-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 5 JUL *นาข้าว เปียกสลับแห้ง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 7 JUL *มะลินรก มาลัยเพชฆาต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 7 JUL *มะลินรก มาลัยเพชฆาต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 07/07/2015 4:03 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 7 JUL *มะลินรก มาลัยเพชฆาต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 7 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : (093) 172-49 xx
ข้อความ : เรียนผู้พัน เดือนหน้า ส.ค. วันแม่ ฉันมีเรื่องเศร้าวันแม่เล่าให้ฟัง ปีที่แล้วฉันกับลูกหลานในครอบครัว ซื้อพวงมาลัยมะลิไปไหว้แม่ รวมกันราว 10 พวง แม่รับไว้แล้วก็ดม ดม ดม วันรุ่งขึ้นแม่หายใจไม่ออก ส่ง ร.พ. หมอตรวจเลือดแล้วบอกว่า เพราะสารเคมีในพวง มาลัย ต้องรักษาตัวใน ร.พ.นานเกือบเดือน จึงอยากให้ผู้พันเชิญชวนเกษตรกรเลิกใช้สารเคมีเถิด .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
นานแล้ว ผู้หญิงคนหนึ่ง ร้อยมาลัยมะลิขาย ปลายเข็มร้อยมาลัยแทงปลายนิ้ว เป็นเหตุให้สารเคมีที่ดอกมะลิเข้าเนื้อ ทุกวันๆ นานนับปี จากแผลเล็กๆกลายเป็นแผลใหญ่ แผลใหญ่ลามไปทั้งนิ้ว เข้าไปในมือจนเต็มทั้งฝ่ามือ ไปหาหมอ ผลก็คือ “ตัดมือ” ทิ้ง

คนร้อยมาลัยโดนแค่ปลายเข็มยังสูญเสียขนาดนี้ แล้วคนฉีด หายใจเข้าไปเนื้อๆ จะรอดหรือ

มีข่าวบ่อยๆว่า เกษตรกร ชาวนาชาวไร่ชาวสวน ฉีดสารเคมีในแปลง น็อคในแปลง บางรายเกือบตาย บางรายเกือบรอด ....ช้างป่า ที่กรุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กินแตงโมตาย สัตว์แพทย์พิสูจน์แล้วพบ ฟูราดาน ในกระเพาะ.... ทั้งคน ทั้งช้าง แบบนี้ก็คิดเอาเองเถอะ

นสพ.สิงค์โปร์ ลงข่าว ประเทศไทยนำเข้าสารเคมียาฆ่าแมลง เพื่อใช้ในการเกษตร ปีละ 75,000 ล้าน อ้างอิงแหล่งข้าว ก.ทรวงพานิชไทย ข่าวแบบนี้ออกไปทั้วโลก แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรของไทย ไม่มีใครแก้ไขได้ นอกจากตัวเกษตรกรเองเท่านั้น เลิกใช้สารเคมียาฆ่าแมลง เลิกนำเข้าให้มันร่ำลือไปทั่วโลก แบบนี้แล้วจะเกิดอะไรกับผลผลิตทาง การเกษตรของไทย

ต้นทุนเกษตร ปุ๋ย 30%, ยา 30%, ค่าแรง 20% .... ต้นทุนลด + ขายเท่าเดิม = กำไรเพิ่ม


คนซื้อมาลัยมะลิไปเป็นเครื่องไหว้ การไหว้ด้วยใจบริสุทธิ์ นั่นคือบุญ แต่คนปลูกมะลิทำมาลัยใช้สารเคมี นั่นคือบาป ผลจากบาป คือ “หนี้” บาปนี้จะตกถึงลูกหลานเหลนโหลน นี่แหละ บาปจากการทำมะลิสารเคมียาฆ่าแมลง

พบบทความเรื่องสารพิษในมะลิจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก จึงเอามาเล่าสู่กันฟังให้เป็นอุธาหรณ์

'มะลิวันแม่'มหันตภัยสารพิษแฝง !

เปิดโปง 'สารพิษ' ใน 'ดอกมะลิ' สัญลักษณ์วันแม่ 'มหันตภัย' ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนฯ บุกแหล่งปลูกมะลิ ดอกไม้เศรษฐกิจสัญลักษณ์วันแม่ เปิดเบื้องหลังแห่งความความรักความห่วงใย ที่มีมหันตภัยจากยาฆ่าแมลง ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเคลือบอยู่ เกษตรกรยอมรับ ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ก่อนส่งลำเลียงสู่ตลาด โดยอ้างว่า ต้านแมลงศัตรูพืชไม่ไหว

บนกลีบขาวและหอมของ ‘ดอกมะลิ’ ที่ถูกมนุษย์นำไปร้อยรัดกับ ‘วันแม่’ คือ ด้านที่สวยงามของดอกไม้ แต่อีกด้านของความขาวและหอม ที่ร้อยรัดกับชีวิตจริงของเกษตร มะลิคือ ดอกไม้เศรษฐกิจ ที่มีวงจรชีวิตอบร่ำด้วยสารเคมีจำนวนมาก แต่ด้วยมะลิไม่ใช่ผักผลไม้ ที่ประชาชน
หยิบเข้าปาก ทั้งยังมีอายุการใช้งานแสนสั้น การตรวจสอบระแวดระวังควาปลอดภัยและพิษตกค้าง จึงไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนวิตกกังวล

แบกต้นทุนยาฆ่าแมลง ปีละ 5 แสน :
‘หนอนเจาะดอก’
คือ ศัตรูร้ายกาจที่สุดของดอกมะลิที่ทำให้โรคและศัตรูพืชอื่นๆ เป็นแค่ตัวประกอบที่ไม่สลักสำคัญเท่า การไม่ป้องกันแต่เนิ่นๆ หรือนิ่งนอนใจ อาจหมายถึงหายนะของดอกมะลิชุดนั้นๆ และรายได้ที่โดนหนอนกัดกิน เป็นประสบการณ์ที่คนปลูกมะลิเคยพบเจอมาแล้ว อันเป็นที่มาของต้นทุนค่าสารเคมีจำนวนมาก .... ที่ยังไม่นับต้นทุนชีวิตและสิ่งแวด ล้อมที่วัดได้ยากกว่า

“แปลงมะลิขนาด 6 ไร่ ปีหนึ่งจ่ายค่าสารเคมียาฆ่าแมลงสี่ห้าแสน ฉีดวันเว้นวัน ปีหนึ่งขอได้แค่ค่าต้น ทุนค่ายาปราบหนอน ก็พอแล้ว”

ส่วนมากใช้สารเคมียาฆ่าแลงตัวไหนดีก็ต้องเอามาใช้กัน ขวดหนึ่งแพงด้วยนะ ขวดนิดเดียวแปดเก้าร้อย ไม่ถึงลิตร ใช้ประมาณ 3 ขวด อย่างละขวด ขวดเล็ก 3 ขวด ขวดใหญ่ 1 ขวด หางยา (ยาอ่อน ราคาถูก) อีก 2 ขวด ขวดละ 150 บาท ฉีดครั้งเดียวหมดเลย ต้องเปลี่ยนยาฆ่าแมลงอยู่เรื่อยๆ สี่ร้อยบ้าง ห้าร้อย หกร้อย แปดร้อยบ้าง ปีหนึ่งใช้ประมาณสี่ห้าแสน ฉีดแต่ละครั้งประมาณ 2 พันกว่าบาท

ข้อมูลจากปากเกษตรกรดูจะขัดแย้งกับข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่บอกว่า ต้น ทุนการผลิตมะลิต่อไร่ต่อปี อยู่แค่ประมาณ 57,000 บาทเท่านั้น

สารเคมียาฆ่าแมลงตามท้องตลาดที่ซื้อมา ฉีดแล้วศัตรูพืชก็ไม่ตาย คือรัฐบาลเขาคุมยาฆ่าแมลง บางคนเลิกกันหมด นี่อาศัยว่าใส่ยาฆ่าแมลงมากๆ สมมติว่า ที่ฉลากเขียนว่าใส่ยา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แต่ถ้าใช้ตามที่เขาบอกนี่หนอนไม่ตาย ก็ใส่ 2 เท่า ถึงจะอยู่ เพราะถ้าตัวยาฆ่าแมลงอ่อนๆ แล้วเอาหนอนไม่อยู่ ต้นทุนค่ายาปีหลายแสนก็สูญเปล่า

บางบ้านเดือนหนึ่งใช้สามสี่หมื่น เพราะใช้เครื่องสะพายหลังฉีด มันจะเปลืองยาฆ่าแมลงน้อยกว่า บางครั้งต้องฉีดทุกวัน อย่างวันแม่มะลิต้องแพงแน่ๆ ก็จะเตรียมการลงทุนมากๆ บางทีลิตร 400-500 บาท ต้องกล้าลงทุนค่ายาฆ่าแมลลง

ใช้หลายยี่ห้อผสมสู้แมลง :

เนื่องจากประสิทธิภาพของสารเคมียาฤาแมลงต่ำลงในความรู้สึกของเกษตรกร หนำซ้ำยังมีราคาแพงขึ้น ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องแบกรับต้นทุนสูงขึ้นโดยใช้สารเคมียาฆ่าแมลงหลายๆ ตัวผสมกัน และใช้มากกว่าที่ฉลากกำหนด แต่ละรายก็จะมีสูตรในการผสมของตนเองซึ่งมักไม่ค่อยบอกกัน แต่จะยึด ‘ความแรง’ เป็นหลัก คือ ฉีดทีเดียวหนอนต้องตาย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทำนองนี้ก็เป็นช่องทางให้เกิดการจำหน่ายสารเคมียาฆ่าแมลงผิดกฎหมาย เพราะเกษตรกรต้องการยาฆ่าแมลงที่แรงกว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด

อย่างบริษัทยาฆ่าแมลงมาดู เอายาฆ่าแมลงมาฉีด ถ้ามันอยู่ เขาก็จะทำยาฆ่าแมลงของตัวเอง เหมือนเป็นยาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ฉีดแล้วมันแรง หนอนตาย แต่บริษัทก็ฉลาด ทำอ่อนลงคนก็เลิกใช้ พวกบริษัทไม่ขายผ่านร้านแต่ใช้เซลล์เอามาขายเอง แต่ราคาแพงกว่าที่ร้านมาก เกษตรกรบางคนก็เลิกซื้อ เพราะรู้ว่า ขืนใช้ไปก็มีแต่ขาดทุน

บางครั้ง จากการขอดูขวดบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วพบว่า สารเคมีบางตัวระบุเพียงยี่ห้อ ประโยชน์ วิธีใช้ และวิธีการเก็บรักษา เท่านั้น ซึ่งขัดต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะต้องระบุ ชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์, ชื่อสามัญ, ชื่อวิทยาศาสตร์ของสารสำคัญ, อัตราส่วนผสม และลักษณะของผลิตภัณฑ์, ประ เภทการใช้, ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา พร้อมคำเตือน, อาการเกิดพิษ การแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำให้ไปพบแพทย์พร้อมฉลาก และคำแนะนำสำหรับแพทย์ (ถ้ามี), ชื่อผู้ผลิตและชื่อผู้จำหน่าย สถานที่ตั้งทำการ, โรงงาน, ขนาดบรรจุ, เดือนปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี), เลขทะเบียนวัตถุอันตราย และเครื่องหมายและข้อความแสดงคำเตือนให้ระมัดระวังอันตราย

ฝนตกต้องฉีดซ้ำ :

ช่วงหน้าฝน จะมีหนอนลงเยอะ ต้องใช้ยาฆ่าแมลงชนิดหัวยา ใช้โดยไม่ผสมอะไรเลย ถ้าไม่ได้ชนิดหัวยาก็จะเอาหนอนไม่อยู่ แม้ว่าต้นทุนค่ายาฆ่าหนอนจะนับแสนบาทต่อปี การเก็บมะลิขายแต่ละรอบ บางครั้งก็ได้กำไร บางครั้งก็ขาดทุน เอามาหักกลบกันแม้จะไม่ถึงกับทำให้ร่ำรวย แต่ก็ถือว่ามีกำไรพอสมควร

และยิ่งเข้าใกล้วันแม่เช่นนี้ ปริมาณดอกมะลิที่ผลิตได้มีจำนวนไม่มาก ทำให้ราคาเคยพุ่งสูงถึงลิตรละ 1,500 บาท ช่วงก่อนถึงวันแม่ประมาณ 1 เดือน จึงเป็นช่วงที่เกษตรกรจะทำการ ‘หวด’ หรือริดยอดต้นมะลิออก เพื่อให้แตกยอดออกดอกชุดใหม่พอดีกับช่วงวันแม่ ผลพวงจากรายได้ที่รออยู่เป็นเหตุให้ช่วงเวลานี้เกษตรกรจะต้องประคบประหงมดอกมะลิในสวนด้วยการระวังหนอนเจาะดอกเป็นพิเศษ ซึ่งหมายถึงปริมาณสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นย่อมมากขึ้นตามไปด้วย

คงเห็นแล้วว่า กว่ามะลิสักดอกจะเดินทางจากสวนมาถึงปากคลองตลาด และถูกส่งผ่านถึงมือผู้บริโภคในวันสำคัญอย่างวันแม่ (หรือวันไหนๆ) จะต้องผ่านสารเคมีปริมาณมากเพียงใด ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกมากนักทั้งผู้บริโภคและเกษตรกร

-----------------------------------------------


โรคที่สำคัญของมะลิ :
โรค : โรครากเน่า, โรคแอนแทรกโนส, โรครากปม
การป้องกันกำจัด :
- เกิดในดิน
.... ป้องกันโดย “อย่า ! ทำให้ดินเป็นกรด” (ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้าง, ยาฆ่าหญ้า, ยาฆ่าแมลง, น้ำขังค้าง), .... แก้ไขโดย ปรับปรุงบำรุงดิน (ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, พรวนดินพูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมต้นหนาๆ ทุก 4 เดือน, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง) .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

- เกิดบนต้น
.... ฉีดพ่นสารสมุนไพร เผ็ดจัด/ร้อนจัด + ไบโอเจ็ต บ่อยๆ วันเว้นวัน หรือวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน

หนอน : หนอนเจาะดอก, หนอนกินใบ, หนอนเจาะลำต้น
การป้องกันกำจัด :
.... ฉีดพ่นสารสมุนไพร ขมจัด/เบื่อเมา + ไบโอเจ็ต บ่อยๆ วันต่อวัน หรือวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน .... ใช้กับดัก กาวเหนียว (คอสฟิกซ์) + แสงไฟล่อ ดักจับแมลงแม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

แมลงศัตรูที่สำคัญ : เพลี้ยไฟ
การป้องกันกำจัด :
.... ฉีดพ่นสารสมุนไพร เผ็ดจัด/ร้อนจัด + ไบโอเจ็ต ตอนเที่ยง ฉีดบ่อยๆ วันต่อวัน หรือวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน .... ใช้กับดัก กาวเหนียว (คอสฟิกซ์) ในแปลง เหนือพุ่ม 1 ศอกแขน ทุกระยะ 4-5 ม./อัน ล่อเพลี้ยไฟเข้ามาติดกับดักกาวเหนียว

หมายเหตุ :

การใช้สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน สามารถฉีดพ่นสารสมุนไพร ได้ทุกวัน วันละหลายเวลา ตามต้องการ เช่น....
ตี.5 ล้างน้ำค้าง ................ ฉีดสมุนไพร เผ็ดจัด/ร้อนจักด ป้องกันกำจัดราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย 10 โมง แดด 100% .... ให้น้ำ + ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร
เที่ยง มีแดด .................... ฉีดน้ำเปล่า ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
เที่ยง ไม่มีแดด ................. ฉีดน้ำเปล่า ป้องกันกำจัดไรแดง
เย็น ค่ำ ........................ ฉีดสมุนไพร กลิ่นจัด/ขมจัด/เบื่อเมา ป้องกันแม่ผีเสื้อ กำจัดหนอน

งานนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ ไม่ใช่ความรู้วิชาการ
ใจไม่เอาซะอย่าง อะไรๆก็ทำไม่ได้

ฝรั่งเศษ ซื้อลิขสิทธิ์ แค็ปไซซิน ในพริก ................ ซื้อไปทำอะไร
เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์ อะแซดิแร็คติน ในสะเดา ........... ซื้อไปทำอะไร
อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ ราติโนน ในหนอนตายหยาก ....... ซื้อไปทำอะไร

จะดีไหม ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ในหมู่บ้านตัวเอง
พ่อแม่ไม่ทำ ให้ลูกทำ ฝึกลูกให้มี "หัวการค้า" ไง


------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©