-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เฟอรมิกซ์ แกรนด์ ...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคพืช... (776-856)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคพืช... (776-856)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 7:59 am    ชื่อกระทู้: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคพืช... (776-856) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคพืช


โรคพืช (Pathology)

เนื้อหาเกี่ยวกับโรคพืชที่นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงบทความเกี่ยวกับโรคพืชอย่างกว้างๆ
สำหรับพืชทั่วไป ไม่ได้เจาะจงสำหรับพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปูทางในการ
เรียนรู้และทำความเข้าใจกับโรคที่เกิดกับพืชก่อน หลังจากนั้น เราจึงค่อยพยายาม
ทำความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคพืชที่เกิดขึ้นกับเฟินโดยเฉพาะโอกาสต่อไป (ขอ
อภัยที่ยังไม่มีภาพประกอบ ซึ่งจะนำมาปรับปรุงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป)

โรคพืช เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดจากศัตรูของพืช กับอีกสาเหตุ ปัจจัยสภาพ
แวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ก. ลักษณะอาการของโรคพืช
1. อาการของโรคพืชบนใบ
2. อาการของโรคที่พบทั้งต้น
3. อาการของโรคที่พบที่ราก
4. อาการของโรคที่ต้นกล้าพืช

ข. โรคพืชที่เกิดจากปัจจัยสภาแวดล้อม
1. การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช
2. การมีธาตุอาหารมากเกินไป
3. สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม
4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม

ค. โรคพืชที่เกิดจากศัตรูของพืช อันเกิดจากสิ่งมีชีวิต จำพวก เชื้อจุลินทรีย์ จำพวก
เชื้อรา เชื้อบัคเตรี เชื้อไวรัส ไส้เดือนฝอย

ง. โรคพืชที่เกิดจาก แมลงศัตรูพืช



ก. ลักษณะอาการของโรคพืช

1. อาการของโรคบนใบ
โรคที่เกิดบนใบ แสดงอาการแตกต่างกันไปหลายแบบ อาการเหล่านี้จะเกิดจาก
หลายสาเหตุ ทั้งขาดธาตุอาหาร หรือเกิดจากเชื้อไวรัส บัคเตรีและเชื้อราเข้าทำงาย
ตัวอย่าง เช่น

1.1 อาการใบจุด แผลแห้งเป็นจุดกระจายบนใบ แผลมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยอาจ
จะเกิดแผลกลมหรือ แผลเหลี่ยม ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีจำนวนแผลมาก และลามติดต่อ
กันและทำให้ใบแห้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรี

1.2 อาการใบไหม้ แผลแห้งมีขนาดใหญ่ อาจจะแห้งในบริเวณเนื้อในหรือจากขอบ
ใบก็ได้ เมื่อเปรียบเทียบ กับโรคใบจุดแล้ว แผลที่เกิดจากอาการใบไหม้จะมีแผล
ขนาดที่ใหญ่กว่าและเป็นบริเวณกว้างกว่า สาเหตุส่วนใหญ ่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรี
และอาจเกิดจากการให้ปุ๋ยหรือฉีดสารเคมี เช่น ยาปราบวัชพืช ยากันรามากเกินไป
ใน เวลาที่มีอากาศร้อนจัด

1.3 อาการใบเปลี่ยนสี มีหลายแบบ เช่น
(1) ใบด่าง เช่น ด่างเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ด่างเขียวสลับเหลือง ด่างโดยเกิดวง
เหลืองหรือวงสีเขียวบนใบ อาการใบด่างอาจเกิดจากเชื้อ ไวรัส การขาดธาตุอาหาร
แมลงดูดกิน หรือเกิดจากลักษณะการกลายพันธุ์ของพืช แต่โดยทั่วไป มักเกิดจาก
เชื้อไวรัส

(2) ใบขาวหรือเหลือง เนื้อใบสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด หรือเขียวอ่อนถึงสี
ขาว โดยมักจะเปลี่ยนสีทั้งใบ สาเหตุเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา และขาดธาตุอาหาร
บางประเภท

1.4 อาการใบหงิกและใบหด เนื้อใบไม่แผ่เรียบ มักจะหงิกงอเป็นคลื่น ขอบใบมักจะ
ม้วนขึ้นหรือม้วนลง พืชมีการเจริญไม่ปกติ มักแคระแกร็น มีขนาดเล็กลงเห็นได้ชัด
เมื่อเทียบกับต้นปกติ สาเหตุมักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแมลง ดูดกิน ถ้าเป็นการดูดกิน
ของแมลงมักสังเกตเห็นตัวแมลงและรอยแผลเล็กๆบนพืชนั้น

1.5 อาการแคงเคอร์ บางทีเรียกว่าแผลสะเก็ด โดยเกิดเป็นแผลตุ่มนูนสีน้ำตาล ทั้ง
ด้านบนและด้านล่าง ของใบ พบได้ทั้งบนผลและกิ่ง สาเหตุุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ
บัคเตรี

1.6 อาการสแคป หรือแผลสะเก็ดคล้ายแคงเคอร์มาก แต่มักเกิดเฉพาะบนใบเท่า
นั้น ส่วนอาหารบนผลและ กิ่งเหมือนโรคแคงเคอร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อราและบัคเตรี

1.7 อาการสนิมเหล็ก เกิดแผลเป็นตุ่มขุยสีสนิม พบได้ทั้งด้านบนใบ ด้านล่างของ
ใบ รวมทั้งบริเวณ ก้านและลำต้น พบเป็นมากกับพืชตระกูลหญ้า เมื่อเกิดอาการ
รุนแรงจะเห็นผงสนิมมาก และเมื่อเอานิ้วลูบ จะมี ละอองสีเหลืองส้มติดนิ้วให้เห็น
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

1.8 อาการราแป้งขาว จะเห็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวขึ้นปกคลุมบนใบคล้าย
แป้งฝุ่น หรือผงชอล์ก ปกคลุมทั่วไป อาการเริ่มแรกมักเกิดเป็นหย่อมๆแล้วขยายจน
เต็มใบ ถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาการส่วน ใหญ่มักเกิดกับใบอ่อน ยอด
อ่อน และทำให้ส่วนต่างๆเหล่านี้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเติบโตเต็มที่
แล้ว สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

1.9 อาการราน้ำค้าง บนใบ เกิดบริเวณเหลืองๆ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นลักษณะแผล
เด่นชัดกว่าด้านบน บางครั้งพบอาการเซลล์ตายบนรอยแผลใต้ใบ และถ้าอากาศเย็น
ชื้นจะเห็นผงขาวๆซึ่งเป็นส่วนของเชื้อราสาเหคุได้ชัดเจน อาการของโรคนี้จะต่างกัน
ไปในแต่ละพืช เช่น แตง คะน้า ข้าวโพด ถ้าเป็นกับข้าวโพดจะแสดงอาการด่างเป็น
ปื้นเหลืองสลับเขียว และมักผิดปกติ

1.10 อาการราดำ ใบจะมีผงคล้ายเขม่าดำปกคลุมผิวใบหรือตามส่วนต่างๆของพืช
เมื่อใช้มือลูบผงดำนี้ จะหลุดออก อาการราดำนี้จะพบพร้อมๆกับแมลงจำพวกเพลี้ย
เพราะเชื้อราชนิดนี้ชอบน้ำหวานจากเพลี้ยที่ขับออกมา

1.11 อาการแอนแทรคโนส เกิดแผลแห้งตายสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นวงๆคล้ายวง
แหวน เรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ อาจเกิดบริเวณเนื้อใบ หรือจากปลายใบเข้ามา ถ้าเป็น
รุนแรง ใบจะแห้งตายในที่สุด เกิดกับส่วนใบ กิ่งและผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา



2. อาการของโรคที่พบทั้งต้น
2.1 อาการเหี่ยว เริ่มแรกมักเห็นใบเหี่ยวลู่ลงก่อน แล้วค่อยๆเหี่ยวทั้งต้นและตายใน
ที่สุด เมื่อพบอาการเหี่ยว ควรพิจารณาถึงสาเหตุเนื่องจากพืชขาดน้ำ แต่ถ้าพืชแสดง
อาการเหี่ยวในบริเวณที่มีน้ำสมบูรณ์ แสดงว่าการทำงาน ของระบบรากไม่ปกติ อาจ
เกิดรากเสีย เช่น รากปม รากเป็นแผล รากขาดเนื่องจากการทำลายของไส้เดือน
ฝอยหรือ การเขตกรรม รากเน่าจากการทำลายของเชื้อรา บัคเตรีหรือมีน้ำขัง บาง
ครั้งพบว่าระบบท่อน้ำภายในพืชถูกอุดตัน เนื่องจากสาเหตุบางประการ

2.2 อาการแตกพุ่ม บริเวณจุดเจริญ เช่น ตาดอก ตาใบมีการเจริญแตกเป็นกิ่งก้าน
และใบมากกว่าปกติ แต่ใบและก้านที่แตกนี้ไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็ก เป็นพุ่มกระจุก
คล้ายไม้กวาด ในพืชบางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะ คล้ายใบและเกิดเป็นพุ่มสีเขียว
แทนดอก ตัวอย่างที่พบ ได้แก่ การแตกพุ่มไม้กวาดของลำไย การแตกพุ่มไม้กวาด
ของ ถั่วฝักยาว การแตกพุ่มของตะบองเพชร การเกิดพุ่มสีเขียวของพิทูเนีย และ
พังพวย สาเหคุเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา

2.3 อาการเน่าเละ เนื้อเยื่อพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ เกิดอาการเน่าเละมี
น้ำเมือก มักมีกลิ่นเหม็น รุนแรง เกิดได้กับส่วนต่างๆของพืชทั้งผล ราก หัว และใบ
มักเกิดกับพวกผัก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว ผักกาดหัว และผลผลิตทางการ
เกษตรในโรงเก็บ สาเหตุเกิดจากเชื้อบัคเตรี

2.4 อาการแคระแกร็น พืชเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีการชะงักการเจริญเติบโตต้น กิ่ง
ก้าน ใบและผล มีขนาดเล็ก บางครั้งพบลำต้น ข้อปล้อง กิ่งก้าน สั้นและแข็งกระด้าง
มักมีอาการใบเปลี่ยนสีและหงิกงอรวมอยู่ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส



3. อาการของโรคที่พบที่ราก

3.1 อาการรากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายใน มิใช่
พองด้านในด้านหนึ่ง สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย

3.2 อาการรากแผล รากเกิดแผลเล็กๆซึ่งอาจเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย
หรือแมลงบางชนิด

3.3 อาการรากเน่า สังเกตได้โดยต้นพืชมักจะเหี่ยวเมื่อตรวจดูราก จะพบว่ารากเน่า
ดำหรือเป็นสีน้ำตาล เปลือกจะล่อนหลุดติดมือออกมา สาเหตุมักเกิดจากเชื้อรา หรือ
อาจเกิดจากมีน้ำขังทำให้รากเน่าเปื่อย เป็นต้น


4. อาการของโรคที่ต้นกล้าพืช
อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลง จะพบว่าต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำ
กล้ามาพิจารณาดูที่ต้น จะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอ
รวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุก
ชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไปและมีความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อรา

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว เล่ม 7. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2542.


ข. โรคพืชที่เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อม
สาเหตุของโรคพืชเนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ การขาดแร่ธาตุอาหาร การ
ได้รับพิษจากสารเคมีมากเกินไป ความเสียหายเนื่องจากพืชได้รับอุณหภูมิสูงหรือต่ำ
เกินไป ความแห้งแล้ง ไฟป่า เป็นต้น อาการผิดปกติเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้ บางครั้ง
พืชแสดงอาการคล้ายกันกับโรคติดเชื้อ เช่น อาการขาดแร่ธาตุบางชนิด แสดง
อาการซีดเหลืองคล้ายกับที่เกิดจากเชื้อไวรัส และมายโคพลาสมา และอาการเป็น
พิษจากสารเคมีที่ทำให้เกิดแผลคล้ายที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้น ทำให้เกิดการสับสน
ได้ จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินัจฉัยอย่างละเอียดก่อนสรุปว่าเกิดจากสาเหตุ
ใดแน่


1. การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช
เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต พืชจะแสดงอาการขาด
ธาตุอาหารเมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้น ๆ หรืออยู่ในสภาพที่พืชไม่
สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ลักษณะ


อาการพืชที่ขาดธาตุบางชนิดอาจสรุปได้ดังนี้
- ขาดธาตุไนโตรเจน พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้น เริ่มจากใบล่าง
ก่อน

- ขาดธาตุฟอสฟอรัส พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่าง ๆ ลำ
ต้นมียอดสั้น

- ขาดธาตุโพแทสเซียม ต้นพืชมียอดน้อย ใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้น ปลาย
ใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลมีขนาดเล็กลง

- ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและ
ปลายใบก่อน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัววีหัวกลับ ขอบใบม้วนขึ้น

- ขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนบิดงอ ชะงักการเจริญเติบโต แสดงอาหารบิดม้วนขอบ
ใบฉีก ตายอดแห้งตาย ลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกในไม้ผลหลายชนิด

- ขาดธาตุโบรอน ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ ราก ลำต้น และผลแสดง
อาการแผลแตก ลำต้นเป็นรูกลวง และเมล็ดลีบในผักหลายชนิด

- ขาดธาตุกำมะถัน ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ

- ขาดธาตุเหล็ก ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว

- ขาดธาตุสังกะสี ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก


การวินิจฉัยการขาดธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (tissue
analysis) จากใบที่สร้างใหม่ ๆ แล้วเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่วิเคราะห์ได้จาก
พืชปกติ

การวิเคราะห์ดินและวัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกัน
การขาดธาตุอาหารในพืชได้



2. การมีธาตุอาหารมากเกินไป
ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาจเกิดการสะสมทำ
ให้เกิดความเข้มข้นในเนื้อเยื่อพืชสูงขึ้นจนถึงขั้นที่เป็นพิษกับพืช เช่น การมีธาตุ
โบรอน (B) มากเกินไป ทำให้พืชเกิดอาการใบเหลืองขึ้นเป็นแห่ง ๆ เนื่องจากขาด
chiorophyll เริ่มจากปลายใบแล้วจึงลุกลามไปตามของใบเกิดการไหม้และใบร่วง
หล่นได้ เป็นต้น



3. สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม
3.1 ปริมาณน้ำไม่เหมาะสม
พืชที่ประสบกับความแห้งแล้งของอากาศจะมีอาการใบเหลือง ใบมีสีม่วง ใบเหี่ยวย่น
และตายอย่างรวดเร็วและใบไหม้ระหว่างเส้นใบ และตามขอบใบ หรือถ้าเกิดการแห้ง
แล้งอย่างรุนแรงใบจะเหี่ยวแห้งตาย ใบและผลของไม้ยืนต้นจะหลุดร่วงก่อนกำหนด
การตายของใบและผลอาจเนื่องจากการขาดน้ำภายในเซลล์ทำให้ความเข้มข้นของ
ธาตุเพิ่มขึ้นจนเป็นพิษ ในไม้ยืนต้น ผลของความแห้งแล้งมักจะปรากฎในฤดูถัดไป
โดยเกิดการตายแบบตายจากปลายยอด (dieback) ของกิ่งก้าน

กรณีความชื้นในดินที่มากเกิน ทำให้โรคบางชนิดเกิดได้ง่าย เช่น รากเน่า ในดินที่มี
การระบายน้ำไม่ดีจะมี ไนไตรท์ (nitrite) สูงและเป็นพิษกับพืช พืชจะเจริญเติบโต
ช้า ใบเหลือง ในไม้ยืนต้นใบจะร่วงและเกิดอาการ dieback ของยอด

3.2 อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป
อุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดผลเสียแก่พืชคือ อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิต่ำสุดที่พืช
จะเจริญได้ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ช้าลง มีผลทำให้พืช
โตช้า ถ้าเกิดติดต่อกันยาวนาน พืชจะตายก่อนกำหนด หรืออุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0
องศาเซลเซียสอาจจะฆ่าต้นพืช เพราะน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์และภายในเซลล์กลาย
เป็นน้ำแข็งใบของต้นพืชที่ถูกกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากเกินไปจะสูญเสียน้ำและเนื้อ
เยื่อจะตาย โดยเริ่มที่ปลายใบก่อนเป็นที่ขอบใบ ต้นพืชจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว อาการ
ที่พบ คือ เกิดแผลพอง (scald) ที่ผล และอาการแผลแตก (heat canker) ที่ลำต้น

3.3 แสง ได้รับแสงไม่เหมาะสมกับประเภทของพืช



4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอาจเป็นสาเหตุที่ทำความเสีย
หายแก่พืช เช่น การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช
ชนิดต่าง ๆ (สารกำจัดเชื้อสาเหตุโรค สารกำจัดแมลง และสารกำจัดวัชพืช) โดย
อาจใช้ในอัตราที่เข้มข้นสูงเกินไป เลือกสารไม่เหมาะสมกับพืช ซึ่งจะทำให้พืชแสดง
อาการใบไหม้หรือใบจุดได้


ค. โรคพืช อันเกิดจากศัตรูของพืช

จำพวกจุลินทรีย์และไส้เดือนฝอย เช่น เชื้อรา (fungi), แบคทีเรีย (bacteria),
ไส้เดือนฝอย (nematode), ไฟโตพลาสมา (phytoplasma), ไวรัส (virus),
ไวรอยด์ (virord) เป็นต้น

1. เชื้อราสาเหตุโรคพืช
ลักษณะของเชื้อราทั่วไปจะเป็นเส้นใยคล้ายเส้นด้ายละเอียด มีขนาดเล็กมาก มอง
ด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะเห็นได้เมื่อมีการเจริญเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นกลุ่มโคโลนีของ
เส้นใย สปอร์ก็จะเจริญและงอกเข้าไปในพืชโดยการแทงผ่านผิวพืชเข้าไปในพืชได้
โดยตรง หรืองอกแล้วแทงผ่านเข้าไปตามแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือ
เข้าตามช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ เมื่อเข้าไปแล้วเชื้อราพวกนี้ก็จะมีการสร้าง
สารพิษ เอนไซม์ หรือสารกระตุ้นต่าง ๆ ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย เกิดการ
เปลี่ยนแปลงผิดปกติไป มีเชื้อรามากกว่า 8,000 ชนิดที่เป็นสาเหตุโรคพืช ไม่น้อย
กว่า 100,000 โรค

เชื้อราสาเหตุโรคพืชสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะอาการต่าง ๆ ของโรคได้ เช่น โรค
เน่าคอดิน (damping off), ราสนิม (rust), ราแป้ง (powdery mildew), จุด
นูนดำ (tar spot), ใบไหม้ (leaf blight), ยอดตาย (dieback), แผลแตกตาม
ลำต้น (canker) ฯลฯ เป็นต้น

2. เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว มีผนังแข็งห่อหุ้มเซลล์ (cell wall) รูปร่างจึงคง
ที่ ขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

แบคทีเรียสาเหตุโรคพืชมีประมาณ 200 ชนิด ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นทอนสั้นและไม่
สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วย
ให้มีอายุนานและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียบางชนิด
สามารถผลิตสารพิษและเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายได้ บางชนิดสร้าง
สารเร่งการเจริญเติบโตไปทำให้เซลล์พืชเจริญมากผิดปกติ เกิดอาการบวมพอง เป็น
ปุ่มปม

แบคทีเรียเข้าทำลายพืชได้ทางแผลที่เกิดขึ้นตามผิวพืชและทางช่องเปิดธรรมชาติ
เช่น ปากใบ

การแพร่กระจายของแบคทีเรียไปสู่ที่ต่าง ๆ จะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับการ
แพร่ระบาดของเชื้อรา

แบคทีเรียมักจะถูกยับยั้งการเจริญได้ง่ายโดยการปฏิชีวนะแทบทุกชนิด รวมทั้งสาร
ประกอบที่มีธาตุทองแดงเป็นส่วนผสม

3. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขนาดเล็กมากยากที่จะมองเห็นได้ด้วยตา
เปล่า มีลักษณรูปร่างยาวเรียวเป็นส่วนใหญ่ บางชนิดตัวเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะ
บวมพอง อ้วนกลม ไส้เดือนฝอยดูดแย่งอาหารจากพืชโดยใช้หลอดดูดอาหารใน
ช่องปากที่มีลักษณะเป็นเข็มกลวงปลายแหลมเรียกว่า spear หรือ stylet บาง
ชนิดเกาะติดอยู่ภายนอกส่งเฉพาะ stylet เข้าไปดูดอาหารในเซลล์พืช บางชนิดปัก
เฉพาะส่วนปากและหัวเข้าไป บางชนิดเข้าไปอยู่ในพืชทั้งตัว ทำให้พืชเป็นโรคโดย
ทำลายเซลล์พืชหรือไปเปลี่ยนแปลงขบวนการเจริญเติบโตของพืชให้ผิดปกติไป

4. เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพืช
เริ่มมีรายงานว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคได้ เมื่อ พ.ศ. 2503 มีเซลล์เดียวและมีเฉพาะ
เนื้อเยื่อห่อหุ้มเซลล์ แต่ไม่มีผนังล้อมรอบ ทำให้รูปร่างของเซลล์ไม่แน่นอน จะพบ
อยู่ในเซลล์พืชเท่านั้น โดยเฉพาะที่ท่อลำเลียงอาหารทำให้พืชแสดงอาการเหลือง
ผิดปกติ เชื้อแพร่ระบาดได้ดี โดยมีแมลงพวกปากดูดเป็นพาหะพาไป โดยเฉพาะ
เพลี้ยจักจั่น ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญและทวีจำนวนในตัวแมลงได้ ลักษณะเฉพาะของเชื้อ
อีกประการหนึ่งคือมีสารปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถยับยั้งการเจริญหรือ
ฆ่าเชื้อบนพืชได้คือสารเตตราไซคลีน (tetracycline) ปัจจุบันมีรายงานพบเชื้อ
ไฟโดพลาสมามากกว่า 80 ชนิดเป็นสาเหตุโรคของพืชกว่า 300 ตระกูล

5. เชื้อไวรัสและไวรอยด์สาเหตุโรคพืช
ไวรัสและไวรอยด์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด อนุภาคของไวรัสมีเฉพาะกรด
นิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาร์เอ็นเอ และโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
เท่านั้น ไวรอยด์ไม่มีโปรตีนมีแต่อาร์เอ็นเอ (RNA) จะมองเห็นได้เมื่อใช้กล้อง
จุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (Electron Microscopes) กำลังขยาย 2,000-3,000
เท่า มีรายงานว่าพบไวรัสไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่สามารถเข้าทำลายและเป็นสาเหตุ
โรคพืชได้

ง. โรคพืช อันเกิดจากศัตรูของพืช
จำพวกแมลง


*** เรื่องโรคพืชยังมีต่อ และต้องขออภัยที่ยังไม่มีภาพประกอบเนื้อหา ซึ่งจะปรับ
ปรุงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป


http://www.fernsiam.com/Article/A005-Pathology.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/06/2013 7:05 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 3:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต....


มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ชนิดจะมีคุณสมบัติการเข้าทำลาย
พืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อ แต่ละชนิดพอเป็น
สังเขป ดังต่อไปนี้

๑. เชื้อรา
เป็นเชื้อที่พบว่าทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บน
พืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผล
เน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรค
ด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลมหรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติด
ไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดิน
เป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิด
ธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกัน คือ

๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำหรือ
ราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซ
ติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate
hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางใน
ถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มี
ลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์
(oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่
ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่า
นี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไปหรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ
กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโร
สปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลา
สโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อ
ไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate
hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia)
และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโค
สปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่ง
ประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด
(perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้
สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อ
ราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรครา แป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น

๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยาย
พันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศโดยผสม
ระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะแาละเพศต่างกัน เกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์
(basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บนเส้นใยที่มีรูปร่าง
คล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคพืช
ต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิมของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลา
โก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำของอ้อย เกิดจากเชื้อยูสติ
ลาโก ไซทามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น

๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of
deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่ว
คราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมี
เพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิ
ดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบ
พันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า
โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ
คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส
(acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา
(synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยใน

การวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไป
กับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็น โรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุ
ของโรคพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญ
หลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น
ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา
เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น


๒. บัคเตรี (Bacteria)
จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมา ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑,๐๐๐ เท่า
และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม
(spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว
(spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืช
จะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ
(gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic
bacteria) คือต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส
และไม่ย่อยแป้งมักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืชมันก็จะเข้าทำลายพืชชอบ
สภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่
เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย
อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส


๓. ไวรัส (virus)
เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
(light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron
microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วย
โปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้อง
เป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะ
ประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะใน
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติทำให้พืชแสดงอาการผิด
ปกติหรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยน
รูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่

๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิด
ใบด่างกับยาสูบคือเชื้อ โทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic
virus, TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิด
โรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็น
สาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่
มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้
ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำ
ให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผลซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกันของต้นไม้
ในธรรมชาติ หรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้า
ทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเองเหมือนเชื้อรา บางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะ
สำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวางรวดเร็วและยากลำบากต่อการ
ป้องกันและกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของ
ข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่ว
ต่างๆ ฯลฯ

ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมากดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของ
ต่างประเทศที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาว
ยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ
๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล
ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาดโดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายใน
เวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕
เปอร์เซ็นต์ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้
จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอด
บวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลด
ลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟน
ลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาดโดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำและติดไป
กับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรคตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้
ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืช
ผลของเราต่อไป


๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)
เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็ก
กว่าบัคเตรีแต่ใหญ่กว่าไวรัสไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบาง
ชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาดโดยมีแมลงบางชนิด
เป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้โดยต้นฝอยทอง
(dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดงเนื่องจากการ
เข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ส่วนของพืชที่มีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
(yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches' broom) บริเวณจุด
เจริญต่างๆ เช่นยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก
(phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิด
จากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้
กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น


๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะ
ต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไปทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่าง
กายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาด
ค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการราก
ปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็น
พาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปม
ของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือน
ฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลาย
ผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการ
แบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปมบางครั้งทำให้
ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสี
เหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณ
กว่า ๒,๕๐๐ ชนิด

นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวก
มีดอกแต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกิน
น้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติและการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว
บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้น
ฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรคที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น



http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK7/chapter4/t7-4-l2.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2011 4:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 3:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาเหตุที่ทำให้พืชเป็นโรค


ในการเกิดโรคของพืชจะแบ่งโรคที่เกิดกับพืชออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. โรคพืชที่ไม่ติดเชื้อ
โรคประเภทนี้จะเกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และเป็นโรคที่เกษตรกรมักไม่ค่อยทราบกัน
หรือมีการแก้ปัญหาที่ผิด เนื่องมาจากลักษณะความผิดปกติบางกรณีนั้น มีความ
คล้ายคลึงกับการเกิดโรคจากสิ่งมีชีวิต เช่น การขาดปุ๋ย ขาดธาตุอาหารรอง อาหาร
เสริม ความเป็นกรดเป็นด่างของสภาพดิน ดินเปรี้ยว สภาพอากาศร้อนหรือเย็นจัด
ความชื้นมากเกินไป แสงมากหรือน้อยเกินไป การขาดออกซิเจน การเกิดมลภาวะ
หรืออากาศเป็นพิษ โดยสารเคมีต่างๆ สาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้พืชเกิด
ความผิดปกติได้ทั้งสิ้น



2. โรคพืชที่ติดเชื้อ
โรคประเภทนี้เกิดจากเชื้อที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรคของพืชได้แก่

เชื้อรา
เป็นพืชชั้นต่ำประเภทหนึ่ง ไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการรับ
อาหารจากพืชหรือสัตว์อื่น เชื้อราส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเส้นใย เมื่อรวมกลุ่มกัน
เรียกไมซีเลียม การขยายพันธุ์มีทั้งแบบใช้เพสและไม่ใช้เพศ แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ มี
ลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิด ซึ่งมีมากกว่า 8,000 ชนิด ซึ่งโรคพืชที่ติดเชื้อกว่า
80% เกิดมาจากเชื้อรา


เชื้อแบคทีเรีย
แบคทีเรียมีรูปร่างหลายแบบ เช่น ทรงกลม เป็นท่อน รูปโค้ง หรือบิดเป็นเกลียว มีทั้ง
ที่อยู่เดี่ยวๆหรือติดต่อกันหลายเซลล์ บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้ บางชนิดเคลื่อนที่ได้
โดยอาศัยหาง อาจเป็นหางเดี่ยวๆหรือมีหลายหางโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมัก
เกิดอาการฉ่ำน้ำที่บริเวณแผล ซึ่งแตกต่างจากอาการที่เกิดจากเชื้อโรคพืชชนิดอื่นๆ
อาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแบ่งออกได้ 5 พวก คือ


พืชแสดงอาการเน่าเละ เกิดจากเชื้อ Erwinia
พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉา เพราะเชื้อเข้าไปเจริญอยู่ในท่อน้ำและท่ออาหาร
พืชแสดงอาการแห้งตายอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบแห้งหรือใบไหม้ เพราะเชื้อเข้าไป
เจริญอยู่ในน้ำเลี้ยงระหว่างเซลล์ของพืช เช่น โรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อ
Xanthomonas

พืชแสดงอาการเป็นแผล เป็นจุด มีขอบเขตแน่นอน เช่น โรคใบจุดฝ้าย โรคใบขีด
โปร่งแสงข้าว ในบางกรณีที่รอบๆแผลอาจมีสะเก็ดแข็งเจริญขึ้นมา ฟูพองคล้าย
ฟองน้ำ เช่น โรคแคงเกอร์ และโรคขี้กลากหรือสะแคบ พืชแสดงอาการบวม โป่งพองออกเป็นปุ่มปม


เชื้อไวรัส
เป็นเชื้อโรคพืชที่มีอนุภาคขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
อนุภาคของเชื้อไวรัสประกอบด้วยโปรตีมและดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ๊นเอ อย่างใดอย่าง
หนึ่ง ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพืชมีรูปร่างหลากหลายแบบ เช่น ทรงกลมหลายเหลี่ยม
ท่อนตรง ท่อนคด หรือคล้ายแบคทีเรีย


อาการของพืขที่เป็นโรค

สีเปลี่ยนไป เนื่องจากการสร้างสีเขียว หรือคลอโรฟิลล์เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิด
อาการด่าง เช่น โรคใบด่างยาสูบ โรคในสีส้มข้าว
การเจริญเติมโตผิดปกติ เช่น เกิดใบหงิก หรือในคลื่น ที่พบในฝ้าย
อาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสั้น ใบเล็กเรียว
เกิดเป็นรอยขีด เพราะการแห้งตายของเซลล์พืช
พืชแสดงอาการขาดน้ำ เพราะเกิดความผิดปกติในท่อน้ำ


เชื้อมายโคพลาสมา
ประกอบด้วย RNA และ DNA เช่นเดียวกับแบคทีเรีย แต่ไม่มีผนังเซลล์ อาจมีเพียง
เยื่อบางๆล้อมรอบเซลล์ ด้วยเหตุนี้มายโคพลาสม่าจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน และ
สามารถสร้างความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะที่มีผลต่อการสร้างผนังเซลล์เช่นเพนิ
ซิลลินได้ดี อาการของพืชที่เกิดโรคมักแสดงอาการเหลืองเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้
อาการที่ตาข้าง ยอด และใบอ่อนมักมีการแบ่งตัวมากผิดปกติ ทำให้ยอดแตกฝอย
เป็นพุ่ม


ไส้เดือนฝอย
ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรค (Nematode) เป็นสัตว์ที่มีลำตัวกลมยาวคล้ายเส้น
ด้าย ลำตัวไม่มีปล้องเหมือนไส้เดือนดิน มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ไส้เดือนฝอยหลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายพืชโดยตรง และยังเป็นสาเหตุที่ทำ
ให้เกิดโรคพืชอีกด้วย ไส้เดือนฝอยที่พบในประเทศไทย เช่น

ไส้เดือนฝอยรากปม เป็นไส้เดือนฝอยที่พบแพร่หลายมากที่สุดในโลก สามารถ
ทำลายพืชได้อย่างกว้างขวางกว่า 2,000 ชนิด
ไส้เดือนฝอยรากแผล ทำลายพืชได้มากกว่า 100 ชนิด
ไส้เดือนฝอยรากส้ม
ไส้เดือนฝอกรากข้าว
ไส้เดือนฝอยทำลายใบพืช เช่น ไส้เดือนฝอยที่พบในเบญจมาศและข้าว เป็นต้น





โรคพืชและปัจจัยที่เหมาะสมในการเกิดโรค

หมายถึง ลักษณะอาการของพืชที่ผิดปกติไปจากเดิม เพราะกระบวนการทาง
สรีรวิทยาเปลี่ยนไป เช่น การสังเคราะห์แสง การแบ่งเซลล์ การลำเลียงน้ำและ
อาหารของพืชถูกขัดขวางหรือทำลายอย่างต่อเนื่อง โดยอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม
อาจจะเป็นลักษณะใบ ดอก ผล ลำต้น หรือราก รูปร่างและขนาดผลมักเล็ก ผลแตก
ร่วงใบอาจมีจุด มีแผลใบไหม้ ใบเปลี่ยนสี รากเน่า เน่าทั้งต้น หรือการแห้งตายทั้งต้น

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อโรคเป็นเพียงแค่สาเหตุหนึ่งเท่านั้น โดยส่วนใหญ่เราจะคิดว่า
โรคต้องเกิดจากเชื้อโรคเข้ามากระทำเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีโรคที่เกิด
สาเหตุอื่นๆ เช่นเกิดจากแมลง การขาดธาตุอาหาร หรือสภาพแวดล้อม

การเกิดโรคพืชจะมีปัจจัย 4 ประการ คือ มีพืชที่เป็นที่อาศัยของโรคพืช (Host)
เชื้อโรค (รา แบคทีเรีย ไวรัส ไส้เดือนฝอย มายโคพลาสมา หรือไฟโตพลาสมา)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (อุณหภูมิ ความชื้นที่เหมาะสม) ระยะเวลาที่เหมาะสม

ในเรื่องการจัดการโรคพืชนั้นเราจะใช้ปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้เป็นส่วนสำคัญในด้าน
การจัดการโรคพืช โดยการทำให้ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมในการเกิดโรค
พืช เช่น ทำให้พืชแข็งแรง (พืชคือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไม่ต่างจากคน) เพื่อเพิ่มภูมิต้าน
ทานโรคและแมลง หรือทำให้ต้นพืชในแปลงไม่เหมาะสมในการเข้าทำลาย อยู่
อาศัย หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการอยู่อาศัย เป็นต้น



http://www.modernkaset.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2011 4:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปฏิบัติทั่วไปเพื่อการลดการระบาดของศัตรูพืชเกษตร

(ปรับปรุงจากคู่มือโรคพืชรัฐเท็กซัส -- มหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนอ็ม)

พืชมีอาการผิดธรรมชาติเมื่อมีโรคหรือแมลงศัตรูเข้าทำลาย ต้นเหตุของอาการผลิต
ธรรมชาติอาจจะมีผลจากโรคแมลงศัตรู หรือสภาพธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุ
ของโรคแมลงศัตรูได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา นีมาโทด เชื้อไวรัส ไฟโตพาสมา ต้นพืช
ที่ติดเชื้อมาก่อนหน้าที่จะย้ายปลูก และแมลงศัตรู ตัวอย่างของสาเหตุทางสภาพ
ธรรมชาติ ได้แก่ สภาพอากาศเป็นพิษ ดินเค็ม ดินกรด อุณหภูมิสูง ขาดธาตุอาหาร
หรือมีธาตุอาหารมากเกินความต้องการ และ ความแห้งแล้ง การดูแลรักษาบางวิธี
การมีส่วนช่วยให้ลดการเสียหายได้บางส่วน ดังนั้นการจัดการแบบบูรณาการของ
หลายวิธีการจึงมีความเป็นไปได้ในการ นอกจากนี้เชื้อของโรคและแมลงศัตรูมี
วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเกิดมีศัตรูชนิดใหม่ได้ ตลอดจนการพัฒนาความ
สามารถในการต่อต้านสารเคมี ดังนั้นการผสมผสานวิธีการหลากหลายวิธีจะมีส่วน
ช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการสูญเสียได้

๑. การปลูกพืชหมุนเวียน :
แมลงและเชื้อโรคมีความเหมาะสมกับพืชเกษตรชนิดใดชนิดหนึ่ง วิธีการปลูกพืช
หมุนเวียนเพื่อตัดวัฎจักรนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ใช้อย่างแพร่หลาย และช่วยให้ ประชากร
ของแมลงและเชื้อโรคลดลงได้ อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกว่าวิธีการนี้ไม่สามารถช่วย
ให้ขจัดปัญหานี้ทั้งหมด แต่ละช่วยให้ลดความเสียหายจากโรคพืช-ศัตรูได้

๒. การใช้ปุ๋ยเคมี :
ปุ๋ยเคมีมีส่วนเสริมให้การพัฒนาโรคและแมลงศัตรู มีความแตกต่างระหว่างพืช แต่
โดยทั่วไป การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินธาตุอาหารอื่นมีส่วนทำให้โรคทางใบของพืช
พัฒนาได้ และทำให้เกิดโรคได้โดยง่ายในพืชบางชนิด ในทางตรงกันข้ามปุ๋ย
โพแทสเซียมมีส่วนช่วยให้ลดการพัฒนาของโรคพืชได้เมื่อมีการใส่อย่างสมดุลกับ
ธาตุอาหารอื่น การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างไม่สมดุลอย่างมีผลต่อสารระเหยต่อต้านแมลง
ของพืชได้


๓. การฝังกลบเศษซากพืช :
เชื้อโรคและแมลงบางชนิดมีความสามารถพักตัวข้ามฤดูหนาวในเศษซากพืชซึ่งถูก
ปล่อยทิ้งไว้ในแปลงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต การทำความสะอาดพื้นที่แปลงและ
การฝังกลบเศษซากพืชจะมีส่วนช่วยให้การเชื้อโรคและแมลงขาดอากาศและอ็อกซิ
เจนซึ่งสำคัญต่อการหายใจ ทำให้ลดจำนวนประชากรของเชื้อโรคและสิ่งมีชีวิตที่เป็น
สาเหตุของศัตรูได้ และช่วยลดความสูญเสีย

๔. การปลูกพืชโดยการยกร่อง :
เนื่องจากการมีน้ำมากเกินได้ในดินทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี และทำให้เกิด
การเพิ่มประชากรเชื้อโรคในดิน วิธีการปลูกพืชโดยการยกร่องทำให้รากพืชเจริญเติบ
โตได้ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในดินที่มีการระบายน้ำเลว และป้องกันโรคที่มีเชื้อใน
ดินได้ เช่นโรคเหี่ยว เป็นต้น


๕. เวลาปลูก :
เกษตรกรมีความเข้าใจและประสบการณ์เป้นอย่างมากเกี่ยวหับการป้องกันและลด
ความสูญเสียจากศัตรูพืช การปลูกข้าวสาลีให้ช้ากว่าปกติทำให้หลีกเลี่ยงโอกาสของ
การระบาดของไวรัส streak mosaic ได้ และการปลูกฝ้ายให้เร็วกว่าปกติในต้นฤดู
ใบไม้ผลิช่วยลดโรครากเน่าได้ cotton root rot

๖. พืชอาสาสมัคร :
เกษตรกรมีความเข้าใจและประสบการณ์เป้นอย่างมากเกี่ยวหับการป้องกัน

๗. เก็บต้นพืชที่ถูกทำลายออกจากแปลง :
การถอนต้นพืชที่มีอาการของโรคทิ้งเป็นวิธีการปฏิบัติที่ได้ผลอย่างหนึ่ง โรคที่เกิด
จากเชื้อไวรัสในผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง และ โรคเหี่ยวของ cucurbits เป็นตัวอย่างที่
ดีของวิธีการนี้ วิธีการปฏิบัติในแปลงปลูกที่กล่าวมาพบว่ามีความเป็นไปได้ทาง
เศรษฐศาสตร์ในการลดการสูญเสียจากโรคพืช เกษตรกรผู้ผลิตควรจำแนกโรคและ
แมลงที่ทำให้ผลผลิตลดลงและใช้วิธีการปฏิบัติที่หลากหลายในการควบคุมอย่าง
บูรณาการ



http://www.clinickaset.net/AtractThai/GeneralInformation/CulturalPractices.asp


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2011 4:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 4:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาเหตุของโรค


เมื่อต้นพืชถูกรบกวนด้วยสาเหตุของโรคพืช ต้นพืชจะแสดงลักษณะอาการผิดปกติ
ไปจากเดิม อาการอาจเกิดได้แบบเดียวหรือหลายแบบในเวลาเดียวกันบนพืชต้น
เดียวกันได้ ทุกส่วนของต้นพืชตั้งแต่ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรือทั้ง
ต้น อาจแสดงอาการผิดปกติได้ โดยพอจะแยกอาการผิดปกติ หรืออาการของโรคที่
เกิดกับส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช ดังนี้

โรครากเน่า
รากของต้นพืชเกิดอาการเน่าสีดำ หรือสีน้ำตาล เปลือกหลุดล่อน เกิดได้จากการ
ทำลายของเชื้อรา และน้ำท่วมขัง

โรครากปม
รากต้นพืชมีอาการบวมพองออก ลักษณะเป็นปุ่มปม อาการพองหรือปมจะเกิดจาก
ภายในรากออกมา มักเกิดจากการ ทำลายของไส้เดือนฝอย

โรคเน่าคอดิน หรือโรคต้นกล้าเน่า
บริเวณโคนต้นพืช เกิดแผลเน่าและมีการลุกลามขยาย โดยมักทำให้เปลือกต้นเน่า
เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ หากถากเปลือกออก ส่วนเนื้อลำต้นมักมีอาการของแผลเน่าสี
น้ำตาล หรือสีน้ำตาลแดง ส่วนมากเกิดจากการทำลายของเชื้อรา

โรคยางไหล
จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหล
ออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของส้ม ซึ่งเกิดจากเชื้อรา และโรคยาง
ไหลของพืชบางชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เช่น อาการยางไหลของมะม่วง

โรคยอดแห้งตาย
อาการแห้งตาย จะพบที่ยอดก่อน ต่อมาจะลุกลามมาตามกิ่งก้าน จนในที่สุดอาจตาย
ทั้งกิ่งหรือทั้งต้นได้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดแห้งของส้มและ
มะนาว เป็นต้น ต้นพืชหลายชนิดที่ปลูกในบ้านอาจเกิดอาการยอดแห้งตาย เนื่องจาก
ถูกแสงแดดจัดเผา หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้หลายสาเหตุ

โรคใบจุด
เกิดเป็นแผลที่ใบ มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลอาจ
เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ บนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะ
ทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบ
จุดของถั่วเขียว โรคใบจุดของคื่นฉ่าย โรคใบจุดของถั่วฝักยาว เป็นต้น

โรคใบไหม้
เกิดแผลแห้งตาย ขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตของแผลจะลุกลาม
ขยายได้กว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วน
มากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของทานตะวัน โรคใบไหม้ของ
เบญจมาศ เป็นต้น

โรคแอนแทรคโนส
ใบพืชที่เกิดโรคนี้ จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็น
วงซ้อน ๆ กันค่อนข้างชัดเจนในบางพืช โรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิด
จากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของมะละกอ มะม่วง กล้วยไม้ และไม้ใบประดับ
หลายชนิด

โรคราน้ำค้าง
อาการโรคราน้ำค้างพบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด มักพบอาการใบลาย
เป็นแถบสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอ
เหมาะ จะพบผลสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น พืชตระกูล
แตง จะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชผัก เช่น ผักคะน้า จะ
เห็นเป็นจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ ติดอยู่ โรคนี้เกิด
จากการทำลายของเชื้อรา

โรคราแป้งขาว
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ คล้าย ๆ กับเอาแป้งไป
โรยคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบ หรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง
ตาย เช่น โรคราแป้งขาวของบานชื่น และโรคราแป้งขาวของกุหลาบ เป็นต้น

โรคราสนิมเหล็ก
เป็นจุดแผลขนาดเล็ก สีสนิมบนใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือ
ลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมได้ชัดเจน โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครา
สนิมของถั่วฝักยาว โรคราสนิมของขาไก่ดำ เป็นต้น

โรคราดำ
โรคนี้จะมีอาการเป็นผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบ หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบ
ผงสีดำ ซึ่งเป็นส่วนของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราจะหลุดออก เชื้อราชนิดนี้ จะไม่
แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นเจริญปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบภายหลังการทำลาย
ของเพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง หรือแมลงหวี่ขาว เนื่องจากราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำ
หวานที่แมลงเหล่านั้นขับถ่ายออกมา โรคนี้ที่พบมาก เช่น โรคราดำของมะม่วง
โรคราดำของมะยม

โรคใบด่าง
มีหลายลักษณะ แล้วแต่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เกิดจากการ
ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัส
ส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบเป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น
โรคใบด่างของกล้วยไม้ โรคใบด่างของยาสูบ และโรคใบด่างของผักต่าง ๆ บางครั้ง
อาจจะพบอาการด่างเป็นวงแหวน เช่น โรคใบด่างวงแหวนของมะละกอ หรือโรคใบ
ด่างวงแหวนของกุหลาบ

โรคใบหงิก
ใบจะหงิกม้วนงอเป็นคลื่น หรือมีอาการยอดหงิก ต้นพืชจะแคระแกร็น มีการเจริญ
เติบโตช้า และพืชทั้งต้นจะมีขนาดเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ โรคนี้เกิดจาก
ไวรัส เช่น โรคใบหงิกของมะเขือเทศ โรคใบหงิกของยาสูบ เป็นต้น

โรคใบขาว
ใบจะมีสีขาวซีด และต้นแคระแกร็น เนื่องจากพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ตาม
ปกติ เช่น โรคใบขาวของอ้อย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไฟโคพลาสมา ทำให้อ้อยมีการ
แตกลำน้อย และน้ำหนักของลำอ้อยลดลงมาก หรือโรคใบขาวของหญ้าแพรก โรค
ใบขาวของหญ้านวลน้อย หรือโรคใบขาวของหญ้ามาเลเซีย เป็นต้น พืชหลายชนิดที่
ปลูกในกระถางเป็นเวลานาน ๆ และไม่มีการเปลี่ยนดิน หรือเครื่องปลูก มักทำให้ดิน
แน่นและต้นพืชเกิดการขาดอาหาร ต้นพืชอาจแสดงอาการซีดเหลืองได้เช่นกัน

อาการผิดปกติที่ดอก
พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยว
เสียรูปทรง ดอกเน่า และโรคแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อ
รา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของ
แคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

โรคเมล็ดเน่า-เมล็ดด่าง
เมล็ดจะเน่าและไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ เพราะมีเชื้อโรคหลายชนิดเข้าทำลาย
เช่น เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น มักเกิดขึ้นในกรณีที่เก็บรักษาเมล็ดไม่ดี เช่น
เมล็ดที่มีความชื้นสูง หรือเปียกน้ำ หรืออาจมีเชื้อโรคติดปนเปื้อนอยู่กับเมล็ด

โรคผลจุด
ลักษณะของแผลแตกต่างกัน บางครั้งจะพบเชื้อราตรงบริเวณแผลชัดเจน แผลอาจ
เกิดกระจายกันทั่วผล หรืออาจขยายใหญ่รวมกัน ทำให้ผลเน่าก็ได้ โรคนี้ส่วนมาก
เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลจุดของฝรั่ง เป็นต้น

โรคผลเน่า
เกิดแผลสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลดำบนผล ต่อมาแผลจะขยายลุกลามต่อไป ถ้าสภาพ
แวดล้อมเหมาะสม อาการนี้จะพบตั้งแต่ผลอยู่บนต้น จนถึงหลังการเก็บเกี่ยว ส่วน
มากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคผลอ่อนของขนุนเน่า โรคผลเน่าของ
กล้วย และโรคผลเน่าของมะละกอ โรคผลเน่าของมะม่วง โรคผลเน่าของชมพู่ เป็นต้น

โรคผลแตก
ผลจะมีอาการแตกแยกเป็นร่อง ซึ่งมักเกิดจากการได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ หากพืชขาด
น้ำนาน ๆ แล้วต่อมาฝนตกหนักกะทันหัน ก็จะทำให้ผลแตกได้ เช่น อาการผลแตก
ของผลอ่อนของมะม่วง อาการผลแตกของส้มโชกุน

โรคเน่าเละ
อาการเน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งผล ราก หัว และใบของพืช
ผัก เมื่อเป็นโรคนี้ ผักจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น
โรคเน่าเละของปทุมมาและกระเจียว โรคเน่าเละของชวนชม โป๊ยเซียน กระบอง
เพชร และกุหลาบหิน

โรคเหี่ยว
ต้นพืชอาจแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเหี่ยวเนื่องจากการ
ขาดน้ำ เมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่ เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อ
น้ำ และท่ออาหารของพืช สาเหตุโรคเหี่ยวเกิดจากการทำลายของเชื้อรา และเชื้อ
แบคทีเรียหลายชนิด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ โรคเหี่ยวของพืชตระกูลแตง โรค
เหี่ยวของกล้วย เป็นต้น

ต้นพืชแคระแกร็น
ต้นพืชอาจจะแสดงอาการแคระแกร็น เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก
การปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ อาจเกิดจากการขาดธาตุอาหาร หรือมีไส้เดือนฝอย
หรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืช
ไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

ต้นพืชเติบโตผิดปกติ
ต้นพืชอาจมีอาการผิดปกติ เช่น ต้นยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก
หรือติดเมล็ด พืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป อาจทำให้เฝือใบ ไม่ออกผล ไม้
ดอกจะออกดอกน้อยลงหรือไม่ออกดอก เป็นต้น หรือหากต้นพืชได้รับแร่ธาตุ
อาหาร และน้ำไม่สมดุลย์ อาจมีเชื้อไวรัสหรือเชื้อไฟโตพลาสมาเข้าทำลายก็
สามารถแสดงอาการเติบโตผิดปกติได้


http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=160531903994956


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2013 7:30 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2011 4:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารอนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช


ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้
สำหรับคนไทยทุกคน

สารอนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช
สารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช ได้แก่ กำมะถัน บอร์โดมิกซเจอคร์ พืชที่
สมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร คอปเปอร์ซับเฟต คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์
คอปเปอร์ออกซี คลอไรด์

การควบคุมแมลง สำรวจแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก หากพบแมลงศัตรูพืชให้ปฏิบัติ
ได้ดังนี้

1. ถ้าแมลงมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพจากพืช หรือสารสกัดจาก
พืชสมุนไพร เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ หางไหลแดง สะเดา เป็นต้นใช้
จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อไวรัสเอ็นพีวี เชื้อแบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอย ศัตรู
ธรรมชาติ เชื้อราเมตาไลเซี่ยม ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน น้ำสบู่ สารทำหมันแมลง

2.หากแมลงระบาด ใช้กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง ใช้
ไว้ท์ออยล์ หรอมิเนอรัล ออยลฺ์



การควบคุมวัชพืช
1. ควรควบคุมก่อนวัชพืชออกดอก
2. ควบคุมโดยวิธีทางกายภาพ เช่น อบ ตาก บด ถอน ตัด ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุม
ดิน ใช้พลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง



กับดักกาวเหนียว



ควบคุมวัชพืชโดยวิธีการทางกายภาพ


3. ใช้สารสกัดจากพืช
4. ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือจุลินทรีย์



http://xad.thaibizcenter.com/knowledgecenter.asp?kid=9083
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/06/2013 7:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด



คำนำ
ศัตรูพืชจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญของการกสิกรรม ทั้งนี้เพราะว่ากว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตพืชอาหารของโลกต้องลดลง เนื่องจากการทำลายและการรบกวนของศัตรูพืช ทำให้กสิกรต้องหาหนทางและวิธีการต่างๆ นำมาใช้เพื่อการควบคุมศัตรูพืช พบว่าในแต่ละปีกสิกรได้ใช้จ่ายทั้งเงิน เวลา และความรู้ต่างๆ รวมกันเป็นมูลค่าถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลผลิตที่ได้รับ ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุปรวมกันว่าในแต่ละปีกสิกรได้สูญเสียแก่ศัตรูพืช และการควบคุมศัตรูพืชถึงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลผลิตรวม (Shaw, 1982) สำหรับในประเทศไทยก็ได้มีรายงานว่าในแต่ละปีประมาณการสูญเสียผลผลิตพืชถึง 10-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากศัตรูพืชชนิดต่างๆ (Soontorn et al., 1996) ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับศัตรูพืช และวิธีการควบคุมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการจัดการศัตรูพืชในการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตตามศักยภาพของพันธุกรรมพืช

ในหัวข้อศัตรูพืชและการป้องกันกำจัดเบื้องต้นนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องต่อไปนี้คือ ชนิดของศัตรูพืช แหล่งที่มาของศัตรูพืช สาเหตุการแพร่ระบาดของศัตรูพืช ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ระบาด ความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืช ระดับของความเสียหาย หลักการควบคุมศัตรูพืช วิธีการควบคุมศัตรูพืช และหลักปฏิบัติในการศัตรูพืชโดยวิธีใช้สารเคมี


11.2 ชนิดของศัตรูพืช
ศัตรูพืช (pest) หมายถึง ปัจจัยชีวภาพ (biotic factors) ในการกสิกรรม ที่ก่อความเสียหายต่อพืชปลูก และเป็นสาเหตุทำให้ศักยภาพของการกสิกรรมลดลง หรืออาจหมายถึงสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง ศัตรูพืชที่สำคัญได้แก่ แมลง ศัตรูพืช (insect pest) โรคพืช (plant disease) วัชพืช (weed) และ ศัตรูอื่นๆ (other) เช่น นก หนู กระรอก ปู ไรแดง หอยทาก เป็นต้น

11.2.1 แมลงศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช หมายถึงสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง (urthropods) จัดอยู่ในชั้น (class) Insecta ประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 26 อันดับ (order) ซึ่งสัตว์เหล่านี้ได้ก่อความเสียหายแก่พืชเพาะปลูก แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนศรีษะ (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) ซึ่งบนส่วนอกมี 3 ปล้อง ซึ่งแต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนท้องมี 8-11 ปล้อง แมลงมีผนังหุ้มลำตัวแข็ง (exoskeleton) ดังนั้นการเจริญเติบโตของแมลงจึงต้องอาศัยการลอกคราบ (molting) การจำแนกชนิดของแมลงที่ถูกต้องจะแบ่งตามหลักการอนุกรมวิธานโดยนักกีฎวิทยา (entomologist) แต่ในที่นี้จะขอแบ่งชนิดของแมลงศัตรูพืชออกตามลักษณะของการทำลายดังนี้

1) แมลงจำพวกกัดกินใบ (leaf feeder) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง แมลงพวกนี้มีปากแบบกัดกิน (chewing) สามารถกัดกินใบทั้งหมด หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดที่สะสมอาหาร หรือขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตต่อไป

2) แมลงจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง (juice sucker) ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด

เพลี้ยจั๊กจั่น และมวนต่างๆ แมลงจำพวกนี้มีปากแบบดูด (sucking) สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก หรือ ผล ทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต หรือแคระแกร็น และนอกจากนี้แมลงจำพวกนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดและแพร่กระจายโรคพืชที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุอีกด้วย

3) แมลงจำพวกหนอนชอนใบ (leaf minor) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด แมลงจำพวกนี้มักมีขนาดเล็ก กัดกินเนื้อเยื่ออยู่ระหว่างผิวใบพืช ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสงหรือขาดส่วนสะสมอาหาร

4) แมลงจำพวกหนอนเจาะลำต้น (stem borer) ได้แก่ หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ และปลวก แมลงจำพวกนี้มักวางไข่ตามใบหรือเปลือกไม้ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนก็จะชอนไชเข้าไปอยู่ในกิ่ง ลำต้น หรือผล ทำให้ต้นพืชขาดน้ำและอาหารแล้วแห้งตายไป หรือทำให้ผลไม้เน่า, หล่น เสียหาย

5) แมลงจำพวกกัดกินราก (root feeder) ได้แก่ ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง แมลงจำพวกนี้มีปากแบบกัดกิน มักมีชีวิตหรือวางไข่ตามพื้นดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายรากพืช ทั้งทำให้พืชยืนต้นแห้งตายเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร

6) แมลงจำพวกที่ทำให้เกิดปุ่มปม (gall maker) ได้แก่ ต่อ แตน และเพลี้ย แมลงจำพวกนี้เมื่อกัดกิน, ดูดน้ำเลี้ยงหรือวางไข่บนพืชแล้ว มักจะปลดปล่อยสารบางชนิดลงบนพืช ทำให้เกิดอาการปุ่มปมผิดปกติบนส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ยอดอ่อน ราก และลำต้น

แมลงศัตรูพืชทั้ง 6 จำพวก ถ้าจัดแบ่งตามระยะเวลาการเข้าทำลายพืชปลูกแล้วแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1) แมลงศัตรูพืชประเภทที่เข้าทำลายตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว การทำลายของแมลงศัตรูพืชประเภทนี้เกิดโดยการกัดกินใบ ยอดอ่อน ตาดอก ดอก และลำต้น หรือการดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดอ่อน ตาดอก และกิ่งอ่อน หรือการเจาะไชลำต้น หรือการเป็นพาหะที่ทำให้เกิดการระบาดหรือแพร่กระจายของโรคพืช ซึ่งการทำลายของแมลงประเภทนี้ ทำให้ศักยภาพการให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง

2) แมลงศัตรูพืชประเภททำลายผลผลิตในโรงเก็บเกี่ยว (stored insect pest) แมลงศัตรูประเภทนี้อาจจะวางไข่บนดอกหรือผลของพืชปลูกขณะอยู่ในแปลง แล้วตัวแมลงไปเจริญเติบโตทำลายผลผลิตขณะที่อยู่ในโรงเก็บ หรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว เช่น ด้วงงวงข้าวสาร ด้วงถั่ว มอด แมลงวันผลไม้ หรืออาจจะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในโรงเก็บ เช่น แมลงสาบ มด เป็นต้น


11.2.2 โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา
(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง

ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ

1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp., Pseudomonas spp., Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp., Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium, conidia, basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด


2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูปที่ 11.1



รูปที่ 11.1 แสดง “สามเหลี่ยมโรคพืช” และปัจจัยสำคัญที่ประกอบกันขึ้นมา



11.2.3 วัชพืช
วัชพืช หมายถึงพืชที่ไม่ต้องการให้ขึ้นในที่ที่หนึ่ง หรือหมายถึงพืชที่ขึ้นผิดที่ วัชพืชสามารถทำความเสียหายให้แก่การผลิตพืชเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะวัชพืชได้วิวัฒนาการตัวเองให้สามารถอยู่รอด และทนทานต่อการควบคุมกำจัดด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งได้ดี วัชพืชก่อปัญหาต่างๆ ให้แก่การกสิกรรมดังนี้

1) เป็นตัวแก่งแย่งปัจจัยการเจริญเติบโต เช่น ธาตุอาหาร แสงแดด น้ำ ทำให้ต้นพืชปลูกเจริญเติบโตลดลง และทำให้ผลผลิตลดลง

2) เป็นตัวแก่งแย่งเนื้อที่ในการกสิกรรม ทำให้ไม่สามารถใช้พื้นที่นั้นๆ ทำการกสิกรรมได้

3) เป็นพืชอาศัย (alternative host) ของโรคพืช หรือแมลงศัตรู ในขณะที่ยังไม่มีการปลูกพืช ทำให้เชื้อสาเหตุโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชสามารถดำรงชีวิตได้ครบวงจร และสามารถดำรงพันธุ์อยู่ได้ในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นเมื่อถึงฤดูการปลูกพืชแล้วศัตรูพืชเหล่านี้จะระบาดทำความเสียหายแก่พืชปลูกอย่างรวดเร็ว

4) วัชพืชทำให้คุณภาพของผลผลิตลดต่ำลง โดยการปะปนเข้าไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยว

5) วัชพืชทำให้เกิดอุปสรรคและภาระแก่การใช้เครื่องจักรกล หรือเครื่องทุ่นแรง เป็นเหตุให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการทำงานของเครื่องจักร

6) วัชพืชบางชนิด เช่น กาฝาก ฝอยทอง หญ้าแม่มด เป็นวัชพืชที่ขึ้นและแก่งแย่งดูดน้ำและธาตุอาหารจากต้นพืชปลูกโดยตรง เรียกว่าเป็น parasite weed

7) วัชพืชบางชนิดขัดขวางการทำงานของกสิกร เช่น หมามุ่ย หญ้าขจรจบก่อให้เกิดอาการคัน หนามกระสุน ไมยราบหนาม มีหนามแหลมคม สามารถปักแทงทะลุเครื่องนุ่งห่มได้

นอกจากนี้วัชพืชยังก่อให้เกิดผลเสีย หรือเป็นอุปสรรคแก่ด้านอื่นๆ อีก เช่น เป็นอุปสรรคต่อการประมง การเลี้ยงสัตว์ การคมนาคม การชลประทาน และการสาธารณสุข ซึ่งอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ต่างส่งผลกระทบไปถึงการกสิกรรม ทำให้การผลิตพืชไม่ได้ผล หรืออาจต้องมีการลงทุนที่มากขึ้น

การจัดจำแนกชนิดของวัชพืชอาจจะจัดจำแนกออกตามวงชีวิต เป็นวัชพืชอายุปีเดียว (annual weed) และวัชพืชอายุหลายปี (perennial weed) หรือจะจัดจำแนกตามลักษณะรูปร่างของใบโดยจัดเป็นวัชพืชใบแคบ (narrow

leaved weed) เช่น กก, หญ้า และวัชพืชใบกว้าง (broad-leaved weed) เช่น สาบเรือ ผักโขม เป็นต้น


11.2.4 ศัตรูอื่นๆ
ศัตรูอื่นๆ หมายถึงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ประเภทแรกที่กล่าวมาแล้ว ศัตรูอื่นๆ มักจะทำลายพืชผลค่อนข้างเฉพาะชนิด แต่ก็ทำความเสียหายต่อผลผลิตอย่างมาก ได้แก่

1) นก (bird) ได้แก่ นกกระจาบ นกกระจิบ เป็นต้น สัตว์จำพวกนี้จะทำลายผลผลิตของเมล็ดธัญพืช และไม้ผลบางชนิด โดยการกัดกิน หรือดูดน้ำเลี้ยงจากผลและเมล็ด ทำให้ผลผลิตเสียหาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการหลุดร่วงหรือหักของผลไม้และรวงธัญพืช ส่วนมากแล้วสัตว์จำพวกนี้จะระบาดและเข้าทำลายพืชในระยะที่ผลไม้เริ่มสุกแก่ หรือเมล็ดธัญพืชอยู่ในระยะน้ำนม (milky stage) จนถึงระยะสุกแก่

2) หนู (rat) และค้างคาว (bat) จัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีฟันแบบฟันแทะ จัดอยู่ในอันดับ Rodentia หนูที่พบในประเทศไทย มี 24 ชนิด แยกเป็นพวกหนูหริ่ง (Mus spp.) หนูพุก (Bandicota spp.) และพวกหนูนาหรือหนูท้องขาว (Rattus spp.) ซึ่งพวกหลังจัดว่าเป็นหนูที่ทำลายพืชผลหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย แตง ฝ้าย กล้วย ถั่วลิสง มันเทศ พืชผัก มะพร้าว โกโก้ ปาล์มน้ำมัน หนูสามารถทำลายพืชผลได้เป็นปริมาณมากเนื่องจากมันสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีประชากรหนูจำนวนมาก ประกอบกับมีการทำลายศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น งู พังพอน เหยี่ยว และนกเค้าแมว จึงทำให้เกิดการระบาดและทำลายของหนูรวดเร็วมาก ในที่นาของประเทศไทยพบว่า หนูทำความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวตั้งแต่ 5-100 เปอร์เซ็นต์ แม้แต่พืชผลที่เก็บรักษาในยุ้งฉางก็พบว่าถูกหนูทำลายเสียหายอยู่เสมอ นอกจากนี้หนูบางชนิดยังเป็นพาหนะนำโรคกาฬโรคมาสู่คนได้อีกด้วย

3) ปู (crab) สร้างความเสียหายให้แก่การปลูกข้าวเป็นอย่างมาก โดยปูจะเข้าหนีบกัดต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวขาดลอย เริ่มตั้งแต่ระยะปักดำไปจนถึงระยะเริ่มออกรวง การทำลายของปูทำให้ไม่ได้รับผลผลิต และทำให้เสียเวลาปักดำใหม่

4) ศัตรูอื่นๆ เช่น ไรแดง (mite) กระรอก (squarel) หอย (snail) ทาก (slug)


11.3 แหล่งที่มาของศัตรูพืช
ศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่เข้ารบกวนการปลูกพืช มีแหล่งกำเนิดหรือที่มาจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ

1) จากต่างประเทศ หมายถึงศัตรูพืชชนิดนั้นไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในประเทศนั้น ๆ แต่ได้ถูกนำเข้ามาโดยอาจจะเจตนา เช่น การระบาดของผักตบชวา หญ้าขจรจบ ไมยราพยักษ์ หรือถูกนำเข้ามาโดยไม่เจตนา แต่ได้ปะปนมากับผลิตผลการเกษตร หรือวัสดุเกษตร เช่น เพลี้ยกระโดดในข้าว ระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการติดไปกับฟางข้าวซึ่งส่งไปจากประเทศจีน การแพร่ระบาดของแมลงและโรคพืชบางชนิดโดยการติดมากับเมล็ดผล หรือส่วนขยายพันธุ์ต่างๆ เช่น โรคใบร่วงของยางระบาดมาจากทวีปอเมริกาใต้

2) จากแหล่งอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง มีการอพยพเข้ามา หรือมีการแพร่กระจายโดยลม ฝน น้ำและพาหะอื่นๆ เช่น วัสดุเกษตรเข้าไปสู่แหล่งใหม่ เช่น การแพร่ระบาดของไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra) จากภาคเหนือลงมายังที่ราบภาคกลาง การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากภาคกลางมายังภาคใต้ ในปี 2535-36 และเพลี้ยไก่ฟ้ากระถินระบาดมาจากประเทศฟิลิปปินส์ และฮาวาย

3) จากแหล่งนั้น หมายถึงแหล่งปลูกพืชนั้นๆ ก็อาจมีศัตรูพืชอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ศัตรูพืชเหล่านั้นยังไม่มีจำนวนมากจนทำความเสียหายถึงระดับเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยังไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชนั้น ๆ เมื่อศัตรูธรรมชาติ (natural encmies) ของศัตรูพืชนั้น ถูกทำลายหรือสภาพแวดล้อมของพื้นที่เพาะปลูกเหมาะสม ระบบการเพาะปลูกเอื้ออำนวยต่อแมลงศัตรูพืชก็ก่อให้เกิดเป็นปัญหาศัตรูพืชขั้นมาได้ เช่น หนอนกอข้าว, หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เป็นต้น


11.4 สาเหตุการแพร่ระบาดของศัตรูพืช
เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารและผลิตผลจากพืชปลูกชนิดต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้กสิกรต้องปรับปรุงการกสิกรรมให้ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น การปรับปรุงพันธุ์พืชปลูก ตลอดจนการปรับปรุงการกสิกรรมด้วยวิธีต่างๆ ดังนั้นจึงพบว่าศัตรูพืชก็ได้ระบาดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1) การนำเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นศัตรูจากต่างประเทศหรือจากแหล่งใกล้เคียงอาจถูกนำเข้ามาโดยเจตนาหรือไม่เจตนาได้ ซึ่งโดยมากมักเกิดจากการละเลย การขาดความรู้และการไม่ระมัดระวัง เช่น การติดมาของโรคพืช หรือแมลงในระยะหนึ่งระยะใด หรือเมล็ดวัชพืชปะปนเข้ามาร่วมกับเมล็ดพันธุ์ ผลผลิต ส่วนขยายพันธุ์ หรือกับเครื่องจักรกลการเกษตร

2) การเปลี่ยนแปลงหรือทำลายสภาพสมดุลธรรมชาติ ศัตรูพืชจากแหล่งใกล้เคียงอาจอพยพเข้าไปในพื้นที่ทำกสิกรรม ถ้าแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของมันถูกทำลาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าไปเป็นพื้นที่กสิกรรม ทำให้เกิดการระบาดของตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta) ในแหล่งปลูกข้าวโพดของจังหวัดลพบุรี การระบาดของหนูในนาข้าวภาคกลางของประเทศ การระบาดของหญ้าคาเข้าไปในสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันที่เริ่มปลูกใหม่ๆ การระบาดของหนอนกระทู้ยิบซี (Agrostis ypsilon) เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการใช้ระบบชลประทานเข้าไปในรัฐเทนเนสซี่

3) การปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกัน เป็นบริเวณกว้าง หรือติดต่อกันนานหลายปี ทำให้มีการสะสมของศัตรูพืชซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้น หรือทำให้ศัตรูพืชจากแหล่งใกล้เคียงสามารถปรับตัวเข้าทำลายพืชปลูกได้ เช่น การระบาดของแมลงศัตรูฝ้ายจะเกิดรวดเร็วในแหล่งที่ทำการปลูกฝ้ายติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง การระบาดของโรครากเน่าของส้ม ทุเรียน ยางพารา ก็เป็นผลเนื่องมาจากการปลูกพืชชนิดนั้นติดต่อกันเป็นเวลานาน

4) การลดลงของศัตรูธรรมชาติ อาจเกิดเนื่องจากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือการใช้วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้สารเคมีควบคุมแมลงศัตรูพืชมากเกินความจำเป็น ทำให้ปริมาณของศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ (predator) ตัวเบียน (paresite) ลดลงไปด้วย การฆ่างู พังพอน หรือเหยี่ยว ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนู ทำให้ระดับของการควบคุมโดยธรรมชาติเสียสมดุลไป จำนวนศัตรูพืชก็กลับแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น


11.5 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืช
ส่วนใหญ่แล้วศัตรูพืชต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในระบบของการทำการกสิกรรมและใช้ปัจจัยต่างๆ

สำหรับการดำรงชีพอยู่เช่นเดียวกับพืชปลูก ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชได้แก่

1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น น้ำฝน แสงแดด ลม ดิน สภาพภูมิประเทศ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของศัตรูพืชทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

2) ปัจจัยสิ่งมีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และศัตรูธรรมชาติ


11.6 ความเสียหายอันเกิดจากศัตรูพืช
ศัตรูพืชแต่ละชนิดสร้างความเสียหายให้แก่พืชปลูกมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของศัตรูพืช ชนิดของพืชปลูก ปริมาณระดับความรุนแรงของการทำลาย ตารางที่ 11.1 แสดงปริมาณของความเสียหายของพืช 6 ชนิด ที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช 3 ชนิด คือ โรคพืช แมลงศัตรู และวัชพืช โดยสรุปแล้วประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตพืชถูกทำลายโดยศัตรูพืช

ตารางที่ 11.1 ประมาณความเสียหายของพืชปลูกเนื่องมาจากศัตรูพืชทำลายตัวเลขเป็นน้ำหนักผลผลิต (ตัน x 106) ส่วนตัวเลขในวงเล็บเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายทั้งหมด (จิราพรและวสันณ์, 2525 อ้างถึง Dickinson and Lucus, 1977)



โดยสรุปความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ทำลายแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1) ผลเสียหายที่ประเมินค่าทางเศรษฐกิจได้ง่าย หมายถึงผลเสียหายที่สามารถวัดหรือเปรียบเทียบเป็นมูลค่าของความเสียหายได้ ซึ่งการวัดหรือเปรียบเทียบอาจทำได้ระหว่างการผลิตพืช โดยมีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตลอดเวลา กับการไม่ป้องกันกำจัดศัตรูพืชเลยในรูปของ

1.1) ปริมาณของผลผลิตที่ลดลง เนื่องจากการทำลายของศัตรูพืช ในลักษณะ ต่างๆ เช่น ผลผลิตถูกกัดกินหรือถูกทำลายโดยแมลง หรือเชื้อโรค การลดลงของพื้นที่ใบหรือส่วนสังเคราะห์แสงโดยแมลง หรือเชื้อโรค การทำลายจุดเจริญหรือลำต้นของพืชปลูกโดยแมลง เชื้อโรค หรือศัตรูอื่นๆ ตลอดจนการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืช ลักษณะการรบกวนทำลายเหล่านี้ของศัตรูพืชทำให้ปริมาณของผลผลิตลดลง

1.2) คุณภาพของผลผลิตที่ลดลง เนื่องจากการกัดกิน หรือทำลายของแมลงหรือเชื้อโรค การปะปนของวัชพืชในผลผลิตทำให้คุณภาพของผลผลิตลดลง นอกจากนี้ แมลง ศัตรู หรือหนู ที่เข้าทำลายผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวก็ทำให้คุณภาพของผลผลิตลดต่ำลง

1.3) เพิ่มต้นทุนของการผลิตพืช การที่มีศัตรูพืชระบาดรบกวนพืชปลูก ทำให้ต้องลงทุนเพื่อการจัดการและควบคุมศัตรูพืชชนิดต่างๆ ไม่ให้ทำลายผลผลิต การลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงาน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือการใช้เครื่องจักรกลเพิ่มมากขึ้น

2) ผลเสียหายที่ประเมินค่าทางเศรษฐกิจได้ยาก หมายถึงผลเสียหายที่วัดหรือเปรียบเทียบกับการไม่มีศัตรูพืชได้ยาก เช่น ผลเสียเนื่องจากสภาพแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลงไป และมลภาวะจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พิษอันเกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมักเกิดจากการใช้อย่างไม่ถูกต้อง การใช้ผิดประเภท หรือการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ทำให้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชมีโอกาสแพร่กระจายไปในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นพืช ดิน แหล่งน้ำ สัตว์ อากาศ แล้วไปสู่มนุษย์ได้โดยอาศัยความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันขององค์ประกอบในระบบนิเวศวิทยานั้น ๆ ดังรูปที่ 11.2





รูปที่ 11.2 ความสัมพันธ์และการหมุนเวียนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไปสู่องค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศน์


พิษของสารเคมีควบคุมศัตรูพืชที่ถ่ายทอดระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศน์ อาจเกิดในรูปของพิษสะสมหรือพิษตกค้าง (residue) ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะระบุถึงความเสียหายชนิดนี้ได้อย่างแน่นอนถูกต้อง แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าสารเคมีควบคุมศัตรูพืชทุกชนิดมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จะมีผลมากหรือน้อยแล้วแต่อัตราการใช้ ชนิดของสารเคมี สภาพการสลายตัวของสารเคมี และความคงทนของสารเคมีนั้นๆ ตัวอย่างที่น่ากลัว ได้แก่ การพบว่ามีปริมาณของสารเคมีควบคุมศัตรูพืชประเภทยาฆ่าแมลงเจือปนอยู่ในพืชผักหลายชนิด เป็นปริมาณมากกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่พึงมีได้ ดังตารางที่ 11.2

นอกจากนี้ยังปรากฏว่าศัตรูพืชบางชนิดโดยเฉพาะแมลงศัตรูสามารถปรับตัวให้มีความต้านทานต่อการใช้สารเคมี และลักษณะการปรับตัวนี้สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานของแมลง ทำให้การควบคุมแมลงโดยใช้สารเคมีชนิดเดิมไม่ได้ผล ทั้งยังปรากฏว่าการระบาดของแมลงศัตรูพืชกลับรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่นพบว่ามีแมลง 91 ชนิด สามารถปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มออร์แกโนคลอรีน และแมลง 32 ชนิด สามารถต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตผลเสียที่ประเมินได้ยากอีกประการหนึ่ง คือ การควบคุมศัตรูพืชด้วยสารเคมีมักเป็นการทำลายศัตรูธรรมชาติให้ลดน้อยลงไป ทำให้สภาพสมดุลธรรมชาติสูญเสียไป


ตารางที่ 11.2 ปริมาณของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบในพืชผัก (สิริวัฒน์, 2523 อ้างถึงกรมวิชาการเกษตร, 2519)




11.7 ระดับของความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืช
แนวทางในการจัดการเพื่อป้องกันควบคุมและกำจัดศัตรูพืชได้คำนึงถึงระดับของความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืชไว้ 3 ระดับ ดังรายละเอียดและรูปที่ 11.3

1) ระดับสมดุลโดยทั่วไป (general equilibrium position) หมายถึงระดับความหนาแน่นของศัตรูพืชในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของศัตรูพืชจะอยู่ต่ำกว่าระดับที่จะเกิดการระบาด แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมถูกเปลี่ยนแปลงระดับของความสมดุลโดยทั่วไปก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

2) ระดับเศรษฐกิจ (economic threshold) หมายถึงระดับความหนาแน่นของศัตรูพืชที่เริ่มมีผลก่อความเสียหายให้แก่พืชปลูก และจะต้องเริ่มดำเนินการป้องกันกำจัดเพื่อไม่ให้ความหนาแน่นของศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในการใช้วิธีการป้องกันกำจัดมักจะพิจารณาลดความหนาแน่นของศัตรูพืชให้ลงไปอยู่แค่ระดับสมดุลโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องลดความหนาแน่นของศัตรูพืชจนหมดสิ้นไป

3) ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ (economic injury level) หมายถึงระดับความหนาแน่นของศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ และถ้าระดับความหนาแน่นของศัตรูพืชสูงเกินกว่านี้แล้วก็มักจะสายเกินไปสำหรับการป้องกันกำจัด เพราะอาจต้องลงทุนสูง หรือไม่อาจช่วยเหลือผลผลิตที่เสียหายไปให้กลับคืนมาได้


รูปที่ 11.3 แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับสมดุลโดยทั่วไป ระดับเศรษฐกิจ และระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ของศัตรูพืช


11.8 หลักการควบคุมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช
การควบคุมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช หมายถึงวิธีการใดๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลด หรือหยุดยั้ง หรือทำลาย หรือขัดขวางการก่อความเสียหายของศัตรูพืช ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ หรือให้หมดไปโดยสิ้นเชิง การจะใช้วิธีการใดๆ ทั้งนี้แล้วแต่ ชนิดของศัตรูพืช ปริมาณความหนาแน่นของศัตรูพืช และชนิดของพืชปลูก โดยทั่วไปมีหลักการสำหรับการควบคุมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช 4 ประการสำคัญ คือ

1) การหลีกเลี่ยง (avoidance) ได้แก่การไม่ปลูกพืชในแหล่งที่มีศัตรูพืชนั้นๆ แพร่ระบาด การจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดต่อการเกิดของศัตรูพืช การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองว่าปราศจากศัตรูพืช (certified seed) การใช้กฎหมายกักกันพืช (quarantine law) เพื่อหลีกเลี่ยงการนำศัตรูพืชจากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาในแหล่งปลูก

2) การกำจัดศัตรูพืชให้หมดสิ้นไป (eradication) ได้แก่การทำลายศัตรูพืชให้หมดสิ้นไปก่อนการปลูกพืช เช่น การเผาทำลายพืชที่เป็นโรค การเผาทำลายวัชพืช การไถพรวนตากดินไว้ก่อนปลูก การทำลายแมลงในโรงเก็บพืชผล หลักการนี้ควรใช้กับศัตรูที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำ และจำเป็นต้องควบคุมให้หมดสิ้นอย่างสิ้นเชิง

3) การป้องกัน (protection) ได้แก่การสร้างสิ่งกีดขวางระหว่างพืชปลูกกับศัตรูพืช เช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้การควบคุมทางชีววิธี การกำจัดพาหะของศัตรูพืช การใช้พันธุ์ต้านทาน

4) การรักษา (therapy) ได้แก่การกำจัดหรือบรรเทาผลเสียภายหลังจากที่ศัตรูพืชได้เข้ามาแพร่ระบาดแล้ว แต่ยังไม่ถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ หลักการนี้มักใช้กับศัตรูพืชจำพวกโรคพืชมากกว่าศัตรูชนิดอื่น และมักใช้กับพืชพวกไม้ผลยืนต้นมากกว่าพืชล้มลุก



11.9 วิธีการควบคุมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1) วิธีกล (mechanical method) เป็นวิธีการใช้เครื่องมืออย่างง่ายๆ เพื่อทำลายหรือป้องกันศัตรูพืช วิธีการนี้เหมาะกับการกสิกรรมขนาดเล็ก และมีแรงงานว่าง ตัวอย่างเช่น

1.1) การเก็บ จับ หรือทำลายศัตรูพืช ด้วยแรงคนและเครื่องมือกล

1.2) การเผา ทำลายส่วนของพืชที่ถูกศัตรูพืชเข้าทำลาย ตลอดจนการเผาทำลายศัตรูพืชโดยตรง วิธีการนี้มักจะดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแล้ว เช่นการเผาตอซังข้าว เพื่อทำลายหนอนกอข้าว

1.3) การใช้ตาข่าย หรือกับดักจับแมลงศัตรูพืช

2) วิธีการทางฟิสิกส์ (physical method) เป็นการใช้คลื่นความร้อน คลื่นเสียง อุณหภูมิ รังสี หรือไฟฟ้า ในการขับไล่ หรือป้องกันศัตรูพืชจำพวกแมลง หนู นก ตั๊กแตน ค้างคาว

3) วิธีการเขตกรรม (cultural method) เป็นวิธีการจัดสภาพแวดล้อมให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และแพร่ระบาดของศัตรูพืช โดยอาศัยวิธีการเขตกรรมต่าง ๆ เช่น

3.1) การไถพรวนตากหน้าดินไว้ก่อนการปลูกพืช ให้แสงแดด และความร้อนทำลายโรคแมลง หรือวัชพืชให้ลดน้อยลง

3.2) การปล่อยน้ำขังท่วมแปลงก่อนการเตรียมดิน ให้แมลง ศัตรูอื่น ๆ เช่น หนู และวัชพืช ถูกน้ำท่วมขังตายไปก่อน

3.3) การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เป็นการตัดทำลายวงชีวิตของแมลง และวัชพืช และยังป้องกันการสะสมของโรคพืชได้อีกด้วย

3.4) การไถพรวนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อทำลายที่อยู่อาศัยของ หนู ปู และวัชพืช อันอาจจะเป็นแหล่งสะสมของศัตรูพืชอื่น ๆ เช่น พวกแมลง หรือโรคพืช

3.5) การกำจัดวัชพืชด้วยการถาก ถาง หรือพรวน

3.6) การเลือกพื้นที่ปลูกในที่ซึ่งไม่ปรากฏการระบาดของศัตรูพืชมาก่อน

3.7) การเลือกฤดูหรือช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช

3.Cool การบำรุงต้นพืชปลูกให้แข็งแรง ทนทานต่อการทำลาย หรือแก่งแย่งของศัตรูพืช เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่ง

3.9) การใช้พันธุ์ต้านทานต่อศัตรูพืช (resistant variety) โดยการคัดเลือกหรือการผสมพันธุ์ เพื่อหาพันธุ์ที่แข็งแรง ต้านทานต่อศัตรูพืช เช่น พันธุ์ข้าว กข.9 กข.27 ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พันธุ์ฝ้าย ตากฟ้า 1 ต้านทานต่อโรคใบหงิก ยางพันธุ์ GT1 ต้านทานต่อโรคใบร่วง

4) วิธีการทางชีววิธี (biological method) เป็นวิธีการใช้ศัตรูธรรมชาติให้ควบคุมศัตรูพืชโดยอาศัยหลักการสมดุลธรรมชาติ วิธีการนี้ใช้ได้ผลในการควบคุมแมลงศัตรู และวัชพืชบางชนิด เช่นการใช้ตัวห้ำ ตัวเบียฬ หรือโรค ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช การใช้แมลง และปลาในการกำจัดวัชพืชน้ำ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมในแง่ของมลภาวะต่างๆ และเชื่อว่าเป็นวิธีการควบคุมศัตรูพืชได้ถาวรกว่าวิธีอื่นๆ แต่การค้นคว้ายังไม่แพร่หลายมากนัก ปัจจุบันในประเทศไทยมีศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ที่กรุงเทพฯ และมีสาขากระจายอยู่ทุกภาค สำหรับภาคใต้ตั้งอยู่ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5) วิธีทางกฎหมาย (legal control) เป็นวิธีการทางกฎหมายโดยการห้าม และระบุโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน เช่น กฎหมายกักกันพืช และพระราชบัญญัติกักกันพืช ทั้งนี้การนำเข้าพืชหรือวัสดุการเกษตรบางชนิด จากต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและพระราชบัญญัตินี้ โดยการผ่านด่านกักกันพืช เพื่อตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ให้แน่ใจว่าไม่มีศัตรูพืชติดเข้ามาด้วย การกักกันพืชเป็นหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ออกใบรับรองให้แก่การส่งวัสดุ หรือผลิตภัณฑ์เกษตรบางชนิดออกต่างประเทศด้วย

6) วิธีการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช (chemical method) เป็นวิธีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัด ทำลาย หรือป้องกันศัตรูพืชโดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แต่ก็เป็นวิธีการที่มีอันตรายต่อผู้ใช้ และต่อสิ่งแวดล้อมมากถ้าหากใช้อย่างไม่ถูกต้อง ใช้ผิดวิธีหรือขาดความรู้ความเข้าใจในสารเคมีและวิธีการใช้ ตลอดจนการขาดความระมัดระวังในการใช้สารเคมี นอกจากนี้ยังพบว่า แมลงศัตรูพืชหลายชนิดมีความสามารถปรับตัวให้ทนทานต่อสารเคมีบางชนิดได้อย่างรวดเร็ว สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบ่งออกตามลักษณะทางเคมีได้ 2 ประเภท คือ

6.1) สารเคมีพวกอนินทรีย์สาร (inorganic pesticide) ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบเกลือของปรอท ทองแดง กำมะถัน สังกะสี และเหล็ก สารเคมีประเภทนี้บางชนิดมีพิษต่อมนุษย์และสัตว์รุนแรงมาก ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ และถูกห้ามใช้ในบางประเทศ โดยเฉพาะเกลือของปรอทและสังกะสี

6.2) สารเคมีพวกอินทรีย์สาร (organic pesticide) อาจเป็นสารเคมีที่สกัดจากพืช เช่น โล่ติ้น ไพรีทรัม ยาสูบ สะเดา ตะไคร้หอม ข่า หรือเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยวิธีการทางเคมี (synthetic pesticide)

วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานดังกล่าวนั้น นอกเหนือจากการนำเอาวิธีต่างๆ มาใช้ร่วมกันแล้ว ยังต้องขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ภูมิอากาศ และสภาพท้องถิ่น (มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม, 2531) กล่าวคือต้องมีมาตรการหลายๆ ประการมาเกี่ยวข้อง เช่น ความรอบรู้ในเรื่องระบบนิเวศทางการเกษตร การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงปลูก ลักษณะของพื้นที่ปลูก การปลูกพืชหมุนเวียน การเลือกฤดูปลูกพืชที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การไถพรวนดินเพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะไข่และตัวอ่อนของแมลงในดิน การเลือกพันธุ์ใช้เมล็ด ส่วนหรือท่อนพันธุ์พืชที่แข็งแรง ปราศจากโรค การรักษาความสะอาดในแปลงปลูก และการร่วมมือกันระหว่างเกษตรกรในการควบคุมการระบาดของศัตรูพืช

สารเคมีควบคุมศัตรูพืชเมื่อแบ่งตามชนิดของการใช้ควบคุมศัตรูพืชอาจแบ่งได้ 7 ประเภทคือ ยาฆ่าแมลง (insecticide) ยาโรคพืช หรือยาฆ่าเชื้อรา (fungicide) ยาฆ่าหญ้า (herbicide) ยาฆ่าไส้เดือนฝอย (nematicide) ยาฆ่าหนู (rodenticide) ยาฆ่าหอยทาก (molluscicide) และ ยาฆ่าไรแดง (miticide หรือ acaricide)

วิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชขึ้นอยู่กับรูปแบบของสารผลิตภัณฑ์ ชนิดของศัตรูพืช และส่วนที่ถูกทำลาย โดยสรุปสามารถจำแนกวิธีการใช้สารเคมีได้ 7 วิธี คือ การพ่นยาน้ำ หรือสารละลายยา (spraying) การพ่นผงยา (dusting) การรมหรืออบ (fumigantion) การพ่นหมอก (aerosol) การโรยหรือหว่าน (broadcasting) การป้ายทา (pasting) และ วิธีการจัดการแบบผสมผสาน (integrated method) เป็นการนำเอาวิธีการต่างๆ ข้างต้นมาใช้ร่วมกัน มีการวางแผนที่ดี เพื่อให้การควบคุมกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพสูง ลงทุนต่ำ และไม่เป็นผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ดังอธิบายในรูปที่ 11.4






11.10 หลักการปฏิบัติในการกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีใช้สารเคมี
ในทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การใช้สารเคมียังเป็นวิธีการหลักที่กสิกรใช้ในการผลิตพืชปลูกทั่วไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช เพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดจนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ดังนี้

1) เครื่องมือกำจัดศัตรูพืช ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้หลายวิธี แต่อย่างไรก็ตามวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดคือ วิธีกลและวิธีใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

1.1) เครื่องมือกล (mechanical hand tool) ได้แก่ กรรไกรตัดแต่ง มีด เสียม จอบ เคียว เลื่อย

1.2) เครื่องมือฉีดพ่นสารเคมี (pesticide application equipment) ได้แก่

1.2.1) Sprayers เครื่องฉีดพ่นสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว โดยใช้แรงอัดจากแรงคน, แรงกล หรือจากเครื่องยนต์ เช่น hand sprayer, knapsack sprayer, engine sprayer, ultra low volume sprayer, tractor mounted sprayer หรือเครื่องยนต์ติดเรือในร่องสวนผักและสวนส้ม

1.2.2) Aerosol generators เครื่องฉีดพ่นสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลวภายใต้ความดันสูง ปล่อยสารเคมีออกมาในรูปของไอ

1.2.3) Smoke generators เครื่องฉีดพ่นสารเคมีที่จะถูกปล่อยออกมาในรูปของควัน

1.2.4) Vaporizer เครื่องปล่อยสารเคมีออกมาในรูปของไอระเหย โดยการใช้ความร้อนทำให้สารเคมีกลายเป็นไอ หรือแก๊ส

1.2.5) Duster เครื่องฉีดพ่นสารเคมีที่อยู่ในรูปของแข็งเป็นผง หรือเม็ด

1.2.6) Agricultural aircraft เครื่องฉีดพ่นสารเคมีทางอากาศโดยเครื่องบินขนาดเล็ก


2) สารเคมีควบคุมศัตรูพืช อาจจะเป็นสารเคมีประเภทอนินทรีย์สาร หรืออินทรียสาร สารเคมีควบคุมศัตรูพืชที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดเรียกว่า สารผลิตภัณฑ์ (products) อาจมีสภาพเป็นของแข็งชนิดผง หรือเม็ด ของเหลว หรือแก๊สก็ได้ สามารถมีชื่อเรียกได้ต่างๆ กันตามคำขออนุญาตจดทะเบียนต่อกองควบคุมพืชและวัสดุเกษตร กรมวิชาการเกษตร ชื่อนี้เรียกกันทั่วไปว่าชื่อการค้า (trade name) ในสารผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีสารเคมีซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช อยู่เป็นปริมาณที่แน่นอน สารนี้เรียกว่า สารออกฤทธิ์ (active ingredient a.i.) บนภาชนะบรรจุของสารผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ถูกต้องจะต้อง ระบุปริมาณของสารออกฤทธิ์ให้ตรงตามเป็นจริงและตามคำขอจดทะเบียน นอกจากนี้ในสารผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วย สารเจือปน (inert ingredient) ซึ่งอาจเป็นสารผสมอื่นๆ ที่ไม่มีผลต่อการทำงานของสารออกฤทธิ์โดยตรง หรืออาจมีผลช่วยให้การทำงานของสารผลิตภัณฑ์ดีขึ้นก็ได้


3) การใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช ขึ้นอยู่กับชนิดของศัตรูพืช ลักษณะการทำลาย ชนิดหรือรูปของสารเคมีควบคุมศัตรูพืช และเครื่องมือสำหรับการใช้สารเคมี โดยสรุปแล้วลักษณะการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชมี 6 ลักษณะคือ

3.1) การฉีดพ่น (spraying) ใช้สำหรับกำจัดแมลง วัชพืช และโรคพืชในกรณีระบาดเป็นพื้นที่ใหญ่ สารเคมีที่ใช้จะอยู่ในรูปของของผสม หรือสารละลายของเหลว เช่นน้ำแล้วฉีดพ่นให้เป็นฝอยละออง

3.2) การรมหรืออบ (fumigation) มักใช้สำหรับกำจัดแมลงในโรงเก็บ หรือศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ในพื้นที่จำกัดขนาดเล็ก เช่น แปลงเพาะกล้าในเรือนกระจก หรือในภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้มักอยู่ในรูปของเหลวภายใต้ความดันสูง หรือในรูปของควัน

3.3) การหว่าน (broadcasting หรือ spreading) มักใช้สำหรับการกำจัดแมลง หรือวัชพืชในแปลงขนาดใหญ่ สารเคมีที่ใช้มักอยู่ในรูปผง หรือเม็ด

3.4) การจุ่ม (dipping) มักใช้สำหรับการป้องกันและกำจัดโรคพืชเฉพาะต้นหรือเฉพาะส่วน สารเคมีที่ใช้จะอยู่ในรูปของเหลวหรือของผสม

3.5) การป้ายทา (paste) มักใช้สำหรับการป้องกันและกำจัดโรคพืช หรือแมลงที่ทำลายต้นพืชเฉพาะแห่ง หรือวัชพืชยืนต้น สารเคมีที่ใช้จะอยู่ในรูปของเหลว หรือของผสม

3.6) การวางเหยื่อ (bait) มักใช้สำหรับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ เช่น หนู นก ปู กระรอก โดยการใช้สารเคมีผสมเหยื่อแล้ววางล่อศัตรูพืช


4) การคำนวณอัตราการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช เพื่อให้การใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น จนเกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อให้การใช้สารเคมีได้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรที่จะต้องเข้าใจการคำนวณอัตราการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช 3 วิธีดังนี้

4.1) บอกปริมาณเนื้อสารออกฤทธิ์ต่อหน่วยพื้นที่ เช่น กรัมสารออกฤทธิ์/ตารางเมตร, กิโลกรัมสารออกฤทธิ์/ไร่

4.2) บอกปริมาณเนื้อสารออกฤทธิ์ต่อปริมาตรของสารละลายยา เช่น ppm, เปอร์เซ็นต์, กรัม/ลิตร

4.3) บอกปริมาณสารผลิตภัณฑ์ต่อปริมาตรของสารละลายยา เช่น กรัม/ลิตร, ซีซี/ลิตร, ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร

โดยทางวิชาการแล้วการบอกอัตราการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช จะใช้โดยวิธีที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น แต่ในแง่ของการปฏิบัติแล้ว ถ้าหากกสิกรยังขาดความรู้เรื่อง ชื่อสารออกฤทธิ์แล้ว วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่สะดวกในการแนะนำให้กสิกรใช้


5) การระวังอันตรายในการใช้สารเคมี ในการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชทุกชนิดต้องระลึกไว้เสมอว่าสารเคมีทุกชนิดอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ สัตว์ และต่อสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าหากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ประมาทเลินเล่อ หรือใช้อย่างขาดความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาและปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมีทั้งก่อนการใช้ ขณะที่ใช้ หลังการใช้ ตลอดจนการเก็บรักษาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช



11.11 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการป้องกันศัตรูพืช
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ จัดเป็นอีกวิธีการหนึ่งสำหรับการบริหารศัตรูพืช ปัจจุบันมีการประยุกติ์ใช้ในระบบการผลิตพืชขนาดใหญ่ แต่ก็ยังจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วทางอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering technology) นักวิทยาศาสตร์สามารถนำยีน (gene) จากจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เข้าสู่ต้นพืชเพื่อให้พืชที่ถูกปลูกถ่ายยีนนั้น (transgenic plant) มีคุณสมบัติต้านทานหรือทนต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช ต้วอย่างที่ผลิตเป็นการค้าแล้วในปัจจุบันคือการนำยีนบีที (Bt gene) จากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringenesis ซึ่งผลิตโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลงบางจำพวกเข้ารวมกับยีนของต้นพืช ทำให้ต้นพืชนั้นสามารถสร้างผลึกโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลงด้วยตัวของมันเองได้ เมื่อแมลงกินพืชนั้นเข้าไปก็จะตายในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น ต้นฝ้ายที่มีการตัดต่อยีนให้สามารถฆ่าหนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera) แมลงศัตรูฝ้ายตัวสำคัญที่สามารถสร้างภูมิต้านทานสารเคมีได้รวดเร็ว ด้วยวิธีการนี้เกษตรกรสามารถลดปริมาณและความถี่ในการใช้สารเคมีที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปกติใช้สูงมากในฝ้าย อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งคล้ายกับการปลูกวัคซีนป้องกันโรคในมนุษย์หรือในปศุสัตว์คือ การถ่ายยีนจากเชื้อไวรัสเฉพาะส่วนของ coat protein gene จาก Potato Leaf Roll Virus (PLRV) เข้าสู่ต้นมันฝรั่ง ทำให้พืชสามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัส PLRV และให้ผลผลิตได้ (Morris, 1995) นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วยังมีการสร้างพืชต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช ทำให้สามารถฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชลงในแปลงปลูกพืชได้โดยตรง และพืชปลูกหลักที่มียีนต้านทานสารเคมีดังกล่าวนั้นเป็นอันตรายแม้แต่น้อย ผลคือเกษตรกรสามารถลดความถี่ของการฉีดพ่นสารเคมีและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้สารเคมีลงได้อย่างมาก (Larkin, 1994)

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการนำพืชที่ตัดต่อยีนมาใช้ทางการค้าได้นั้น ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบอย่างเข้มงวดด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (risk assessment) และมีมาตรการควบคุมทั้งทางกฏหมายและการปฏิบัติโดยหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ของประเทศนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพืชตัดต่อยีนเหล่านั้นจะมีผลเฉพาะเจาะจงกับศัตรูพืช และต้องไม่เป็นอันตรายหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆในธรรมชาติ ตลอดจนต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

กล่าวโดยสรุปเนื้อหาในบทนี้ คือการเพาะปลูกพืชเพื่อเป็นอาชีพและเพื่อให้เพียงพอสำหรับความต้องการของประชากรโลก เป็นงานที่จะต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะจำนวนประชากรโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การผลิตพืชอาหารยังคงมีผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ต่ำ เนื่องมาจากปัญหาหลัก 2 ประการคือ ปัญหาความไม่เหมาะสมของพื้นที่ผลิตและปัญหาศัตรูพืช

ศัตรูพืช หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการกสิกรรม ได้แก่ แมลงศัตรูพืช โรคพืช วัชพืช หนู นก ปู และศัตรูอื่นๆ ศัตรูพืชแต่ละชนิดต่างก็มีความแตกต่างกันในลักษณะของการทำลาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชปลูก โดยสรุปแล้วศัตรูพืชทุกชนิดก่อให้เกิดปัญหาในการลดผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และตลอดไปจนถึงการทำให้การกสิกรรมล้มเหลวลง

การควบคุมศัตรูพืช เป็นการใช้วิธีการต่างๆ ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง ระงับ กำจัดหรือแก้ไขปัญหาของศัตรูพืช เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่พืชปลูก วิธีการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยวิธีการต่างๆ แล้วแต่ชนิดของศัตรูพืช ชนิดของพืชปลูก และระดับความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืช วิธีการแต่ละวิธีต่างก็มีข้อดี ข้อเสียและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงการจัดการหรือการบริหารศัตรูพืช (pest management) โดยการใช้วิธีการต่างๆ ผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้การควบคุมศัตรูพืชบรรลุถึงเป้าหมายหลักคือ มีประสิทธิภาพสูงและใช้ได้ถาวรปลอดภัยต่อสังคม คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และ ไม่มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์



11.12 บรรณานุกรม



http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter11/agri_11.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©