจากลำต้นตามแนวทรงพุ่มใบ คือ กิ่งใบต้นยางกางออกไปไกลขนาดไหนก็ขุดห่างจากลำต้นไกลเท่ากับปลายกิ่งที่กางออก คือใส่ปุ๋ยตรงใต้ใบของกิ่งที่กางออกมากที่สุดใช่ไหมครับ

ตอบ :
ธรรมชาติของไม้ยืนต้นทุกชนิด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ดินดี น้ำดี ปลายรากจะอยู่ที่ปลายเขตทรงพุ่ม....กรณียางพาราเปิดกรีดแล้ว ต้นโตเต็มที่แล้ว ระบบรากแผ่ไปทั่วแปลงปลูกแล้ว แหวกดินตรงไหนก็เห็นอยู่ตรงนั้น เพราะฉนั้น การให้ปุ๋ย ใส่ให้ทั่วแปลงไปเลย




4. ผมขุดดินใส่ปุ๋ย 2 หลุมในบริเวณรอบทรงพุ่มใบยางแล้ว แต่ไม่เจอรากต้นยางขยายไปในทางที่ขุดหลุมใส่ปุ๋ย รากแก้วมันขยายไปในที่ที่ไม่ได้ขุดหลุมแทน การขุดหลุมใส่ปุ๋ยนี้ ต้นยางจะดูดสารอาหารจากปุ๋ยได้ไหมเเละได้อย่างเต็มที่เท่ากับขุดให้ถูกเจอรากต้นยางและใส่ปุ๋ยตรงรากต้นยางเลยใช่ไหมครับ

ตอบ :
ยางพาราชอบและตอบสนองต่อ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (สูตรอยู่หน้าเว้บ) + 21-7-14 + แม็กเนเซียม + สังกะสี" ดีมากๆ ให้ทางรากเดือนละครั้งก็พอ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไรเพิ่มอีก หรือถ้าจะใส่ก็ใส่ 21-7-14 เพิ่มแค่ต้นละ "ครึ่ง กก./เดือน" ก็พอ ใส่เข้าไปในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงนั่นแหละ เรียกว่า "ให้น้อย บ่อยครั้ง" (ศ.ดร.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ ม.ขอนแก่น) จากนั้นก็ให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าน้ำระดับภาคไต้ กรีดกลางวันได้เลย ถึงถามไงล่ะว่า น้ำดีไหม ถ้าไม่มีน้ำหรือน้ำไม่พอ กรีดไปก็ได้แต่น้ำตา แทนที่จะได้น้ำยาง

ธรรมชาติของต้นพืช รากดูดอาหารจากดินส่งขึ้นไปให้ลำต้นส่งต่อไปถึงใบ ตอนกลางคืน การให้ปุ๋ยทางรากช่วงกลางคืนหรือหลังค่ำแล้ว จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด ก็เพราะมัวแต่ลากสายยาง (คิดว่าประหยัด) อยู่น่ะซี จึงทำไม่ได้ แล้วก็ไม่ยอมรับด้วยว่า ที่ ทำทำ น่ะมันผิด ..... เกษตรยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ ไม่ได้ให้ปฏิเสธเทคโนโลยีนะ



.


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©