-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-นาข้าวข้างทาง .... เกษตรกลับหัวกลับหาง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - นาข้าวข้างทาง .... เกษตรกลับหัวกลับหาง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

นาข้าวข้างทาง .... เกษตรกลับหัวกลับหาง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
somboonyang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/04/2011
ตอบ: 89

ตอบตอบ: 17/08/2012 10:23 am    ชื่อกระทู้: นาข้าวข้างทาง .... เกษตรกลับหัวกลับหาง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นาข้าวข้างทาง .... เกษตรกลับหัวกลับหาง

จั่วหัวกระทู้เยี่ยงนี้มีนัย ที่เป็นทั้ง "ตรรก" และ "ปรัชญา" .....


จริงมั้ย ......
ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ แต่ชาวนาก็ยังยินดีทำแบบเดิม
ทำแบบเดิมจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม เพราะธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ

ทำตามข้างบ้านจะแย่กว่าข้างบ้าน เขาใส่ปุ๋ย 1 กส.เราต้องใส่ 2 กส. หวังเอาชนะ
ไม่ทำตามข้างบ้าน แต่ทำแบบของตัวเองโดยมีต้นข้าวเป็นศูนย์กลาง จะดีกว่า

ปลูกข้าวไม่ตามใจข้าว แต่ตามใจคนขายปุ๋ย ขายยา ตามใจคนที่ล้มเหลว
ปลูกข้าวไม่รู้จักต้นข้าว เคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ปรับเปลี่ยนใดๆทั้งสิ้น

ทุกปัญหาเคยเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งของเราของเขา ก็ยังไม่แก้ปัญหาหรือแก้ปัญหาแบบเดิมๆ
การปฏิบัติทุกขั้นตอนยึดหลัก "ง่าย-เร็ว" เป็นสรณะ การทำแบบประณีตถูกมองว่ายุ่งยาก เสียเวลา


สมมุติ บทเรียนการเกษตรเรื่องนาข้าว ทั้งสิ้นทั้งปวงมี 100 บท
บทที่ 1 สำคัญที่สุด ว่าด้วย "ทัศนคติ-แนวคิด" ถ้าผ่านบทที่ 1 ได้ ที่เหลือผ่านทันที

ขายข้าวได้ 100,000 เหลือเงิน 40 บาท เพราะเอาไปจ่ายค่าปุ๋ย ค่ายา ถ้าไม่จ่าย งวดหน้าเขาไม่เครดิต
ชาวนาทำนา ต้นทุนท่วมราคาขาย ก็ยังไม่รู้ตัว ยังทนทำอยู่อย่างนั้น

ธรรมชาตินิสัยของคนขาย มักนึกถึง "ต้นทุน" อันดับแรก ถ้าขาดทุนจะไม่ขาย ไม่ทำ
แต่ชาวนากลับไม่นึกถึงต้นทุน ได้ขาวมาแล้วถูกถามถึงต้นทุนเป็น "โกรธ" ทันที


ที่พึงได้ ไม่ทำ ที่ทำทำน่ะ ไม่ได้ ก็ยังทำ.....ฉนี้ไม่เรียก กลับหัว กลับหาง แล้วเรียกอะไร





นาข้าวริมทาง ถนนสาย ท่ามะกา-ไร่กล้อมแกล้ม 16 AUG
สิริรวมเวลาร่วม 10 ปี ที่ลุงคิมเดินทางขึ้นล่อง บ้าน กทม.-ไร่กล้อมแกล้ม เห็นท้องนาข้างทางผืนนี้ เห็นนาข้าวมารุ่นแล้วรุ่นเล่า เห็นภาพนาทุกแปลง เห็นข้าวทุกต้น ได้อย่างติดตาตรึงใจ

ทุกครั้งที่เห็นแล้ว "คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-เฉลียว-สังเกตุ" จนสรุปได้ว่า "ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น" ฟันธงได้เลยว่า ทุกสถานการณ์เลวร้ายลง ชาวนาจนลง มีหนี้สินเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักจริงๆมาจาก "มิจฉา ทิฐิ" ยึดติดแบบเดิมๆ ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยน ไม่รับรู้ ใดๆที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ทั้งสิ้น



หมายเหตุ : รายละเอียดในภาพ กับ คำบรรยายไต้ภาพ อาจะไม่ตรงกัน
เพราะต้องการนำเสนอ "หลักการ" เพื่อนำไปใช้เป็นข้อพิจาราณาเท่านั้น






คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพาพขนาดใหญ่...


1.
ดินคือ ที่กิน-ที่อยู่ ของต้นข้าว ดินดีเท่ากับสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง ถ้าดินไม่ดีจำเป็นต้อง
ทำหรือปรับปรุงให้มันดีขึ้นมาให้ได้ เพราะผลจากการปรับปรุงคือ ได้ดินที่ดีสำหรับ
การเพาะปลูก จากรุ่นนี้ไปถึงรุ่นต่อๆไป แม้ไม่ปลูกข้าวก็สามารถปลูกพืชอย่างอื่น
ได้....ดินดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารพืช

เผาฟาง ไถดินกลบฟางตากแดด 20-30 วัน ปล่อยน้ำเข้าท่วมขี้ไถ ทิ้งไว้ 10-15
วัน ลงมือตีเทือก ไม่คิดว่า การไถดินตากแดดแบบนั้นเท่ากับเป็นการพรวนดิน ช่วย
เร่งและสร้างวัชพืชให้เจริญดีขึ้น

ไม่มีเทคนิค เสริม/สร้าง กระบวนการจุลินทรีย์ ทั้งจุลินทรีย์จากแหล่งอื่นและ
จุลินทรีย์ประจำถิ่น





2.
ไซส์เมล็ดข้าวเปลือกปกติควร กว้าง-ยาว-หนา เท่าไหร่ ระยะห่างระหว่างเมล็ดใน
ภาพ คือ ระยะห่างระหว่างต้น เมื่อต้นข้าวโตขึ้น





3.
สภาพเมล็ดจริงๆมีสีแดงอมส้ม แต่กล้องจับภาพไม่ได้ ชัดเจนว่านั่นคือสารเคมียาฆ่า
แมลง นับว่า เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรค ตามความเชื่อสื่อข้างเดียว.... ธรรมชาติของ
เมล็ดพืชทุกชนิด ต้องดูดน้ำเข้าไปตัวมันเอง เพื่อช่วยในการงอก นั่นเท่ากับว่า ข้าว
ต้นนี้ได้ดูดซับสารพิษเข้าไปในเมล็ดตั้งแต่ก่อนงอก....สารเคมีไม่ใช่สารอาหาร

ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดข้าว (หมายรวมถึงพืชทุกชนิด) คือ น้ำและ
อ๊อกซิเจน (ข้อมูล/ อ.วิชัย ฯ สจล.)





4.
น้ำพร้อม, แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล พร้อม, แต่ดินไม่พร้อม, เมล็ดพันธุไม่
พร้อม, ขืนปลูกไปก็ได้ผลแค่ "ระดับหนึ่ง" เท่านั้น





5.
ผลจาการทำนาแบบ "ง่าย" เข้าไว้ ทำให้สูญเสียรายได้ที่พึงได้ ครอบครัวละ
มากๆ รวมทั้งประเทศก็มหาศาลเมื่อเทียบกับการทำนาแบบประณีต




6.
ภาพถ่ายเปรียบเทียบไม้บันทัด แต่ละภาพเป็นคนละจุดถ่ายภาพ เจตนาเพื่อให้เห็น
หลายๆจุดแล้วสรุปเป็นภาพรวม




7.
ระยะห่าง ระหว่างกอ x ระยะห่างระหว่างแถว ที่เมล็ดพันธุ์บนพื้นหมายถึงระยะห่าง
ระหว่างกอ x ระหว่างแถว เมื่อโตขึ้น





8.
ข้าวพันธุ์หอมปทุม หรือปทุม1 ซีโอ เท่าที่มีข้อมูล ณ วันนี้ เป็นสายพันธุ์แตกกอน้อย
ถึงปานลาง 1 กอจะได้ 5-6 ลำด้วยการบำรุงแบบเดิมๆ แต่หากบำรุงแบบ อินทรีย์
นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม โดยเพิ่มปุ๋ยทางใบสูตรเร่งการแตกกอ (18-38-
12) ตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะน้ำนม ก็จะเพิ่มการแตกอเป็น 10-12 ลำ นั่นหมายถึง
จำนวนลำเพิ่มขึ้นเท่าตัว แล้วส่งผลไปถึงปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วย

จากข้อจำกัดทางสายพันธุ์ด้านการแตกกอน้อย การปลูกจึงควรจัดระยะปลูกให้ชิด
ขึ้น เป็น 20 x 20 ซม. น่าจะเหมาะสม




9.
จากข้อจำกัดทางสายพันธุ์ด้านการแตกกอ ข้าวสายพันธุ์ที่แตกอน้อยถึงปานลาง
ควรปลูกที่ระยะ 20 x 20 ซม. และข้าวสายพันธุ์ที่แตกอน้อยถึงปานลาง ควรปลูก
ที่ระยะ 40 x 40 ซม.




10.
"การแตกกอของพันธุ์ข้าว" สรุปจากประสบการณ์ตรงของชาวนา :
พิษณุโลก (กข41, กข47,), หอมปทุม (ปทุม1) ...... แตกกอดี ถึงดีมาก
ปทุม80 ซีโอ, สุพรรณ1, สุพรรณ35 ................... แตกอน้อย ถึงปานกลาง

การสรุปผลการแตกกอต้องพิจารณาจากแนวทาง "ปฏิบัติ-บำรุง" เป็นเกณท์




11.
ข้าวเมล็ดงอกยาวขนาดนี้ ถ้าหว่านด้วยมือคงหว่านไม่ออก หรือหยอดด้วยเมล็ดก็คง
ไม่ออกจากกระบอกเมล็ด เพราะรากจะเกี่ยวพันกัน แต่หากหว่านด้วยเครื่องพ่นคง
พอไปได้ ถ้าเครื่องพ่นเมล็ดมีกำลังลมมากหน่อย





12.
ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด คือ ระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อต้นโตขึ้นมา ฉนี้
แล้ว ต้นข้าวจะไม่เบียดกันไฉน ต้นข้าวที่ขึ้นเบียดกันมาๆมีข้อเสียมากกว่าข้อดี




13.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



14.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น


15.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น


16.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น


17.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น


18.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น


19.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



20.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



21.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



22.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



23.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



24.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



25.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



26.
นี่ก็ด้วย ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ด ส่งผลถึงระยะห่างระหว่างต้นต่อต้น เมื่อโตขึ้น



27.
ย่านนี้ใช้น้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ มีให้ใช้ตลอดฤดูทำนา แม้วันนี้ 16 AUG นาบาง
แปลงต้นข้าวโตขนาดศอกแขนแล้ว ในขณะที่นาบางแปลงยังไม่ตีเทือกเลยก็มี





28.
นาดำด้วยรถดำนา ค่าจ้างพร้อมข้าวปลูก 1.600/ไร่ ข้าวพันธุ์สุพรรณ1 ..... ถาม
ว่า รู้มั้ยข้าวสุพรรณ1 คำตอบคือ ไม่รู้.....ถามว่า รู้มั้ยข้าวปทุม1 ซีโอ ก็แตกกอ
ไม่ดี คำตอบคือ ไม่รู้.....ถามว่า รู้มั้ย จ้างรถดำจะมีข้าวปนรวมมาด้วย คำตอบ คือ
ไม่รู้.....




29.
ถามว่า ทำนาดำมากี่รุ่นแล้ว คำตอบ คือ รุ่นแรก.....ถามว่า คิดยังไงถึงมาทำนา
ดำ คำตอบ คือ จะได้กำจัดหญ้าง่าย......(คิดไม่ออกว่าจะกำจัดด้วยวิธีไหน) ถาม
ว่า รู้จักปุ๋ยเร่งการแตกกอมั้ย คำตอบ คือ ไม่รู้........ถามว่า เคยใส่ยูเรียไร่ละกีกระ
สอบ คำตอบ คือ ไร่ละกระสอบ....ถามว่า รู้มั้ย แปลงข้างๆกันนี่เขาสนใจนาดำมั้ย
คำตอบ คือ ไม่รู้.....





30.
พื้นที่ 1 ตร.ไม้บันทัด (1 ฟุต/30 ซม.) กับต้นข้าว 4-5 ต้น ทำให้มีพื้นที่ให้ใบได้รับแสงแดดเต็มที่ ต้นแตกอได้อิสระ




31.
ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ทำให้การฉีดพ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร/สารเคมี สัมผัสใบได้ทั้วถึง




32.
ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ทำให้ความชื้นในแปลงน้อย ช่วยป้องกันโรคและแมลงได้




33.
ต้นข้าวขึ้นห่างๆ ทำให้ใบได้รับแสงแดดเต็มที่ แสงแดดช่วยสังเคราะห์อาหาร จึงส่ง
ผลให้ต้นข้าวได้รับสารอาหารเต็มที่ไปด้วย




34.
ข้าวสุพรรณ1 แตกกอน้อย การปลูกระยะห่าง 20 x 20 แบบนี้ หากให้ปุ๋ยเร่งการ
แตกกอ ต้นข้าวเมื่อโตเต็มที่ก็จะชิดกันเอง



35.
ปกตินาข้าวดำด้วยมือ 1 จับมี 2-3 ต้น ระยะห่าง 30-40 ซม. การแตกกอ ดี/ไม่ดี
ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่กรณีข้าวสุพรรณ1 จับละ 2-3 ต้นเหมือนกัน แต่ระยะห่าง
20 x 20 ก็น่าจะไปได้ แต่หากมีการเร่งด้วยสูตรเร่งการแตกกอด้วยจะดีขึ้นไปอีก




36.
รอยล้อรถดำนาขนาดนี้ไม่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับต้นข้าวที่จะเจริญเติบโตต่อไป




37.
แปลงนี้ ปรับเรียบหน้าดินให้คะแนน 9 ใน 10 .... ความเรียบหน้าดินมีผลอย่างมาก
ต่อระดับน้ำ ซึ่งน้ำ น้อย/มาก-ลึก/ตื้น มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว




38.
ตรวจสอบขี้เทือกแล้ว นาแปลงนี้เผาฟาง ไถดินตากแดด ใส่น้ำหมักดิน แล้วตีเทือก
เพียงครั้งเดียว ได้ขี้เทือกสูงกว่าตาตุ่มเล็กน้อย




39.
วันที่รถดำลงทำงาน หน้าดินจะไม่มีน้ำเพื่อให้การปักต้นกล้าลงดินได้แน่นอน หากมี
น้ำหรือน้ำมากๆ ต้นกล้าอาจลอยได้ หลังจากดำ 1-2 วัน จะปล่อยน้ำเข้า แล้วขัง
น้ำไว้อย่างนี้ราว 7-10 จึงเอาน้ำออก ระหว่างที่น้ำขังนี้ บรรดาวัชพืชบางชนิดที่น้ำ
ท่วมตายก็จะตาย ส่วนวัชพืชที่สู้น้ำได้ หลังจากเอาน้ำออกแล้วจึงฉีดยาฆ่ายาคุม




40.
ผิวดินเป็นสีเทา นั่นคือ โคลนที่ถูกรถดำตีขึ้นมา ส่วนเนื้อดินโคนต้นข้าวเป็นสีดำนั่น
คือ ขี้เถ้าฟางที่เผา




41.
เห็นชัดๆ ทุกกอ




42.
นี่คือทักษะหรือฝีมือของคนขับรถดำนา ที่เจ้าของนาต้องเจรจาต้าอ้วยให้รู้เรื่องก่อน
การว่าจ้าง




43.
สาเหตุต้นกล้าล้ม เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง อาทิ ระดับน้ำลึก, ขี้เทือกบริณนั้นน้ำ
มากกว่าดิน (เหลว), ดินไต้ขี้เทือกแข็งหรือขี้เทือกตื้นทำให้ใบจับต้นกล้าปักต้น
กล้าลงได้ลึกน้อยกว่ากล้ากออื่น, ขัดข้องทางเทคนิคของรถดำนา





44.
ดูภาพนี้แล้ว จินตนาการระยะห่างระหว่าง กอ/แถว เมื่อต้นโตขึ้น สูงขึ้น การแตกกอ
มากขึ้น ข้าวแต่ละกอน่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ชิดกัน ..... อาการชิดกันนั้น เบียด
กัน/พอดี/ห่างเกินไป หรือไม่ อย่างไร




45.
ต้นกล้าอะหลั่ยที่ผู้รับจ้างทิ้งไว้ให้ สำหรับเจ้าของดำดำซ่อมเอง ณ จุดที่มีปัญหา....
การดำซ่อมต้องกระทำหลังจากดำรุ่นแรก 5-7 วัน หากเกินนานกว่านี้ต้นข้าวจะโต
ไม่ทันกัน ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่างกัน.....ต้นกล้าอะไหลที่นำไปดำซ่อม
จะต้องระวังอย่าให้ยอดหรือใบธงขาด มิฉนั้นอายุต้นกล้าที่ดำซ่อมจะช้ากว่าต้นกล้า
รุ่นแรก





46.
ภาพบน-ภาพล่าง ภาพเดียวกัน ถ่ายมุมเดียวกัน วันเวลากล้องเดียวกัน ที่สำคัญคน
ถ่ายภาพอารมย์เดียวกัน.....เจตนาต้องการจะบอกว่า "ภาพถ่าย 1 ภาพ แทนคำ
พูด 1,000 คำ" ประมาณนี้


47.






อีกแปลงหนึ่งในย่านเดียวัน ไกลกันไม่ถึง กม."


48.
แปลงนี้ แว่วๆ (เน้นย้ำ....แว่วๆ) เจ้าของทำงานธนาคาร ไม่ทราบตำแหน่ง เพราะ
ไม่รู้จัก ไม่ได้ถาม ไม่เคยเห็นหน้า และเค้าก็ไม่รู้จักเรา.....รู้แต่เพียงทางไปบ้านเค้า
ต้องผ่านหน้าไร่กล้อมแกล้ม เพราะเห็นเครื่องมือทำนาที่วิ่งผ่านหน้าบ้านแล้วจำได้




49.
เนื้อที่น่าจะ 100 (+) หรือ 200 (+) ไร่ กะด้วยสายตา ปรับเรียบหน้าแปลงจน
ระดับน้ำเสมอกันทั้งแปลง ลดจำนวนคันนาแบ่งกระทงให้เหลือน้อยเพื่อเครื่องจักร
จะได้ไม่ต้องเลี้ยวบ่อยๆ ทำให้เสียเวลาและประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องานลด
ลงด้วย.....งานแบบนี้ทำครั้งแรกครั้งเดียว อยู่ได้ตลอดชีวิต




50.
มีรถไถ-รถดำนา-รถเก็บเกี่ยวฟาง ส่วนตัว ระยะเวลาราว 5-6 ปีที่เห็น น่าจะเป็นเจ้า
แรกในย่านนี้ที่ไถดินด้วย "โรตารี่" และดำด้วยรถดำนา

จะดีกวามั้ย....ถ้า หน้ารถไถมีคาน บนคานวางถังขนาด 200 ล. ในถังบรรจุ "ปุ๋ย
อินทรีย์น้ำ + ปุ๋ยเคมีละลายน้ำ + จุลินทรีย์ + อื่นๆ" ที่ก้นมีก๊อก 2-3 ก๊อก เปิด
ก๊อกให้สารละลายลงพื้นด้านหน้ารถไถ แล้วให้โรตารี่ท้ายรถไถตีคลุกให้เข้ากับเนื้อ
ดิน......(พูด/คิด แบบคนไม่มีรถไถนะ.....)




51.
เมื่อก่อนทำนาดำด้วยรถดำนา แต่รุ่นที่แล้วที่เพิ่งเกี่ยวไปทำนาหว่าน ก็ไม่รู้เหตุผล
เหมือนกันว่า ทำไมจึงเปลี่ยนจากนาดำมาเป็นนาหว่าน แล้วรุ่นปัจจุบันที่ถ่ายภาพมานี้
จะเป็นาดำหรือนาหว่านยังไม่รู้ เพราะไม่ใช่เจ้าของ แล้วจะติดความคืบหน้ามาบอก
กล่าวกัน แต่ที่เห็นๆ นาข้าวทุกรุ่น ตลอดฤดูกาลมีการควบคุมปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงต้น
ข้าว ทำให้ต้นข้าวไม่สูง และไม่ล้ม




52.
การปฏิบัติอื่นๆต่อต้นข้าว ไม่ทราบเพราะไม่เคยถาม เกี่ยวข้าวเสร็จก็ขายให้โรงสี
หรือ ธ.ก.ส.เหมือนชาวนาทั่วๆไป




53.
เจ้าของเป็นนักการธนาคาร น่าจะเข้าหลัก "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" ที่ลึกซึ้งกว่า
นี้ นั่นหมายความว่า ทำนาได้ขาวมาแล้วสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีรายได้จากการ
ขายข้าวมากกว่าที่ทำอยู่......(พูดแบบคนไม่มีที่ดิน นะ....)






อีกแปลงหนึ่งในย่านเดียวกัน ห่างกันไม่ถึง กม.


54.
สอบถามถึงเหตุผลในการทำนาดำด้วยรถดำนา ได้คำตอบว่า เพื่อการกำจัดวัชพืช
ได้ง่ายเท่านั้น ไม่มีเหตุผลอื่นใดทั้งสิ้น สะท้อนให้เห็นถึงความ "ไม่รู้ ไม่เข้าใจ"
ในธรรมชาติของต้นข้าวอย่างแท้จริง




55.
เปรียบการเจริญเติบโตของ 2 แปลง ระหว่างนาหว่านกับนาดำ ทั้งๆที่อายุต้นเท่า
กัน เพระเริ่มพร้อมกัน สังเกตุลักษณะ ต้น-ใบ จะเห็นว่า ต้นข้าวนาดำดีกว่านาหว่าน




56.
ต้นโตขนาดนี้ หากตอนแรกทางดินไม่ได้ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงก็ให้ใส่ได้ โดย
ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำผสมน้ำหมักเป็นเม็ดใหญ่ๆ ฉีดพ่นผ่านต้นลงหน้าดินไปเลย
พร้อมกับให้ทางใบด้วย "สูตรเร่งการแตกกอ" ได้แล้ว





57.
แปลงติดกันเป็นนาหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด เจตนาฉีดพ่นเมล็ดให้ห่างมากๆ เพื่อจะ
ได้มีช่องทางเข้าไปกำจัดวัชพืชเท่านั้น ..... ต้นโตขนาดนี้ หากมีการให้น้ำหมัก
ชีวภาพทางดิน กับให้สูตรเร่งการแตกกอทางใบ สภาพความสมบูรณ์ของในเมื่อโต
ขึ้นคงไม่ต่างจากนาดำมากนัก




58.
สอบถามทราบว่า ทั้งแปลงนาหว่านและแปลงนาดำ ให้ยูเรียไปแล้วไร่ละ 1 กส.
เป็นการให้ครั้งแรก อนาคตอาจจะมีรอบสองก็ได้ ถ้าไม่ใช้ยูเรียรอบสองก็จะให้
16-20-0 ตามค่านิยม




59.
ภาพบน-ภาพล่าง ของข้าว 2 แปลงติดกัน ชี้ให้เห็นการเจริญเติบโตของต้น ณ
วันนี้ แล้วให้จินตนาการไปถึงวันที่ข้าวแตกอ ออกรวง ในอนาคตอันใกล้ว่า สภาพ
ต่างๆจะเป็นอย่างไร




60.
ภาพบน : นาดำ มีน้ำหล่อเลี้ยงช่วงระยะกล้า
ภาพล่าง : นาหว่านด้วยเครื่องพ่น ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงช่วงระยะกล้า ไม่รู้เหมือนกันว่า
ทำไม่ให้น้ำ ทั้งๆน้ำในบริเวณแสนสุดจะเหลือเฟือ


61.
สภาพนี้ยังมีแวว "รอด" อยู่บ้าง




62.
สภาพนี้ "รอด" แน่นอน



63.
สภาพนี้จะ "รอด" มั้ย




64.
สภาพนี้จะ "รอด" มั้ย




65.
สภาพนี้จะ "รอด" มั้ย




65.
สภาพนี้จะ "รอด" มั้ย





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 30/08/2012 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


66.




67. ย่านนั้นเรียก "ร่องมะพร้าว" นัยว่าใช้ลูกมะพร้าวลากทำร่องระบายน้ำออกจากแปลงในกรณีที่จำเป็น



68.



69.




70


71.




72.




73.



74.


75.


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2014 1:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 06/11/2012 4:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


7. "ข้าวนก-ข้าวหาง-ข้าวดีด" พอใจชื่อไหนเรียกชื่อนั้น สุดท้ายสื่อlสารกันไม่รู้
เรื่อง เพราะต่างถิ่นต่างตั้งชื่อกันเอง เถียงกันแทบเป็นแทบตาย ที่แท้ก็ตัวเดียวกัน




8. เกสรข้าว.....โดยธรรมชาติของพืชเกสรตัวผู้จะบานหรือพร้อมผสมก่อนเกสรตัว
เมียเสมอ เกสรตัวผู้จะปลิวตามลมไปผสมกับเกสรตัวเมียของต้นอื่น เรียกว่า "ผสม
ต่างต้น" ซึ่งจะทำให้ผล (เมล็ดข้าว) สมบูรณ์ เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง......ถ้าเกสรตัวผู้
กับเกสรตัวเมียผสมกันเองในต้นเดียวกันจะเกิดอาการอ่อนแอทางพันธุ์กรรม
เหมือน คน-สัตว์ เลือดชิด.....นี่คือ นวตกรรมของธรรมชาติ




9. ระยะนี้เรียกว่า "ตากเกสร" ถ้าเกสรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปียกจะทำให้เกสรผสมไม่
ติด เพราะฉนั้น จำเป็นต้องงดการฉีดพ่น (น้ำ-ปุ๋ย-ยา) ทุกชนิดอย่างเด็ดขาด.....
การบำรุงดอก ควรกระทำก่อนข้าวตากเกสร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
หรือบำรุงตั้งแต่ดอกแรกเริ่มโผล่จากกาบใบ (ใบธง) ขึ้นมาให้เห็น 1-2 ซม. (ภาษา
ชาวบ้าน หางแย้-หางปลาทู) แม้ระยะนี้ แม้ดอกข้าวจะยังออกไม่ครบทุกต้น ก็ไม่เป็น
ปัญหาทางการบำรุง เพราะสารอาหารได้เข้าไปบำรุงตั้งแต่ดอกยังอยู่ในต้นแล้ว




10. ประสบการณ์ตรง บำรุงข้าวระยะออกรวง (ก่อนตากเกสร) ด้วย น้ำ 200 ล.
+ ฮอร์โมนไข่ไทเป 200 ซีซี. + 0-52-34 (1 กก.) + ยูเรีย จี เกรด (1/2
กก.)....นม.ในฮอร์โมนไข่ช่วยปรับ ซี/เอ็น เรโช ทำให้ออกดอกดี....0-52-34 ทำ
ให้ต้นเตี้ย ไม่สูงต่อแต่จะโตออกทางข้าง อนาคตต้นไม่ล้ม.....ยูเรีย จี เกรด ทำ
หน้าที่เหมือนสารลมเบ่ง ช่วยให้ข้าวทุกต้นออกรวงพร้อมกันดี.....เสียดาย กล้อง
CLOSE UP ได้แค่นี้




11. "ข้าวปน" ส่วนใหญ่รวงสั้น แต่เจ้านี่รวงยาว เริ่มก้มแล้ว นี่คืออัตราการเจริญ
เติบโตต่างกัน ก็เพราะเป็นคนพันธุ์กันน่ะซี จึงโตไม่เท่ากัน แบบนี้เก็บไว้ก็ป่วยการ
ถอนต้นทิ้งไปเลยจะดีกว่า มัวแต่เสียดาย ขืนเก็บไว้ก็รังแต่ทำให้พันธุ์แท้ (ส่วน
ใหญ่) เสียหาย




12. ชุมนุม "ข้าวดี-ข้างนก-ข้าวหาง-ข่าวปน" แบบนี้ทำแล้วได้อะไร.....ว่ามั้ย




13. น้ำดี บริบูรณ์ตั้งแต่เริ่้มจนเกี่ยว เป็นเช่นนี้มาทุกปี ไม่เคยขาดตกบกพร่องแม้ั
แต่ฤดูกาลเดียว.....ปีหนึ่งทำนาได้ 2 รุ่น หรือจะทำ 5 รุ่นต่อ 2 ปียังได้....ดูสภาพ
ต้นข้าวแล้วให้เสียดาย โอกาส-เวลา-ที่ดิน-แรงงาน-ฯลฯ ฉนัี้แล้ว ใครจะช่วยเขา
ได้ ในเมื่อเขา แม้แต่จะคิดช่วยตัวเอง ยังไม่เอา....




14. นาหว่าน เท่าที่เห็นตอนขับรถผ่าน ฉีดยาฆ่าหญ้า 2 รอบ ฉีดสารเคมีกำจัด
แมลง 3 รอบ สูบน้ำทุก 15 วัน ที่ไม่เห็นอีกเท่าไหร่ ไม่รู้.....




15. ชาวนาทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่ยุค พระเจ้าฟีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ไม่รู้ว่า สภาพ
ต้นข้าวอย่างนี้น่าจะได้ไม่เกิน 80 ถัง ข้าววัชพืช ข้าวลีบ น้ำหนักเบา ข้าวปน
ข้าวป่น ความชื้นสูง อีกต่างหาก




16. แปลงติดกัน ไม่รู้ว่าเจ้าของเดียวกันหรือเปล่า ถึงไม่รู้ก็ไม่ถาม เก็บความ
สงสัยไว้กับตัวเอง "เขาทนทำอย่างนี้อยู่ได้ไง รุ่นแล้วรุ่นเล่า" ให้เป็นห่วงก็แต่ลูก
หลานของเขาเท่านั้นแหละ.....




17. แปลงนี้ "นาดำด้วยเครื่อง" ห่างกันคนละฝั่งถนน มองผ่านๆ เห็นข้าววัชพืช
ไม่เกิน 1% ไม่รู้เหมือนกันนะว่า เขาควบคุมวัชพืชด้วยวิธีใด จะควบคุมด้วยวิธีใด
ก็สุดแท้ ผลผลิตที่ออกมาถือว่า "ได้" ก็แล้วกัน




18. สะท้อนให้รู้ว่า เกษตรกรไทยไม่ยอมทำตามใคร กูแน่-กูเป็น-กูเก่ง รู้ทั้งรู้ เห็น
ทั้งเห็น ยังบอกว่า กูไม่เชื่อ-เป็นไปไม่ได้ ..... ยอมเป็นหนี้ดีกว่าเสียศักดิ์ศรี มั้ง




20. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือจะสู้ฝีมือคน




21. ใครก็ได้ ช่วยบรรยายหน่อยซี่.....




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©