-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 29 APR *มะม่วงผลจุด, สำปะหลังก้าวหน้า
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 APR *มะม่วง 100 ไร่ ขาดทุน-กำไร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 APR *มะม่วง 100 ไร่ ขาดทุน-กำไร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 30/04/2015 9:38 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 APR *มะม่วง 100 ไร่ ขาดทุน-กำไร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตรทางรายการวิทยุ 30 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์) และ
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สายตรง : (091)672-03xx
ข้อความ : สรุปย่อ .... จากประจวบ หัวหิน มะม่วง 100 ไร่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ อกร่อง พิมเสน น้ำดอกไม้ อายุต้น 5-10 ปี น้ำบริบูรณ์ดีตลอดปี ทำมะม่วงปีมาตลอด ใช้สารเคมี + สารสมุนไพร ติดสปริงเกอร์โคนต้น ฉีดพ่นทางใบใช้แอร์บลาสส์ ปีนี้ลงทุนค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง รวมแล้ว “ห้าแสนกว่า” เท่ากับปีที่แล้ว แต่ปีนี้ได้ผลผลิตน้อยกว่า จำนวนต้น 25%ไม่ติดลูก 25%ติดลูกน้อย ที่ผ่านมา ปีที่ได้ก็ได้ไม่ถึงกับรวย ปีที่ไม่ได้ก็แค่พออยู่พอกิน หลังเก็บผลรุ่นนี้หมดแล้ว คิดว่าปีหน้าต้องปรับวิธีทำใหม่ อยากขอคำแนะนำด้วย ..... ?

ตอบ 1. :

- “มะม่วง 100 ไร่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ อกร่อง พิมเสน น้ำดอกไม้ ?” เป็นมะม่วง “พันธุ์ตลาด” ทั้งนั้น น่าจะพิจารณามะม่วง “พันธุ์โบราณ” .... ประเภทกินดิบ เช่น แก้วลืมคอน มันขุนศรี มันศาลายา หนองแซง เขียวเสวยรจนา แม้แต่ขาวนิยม แชมป์ประเทศไทย 4 ปีซ้อน .... ประเภทกินสุก เช่น พราห์มขายเมีย น้ำตาลเตา น้ำตาลปากกระบอก อกร่องหยาดพิรุณ อกร่องพิกุลทอง ยายกล่ำ

- “สปริงเกอร์โคนต้น ?”
.... ใช้งานได้เฉพาะทางราก ถ้าต่อหัวสปริงเกอร์ให้สูงขึ้น ไปอยู่ในทรงพุ่ม หรือเหนือยอด ก็จะพ่นน้ำที่ใบ โดนใบแล้วตกลงพื้นเป็นการให้ทางรากได้อีกด้วย นอกจากฉีดพ่นน้ำเปล่าแล้ว ยังฉีดพ่น “น้ำเปล่า + ปุ๋ย + ฮอร์โมน + ยา” อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่างตามความจำเป็นได้ทั้งนั้น กับทั้งเลือกเวลาในการฉีดพ่นได้อีกด้วย เช่น

เช้ามืด ตี.5 .................... ล้างน้ำค้าง ป้องกันกำจัดราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย 10 โมงเช้า ............... ให้ปุ๋ย ฮอร์โมน
เที่ยงตรง ....................... ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง
บ่าย ฝนต่อแดด ................ ล้างน้ำฝน ป้องกันกำจัดเชื้อแอนแทร็คโนส ใบจุด
ค่ำ ............................. ทำฝนชะช่อ ป้องกันกำจัด เพลี้ยจั๊กจั่น ราดำ

** ทำงานได้ทุกเวลา ณ เวลาที่ต้องการ, ราคาถูกเมื่อเทียบกับอายุใช้งาน,
** สิ่งที่ได้ตามมาชัดเจน : ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน, ประหยัดพลังงาน, ประหยัดต้นทุน, เครดิตความน่าเชื่อถือ, รักษาสุขภาพร่างกาย, อนุรักษ์ธรรมชาติ


- “ทางใบใช้แอร์บลาสส์ ?”
.... ทำงานได้เฉพาะเวลาลางเวลา, ราคาแพง ทั้งตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง,

- “ปีนี้ได้ผลผลิตน้อยกว่า จำนวนต้น 25%ไม่ติดลูก 25%ติดลูกน้อย ?”
.... อาการที่บางปีติดมากบางปีติดน้อยนั้น สาเหตุมาจาก “ความสมบูรณ์สะสม” ที่ต้นได้รับ กับการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ไม่เหมาะ สม ไม่สม่ำเสมอ

- “ปีที่ได้ก็ได้ไม่ถึงกับรวย ปีที่ไม่ได้ก็แค่พออยู่พอกิน ?”
.... ได้น้อยเพราะตลาด กับต้นทุน .... ตลาด ถือเป็นเทคโนโลยีที่ยากที่สุด ไม่มีเกษตรกรประเทศใดในโลกควบคุมการตลาดได้ ที่ควบคุมได้นั่นเพราะรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงต่างหาก .... ต้นทุน หมดไปกับต้นทุนที่สูญเปล่า ซื้อทุกอย่างที่โฆษณา ไม่คิดทำเองเพื่อลดการซื้อ

- “ปีหน้าต้องปรับวิธีทำใหม่ ?”
.... น่าจะคิดได้ตั้งแต่ก่อนลงมือทำปีแรกแล้ว เล่นมะม่วงต้องตามใจมะม่วง ไม่ใช่ตามใจคน, ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า....


ตอบ 2. :

- จำได้เมี่อครั้ง OJT (ON JOB TRAINING) นศ. คณะเกษตร สจล. ถึงวิชาหนึ่งพูดขึ้นมาแล้ว นศ.บอกว่าไม่รู้ เลยย้อนกลับไปว่า “.... I/E พวกนี้ เรียนมหาลัยปี 1 ลืม ปวส.ปี 3 ให้ย้อนกลับไปอ่านหนังสือเล่มนั้นใหม่....” พร้อมกับอธิบายว่า วิชาทุกวิชา ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์ ต้องเรียนตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.เอก ทุกเรื่องทุกบทเรียนเกี่ยวข้องกันหมด เรียน ป.เอก ต้องใช้สูตรคูณไหม ต้องบวกลบคูณหารไหม .... วิชาเกษตรก็เหมือนกัน มัธยม. ปวช. เรียนเรื่องธาตุอาหารพืช 14 ตัว จนถึงระดับ ป.เอก ยังต้องเรียนเรื่องธาตุอาหารพืช 14 ตัวนั้นอยู่ เพียงแต่รายละเอียดเจาะลึกมากขึ้นเท่านั้น .... อันนี้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ที่เรียนมาน้อย อาจจะอ่านเกมส์ไม่ออก แต่ลูกที่เรียนมาสูงหน่อย อันนี้ต้องรู้แน่

- ว่ามั้ย....คนเรา แพ้/ชนะ กันที่โอกาส ทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัว แต่เอาออกมาใช้ได้ไม่เหมือนกัน

- วันนี้ ยุคนี้ ถ้าไม่ปรับวิธีการใหม่ พูดได้คำเดียวว่า “ไปไม่รอด....”
- เรื่องเกษตรว่าด้วยพืชอย่างเดียว 20 ปีที่ผ่านมา พูดหมดแล้ว สอนหมดแล้ว .... ถามหน่อย แล้วมันหายไปไหนหมด

@@ ศัพท์เทคนิคทางการเกษตรยุค “เหนียวไก่” :

- เกรด เอ. : ........ ความสวย ผิวสวย สีสวย รสจัดจ้าน เกรดชาววัง
- จัมโบ้ : ............ ไซส์ใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ ใหญ่กว่าเป็นต่อ
- โกอินเตอร์ : ...... วันก่อนตลาดไทต้องการ อาร์ทูอีทู 200 ตัน ส่งสิงค์โปร์
- ขึ้นห้าง : .......... ในห้าง, เยาวราช, ซอยทองหล่อ, ตลาด อตก.,
- ออกนอกฤดู : ..... แบ่งโซน ทำก่อนฤดู 1 โซน, ทำหลังฤดู 1 โซน

- คนนิยม : ......... มะม่วงดิบพันธุ์โบราณ แก้วลืมคอน มันศาลายา มันขุนศรี หนองแซง เขียวเสวยรจนา .... มะม่วงกินสุกพันธุ์โบราณ พราห์มขายเมีย น้ำตาลปากกระบอก น้ำตาลเตา อกร่องพิกุลทอง ยายกล่ำ.... อย่างไหนนักชิมระดับมืออาชีพ (professional) ต้องการมากกว่า

- เกษตรพันธะสัญญา : ...... ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง 100%, ไอพีเอ็ม.
- ความสมบูรณ์สะสม : ...... บำรุงทั้งช่วงมีผลและไม่มีผลบนต้น ทั้งทางใบทางราก
- เครื่องทุ่นแรง : ............. สปริงเกอร์ทั้งทางใบทางราก, เครื่องห่อผล,
- รวมกลุ่ม : ................. เป็นพลังต่อรองกับคนรับซื้อ
- เทคโนโลยีวิชาการ : ........ หาข้อมูลที่เป็นเอกสารใส่แฟ้ม เป็นห้องสมุดส่วนตัว
- เทคโนโลยีชาวบ้าน : ....... การปฏิบัติแบบพื้นบ้าน แต่มีหลักวิชาการรองรับ
- ข้อมูลทางวิชาการ : ........ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค
- บันทึกข้างแปลง : ........... เขียนรายการปฏิบัติ ต่อต้น/ต่อโซน ไว้ที่ข้างแปลง
- บัญชีข้างฝา : .............. เขียนรายการต้นทุนที่จ่ายเป็นเงินทุกรายการ
- ปชส. : ..................... INTERNET

** ถามหน่อย เข้าใจว่ายังไง ? สมควรทำมั้ย ? น่าทำมั้ย ? ทำแล้วคนเห็นจะอยากซื้อมั้ย ?
** ที่ทำออกมาน่ะ เจ้าของยังไม่อยากกิน ขายไม่ออกก็มาโวยวายให้รัฐบาลช่วย ไร่ละพัน คนละ 15 ไร่



ตอบ 3. :

(จากหนังสือ “ไม้ผลแนวหน้า”)

ตรวจสอบลักษณะอาการต้นมะม่วง จากการบำรุงในแต่ละขั้นตอน :
1. เรียกใบอ่อน :
- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรีบกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปีเรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุดก็พอ ส่วนต้นอายุน้อยกว่า 5 ปี ต้องเรียกใบอ่อน 2 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

วิธีที่ 1
.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ.....สำหรับมะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี (เป็นสาวเต็มที่) ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด นั่นคือเมื่อใบอ่อนเพสลาดแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามปกติได้เลย

วิธีที่ 2
.... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)

- มะม่วงพันธุ์เบา นิสัยออกดอกติดผลง่าย ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายปี หลังจากใบอ่อนชุด 1 แผ่กางเริ่มรับแสงแดดได้ สามารถข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. และปรับ ซี/เอ็น เรโช. เข้าสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย แต่อาจจะต้องเปิดตาดอกหลายรอบ หรือมากครั้งกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น

2, สะสมตาดอก :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส. กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นสะสมสารอาหารทั้ง “กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)” และ “กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)” ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ช่วงหน้าฝนสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมาก แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติ โดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้น ทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดอาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. เปิดตาดอก :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ “ลด" ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

สำรวจลักษณะอั้นตาดอก

ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งเป็นใบแก่จัด ข้อระหว่างใบสั้น ใบหนาเขียวเข้มส่องแดดแล้วแสงไม่ทะลุ เนื้อใบกรอบ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน กิ่งช่วงปลายกลม เปราะหักง่าย มีตุ่มตานูนขึ้นที่โคนหูใบหรือซอกใบ อาการนี้ควรเกิดขึ้นกับทุกจุดหรือทุกปลายยอดที่สามารถออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และเมื่อมองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน

ถ้าอาการอั้นตาดอกเกิดขึ้นไม่ทั่วทั้งต้นหรือเกิดขึ้นเพียงบางกิ่งเท่านั้น กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีก

ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ

ก่อนลงมือเปิดตาดอกจำเป็นต้องทราบข่าวอากาศล่วงหน้า กล่าวคือ ในอีก 20-30 วันข้างหน้าซึ่งเป็นวันที่ช่อดอกเริ่มออกมาแล้วนั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนจะทำให้ดอกเสียหายโดยเฉพาะดอกบานจะเสียหายจนผสมไม่ติด

ถ้ารู้ว่าในอีก 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนตก ให้เลื่อนการเปิดตาดอกออกไปแล้วกลับมาบำรุงด้วยสูตร สะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปจนกว่าจะแน่ใจว่าหลังเปิดตาดอกจนดอกออกมาแล้วไม่มีฝนจึงลงมือเปิดตาดอก

5. บำรุงดอก :

– เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

- การตัดสินใจเลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะสายพันธุ์ เช่น พันธุ์เบา พันธุ์หนัก
- หลังจากให้แต่ละสูตรไป 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วันแล้วยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย "น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)" ทับอีก 1 รอบ ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ)อำนวย มะม่วงต้นนั้นก็จะแทงช่อดอกออกมาให้ แต่ถ้าไม่ออกก็ต้องกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1(เรียกใบอ่อน)สำหรับรุ่นการผลิตใหม่

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- การเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 โดยฉีดพ่นทางใบจะทำให้มะม่วงมีอาการเหมือนได้รับอากาศหนาวเย็นจึงส่งผลให้การออกดอกดีขึ้น

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

6. บำรุงดอก :

- ให้ “เอ็นเอเอ. หรือ เอ็นเอเอ.+ จิ๊บเบอเรลลิน” ช่วงดอกตูมแทงออกมายาว 2-3 ซม.1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับการผสมแต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้ผิดอัตราจะเกิดความเสียหายต่อดอกและไม่ได้ผล....ช่วงอากาศร้อนใช้ในอัตราลดลง25 เปอร์เซ็นต์ของอัตราใช้ปกติ และช่วงอากาศหนาวให้เพิ่มอัตราใช้ 25% ของอัตราใช้ปกติ

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ในช่อดอกมีทั้งดอกและใบ แก้ไขด้วยการฉีดพ่น “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” พอเปียกใบ 1-2 รอบ ช่วงเช้าแดจัด ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังจากที่เห็นชัดแล้วว่ามีทั้งใบละดอก

- ในต้นเดียวกัน ปลายยอดส่วนหนึ่งออกดอกและพัฒนาเป็นผลขนาดเล็ก (ประมาณหัวไม้ขีด) แล้ว แต่ยอดส่วนหนึ่งยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วย “น้ำ 20 ล.+ 0-42-56 (2 ช้อนโต๊ะ)” เฉพาะยอดที่ยังไม่ออกดอก 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นเปิดตาดอกด้วยสูตรเดิม 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สูง และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อำนวย ยอดที่ถูกเปิดตาดอกซ้ำก็จะแทงช่อดอกออกมาใด้

- เปิดตาดอกแล้วออกเป็นใบ แก้ไขด้วยการตัดยอดนั้นทิ้งตั้งแต่ยอดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว หรือตั้งแต่แน่ใจว่านั่นคือยอดหรือใบแน่นอนแล้วบำรุงทางใบด้วย “สูตรสะสมตาดอก” ปกติ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นให้เปิดตาดอกด้วย “สูตรเปิดตาดอก” ปกติ ถ้ามะม่วงต้นนั้นมี ซี/เอ็น เรโช.เหมาะสม ปลายกิ่งที่เคยตัดยอดทิ้งไปแล้วจะแทงช่อดอกใหม่ที่โคนยอดเดิม หรือแทงช่อใหม่ที่โคนใบ (ตุ่มตา) บริเวณที่ต่ำกว่ายอด กลายเป็นออกดอกกลางกิ่งได้

7. บำรุงผลเล็ก :

- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ระยะผลเล็ก (ขบเผาะ) ให้ทางใด้วย 25-5-5 (2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน) กับทางรากด้วย 25-7-7 (1 ครั้ง ละลายน้ำรดโคนต้นริเวณทรงพุ่ม) จะช่วยเสริมให้การบำรุงระยะผลขนาดกลาง (ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้ผลชัดเจน หรือได้ผลดี

8. บำรุงผลกลาง :

- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) การที่จะรู้ว่าเมล็ดเริ่มเข้าไคลให้ใช้วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าดูลักษณะภายในผล

- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ทำให้ผลมีเนื้อมากแต่เมล็ดเล็กหรือลีบ

- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ. แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

9. บำรุงผลแก่ :

- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอกซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ได้

- ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้ามีการให้ “กลูโคสหรือนมสัตว์สด” สำหรับมะม่วงกินสุกเมื่อผลสุกเนื้อในจะนิ่มหรือเละ จึงไม่ควรให้

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=76&page=3

--------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©