-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 24 JUL *ลดขนาดต้นไม้ผล. รวมโรคพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จาก นมเปรียง เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยี อะตอมมิค นาโน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จาก นมเปรียง เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยี อะตอมมิค นาโน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 31/10/2013 9:32 am    ชื่อกระทู้: จาก นมเปรียง เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยี อะตอมมิค นาโน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโน.....

....(อยู่ดีไม่ว่าดี อยากก้าวล้ำนำยุค) ทำเรื่องง่ายให้ยาก


ภาค 1 นมเปรียง และ เกลือสะตุ

(1) - นมเปรียง

ผมอ่านคำถามเรื่องวิธีการทำนมเปรียง และวิธีการทำเกลือสะตุของคุณ praphut แล้วมันค้างคาใจครับ บังเอิญผมเคยได้รับคำชี้แนะของทิดแดง (ขายข้าวเสร็จ ตอนนี้แอบหนีไปเที่ยว ภูฏาน เกือบครึ่งเดือนแล้วยังไม่กลับ) ว่า ....มึงอยากรู้อะไร ไม่ใช่ถามตะพึด ให้มึงหัดลองค้นหาดูซะก่อนที่จะถาม ....

ผมก็เลยค้นหา เริ่มจาก เว็ปที่ลุงอ้างถึง

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6589b6de489f6668

ผมเปิดเว็ปดูแล้ว ก็ได้ความพอรู้เรื่อง การทำนมเปรียง และ การทำเกลือสะตุ แล้วก็ยาวไปถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิค นาโน (เล่นศัพท์สูงซะด้วย) ซึ่งทั้งหมด เป็นคนละเรื่องเดียวกัน....ผมอ่านหมดแล้ว มึนเกษตรกรติดดินอย่างผม... ตอบได้ว่า ...ผมไม่ทำหรอกครับ วิธียุ่งยากมากๆ เลย ใช้ไม่เป็นอันตรายอีกต่างหาก(ติดตามต่อไปแล้วจะรู้).... เพราะถ้าอยากจะทำเกษตรอินทรีย์ล้วนๆ ...ใช้ปุ๋ยลุงคิม ตัดเคมีที่ผสมออกไป เพิ่มอินทรีย์เข้าไป ยังไงๆ ราคาและต้นทุนถูกกว่ากันเกินครึ่ง...ต้นทุนค่าปุ๋ยสูง แบบเดียวกับที่คิดจะปลูกผักไฮโดรฯ หวังขายคนรวยนั่นแหละ

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ...ผมขออนุญาตว่าตามเว็ปนะครับลุง จะได้ไม่ค้างคาใจ หรืออาจจะหนักใจยิ่งขึ้น เพราะอ่านแล้ว ไม่รู้เรื่อง

นมเปรียง
คือ นมที่หมักด้วยจุลินทรีย์ ชนิดหนึ่ง เพื่อเก็บรักษานมไว้ได้นานและย่อยโปรตีนและไขมันให้เล็กลง เป็นส่วนผสม (หัวเชื้อ) ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีกชั้นหนึ่ง

แค่อ่านภาษาวิชาการก็มึนแล้ว เอาเป็นว่าลักษณะเหมือนหมักนมให้เปรี้ยวกลายเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้เอาไปผสมทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพอีกทีหนึ่งหรือ...

พูดง่าย ๆ ก็เหมือนหมักทำหัวเชื้อ EM เพื่อ เอา EM มาขยายโดยผสมกากน้ำตาลหรือผัก ผลไม้ หรือ ฯลฯ เพื่อขยายจุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น...ความจริงเอานมเปรี้ยวมาหมักขยายเชื้อต่อยังจะง่ายดีซะกว่า อย่างน้อยก็มี แลคโตบาซิลลัส เติม กลูโคส แลกโต๊ส ฟลุคโต๊ส เพิ่มเข้าไป ผสมไอ้นั่นอีกนิด เติมไอ้นี่อีกหน่อย หมักซัก 15 วันก็ใช้งานได้แล้ว....

การทำนมเปรียง
(1) ต้องหมักผลไม้รสเปรี้ยวใช้ลูกสด 5 ชนิด คือ สมอ มะขามป้อม มะขามเปรี้ยว ลำดวนสุก ตะลิงปลิง แยกหมัก ห้ามผสมกัน โดยใช้ผลไม้ 7 ส่วน น้ำอ้อยสด 3 ส่วน หมักในโหลนาน 45 วัน

(2) นำน้ำหมัก มาอย่างละส่วน เติมลงในนมสด อัตราส่วน นม 7 น้ำหมัก 3 หมักอย่างน้อย 3 วัน ตักไขมันที่ลอยบนหน้าออก เอาส่วนน้ำใสๆ ไปใช้งาน กลิ่นจะออกคล้ายๆ น้ำลูกยอหมัก

ผลไม้สด รสเปรี้ยว 5 ชนิดตามสูตร แยกหมักอย่างละ 7 ส่วน หมักกับน้ำอ้อยสด 3 ส่วน (แค่เสาะแสวงหาผลไม้บางอย่างก็เพิ่มต้นทุนเข้าไปแล้ว)




รูป – 1 ลูกสมอสด (สมอไทย สมอพิเภก ใช้สมออะไรก็ไม่บอก)




รูป – 2 มะขามป้อมสด (มะขามป้อมไทย ป้อมอินเดีย ป้อมยักษ์ ใช้มะขามป้อมอะไรก็ไม่บอก)




รูป – 3 มะขามเปรี้ยวสด (มะขามกระดาน มะขามยักษ์ มะขามเนื้อ ใช้มะขามอะไรก็ไม่บอก)




รูป – 4 ลูกลำดวนสด




รูป – 5 ลูกตะลิงปลิงสด




รูป 6 – น้ำอ้อยสด

ราคาโดยประมาณ ผลไม้ทั้ง 5 ชนิดสด (ตค.56)
สมอสด 7 กก. ๆ ละ 150 - 1,050 บาท
มะขามป้อม 7 กก. ๆ ละ 100 - 700 บาท
มะขามเรี้ยวสด 7 กก. ๆ ละ 50 - 350 บาท
ลูกลำดวนสด 7 กก. ๆ ละ 1,500 - 10,500 บาท
ลูกตะลิงปลิงสด 7 กก.ๆ ละ 100 - 700 บาท
น้ำอ้อยสด 15 กก. ๆ ละ 100 - 1,500 บาท
รวม 50 กก. - 14,800 บาท
เฉลี่ย กก. ละ - 296 บาท
จะได้หัวเชื้อน้ำหมัก รวมประมาณ 25 ลิตร เฉลี่ย ลิตรละ 592 บาท

เมื่อได้น้ำหมัก นมเปรียงแล้ว วิธีการเก็บรักษาให้ใช้ได้นาน ๆ ....จะทำฉันใดให้จุลินทรีย์มันนอนหลับ ? ...นั่นคือปัญหาน่าคิดครับ


(2.) วิธีทำเกลือสะตุ ....

สงสัยจะเอาไปทำปุ๋ยใส่ ต้นสละ หรือ ต้นอินทผาลัม.....

วิธีการทำ ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก (คือวิธีการทำมันยุ่งยาก 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็นจะได้หรือเปล่ายังไม่รู้) ...ลุงคิมบอกแล้วว่า

คำว่า "สะตุ" เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์แผนไทย ทำยาสำหรับ "คน"
ถ้าเรียนรู้กันง่ายๆ ทำง่ายๆ ใครก็ทำได้ คนกินแล้วตาย ใครรับผิดชอบ
รู้แต่ไม่บอก .... ที่นี่เอา "พืช" อย่างเดียว


วิธีการทำปุ๋ยตามสูตรลุงคิม ... ลุงคิมเคยพูดว่า ใครทำได้กูจะตามไปกราบ

และวิธีการทำ นมเปรียง กับทำเกลือสะตุ ผมขอบอกว่า ใครทำครั้งแรกแล้วใช้งานได้ ผมจะตามไปให้เหยียบ (หมักนมเปรียง ทำไม่ถูกวิธี แค่ 3 วันก็ราขึ้นแย๊ว)

และขอบอกอีกว่า ถ้าหมักได้ที่ น้ำเหงื่อที่ฝาภาชนะที่เกิดจากการหมักแต่ละอย่าง คือ ฮอร์โมนที่ใช้ได้กับคนและพืช แสนวิเศษสุด ๆ



แค่นี้ก่อนครับ ยังไม่จบครับ มีอีกยาว



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sombutt เมื่อ 26/07/2014 5:13 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 31/10/2013 2:33 pm    ชื่อกระทู้: รออ่านดีกว่าเนอะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะ ทิดบัติ และสมช.ค่ะ

"ผมอ่านคำถามเรื่องวิธีการทำนมเปรียง และวิธีการทำเกลือสะตุของคุณ praphut แล้วมันค้างคาใจครับ บังเอิญผมเคยได้รับคำชี้แนะของทิดแดง (ขายข้าวเสร็จ ตอนนี้แอบหนีไปเที่ยว ภูฏาน เกือบครึ่งเดือนแล้วยังไม่กลับ) ว่า .... มึงอยากรู้อะไร ไม่ใช่ถามตะพึด ให้มึงหัดลองค้นหาดูซะก่อนที่จะถาม .... "

ยัยเฉิ่ม ก้ได้รับคำชมมาแล้ว แต่ไม่สะทกสะท้าน รออ่านดีกว่า อิอิ

รออ่านอยู่ค่ะ ทิดบัติ

ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
praphut
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 29/10/2013
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 01/11/2013 11:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าค้างคาใจ โปรดช่วยหาคำตอบให้หน่อย ที่ถามมาเพราะไม่รูจึงถาม ค้นหาแล้วมันไม่มีวิธีทำให้ดู จึงสงสัย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 02/11/2013 11:42 am    ชื่อกระทู้: Re: รออ่านดีกว่าเนอะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

cherm บันทึก:
สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะ ทิดบัติ และสมช.ค่ะ

"ผมอ่านคำถามเรื่องวิธีการทำนมเปรียง และวิธีการทำเกลือสะตุของคุณ praphut แล้วมันค้างคาใจครับ บังเอิญผมเคยได้รับคำชี้แนะของทิดแดง (ขายข้าวเสร็จ ตอนนี้แอบหนีไปเที่ยว ภูฏาน เกือบครึ่งเดือนแล้วยังไม่กลับ) ว่า .... มึงอยากรู้อะไร ไม่ใช่ถามตะพึด ให้มึงหัดลองค้นหาดูซะก่อนที่จะถาม .... "

ยัยเฉิ่ม ก้ได้รับคำชมมาแล้ว แต่ไม่สะทกสะท้าน รออ่านดีกว่า อิอิ

รออ่านอยู่ค่ะ ทิดบัติ

ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ


.



สวัสดีครับลุง ...ยัยเฉิ่ม และเพื่อนสมาชิก

......

ยัยเฉิ่ม ก้ได้รับคำชมมาแล้ว แต่ไม่สะทกสะท้าน

เอ็งน่ะโดนจากทิดแดงแค่หางเลข ...แต่ข้าน่ะโดนเต็ม ๆ ทั้งเต็ง ทั้งโต๊ด นี่ก็คงจะเหาะกลับเย็นวันนี้มั๊ง ...


..


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sombutt เมื่อ 05/11/2013 3:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 02/11/2013 12:52 pm    ชื่อกระทู้: จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

praphut บันทึก:
ถ้าค้างคาใจ โปรดช่วยหาคำตอบให้หน่อย ที่ถามมาเพราะไม่รูจึงถาม ค้นหาแล้วมันไม่มีวิธีทำให้ดู จึงสงสัย


คุณ praphut นี่นะไม่มีเป่าปี่ ไม่มีเป่าชลุ่ย เปิดฉากมาก็ แสดงเลย การแสดงละครโดยมารยาทคนไทย มันจะต้อง.....ทักทาย ให้เกียรติ...

สวัสดีครับลุง (เจ้าชองเว็ปซะก่อน แล้วตามด้วยทักทาย) คุณ praphut และเพื่อนๆ สมาชิก

คุณอ่านแล้ว การเข้ามาแบบทื่อๆ กับเช้ามาแบบอ่อนน้อมถ่อมตน คุณว่าอย่างไหนมันดูดีกว่ากัน และอย่างไหนคุณจะได้คำตอบ จากคนที่คุณต้องการให้เค้าตอบ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ดีกว่ากัน เอาใจเขาไปใส่ใจคุณดูก็แล้วกัน

เรื่องวิธีการทำนมเปรียง ผมบอกมาแล้วโดยทำตามที่เค้าบอกในเว็ปที่ลุงคิมอ้างถึง อัตรส่วน ผลไม้แต่ละอย่างๆ ละ 7 ส่วน หมักกับน้ำอ้อยสด 3 ส่วน ปัญหาคือ ถ้าหาน้ำอ้อยไม่ได้ จะใฃ้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอย่างอื่นแทนได้มั๊ย ...น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมีอะไรบ้าง น้ำตาลจากกงวงตาล น้ำตาลมะพร้าวจากงวงมะพร้าว หรือง่ายที่สุดก็น้ำมะพร้าว แก่ก็ได้ อ่อนก็ได้

ปัญหาเรื่องผลไม้ 5 อย่าง ถ้ามีไม่ครบตามนั้น จะเอาอย่างอื่นแทนได้มั๊ย เช่น ลูกยอ มะเฟืองเปรี้ยว ลำไย สับปะรด หรือเปลือกสับปะรด (จุลินทรีย์นาโนอยู่ที่ตาเพียบ) รวมถึง แตงโม และ หัวไชเท้า

ส่วนนมสดที่จะใฃ้ จะใช้นมอะไรดีล่ะ นมวัว นมม้า นมแพะ หรือนมคน ถ้าจะใฃ้นมวัว ปัญหาก็มีว่า นมจากฟาร์มโชคชัย นมหนองโพ นมไทย-เดนมาร์ค หรือนมจากโครงการหลวงตามพระราชดำริ

ทีนี้ก็มาถึงการสะตุเกลือ คุณก็ไม่ได้บอกละเอียดว่า จะเอาเกลือสะตุไปใฃ้กับอะไร ผมเคยเห็นสมัยที่แม่ผมคลอดน้องคนเล็ก เค้าอยู่ไฟ เห็นหมอตำแยเค้านึ่งหม้อเกลือเพื่อให้แม่อยู่ไฟ ผมก็ถามหมอตำแยว่า ทำอะไร เค้าบอกว่านึ่งหม้อเกลือหรือเป็นการทำเกลือสะตุ ผมก็เลยจำได้ตั้งแต่นั้นว่า คนโบราณเค้าสะตุเกลือเค้าทำยังไง แต่ลุงคิมได้บอกคุณมาแล้วว่า มันใช้สำหรับทำยาแผนโบราณ

อีกอย่างนึง ทุกคนที่ถามปัญหาลุงคิม มักไม่บอกว่า
อยู่ที่ไหน ? จะต้องการอะไร ? อย่างไร ? ไม่รู้ว่าถ้าบอกว่าอยู่จังหวัดไหน ตำบลไหน อำเภอไหนแล้ว กลัวเจ้าหนี้จะไปทวงหนี้หหรือยังไงก็ไม่รู้ เมื่อไม่บอกรายละเอียด คำตอบที่ได้ก็แค่กำปั้นทุบดิน

ตอนที่ผมถามปัญหาลุง ผมบอกเลยว่า ผมจะปลูกข้าวหอมที่เฃียงราย ดินของผมเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ น้ำเป็นอย่างนี้ อากาศเป็นรอย่างนี้ ...ข้อมูลที่ผมได้รับจากลุงละเอียดยิบ และจนป่านนี้ ลุงรู้แต่เพียงว่า ผมปลูกข้าวหอมที่เชียงราย แต่ไม่รู้ว่าผมอยู่ที่ไหน


เมื่อคุณถามเรื่องการทำ นมเปรียง การทำเกลือสะตุ ผมก็คาดเดาเอาว่า คุณอาจจะเอาไปทดลองทำปุ๋ยนาโน

ความจริงแล้ว จุลินทรีญที่เป็นระดับ นาโน มันมีอยู่ในธรรมชาติมากบ้าง น้อยบ้าง ตามสภาพพิ้นที่ ซึ่งมันมีอยู่ในโลกมาชั่วกัปป์ ชั่วกัลป์นานแสนนานแล้ว แต่เกษตรกรเอาสารเคมีไปใส่ลงดิน จนมันล้มหายตายจากแทบจะสูญพันธุ์

ความจริงจุลินทรีย์ระดับนาโน พวกนี้สร้างเอง ทำเองไม่เห็นจะยาก ไม่ต้องซื้อ เพียงแต่อาจจะเสียเวลาหาซักหน่อย ไม่ถึงเดือนก็ได้สาร นาโน เต็มทุ่งเต็มนาเต็มสวนแล้ว

สำหรับวิธีการหรือเทคโนโลยี สรรพสิ่งอะตอมนาโน ก็คอยติดตามอ่านไปเรื่อยๆ นะครับ.....รอที่ปรึกษากำลังจะกลับอยู่วันสองวันนี่แหละ......



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 05/11/2013 3:53 pm    ชื่อกระทู้: จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง และสมาชิกผู้สนใจ เรื่องเทคนิค นาโน

จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโน

เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิค นาโน




รูป -1

นวัตกรรมเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน คือการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นเทคโนโลยีสร้างพฤติกรรมจุลินทรีย์ใหม่ ที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตนเองโดยการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ให้ได้มากที่สุด เกิดตายสะสมกันอย่างมากมาย จุลินทรีย์เหล่านั้นก็กลายเป็นอาหารพืช สัตว์ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโนมาใช้นี้ จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร ให้สามารถลดต้นทุนให้ต่ำลงกว่าครึ่งหนึ่ง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นกว่าเดิม 2-4 เท่า และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่แปลงนาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

จุลินทรีย์พลังสรรพสิ่ง หรือพลังง้วนดิน (อะตอมมิคนาโน)
คือการคัดสายพันธุ์หรือพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วขยายหรือเพิ่มปริมาณโดยการหมักตามธรรมชาติ เกิดการสร้างกรดอะมิโน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ง่ายต่อการดูดซึมของพืช

องค์ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมิคนาโน
ได้แก่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และ ปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น

พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิค” ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล ความกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ

จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิคนาโน) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้




รูป 2 –

จุลินทรีย์ท้องถิ่น…หัวใจสำคัญ
จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่อยู่ภายในท้องถิ่น จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์นํ้าหมักอีเอ็มสูตรต่างๆ เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโต มีความทนทานได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ



จุลินทรีย์ พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ คืออะไร
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เซลล์เดียวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดเล็กกว่ากล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะมองเห็นได้เช่น แบคทีเรียต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะเห็นได้เมื่อมีการเพิ่มจำนวนเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี มักเป็นวงจรชีวิตเริ่มต้น หลังจากมีการแบ่งเซลล์ จะแยกออกเป็นเซลล์เดียวๆก็ได้ เช่น สัตว์เซลล์เดียวพวกโปรโตซัว

จุลินทรีย์ ที่มีโครงสร้างของเซลล์ไม่ซับซ้อน เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตเริ่มแรก จะมีโครงสร้างเซลล์ง่ายๆ ไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรม เรียกเซลล์แบบนี้ว่า โปรคารีโอต(Prokaryot) จุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่ง จะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส แยกสารพันธุกรรมออกจากไซโทรพลาสซึม โครงสร้างเซลล์แบบนี้เรียกว่า ยูคารีโอต(Eukaryot)

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในวิถีชีวิตของคน มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากการค้นพบพฤติกรรมของนกเมื่อดื่มน้ำจากโพรงไม้ที่มีผลไม้ตกมารวมกัน ถูกยีสต์ในธรรมชาติย่อยกลายเป็นแอลกอฮอล์ ทำให้คนนำมาผลิตเหล้าในปัจจุบัน

การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรก็เช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากการนำจุลินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เมื่อวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นมีการค้นหาจุลินทรีย์มาช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุรวมทั้งแร่ธาตุในดิน โดยเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายแร๋ธาตุเช่น ย่อยฟอสเฟต ย่อยซากพืชในสภาพเป็นซากพืชซากสัตว์ สภาพเป็นน้ำ

ในระยะ 30 กว่าปี ได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์มีประโยชน์ จำนวนประมาณ 80 สายพันธุ์มาเลี้ยงในสภาพพิเศษ ที่เรียกว่า เข้าเกราะ (phage)บรรจุลงในอาหารเหลวเข้มข้น รู้จักกันในนาม จุลินทรีย์มีประสิทธิ์ภาพสูง หรือ อีเอ็ม(EM) มีการใช้กันแพร่หลายและยอมรับในการนำมาใช้ในการเกษตรและประยุกต์ใช้งาน

ในการพัฒนาประสิทธิภาพของอีเอ็ม ผ่านการเผยแพร่และวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพบวกกับความตระหนักถึงความสำคัญของจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่พัฒนามาพร้อมกับโลกกว่า 3 ล้านปี โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตกว่า 3 ล้านปีอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้น

ที่มาของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
นักวิจัยคนไทยคนหนึ่ง ได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้งานจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับคิวเซกว่า 8 ปี ได้เข้าใจระบบนิเวศของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ไม่ใช่อยู่อย่างอิสระ โดดเด่นเฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง แต่มีจุุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์ตัวอื่นๆ จุลินทรีย์สำคัญที่สุดนั้นคือ จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง และเช่นเดียวกันจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆก็ต้องวิวัฒนาการตัวเอง เพื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆได้

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะมีสารสีสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ หลากหลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ A B C D และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนที่เป็นสารประกอบในโครงสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดซึ่งแตกต่างจากพืชทั่วไปจะมี คลอโรฟิลล์ A หรือคลอโรฟิลล์ B จึงมีกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างไม่หลากหลายเหมือนกับจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เราทราบอยู่แล้วว่า กรดอะมิโนสำคัญมี 20 ชนิดจะก่อให้เกิดโปรตีนและอนุพันธุ์ของโปรตีนอีกมากมาย ที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์

จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีวงจรชิวิตสั้นและสามารถใช้แหล่งพลังงานธรรมชาติได้หลากหลาย จึงเป็นผู็ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศ ถ้าเรามีวิธีการสร้างจุลินทรีย์กลุ่มนี้มากๆ ก็จะช่วยให้การถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
กรอบคิดของคนปัจจุบัน ติดอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ชนิดใดจะมีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มจำนวนมากๆ ได้ จึงค้นหาจุลินทรีย์สังเคราะห์มาเลี้ยงโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศของจุลินทรีย์ จึงเป็นทางตันของการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั้งยืนได้ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์พลังง้วนดิน เป็นจุดจุดเริ่มต้น ที่แตกต่างในการนำจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสงมาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบัน

ในธรรมชาติมีจุลินทรีย์จำนวนมากหมายมหาศาล แต่จะเป็นกลุ่มสังเคราะห์แสงเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ ที่เหลือเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามาารถอื่นๆ แนวคิดหรือทฤษฎีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์จึงถึงทางตัน ไม่สามารถลดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนได้ เพราะไม่เข้าใจพฤติกรรมการเจริญเติบโตและกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์นั้นเอง

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ทำอย่างไรจะชักนำให้จุลินทรีย์ที่ไม่สังเคราะห์แสง สามารถสังเคราะห์แสงมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง จึงเป็นวิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน

ทฤษฎีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ชนิดที่มีโครงสร้างง่ายๆ เรียกว่า โปรคารีโอต กลุ่มสังเคราะห์แสง 2 ชนิด คือ Klebsilla variicola และ Enterobacter cowanii มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์อื่นๆ จึงเรียกว่า พญาจุลินทรีย์ มีอิทธิพลต่อจุลินทรีย์ชนิดอื่น เพราะมีคุณสมบัติที่พิเศษสำคัญ 2 อย่าง คือ

1. มีคลอโรฟิลล์หรือสังเคราะห์ด้วยแสงได้ สร้างกรดอะมิโนได้หลากหลาย
2. เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มโปรคารีโอต สามารถทำให้เข้าเกราะ(phage)ได้

สภาวะเข้าเกราะ (phage) หมายถึง การนำจุลินทรีย์มาเลี้ยงด้วยเทคนิคพิเศษ เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมในรูปของอณูชีวภาพ ที่มีสารพันธุกรรมหุ้มด้วยเกราะโปรตีนฟอลิเปปไตด์ มีลักษณะคล้ายสปอร์ของพืชชั้นต่ำ

อาหารของจุลินทรีย์ ต้องการสารอาหารเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ น้ำตาล กรดอะมิโนและสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรืออินทรีย์สาร

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ อุณหภูมิ ความชื้นและสารต้านอนุมูลอิสระ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยตัดสายพันธะของสารพันธุกรรม ช่วยในการตัดต่อสารพันธุกรรมในธรรมชาตินั้นเอง

แหล่งอาหารของจุลินทรีย์ ได้แก่ น้ำตาล นมที่ผ่านการย่อยให้เล็กลง(นมเปรียง) เพื่อให้จุลินทรีย์นำไปใช้ได้ รำอ่อน เป็นแหล่งอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดจากน้ำหมักผลไม้ต่างๆ

ความเข้าใจการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการกลายพันธุ์ในธรรมชาติ นำมาผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน จึงเป็นวัตกรรมใหม่สำหรับคนไทยอย่างแท้จริง ที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรกรรมหลักของสังคมไทย ที่สอดคล้องกับความสมบูรณ์ของประเทศไทย ความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเฉพาะความหลากหลายของจุลินทรีย์นั้นเอง

การเจริญเติบโตที่น่าสนใจของจุลินทรีย์กลุ่มโปรคารีโอต คือ สามารถเข้าเกราะ(phage) phage จะเจริญเติบโตได้ในผู้อาศัย (host)อาจเป็นจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันหรือชนิดอื่นก็ได้ และสามารถเข้าไปอาศัยในhostที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆได้ ทั้งแบคทีเรีย อาร์เคีย และโปรโทซัว เราเรียกว่า Bacteriophage

Bacteriophage จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ
1. เข้าไปจำลองตัวเอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ในเซลล์ผู้อาศัย ที่เราเรียกว่า การเกิดไวรัส
2. เข้าไปต่อกับสารพันธุกรรมของhost ทำให้ผู้อาศัยกลายพันธุ์หรือถูกตัดต่อพันธุกรรม

การทำปุ๋ยจุลินทรีย์อตอมมิคนาโน หรือจุลินทรีย์พลังง้วนดิน นี้ จะใช้ประโยชน์จาก ปรากฏการณ์ bacteriophage ขั้นตอนการเกิดไวรัส ในการผลิตหัวเชื้อ น้ำหมักจุลินทรีย์ และขั้นตอนที่ 2 การกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่เป็นโฮสต์ ให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ เพื่อสร้างกรดอะมิโน เป็นอาหารของพืชนำไปสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์ได้โดยตรงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ


การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)
วัตถุดิบ :
• รำอ่อน (ต้องเป็นรำอ่อนจากข้าวอินทรีย์เท่านั้น) .
• เกลือสะตุ (เกลือที่ผ่านการต้มจนแห้งเป็นผงหรือฟองเกลือจากนาเกลือ) จำนวน 3 ขีด
• กากน้ำตาล จำนวน 5 ขีด
• จุลินทรีย์ง้วนดินชนิดน้ำ จำนวน 5 ขีด
• ง้วนดิน (ดินโป่ง ดินดีสำหรับใช้เลี้ยงจุลินทรีย์) จำนวน 5 ขีด
• สาหร่าย (สาหร่ายอะไรไม่ยักบอก)จำนวน 5 ขีด
• สารแอนตี้ (กลั่นจากปุ๋ยจุลินทรีย์ง้วนดิน 1 ตัน กลั่นได้ 40 ซีซี) จำนวน 1 ขีด
• ผงฟอสซิล สำหรับเคลือบลูกกอล์ฟ



(3)



(4)

รูป 3 – 4

ส่วนผสมในการทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)
วิธีการ :
• นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาผสมคลุกเคล้ากันหมักไว้ในที่ร่มนาน 45 วันแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกกอล์ฟ แล้วคลุกเคลือบด้วยผงฟอสซิล
• ถ้ายังไม่ได้ใช้งานให้นำไปเก็บไว้ในที่ร่มจนกว่าจะนำออกมาใช้ประโยชน์




รูป 5

จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน (ลูกกอล์ฟ) ที่ปั้นก้อนเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้งาน

การใช้ประโยชน์ :
• ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
• ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน
• หากทำเป็นก้อนจุลินทรีย์ง้วนดิน จะสามารถรักษาน้ำหนักและคงประสิทธิภาพสถานภาพของจุลินทรีย์ได้นาน


การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ
วัตถุดิบ :
• น้ำสะอาด(น้ำคลอง น้ำบ่อ หรือถ้าใช้น้ำประปาต้องค้างคืนทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน) จำนวน 200 ลิตร
• จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ) จำนวน 5 ลูก
• นมเปรียง (นมเน่าที่ผ่านการหมัก) จำนวน 20 ลิตร
• กากน้ำตาล จำนวน 20 ลิตร
• รำอ่อนจำนวน 20 กิโลกรัม
• จุลินทรีย์ง้วนดินแห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม




รูป 6 วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ (ปุ๋ยนาโนน้ำ)

วิธีการ :
• นำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกันในถังหมักขนาด 200 ลิตรใช้เวลาหมักนาน 3 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้




รูป 7

การนำไปใช้ :
• ใช้ผสมทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ง้วนดินได้ 1 ตัน / น้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน 200 ลิตร
• ใช้เจือจางฉีดพ่นบำรุงพืชผักและสลายตอซังในนาข้าวได้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ลิตร +น้ำเปล่า 20 ลิตร


การทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
วัตถุดิบ :
• ปุ๋ยคอก จำนวน 250 กิโลกรัม
• ขี้ไก่ จำนวน 250 กิโลกรัม
• ขี้หมู จำนวน 250 กิโลกรัม
• จุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ จำนวน 200 ลิตร
• รำผสม (รำอ่อน 1 กระสอบ + รำแก่ 2 กระสอบ) จำนวน 3 กระสอบ
• สารแอนตี้ (น้ำกลั่นจุลินทรีย์ง้วนดินจากปุ๋ยผงซื้อมาราคาลิตรละ ประมาณ 1,000 บาท) จำนวน 40 ซีซี





รูป 8

วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบแห้ง (ปุ๋ยผง)

วิธีการ :

• นำปุ๋ยคอก ขี้ไก่ขี้หมู และ รำผสมมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อยๆราดน้ำหมักจุลินทรีย์ง้วนดินลงไปและ เทสารแอนตี้ลงไปด้วย จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยต้องผสมอยู่ในพื้นราบเมื่อผสมเสร็จแล้วก็ใช้กระสอบป่านคลุมปิดเก็บความ ชื้นไว้ 5-7 วันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้




รูป 9

• หากต้องการเลี้ยงจุลินทรีย์ง้วนดินก็ใช้วัตถุดิบส่วนผสมเดียวกันแล้วตักใส่ ลังผลไม้ที่มีรูระบายอากาศตั้งหมักไว้ในที่ร่ม นาน 45 วันก็สามารถนำไปใช้ได้ จะมีลักษณะเป็นผงแห้งละเอียด




รูป 10

การนำไปใช้ :
• ใช้เป็นปุ๋ยหลักในการทำนาอินทรีย์
• ประโยชน์หลักเพื่อบำรุงดิน ให้มีความร่วนซุยโปร่ง และบำรุงรากข้าวให้งอกยาวและดูดซึมอาหารได้ลึกกว่าปุ๋ยทั่วไป


เอกสารประกอบ : การทำนาด้วยเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

ภูมิปัญญาจาก : คุณเสถียร ทองสวัสดิ์ บ้านนาเจริญ หมู่ 16 ต.ดอนจิก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

ที่มาภาพ : อินเทอร์เน็ต
http://www.monmai.com


...แค่อ่านเรื่องกับวิธีการทำก็ปวดหัวมึนแล้วครับ



ยังไม่จบ....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 08/11/2013 1:17 am    ชื่อกระทู้: จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง และสมาชิกผู้สนใจ เรื่องเทคนิค นาโน

จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโน

เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิค นาโน

ภาค 2 ตอนที่ 1 ปุ๋ยอินทรีย์ อะตอมมิค นาโน

ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน

หัวเชื้อจุลินทรีย์อะตอมมิค นาโน

คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่รวมเอาทั้งแบคทีเรีย แอคติโนมัยซีทและยีสต์ไว้ในก้อนอาหารทรงกลมเป็นการสร้างบ้านให้อยู่แบบจำศีลเพื่อเตรียมให้ขยายตัวแบบยกกำลัง ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษเพาะของบริษัท ฯ.... สินค้าได้รับการตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์จากศูนย์พันธุวิศวกรรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BioTech) ซึ่งเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือและยอมรับทั่วไป
จากการตรวจสอบในเอกสารลงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553
แบคทีเรีย 1.7´109CFU/g,
แอคติโนมัยซีส 2.3´108CFU/g,
ยีสต์ 3.4´106CFU/g

(BAY BALL)

ความเป็นมาของ เบย์ บอลล์ … B=Bacteria A = Actinomycetes Y=Yeast
เป็นการร่วมตัวของกลุ่มจุลินทรีย์ นำมาปั้นเป็นก้อนเพื่อให้จุลินทรีย์ใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน คิดค้นและผลิตโดยบริษัท ฯ .... มีคำขวัญว่า
“สร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า รักษาสิ่งแวดล้อม และร่วมกันสร้างสังคมเกษตรกรให้มีสุขภาพดี มีเงินเพิ่ม และเติมชีวิต”

ความรู้เรื่อง เบย์ บอลล์ (BAY BALL)
เบย์ บอลล์ ผลิตขึ้นมาเพื่อ มุ่งสู่การช่วยเหลือเกษตรกรให้พึ่งตนเองได้ ตามต้นแบบแล้วได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เทคโนโลยี - Technology ) เป็นลำดับมาตั้งแต่ปี 2550 ดังนี้

หลังจากได้ตั้งเป็นบริษัท ที่มีจุดมุ่งหมายและมีค่านิยมที่มุ่งสู่การช่วยเหลือเกษตรกรให้พึ่งตนเองได้ ตามต้นแบบแล้ว ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เทคโนโลยี - Technology ) เป็นลำดับมาตั้งแต่ปี 2550 ดังนี้
การพิสูจน์จุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง
บริษัท ฯได้นำส่งตัวอย่างจุลินทรีย์ (Micro-organism) ที่ตั้งชื่อว่า “อะตอมมิค นาโน” ตามท่านอาจารย์ผู้สอนให้คำแนะนำไปตรวจสอบที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เมื่อปี 2553 ผลปรากฏตามรายงานเมื่อวันที่ 30/3/2553 แบคทีเรียทีตรวจพบตามรายงาน เอกสารแนบ ดังนี้
Order : Eubacteriales
Family : Enterobacteriacae
Genus : Klebsiella และ Enterobacter
Species : Variicola และ Cowanii
ชนิดของแบคทีเรียที่พบเป็นแบคทีเรียชนิดใหม่และอาศัยอยู่รวมกัน............
เรียกว่า Facultative anaerobic nitrogen fixing bacteria ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญ แบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตเจน ( N2) ได้อย่างอิสระและต้องการออกซิเจน (O2) น้อยถึงน้อยมาก และต่อมาเมื่อ 30 มิ.ย. 2553 บริษัทฯ ได้ส่งตัวอย่างชุดเดิมให้ BIOTEC เพื่อตรวจนับจำนวนจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในหัวเชื้อ อะตอมมิค - นาโน แล้วพบว่ามีทั้งแบคทีเรีย แอคติโนมัยซีท และยีสต์ ดังนี้

แบคทีเรีย : 1.7 x109 CFU / g
แอคติโนมัยสีท : 2.3 x 108 CFU / g
ยิสต์ : 3.4 x 106 CFU / g

จุลินทรีย์แอคติโนมัยซีทส์ (Actinomycetes)

เป็นแบคทีเรียลักษณะคล้ายเชื้อรา มีคุณสมบัติพิเศษในการย่อยสลายอินทรียวัตถุที่ย่อยยากเป็นกรดอะมิโนโปรตีนโดยเฉพาะ จะพบในลำไส้ปลวก (ตามรายงานเชิงวิจัยของ ม.เกษตรศาสตร์) และจุลินทรีย์ให้คุณ (Effective Microorganisms - E.M. ) เป็นจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยกลุ่มของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ 5 กลุ่ม คือ
1) Lactic acid bacteria : มีคุณสมบัติย่อยสลายไขมันในน้ำนมให้เป็นกรดน้ำนม ( Lactic acid ) ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งคน สัตว์ และพืช

2) Yeast : มีคุณสมบัติเปลี่ยนคาร์โบรไฮเดรท (Carbohydrate) หรือแป้งต่างๆ เป็น น้ำตาล จากน้ำตาลเป็น แอลกอฮอลล์ (Alcohol) และสุดท้ายเป็นกรด (Acid)ชนิดต่างๆ รวมทั้งตัวมันเองก็เป็นอาหารของแบคทีเรีย

3) Actinomycetes : เป็นแบคทีเรียลักษณะคล้ายเชื้อรา (Filamental shape) ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุย่อยยากและมักอยู่รวมกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)

4) Photosynthetic bacteria : เป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในตัวสามารถสร้างธาตุอาหารหลักของพืช คือ ธาตุไนโตรเจน (N) และยังย่อยสลายแป้งและน้ำตาลจากผลไม้และผักต่างๆ ให้เป็นเอนไซม์สำคัญคือสารแอนติออกซิแดนท์ (Antioxidant) ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญต่อ พืช สัตว์ และมนุษย์ ในด้านอาหารต่อต้านโรคชนิดต่างๆ

5) Fungi : เป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยที่ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุได้ดีรวมไปถึงการหมักอินทรียวัตถุให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้นด้วย (เรียกกันทั่วไปว่าเชื้อรา)

ในหลักวิชาการนักจุลชีววิทยา (Microbiologists) เชื่อว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินสามารถเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้ด้วยการใส่อินทรียวัตถุลงไปในดิน และสามารถนำมาเพาะเลี้ยง (Cultivate) ด้วยวิธีการเฉพาะได้ ซึ่งผลที่จะได้รับก็คือสารชีวภาพ (Bioactive compounds) เช่นวิตามิน (Vitamin) ฮอร์โมนส์ (Hormones) เอ็นไซม์ (Enzymes) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการให้พืชเจริญเติบโต แต่ผลที่ได้โดยตรงก็คือการเปลี่ยนอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารหลักและอาหารรองของพืชทุกชนิด โดยเฉพาะธาตุอาหารประเภทไนโตเจน (N) ฟอสฟสรัส (P) และโปแตสเซียม(K)

หัวเชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้อ

หัวเชื้อจุลินทรีย์อะตอมมิคนาโน

คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่รวมเอาทั้งแบคทีเรีย แอคติโนมัยซีท และยีสต์ ไว้ในก้อนอาหารทรงกลมเป็นการสร้างบ้านให้อยู่แบบจำศีลเพื่อเตรียมให้ขยายตัวแบบยกกำลัง ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษเพาะของบริษัท ฯ... สินค้าได้รับการตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์จากศูนย์พันธุวิศวกรรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BioTech) ซึ่งเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือและยอมรับทั่วไป จากการตรวจสอบในเอกสารลงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 แบคทีเรีย 1.7´109CFU/g แอคติโนมัยสิท 2.3´108CFU/g, ยีสต์ 3.4´106CFU/g

อาหารเลี้ยงเชื้ออะตอมมิคนาโน

คือสารอาหารที่มีกรดอะมิโนโปรตีนเข้มข้นซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษเฉพาะทางเพื่อเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เติบโตและแข็งแรงก่อนที่จะนำเข้าไปเก็บไว้ในเกราะ (Cyst หรือก้อนอะตอมมิคนาโน) ดังนั้นก่อนนำไปใช้งานต้องกระตุ้นให้ตื่นโดยแช่ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมน้ำ 1 ต่อ 10 เป็นเวลาหนึ่งคืน

วิธีการและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ได้จากการพิสูจน์แล้ว(แบคทีเรีย แอคติโนมัยสีท และยีสต์ ) มีขั้นตอนดังนี้

เลี้ยงให้อ้วนและแข็งแรงด้วยอาหารเข้มข้น
สร้างบ้านให้อยู่แบบกบจำศีลเพื่อเตรียมให้ขยายตัวแบบบกกำลัง
ทำเป็นหัวเชื้อแบคทีเรียชนิดเข้มข้นพร้อมเตรียมการขยายตัวเมื่อถูกนำไปใช้
( อะตอมมิค นาโน Atomic Nano )
ทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผง (อาหาร )
ทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดลูกกลม (หัวเชื้อ )
ทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดฮอร์โมนส์

รวมเป็นชุดเพื่อผสมน้ำธรรมดา
ขยายผลต่อ 200 ลิตร : 1,000 ก.ก.


สกัดเป็นฮอร์โมนสำหรับ

ผสมอาหารสัตว์
ใช้ฉีดพ่นพืช
ใช้ประโยชน์กับคน
ใช้ต่อเชื้อให้เข้มข้น
อัตรา 1 : 200 ขึ้นไป

คำอธิบาย ด้วยวิธีการเฉพาะที่แตกต่างจากการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพโดยทั่วไป สวนฯ มีเทคนิคเฉพาะทางเป็นขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ให้คุณ ( Effective Microorganism – E.M. ) ด้วยสารอาหารที่มีกรดอะมิโนโปรตีนเข้มข้นก่อน เมื่อ E.M. จากธรรมชาติแข็งแรงดีแล้ว จึงนำเข้าเก็บในเกราะ ( Cyst ) พิเศษที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางแล้วจึงนำมาต่อเชื้อกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น เพื่อขยายผลทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ “เฉพาะทาง” และหมักเป็นเอนไซม์ (Enzymes) สำหรับใช้เป็นฮอร์โมนส์ สำหรับ พืช สัตว์ และมนุษย์ต่อไป

ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การประมงทุกชนิด

บริษัทฯ ได้ตั้งชื่อทางการค้าว่า อะโน (ANO) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Atomic Nano มีดังนี้

1. อะโน – บอลล์ (ANO – ball) เชื้อจุลินทรีย์ และอาหารไว้ด้วยกัน

ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินและน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการเพิ่มจุลินทรีย์ให้สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และความสมดุลแห่งสรรพสิ่ง....อัตราที่ใช้ 1 ลูก ควบคุมพื้นที่ได้ 1 ตารางเมตร และยังช่วยขับไล่แมลงและยุงได้ด้วย โดยใช้ชุบกับน้ำสมุนไพรไล่ยุง ใช้ได้ทั้งการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ และการประมงทุกชนิด ( อัตราการใช้ที่เหมาะสม 1 ลูกต่อ 1 ตารางเมตร ) ฝังลงไปในดินหรือโยนลงไปในน้ำ

(ความเห็นส่วนตัว...เนื้อที่ 1 ไร่ 1,600 ตารางเมตร ต้องใช้ 1,600 ลูก ถ้าเนื้อที่ 10ไร่ ใช้ถึง 16,000 ลูก ปั้นกันตายเลย)

2. อะโน – เอ็กซ์ (ANO – Exp)
เป็นอาหารเสริมทางด่วนชนิดน้ำได้จากการหมักพืชผักและผลไม้ แล้วสกัดด้วยความร้อนชนิดเข้มข้นมีกรดอะมิโนโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และฮอร์โมนส์ธรรมชาติครบ ใช้ได้ทั้งพืช ปศุสัตว์ และการประมงทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญโต สร้างภูมิคุ้มกันโรคแมลง ใช้ฉีดพ่นทางใบ ลำต้น ช่อดอก และลูกผล ช่วยสร้างความสมดุลผลผลิตมีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษเป็นมิตรภาพกับสิ่งแวดล้อม สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ และการประมง ใช้ผสมอาการเลี้ยงปศุสัตว์ และการประมงทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและประหยัดอาหารได้ 30 – 40 % ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคและสร้างความสมดุล อัตราการใช้ที่เหมาะสม 1 ซีซี / 1,000 ซีซี ( 1 : 1,000 )

3. อะโน – ผง ( ANO – Powder )
เป็นอาหารเสริมทางด่วนชนิดผง มีกรดอะมิโนโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และฮอร์โมนส์ธรรมชาติครบ ใช้ได้ทั้งพืช ปศุสัตว์ และการประมงทุกชนิด อัตรา 100 – 200 กรัม / 1 ตารางเมตร หรือใช้ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1 กก. / น้ำธรรมดา 200 ลิตร ฉีดพ่นลงดินเพื่อเป็นอาหารเสริมพืชทุกชนิด ช่วยทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความสมดุล สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ และการประมง ใช้เป็นอาหารเสริมผสมอาหาร เร่งการเจริญเติบโตและประหยัดอาหารได้ 30 – 40 % ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคลดอัตราการตายของสัตว์เลี้ยง และการประมงทุกชนิด ( อัตราที่เหมาะสม 1 : 1,000 ( 1 กรัม / 1,000 กรัม )

4. อะโน – น้ำ ( ANO – Solution )
เป็นอาหารเสริมทางด่วนชนิดน้ำ ได้จากการหมักผัก ผลไม้แล้วควบคุมอุณหภูมิไว้มีกรดอะมิโนโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และฮอร์โมนส์ธรรมชาติครบ ใช้ได้ทั้งพืช ปศุสัตว์ และการประมงทุกชนิด ใช้ผสมน้ำธรรมดาอัตรา 1 ซีซี. / น้ำธรรมดา 1 ลิตร ฉีดพ่น อัตรา 100 – 200 ซีซี / 1 ตารางเมตร เพื่อเป็นอาหารเสริมพืชทุกชนิด ช่วยทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความสมดุล สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ และการประมง ใช้เป็นอาหารเสริมผสมอาหาร เร่งการเจริญเติบโตและประหยัดอาหารได้ 30 – 40 % ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคลดอัตราการตายของสัตว์เลี้ยง และการประมงทุกชนิด ( อัตราที่เหมาะสม 1 : 100 ( 1 กรัม / 100 กรัม )

5. อะโน – สมุนไพร (ANO – Herb )
เป็นการรวมสสารพลังงานธรรมชาติจากพืชสมุนไพร ใช้ป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช สัตว์เลี้ยง ประมง สร้งภูมิคุ้มกันโรงแมลง ใช้ได้ทั้งพืชและสัตว์ และการประมง ช่วยสร้างความสมดุลและความหลากหลายทางชีวภาพ อัตราการใช้ที่เหมาะสม 1 ซีซี / 100 ซีซี

6. color=red]อะโน – แอนตี้ (ANO – Antioxidants )[/color]
เป็นการรวมสสารพลังงานธรรมชาติจาก พืช ผัก ผลไม้ และพืชสมุนไพร ด้วยการหมักวิธีพิเศษ แล้วนำไปสกัดให้บริสุทธิ์จะได้กรดอะมิโนโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และสารแอนติออกซิแดนท์ที่บริสุทธิ์และเข้มข้นสูง ใช้เป็นอาหารระดับเซลล์ช่วยสร้าวความสมดุลทั้ง พืช สัตว์ ประมง และมนุษย์เป็นอย่างดียิ่ง ช่วยดับทุกข์เป็นต้นเหตุของการเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยป้องกันล่วงหน้าไม่ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย และยังสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมสปา อุตสาหกรรมเครื่องซักล้าง อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ อัตราการใช้ที่เหมาะสม 1 ซีซี/ 1,000 ซีซี ( 1 : 1,000 )

7. อะโน – นมเปรียง คือ นมสดที่นำมาสกัดไขมันออกโดยการเติม อะโน–พีอาร์ เพื่อกินไขมันในนมออกไม่ทำให้คุณค่านมเสีย ใช้เป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ในขั้นตอนต่างๆ

8. อะโน – พีอาร์ ( ANO – PR ) คือจุลินทรีย์ที่เลี้ยงด้วยกรรมวิธีพิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการสกัดไขมันในนมสด สกัดคลอไรด์ ( Chloride )ในเกลือ (Nacl)

9. อะโน – เกลือสตุ คือเกลือที่สกัดคลอไรด์ ( Chloride ) ออกให้เหลือแต่ โซเดียม เนื่องจากคลอไรด์เป็นอันตรายต่อพืช ใช้กับพืชตระกูลปาล์มทำให้ต้นสมบูรณ์ให้ผลผลิตเพิ่ม
10. ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ (Organic Fertilizer) ตรา “xxxx” บริษัทฯได้ทำปุ๋ยอินทรีย์พร้อมใช้สำหรับเกษตรกรที่ไม่สะดวกที่จะผลิตปุ๋ยใช้เอง ปุ๋ยดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร มีค่า N P K และ OM สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด ดังนี้
ประเภท ค่ามาตรฐาน ปุ๋ยบริษัท
ไนโตเจน 1.0 1.5
ฟอสฟอรัส 0.5 3.9
โปรเตสเชียม 0.5 1.6
อินทรีย์วัตถุ 20 % 29.24 %

ผลการตรวจธาตุโลหะหนักในปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ชื่อ มาตรฐานความเข้มข้น มก./กก. ผลตรวจปุ๋ยบริษัท
Arsenic (สารหนู) 50 21.6
Cadmium (แคดเมียม) 5 0.68
Chromium (โครเมียม) 300 36.0
Copper (ทองแดง) 500 61.0
Lead (ตะกั่ว) 500 10.0
Mercury (ปลอด) 2 0.46
จากผลการตรวจธาตุโลหะหนักแสดงว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพของบริษัทฯ จะไม่ทำให้มีสารตกค้างผลผลิต ผู้ใช้สามารถผ่านการตรวจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
การตรวจสอบสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชครบทุกชนิดที่พืชต้องการจากแหล่งมราเชื่อถือได้
ธาตุและสารอาหาร ปริมาณที่ตรวจได้ แหล่งที่ตรวจ
1.ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โปแตสเซียม (K)
อินทรียวัตถุแปรสภาพ (OM) 2.6 %
5.0 %
3.1 %
29.92 % กรมวิชาการเกษตร

2.ธาตุอาหารสำรอง
เหล็ก (Fe)
ทองแดง (Cu)
แมงกานีส (Mn)
โบรอน (B)
โครเมียม Cr)
แคลเซียม (Ca)
โซเดียม (Na)
สังกะสี (Zn) 0.15 g/100g
22.486 g/100g
0.87 g/100g
44.136 g/100g
23.752 g/100g
2.04 g/100g
658.28 g/100g
3.899 g/100g
บริษัทห้องทดลองกลาง(ประเทศไทย) จำกัด

3.สารอาหารเสริม
(Plant growth promoter) Alanine
Agenine
Aspatic acis
Cystine
Glulamic acid
Glycine
Histldine
Hydroxylysine
Hydroxyproline
Lsoleucine
Leucine
Lysine
Methlonlne
Phenylalanine
Proline
Serine
Threonine
Tryptophan
Tyrosine
Valine 350.03 g/100g
276.85 g/100g
374.66 g/100g
127.22 g/100g
816.16 g/100g
289.83 g/100g
235.52 g/100g
Not Detected
80.20 g/100g
166.20 g/100g
496.13 g/100g
366.28 g/100g
285.94 g/100g
281.63 g/100g
322.87 g/100g
172.67 g/100g
176.51 g/100g
109.43 g/100g
218.62 g/100g
212.02 g/100g
บริษัทห้องทดลองกลาง(ประเทศไทย) จำกัด

4.สารต้านอนุมูลอิสระ
(Antioxidant) Antioxidant 110 umole TE
บริษัทห้องทดลองกลาง(ประเทศไทย) จำกัด

ประโยชน์ขอธาตุอาหารและอาหารเสริม มีดังนี้

1) ธาตุอาหารหลักเป็นอาหารจำเป็นต่อพืช ซึ่งราชการกำหนดให้ปุ๋ยอินทรีย์ จะต้องมี N P K =1.0 : 0.5 :0.5

2) ธาตุอาหารเสริมไม่กำหนด แต่กำหนดให้มีอินทรีย์วัตถุอาหารพืชย่อยสลายแล้วไม่น้อยกว่า 20 %

3) อาหารเสริมประเภทกรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีน ซึ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีผลต่อพืชโดยตรง ดังนี้
3.1 ช่วยสังเคราะห์โปรตีนให้พืชโตเร็ว
3.2 ลดความเครียดของต้นพืชเมื่ออาการผิดปกติ
3.3 ช่วยสังเคราะห์แสง
3.4 ช่วยกระตุ้นฮอร์โมน
3.5 ช่วยผสมเกสร
3.6 ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง

4) ประโยชน์ของสารอนุมูลอิสระ (Antioxidant )
4.1 เป็นอาหารพืชโดยตรงในระดับเซลล์
4.2 ป้องกันโรคที่เกิดจากการที่อนุมูลอิสระในต้นพืชทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เป็นการเติมสิ่งมีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของดินที่จะสร้างอาหารพืชอย่างยั่งยืน ไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ถ้าใช้ถูกวิธีสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ 100 %

ความแตกต่างเกิดจากการใช้เทคนิคเฉพาะทางไม่เหมือนผู้อื่น มีผลใช้เชิงประจักษ์ที่เรียนรู้ได้เพราะปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีธาตุอาหารพืชครบทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และมีสารช่วยการเจริญเติบโตที่สำคัญ คือ กรดอะมิโนรวมทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นที่ยอมกันในสมัยใหม่ว่า เป็นสารป้องกันการเกิดโรคร้ายต่อคน สัตว์และพืชได้ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกันที่เรียกว่า สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant )


ยังไม่จบ วันนี้ พอแค่นี้ก่อนครับ .....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 12/11/2013 2:46 pm    ชื่อกระทู้: จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง และสมาชิกผู้สนใจ เรื่องเทคนิค นาโน

จาก นมเปรียง ...เกลือสะตุ ถึง เทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิค นาโน

เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิค นาโน

ภาค 2 ตอนที่ 2 การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ อะโน ผสม (ANO – Mix)

การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ อะโน ผสม (ANO – Mix)

หลักวิชาการ

จุลินทรีย์ผสมจากสวน...... เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท แบคทีเรียตระกูล (Family) เอ็นเทอโรแบคเตอร์ซียี่สายพันธุ์ (Genus) เคล็บซีลล่า (Kledsiella) และเอ็นเทอโรแบคซเตอร์ (Enterobacter ชนิดใหม่ (Species) อาศัยอยู่รวมกัน เรียกว่า Facultative Bacteria สามารถตรึงธาตุไนโตเจน (N) จากธรรมชาติได้ด้วยการใช้อากาศ ( O2 ) น้อยถึงน้อยที่สุด อาศัยร่วมกับแบคทีเรียแอคติโนมัยซีท (Actinomycetes) จุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ภาคเกษตรกรรมได้ จะต้องมีการเลี้ยงด้วยอาหารเข้มข้นสูง มีกรดอะมิโนโปรตีนร้อยละ 70 ขึ้นไป จึงจะสามารถขยายพันธุ์ได้ รวดเร็ว และเพียงพอต่อการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะและจดทะเบียนเป็นข้อมูลลับทางธุรกิจของ บริษัท ฯ

วิธีปฏิบัติ

1) อัตราการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ผลิตภัณฑ์อะโนมิกซ์ 1 ชุด ประกอบด้วย
หัวเชื้อจุลินทรีย์ชนิดลูกกลม (ANO – Ball) 5 ลูก
ชนิดผง (ANO – Powder) 5.0 ก.ก.
และสารแอนติออกซิเด้นท์ (ANO – Anti) 100 ซีซี.
ผสมกับนมเปรี้ยว 20 ลิตร
รำอ่อน 5 กก.
น้ำตาลทรายไม่ฟอกขาว 5 กก.
น้ำธรรมดา 200 ลิตร ผสมให้เข้ากันทิ้งไว้ 2 – 3 วัน

2) เลือกใช้อินทรียวัตถุท้องถิ่นซึ่งสามารถใช้ได้หลายอย่าง คือ
รำอ่อนและกากตะกอนน้ำตาล (Filter cake) 300 กก.
มูลสัตว์แห้ง ฟางข้าว วัชพืช เศษใบไม้ใบหญ้า ขยะเปียก กากมันสำปะหลัง หอยเชอรี่ กากปลา เศษผัก ผลไม้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับว่าจะหาอะไรได้ อินทรียวัตถุบดหรือสับให้ละเอียด 700 กก.

อินทรียวัตถุหลักคือ รำอ่อนและมูลสัตว์แห้ง นอกนั้นให้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้
เช่น นาข้าว จะต้องเพิ่มแกลบดำและฟางข้าว หรือหญ้าบดละเอียดเข้าด้วยกัน โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้ตาม (ข้อ1) ประมาณ 200 ลิตร ต่อ อินทรียวัตถุ 4 อย่างคือ
รำอ่อน และกากตะกอนน้ำตาล 300 กก. (รำอ่อนต้องไม่น้อยกว่า 100 กก.)
มูลสัตว์และอินทรียวัตถุ 700 กก. (มูลสัตว์ต้องไม่น้อยกว่า 300 กก.) รวม 1,000 กก.


3) วิธีผสมน้ำอินทรียวัตถุที่บดหรือสับละเอียดตาม 2 คลุกให้เข้ากัน ด้วยวิธีต่าง ๆ ตามที่ชาวบ้านจะหาได้ โดยพรมน้ำจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้ตาม ข้อ 1 พอหมาด ๆ (สามารถปั้นเป็นก่อนได้แต่ไม่มีน้ำไหล)

4) วิธีหมัก เนื่องจากจุลินทรีย์ประเภทนี้เป็นประเภท “Facultative” สามารถหมักได้ทั้งมีอากาศและไม่มีอากาศและสังเคราะห์แสงได้ในตัว จึงควรหมักโดยใช้ลังบรรจุผลไม้วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และคลุมด้วยกระสอบป่านชุบน้ำพอหมาด เพื่อกันเชื้ออื่นเข้ามาผสมจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หมักไว้อย่างน้อย 15 วัน

5) วิธีคิดต้นทุน
ชุดหัวเชื้ออะโน – มิกซ์ 1 ชุด มี 3 ชนิด ราคาประมาณ 1,200.- บาท
นมเปรี้ยว รำอ่อน น้ำตาลทราย ราคาประมาณ 600 บาท
สำหรับปุ๋ยนาข้าวอินทรียวัตถุ 4 อย่างประมาณ 4,500.- บาท
รวมราคาประมาณ 6,300.- บาท ต่อ ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน ค่าจ้างแรงงานก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นตามแรงงาน


6) วิธีการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำเองสามารถใช้ได้กับพืชผลทุกชนิด ขึ้นอยู่กับอินทรียวัตถุที่จะนำมาผสมสำหรับนาข้าวขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่

ถ้าไม่เคยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาก่อน ในระยะเริ่มต้นควรใช้อัตรา 10 – 200 ก.ก. /ไร่

ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์มานานแล้วควรใช้อัตรา 50 – 100 ก.ก. /ไร่ ร่วมกับมูลสัตว์ 200 – 300 กก. /ไร่
ทั้งนี้จะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองไปด้วย จึงจะได้ผลสูงสุด และควรใช้ฮอร์โมนควบคู่ไปด้วยจึงจะเพิ่มผลผลิตได้ดี

7) วิธีการสร้างเครือข่าย การทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ถ้ามีอินทรียวัตถุตามข้อ2 อยู่แล้วเพียงแต่ เข้าอบรมและซื้อหัวเชื้ออะโน – มิกซ์ก็สามารถทำเองได้ แต่ถ้าจะให้เกิดผลต่อชุมชนและพลิกฟื้นจากเคมีเป็นอินทรีย์ให้เร็วขึ้น ควรทำเป็นกลุ่มเป็นชุมชนจะขยายผลกว้างขวางและต้นทุนจะถูกลงอีก
ในกรณีที่ชุมชนหรือเอกชนที่มีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพทั้งชนิดน้ำและชนิดผงอยู่แล้ว หรือมีโรงงานผลิตอยู่แล้วสามารถที่จะต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเดิมให้สูงขึ้นได้โดย ใช้จุลินทรีย์จากสวนอินดีในรูปของอะโน – มิกซ์ (ANO – MIX ) ในอัตราส่วนอะโนผสม 1 ชุด (3อย่าง) ใช้เพิ่มต่อยอดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ (เดิม) ได้ 1 ตัน หมักทิ้งไว้ 15 วัน นำไปใช้ได้ในอัตราที่ลดลง

ข้อพึงระวังในการทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากจุลินทรีย์

เนื่องจากจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรียที่นำมาใช้ย่อยสลายอินทรียวัตถุ เป็นปุ๋ยอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโอกาสเป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และพืชได้ และเป็นปุ๋ยที่จัดเป็นประเภทปุ๋ยธรรมชาติไม่สามารถควบคุมการผลิตธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืชที่วัดปริมาณได้แน่นอน จึงสมควรที่จะระมัดระวังดังนี้

1. การหวังผลผลิตเพิ่มจะต้องใช้เวลา
2. เมื่อเติมปุ๋ยลงดินแล้ว ยังมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ควรมีอาหารเติมให้อย่างสม่ำเสมอ
3. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขาดน้ำไม่ได้
4. จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้สอนอย่างเคร่งครัด ไม่ควรประมาทเพราะอาจเกิดอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ได้
5. การใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติมีมาช้านาน จะต้องปล่อยให้ธรรมชาติเกื้อกูลกันเอง
6. เมื่อจะทำออกจำหน่ายควรมีคุณธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้เกินไป
7. วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ คือปุ๋ยที่ทำขึ้นจากอินทรียวัตถุและใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้คุณ (E.M.) ที่มีจำนวนมากพอย่อยสลายจนกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังมีจุลินทรีย์ร่วมอยู่ด้วยกัน

วัสดุทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองมีดังนี้

1. อะโน – บอลล์ 5 ลูก
2. อะโน – แอนตี้ 100 ซีซี
3. อะโน – ผง (อาหารจุลินทรีย์) 5 กก.
- ใช้อินทรียวัตถุท้องถิ่นอัตรา 1,000 ก.ก. ดังนี้
- มูลสัตว์ 700 ก.ก.
- รำอ่อน 300 ก.ก.
- นมเปรียง 20 ลิตร
- น้ำตาลทราย (ไม่ฟอกขาว) 5.0 กก.


ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักใช้เอง
ขั้นที่ 1 เตรียมน้ำหมักหัวเชื้อ อะโน – มิกซ์
- ถังพลาสติก 200 ลิตร
- นมเปรียง 20 ลิตร
- ใส่อะโน – บอลล์ 5 ลูก แช่ทิ้งไว้ 1 วัน
- เติมแอนตี้ออกซิเด้น 100 ซีซี
- อะโนผง 5.0 กก.
- น้ำตาลทราย (ไม่ฟอกขาว) 5.0 กก.
- รำอ่อน 5.0 กก.
- เติมน้ำประมาณ 2/3 ถัง คนให้เข้ากัน
- เติมน้ำอีกครั้งให้ระดับน้ำต่ำกว่าฝาถัง ประมาณ 10 ซม. คนให้เข้ากันอีกครั้ง ปิดฝาถังทิ้งไว้ 1 วัน

ขั้นที่ 2 นำน้ำหมักตามขั้นที่ 1 ผสมกับอินทรียวัตถุท้องถิ่น 1 ตัน ควรทำครั้งละ ½ ตัน โดยนำมูลสัตว์เทกองแล้วเทรำอ่อนบนมูลสัตว์คลุกรำอ่อนให้เข้ากับมูลสัตว์ก่อน น้ำถัง 200 ลิตร อีกใบมาใส่น้ำประมาณ 80 ลิตร ตักน้ำหมักในถังที่เตรียมไว้ด้วยถังน้ำประมาณ 2 ถังคนน้ำกับน้ำหมักให้เข้ากัน นำไปเทราดบนกองมูลสัตว์และรำอ่อนที่เตรียมไว้คลุกให้เข้ากัน ตักน้ำหมักที่เตรียมไว้คลุกให้เข้ากัน ตักน้ำหมักที่เตรียมไว้ราดบนกองที่ผสมแล้วก่อนหน้านี้คลุกให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง สังเกตดูไม่ให้ชื้นมากคือกำพอหมาด ๆ ไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้วมือ

1. หมักโดยการเทกอง โดยการเกลี่ยกองปุ๋ยให้ขยายออกไปไม่ให้กองปุ๋ยสูงเกิน 20 ซม. คลุมด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำพอหมาดให้คลุมกองปุ๋ย


2. หมักโดยการตักปุ๋ยที่ผสมแล้วใส่ลังผลไม้ ห้ามกดแน่น ให้ปุ๋ยต่ำกว่าฝาลังประมาณ 10 ซม. ตั้งซ้อนกัน คลุมด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำพอหมาดให้คลุมกองลังใส่ปุ๋ย

3. ตักใส่ถุงปุ๋ยพลาสติกสาน ห้ามกดแน่น ให้เหลือพื้นที่มัดปากถุงได้ คือให้ต่ำกว่าถุงประมาณ 20 – 25 ซม. ( ถุงปุ๋ยพลาสติกสานจะต้องใช้ถุงเก่าพอสมควร เพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าถุงได้ เนื่องจากในระยะแรกจุลินทรีย์ต้องการอากาศ )

4. หมักทิ้งไว้ 15 – 45 วัน หรือจนกว่าปุ๋ยจะเย็น

อัตราการใช้
ถ้าดินในนาข้าวมีความเป็นกรด – ด่าง โดยการตรวจวัดค่า PH 5 – 6.5 ใช้อัตรา 100 ก.ก./ไร่ มูลสัตว์ในอัตราเดียวกัน ถ้าดินมีความเป็นกรด – ด่างน้อยกว่า PH 5 ให้เพิ่มปุ๋ยและมูลสัตว์อีกเท่าตัว
วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการบำรุงต้นไม้ชนิดต่าง

1.วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนาข้าว

1.1 ยกเลิกการเผาตอซังข้าวและวัชพืช เนื่องจากการเผาตอซังข้าวและวัชพืชเป็นสาเหตุทำให้ดินเสื่อมโทรม เนื่องจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินไม่มีอินทรียวัตถุที่จะเปลี่ยนเป็นธาตุอาหาร

1.2 ตรวจค่า PH ด้วยเครื่องวัดค่า PH ค่า PH ที่เหมาะสมในการปลูกข้าวคือ 5.5 – 7

1.3 ค่า PH มีค่าน้อยกว่า 5.5 ควรใสปุ๋ย 150 กก./ไร่ และใสมูลสัตว์ 300 กก./ไร่ถ้าค่า PH สูงกว่า 5.5 ใส่ปุ๋ย 100 กก. /ไร่ และสัตว์มูลสัตว์ 200 กก./ไร่

1.4 ใส่ปุ๋ยจุลินทรีย์ “อะตอมมิค นาโน” และมูลสัตว์ในอัตราดังกล่าวข้างต้นและทำการไถกลบ ทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายวัชพืชและมูลสัตว์เปลี่ยนเป็นอาหารของข้าวก่อนการหว่านหรือดำ

1.5 คัดเลือกพันธุ์ข้าวเปลือกโดยการ นำน้ำผสมเกลือลงในอ่าง นำไข่ไปแช่ให้ไข่ลอยแล้วจึงใส่ข้าวเปลือกลงไปเมล็ดข้าวเปลือกที่ไม่สมบูรณ์จะลอยน้ำ เมล็ดข้าวเปลือกที่สมบูรณ์จะจมอยู่ก้น นำเมล็ดข้าวเปลือกที่สมบูรณ์ไปล้างน้ำให้หมดความเค็ม แช่น้ำธรรมดาอีกครั้งแล้วจึงนำไปปลูก

1.6 ปักดำหรือนาโยน ระยะห่างต้นกล้า 30 – 40 ซ.ม. นาหว่านข้าวเปลือกประมาณ 10 กก./ไร่

1.7 ฉีดฮอร์โมนช่วยการแตกกอ ลำต้นแข็งแรง เมล็ดข้าวสมบูรณ์
1.7.1 เมื่อต้นข้าวแตกกอ ส่วนผสมฮอร์โมน 1 ลิตรต่อน้ำธรรมดา 100 ลิตร ฉีดในอัตรา 40 ลิตร/ไร่ และหลังจากการฉีดครั้งแรกทุก 30 วัน เพื่อให้ต้นข้าวมีความสมบูรณ์
1.7.2 เมื่อต้นข้าวตั้งท้อง ส่วนผสมฮอร์โมน 1 ลิตรต่อน้ำธรรมดา 50 ลิตร ฉีดในอัตรา40 ลิตร/ไร่ และฉีดอีกครั้งเมื่อข้าวเป็นน้ำนมเพื่อให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์และเพิ่มน้ำหนักข้าว

1.8 ฉีดสมุนไพรไล่แมลงเพื่อให้ต้นสมบูรณ์ ไม่มีแมลงสมบูรณ์

1.9 คัดพันธุ์ข้าวทุกครั้งเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีที่สุด เปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี เนื่องจากการปลูกข้าวในระยะยาวจะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง

2. วิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการปลูก มันสำปะหลัง
2.1 การวัดค่า PH ในดิน ในกรณีค่า PH น้อยกว่า 5.5 ใสปุ๋ยไร่ละ 200 – 300 กก. ต่อไร่ มูลสัตว์ 200 – 300 กก.ต่อไร่ ในกรณีค่า PH สูงกว่า 5.5 ใส่ปุ๋ย 100 – 150 กก.ต่อไร่ มูลสัตว์ 200 – 300 กก.ต่อไร่ ในกรณีดินทรายจะต้องเพิ่มปุ๋ยและมูลสัตว์อีกเท่าตัว

2.2 วิธีการเตรียมดินทำมันสำปะหลังคอนโดไถผาน 4 ลึก 50 ซม. ระยะห่างต่อร่อง 80 ซม. ถึง 1 เมตร ผาน 3 และผาน 7 ยกร่องสูง 50 ซม. แวกร่องออกใสปุ๋ยอินทรีย์และมูลสัตว์ตามอัตราดังกล่าวข้างต้น และกลบร่อง

2.3 กิ่งพันธุ์ ตัดกิ่งพันธุ์ยาว 25 – 35 ซม. คอนโด 5 ชั้น โดยการบากตาเว้นตา

2.4 นำกิ่งพันธุ์แช่น้ำผสมแอนตี้ ในอัตรา 1 ลิตรต่อ น้ำธรรมดา 2,000 ลิตร แช่ 12 ซม. ถ้าแช่นานกว่านั้นเปลือกจะยุ่ยไม่สามารถปลูกได้

2.5 ปักกิ่งพันธุ์ลงในแปลงปลูกในสุดที่บากไว้ นำน้ำที่เหลือจากการแช่กิ่งพันธุ์ฉีดพ่นลงในแปลงปลูก

2.6 ให้สังเกตถ้ามีมดให้ใช้ยาฆ่ามดฉีดพ่นที่โคนต้นมัน เนื่องจากมดเป็นตัวนำเชื้อเพลี้ยแป้งขึ้นไปสู่ต้นมันสัมปะหลัง

2.7 ใช้รถไถผาน 1 ลงในร่องมันสำปะหลัง ไถเอาดินกลบต้นหญ้า ส่วนที่เหลือใช้แรงคน

3. วิธีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์กับมังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลำไย มะม่วง กระท้อน
3.1 ขุดหลุม 50x50 ปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ดิน 2 ส่วนคลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมที่ขุดไว้ ใช้อะโน – บอลล์ 3 ลูกที่ก้นหลุมเป็นรูปสามเหลี่ยมวางไว้ที่ขอบหลุม

3.2 ใช้ตัววัดค่า PH ในกรณีค่า PH ต่ำกว่า 5.5 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นกับทรงพุ่มของต้นไม้นั้น กิ่งตกตรงไหนให้ขีดวงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 – 3 กำมือ/ต.ร.ม. ใส่มูลสัตว์ 2 – 3 กำมือ ค่า PH สูงกว่า 5.5 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กำมือ/ต.ร.ม. ใส่มูลสัตว์ 2 กำมือ/ต.ร.ม.

3.3 เมื่อออกดอกให้ฉีดฮอร์โมนทุก 30 วัน เพื่อให้ผิวสวยผลใหญ่ อัตราที่ฉีด 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร โดยฉีดย้อยใต้ใบขึ้นบน เนื่อจากใต้ใบเป็นที่ดูดและคายน้ำ บนใบเป็นที่สังเคราะห์แสงเท่านั้น

3.4 สำหรับมะม่วง หรือกระท้อน จะต้องนำถุงมาห่อลูกเพื่อป้องกันแมลงวันทอง เพลี้ยไฟ อย่างไรก็ดีต้องใช้สารเคมีเพื่อทำลายศัตรูพืชร่วมด้วย

3.5 การดึงกิ่งลำไยไม่ให้ตก ให้ใช้สเตอร์รถจักยานยนต์มัดลวดดึงกิ่งลำไยที่ตก อย่างไรก็ดีต้องดึงกิ่งตรงข้ามด้วย ลวดที่มัดกิ่งจะต้องใส่ท่อสายยางกันไม่ให้ลวดบาดกิ่งเสียหาย

4. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชผักสวนครัว
4.1 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับมูลสัตว์ในอัตรา 1 กำมือ/ 1 ตรม. มูลสัตว์ 2 กำมือ/ 1 ตรม.

4.2 ยกร่องผัก แหวกกลางร่องที่ยกขึ้นใส่ปุ๋ยและมูลสัตว์ตามที่กำหนดตามข้อ 6.4.1 กลบ ทิ้งไว้ 7 – 10 วัน

4.3 หว่านเมล็ดพันธุ์และคลุมด้วยซังข้าว

5. วิธีการใส่ปุ๋ยกับต้นสละ
5.1 ขุดหลุม 50x50 ปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน มูลสัตว์ 2 ส่วน ดิน 2 ส่วนคลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมที่ขุดไว้ ใช้อะโน-บอลล์ 3 ลูก ลูกที่ก้นหลุมเป็นรูป สามเหลี่ยมดังรูปด้านล่าง ปลูกสละพร้อมหมากในอัตรา 4x4 ม.

5.2 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นกับทรงพุ่มของต้นไม้นั้น ทางสละตกตรงไหนให้ขีดวงใช้ในอัตรา 1 ตร.เมตร/ 1 กำมือ ไส้สังเกตใบธงหรือช่อธงจะต้องสูงกว่าของเดิมเสมอไป ในกรณีใบช่องธงขึ้นไปแล้วหักแสดงว่าดินขาดแคลเซี่ยมจะเติมเกลือสะดุ ส่วนใหญ่จะเป็นกอติดริมทางเพราะพื้นที่รากหากินได้ดีกว่าต้นที่อยู่ด้านใน ให้ใส่เกลือสะตุ มากกว่าต้นที่อยู่ข้างในร้อยละ 50 โดยมีช่วงห่างระหว่างต้น คือ 4x4 สละ 1 กอควรมีไม่เกิน 4 ต้น

5.3 ใส่เกลือสะตุก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3 เดือน อัตราการใส่ขึ้นกับอายุของต้นสละ ปีละ 1 ขีด เช่น สละอายุ 10 ปี ใส่ 1 กก. ปีหนึ่งใส่เกลือสะตุ 4 ครั้ง

5.4 ซื้อเกสรตัวผู้จากผู้ผลิตเกสรจำหน่าย สละ 300 กอ 500 – 600 หลอด หลอดละ 120 บาท เกสรตัวผู้จะต้องเก็บในตู้เย็น ที่มีอุณหภูมิ -20 องศา มิเช่นนั้นเกษตรตาย

5.5 วิธีการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมีย คือ พู่กัน นำพู่กันจิ้มเกสรตัวผู้แล้วลูบลงบนเกสรตัวเมียห้ามปัดขึ้น

5.6 เขียนวันที่ผสมเกสรสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้ทราบว่ามีผลผลิตในฤดูการเท่าไหร่ นอกฤดูการเท่าไหร่ แยกสีริบบิ้นเดือนละสี

5.7 ให้คนงานรับผิดชอบเป็นแถวเพื่อที่จะได้สามารถตรวจสอบการทำงานได้

5.8 ควรปลูกไม้พึ่งพาตระกูลเดียวกัน คือ ปลูกหมากไปพร้อมกัน คือหมากเท่าปลูกสละ

5.9 เมื่อคนงานจะต้องแต่งทางสละไม่คลุมลงมาข้างล่าง

5.10 ในกรณีด้วงลงต้นให้ใส่เกลือสะตุโยนเข้ากาบและยอด

5.11 กรณีด้วงระบาดให้จับด้วง 100 – 200 ตัวใส่ครกตำ หมักปัสสาวะ 15 วัน ในถัง 50 ลิตรใช้อะโน – บอลล์ 3 ลูก นมเปรียง 2 ลิตร พี.อาร์. 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ 15 วัน ผสมน้ำอัตรา 1:100 ฉีดพ่น ตามความมากน้อยของการระบาด

5.12 ต้องกำจัดหน่อที่แตกใหม่ออก เพราะจะทำให้ลูกเล็ก


6. วิธีใช้ปุ๋ยการปลูกปาล์ม
จะต้องดูว่าสายพันธุ์อะไร พื้นที่ปลูกปาล์มจะต้องไม่มีความลาดชันมาก

6.1 ขุดหลุม 50x50 ปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน มูลสัตว์ 2 ส่วน ดิน 2 ส่วนคลุกให้เข้ากันใส่ลงไปในหลุมที่ขุดไว้ ใช้อะโน – บอลล์ 3 ลูกที่ก้นหลุมเป็นรูป สามเหลี่ยมดังรูปด้านล่าง

6.2 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นกับทรงพุ่มของต้นไม้นั้น ทางปาล์มตกตรงไหนให้ขีดวงใช้อัตรา 1 ตร.เมตร/ 1 กำมือ มูลสัตว์ 2 กำมือ ให้สังเกตใบธงหรือช่อธงจะต้องสูงกว่าของเดิมเสมอไป ในกรณีเตี้ยลงแสดงว่าดินขาดปุ๋ย ให้เติมในอัตราข้างต้น ในกรณีช่อธงขึ้นไปแล้วหักแสดงว่าดินขาดแคลเซียมจะต้องเติมเกลือสะตุ อัตราการใช้ขึ้นกับอายุของพืชปีละ 1 ขีด

6.3 กรณีด้วงระบาดให้จับด้วง 100 – 200 ตัวใส่ครกตำ หมักปัสสาวะ 15 วัน ผสมน้ำอัตรา 1:100 ฉีดพ่น ตามความมากน้อยของการระบาด

6.4 จะต้องมีการล้างคอปาล์ม โดยการถีบทางป้องกันไม่ให้น้ำขัง อย่างน้อยปีละครั้ง


7. การปลูกมะพร้าวและอินทผาลำ
7.1 ขุดหลุม 50 X50 ปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน มูลสัตว์ 2 ส่วนคลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมที่ขุดไว้ ใช้อะโนบอลล์ 3 ลูกที่ก้นหลุมเป็นรูป สาเหลี่ยมดังรูปด่านล่าง

7.2 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นกับทรงพุ่มของต้นไม้นั้น ทางมะพร้าวตกตรงไหนให้ขีดวงใช้ในอัตรา 1 ตร.เมตร/ 1กำมือ มูลสัตว์ 2 กำมือ ให้สังเกตใบธงหรือช่อธงจะต้องสูงกว่าของเดิมเสมอไป ในกรณีเตี้ยลงแสดงว่าดินขาดปุ๋ย ให้เติมในอัตราข้างต้น ในกรณีช่อธงขึ้นไปแล้วหักแสดงว่าดินขาดแคลเซียมจะต้องเติมเกลือสะตุ อัตราการใช้ขึ้นกับอายุของพืชปีละ 1 ขีด ส่วนใหญ่จะเป็นก่อติดริมทางเพราะพื้นที่รากหากินได้ดีกว่าต้นที่อยู่ด้านใน ให้ใส่เกลือสะตุมากกว่าต้นที่อยู่ข้างในร้อยละ50

7.3 กรณีด้วงระบาดให้จับด้วง 100 – 200 ตัวใส่ครกตำ หมักปัสสาวะ 15 วัน ในถัง 50 ลิตรใช้อะโน-บอลล์ 3 ลูก นมเปรี้ยว 2 ลิตร พี.อาร์.2ลิตร หมักทิ้งไว้ 15 วัน ผสมน้ำอัตรา 1:100 ฉีดพ่น ตามความมากน้อยของการระบาด

7.4 จะต้องมีการล้างคอมะพร้าว โดยการถีบทางป้องกันไม่ให้น้ำขัง อย่างน้อยปีละครั้ง

7.5 ใส่เกลือสะตุก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3 เดือน อัตราการใส่ขึ้นกันอายุของต้นมะพร้าว ปีละ 1 ขีด เช่น มะพร้าวอายุ 10 ปี ใส่ 1 ก.ก. ปีหนึ่งใส่เกลือสะตุ 4 ครั้ง


ภาคผนวก
เพื่อความเข้าใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ ด้วยจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงเองจนสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อการค้าได้ จะต้องมีผลการตรวจสอบเชิงวิชาการที่เชื่อถือได้มารับรอง ซึ่งได้แสดงไว้เป็นลำดับ เพื่อประกอบเป็นความรู้ในภาคผนวกดังนี้

1. ผลการตรวจสอบตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขึ้นทะเบียนการค้า จากกรมวิชาการเกษตรแสดงให้เห็นว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้สามารถวางขายได้ตามกฎหมาย และมีมาตรฐานธาตุอาหาร เกินกว่าราชการกำหนด และขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์มาตรฐานของประเทศไทย (Organic Thailand) ได้

2. ใบอนุญาตผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าเป็นเอกสารสำคัญที่วิสาหกิจชุมชนจะร่วมกับบริษัท ฯ ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามกฎหมายในฐานะผู้ร่วมลงทุนหรือตัวแทนได้

3. ผลการตรวจปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้จากโรงงานผลิตปุ๋ยใช้เองของเกษตรกร ด้วยวิธีการใช้จุลินทรีย์ “อะตอมมิค นาโน” จากบริษัทฯ เป็นการยืนยันว่าเกษตรกรสามารถร่วมมือกับบริษัทฯ ทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาใช้เองได้ตามมาตรฐาน และยืนยันว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้เองมีธาตุอาหารพืชครบทุกอย่าง และยังมีอาหารประเภทกรดอะมิโนโปรตีน รวมอยู่ด้วยครบทุกตัว

4. เอกสารความรู้เรื่องจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพเป็นความรู้ที่เกษตรกรสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท

5. เอกสารวิชาการเรื่องความรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช เป็นความรู้ที่เกษตรกรส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจว่าสำคัญต่อพืชอย่างไร และได้มาอย่างไรซึ่งความจริงแล้วเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลสูงสุด และประหยัดค่าใช้จ่ายเกษตรกรสามารถนำความรู้จากเอกสารเล่มนี้ไปทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้โดยจะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า พืชต้องการธาตุอาหารหลักอะไร และต้องการธาตุอาหารรอง และอาหารเสริมอื่นอะไรบ้าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารเหล่านั้นไม่จำเป็นจะต้องมาจากสาร “อนินทรีย์” หรือที่เรียกกันว่า “ปุ๋ยเคมี” เสมอไป เกษตรกรสามารถใช้ความรู้ผลิตขึ้นมาเองได้จากสาร “อินทรีย์” หรือ

ที่เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์” ซึ่งเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีมาช้านานและเป็นแหล่งที่จะใช้ผลิตอาหาร “อินทรีย์” ขายให้แก่คนมีเงิน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรกรรมได้อีกด้วย


อ่านแล้ว เหนื่อย.......จบเพียงเท่านี้ครับ....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
yawara
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/07/2014
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 25/07/2014 3:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
คิดว่าการที่จะบอกว่าอะไรดีกว่าอะไรนั้น คงต้องให้เป็นเรื่องที่ต้องลองทำดูก่อนมังคะ
ชาว 1 ไร่ 1 แสน ทุกคนสมัครใจที่จะเรียนรู้ และทำออกมา ซึ่งแน่นอน เขาต้องรู้และ
เข้าใจว่าสิ่งที่พวกเขาทำจะนำมาซึ่งความแตกต่างของผลผลิตอย่างไร ทั้งคุณภาพและ
ปริมาณ ซึ่งบางเรื่องคนที่ไม่เคยทำอาจไม่เข้าใจว่า มันคืออะไร

เครือข่าย 1 ไร่ 1 แสน ทั่วประเทศก็ยังคงเดินหน้าทำในสิ่งที่คุณกำลังพูดถึง ไม่ว่าจะด้วย
จุดประสงค์ใดก็ตาม แปลกนะคะ อ่านกระทู้ของคุณมาทั้งหมดแล้ว รู้สึกว่าการที่ก็อปปี้
ข้อมูลแร้วเอามานั่งวิจารย์ว่า ดีไม่ดีอย่างไร ด้วยคำพูดแบบนี้ มีอยู่ในหัวของคนเป็น
เกษตรกรด้วยเหรอ

อย่าเป็นเกษตรกรเลยค่ะ ไปเป็นพ่อค้าเถิดค่ะ อย่ามาใช้วิชาเกษตรของพ่อเพื่อสร้างอะไร
แบบนี้เลย เพราะท่านอยากให้เรามีความสุขที่พอเพียง Confused



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/07/2014 5:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผุดหลักสูตร รู้ลึกกับการทำนา 1 ไร่ รายได้ 1 แสนบาท

ในอดีตชาวนาถูกมองว่าเป็นอาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพ ก็จะเป็นเกษตรกรที่เป็นชาวไร่ ชาวนาจริง ๆ ใครที่มีความคิดแบบนี้เห็นที จะต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับชาวนาเสียใหม่ “หอการค้าไทย” ได้จับมือกับ “บริษัทเกษตรสนองแผ่นดิน จำกัด” จัดอบรม 3 วัน 2 คืน หลักสูตร รู้ลึกกับการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เป็นการพลิกมิติอาชีพชาวนาครั้งสำคัญ หลักสูตรดังกล่าวได้เปิดกว้างให้คนหนุ่มสาวไฟแรง นักธุรกิจนอกกรอบ นักเรียน นักศึกษาที่จบใหม่ ประชาชนที่ไม่เคยทำการเกษตร หรือแม้แต่เกษตรกรจริง ๆ หันมาให้ความสนใจการทำนาภายใต้โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาทกันอย่างเนืองแน่น ตลอดระยะเวลาที่เริ่มเปิดหลักสูตรจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุดหอการค้าไทยเตรียมเปิดอบรมหลักสูตร รู้ลึกกับการทำนา “1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท” ขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยรับสมัครผู้เข้าอบรมจำนวนจำกัด

นายอดิศร พวงชมภู ประธานโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ของหอการค้าไทย ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ว่า ขณะนี้ได้มีความก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเตรียมพัฒนาความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดทำโครงการ “กล้าก้าว พันธุกรรมไทย 1 ไร่ 1 แสน”โดยคัดเลือกชาวนาที่ ผ่านการอบรมทำนา 5 เดือนมาแล้ว ทั้งจากที่บ้านนาเจริญ จากบางตะไนย์และจากพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เอง มาร่วมกัน ทำนาคนละแปลง จำนวน 9 แปลง ในบริเวณของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ จะถูกกำหนดให้มีเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมทุกด้าน กล่าวคือ การกสิกรรม มีการปลูกพืชได้มากกว่า 50 ชนิด การประมง เลี้ยง กุ้ง หอย ปู ปลา กบ ครบทุกชนิด ปศุสัตว์ นอกจากเลี้ยงเป็ดไข่แล้ว ยังเลี้ยงไก่ไข่ และยังมีการเลี้ยงหมู “เหมยซาน” อีก 2 ตัวทุกแปลง สิ่งที่ค้นพบใหม่ นำความตื่นเต้นมาให้อย่างยิ่ง ด้านกสิกรรมมีการปลูกพืชที่หาได้ยากหลายอย่างเป็นผลสำเร็จ เช่น ฟักทองดำ การปลูกข้าวโพดที่สามารถสร้างรายได้จากพืชอื่นก่อนเก็บข้าวโพด การประมง มีการเลี้ยง “ปลาบึก” 10 ตัวให้เติบโตดีในนาข้าว เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน มีการเลี้ยงปลาแรดแปลงละ 20 ตัว ปลาสลิด 25,000 ตัว ที่น่าทึ่งก็คือ ในบริเวณเดียวกันมีทั้งปลาดุกและปลาช่อน แต่ปลาสลิดก็อยู่ได้ด้วยปราการธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ การเลี้ยงกบในนาได้ราคาดี เลี้ยงกบ 2,000 ตัว จึงเป็นรายได้ แต่มีผู้มาถามว่าเมื่อมีแมลงมารบกวนแปลงนา จะฉีดยาอะไร? ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพราะว่ามีกบ กบหนึ่งตัวกระโดดกินแมลงได้เป็น เมตร กบหนึ่งตัวกินแมลงได้ 4,800 ตัว มีกบ อยู่ 2,000 ตัว ช่วยกินแมลงได้ฤดูละเกือบ 10 ล้านตัว จะเอายาฆ่าแมลงมาฉีดอะไร?

นอกจากนี้ นายอดิศร กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลสถิติของหน่วยงานข้าวในอเมริการะบุว่า คนที่ปลูกข้าว ได้ผลผลิตสูงที่สุดในโลกคือชาวอียิปต์ ปลูกได้เฉลี่ย 1,667 กิโลกรัมต่อไร่ ข้อมูลนี้แสดงว่าองค์ความรู้ในการปลูกข้าวของคนอียิปต์ก็สูงที่สุดในโลกด้วย ตามด้วย อเมริกา เปรู สเปน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี จีน คือกลุ่มที่สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ลาวปลูกข้าวได้เฉลี่ย 557 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ไทยเราปลูกข้าวได้เฉลี่ย 448 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้นเอง...ชาวนาอียิปต์เป็นชาวนาเทวดาหรือ? จึงปลูกข้าวได้มากกว่าเรา 4 เท่า!! ชาวนาลาวเก่งกว่าเราหรือ? จึง ปลูกข้าวได้มากกว่าเราถึง 109 กิโลกรัมต่อไร่!!! ชาวนาไทยไม่ได้แพ้อียิปต์ !!

“องค์ความรู้ในการทำนา “สรรพสิ่ง” ทำให้ชาวนาได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี มีชาวนาที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำต่อไร่ได้ 1,526 กิโลกรัมต่อไร่ในฤดูปี 2554 สามารถเพิ่มเป็น 1,612 กิโลกรัมต่อไร่ได้ในฤดูปี 2555 กำลังรอดูผลผลิตฤดูปี 2556 นี้อยู่ว่า จะเป็นอย่างไร สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ขณะที่ผลผลิตสูงขึ้น ต้นทุนในการทำนากลับลดลงเป็นอันมาก จากการลงมือทำจริงของอาจารย์เสถียร ทองสวัสดิ์ พบว่า การบำรุงดินให้ค่าความเป็นกรดด่างคงที่เป็นกลางได้ตลอดเวลา มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ เพิ่มขึ้นชัดเจน การค้นพบครั้งนี้ทำให้ทีมงานมั่นใจว่า การจะเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้อย่างอียิปต์นั้น เป็นไปได้แน่นอน”นายอดิศร กล่าว

สำหรับโครงการ 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาทนั้น ดำเนินการภายใต้ปรัชญา “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปลงนาที่อยู่ในโครงการ ได้รับการออกแบบใหม่ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในเรื่องการจัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน 30:30:30:10 ซึ่งก็คือ พื้นที่ น้ำ : นา : สวน : บ้าน นั่นเอง ดังนั้น ในพื้นที่ 1 ไร่ เราก็จะได้พื้นที่เป็นตารางเมตร ดังนี้ คือ น้ำ : 480 ตารางเมตร นา : 480 ตารางเมตร สวน : 480 ตารางเมตร และบ้าน : 160 ตารางเมตร นั่นเอง

“การปรับสัดส่วนใหม่เช่นนี้ ทำให้เราได้พบเรื่องราวใหม่ ๆ อีกมากมาย ที่เราเองก็ยังไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น ปลูกผักได้มากขึ้นกว่าเดิม เลี้ยงปลาได้มากกว่าเดิมอีกมาก เกษตรกรเองเมื่อกลับมาคำนวณผลผลิตที่จะได้แล้วมันไปได้ไกลกว่า 1 ไร่ 1 แสน อีกหลายเท่า ตอนนี้เราเชื่อมั่นว่ายังมีความลับชั้นดีที่เราคาดไม่ถึงอีกมากมายในเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างแน่นอน” นายอดิศร กล่าวอย่างมั่นใจ

นายอดิศร ฝากปิดท้ายมาด้วยว่า “การอบรมครั้งนี้ จะปรับหลักสูตรตามความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจสถานะปัจจุบันของชาวนาไทย ความสามารถของเกษตรกรไทย แนวโน้มอนาคต วิธีคิดและทางรอดของเกษตรกรไทย หลังจากนั้นทำความเข้าใจหลักคิดที่ยิ่งใหญ่ของ “เกษตรทฤษฎีใหม่” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์” จบแล้วจึงจะนำเข้าสู่ภาคปฏิบัติที่ให้เวลามากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา คือ ทำความเข้าใจเรื่อง “ง้วนดิน” หลักการพื้นฐานของ “เทคโนโลยีสรรพสิ่ง” การเตรียมสรรพสิ่งขยายเพื่อประยุกต์ให้เป็นสรรพสิ่งเพื่อเป็นอาหารพืช (ปุ๋ย) สรรพสิ่งเพื่อเป็นอาหาร กุ้ง หอย ปู ปลา กบ สรรพสิ่งเพื่อเป็นอาหาร หมู เป็ด ไก่”

ใครที่ต้องการเรียนรู้การทำนาแบบลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งพอที่จะนำไปทำจริงสนใจติดต่อที่ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมู่ 13 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โทร. 0-2529-2212-3 0-2529-1972 08-3299-2317 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.




http://www.dailynews.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/11/2017 7:48 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/07/2014 5:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิจัยทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน ‘รศ.วรรณา ประยุกต์วงศ์’ ชี้ผลลัพธ์มากกว่าตัวเงิน


เปิดวิจัยเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ‘รศ.วรรณา ประยุกต์วงศ์’ ชี้ผลลัพธ์มากกว่าตัวเงินเกษตรกรเข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตเพื่อกินอิ่ม เหลือจึงขาย หวังสร้างวิทยากรเผยแพร่ความรู้ทั่วประเทศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 8 หัวข้อ ‘การปรับเปลี่ยนประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก’ ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยในการประชุมกลุ่มย่อย ‘เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม’ รศ.ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ The NETWORK (Thailand) นำเสนอแนวคิดการเรียนรู้จากการลงมือทำเกษตรทฤษฎีใหม่สู่เศรษฐกิจพอเพียง:กรณีศึกษาหลักสูตรการอบรมทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท ว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ใช้สถานที่และหลักสูตร) โดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิทยากรต้นแบบเผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตรกรในชุมชนอื่น ๆ

ส่วนเงื่อนไขเข้าร่วมนั้นต้องเป็นลูกค้าธ.ก.ส. สามารถใช้ชีวิตแบบเสื่อผืนหมอนใบ งดอบายมุขตลอด 5 เดือน เข้ามาเรียนรู้ลงมือทำในแปลงนาสาธิตที่โครงการ ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี กับอาจารย์เจ้าของหลักสูตร 3 คน และผู้ช่วยอาจารย์ 5 คน มีเกษตรกรเข้าร่วม 85 คน

สำหรับหลักสูตรโครงการนั้น รศ.ดร.วรรณา ระบุว่า ได้ใช้กลยุทธ์การตลาดเป็นตัวนำ (เงิน) เพื่อสร้างความสนใจให้กับเกษตรกร ประยุกต์กับหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด เนื่องจากไม่ใช้สารเคมี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะมีนาอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยคูน้ำ ตามคันนาปลูกพืชผัก และเลี้ยงสัตว์ด้วย ก่อเกิดทฤษฎีแปลงนาที่สามารถป้องกันลม ผสมเกสร และเกื้อกูลกันระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำ

ที่สำคัญ เกษตรกรจะสามารถบริหารจัดการน้ำในแปลงนาจากคูน้ำโดยรอบได้มากขึ้น

“โครงการนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่จึงไม่อยากเข้าไปเพียงแค่ประเมินกิจกรรม CSR ของธ.ก.ส.เท่านั้น แต่จะต้องเข้าไปเรียนรู้และถอดบทเรียน เรียกว่า กินนอนอยู่ด้วยกัน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลผลิต ดิน น้ำ ทั้งก่อนและหลังโครงการ ตลอดจนการนำความรู้กลับไปใช้” นักวิจัย กล่าว และว่า การทำกิจกรรมดังกล่าวจะเน้นลงมือปฏิบัติ ประกอบกับการบรรยาย การตรวจแปลง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอัดวิดีโอ และทดลองหลายรูปแบบ

กระบวนการนี้ยังได้ปลูกฝังคุณค่าการดำเนินชีวิต เพราะธ.ก.ส.จะจัดหาอาหารให้เฉพาะเดือนแรกเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2 จะต้องเก็บผลผลิตในแปลงมาบริโภคเอง โดยธ.ก.ส.จะจัดหาเฉพาะข้าวสารเท่านั้น

รศ.ดร.วรรณา กล่าวถึงผลการศึกษาว่า เกษตรกรทั้ง 85 คน ได้เกรด A และสอบตก แบ่งเป็น การทำนามีผลผลิตข้าวเปลือกสูงสุด 473 กก./แปลง เฉลี่ย 900 กก./ไร่ ต่ำสุด 30 กก./แปลง

กรณีที่มีผลผลิตตกต่ำนั้น ก็เนื่องมาจากเจ้าของแปลงป่วยไปราว 2 เดือนครึ่ง

ส่วนพืชผัก ทั้งบริโภคและขายสูงสุด 727 กก./แปลง (ชั่ง) ต่ำสุด 30 กก./แปลง (ประเมิน)

ไข่เป็ด เกษตรบางคนบอกว่า มีประสบการณ์เลี้ยงเป็ดอยู่แล้วจึงอยากขอเพื่อเชื่อมโยงโครงการเท่านั้นเพียง 20 ตัว หรือบางคนบอกว่า อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญขอ 83 ตัว และยังมีขอสูงถึง 123 ตัว ซึ่งสุดท้ายก็ไปไม่รอด อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 50 ตัว ทั้งบริโภคและขายสูงสุด 3,803 ฟอง/แปลง ต่ำสุด 845 ฟอง/แปลง

ปลาดุก ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต เนื่องจากมีการจัดการปัจจัยการผลิตมาให้เกษตรกรในสัปดาห์ที่ 6 เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถมีผลิตผลออกสู่ตลาดได้ทัน โดยมีน้ำหนักสูงสุด 423 กก./แปลง

สำหรับกบนั้น รศ.วรรณา ระบุว่า ไม่มีผลผลิตเลย เพราะเกษตรกรเลี้ยงไม่เป็น ปล่อยออกจากกระชังทำให้กบกินกันเอง บ้างก็หนีออกจากแปลง

ส่วนกุ้งฝอยนั้น ธ.ก.ส.ไม่สามารถจัดหามาให้เกษตรกรเลี้ยงได้คนละ 10 กก./แปลง (85 แปลง:850กก.) ได้

“เมื่อนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติจะพบว่า เกษตรกรที่มีการปลูกผักมากหรือหนาแน่นจะได้ผลผลิตข้าวและปลาสูง นั่นหมายถึงแต่ละแปลงมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยยะสำคัญ” นักวิชาการ ประเมิน และว่า ตรงกันข้ามเกษตรกรที่ปลูกผักน้อยหรือไม่หนาแน่นจะได้ผลผลิตข้าวและปลาน้อย

สุดท้าย แม้โครงการ 1 ไร่ ณ วันนี้ ยังไม่ได้ 1 แสน ตามเป้าหมายก็ตาม เนื่องด้วยกิจกรรมในโครงการไม่ครบ รวมถึงปลามีน้ำหนักน้อย ซึ่งหากจะให้ได้ต้องได้ปลา 6 ตัว/กก. แต่จากการเลี้ยงปลา 10,000 ตัว เกษตรกรทำได้เพียงป้องกันไม่ให้ปลาหลุดหรือเป็ดลงไปกินปลาจนหมด ผู้ทำวิจัย ชี้ให้เข้าใจว่า เกษตรกรไม่เคยทำกิจกรรมผสมผสานในพื้นที่จำกัดมาก่อน ฉะนั้นจึงถือว่า “เป็นการเรียนรู้จากความล้มเหลว”

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ กลุ่มเกษตรกร 84 คน มี 1 คนที่ไม่จบหลักสูตร

เกษตรกรจำนวน 76 คน หรือร้อยละ 90 สามารถเป็นวิทยากรในชุมชนตนเองได้

การนำความรู้ไปใช้ในแปลงเกษตรของตนเองจำนวน 80 คน ร้อยละ 94

การขุดแปลงสาธิตและปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในแปลง จำนวน 47 คน ร้อยละ 55

“โครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้ความสำเร็จของเงื่อนไขเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งถือเป็นการสร้างไม่เฉพาะคนต้นแบบและสมรรถนะเท่านั้น แต่ยังเป็นการนำความรู้ไปแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญได้

ที่สำคัญ เกษตรกรไม่ติดใจว่า ทำนา 1 ไร่ ไม่ได้เงิน 1 แสนบาท เพราะเข้าใจว่า จะต้องทำเพื่อบริโภคให้อิ่มก่อน แล้วจึงขาย มิใช่ผลิตเพื่อขายอย่างเดียว” รศ.ดร.วรรณา สรุปบทเรียนที่ได้จากลงพื้นที่วิจัยทิ้งท้าย...


\ที่มาภาพ: http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=115519

http://www.isranews.org/community/comm-news/comm-agriculture/item/24626-rice_24626.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Phinyo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/01/2014
ตอบ: 59
ที่อยู่: นครสวรรค์

ตอบตอบ: 25/07/2014 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
กระทู้ดีน่าอ่าน ปักมุดไว้ได้หรือเปล่าครับ
ว่าแต่ลุงคิม ตอบกระทู้เหมือนกันทำไมตั้ง 2 อัน (กราบสวัสดีครับ ไม่ได้ทักแต่แรก)
ไปแล้วครับ แว๊ปๆๆ
---------------------------------------------------------------
แก้ไข
อ่ะผมอ่านของลุงคิมไม่ดีเอง ขออภัยด้วยครับ
---------------------------------------------------------------
เจ้าของกระทู้ครับ รูปหายไปครับ กู้กลับมาให้ดูหน่อยสิครับ








.
_________________

โปรแกรมPhotoscape(Free)รองรับภาษาไทย โปรแกรมตกแต่งภาพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©