-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ลำไยพ่นสาร 30 วันแล้ว ไม่ออกดอก
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ลำไยพ่นสาร 30 วันแล้ว ไม่ออกดอก
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ลำไยพ่นสาร 30 วันแล้ว ไม่ออกดอก

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
swingbody
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 01/01/2013
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 01/01/2013 8:27 am    ชื่อกระทู้: ลำไยพ่นสาร 30 วันแล้ว ไม่ออกดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำไยพ่นสารไป 30 วันแล้ว ไม่ออกดอก

ผมเพิ่งพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรตไปเมื่อวันที่ 2 และ 9 ธันวาคม 2555
ผ่านไป 30 วัน แล้วครับ ยังไม่เห็นการแตกใบออกหรือออกดอกเลยครับ
ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ใบก็ร่วงตามปกตินะครับ ประมาณ 30 % ที่ร่วงไป
หรือว่าสะสมอาหารดีเกินไปครับ C ห่าง N เกินไปหรือป่าว ใบไม่ออกมาเลย
เงียบกริบ .....




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2013 12:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ.....

ถึงวันนี้ ยังไม่พบ (เน้นย้ำ...พบ) งานวิจัยใดที่ให้ข้อมูล ลำไย ฉีด/ราด สารบังคับแล้วไม่ออกดอกให้แก้ไขอย่างไร แต่ประสบการณ์ตรงจากผู้ที่เคยใช้แล้ว เมื่อลำไยไม่ออกดอกเขาแก้ไขโดย ฉีดซ้ำหรือราดซ้ำ ก็ไม่ออก นอกจากไม่ออกแล้ว พาลพะโลต้นตายไปเลยก็มี

ผลมาจากเหตุ ..... เมื่อ ฉีด/ราด สารแล้ว การที่ลำไยไม่ออกดอก คือ "ผล"
การ แก้/วิเคราะห์ ปัญหา ต้องย้อนไปดูที่ "ต้นตอ" ว่าอะไรคือ "เหตุ" แล้วแก้ปัญหาที่ตรงนั้น

สมการฉีดสารบังคับลำไย :
สารถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล.............................(1)
สารผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล.............................(2)

สารผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง..............(3)
สารถูก + ใช้ถูก = ได้ผลดี ยกกำลังสอง................(4)
วิเคราะห์ (เหมือนหมอหาสมุฐานของโรค) ว่า เหตุอยู่ที่สมการไหน ?


ลำไยพันธุ์อะไร คุณไม่ได้บอกมา....บางพันธุ์ "ฉีดทางใบ" ไม่แรงพอ ต้อง "ราดทางดินเท่านั้น"....นี่คือหลักธรรมชาติประการหนึ่งของลำไยที่เรีกว่า "พันธุ์หนัก-พันธุ์เบา" ประมาณนั้น

ลำไยอายุต้นเท่าไร ? มีประวัติการใช้สารอย่างไร คุณไม่ได้บอกมา....บางสายพันธุ์ ฉีด/ราด ซ้ำ ปีต่อปี ทำให้ต้นไม่พร้อม จึงไม่ออกดอก ก็เป็นได้


ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค มีผลอย่างมากต่อความสมบูรณ์สะสมหรือความพร้อมของต้น ในการ "ตอบสอนง" ต่อสารบังคับที่ให้....ให้วิเคราะห์ทีละประเด็นๆ โดยมีลำไยเป็นตัวตั้ง


พึงระลึกเสมอว่า ในโลกนี้ไม่มี ปุ๋ยวิเศษ ฮอร์โมนวิเศษ สารวิเศษ เมื่อใช้แล้วผลต้องได้ตามนั้นเสมอไป ทุกครั้ง.....ความสำเร็จ กับ ความล้มเหลว เป็นของคู่กัน


ในคำถามนี้ จากเว้บนี้จึงไม่มีคำตอบแบบ "ฟันธง"....เว้บอื่นอาจจะมี
เคยเห็นแว้บๆ คำถามทำนองนี้ที่เว้บอื่น (คนอื่นถาม) เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าเว้บนั้นเขาตอบว่าไง

ถ้าอะไรๆ มันง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือได้ คำศัพท์ "ความล้มเหลว" คงไม่มีในแวดวงเกษตร



โธมัส อัลวา เอดิสัน ล้มเหลวกับการสร้างหลอดไฟนับ 1,000 ครั้ง กระทั่งคนหาว่าแกบ้า.....เอดิสัน บอกว่า "ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ" สุดท้าย คนที่เคยหาว่าเอดิสันบ้า ต้องกลืนน้ำลายตัวเอง เมื่อเอดิสันประสบความสำเร็จ.....



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2013 3:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
swingbody
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 01/01/2013
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 01/01/2013 12:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลืมบอกไปครับลุงคิม วันที่ 2 ธันวาคม 2555 พายุเข้า ฝนตกหนักมาก พ่นไปไม่กี่ชั่วโมงฝนกระหน่ำเลยครับ

ลำไยเป็นพันธุ์เบาครับ (อีดอ) เห็นอาจารย์บอกมาว่าเป็นเพราะฝนตก สารที่ใช้พ่นนั้น อาจารย์บอกว่าไม่ได้ต้องการให้มันดูดเข้าไปหมด แต่ต้องการให้มันเคลือบกิ่งไว้อย่างนั้น เพื่อไม่ให้มันหาอาหารได้ระยะเวลาหนึ่ง มันก็เลยไม่ได้นับวันที่ 2 ธันวาคม 2555 แต่จะนับวันที่ 9 ธันวาคม 2555 เพราะหลังจากนั้นฝนไม่ตก

ฉะนั้นต้องรอดูวันที่ 9 มกราคม 2555 กันอีกที

--- ถามลุงคิมต่อครับ
1. จำเป็นไหมครับว่า ก่อนออกดอกต้องมีการแตกใบอ่อนมาด้วยเสมอ
2. ออกเร็ว หมายถึงว่า จะออกดอกเยอะ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2013 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตลำไยนอกฤดูด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต


ลำไย (Longan, Dimocarpus longan Lour) เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาคเหนือ ในปี 2551 ประเทศไทยมีเนื้อที่ให้ผล 966,831 ไร่ และผลผลิต 476,930 ตัน ผลผลิตลำไยสามารถจำหน่ายสด อบแห้งทั้งเปลือก อบแห้งเนื้อสีทอง และบรรจุกระป๋อง ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี เกษตรกรนิยมปลูกลำไยพันธุ์ดอมากที่สุด ทำให้ผลผลิตลำไยในฤดู คือเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมออกสู่ตลาดมาก และราคาตกต่ำ

นอกจากนี้ยังขาดแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนผลผลิตลำไยนอกฤดู คือ เดือนตุลาคมถึงมิถุนายนมีน้อย แต่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศมีความต้องการสูง

ดังนั้นการแก้ปัญหาการกระจุกตัว และราคาตกต่ำของลำไยในฤดู ทำได้โดยการพัฒนา และสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตลำไยนอกฤดูให้มากขึ้น ในปี 2540 ได้เริ่มมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium chlorate, KClO3) ชักนำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูเป็นผลสำเร็จ จึงทำให้พื้นที่ปลูกลำไยเพิ่มขึ้นและใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตผลิตลำไยนอกฤดูกันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้



การเตรียมความพร้อมของต้น
1. ควรตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว โดยตัดแบบเปิดกลางทรงพุ่ม กิ่งที่ไม่ได้รับแสง และกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย

2. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 10-20 กิโลกรัม/ต้น ควบคู่กับปุ๋ยเคมี NRazz:K สัดส่วน 4:1:3 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น

3. เพื่อทำให้ยอดที่แตกใหม่สมบูรณ์พร้อมออกดอกควรป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงแตกใบอ่อน เช่นโรคราน้ำค้าง หนอนกัดกินใบ และหนอนชอนใบ

4. การบังคับไม่ให้ต้นออกดอกในฤดูเพื่อผลิตนอกฤดูทำได้โดยการตัดปลายกิ่งยาว 10-15 นิ้วเดือนพฤศจิกายน การตัดช่อผลทิ้งในเดือนกุมภาพันธุ์ซึ่งผลมีขนาด 0.5 เซนติเมตร ตลอด จนการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% หรือสารไทโอยูเรีย 0.5 % เดือนพฤศจิกายนซึ่งยับยั้งออกดอกได้ในบางปี


การชักนำให้ออกดอกโดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต
1. สารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ เนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% เป็นสารยุทธภัณฑ์ การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหม แต่สารโพแทสเซียมคลอเรตเนื้อสารไม่เกิน 15% อยู่ในการควบคุมของกรมวิชาการเกษตร สารบริสุทธิ์เป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารไม่ไวไฟ แต่ช่วยให้ไฟติดทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารรองรับออกซิเจนและสารอินทรีย์ทุกชนิด


2. ขั้นตอนการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต
2.1 เลือกต้นลำไยที่สมบูรณ์ และอยู่ในระยะใบแก่เต็มที่ หากมีทรงพุ่มแน่นทึบเกินไปควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง หลังตัดแต่งกิ่งควรให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทันทีหรือไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์

2.2 ทำความสะอาดบริเวณใต้ทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืชและวัสดุคลุมดินออกจากทรงพุ่ม หากดินชื้นมากเกินไปควรทิ้งให้แห้ง 1–2 วัน หากดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ดินชื้นเล็กน้อย

2.3 วิธีให้สารโพแทสเซียมคลอเรตมี 2 วิธี คือ ผสมน้ำราดและหว่าน แล้วให้น้ำ ควรให้เป็นวงรอบชายทรงพุ่มเข้ามา 50–100 เซนติเมตร

2.4. ใช้สารโพแทสเซียมที่บริสุทธิ์ โดยอัตราที่แนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ 60 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร หรือ 8–20 กรัมต่อตารางเมตรพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม ช่วงฤดูหนาวอาจใช้อัตราต่ำกว่ากำหนด และช่วงฤดูฝนใช้อัตราที่สูงขึ้นเช่น 100-150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร

2.5 ควรรดน้ำตามทุก 3-5 วันเพื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรตละลาย และถูกดูดซึมได้ดี

3. ต้นจะออกดอกหลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรตแล้ว 20-30 วัน

4. หลีกเลี่ยงการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตในช่วงที่มีฝนตกชุกหรือครึ้มฟ้าครึ้มฝน ต้นแตกใบอ่อน หรือมีอากาศเย็นจัด


ข้อควรพิจารณาในการผลิตลำไยนอกฤดู
1. ต้นลำไยควรมีความสมบูรณ์ แตกใบอ่อนแล้วประมาณ 2 ครั้ง และใบแก่เต็มที่
2. ควรมีแหล่งน้ำพอเพียงตลอดช่วงออกดอกติดผล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
3. มีตลาดรองรับผลผลิต และมีเงินทุนเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง
4. มักมีโรค และแมลงเข้าทำลายมากกว่าปกติโดยเฉพาะ ค้างคาว
5. เกษตรกรมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลรักษาสวนและใช้ปัจจัยการผลิต




http://www.doa.go.th/hort/index.php?option=com_content&view=article&id=35:longgan-outseason-clorate&catid=31:general-plant&Itemid=46
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2013 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต


อายุของใบลำไย : ระยะใบที่เหมาะสมต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรมีการแตกใบอ่อนประมาณ 2 รุ่นหรือมีอายุใบลำไยอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไป

ฤดูกาล : การให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรกำหนดปริมาณสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารราดลำไยในอัตราต่ำ ช่วงฤดูร้อนอัตราปานกลางและฤดูฝนให้อัตราสูง นอกจากนี้ไม่ควรให้สารราดลำไย กับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝนเพราะจะตอบสนองไม่ดีเท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย

แสง : ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพครึ้มฟ้าครึ้มฝน และควรหลีกเลี่ยงการใส่สารราดลำไยในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝนตกชุก


การปฏิบัติในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน :
โดย การหว่านสารราดลำไยภายในทรงพุ่มแล้วให้น้ำตาม หรืออาจทำเป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้ สารโพแทสเซียมในร่องแล้วให้น้ำตาม หรือใช้สารละลายน้ำแล้วราดสารในทรงพุ่มก็ได้ (ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับอายุและทรงพุ่มของต้นลำไย)



การปฏิบัติในการ "พ่น" สารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ :
ใช้ความเข้มข้นเท่ากันประมาณ 3-4 ขีดต่อน้ำ 200 ลิตร โดย "พ่น" ให้ทั่วทรงพุ่มควรเน้นบริเวณปลายยอดสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ในช่วงหน้าฝนถ้ามีฝนตกควรมีการ "พ่น" สาร 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน การ "พ่น" สารในช่วงก่อนฤดูกาล หรือให้ลำไยออกในฤดูกาลหรือหลังฤดูกาลไม่เกิน 2 เดือน จะทำให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูง




ทำไมการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างเพราะอะไร ?
เป็นคำถามที่ค้างคาใจเกษตรกรหลายๆคน ได้มีการศึกษาถึงสาเหตุเหล่านี้โดยนักวิชาการพบว่า การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไยได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง มีสาเหตุหลายประการดังต่อไปนี้

1. แร่ธาตุและสารแหล่งอาหารที่จำเป็นสำหรับลำไยที่จะใช้ในการออกดอกของลำไย มีปริมาณน้อยมากหรือไม่มีเลยและระบบรากถูกทำลาย อันเนื่องมาจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตติดต่อกันมาหลายครั้ง การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตในแต่ละครั้งจะไปบังคับให้ลำไย เร่งดูดสารอาหารขึ้นไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นลำไย เพื่อใช้ในการออกดอก ดังนั้น จะเห็นได้ว่าลำไยที่ไม่เคยใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตเลย พอใส่ในปีแรกๆจะทำให้ลำไยออกดอกออกผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากในดินมีธาตุอาหารครบสมบูรณ์ และพอผ่านไปใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งที่ 3 ที่4 ลำไยเริ่มไม่ได้ผลเนื่องจากแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นของต้นลำไยในดินเริ่มหมดไป และระบบรากก็เริ่มถูกทำลาย พอใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งที่ 5 เป็นต้นไป ลำไยจะเริ่มตาย ถ้าไม่ได้บำรุ่งต้นบำรุงรากหรือพักการใส่สารโพแทสเซียมคลอเรต

2. สารโพแทสเซียมคลอเรตที่เกษตรกรซื้อหามาใช้นั้น เป็นสารที่ผสมขึ้นมาเองโดยเกษตรกรด้วยกันเองหรือพ่อค้าหัวใส โดยเอาสารโพแทสเซียมคลอเรตผสมด้วยปุ๋ยสูตรต่างๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักและปริมาณแล้วนำมาขาย โดยการไปรับซื้อถังบรรจุสารโพแทสเซียมคลอเรตเก่าจากเกษตรกร ในราคาถังเปล่าใบละ 200-300 บาท แล้วนำมาบรรจุใหม่เพื่อขายให้เกษตรกรด้วยกันเองในราคาถูก ทำให้ปริมาณของสารโพแทสเซียมคลอเรตมีปริมาณน้อย เมื่อนำไปใช้กับลำไยจึงทำให้ลำไยไม่ได้ผล

3. ความพร้อมของต้นลำไย เนื่องจากเกษตรกรบางรายไม่เข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงต้นลำไยแต่ใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตต่อเนื่อง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้ลำไยขาดการบำรุงต้น บำรุงดิน และบำรุงราก (ต้นลำไยไม่สมบูรณ์) ลำไยจึงไม่มีสารอาหารที่เพียงพอที่จะใช้สำหรับการออกดอก




ข้อแนะนำในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต :
ใช้วิธีคำนวณทรงพุ่มของต้นลำไยเป็นหลัก โดยทรงพุ่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร จะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตประมาณ 4 ขีด ในการ ราด บริเวณลำต้น ถ้าทรงพุ่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรก็จะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตประมาณ 8 ขีด (การ ราด สารนั้น จะผสมน้ำเล็กน้อยแล้วหว่าน หรือจะผสมน้ำแล้ว พ่น บริเวณลำต้นก็ได้) จากนั้นอีกประมาณ 3–7 วันจะเอาสารโพแทสเซียมคลอเรตผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน โดยเฉลี่ย 3 ขีดต่อต้นลำไย 1 ต้น พ่น ทางใบจนใบเปียกชุ่ม หลังจากนั้นรักษาความชื้นโดยให้น้ำ ทุก 3–5 วัน เพื่อให้รากลำไยดูดสารเข้าสู่ต้นให้มากที่สุด ประมาณ 3–5 สัปดาห์ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก





บทความข้างล่างนี้ผมอ่านแล้วมีประโยชน์เลยอยากให้อ่านกันครับ

การให้ปุ๋ยลำไย
การใช้ปุ๋ยกับต้นลำไยของเกษตรกรที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนลำไยจะอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติหรือสอบถามจากเพื่อนบ้านที่มีต้นลำไยสมบูรณ์ นอกจากนี้มีชาวสวนจำนวนไม่น้อยที่มีการใส่ปุ๋ยลำไยตามความเชื่อ เช่น เชื่อว่าการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูงจะช่วยให้ต้นไม้ออกดอกได้ดี

ในกรณีการจัดการธาตุอาหารที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อสมดุลของธาตุอาหารในดินไม่เหมาะสม ทำให้ชาวสวนเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

การใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินและธาตุอาหารจะช่วยให้การให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยลดลง



การให้ปุ๋ยเคมีสำหรับต้นลำไยในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต :
การให้ปุ๋ยลำไยที่จะแนะนำต่อไปนี้จะอาศัยข้อมูลจากการวิจัย โดยอาศัยค่าปริมาณธาตุอาหารที่ใช้ไปในระหว่างการเจริญเติบโต ได้แก่ การแตกใบแต่ละครั้งและที่สูญเสียไปกับผลผลิตเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ย เพราะเป็นการให้ปุ๋ยโดยอาศัยค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในระหว่างการแตกช่อใบและที่ติดไปกับผลผลิต ซึ่งคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตรที่ควรให้กับลำไยในระหว่างการแตกช่อใบและให้ผลผลิตดังจะกล่าวต่อไปนี้

1. การให้ปุ๋ยลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตถึงระยะก่อนออกดอก ธาตุอาหารที่ลำไยต้องการมากในช่วงนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ดังนั้น สูตรปุ๋ยที่ใช้จะต้องเน้นหลักการให้ทั้งสองธาตุดังกล่าว เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ จึงขอกำหนดสูตรปุ๋ยที่เกษตรกรใช้กันทั่วไป คือ สูตร 46-0-0, 15-15-15 และ 0-0-60 ส่วนอัตราการใช้นี้ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มดังแสดงในตารางที่ 1โดยอาจให้ทุกครั้งที่มีการแตกใบส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ควรใส่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้อัตรา 10–30 กิโลกรัมต่อต้น





เอกสารอ้างอิง
ยุทธนา เขาสุเมรุ, ชิติ ศรีตนทิพย์, สันติ ช่างเจรจา และสมชาย องค์ประเสริฐ .2548. การให้ปุ๋ยลำไย

หน้า 21-26.ใน ลำไยคุณภาพ. วันแม่โจ้: ศาสตร์แห่งลำไย 25-27 พฤศจิกายน 2548. เชียงใหม่.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.56 หน้า.



http://thaipotassium.blogspot.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2013 1:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

swingbody บันทึก:


--- ถามลุงคิมต่อครับ
1. จำเป็นไหมครับว่า ก่อนออกดอกต้องมีการแตกใบอ่อนมาด้วยเสมอ
ตอบ :
แตกใบอ่อน คือ ผลจากการบำรุงฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาหลังเก็บเก็บเกี่ยวผลผลิต นั่นคือ มีการแตกใบอ่อนชุดใหม่

ก่อนออกดอก ระยะพัฒนาการของต้น คือ "อั้นตาดอก หรือ สะสมแป้งและน้ำตาล" จากนั้นจึงปรับ ซี/เอ็น เรโช. สภาพต้นหลังจตากปรับ ซี/เอ็น เรโช.แล้ว ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด, ใบใหญ่หนาเขียวเข้มและกรอบ, ข้อระหว่างใบสั้น, เดือยไก่แข็ง (แทงท้องแขนเจ็บ/ลำไย), ..... ถ้าขั้นตอนนี้มีการแตกใบอ่อนออกมา แล้วมันจะเป็นดอกได้ไง.....จากใบอ่อนไปเป็นใบแก่ จากใบแก่ไปปรับ ซี/เอ็น เรโช. จากปรับ ซี/เอ็น เรโช. ไปเปิดตาดอก ไม่ใช่เหรอ ? แล้วใบอ่อนมาจากไหนล่ะ.....

ขั้นตอนปฏิบัติบำรุงต่อไม้ผล :
1. เรียกใบอ่อน
2. สะสมตาดอก
3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
4. เปิดตาดอก
5. บำรุงดอก
6. บำรุงผลเล็ก
7. บำรุงผลกลาง
8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว


คลิก.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=98&page=2
ลำไย......(แม้จะเป็นข้อมูลเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ยังใช้เป็นพื้นฐานได้ดี)"




2. ออกเร็ว หมายถึงว่า จะออกดอกเยอะ
ตอบ :
ไม่เข้าใจคำถาม..... ภาษาไทย เร็วคู่กับช้า เยอะคู่กับน้อย แล้วเอา เร็วมาคู่กับเยอะ ได้ไง จะรู้เรื่องมั้ยเนียยยยยย




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
swingbody
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 01/01/2013
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 01/01/2013 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อ. 2
พอดีได้ยินคนอื่นว่าถ้าหลังราดสาร หรือพ่นสารไปแล้วนั้น 25 วัน ถ้าออกดอกจะออกเยอะ แต่ถ้านานกว่านั้นจะออกน้อย .... มันเกี่ยวหรือป่าวครับ เพราะปีที่แล้วบางต้นผมก็ออกช้าแต่ออกเยอะ บางต้นออกเร็วแต่ก็ออกน้อย บางต้นออกช้าออกน้อย หรือไม่ออกก็มีครับ ...... ขอลุงคิมให้ความกระจ่างหน่อยครับ ^___^
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2013 5:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.


น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ เพราะไม่มีเครื่องมือวัด) ขึ้นกับ "ปัจจัยเสริม" ต่อการออกดอก ก็คงไม่พ้นสารอาหาร.....สารอาหารที่เป็นปัจจัยเสริมการออกดอกของไม้ผลดี คือ สังกะสี. โบรอน. (รศ.ดร.สุมิตร ภู่วโรดม สจล./ งานวิจัยที่จันทบุรี) พบว่าถ้าสารอาหาร 2 ตัวนี้ดี สมบูรณ์แบบ การออกดอกก็จะราบรื่น.....ปัญหาสารอาหาร เราพอแก้ไขได้

เทคนิคการให้ สังกะสี. โบรอน. ไม่ใช่เพิ่งมาให้เอาตอนจะเปิดตาดอก ต้องให้แบบ "สะสม" มาตลอดปี คิดดู หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลำไยมีเวลาต้นว่างอยู่แค่ 6 เดือนเท่านั้น ระยะนี้ควรให้สังกะสี (แม็กเนเซียม + สังกะสี อะมิโน คีเลต + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) สลับกับ แคลเซียม โบรอน. อย่างน้อยสูตรละ 1 ครั้ง/เดือน ควบคู่กับการบำรุงทางดินสม่ำเสมอ ต้นจึงจะเกิด "ความสมบูรณ์สะสม" เต็มที่

นอกจากสารอาหารแล้ว ปัจจัยเสริมอย่างอื่น เช่น ความชื้นสัมพัทธ์, อุณหภูมิ, น้ำใต้ดิน, ก็มีส่วนทำให้การออกดอก ดีหรือไม่ดี ด้วย .... ปัญหาธรรมชาติแบบนี้ คงแก้ไขไม่ได้


"ข่าวเขาว่า ข่าวเขาว่า" เหมือนจิ้งจกร้องทัก รับฟังรับทราบ ลองถามย้อนซิว่า "ดอกออกได้เพราะอะไร ? ทำไมออกมาก ทำไมออกน้อย" ทุกคำตอบต้องมีหลักวิชาการรองรับยืนยัน สำคัญแต่เรา มีข้อมูลที่เป็นวิชาการบ้างไหม ไม่ใช่ใครว่าอะไรทำตามนั้นไปซะทั้งหมด ลำไยเขาลำไยเรา ดินเขาดินเรา อากาศเขาอากาศเรา ไม่เหมือนกัน ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการออกดอกของลำไยทั้งนั้น

บางครั้งสังเกตุดีๆ เขาว่า-เขาว่า น่ะ ไม่ฟลุคก็ขี้โม้ทั้งนั้น เห็นมาเยอะ


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------



วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง :

ความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรตที่เหมาะสม สำหรับชักนำการออกดอกของลำไยแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาวและฤดูฝน คือ 200 มก./ลิตร ขณะที่ในฤดูร้อน คือ 400 มก./ลิตร ซึ่งสอดคล้องกับงานทดลองของพาวิน และคณะ (2547) ที่ทดลองในสภาพสวน พบว่า ฤดูกาลต่างๆ มีผลต่อการออกดอกและการตอบสนองของลำไยต่อโพแทสเซียมคลอเรตต่างกัน

อย่างไรก็ตามการให้โพแทสเซียมคลอเรตในสวนลำใยในฤดูฝนต้องให้มากกว่าในฤดูหนาว เนื่องจากจะมีการชะล้างโพแทสเซียมคลอเรตจากฝนที่ตกหนัก (Manochai et al., 2005) เมื่อได้รับโพแทสเซียมคลอเรตด้วยความเข้มข้นที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ออกดอกดี ทั้งในรูปเปอร์เซ็นต์การออกดอก ขนาด และจำนวนดอกแล้ว ยังทำให้ออกดอกพร้อมกันในช่วงเวลาสั้น ส่วนความเข้มข้นที่มากเกินไปทำให้ออกดอกน้อยและทยอยออกดอกหลายรุ่น

ผลการทดลองนี้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เกษตรกรพบในสวนลำไยที่มีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตมาก คือออกดอกน้อยและทยอยออกดอกหลายรุ่น



กิตติกรรมประกาศ :
ขอขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ที่สนับสนุนทุนการวิจัย

เอกสารอ้างอิง :
พาวิน มะโนชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย.
พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก.สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นต์เตอร์, กรุงเทพฯ. 128 น.
Manochai, P., P. Sruamsiri, W. Wiriya-alongkorn, D. Naphrom, M. Hegele and F. Bangerth. 2005. Year around off season flower induction in longan (Dimocarpus longan Lour.) trees by KClO3 applications: potentials and problems. Scientia Horticulturae. 104: 379-390.


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
spyman
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2012
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 04/01/2013 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารที่ใช้พ่น ให้ผมเดานะครับ เป็นผง มี 2ถุง ใน 1 ชุด 1ชุด ผสมน้ำ 200 ลิตร
พ่นสองครั้ง ห่างกัน 7 วัน ใช่ไหมครับ

ถ้าใช่ ไม่ (น่าจะ) ใช่โพแทสเชี่ยมครอเรต หรอกครับ มัน (น่าจะ) เป็นโซเดี่ยมครอเรต ครับ

คนขายส่วนใหญ่จะบอกว่า ไม่ควรทำซ้ำกัน 3 ปี เพราะต้นจะโทรม
สารตัวนี้มีข้อเสียพอสมควรครับ ถ้าหลังเก็บเกี่ยวไม่รีบบำรุง ต้นจะโทรมมาก
และต้นที่ไม่สมบูรณ์จะตายครึ่งซีก ประมาณว่า กิ่งด้านบนแห้งตายแต่ด้านล่างไม่ตาย

หลังจากพ่นไปได้ 2 อาทิตย์แล้ว ใบล่างสุดจะเริ่มร่วง บางทีร่วงจนเหลือใบชุดล่าสุด
หลังจากนั้น ต้นจะเริ่มแทงช่อออกมา จะเป็น ช่อ แซมใบเสียส่วนใหญ่
คือ จะมีใบออกมาก่อน ประมาณ 3-4 ใบ แล้วจึงแทงช่อออกมาทีหลัง
คาดว่าของ จขกท น่าจะแทงช่ออยู่ครับ แต่อาจจะนานหน่อย
อย่างว่าแหละครับผม เห็นมีสารบำรุงกระตุ้น ต่างๆ เรียกกันชนิดที่ว่า
ยี้ห้อ A-Z กันเลยทีเดียว

ผมเองก็มือใหม่คอยสังเกต ทั้งสวนของตัวเองและรอบข้าง คอยถามไถ่คนที่มีสวน
ทั้งคนที่ ทำสำเร็จ และ ล้มเหลว แล้วเอามาวิเคราะห์หาสาเหตุ บางทีก็เข้าไปถามถึงในสวนเลย

ก็อย่าไปเชื่อคนขายสาร ขายยา ขายปุ๋ยมากนักครับ เขาต้องการขายของ ของเขา

ลำไยทำดีๆมีกำไรครับ ตอนนี้ตลาดค่อนข้างกว้าง แต่ที่สำคัญต้องใกล้ล้ง ครับ
เพราะตัวชี้วัดความสำเร็จคือ ทำแล้วขายได้


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
swingbody
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 01/01/2013
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 04/01/2013 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ผมใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตครับ คิดว่าที่ยังไม่ออกเพราะว่าฝนตกหลังจากพ่นสารครับ
แต่พ่นครั้งที่ 2 ฝนไม่ตกแล้วครับ ไม่ทราบว่าเกี่ยวหรือป่าวแต่ 33 วันมาแล้วยังไม่เห็นว่าจะออกหรือป่าวครับ - -

ถ้านับวันที่ฝนตกนะครับแต่ถ้านับวันที่พ่นครั้งที่สองก็ 26 วันแล้วครับผม -*-



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2013 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าคุณจะเอาตัวเลขในธรรมชาติให้ได้ คุณต้องทำทุกอย่างให้ตรงกับธรรมชาติทุกรายการ

ปริมาณสารที่ใช้............................นี่คือ "ตัวเลข"
จำนวนวันที่ให้..............................นี่คือ "ตัวเลข"
แล้วความพร้อมของต้น กี่เปอร์เซ็นต์...... นี่คือ "ตัวเลข"
ปริมาณน้ำที่ฝนตกให้ กี่เปอร์เซ็นต์........ นี่คื่อ "ตัวเลข"
ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ............ นี่คือ "ตัวเลข"
อัตราส่วน ซี.กับ เอ็น. เป็นเท่าไหร่........นี่คือ "ตัวเลข"

กับอีกหลายๆปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องทำให้ลำไยคุณ ออกดอก/ไม่ออกดอก ต้องวิเคราะห์ออกมาเป็นตัวเลขให้ได้


เชื่อไหม เกษตรน่ะ.....เฮง 3 ส่วน....เก่ง 1 ส่วน เท่านั้น
คุณรักลำไย ลำไยรักคุณไหม.....
ทำไมไปฝากอนาคตไว้กับลำไยเพียงอย่างเดียว.....
น่าจะมีอย่างอื่น 1-2 อย่าง เป็นตัวตายตัวแทน ลำไยล้ม อย่างอื่นช่วยได้....

งานนี้ ออกคือออก ไม่ออกคือไม่ออก
ผมท้าให้คนระดับ ศ.ดร. ก็หาคำตอบให้คุณไม่ได้

ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ เก็บข้อมูลไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รุ่นหน้าปีหน้าคุณเก่งแน่


ทัมใจครับ.....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©