-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ชาวนาไทยเก่ง.....จริงหรือ ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - รบกวนตอบปัญหาลำไยนอกฤดู
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

รบกวนตอบปัญหาลำไยนอกฤดู

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hammer
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2015
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 12/06/2015 12:22 am    ชื่อกระทู้: รบกวนตอบปัญหาลำไยนอกฤดู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ก่อนอื่นขอต้องขอรบกวน เพื่อนๆ พี่ทุกท่าน ทีครับ

ผมพึ่งได้สวนลำไยจากที่บ้านแบ่งให้มาจำนวน 4 ไร่
ลำไยประมาน 5 ปีครับ

ที่จะถาม คือว่า ผมไม่ราดสารโพแทตเซียม คลอเรต
แต่จะพ่นอย่างเดียวจะได้ไหมครับ ต้องบอกตรงๆ ว่า

ทุนที่จะใส่ราดพื้นไม่มีครับ มีแค่ใช้ในการพ่นโดยใช้สารโพแทตเซียมคลอเรต
ตอนนี้พ่นได้ 1 ครั้ง สภาพต้นพร้อมครับใบออกครั้งที่ 2 สภาพใบเริ่มแก่แล้ว แต่จะติดที่
มียอดอ่อนๆ เริ่มพุ่งออกมาความยาวประมาน 2 ข้อนิ้วมือครับ

จะมีปัญหาต่อการติดช่อไหมครับ แล้วถ้าพ่นอย่างเดียวไม่ราดสาร
พอจะมี% ติดช่อกับเค้าไหมครับ

ปัจจัยเรื่องน้ำไม่มีปัญหาครับ เพราะมีอ่างเก็บน้ำอยู่แล้ว
อัตราที่ใช้พ่น 3 ขีดต่อ 200 ลิตร จะมากหรือน้อยไปหรือเปล่าครับ

ตอนนี้กังวลมากครับ แล้วหาในกูเกิลเจอเวปนี้
ผมเลยอยากจะขอรบกวนขอคำปรึกษาครับ

ต้องขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบน่ะครับ
อาจจะเรียบเรียงคำพูดได้ไม่ดี อย่าว่ากันนะครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hammer
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2015
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 12/06/2015 8:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ผมส่งรูปในนี้ไม่เป็นครับ พี่ๆท่านใดพอจะมี facebokk~line จะสะดวกมากในการส่งรูปให้ดูครับ
พอดีอยากลงรูปให้ดูแต่ความรู้น้อยครับ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 12/06/2015 11:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hammer บันทึก:




ผมพึ่งได้สวนลำไยจากที่บ้านแบ่งให้มาจำนวน 4 ไร่
ลำไยประมาน 5 ปีครับ
COMMENT :
อายุต้นแค่นี้พอจะออกดอกติดลูกได้ ถ้าต้นมีความพร้อม ....
สีชมพูที่ไร่กล้อมแกล้มอายุต้น 3 ปี ออกดอกติดลูกได้ ออกเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่บังคับทรมาณ

กรณีอายุต้น 5 ปี ถือว่ายังน้อย สมควรเลี้ยงให้อายุมากกว่านี้หน่อย อายุต้นที่มากขึ้นต้องควบคู่ไปกับความพร้อมรับต่อการบังคับด้วย

ที่จะถาม คือว่า ผมไม่ราดสารโพแทตเซียม คลอเรต
แต่จะพ่นอย่างเดียวจะได้ไหมครับ ต้องบอกตรงๆ ว่า
COMMENT :
เท่าที่ข้อมูลทางวิชาการระบุ "ให้ทางเดียว" จะพ่นทางใบก็พ่น จะราดลงดินก็ราด
ยังไม่เคยพบเห็นข้อมูลทางวิชาการสำนักไหนให้ทำทั้งสองทาง

ลองซี่จะได้รู้ .... ก.ทำกับมือ .... ก.จะเผาตำราทิ้ง....

ทุนที่จะใส่ราดพื้นไม่มีครับ มีแค่ใช้ในการพ่นโดยใช้สารโพแทตเซียมคลอเรต
ตอนนี้พ่นได้ 1 ครั้ง สภาพต้นพร้อมครับใบออกครั้งที่ 2 สภาพใบเริ่มแก่แล้ว แต่จะติดที่
มียอดอ่อนๆ เริ่มพุ่งออกมาความยาวประมาน 2 ข้อนิ้วมือครับ
COMMENT :
"ทุนไม่มี" อันนี้ต้องไปต่อรองกับต้นลำไยเอาเอง....ลูกเอ๊ยยย พ่อมีทุนไม่พอนะ....ประมาณนั้น

"สภาพต้นพร้อม ใบออกครั้งที่ 2 สภาพใบเริ่มแก่แล้ว แต่มียอดอ่อน ออกมายาว 2 ข้อนิ้วมือ" นี่คือปัจจัยที่จะทำให้ "สำเร็จหรือล้มเหลว" บางทีเรียกว่า "ความไม่พร้อม" ของต้น


จะมีปัญหาต่อการติดช่อไหมครับ แล้วถ้าพ่นอย่างเดียวไม่ราดสาร
พอจะมี% ติดช่อกับเค้าไหมครับ
COMMENT :
คำตอบอยู่ที่ต้นลำไย....
ในธรรมชาติไม่มีเป๊ะๆ ไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ทุกอย่างต้องดำเนินไปตาม STEP

ถามจริง.... เกษตรเนี่ย มันง่ายนักเหรอ....?

ปัจจัยเรื่องน้ำไม่มีปัญหาครับ เพราะมีอ่างเก็บน้ำอยู่แล้ว
อัตราที่ใช้พ่น 3 ขีดต่อ 200 ลิตร จะมากหรือน้อยไปหรือเปล่าครับ
COMMENT :
ใช้ตามที่กำหนดในฉลาก
สารฯ ทุกยี่ห้อ ทั้งประเทศ ทั่วทั้งโลก เหมือนกันเหรอ ?
จับกับมือ เห็นกับตา ไม่รู้ แล้วคนที่ไม่ได้จับ คนที่ไม่ได้เห็นจะรู้ได้ไง ?







3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ (เฉพาะสารโพแทสเซียมคลอเรต)
การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ

1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. การพ่นสารทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์
3. ควรพ่นสารในช่วงทีลำไยมีใบแก่เท่านั้น (ระยะ 4-8 สัปดาห์หลังจากแตกใบอ่อน) เพราะหากพ่นในระยะที่ลำไยมีใบอ่อนอาจออกดอกไม่ดี หรืออาจทำให้ช่อดอกสั้น
4. หลังจากพ่นสารพ่นแล้ว 25-30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก

วิธีการพ่นสาร
1. ผสมสารให้มีความเข้มข้นในอัตราส่วนผสมสาร 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยคนสารให้ละลายในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงเทใส่ถังพ่นยา
2. ควรพ่นในตอนเช้า หรือช่วงอากาศไม่ร้อย แต่ถ้ามีฝนตกในระยะ 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารซ้ำอีกครั้ง

ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ เพราะหากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และใบร่วงได้
2. การพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก
3. ให้คำนึงเสมอว่าสารที่ใช่พ่นเป็นอันตราย ต้องระมัดระวังและต้องทำความสะอาดชุดที่สวมใส่ทันทีหลังจากพ่นแล้ว

* ไม่ควรผสมสารใดๆ ในสารที่ใช้พ่น *

3.3 การฉีดเข้ากิ่ง
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม.
2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 1-1.5 นิ้ว
3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียนตอกลงไปในรูให้แน่น
4. ละลายสารคลอเรต อัตรา 0.25 กรัมต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 ซม. ละลายน้ำ 4 ซีซี.
5. จากนั้นใช้หลอดฉีดยาขนาด 60 ซีซี. ดูดสารละลานที่ผสมจนหมดและดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 10 ซีซี. เพื่อเป็นตัวดันสารละลานอีกทางหนึ่ง แล้วฉีดเข้าไปในกิ่งโดยผ่านทางปลอกพลาสติก
6. อัดสารละลายเข้าไปโดยใช้ลวดแข็งหรือตะปูสอดบริเวณรูของหลอดและด้านฉีดที่เจาะไว้ให้ยึดติดกับกระบอกหลอดฉีดยาเพื่อป้องกันแรงอัดดีดตัวก้านฉีดออกมาจากนั้นรอจนสารละลายหมดดึงหลอดฉีดยาและปลอกออกเพื่อใช้งานต่อไป

การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากใช้สาร
1. ต้องปฏิบัติและดูแลรักษาต้นลำไยตามคำแนะนำการผลิตลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร
2. ในช่วงการเจริญและพัฒนาของช่อดอกและผล ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพและต้นโทรมได้
3. ถ้าลำไยติดผลมากเกินไป อาจต้องช่วยลดปริมาณผลลงโดยการตัดช่อผลออกให้เหลือ 60-70 ผลต่อช่อ

4. การให้ปุ๋ยทางดิน ระยะที่ผลลำไยขยายตัว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม อัตราส่วน 3 : 1 : 2 หรือ 4 : 1 : 2 หรือใกล้เคียง และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวควรให้ปุ๋ยอัตราส่วน 1 : 2 : 4 หรือ 1 : 2 : 5 หรือใกล้เคียง โดยใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนครึ่ง

5. ควรตรวจการระบาดของแมลง เช่น หนอนวักใยกินดอกลำไย และหนอนเจาะผลลำไยขณะที่ผลอ่อน

การเก็บรักษาสารกลุ่มคลอเรต
ต้องเป็นไปตามข้อแนะนำในข้อมูลความปลอดภัย
1. ต้องไม่ให้สัมผัสกับอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย ถ่าน
2. ต้องไม่ผสมกับสารกำมะถัน ผงถ่าน ขี้เลื่อย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย สารฆ่าแมลง อาหารสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิง ผ้า กระดาษ เศษไม้แห้ง เพราะเมื่อได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดลุกไหม้หรือระเบิดได้
3. เก็บไว้ในที่เย็น และแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี
4. เก็บให้พ้นจากมือเด็ก

เมื่อเกิดเพลิงไหม้
1. ต้องอพยพผู้คนให้ห่างออกไปอย่างน้อย 1,000 เมตรโดยรอบ
2. ให้ใช้น้ำเท่านั้นดับเพลิง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
1. ภาชนะบรรจุสารต้องมีฝาปิดมิดชิด
2. เก็บไว้ในอาคารที่มีการถ่านเทอากาศที่ดีและต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้โดยรอบ เก็บให้ห่างจากอาหาร เครื่องดื่มและอาหารสัตว์ ห้ามว่างบนพื้นไม้และต้องจัดว่างสารไม่ให้สูงเกิน 3 เมตร
3. ควรใช้สารนี้ในรูปของเหลว โดยผสมกับน้ำ
4. สวมใส่ชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล นีโอพรีน หรือ พีวีซี
5. สวมรองเท้าบู๊ตที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล หรือนีโอพรีน
6. สวมแว่นตาชนิดที่กระชับลูกตา
7. สวมถุงมือยางและสวมหมวก
8. ห้ามสูบบุหรี่ขณะราดสารละลายกลุ่มคลอเรตและต้องระวังอย่าให้สาร
สัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่างๆโดยตรง
9. หลังราดสารแล้วต้องทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
10. ระวังสัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย อย่าให้มากินหญ้าบริเวณที่ใช้สาร เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
11. การใช้สารกลุ่มคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับสารพิษในกลุ่มคลอเรต
สารในกลุ่มคลอเรตเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายในระคายเคืองต่อผิวหนังและตา และหากสะสมในร่างกายในปริมาณมากอาจมีผลต่อไตและเม็ดเลือดแดงได้ ดังนั้น หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้
1. หากสารสัมผัสผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที
2. ถ้าสูดหายในเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ออกซิเจน และนำส่งแพทย์ทันที
3. หากกลืนเข้าไปรีบทำให้อาเจียนทันทีและดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
4. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก
พิษของสารคลอเรตและการแก้พิษ

อาการพิษ
1. ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ซีด เนื่องจากโลหิตจาง ถ้าเป็นมากทำให้ไตวายได้ มีอาการปัสสาวะไม่ออกและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้ชัก อาการที่เห็นเด่นชัดและสังเกตได้ง่ายที่สุดคืออาเจียนและตัวเขียว
2. หากได้รับสารคลอเรตเข้าร่างกายในปริมาณ 15-30 กรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 7 กรัม สำหรับเด็ก ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากสารนี้มาก่อน

การแก้พิษ
1. ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว โดยการล้วงคอหรือให้ยาช่วยอาเจียนหรือให้กลืนผงถ่านเข้าไปเพื่อช่วยดูดซับสารคลอเรตในกระเพาะ ลดการดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดและให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์

2. ให้ดื่มสารละลาย ซึ่งประกอบด้วยโซเดียมไธโอซัลเฟต 2-3 กรัม ผสมกับ โซเดียมไบคาร์บอเนต ความเข้มข้น 5% จำนวน 200 ซีซี จะสามารถทำลายฤทธิ์ของคลอเรตได้ หรือให้แพทย์ทำการล้างสารออกจากเลือด

3. ให้ดื่มนมเพื่อลดการระคายเคืองต่อกระเพาะ
4. ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่น และอยู่นิ่ง ๆ จนอาการเขียวค่อยๆ ลดลง
5. หากอาการต่างๆ ค่อยๆ ลดลงภายใน 12 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
6. หากได้สัมผัสสารละลาย ให้รีบล้างออกทันทีด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที
7. ถ้าสูดหายใจเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้
8. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาลบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก

-----------------------------------------------------------------------


เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542. ปัญหาลำไยนอกฤดูกับโพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3). เอกสารประกอบการสัมมนา วันที่ 12 มีนาคม 2542 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชิติ และคณะ. 2542. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3) ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรมเค พี แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย, จันทบุรี. หน้า 30-37.

ประทีป กุณาศล. 2542. การผลิตลำไยนอกฤดู. เอกสารโรเนียว. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 4 หน้า.

พงศ์พันธุ์ จึงอยู่สุข. 2542. การใช้โพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3) บังคับให้ลำไยออกดอก. เอกสารโรเนียว. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่.

ยุทธนา และคณะ. 2542. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ ทางเลือกที่ดีกว่าของชาวสวนลำไย. วารสารเคหการเกษตร ฉบับเดือน กันยายน 2542.

รวี เสรฐภักดี. 2542. การออกดอกของลำไยและการใช้สารบังคับ. เอกสารโรเนียว. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 5 หน้า.

วินัย วิริยะอลงกรณ์ วรินทร์ สุทนต์ พาวิน มะโนชัย นภดล จรัสสัมฤทธิ์และเสกสันต์ อุชสหตานนท์. 2542. การศึกษาเบื้องต้นของวิธีการฉีดสารโพแทสเซียมคลอเตรเข้าทางกิ่งต่อการออกดอกติดผลของลำไยพันธ์ชมพู. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรม เค พี แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย, จันทบุรี.

วีระวรรณ เรืองยุทธการณ์. พิษคลอเรต. เอกสารโรเนียว. หน่วยพิษวิทยา ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290
โทร. 0-53873938 , 0-53873939

www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book.../fruit041.htm -

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1246
บังคับลำไยด้วยโปแตสเซียม คลอเรต....


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=98
ลำไย....




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©