-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 6 SEP **ยาฆ่าหญ้าสมุนไพร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 7 SEP **หอมมะลิต้นสูง, *มะเหมี่ยวไม่ออกลูก, *พุทราเนื้อฝาด, *มะม่วงหลังแต่งกิ่ง *มะปรางดอกร่วง *บำรุงสำปะ หลัง *น้ำว้าใบเหลือง *บำรุงมะนาว *มะยมไม่ออกลูก *หอมมะลิภาคไต้ *คุณนายตื่นสายต้นเหลือง *กำจัดหอยเชอรี่ *นาดอนปาดหน้าดิน.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 7 SEP **หอมมะลิต้นสูง, *มะเหมี่ยวไม่ออกลูก, *พุทราเนื้อฝาด, *มะม่วงหลังแต่งกิ่ง *มะปรางดอกร่วง *บำรุงสำปะ หลัง *น้ำว้าใบเหลือง *บำรุงมะนาว *มะยมไม่ออกลูก *หอมมะลิภาคไต้ *คุณนายตื่นสายต้นเหลือง *กำจัดหอยเชอรี่ *นาดอนปาดหน้าดิน.

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 09/09/2014 4:52 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 7 SEP **หอมมะลิต้นสูง, *มะเหมี่ยวไม่ออก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 7 SEP

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : นาข้าวหอมมะลิ ที่บุรีรัมย์ 60 ไร่ นาหว่าน น้ำครึ่งแข้ง ระยะต้นกลมยังไม่ออกรวงสูงถึงเอว ยังไม่ตั้งท้อง บำรุงอย่างไร....?
ตอบ :
- แง่คิดนาข้าวแปลงนี้ เนื้อที่ 60 ไร่ ทำนาแบบประณีต ทำเป็น-แปรรูปเป็น-ขายเป็น รับรองว่าได้มากกว่า 1 ล้านต่อรุ่น เผลอๆ อาจจะถึง 2 ล้านเอาด้วยแน่ะ

- ระดับน้ำครึ่งหน้าแข้งทำให้ข้าวต้นสูง ข้าวต้นสูงคือต้นยาว รวงจะสั้น ข้าวต้นเตี้ยหรือต้นสั้น รวงจะยาว คงเป็นเพราะไม่มั่นใจในปริมาณน้ำว่ากว่าข้าวจะโตจนเกี่ยวได้ จะมีน้ำเพียงพอหรือไม่ จึงต้องกักเก็บไว้มากๆก่อน ทั้งนี้ ธรรมชาติของต้นข้าวต้องการน้ำหล่อเพียงเจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน หรือรอยตีนควายเท่านั้น

- แนวทางปฏิบัติวันนี้ .... ฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ ที่มีส่วนผสม 0-52-34, 13-0-46 (2 รอบ) ห่างกันรอบละ 7 วัน โดย 0-52-34 จะช่วยหยุดความสูง กับ 13-0-46 ช่วยในการออกดอก .... ข้าวเป็นน้ำนมแล้วให้ปุ๋ย บำรุงต้น + ขยายขนาด คือ แม็กเนเซียม (สร้างคอลโรฟีลด์ ข้าวจะใบเขียวถึงวันเกี่ยว), สังกะสี. สร้างแป้ง ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ), 21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน (ขนาดเมล็ดใหญ่ เมล็ดแกร่งใส ไม่เป็นท้องไข่ น้ำหนักดี) อาทิตย์ละครั้งจนถึงเกี่ยว


(.... เหนื่อยใจกับการนำเสนอเรื่องราว เพราะเอ่ยชื่อผลิตภัณท์ไม่ได้ จะกลายเป็นแฝงโฆษณา จึงบอกได้แค่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ แล้วผู้ฟังจะรู้เรื่องได้อย่างไร....)

- ทุกครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ขอให้ +สารสมุนไพรสูตรรวมมิตร (เผ็ดจัด+ขมจัด+เบื่อเมา) ร่วมเข้าไปด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่เสียเวลา

- ปัญหาชาวนาที่พบวันนี้ การให้ปุ๋ยทางใบอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ถือว่าถี่เกินไป ไม่มีเวลา ทั้งๆที่อาทิตย์หนึ่งทำงานเพียง 1 วันเท่านั้น ชาวนาบางคนบอกว่าไม่มีเวลา เพราะต้องเอาเวลาไปทำงานอย่างอื่นบ้าง จึงอยากถามย้อนว่า เมื่อมีงานอย่างอื่นทำ งานอย่างอื่นที่ทำนั้นมีรายได้มากน้อยเพียงใด ถ้ามีรายได้มากกว่าก็น่าจะไปทำงานนั้น ไม่ต้องมาทำนาวข้าว หากทำงานสองอย่าง แต่ละอย่างทำได้ไม่เต็มที่ ก็เท่ากับไม่ได้อะไรเลย หลักการทำงานที่ถูกต้อง คือ ทำ 100% ย่อมได้ 100% หากทำไม่ถึง 100% ย่อมได้ไม่ถึง 100%

- นาข้าว 60 ไร่ แรงงานคนเดียว ฉีดพ่น ปุ๋ย+ยา ทางใบ วันละ 10 ไร่ เท่ากับใช้เวลาอาทิตย์ละ 6 วัน ยังเหลืออีก 1 วัน ไปวัดทำบุญ .... หรือแรงงานสองคนผัวเมีย ทำงานคนละ 5 ไร่/วัน ก็ใช้เวลาเท่ากันเหมือนเดิม

- ท้ายไร่กล้อมแกล้ม นา 20 ไร่ เด็กหนุ่มคนเดียว ฉีด ปุ๋ย+ยา ทางใบ เริ่มทำงาน 10 โมงเช้า บ่าย 2 โมงเสร็จ ทำทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้ง

------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ชมพู่มะเหมี่ยว 4 ต้น อายุต้น 4 ปี ตั้งแต่ปลูกมาใบมาก ไม่ออกดอก ไม่ออกลูก แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- คำถามเรื่องมะเหมี่ยว มีมาทุกอาทิตย์ ชวนให้สงสัยว่า คนเดิมถามซ้ำเพราะไม่เข้าใจคำตอบ หรือคนถามใหม่เพราะที่ตอบไปแล้วนั้นไม่ใช่มะเหมี่ยวของตัวเอง

- ธรรมชาติไม้ผล ใบมากลูกน้อย ใบน้อยลูกมาก กรณีนี้เรียกว่า “บ้าใบ” ไม่ออกดอกออกลูกหรอก กอร์ปกับช่วงนี้หน้าฝน ต้นมะเหมี่ยวได้รับน้ำมากจึงแตกใบมาก ลงท้ายคือ ไม่ออกดอกนั่นเอง

* แก้ไขโดย :
- ทางใบ : .... ตัดกิ่งในทรงพุ่มออกให้หมด เหลือเฉพาะปลายกิ่ง .... ให้ฮอร์โมนไข่ สูตรที่มีส่วนผสม 0-52-34, 13-0-46 (2 รอบ) ห่างกันรอบละ 7 วัน โดย 0-52-34 จะช่วยสะสมตาดอก กับ 13-0-46 ช่วยเปิดตาดอก

- ทางราก : ....ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ 6 เดือน /ครั้ง .... ใส่ปุ๋ย 8-24-24 (ครึ่ง กก.) /ต้น /เดือน .... ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเดือนละครั้ง .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

* ออกดอก ติดลูกแล้วค่อยว่ากันใหม่ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน

------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พุดทรา เนื้อฝาด มีหนอน แก้ไขอย่างไร.....?
ตอบ :
- “เนื้อฝาด” แก้ไขด้วยการให้ แม็กเนเซียม + สังกะสี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 รอบ แล้วสลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน .... ทุกวันพุธที่ 1 กับพุธที่ 3 ของเดือนให้นมสด (นมน้ำเหลืองแม่วัวดีที่สุด) เปล่าๆ รสชาติจะดี เรียกว่า พุทรานมสด

– ทุกครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ขอให้ +สารสมุนไพรร่วมไปด้วย เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว

- “หนอน” นั่นคือ หนอนแมลงวันทอง ศัตรูประจำเผ่าพันธุ์ของพุทรา แก้ไขด้วยการห่อผล ตั้งผลขนาดนิ้วโป้มือ กับทำกับ “ดักกาวเหนียวง + กลิ่นล่อแมลงวันทอง” วางไว้นอกแปลง ห่างๆ เพื่อล่อแมลงวันทองออกจากแปลงไปหากับดัก

- ผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ กระท้อน ฝรั่ง พุทรา ถ้าไม่ห่อผลเนื้อจะแข็ง กินไม่ได้ กับมีแมลงวันทองเข้ารบกวน

-------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงตัดแต่งกิ่งแล้วบำรุงอย่างไร .....?
ตอบ :
* ตัดแต่งแล้วก็เรียกใบอ่อน โดย :
- ทางใบ : ให้ แม็กเนเซียม + สังกะสี + 25-5-5 ทุก 7 วัน 2-3 รอบ .... ให้ 25-7-7 จะได้ใบใหม่ใหญ่หนา และให้แม็กเนเซียม. สังกะสี.ช่วยให้ต้นสมบูรณ์กว่า 46-0-0

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, 25-7-7, หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพ, ให้น้ำสม่ำเสมอ, พอหน้าดินชื้น.

– เดือนนี้ ก.ย. ตัดแต่งกิ่งเรียกใบอ่อนเดือนนี้ เหลือระยะเวลา ต.ค.– พ.ย. เพียง 2 เดือน จะเพียงพอสำหรับ สะสมตาดอก ปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอกหรือ ? เพราะปลาย ธ.ค. มะม่วงต้องออกดอกแล้ว

- ต้องการเอาผลผลิต เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วต้องรักษาใบอ่อนเท่าชีวิต หากใบอ่อนถูกทำลายไปจะเสียเวลารุ่นนี้ทั้งปี ต้องรอปีใหม่รุ่นหน้า

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะปรางดอกร่วง แก้ไขอย่างไร.....?
ตอบ :
* ฟันธง มะปรางหวาน มะปรางเปรี้ยว มะยงชิด มะยงห่าง บำรุงเหมือนๆกัน

- ทางใบ : บำรุงดอกด้วย “15-30-15 + เอ็นเอเอ. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ....

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, 8-24-24 หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพ, ให้น้ำสม่ำเสมอ, พอหน้าดินชื้น.

- มะปรางหวาน มะปรางเปรี้ยว มะยงชิด มะยงห่าง ไม่ชอบอากาศหนาว ให้หลีกเลี่ยงการเปิดตาดอกช่วงอากาศหนาว กับบำรุงต้นให้ “สะสมความสมบูรณ์” ล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงไม่มีผลบนต้นด้วยการให้ “แม็กเนเซียม + สังกะสี” สม่ำเสมอ ทั้งนี้ สังกะสีเป็นธาตุอาหารที่ช่วยให้พืชสู้กับสภาพอากาศผิดปกติ (ร้อนจัด หนาวจัด) ได้ดี

- กรณีดอกร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลาย ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพร “เผ็ดจัด” บ่อยๆ ตั้งแต่เริ่มออกดอก ฉีดตอนค่ำ .... การไม่มีแมลงธรรมชาติเข้ามาช่วยผสมเกสร เนื่องจากใช้สารเคมีมากก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วง เนื่องจากไม่ได้รับการผสม

– เดือนนี้ ก.ย. เหลือระยะเวลา ต.ค.– พ.ย. สำหรับเตรียมต้นเพื่อการออกดอกในเดือน ธ.ค. ดังนี้

*ทางใบ : ให้ แม็กเนซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน .... หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วนเดือนละ 1 รอบ .... ถ้าไม่ได้ตัดแต่งกิ่งไว้ก่อนก็ไม่ต้องตัด บำรุงต่อเลย เพราะไม้ผลกลุ่มนี้ออกดอกจากยอดของกิ่งข้ามปี

* ทางราก : หลังเสร็จสิ้นรุ่นปีที่แล้ว (วันสิ้นสุดรุ่น คือ วันที่ผลสุดท้ายหลุดจากต้น และวันเริ่มรุ่น คือ วันรุ่งขึ้นของวันสิ้นสุดรุ่น) ถ้าไม่ได้ให้ ยิบซั่ม, ขี้วัวขี้ไก่แลลบดิบ, กระดูกป่น, 25-7-7, ก็ให้ใส่วันนี้ได้เลย หากใส่แล้วก็ไม่ต้อง แต่ให้ทางดินด้วย 8-24-24 กับน้ำหมักชีวภาพ พรวนดินพูนดินโคนต้น ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : สำปะหลังใช้แม็กเนเซียม สังกะสี ทางใบทางราก ให้อย่างไร....?
ตอบ :
- ทางใบ : ให้ “แม็กเนเซียม ซัลเฟต + สังกะสี คีเลต + 5-10-40 จี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทุก 15 วัน .... ฉีดให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ลงถึงพื้น

- ทางราก : ให้ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, น้ำหมักชีวภาพ ตั้งแต่ช่วงเตรียมดินเตรียมแปลง .... ลงหัวแล้วให้ น้ำหมักชีวภาพ +แม็กเนเซียม +สังกะสี +5-10-40 เดือนละครั้ง .... ผสมน้ำมากๆ เพื่อเป็นการให้น้ำไปในตัว

* ให้น้ำบ่อยๆ พอหน้าดินชื้น นอกจากเพื่อสำปะหลังแล้ว (ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ) ยังช่วยป้องกันเพลี้ยแป้งสีมพูเข้าทำลายอีกด้วย ทั้งนี้เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ชอบความชื้น

* ช่วงแล้งมากๆ ให้น้ำสม่ำเสมอ นอกจากช่วยให้สำปะหลังไม่กินตัวเองแล้ว ยังสร้างหัวให้ใหญ่และมีคุณภาพสูงขึ้นอีกด้วย

* สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ....
- สำปะหลัง ต้นเดี่ยว คนเลี้ยง ที่อู่ทอง สุพรรณบุรี ได้ 60 ตัน /ไร่

- สำปะหลังแบบเดิม ต้นเดี่ยว เทวดาเลี้ยง ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม ต้นเดี่ยว คนเลี้ยง ได้ 10 ตัน /ไร่

- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า ต้นคู่ เทวดาเลี้ยง ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า ต้นคู่ คนเลี้ยง ได้ 20 ตัน /ไร่

*** เทวดาเลี้ยง หมายถึง รอฝนจากฟากฟ้า ปุ๋ยเคมี-สารเคมีบ้าเลือด
*** คนเลี้ยง หมายถึงให้ ปุ๋ย+น้ำ ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : กล้วยน้ำว้าใบเหลือง เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไร .....?
ตอบ :
- เป็นเพราะเชื้อราแอนแทร็คโนส แก้ไขโดยการตัดใบทิ้งแล้วเอาไปเผาไฟ ป้องกันเชื้อโรคแพร่ระบาด

– กล้วยตัดใบ แม้จะตัดใบจนหมดต้นก็ไม่เป็นไร ไม่เกิน 1 อาทิตย์จะแตกใบใหม่เอง
- บำรุงกล้วยน้ำว้า ใช้ผักปอดสดหรือแห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ โรยทับด้วยขี้ไก่ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพเดือนละครั้ง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ เครือยาว หวีมาก แต่ละหวีลูกมาก คุณภาพดี

– นอกจากแอนแทร็ตโนส.แล้ว “ตายพราย” ก็เป็นอีกโรคหนึ่งประจำเผ่าพันธุ์กล้วย โรคนี้เกิดเองเมื่อปลูกซ้ำที่เดิมหลายๆ รุ่นติดต่อกัน แก้ไขโดยการขุดหน่อย้ายที่ปลูกใหม่ ที่เคยปลูกกล้วยเดิมก็เปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น เพื่อตัดวงจรชีวิตเชื้อโรค

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : วิธีบำรุงมะนาว ให้ออกลูกทำอย่างไร....?
ตอบ :
- เอาแบบให้ออกตลอดปี หรือออกเฉพาะหน้าแล้ง เพราะแต่ละแบบต้องพูดยาว เวลาที่นี่แค่ตรงนี้ไม่พอ

– บำรุงแบบให้ออกลูกตลอดปี :
*ทางใบ : ให้ แม็กเนเซียม. สังกะสี. 0-52-34, 13-0-46, 21-7-14, ไคโตซาน, ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ....


(.... บอกยังงี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า ผู้ฟังหรือเจ้าของคำถาม จะผสมหรือใช้ปุ๋ยอย่างไร เพราะปุ๋ยพวกนี้ต้องแยกกันให้ ไม่ใช่ใส่รวมกันทีเดียวทั้งหมดทุกตัวเลย

ที่จริง ในท้องตลาดที่เขาทำขายแยกเป็นสูตรๆ เช่น สูตรสะสมตาดอก สูตรเปิดตาดอก สูตรบำรุงดอก สูตรบำรุงผล เมื่อพืชถึงระยะไหนก็ใช้สูตรนั้น นั่นคือ ในการปฏิบัติจริง มันไม่ได้ยากเหมือนที่พูดตรงนี้หรอก แต่เพราะรายการนี้ เอ่ยชื่อยี่ห้อปุ๋ยไม่ได้ จะกลายเป็นแฝงโฆษณา ไม่มีมารยาท หวังว่าคงเข้าใจ.....)

* ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 6 เดือน/ครั้ง, ให้ 21-7-14 สลับเดือนกับ 8-24-24, ให้น้ำหมักชีวภาพเดือนละครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะยม ต้นใหญ่ ใบมาก ไม่มีลูก เป็นมะยมตัวผู้หรือเปล่า แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- เหมือนชมพู่มะเหมี่ยว ใบมากลูกน้อย ใบน้อยลูกมาก ใบมากๆ แบบนี้เขาเรียกว่า “บ้าใบ” ไม่ออกดอกติดลูกหรอก

- มะยม ไม่ต้องตัดแต่งกิ่งเหมือนชมพู่มะเหมี่ยว แต่ให้บำรุงเรียกเรียกดอกไปเลย...
* ทางใบ : .... ให้ฮอร์โมนไข่ สูตรที่มีส่วนผสม 0-52-34, 13-0-46 (2 รอบ) ห่างกันรอบละ 7 วัน โดย 0-52-34 จะช่วยสะสมตาดอก กับ 13-0-46 ช่วยเปิดตาดอก

* ทางราก : .... ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... ใส่ปุ๋ย 8-24-24 (ครึ่ง กก.) /ต้น /เดือน .... ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเดือนละครั้ง .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

* ออกดอก ติดลูกแล้วค่อยว่ากันใหม่ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน
* มะยมตัวผู้ กับต้นรักซ้อน ไม้คู่นี้หายาก ใครมีราคาเป็นล้าน เขาเอาไปทำรักยม

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ข้าวหอมมะลิภาคไต้ แมลงลงใช้ยาตัวไหน ....?
ตอบ :
- เพิ่งมีข่าวว่าหอมมะลิ 105 ปลูกภาคไต้ เคยมีแต่ข่าวปลูกที่พิจิตร ได้ 70 ถัง /ไร่ ปลูกที่ลำพูน ได้ 80 ถัง /ไร่ แต่กลิ่นไม่หอมเหมือนที่อิสาน ที่จริงข้าวหอมมะลิ 105 กำเนิดที่บางปะกง ฉะเชิงเทรา ตอนนั้นกลิ่นไม่หอม เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่หอม ต่อมาหอมมะลิ 105 ออกจากบางปะกง ไปปลูกปทุมธานี สุพรรณบุรี กลิ่นก็ไม่หอมเหมือนกัน ได้แต่เนื้อนุ่มเท่านั้น กับส่วนหนึ่งไปปลูกที่อิสาน ปรากฏว่านอกจากนุ่มแล้วยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย จากงานวิจัยบอกว่า ดินอิสานมีเกลือสินธุ์เทาว์ จึงทำให้มีกลิ่นหอม ประมานนั้น

เคยมีงานวิจัยระบุว่า สารหอมในข้าวหอมมะลิ 105 เป็นสารตัวเดียวกันกับสารในใบเตยสด ถ้างั้น เอาน้ำคั้นใบเตยสดฉีดทางใบให้ข้าวหอมมะลิระยะน้ำนมที่ปลูกนอกเขตภาคอิสาน อาจช่วยให้หอมมะลิ 105 มีกลิ่นหอมขึ้นมาก็ได้ ใครจะรู้

– แมลง คือ แมลง เจ้าของนาเห็นตัวแมลงยังไม่รู้ชื่อแมลงอะไร นี่คืออันตรายของชาวนาไทย ทำนามาตั้งแต่อยู่ในท้องพ่อท้องแม่ ยังไม่มีความรู้อะไรที่เกี่วข้องกับต้นข้าวเลย ฉะนี้แล้วจะพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างไร

- แมลงเข้าหาต้นข้าว นั่นคือสัญชาติญานในการดำรงชีวิตของเขา สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก รวมทั้งคนด้วย ต้องกินอาหาร .... แมลงพูดว่ากินอาหาร แต่คนพูดว่าทำลายต้นข้าว นี่คือ ความเหมือนบนความต่าง หรือความต่างบนความเหมือน ในธรรมชาติ

- แมลงทุกชนิด ทุกชื่อ ทุกสายพันธุ์ กินต้นข้าวเพราะชอบรสชาดของต้นข้าว หากคนจัดการเปลี่ยนรสชาดของต้นข้าวให้เป็นรสอย่างอื่นๆ แมลงก็จะไม่กิน ว่าแล้วก็ให้เอาสมุนไพร “ขมจัด-เผ็ดจัด-เบื่อเมา” ฉีดใส่ที่ต้นข้าว ฉีดโชกๆ ฉีดบ่อยๆ 2-3 ครั้งวันเว้นวัน ดูซิแมลงจะกินอีกไหม แมลงพวกนี้มีอายุขัยแค่ 7-10 วันเท่านั้น ถ้าระยะ 7-10 วันไม่ได้กินอาหาร มันก็ตายเองได้ .... นี่คือ คนฉลาดกว่าแมลง

- ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน มากถึง 200 รายการ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ เรียน 4 ปี (กีฎะ) จบปริญญาตรียังเอาชนะแมลงศัตรูพืชไม่ได้เลย

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลหรือเผ่าพันธุ์ .... ไม่มีสารเคมีใดในโลกนี้ และไม่มีสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเก่าได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย ประมาณนั้น .... มาตรการที่ดีที่สุด คือ “กันก่อนแก้” ด้วยการฉีดพ่น สารเคมียาฆ่าแมลง/สารสมุนไพร แบบล่วงหน้าก่อนที่ศัตรูพืชจะเข้ามาเท่านั้น

- ประสบการณ์ตรง .... นาข้าวหลายแปลง ฉีดสารสนมุนไพรล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชจะเข้ามา สามารถรักษาต้นข้าวให้รอดจากศัตรูพืชได้ .... บางแปลง ขณะที่ศัตรูพืชกำลังระบาดอยู่ในแปลงข้างเคียงนั้น จัดการฉีดสมุนไพรถี่ขึ้น จาก 7 วันครั้ง เป็นวันเว้นวัน ทำแค่ 2-3 รอบเท่านั้น ปรากฏว่า ศัตรูพืชแปลงข้างเคียงไม่เข้ามาเพราะไม่ชอบรสชาดของต้นข้าวแล้ว ยังตายคาแปลงข้างๆ เพราะหมดอายุขัยเองอีกด้วย ลงท้าย นาแปลงนี้ข้าวยังเขียวสดเป็นโอเอซีสในทะเลทราย ท่ามกลางต้นข้าวที่เหลืองแดงเถือกไปทั้งแปลง

กรณีศัตรูพืช ถ้าไม่ป้องกันไว้ก่อน รอจนกระทั่งเข้ามาแล้วจึงฉีดสารเคมี แม้จะฆ่าศัตรูพืชได้ ก็ไม่ได้อะไร เพราะต้นข้าวเสียหายไปแล้ว .... สารเคมีเอาอยู่ แต่เพราะ "ใช้ผิดช่วงเวลา" จึงกลายเป็นไม่ได้ผล

กรณีศัตรูพืชเริ่มระบาดในแปลงข้างเคียง ถ้าไม่ฉีด สมุนไพรหรือเคมี หรือสมุนไพร+เคมี ถี่ขึ้น แบบวันต่อวันหรือวันเว้นวัน ซัก 3-4-5 รอบ ก็จะไม่เหลืออะไรอีกเช่นกัน

ในเมื่อสารสมุนไพรก็มีตัวยากำจัดศัตรูพืชได้เหมือนสารเคมี ชาวนาน่าจะหันมาพิจารณาใช้สมุนไพรแทนสารเคมี เพื่อลดต้นทุน เพื่อสุขภาพของตัวเองของคนกิน และเพื่อเครดิตความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ

การอ้างว่า ไม่มีเวลาไม่มีเวลา นั่นคือ การจมปลักอยู่กับปัญหาเดิมๆ

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : คุณนายตื่นสาย ต้นเหลือง เป็นโรคอะไร เคยเอายาฉุน + น้ำยาล้างจาน ฉีดลงไปมีไส้เดือนออกมาเยอะเลย
ตอบ :
- คุณนายตื่นสายเป็นไม้อายุสั้น ต้นยาว 1-2 คืบมือก็เริ่มโทรมแล้วตาย แก้ไขโดยการเด็ดหรือตัดต้นปลูกใหม่

- การมีไส้เดือนขึ้นมาให้เห็น แสดงว่าดินดี เลี้ยงไว้เลี้ยงไว้

-------------------------------------------------------------


จาก : (093) 382-11 xx
ข้อความ : ข่าวอิสานบ้านเฮา หอยเชอรี่ระบาดหนัก ทางการเกณฑ์ชาวบ้านเก็บมาต้มกิน ขอสูตรภูมิปัญญาพื้นบ้าน กำจัดหอยเชอรี่ด้วยครับ ....
ตอบ :
- การเกษตรวันนี้ เกษตรกรไม่น้อยที่ใช้ความรู้แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ช่างสังเกตุ ช่างเฉลียวใจ ช่างคิด ช่างวิเคราะห์ กล้าลอง กล้าใช้ แล้วเอามาแก้ปัญหาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น....

* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 1
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
ใช้ "สารสกัดสมุนไพร (กลอย. หนอนตายหยาก. หางไหล. กากชา.) 80 ล. + น้ำหมักชีวภาพ 20 ล." ผสมให้เข้ากันดี ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้ .... ใช้ "หัวเชื้อ 3-5 ล. + น้ำ 10-20 ล." สาดให้ทั่วแปลงนาก่อนย่ำเทือก สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร รวมกับสารท็อกซิคจากน้ำหมักชีวภาพ และกลิ่นของน้ำหมักชีวภาพจะเป็นอันตรายต่อหอยเชอรี่ ทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไปได้
(บุญลือ สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้)


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 2
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
- การนำเอาแกลบดิบจากโรงสีข้าว 2 กระสอบ ต่อ 1 ไร่ จำนวนมากน้อยแล้วแต่หอยเชอรี่ระบาด
- นำแกลบที่ได้มาโรยให้ทั่วนาข้าว ซึ่งวิธีการนี้สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้ชะงัด เพราะแกลบดิบลักษณะพิเศษคือเบา ทำให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ จะลอยเข้าปากหอยเชอรี่ เมื่อแกลบเข้าไปในปากหอยเชอรี่ก็จะทำให้ระคายเคืองและกินอาหารไม่ได้ ในที่สุดก็จะตายไปเอง วิธีการนี้ง่ายและไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ให้เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

https://th-th.facebook.com/nfc.nki/posts/135292033334859


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 3
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
สมุนไพรฆ่าหอยเชอรี่ โดยใช้สารสะกัดจากหางไหลแดง และหางไหลขาว ปรากฎว่าใช้เวลา เพียง 6 ชั่วโมงหอยตาย แต่มีปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้หอยมารวมกันเพื่อง่ายในการเก็บซากหอย จึงควรทำดังนี้

- นำสารสกัดสมุนไพรคลุกข้าวสุก โรยรอบคันนาให้หอยกิน
- ใช้สารสกัดสมุนไพรผสมน้ำมันพืช ทาใบมะละกอ ใบละหุ่ง แล้วไปวางให้หอยกิน

หมายเหตุ :
หางไหลจะทำให้ปลาตายด้วยหากท่านเลี้ยงปลาในนาข้าวไม่ควรใช้งาน


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 4
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
- หัวกลอย 1 กก.
- จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ½ ลิตร (500 ซีซี.)
- กากน้ำตาล ½ ลิตร (500 ซีซี.)
- น้ำสะอาด
- นำหัวกลอยโขลกหรือบดละเอียด

- นำจุลินทรีย์กับกากน้ำตาลคลุกเคล้ากับหัวกลอยที่บดแล้วให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน กรองเอาสารที่ได้ (น้ำที่หมักหัวกลอยไว้) 10 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดหอยเชอรี่ หอยจะไม่ไข่และค่อยๆตายหมดใน 2 วัน ใช้สารนี้กำจัดเพลี้ย และแมลงต่างๆ ได้ด้วย

หมายเหตุ :
- กลอย เป็นพืชหัวที่มีพิษแรง เรียกสารไดออสคอรัน (Dioscorine) หากรับประทานโดยไม่ทำลายพิษก่อน จะมีฤทธิ์ในทางเบื่อเมา หากรับประทานมากอาจจะทำให้ตายได้ภายใน 6 ชั่วโมง ดังนั้นช่วงคลุกกลอย ควรใส่ถุงมือยางจะปลอดภัยดี


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 5
ใช้กากชาโรยในนาขณะทำเทือก 1 กส. จะควบคุมพื้นที่ได้ประมาณ 4 ไร่ หอยก็จะตายใน 1 วัน


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 6
ส่วนประกอบ :
- เหล้าขาว 0.5 -1 ขวด
- น้ำ 10 ลิตร
- กากน้ำตาล 1 กก.
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 = 500 ซีซี
- มะกรูด 60 ลูก
- หัวน้ำส้ม 1 ขวด
- กระเทียม 1 กก.
- เถาวัลย์เปรียง 1 กก.
- เมล็ดสะเดา 1 กก.
- ปูนขาว 1 กก.

หมายเหตุ : ต้องผสมเรียงลำดับตามนี้

http://www.budmgt.com/agri/agri01/golden-apple-snail-control.html


* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 7
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
1. พญาไร้ใบ 3 กก.
2. น้ำ 10 ล.
3. กากน้ำตาล 0.5 ล.

นำส่วนผสมทุกอย่างหมักรวมกัน ปิดถังหมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 เดือน กรองเอาน้ำมาใช้ โดยปล่อยไปตามน้ำ หรือว่าราดรดตามข้างนาจำนวน 1 ลิตร/ไร่ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไม่มีผลกระทบหรืออันตรายใดๆต่อต้นข้าว

http://www.ban-nongkhon.com



* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 8
ส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
1. ฝักคูนแก่ 10 กก.
2. กากน้ำตาล 2 ล.
3. น้ำส้มสายชู 1 ล.
4. น้ำส้มควันไม้ 1 ล.
5. น้ำ 50 ล.

ตัดฝักคูณเป็นท่อนขนาด 1-2 นิ้ว ทุบให้แตกไม่ต้องละเอียดมากนัก ใส่ลงในถังหมักเติมกากน้ำตาล น้ำส้มควันไม้ และน้ำส้มสายชู คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท เก็บในร่ม หมักนาน 1 เดือน พร้อมใช้งาน

เนื่องจากยางมะละกอจะมีกลิ่นหอมสามารถดึงดูดให้หอยเชอรี่เข้ามาได้ โดยใช้ใบมะละกอเป็นตัวล่อ นำมาห่อกับฝักคูณ หมักวางตามจุดที่หอยเชอรี่ชุม หรือวางไว้ในนาข้าวที่มีน้ำขัง หอยเชอรี่สามารถสัมผัสได้ถึงกลิ่นยางมะละกอแล้วก็เข้ามากินฝักคูณหมักที่เป็นอาหารที่หอยเชอรี่ชื่นชอบ หลังจากกินแล้วไม่เกิน 3 วัน หอยเชอรี่ลอยขึ้นมาตายจากการได้รับสารพิษ

หมายเหตุ :
- พืชหลายชนิดที่สามารถกำจัดหอยเชอรี่ ได้แก่ สาบเสือ ฟ้าทลายโจร ฝักคูนแก่
- เหยื่อล่อจะต้องเป็นพืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนมครับ

(ขอขอบคุณสูตรกำจัดหอยจาก http://blog.msu.ac.th ที่ได้ให้ความรู้)

http://waritchaphum.sakonnakhon.doae.go.th/KM/page2.html



* กำจัดหอยเชอรี่ สูตร 9
ลูกมะกรูดผ่า 4 ซีก 3 กก. ผสมกับโมลาส 1 กก. ปูนแดงกินหมาก 1 กก. และน้ำใส่พอท่วมลูกมะกรูด หมักไว้ 7 เดือน ... วิธีใช้ : 100 ซีซี. ต่อน้ำ 7 ลิตร หยดให้ทั่วนา

http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_1.html


สรุป :
* หอยเชอรี่เป็นสัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตย่อมต้องมีวงจรชีวิต คือ “เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์” ซึ่งเป็นสัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หากวงจรชีวิต วงจรใดวงจรหนึ่งถูกตัดขาด การดำเนินชีวิตก็จะหยุดชงักลง หรือถึงตายได้ .... นอกจากวงจรชีวิตทั้ง 6 แล้ว ยังมีปัจจัยหลักที่เสริมให้วงจรชีวิตมั่นคงยิ่งขึ้น ได้แก่ สภาพ แวดล้อม, ที่อยู่อาศัย, อาหาร, อากาศ, อุณภูมิ, อีกด้วย

* กรณีนี้หาก “คิด/วิเคราะห์/เปรียบ” ถึงวิธีกำจัดหอยเชอรี่แม้จะเป็นเพียงวิธีแบบภูมิปัญญาบ้านบ้านธรรมดาๆ แต่ก็มีหลักวิชาการรองรับยืนยันในความเป็นไปได้ เช่น ....

- สมุนไพรที่ใช้ ทุกอย่างต่างก็มี สาระสำคัญ หรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา ที่เป็นพิษต่อหอยเชอรี่โดยตรง เมื่อหอยเชอรี่สัมผัสทางปาก (หอยเชอรี่ต้องอ้าปากตลอด ขณะเดินหรือกินอาหาร) ก็จะเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไม่มีทางหลีกเลี้ยง

- ตัวยาในสมุนไพรนอกจากไม่เป็นพิษต่อพืช (ต้นข้าว) แล้ว ยังป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้อีกด้วย นั่นคือ หากฉีดพ่นสารสมุนไพรที่เป็นตัวหลายๆตัว มีตัวยาเข้มข้น ฉีดซ้ำหลายๆรอบ ให้ทั่วต้นข้าวและพื้นดิน ก็จะได้ผลทั้งสองเด้ง

- หอยเชอรี่ที่ตายแล้วจะเหลือเปลือกหอยค้างอยู่ในแปลงนา เมื่อคนลุยลงไปในนาอาจโดนเปลือกหอยบาดเท้าได้

- มาตรการป้องกัน “กันก่อนแก้” ซึ่งน่าจะได้ผลดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด คือ “หลอกล่อหอยเชอรี่เดินลงเข่ง” เองโดย....

- ปล่อยน้ำไหลออกจากแปลงนา ให้น้ำไหลออกช้าๆ ทำให้หอยเชอรี่หลงคิดว่าน้ำกำลังจะแห้ง และน้ำย่อมไหลไปสู่สถานที่ใหม่ที่มีน้ำมากกว่า

- ที่ปลายน้ำสุดเขตแปลงนา ขุดบ่อขนาดกว้างยาว 1 ม. ลึก 30-50 ซม. วางเข่งจมน้ำลงไป วางใบสดสำปะหลัง ตำลึง ใบพืชอื่นๆที่หอยเชอรี่ชอบกินลงไปในเข่ง เมื่อหอยเชอรี่มาตามน้ำ มาพบอาหารกับน้ำที่ลึกกว่าก็จะหยุดกินอาหารนั้น .... อาจจะพิจารณาทำ 1-2 จุดก็ได้ตามความเหมาะสม

- จับหอยเชอรี่ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

-------------------------------------------------------------


จาก : (088) 293-47 xx
ข้อความ : ที่นา 27 ไร่ 20 ไร่เป็นที่ดอน เมื่อ 3-4 เดือนที่แล้วได้ปาดหน้าดินออกไปลึกพอสม ควร ที่ส่วนนี้ยังไม่ได้ทำนา ดูแล้วท่าทางคงไม่ไหวเพราะหญ้ายังไม่ขึ้นเลย ไม่อยากทำนาแบบเคมีบ้าเลือดเหมือนเก่า แต่อยากทำแนวลุงคิม ผมต้องเริ่มต้นอย่างไรครับ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
@@ หลักการและเหตุผล :
* การปาดหน้าดินออก หากมองเพื่อปรับพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ทำครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินด้วย เพราะดินบริเวณที่ปาดออกไปนั้นเป็นที่ดอน น้ำขึ้นไม่ถึง หรือถ้าน้ำขึ้นถึงบริเวณที่ลุ่มก็กลายเป็นท่วมไปแล้ว การปาดหน้าดินเดิมออกไป มิใช่เอาออกไปแต่ดิน แต่ได้นำองค์ประกอบความเป็นดินเพื่อการเพาะปลูกออกไปด้วย นี่คือสิ่งที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

* สัจจะธรรมชาติว่าด้วยดินเพื่อการเพาะปลูกพืช คือ ในดินต้องมี อินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช-เศษซากสัตว์), จุลินทรีย์ (ตัวใหม่-ตัวเก่า), น้ำ (ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่), อากาศ (ผ่านสะดวก) ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นตัวบอกว่า “ดินดี หรือ ดินไม่ดี” .... จากดินที่เคยมีแล้วไม่มี เพราะนำออก ไป (ปาดหน้าดิน) ก็ต้องใส่ลงไปแทน การใส่ลงไปใหม่จะใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความต้อง การของคน ความต้องการของคนขึ้นอยู่กับพืชที่จะปลูก นั่นคือ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน

* แนวความคิดหรือทัศนคติของคนมักไม่ให้ความสำคัญต่อดิน คิดว่า “ค่าเพียงดิน” คือไม่มีค่าอะไรเลย แต่ถ้าถามต้นพืช เขาจะบอกว่า “ดินสำคัญที่สุด” เพราะดินคือที่กินที่อยู่ที่เจริญเติบโตที่ออกดอกติดผลขยายเผ่าพันธุ์ของต้นพืช

* ภารกิจนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ใจ ใจเอาทำง่าย-ใจไม่เอาทำยาก .... คิดดีๆ ดินดีพืชโตได้ผลผลิตดี-ดินไม่ดีพืชไม่โตได้ผลผลิตน้อย .... ดินดี พืชโต ลงทุนน้อยทั้งปุ๋ยและยา-ดินไม่ดี ลงทุนสูงทั้งปุ๋ยและยา

* ทดสอบดินแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน :
- ดินดี ........... ต้นพืชโตดี ผลผลิตดี ลงทุน ปุ๋ย/ยา ต่ำ
- ดินไม่ดี ......... ต้นพืชไม่โต ผลผลิตน้อย ลุงทุนค่า ปุ๋ย/ยา สูง

- ดินดี ........... ตอนดินแห้งเดินนุ่มเท้า ไม่แตกระแหง วัชพืชไม่ตาย
- ดินไม่ดี ......... ตอนดินแห้ง เดินเจ็บเท้า แตกระแหง วัชพืชตาย

- ดินดี ........... น้ำซึมลงได้ลึก เก็บน้ำได้นาน
- ดินไม่ดี ......... น้ำซึมลงไม่ลึก เก็บน้ำไม่นาน

- ดินดี ........... มีอินทรียวัตถุ
- ดินไม่ดี ......... ไม่มีอินทรีย์วัตถุ

- ดินดี :.......... ขี้เทือกลึก
- ดินไม่ดี ......... ขี้เทือกตื้น

- ดินดี :......... ปาดหน้าดินไปแล้วทิ้งไว้ 15-20 วัน มีวัชพืชขึ้น คือ ดินดี ....
- ดินไม่ดี ........ ปาดหน้าดินไปแล้วทิ้งไว้ 15-20 วัน ไม่มีวัชพืชขึ้น คือ ดินไม่ดี

- ดินดี .......... ดม มีกลิ่นหอมอินทรีย์วัตถุ หรือหอมกลิ่นดิน ....
- ดินไม่ดี ........ ดม มีกลิ่นเหม็น เป็นกลิ่นรับไม่ได้ ดมแล้วเวียนหัว

- ตรวจวัดปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน : เก็บดินหน้าดินมา 1 ก้อนเท่าบาตรพระ วางบนตาข่ายไลล่อนตาถี่ๆ นำไปละลายน้ำให้ดินละลายออกไปให้หมดแล้วเหลือเศษซากอะไรก็สุดแท้ติดค้างอยู่บนตาข่ายนั้น เศษซากนั้นคืออินทรีย์วัตถุ ชนิดก็ตามที่เห็น ปริมาณก็เทียบกับเนื้อ

ดินขนาดเท่าบาตรพระ
@@ สร้างดิน :
*แบบสร้างดินไม่เอาเงิน : หยุดนาข้าว 1 ฤดูกาล เพื่อสร้างอินทรีย์วัตถุในดินโดย ใส่อินทรีย์วัตถุ “ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ + ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย + กระดูกป่น + ขี้วัว + น้ำหนักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้ว ไถดะ-ไถแปร-ไถพรวน จากนั้นเตรียมปลูกถั่วไร่ (เขียว เหลือง แดง ดำ) เมื่อถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ ทำซ้ำ 2-3 รอบ

* แบบสร้างดินเอาเงิน : หยุดนาข้าว 1 ฤดูกาล เพื่อสร้างอินทรีย์วัตถุในดินโดย ใส่อินทรีย์วัตถุ “ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ + ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย + กระดูกป่น + ขี้วัว + น้ำหนักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้ว ไถดะ-ไถแปร-ไถพรวน จากนั้นปลูกถั่วไร่ (เขียว เหลือง แดง ดำ) บำรุงถั่วตามปกติ กระทั่งได้ผลผลิต เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไถกลบเศษซากต้นถั่วลงดิน ทำซ้ำ 2 รอบ

* แบบสร้างดินด้วยเงิน : ใส่อินทรีย์วัตถุ “ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ 2 กส. + ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย 2 กส. + กระดูกป่น 10 กก. + ขี้วัว 200-300 กก. + น้ำหนักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) ปล่อยน้ำเข้าแปลงลึกครึ่งหน้าแข้ง บ่มดินไว้ 10-15 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน แล้วไถดะไถแปร บ่มดินอีก 10-15 วัน ลงมือทำเทือกแล้วลงมือปลูกข้าวได้เลย

สรุป :
- หลังจากไถกลบเศษซากต้นถั่วแต่ละรอบแล้ว ควรตรวจสอบปริมาณอินทรีย์วัตถุ (เศษซากต้นถั่ว + อินทรีย์วัตถุอย่างอื่น) เพื่อให้รู้ว่าในเนื้อดินมี ชนิด/ปริมาณ อินทรีย์วัตถุ มาก/น้อย แค่ไหน

- ระหว่างที่ดินยังพร้อมไม่ 100% อย่าเพิ่งหวังผลผลิตเต็ม 100 ได้แค่ไหนเอาแค่นั้นไปก่อน นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยทางดิน แนะนำว่าควรทำนาข้าวแบบประณีต โดยเน้นการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก

--------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©