-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 JUN...... สูตรปุ๋ยยางพารา
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ชาวนา กับโครงการ 3 เพิ่ม 3 ลด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ชาวนา กับโครงการ 3 เพิ่ม 3 ลด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 7:20 am    ชื่อกระทู้: ชาวนา กับโครงการ 3 เพิ่ม 3 ลด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การผลิตข้าว เวียตนาม มีนโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม ส่งเสริมชาวนาเป็นรูปธรรม

3 ลด :
ลด..........เมล็ดพันธุ์
ลด..........การใช้ปุ๋ย
ลด..........การใช้สารกำจัดศัตรูพืช

3 เพิ่ม :
เพิ่ม.........ผลผลิต
เพิ่ม.........คุณภาพข้าว
เพิ่ม.........กำไรให้ชาวนา




https://www.facebook.com/JibtongSurinRiceMill/posts/160457034111166


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/06/2013 9:37 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 7:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


นายกฯ แจงลดราคาจำนำข้าว



ส่วนการปรับลดราคารับจำนำลงเหลือตันละ 12,000 บาท เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ซึ่งรัฐบาลก็ดูเรื่องของการสร้างสมดุล ใน 4 มิติ คือ

1. ต้องการให้ชาวนาขายข้าวได้ในราคาที่เป็นธรรม
2. ต้องรักษาความสมดุลด้านราคาต้องสะท้อนจากคุณภาพของข้าว
3. ต้องทำราคาให้สะท้อนกับราคาตลาดโลก เพราะเมื่อผ่านไปปีกว่าราคาตลาดโลกก็ไม่ได้ขึ้นอย่างที่คิด รวมถึงเกิดปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า และ
4. ต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง

แต่ถ้าในอนาคตหากราคาในตลาดโลกดีขึ้น จะทบทวนราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง


นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ปรับลดราคาจำนำลง เบื้องต้นมี 4 แนวทาง คือ
1. ลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้เดิมให้กับผู้ที่ประสบปัญหา
2. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตรอบใหม่
3. เพิ่มวงเงินในบัตรสินเชื่อเกษตรกร และ
4. ให้สิทธิ์เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันภัยนาข้าวตามนโยบายเต็มรูปแบบ

โดยแนวทางทั้งหมดจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า


ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฐนะการเงินของ ธ.ก.ส. เพราะได้มีการเตรียมเงินทุนมาดูแลโครงการของรัฐบาลไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น ขณะเดียวกันยังทำให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.ก.ส. ลดลงจากระดับ 6.57% ในปี 54 เหลือ 3.95% ในปี 56 ส่วนยอดเงินฝากก็เพิ่มขึ้น 71.32% จาก 146,358 ล้านบาทในปี 54 เป็น 250,740 ล้านบาท ในปี 56 ด้วย


นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีข่าวโรงสีหยุดรับข้าวว่า เป็นความสับสนเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดองค์การคลังสินค้า (อคส.) ออกมายืนยันว่า ไม่มีเหตุยุติการรับจำนำข้าวหรือปิดกั้นจุดรับจำนำข้าว ยืนยันว่าโครงการนี้เดินหน้าต่อไปตามปกติ เกษตรกรสามารถนำข้าวเข้ามาในโครงการรับจำนำข้าวได้เหมือนปกติทุกอย่าง และยังใช้ในราคาเดิม 15,000 บาท ถึงวันที่ 29 มิ.ย.นี้ แต่ถึงวันที่ 30 มิ.ย. จะเริ่มใช้ราคาใหม่เป็น 12,000 บาท ส่วนเงื่อนไขการรับจำนำฤดูกาลต่อไป ล่าสุด กขช.อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด



http://www.dailynews.co.th/businesss/213797


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/06/2013 9:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

*** ปัญหาข้าวไทย ใครจะล่มสลายก่อนใคร ประชาชน-ประเทศชาติ-รัฐบาล ***


ขอนำท่านทั้งหลายได้รู้จักกับเพื่อนบ้านที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกด้วยสงครามและการถูกล่าเป็นเมืองขึ้น บนความแร้นแค้นอดอยากมีคนตายจำนวนมากด้วยหิวโหยข้าวไม่มีกิน จากบทเรียนวันนั้น วันนี้ด้วยการไม่ละทิ้งและด้วยการให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ด้วยมาตรการ 3ลด 3เพิ่ม คือ


ลด..........ปริมาณเมล็ดให้เหมาะสมต่อพื้นที่เพาะปลูก
ลด..........การใช้ปุ๋ยเคมี
ลด..........การใช้ยาปราบศัตรูพืช

เพิ่ม.........เพิ่มผลผลิต
เพิ่ม.........คุณภาพ
เพิ่ม.........กำไร



ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวทำให้ชาวนาเวียดนามมีกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15-20 วันนี้เวียตนามผงาดแซงไทยตามอินเดียมาติดๆทำให้ไทยหล่นมาสู่อันดับสาม กับยุทธวิธี 10 ข้อที่เหนือกว่า (โดยนายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากบทวิเคราะห์ผลศึกษาทางรอดข้าวไทย)


1. ผลผลิตข้าวต่อไร่ของเวียดนามสูงกว่าไทย โดยในปี 53/54 เวียดนามมีผลผลิตข้าวสูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ส่วนข้าวไทยมีผลผลิตเป็นอันดับ 13 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของอาเซียน และยังมีผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

2. เวียดนามมีต้นทุนการปลูก และผลิตข้าวต่ำกว่าไทยถึง 16.5% แต่ได้กำไรสูงกว่าถึง 67%

3. ทางการเวียดนามได้ส่งเสริมให้ชาวนาใช้นโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดปริมาณเมล็ดให้เหมาะสมต่อพื้นที่เพาะปลูก ,ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดการใช้ยาปราบศัตรูพืช รวมทั้งการเพิ่มผลผลิต ,เพิ่มคุณภาพ และเพิ่มกำไร ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวทำให้ชาวนาเวียดนามมีกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15-20

4. ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดส่งออกข้าวในอาเซียน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ขณะที่เวียดนามกลับส่งออกมากกว่าไทยแล้วถึง 23 เท่า

5. ราคาข้าวของเวียดนามถูกกว่าไทยอย่างมาก โดยเมื่อปี 2548 ราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม 30 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ราคาข้าวไทยสูงขึ้นกว่า 123 ดอลลาร์สหรัฐ

6. เวียดนามใช้วิธีการทำการตลาดแบบทีมเดียว โดยรัฐจะเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ ขณะที่ภาคเอกชนจะมีหน้าที่ส่งออก ซึ่งวิธีนี้ทำให้เวียดนามได้ตลาดนอกอาเซียนเพิ่มขึ้นหลายแห่ง

7. เวียดนามเน้นการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา และพม่า เพื่อผลิตข้าวและแปรรูปสินค้าข้าว

8. รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างเต็มที่ ทั้งให้การอุดหนุนลดต้นทุนการผลิต ยกเว้นภาษี ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และตั้งกองทุนช่วยเหลือ

9. รัฐบาลเวียดนามบังคับให้พ่อค้าคนกลางที่จะรับซื้อข้าวจากชาวนา ต้องเหลือกำไรให้ชาวนาอย่างน้อย 30% ของต้นทุน และมีโครงการช่วยเหลือชาวนาด้านอื่น ๆ

10. รัฐบาลเวียดนามเร่งเพิ่มการลงทุนตลาดค้าข้าวในต่างประเทศ เช่น ในฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย กานา แอฟริกาใต้ และพม่า


แต่เมื่อได้นักการตลาดที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้นมาบริหารก็ใช้สไตล์การปั่นราคาโดยไม่ดูความเป็นจริงว่าการสร้างราคาในตัวหุ้นในตลาดหนึ่งตัวมันต่างกันกับการสร้างราคาข้าว เพราะหุ้นมันมีจำกัดในตลาดถ้าจับมือกับเจ้าของหุ้นก็สามารถสร้างราคาปั่นให้สูงได้โดยให้คนหลงผิดในราคา สุดท้ายเมื่อมีนักลงทุนเข้ามาซื้อก็ทะยอยขายออกสร้างความเสียหายให้นักลงทุน(แมงเม่า)ทำความร่ำรวยให้ขาใหญ่ ในความเป็นจริง การทำให้บริษัทสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีต่างหากที่ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น

ตลาดข้าวนั้นต่างกันมากเพราะมีผู้เล่นหลายประเทศ ต่างก็ต้องการรักษาผลผลประโยชน์ของชาติตัวเองและเป็นตลาดที่แข่งขันชิงไหวชิงพริบไม่ขึ้นกับใครจึงอิสระที่จะกำหนดราคา

เวียตนามส่งเสริมสร้างคุณภาพสินค้าลดต้นทุน เพื่อผลกำไร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ไทยไม่สนใจในการทำต้นทุนให้ต่ำ แต่เน้นสร้างราคา สุดท้ายคนที่ตัดสิน คือ ประเทศที่ซื้อสินค้า เป็นท่านๆจะเลือกซื้อของใคร ทุกคนคงมีคำตอบในใจ


อันที่จริงก่อนหน้า ข้าวไทยก็ไม่ได้มีปัญหามากมายพอรัฐบาลทักษิณคิดยิ่งลักษณ์และลิ่วล้อทำลางหายนะก็มาเยือน จากปีก่อนไทยส่งออกเกือบ11ล้านตัน ปีนี้ตกลงเหลือ 7 ล้านตัน ทำให้เสียแชมป์ให้อินเดีย เวียตนาม ไทยหล่นไปอยู่ที่ 3 เนื่องจากราคาแพงกว่าคู่แข่งมาก

วันนี้ข้าวเต็มโกดังเก็บไว้รอวันเสื่อม เร่งขายราคาตก ความเสียหายจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงทั้งคุณภาพและราคา

รัฐบาลยังคงเดินหน้าก็ต้องเร่งสร้างไซโลกักเก็บเพื่อรองรับผลผลิตที่นับวันจะมากขึ้นจากการขยายการเพาะปลูก ข้าวด้อยคุณภาพ การขายข้าวไม่ออก การขาดทุนจากการเสื่อมคุณภาพส่งผลถึงราคาขาย ขาดทุนมากมายปีละเป็นแสนและจะทวีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวจนก่อเกิดเป็นดินพอกหางหมูแล้วต้องกู้ๆมาจ่าย สุดท้ายคงแบกภาระไม่ไหวเมื่อข้าวเต็มบ้านเต็มเมืองจนถึงขั้นต้องจ้างให้ชาวนาอย่าปลูกข้าวเพื่อระบายข้าวที่มีออกไปก่อน ต้องลดพื้นที่เพาะปลูก แต่ยังคงนโยบายจำนำราคาสูง ชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินคงต้องขอเช่าปลูกทำกินบ้าง แล้วอำมาตย์หน้าไหนจะไปห้ามได้นี่คือคำพูดของ มรว.ปรีดิยาธร เทวกุลที่เคยวิจารณ์นโยบายจำนำข้าวก่อนหน้าที่รัฐบาลจะประกาศเสียอีก

กับความเสียหายและผลกระทบนี้ท่านว่าใครจะไปก่อนใคร

ประเทศชาติ ประชาชน รัฐบาล




http://www.oknation.net/blog/print.php?id=818240


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/06/2013 9:25 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 10:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปราบเพลี้ยกระโดด ชูมาตรการ "1 ลด 2 งด 3 เพิ่ม" ตั้งหมู่บ้านต้นแบบ


แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศัตรูตัวร้ายในแปลงนาจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการแก้ไขปัญหาด้วยระบบการปลูกข้าวใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผลให้สถิติการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่มีการระบาดรุนแรงในปี 2552 ที่ทำลายผลผลิตข้าวไปไม่ต่ำกว่า 2.3 ล้านไร่ โดยในปี 2555 พบการระบาด 1.5 ล้านไร่ และในปีนี้พบการระบาดประมาณ 30,000 ไร่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะหมดไปอย่างสิ้นเชิง

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า จากการติดตามศึกษาสภาพการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศัตรูข้าวตัวสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชาวนาไทยอย่างมาก จะมีการกลับมาระบาดสร้างความเสียหายเป็นระยะ เนื่องจากการทำนาของชาวนาในปัจจุบันมีการปลูกข้าวมากขึ้นและต่อเนื่องทั้งปี ไม่มีการพักนา ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวมากเกินไป ปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันต่อเนื่องเกิน 6-8 ฤดูปลูก และใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายเฉลี่ย 60% คิดเป็นมูลค่าเสียหายรวม 26,000 ล้านบาท

ฉะนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูนาปีชาวนาเริ่มทำนากันแล้ว กรมการข้าว ได้กำหนดกลยุทธ์การควบคุมด้วยมาตรการทางวิชาการควบคู่กับมาตรการเชิงรุก คือ “ 1 ลด 2 งด 3 เพิ่ม” ประกอบด้วย

1 ลด คือ *** (1) ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ให้เหลือ 15-20 กก.ต่อไร่ เพราะจากเดิมที่เกษตรกรนิยมใช้วิธีหว่านใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยอยู่ที่ 25-40 กก.ต่อไร่ ซึ่งหนาแน่นเกินไปและเป็นแหล่งอาหารและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างดี กรมการข้าวขอแนะนำให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีทำนาดำหรือนาโยน ที่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยกว่าแถมช่วยลดต้นทุนได้ไร่ละ 300 บาท

2 งด คือ **** (1) งดใช้สารเคมีกำจัดแมลงในระยะข้าวอายุน้อยกว่า 40 วัน เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะมาเริ่มวางไข่แต่ยังไม่มีการทำลาย ฉะนั้นช่วงนี้ศัตรูธรรมชาติในแปลงนา เช่น ตัวห้ำ แตนเบียน จะกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีธรรมชาติ อีกหนึ่งงด คือ **** (2) งดใช้อบาเม็กตินและไซเพอร์เมทรินในนาข้าว เนื่องจากสารเคมีสองชนิดนี้เป็นอันตรายอย่างมากและมีฤทธิ์ฆ่าทุกอย่างไม่เพียงแต่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังฆ่าศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ในแปลงนาด้วย

3 เพิ่ม ประกอบด้วย **** (1) เพิ่มการปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน ซึ่งกรมการข้าวมีการรับรองพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น พันธุ์ กข 47 กข 49 และในเร็วๆ นี้จะมีพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีกว่าเดิมออกมาให้กับพี่น้องชาวนาเป็นทางเลือก ส่วนเพิ่มที่สองคือ **** (2) เพิ่มการปลูกพืชมีดอกบนคันนาเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางที่นำต้นแบบมาจากประเทศจีนที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา แล้วเขาแก้ด้วยการสร้างระบบนิเวศน์บนคันนา ปลูกพืชให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของศัตรูธรรมชาติ ที่สำคัญคือเพิ่มที่สาม **** (3) เพิ่มการสำรวจตรวจเยี่ยมแปลงนาอย่างสม่ำเสมอหรือใช้กับดักแสงไฟ ถ้าเกษตรกรลงตรวจสอบพื้นที่ปลูกข้าวบ่อยๆ เมื่อเจอเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็จะสามารถตัดสินใจในการดูแลหรือหาทางแก้ปัญหาได้ทันท่วงที


นายชัยฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากมาตรการที่กล่าวมาข้างต้น กรมการข้าว ยังมีมาตรการปฏิบัติการเชิงรุก คือ การตั้งหมู่บ้านนำร่องปลอดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยคัดเลือกหมู่บ้านที่มีปัญหาการระบาดรุนแรงและเป็นพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดละ 5 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี นครนายก และชัยนาท รวม 15 หมู่บ้าน โดยมีชาวนาอาสา 75 คน เป็นแกนนำถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมทำแปลงเรียนรู้ การใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูล เพื่อติดตามพยากรณ์หรือเตือนภัยการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อีกทั้งยังเป็นผู้นำทางวิชาการในการแก้ปัญหาด้วยความเข้าใจในระดับ ชุมชน อย่างไรก็ตาม

สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดก็จะมีการเฝ้าระวังเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหน่วยบริการตรวจสุขภาพข้าวในแหล่งที่ไม่เคยพบการระบาด ร่วมกับการให้ความรู้แก่เกษตรกรในการดูแลรักษาข้าวและป้องกันศัตรูข้าว พร้อมกันนี้จะจัดตั้งศูนย์วิชาการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประจำจังหวัด เพื่อถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและสนับสนุนด้านวิชาการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องชาวนาและประเทศชาติ



http://www.naewna.com/local/54633


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/06/2013 6:43 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 10:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นำร่องหมู่บ้านปลอด 'เพลี้ย-ข้าววัชพืช' ขจัดมหันตภัยร้ายคุกคามชาวนาไทย :

ดลมนัส กาเจ ... รายงาน





แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศกสิกรรม มีการทำนามายาวนาน ดั่งสำนวนโบราณที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเป็นสำนวนที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของผลผลิตข้าวไทย สินค้าส่งออกของประเทศมูลค่าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่กระนั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชาวนาไทยมักประสบปัญหาการทำนาข้าวมากมาย ทั้งจากภัยธรรมชาติ และจากการกระทำของชาวนาเอง ที่เอื้อต่อการเกิดศัตรูพืชในนาข้าว โดยเฉพาะการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และข้าววัชพืช คิดมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล

ข้อมูลจากกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลครั้งแรกเมื่อปี 2518-2527 และรุนแรงที่สุดระหว่างปี 2552-ปัจจุบัน มีพื้นที่เสียหายทั้งหมดกว่า 5 ล้านไร่ คิดมูลค่าราว 2.6 หมื่นบาท ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาชลประทานเขตภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ต่อมาขยายไปยังภาคภาคตะวันตก และภาคตะวันออก กระทั่งปี 2556 สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ล่าสุด ณ วันที่ 10 เมษายน 2556 มีการระบาด 12,009 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่พื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ และนครศรีธรรมราช เช่นเดียวกับการระบาดของข้าววัชพืช จากการเก็บข้อมูลของกรมการข้าว พบว่า ตั้งแต่ปี 2518 ที่เกิดการระบาดข้าววัชพืช หรือ “weedy rice” ในนาข้าว จ.ปราจีนบุรี ต่อมาระบาดรุนแรงอีกครั้งเมื่อปี 2544 ก่อนลุกลามในทุกภาคของประเทศไทยถึง 64 จังหวัด กินเนื้อที่กว่า 20 ล้านไร่ คิดมูลค่าความเสียหาย 1.35 หมื่นล้านบาท

นั่นแสดงให้เห็นว่า ปัญหาต่างๆ ที่เริ่มเกิดขึ้นช่วงปี 2518 สอดคล้องกับการยืนยันของ นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย ว่า การเกิดแมลงศัตรูพืชและวัชพืชหลังจากที่ชาวนาเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำนาจากเดิมที่ทำนาดำหันมาทำนาหว่านราว 30 ปีก่อน

"การทำนาในอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างกัน คือสมัยก่อนจะทำนาดำ อาศัยน้ำจากธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำฝนเป็นหลัก มีบางพื้นที่ติดกับแม่น้ำลำคลอง จะทำนาปีละ 2 ครั้ง แต่ปัจจุบันระบบชลประทานดีขึ้น ทำให้ชาวนาเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำนาจากเดิมทำนาดำ เพราะมีเวลาเพียงพอ จึงหันมาทำนาหว่าน เพราะต้องแข่งกับเวลาที่ต้องทำนาปีละ 3 ครั้ง จึงมีการใช้สารเคมีที่เกินกว่าจำเป็น ทำให้มีปัญหามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องศัตรูพืชที่มาทำลายของต้นข้าวทั้งที่เป็นแมลศัตรูพืชและวัชพืช เกิดจากที่เกษตรกรไม่มีการพักนา เก็บเกี่ยวเสร็จอีก 7 วันไถ่กลบและปลูกข้าวใหม่ ทั้งที่น่าจะทิ้งช่วงสัก 2 เดือน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้" นายประสิทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทั้งปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำและข้าววัชพืชนั้น กรมการข้าวมีการติดตามและแก้ปัญหามาตลอด ล่าสุด นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว ยืนยันว่า จะใช้งบประมาณปี 2556 เพื่อดำเนินการเชิงรุก ด้วยการตั้ง "หมู่บ้านปลอดเพลี้ย" ที่มีปัญหาการระบาดรุนแรงและเป็นพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดละ 5 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัด และตั้ง "หมู่บ้านปลอดข้าววัชพืช" โดยการคัดเลือกพื้นที่ที่มีข้าววัชพืชระบาดรุนแรงและเป็นพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนใน 2 จังหวัด คือ ปทุมธานี และสุพรรณบุรี

นายชัยฤทธิ์ กล่าวว่า จากบทเรียนจากการติดตามศึกษาสภาพการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในรอบที่ 4 ตั้งแต่ปี 2552-ปัจจุบัน มีพื้นที่ระบาดเสียหายแล้วประมาณ 5 ล้านไร่ ทำให้ผลผลิตชาวนาเสียหายเฉลี่ย 60% มูลค่าความเสียหายราว 2.6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นในปีงบประมาณ 2556 นี้ โดยเฉพาะฤดูนาปีที่กำลังจะถึงราวมิถุนายนนี้ ทางกรมการข้าวเร่งปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้อยู่หมัด โดยใช้กลยุทธ์การควบคุมด้วยมาตรการทางวิชาการควบคู่มาตรการเชิงรุก “1 ลด 2 งด 3 เพิ่ม” คือ

ลด เป็นการลดอัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เหลือ 15-20 กก./ไร่ หรือถ้าทำนาดำอาจใช้เพียง 7-10 กก. /ต่อไร่ หากเกษตรกรปฏิบัติตามได้จะประหยัดเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ไร่ละอย่างน้อย 300 บาท,

งด คือ งดใช้สารเคมีฆ่าแมลงในระยะข้าวอายุน้อยกว่า 40 วัน งดใช้อบาเม็กติน และไซเพอร์เมทรินในนาข้าว

เพิ่ม คือ เพิ่มการปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดด เช่น พันธุ์ กข.47 และพันธุ์ที่กรมการเพิ่งประกาศครั้งสุดคือพันธุ์ กข.49 ซึ่งถือเป็นสุดยอดของการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เพิ่มการปลูกพืชมีดอกบนคันนาเพื่อรักษาสมดุลศัตรูข้าว เพิ่มการสำรวจตรวจเยี่ยมแปลงนาสม่ำเสมอ หรือใช้กับดักแสงไฟ

"มาตรการทั้งหลายทั้งปวงที่กรมการข้าวเห็นว่าการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้คือ การเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทางกรมการข้าวจะมีการวิจัยปรับปรุงข้าวอย่างต่อเนื่อง อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมาก ชาวนาลงทุนน้อยคือผมไปดูงานจากต่างประเทศมาพบว่า การพืชตามคันนา เป็นพืชดอกสีขาว สีชมพู ต้นอะไรก็ได้ พบว่ามีแมลงศัตรูธรรมชาติ ที่จะไปทำลายตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี ต่อไปเราจะส่งเสริมส่วนนี้อย่างจริงจังครับ" นายชัยฤทธิ์ กล่าว

ส่วนมาตรการการปฏิบัติงานเชิงรุกที่กรมการข้าวเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ 2556 คือ การตั้งหมู่บ้านนำร่องปลอดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยคัดเลือกหมู่บ้านที่มีปัญหาการระบาดรุนแรงและเป็นพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดละ 5 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี นครนายก และชัยนาท รวม 15 หมู่บ้าน โดยมีชาวนาอาสา 75 คน เป็นแกนนำถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมทำแปลงเรียนรู้การใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูล เพื่อติดตามพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเป็นผู้นำทางวิชาการในการแก้ปัญหาด้วยความเข้าใจในระดับชุมชน นอกจากนี้ได้ส่งเสริมสาธิตการใช้เครื่องดูดแมลง (Giant Light tap) เพื่อการขยายผลโดยท้องถิ่น จำนวน 2,000 เครื่อง เป็นต้น

ขณะที่ปัญหาการระบาดของวัชพืชนั้น อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ปัญหาข้าววัชพืช ที่ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยชาวนาต่อปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด กรมการข้าวจึงเร่งแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการติดตามประเมินพื้นที่ระบาดของข้าววัชพืช ในปี 2555 พบมีพื้นที่การระบาดในทุกภาค รวม 64 จังหวัด มีพื้นที่การระบาดไม่ต่ำกว่า 20 ล้านไร่ โดยมีการระบาดรุนแรงประมาณ 3 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 13,500 ล้านบาท" อธิบดีกรมการข้าวกล่าว

ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2556 กรมการข้าวจึงเร่งดำเนินจัดตั้ง "หมู่บ้านปลอดข้าวดีดข้าวเด้ง" หรือข้าววัชพืช โดยให้ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นในการแก้ปัญหา โดยการคัดเลือกพื้นที่ที่มีข้าววัชพืชระบาดรุนแรงและเป็นพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนใน 2 จังหวัด คือ ที่ปทุมธานี ที่ ต.คอไห อ.ลำลูกกา และ ต.สวนพริกไทย อ.เมือง ส่วนที่ จ.สุพรรณบุรี ที่ อ.เดิมบางนางบวช เพื่อกำจัดข้าววัชพืชอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่กรมการข้าวกำลังเดินหน้า หวังที่จะพิชิตมหันตภัยร้ายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและข้าววัชพืชในอนาคต

http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2017 5:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 4:01 pm    ชื่อกระทู้: Re: ชาวนา กับโครงการ 3 เพิ่ม 3 ลด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:



การผลิตข้าว เวียตนาม มีนโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม ส่งเสริมชาวนาเป็นรูปธรรม
COMMENT :
รัฐบาลไทย COPY มาจากเวียดนาม เพราะเวียดนามพูดมาก่อน...
เวียดนาม COPY มาจากเกษตรลุงคิม ดอท คอม เพราะลุงคิมพูดมาก่อนเกือบ 10 ปี
แล้วก็พูดมากกว่านี้ด้วย .... จำได้ไหม



3 ลด :
ลด..........เมล็ดพันธุ์
ลด..........การใช้ปุ๋ย
ลด..........การใช้สารกำจัดศัตรูพืช

ลด..........ปุ๋ยเคมี
ลด..........ธาตุหลัก
ลด..........สารเคมียาฆ่าแมลง
ลด..........เชื่อคนขายปุ๋ยขายยา เชื่อข้างบ้านที่ยังเป็นหนี้ และเชื่อตาคิม



3 เพิ่ม :
เพิ่ม.........ผลผลิต
เพิ่ม.........คุณภาพข้าว
เพิ่ม.........กำไรให้ชาวนา

เพิ่ม........ปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
เพิ่ม........ธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน
เพิ่ม........สารสมุนไพร และ ไอพีเอ็ม.
เพิ่ม........เชื่อตัวเอง เชื่อคนในกระจก



https://www.facebook.com/JibtongSurinRiceMill/posts/160457034111166


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/06/2013 6:28 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

นายกฯ แจงลดราคาจำนำข้าว



ส่วนการปรับลดราคารับจำนำลงเหลือตันละ 12,000 บาท เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ซึ่งรัฐบาลก็ดูเรื่องของการสร้างสมดุล ใน 4 มิติ คือ


1. ต้องการให้ชาวนาขายข้าวได้ในราคาที่เป็นธรรม
COMMENT :
ถ้า ความชื้น, ข้าวลีบ, ข้าวปน, ข้าวป่น, คุณภาพไม่ดี ก็จ่ายตามเนื้อผ้า 12,000 จ่าย 8,000 .... นี่คือ "ราคาที่เป็นธรรม" ถ้าชาวนาแก้ไขไม่ได้ ไม่มีสิทธิ์โวย



2. ต้องรักษาความสมดุลด้านราคาต้องสะท้อนจากคุณภาพของข้าว
COMMENT :
ข้าวคุณภาพไม่ดี สายพันธุ์ไม่นิยม ตลาดต่างประเทศไม่รับ ขายไม่ออก แบบนี้เรียกว่า "เสียสมดุล" ทางการค้า สรุป ไม่รับซื้อ ชาวนาก็ไม่มีสิทธิ์โวยเหมือนเดิม



3. ต้องทำราคาให้สะท้อนกับราคาตลาดโลก เพราะเมื่อผ่านไปปีกว่าราคาตลาดโลกก็ไม่ได้ขึ้นอย่างที่คิด รวมถึงเกิดปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า
COMMENT :
ตลาดโลก ขึ้นๆลงๆ ตามข้าวราคาถูกของประเทศอื่น ที่ดั๊มราคาเพื่อแข่งกับข้าวไทยอยู่แล้ว งานนี้ชาวนาก็ไม่มีสิทธิ์โวยอีกนั่นแหละ




4. ต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง
COMMENT :
ถ้าวินัยการเงินการคลังเสียเป็นอย่างไร ให้ดูกรีก (หนัก), สเปน (นิดหน่อย), ฝรั่งเศษ (นิดหน่อย), ดูไทยแลนด์ก็ได้ที่ต้องกู้ "IMF" ไง ประชาชนเดือดร้อนทั่วประเทศ ทุกสาขาอาชีพ สรุป งานนี้ชาวนาอย่าเอาแต่ได้ถ่ายเดียว ต้องช่วยตัวเองให้มากกว่านี้

การเอาเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาปรนเปรอชาวนา แล้วชาวนาเอาไปให้คนขายปุ๋ยขายยา มันไม่ถูกต้อง



แต่ถ้าในอนาคตหากราคาในตลาดโลกดีขึ้น จะทบทวนราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง
COMMENT :
ฝัน....เหมือนซื้อหวย งานนี้ชาวนาก็ต้องฝันด้วย ฝันกลางนา ฝันกลางแดด ฝันกลางวัน ฝันไปเถอะ ฝันฝัน ฝันฝัน




นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ปรับลดราคาจำนำลง เบื้องต้นมี 4 แนวทาง คือ
1. ลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้เดิมให้กับผู้ที่ประสบปัญหา
2. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตรอบใหม่
3. เพิ่มวงเงินในบัตรสินเชื่อเกษตรกร และ
4. ให้สิทธิ์เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันภัยนาข้าวตามนโยบายเต็มรูปแบบ
COMMENT :
- รวมแล้ว ชาวนายังต้องจ่ายมากเหมือนเดิม นี่มัน "ส่งเสริมหนี้ หรือ ส่งเสริมกำไร"
- ทำไมไม่ส่งเสริมแบบ "พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ พร้อมซื้อ สอนวิธีเลือกซื้อ" หรือ "ทำเองครึ่งนึ่ง-ซื้อครึ่งนึง" สอนให้ชาวนาช่วยตัวเอง พัฒนา ปรับปรุงตัวเอง เมื่อชาวนารู้แล้ว ทำเป็นแล้ว ก็จะทำเป็นไปตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ด้วย....

จ่ายน้อย = ต้นทุนต่ำ....ต้นทุนต่ำ = กำไรเพิ่มขึ้น ....ว่ามั้ยล่ะ

คนมาเป็น รมต. หรือคณะรัฐบาล (โดยเฉพาะนายก) เป็นพ่อค้ามาก่อน ทำไมไม่รู้ไม่เข้าใจ "หลักเศรษฐศาสตร์การลงทุน" เหมือนแกล้งไม่รู้ว่า ต้นทุนที่ชาวนาจ่ายออกไปน่ะเป็น "ต้นทุนที่สูญเปล่า" ควรที่ต้องคิดค้นกลยุทธในการส่งเสริม ให้ชาวนายอมรับและก็ทำให้ได้

เกษตรยั่งยืน คนส่งเสริมยั่งยืน รวยเอา รวยเอา แต่ผู้รับการส่งเสริม ล้มทั้งยืน .... นี่มันอะไรกัน
คนขายปุ๋ยขายยา ปีเดียวรวย เกษตรกรขายผลผลิต 100 ไม่รวย .... นี่เพราะอะไร

ชาวนาเองก็เหมือนกัน ตั้งแต่ก้าวแรกลงนา จนถึงวันสุดท้ายขายข้าวแล้วเดินเข้าบ้าน ลงทุนไปเท่าไหร่ ไม่คิด ไม่ยอมรับ ไม่แก้ไขปรับเปลี่ยนใดๆทั้งสิ้น .... ขายข้าวได้ 1 แสน เอาเงินไปจ่ายค่าปุ๋ยค่ายาที่เครดิตมา แล้วเหลือเงินเข้าบ้านแค่ 40 บาท ก็ยังคุย

ปุ๋ย-ยา ทำเองได้แต่ไม่ทำ มีคนสอนก็ไม่เรียน ราคายิ่งแพงยิ่งซื้อ ปุ๋ยไดเร็คเซลล์ไปเสนอถึงหน้าบ้านขนาดลิตรละ 3,000 ลิตรละ 10,000 ทั้งๆที่ต้นทุนแค่ 100 เดียว ก็ยังยอมซื้อ

นาข้างบ้านเขาใส่ปุ๋ย 10-20 กก./ไร่ ได้ 100 ถัง ที่ตัวเองใส่ยูเรีย 2 กส. 16-20-0 อีก 1 กส. รวม 3 กส. 150 กก./ไร่ ได้ 100 ถังเหมือนกัน เห็นกับตา จับกับมือ ชิมกับปาก ก็ยังไม่ยอมคิด

นายกสมาคนชาวนา บอกว่า นาข้าวต้นทุนไร่ละ 7,000-8,000....................?
ประธานสภาเกษตรกร บอกว่า นาข้าวต้นทุนไร่ละ 3,000 มีคนทำได้เยอะแยะ.....?



โดยแนวทางทั้งหมดจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า
COMMENT :
นี่มั้ง ที่เรียกว่า "ทุจริตเชิงนโยบาย" .... ชาวนาเอ๊ย อีก้อบอกว่า "มึงตัยยย..."




ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฐนะการเงินของ ธ.ก.ส. เพราะได้มีการเตรียมเงินทุนมาดูแลโครงการของรัฐบาลไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น ขณะเดียวกันยังทำให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.ก.ส. ลดลงจากระดับ 6.57% ในปี 54 เหลือ 3.95% ในปี 56 ส่วนยอดเงินฝากก็เพิ่มขึ้น 71.32% จาก 146,358 ล้านบาทในปี 54 เป็น 250,740 ล้านบาท ในปี 56 ด้วย
COMMENT :
- ผลงาน ธ.ก.ส. ถือว่าดี ตามประสานักธุรกิจเงินกู้ที่ไม่ใช่นักส่งเสริมการเกษตร
- ผลงาน ชาวนา ถือว่าแย่ เพราะหนี้สินภาคครัวเรือนก็ยังหนักเหมือนเดิม



นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีข่าวโรงสีหยุดรับข้าวว่า เป็นความสับสนเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดองค์การคลังสินค้า (อคส.) ออกมายืนยันว่า ไม่มีเหตุยุติการรับจำนำข้าวหรือปิดกั้นจุดรับจำนำข้าว ยืนยันว่าโครงการนี้เดินหน้าต่อไปตามปกติ เกษตรกรสามารถนำข้าวเข้ามาในโครงการรับจำนำข้าวได้เหมือนปกติทุกอย่าง และยังใช้ในราคาเดิม 15,000 บาท ถึงวันที่ 29 มิ.ย.นี้ แต่ถึงวันที่ 30 มิ.ย. จะเริ่มใช้ราคาใหม่เป็น 12,000 บาท ส่วนเงื่อนไขการรับจำนำฤดูกาลต่อไป ล่าสุด กขช.อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด

คิดอย่างรัฐบุรุษ : "อย่าหวังว่า จะได้อะไรจากประเทศชาติ แต่จงถามตัวเองว่า จะให้อะไรแก่ประเทศชาติ".....(จอห์น เอฟ. แคนเนดี้)

แปลว่า (1)..... ประชาชนทุกคนต้องช่วยตัวเอง พัฒนาปรับปรุงตัวเอง ทำให้ทุกอย่างในตัวเองดีขึ้นด้วยตัวเอง จะด้วยลำพังคนเดียวหรือรวมกลุ่มก็ได้ เมื่อประชาชนทุกคนทำสำเร็จแล้วหมายถึงส่วนรวมทั้งประเทศสำเร็จด้วย

แปลว่า (2) ..... ทุกคนต้องส่วนรวมมาก่อน ส่วนตัวมาทีหลัง เพราะถ้าส่วนรวมเข้มแข็ง ส่วนตัวก็จะเข้มแข็งด้วย ในทางกลับกัน ถ้าเอาส่วนตนมาก่อน ส่วนรวมมาทีหลัง ก็ใช่ว่าตัวเองจะเข้มแข็งอย่างยั่งยืน แต่ส่วนรวมนั้นจะอ่อนแอแน่นอน ในเมื่อส่วนรวมอ่อนแอแล้วส่วนตนจะอยู่ได้อย่างไร


ประชาชน คือ รูปธรรม มีตัวตนชัดเจน
ประเทศชาติ คือ นามธรรม ไม่มีตัวตน แต่เป็นที่รวมของประชาชนทั้งชาติ





http://www.dailynews.co.th/businesss/213797



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/06/2013 6:55 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 26/06/2013 11:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง ....เอ๊ยไม่ใช่

รำไม่ดี หมูไม่กิน.....ใช่แน่ ๆ


แบบนี้แล้ว คนที่ใส่ ยูเรีย ไร่ละ 2.5 กระสอบ กับ 16-20-0 อีกไร่ละ 1.5 กระสอบ จะทำฉันใด ....
จะร้องเพลงอะไรครับ....เฮ้อ ! กรรมของ ยัยถนอม ความลับเพิ่งมาเผยตอนลดราคาจำนำข้าว


ห้ามเพลง ..เชื่อหรือไม่เชื่อตามใจ...นะครับ เบื่อแล้ว เปลี่ยนเพลงใหม่มั่งเถอะครับ....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
teeen2005
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012
ตอบ: 163

ตอบตอบ: 28/06/2013 7:19 am    ชื่อกระทู้: Re: ชาวนา กับโครงการ 3 เพิ่ม 3 ลด .... (up date) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:


การผลิตข้าว เวียตนาม มีนโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม ส่งเสริมชาวนาเป็นรูปธรรม

3 ลด :
ลด..........เมล็ดพันธุ์
ลด..........การใช้ปุ๋ย
ลด..........การใช้สารกำจัดศัตรูพืช

3 เพิ่ม :
เพิ่ม.........ผลผลิต
เพิ่ม.........คุณภาพข้าว
เพิ่ม.........กำไรให้ชาวนา




https://www.facebook.com/JibtongSurinRiceMill/posts/160457034111166


สวัสดีครับลุงคิม และสมช ทุกท่าน

3 ลด : (3 เพิ่ม มากกว่า)
ลด..........เมล็ดพันธุ์
ลดยาก เพราะมันทำตามกันมาแล้ว โดยคนที่ส่งเสริมก็ พวกเกษตรอำเภอ หรือเกษตรตำบล ไม่รู้อยู่ทำอะไรของมัน ก็อยู่ทำข้าวพันธุ์ขายให้กับเกษตรไงล่ะ ผมก็เคยซื้อข้าวกับเขา เคยฟังแนวคิดชาวนา คือ "ใส่เมล็ดพันธุ์มาก ย่อมได้มาก"

ลด..........การใช้ปุ๋ย
คงยากอีกนั้นแหละ มันฝังดีเอนเอชาวนาไทยแล้ว ยิ่งใส่มากย่อมได้มาก ชาวนารู้ว่าใส่มากดินเสีย แต่ไม่รู้อย่างไม่จริง คิดว่าเดี๋ยวมันก็สลายไป ที่จริงมีหลายที่ส่งเสริม แต่มันเป็นเชิง อย่างล่ะนิดๆหน่อยๆ ไม่ปะติดปะต่อ

ลด..........การใช้สารกำจัดศัตรูพืช
ฉีดมันเข้าไป ข้าวที่ปลูกคือเงิน ธรรมชาติมันไม่ทันใจ


สรุป : ต้องให้ถึงที่สุดของระบบก่อน ชาวนาไทยถึงจะปรับตัว ไม่ช่วยเหลือตัวเองก่อน รอรัฐบาลมาบอกว่าไปทางนี้ซิ มาทางโน้นซิ ใครทำได้กูตาม แล้วก็ราคาตก เดินขบวน สุดท้ายทำไปก็เสียเปล่า

เดินไปทำไม เสียเวลา อยากได้เงิน เงินปี เงินเดือน เงินวัน มีอยู่ที่ดินของท่านแล้ว ขึ้นอยู่กับความคิด (จินตนาการ) วางแผน แต่อีกแล้ว เกษตรกรเป็นนักปลูก แต่ไม่ใช่นักการตลาดจะขายใคร ก็รออีกแล้ว ไม่ออกไป เดินตลาดสำรวจเอง




ส่งท้าย
เครื่องขายข้าวหยอดเหรียญ

เหตุผลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

.
รูป 1 เมื่อก่อนเราต้องซื้อข้าว กับร้านขายข้าวแบบนี้ คนจีนทั้งนั้น (คนจีนไม่ผิด ผิดที่
เราไม่คิดทำ) เขาไม่ทำนาแต่ได้ส่วนต่างตรงนี้ (มากกว่าชาวนา) แล้วทำไมชาวนาที่
เป็นผู้ผลิตไม่ทำเองล่ะ ราคาก็ขายถูกกว่าอีกเพราะเราตั้งราคาได้เอง




รูปที่ 2 เครื่องขายข้าวหยอดเหรียญญี่ปุ่น




รูปที่ 3 เครื่องขายข้าวหยอดเหรียญ ของไทยมีแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็พวกร้านขายข้าวนั้น
แหละซื้อไปวางตามชุมชน แต่น้อยมาก ในเมื่อเซเว่นมีได้ แล้วครื่องขายข้าวหยอด
เหรียญส่งตรงจากชาวนาจะทำไม่ได้




รูป 4 ยกระดับข้าว ส่งตรงถึงบ้าน คล้ายรถขายกับข้าว



http://www.thaifinbiz.com/newsfranchise_detail.php?newsfranchise_id=41



จะดีไหมหรือจะเป็นไปได้ไหม....ถ้าคนในรูปที่ยืนขาย เป็นชาวนาปลูกข้าวเอง แล้ว
แปรรูปขายเอง ที่เรียกว่า "ต้นน้ำ - กลางน่้ำ - ปลายน้ำ" .... นี่แหละ ข้าวตันละ
120,000 ยังไม่รวม "จมูกข้าว น้ำมันรำข้าว กากรำ แกลบ" กล้าทำ ทำได้แน่นอน


คิม ซา กัสส์



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/06/2013 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โซนนิ่งเกษตร


เพื่อปฏิรูปภาคการเกษตรของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในอาเซียนและในตลาดโลก รัฐบาลได้ออกยุทธศาสตร์การจัดการใช้ที่ดินประเทศ หรือโซนนิ่ง

มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพใหญ่ แปลงยุทธศาสตร์ประเทศ สร้างความสามารถในการแข่งขันประเทศ กลยุทธ์ การจัดการใช้ที่ดินประเทศ หรือโซนนิ่ง ไปสู่การปฏิบัติ กำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ดิน คุณสมบัติของดิน ร่วมกับความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด ตามสภาพที่มีการเพาะปลูก ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย เขตพื้นที่โครงการชลประทานประกอบการพิจารณากำหนดเขตเหมาะสม

ข้อมูลที่ประกาศนี้จะนำไปสู่การพิจารณาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตสินค้าเกษตร การรักษาเสถียรภาพด้านราคา และอุปสงค์ อุปทานในอนาคต

สำหรับเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำแนกตามรายภาค จังหวัด อำเภอ และตำบล สรุปได้ ดังนี้

- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว 76 จังหวัด 809 อำเภอ 5,880 ตำบล
- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง 49 จังหวัด 448 อำเภอ 2,113 ตำบล

- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา 60 จังหวัด 403 อำเภอ 1,703 ตำบล
- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน 26 จังหวัด 185 อำเภอ 856 ตำบล

- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน 48 จังหวัด 401 อำเภอ 2,105 ตำบล
- เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 43 จังหวัด 268 อำเภอ 1,175 ตำบล


นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯและรมว.เกษตรฯ ระบุว่า ประโยชน์สำคัญที่จะได้จากโซนนิ่ง จะทำให้เกษตรกร ลดต้นทุนจากการทำการเกษตร เนื่องจากปัจจัยการผลิต ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด

ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีรายได้สุทธิจากการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมประสิทธิภาพการผลิตข้าวอยู่ที่ 715 ก.ก. ต่อไร่ (ณ ความชื้นร้อยละ 14) ซึ่งในพื้นที่เช่นนี้การจะปรับเพิ่มปริมาณ คุณภาพและมาตรฐาน จะทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

เมื่อเกษตรกรสามารถบริหารจัดการด้านต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านราคาจำหน่าย

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะนำข้อมูลเขตเหมาะสมที่ประกาศ นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำความเข้าใจร่วมกับส่วนราชการและภาคเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ให้รับรู้และเข้าใจศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง

หาทางเลือกดำเนินการผลิตที่เหมาะสมกับศักยภาพของภูมิสังคมของตนเอง และยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ข้อมูลสนับสนุน หรือประสานความร่วมมือในการหาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ การปรับเพิ่มผลิตภาพของทรัพยากรดินและน้ำ

การกำกับดูแลให้มีการซื้อขายปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประสานอำนวยความสะดวกทางการตลาด การบริหารตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร อันเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการขับเคลื่อนให้เกษตรกรปรับวิธีคิดเป็น สมาร์ต ฟาร์มเมอร์ ไปพร้อมกับการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้เป็น สมาร์ต ออฟฟิศเซอร์ส



http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREk0TURZMU5nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB5T0E9PQ==
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©