-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 DEC.. *เปิดตาดอกไม้ผล, ด้วงงวงมะพร้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 02 DEC *สู้ภัยแล้ง, เผือกครบขั้นตอน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 02 DEC *สู้ภัยแล้ง, เผือกครบขั้นตอน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 02/12/2015 7:12 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 02 DEC *สู้ภัยแล้ง, เผือกครบขั้นตอน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 02 DEC

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สู้ภัยแล้ง :

สภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมหาทางออกภาคเกษตร “ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง”
:
สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเวที ระดมผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หารือร่วมเดินหน้าหาทางออกในงานเสวนา “ทางออก .... วิกฤตภัยแล้ง 2558” เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุม Convention Hall 2 สถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส เพื่อเร่งหาทางบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ทั้งเรื่องบริหารจัดการน้ำ มาตรการแก้ไขปัญหาการทำเกษตร และแนว ทางรับมือภัยพิบัติภายใต้อิทธิพลของเอลนีโญ่ ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดเสวนา “ทางออก .... วิกฤตภัยแล้ง 2558” ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมอุทกวิทยาไทย สมาคมนักเรียนเก่าสถาบัน AIT (ประเทศไทย) และสถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส จัดเสวนา “ทางออก....วิกฤตภัยแล้ง" ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต ด้านนโยบาย ด้านการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ในการนำเสนอต่อรัฐบาล และร่วมกันหาแนวทางในการช่วย เหลือเกษตรกรที่ประสบกับภาวะภัยแล้งของการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558/59 ซึ่งทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ได้เกิดวิกฤตภัยแล้ง จากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกน้อยในเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2558 เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร และน้ำอุปโภค บริโภค ในหลายพื้นที่

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าในปี 2558 ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้ง และอาจจะหนักกว่าปี 2540 ที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาในการทำการ เกษตร ดังนั้นภาครัฐควรต้องหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร่งด่วน รวมทั้งออกมาตรการประหยัดการใช้น้ำของคนเมืองให้เป็นรูปธรรม โดยให้คนเมือง (กรุงเทพฯ) ลดการใช้น้ำเหลือครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ ในส่วนภาคการเกษตรก็ต้องปรับตัวในการปรับเปลี่ยนพืชที่จะทำการเพาะปลูกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเป็นเกษตรผสม ผสาน เพื่อลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวนาปี

ซึ่งการจัดเสวนาครั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น คือ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน กับเรื่องของข้อจำกัดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในมิติต่างๆ

รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะมาให้ข้อ เสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติจากภัยแล้ง ภายใต้อิทธิพลของ เอลนีโญ่ ในระยะยาว และ

นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาชาวนาและเกษตรกรไทย เกี่ยวกับเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรและขอให้ภาครัฐหามาตรการให้ความช่วยเหลือในปัญหาภัยแล้ง

นอกจากนี้ มีผู้แทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ที่จะมาร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานจากภาครัฐของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อรับรู้ภัย การเสวนานี้ได้ข้อสรุปถึงมาตรการเร่งด่วนและมาตร การระยะยาว ดังนี้

มาตรการเร่งด่วน

1. ภาครัฐควรออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
1.1 เกษตรกรที่ทำนาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2558 ขอให้ภาครัฐช่วยเหลือตามความเป็นจริงที่เกษตรกรปลูก
1.2 เกษตรกรที่มิได้ทำนา

2. ภาครัฐควรจัดหาปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรเพื่อเตรียมเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป เช่น เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย .... (เพิ่มเติม: เครื่องทุ่นแรง หรือเครื่องจักรกลการเกษตร ผลิตและแปรรูป/ลุงคิม)

3. ภาครัฐควระเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ทำนาของเกษตรกร โดยมอบค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการเอง
4. ภาครับควรมีมาตรการแบ่งปันน้ำระหว่าง “คนเมืองกับชาวนา” โดยอนุญาตให้ชาวนาสูบน้ำได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง/วัน และรณรงค์ให้คนเมืองประหยัดการใช้น้ำ

5. ธกส.ควรเพิ่มวงเงินกู้ให้เกษตรกร ในกรณีที่เกษตรกรกู้เงินจากธนาคารเต็มวงเงินและชะลอการพักหนี้
6. ภาครัฐควรที่จะงดการเก็บกองทุนหมู่บ้านในรอบการจ่ายเงินกองทุนปี 59
7. ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมค่าเช่านาจากเจ้าของนาให้เป็นธรรม ในกรณีที่มิได้ทำนา

มาตรการระยะยาว

1. ภาครัฐควรที่จะจัดทำแก้มลิงทุกจังหวัด
2. ภาครัฐควรดำเนินการลอก หนอง-คลอง-บึง ธรรมชาติเพื่อเก็บกักน้ำ
3. การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนให้ชาวนา
4. ภาครัฐควรที่จะสนับสนุนเงินทุนให้เกษตรกรขุดสระน้ำในไร่นา
5. ภาครัฐควรที่จะผันน้ำจากแม่น้ำสาระวินเข้าเขื่อนภูมิพล
6. ภาครัฐควรที่จะดำเนินการโครงการ โขง-ชี-มูล ให้เป็นรูปธรรม
7. ภาครัฐควรให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการน้ำ

ซึ่งมาตรการดังกล่าวทางสภาเกษตรกรจะนำเสนอต่อภาครัฐในการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

https://thth.facebook.com/Prapat.Panyachatiraksa/posts/868378186589940
-----------------------------------------------------------------------

จาก :
(074) 813-73xx
ข้อความ :
ขอให้ลุงคิมช่วยแนะนำการปลูกเผือกครบวงจร มีรายละเอียดทุกหัวข้อเลย ... จาก ชาวนา ไม่เคยปลูกเผือก
ตอบ :
สายพันธุ์ :
เผือกหอม :
พิจิตร-016. พิจิตร-019. พิจิตร-08. เผือกหอมเชียงใหม่.
เผือกไม่หอม : พิจิตร-06. พิจิตร-025. พิจิตร-012
พันธุ์พื้นเมือง :
เผือกเหลือง. เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ. เผือกตาแดง. เผือกน้ำ. หัวขนาดเล็ก (500-800 กรัม) เนื้อแน่น รสชาติดี
พันธุ์เนื้อสีขาวหรือครีม :
พิจิตร-06, -07, -025, -014 (เผือกบราซิล), ศรีปาลาวี. ศรีรัศมี (เผือกอินเดีย).
พันธุ์เนื้อสีขาวอมม่วง :
เผือกหอมเชียงใหม่. พิจิตร-016, -08, -05, 020.

หมายเหตุ :

- เผือกหอมพิจิตร-016 แตกตะเกียง 10-12 ตะเกียง/ต้น ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานปลิดตะเกียงทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้น (หัว) แม่ มีเปอร์เซ็นต์และน้ำตาลสูงสุดในบรรดาเผือกทุกสายพันธุ์ ส่วนเผือกหอมเชียงใหม่ 20-25 ตะเกียง/ต้น
- เผือกน้ำต้องปลูกในแปลงมีน้ำหล่อ ระดับน้ำลึกพอท่วมคอดินจะโตเร็วให้ผลผลิตดี

เตรียมดิน เตรียมแปลง :

- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ 2 กส., ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย 1 กส., กระดูกป่น 10 กก., ขี้ไก่แกลบดิบ 200 กก. ไถดะไถแปร ยกแปลงสันลูกฟูก หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ

- รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล.) + น้ำตามความเหมาะสม รดให้โชกๆ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดินและสร้างสารอาหารรอไว้ก่อน
- ปุ๋ยเคมี ไม่ต้อง

หมายเหตุ :

- คิดต้นทุนค่ายิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ 2 กส., ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย 1 กส., กระดูกป่น 10 กก., ขี้ไก่แกลบดิบ 200 กก. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. ช่วงเตรียมดิน เตรียมแปลง ช่วยทำให้ดินดี จากรุ่นนี้ต่อถึงรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป ส่งผลให้ผลผลิตดีตามมาด้วย เทียบกับไถดะไถแปร ใส่ปุ๋ยเคมีไร่ 1-2 กส./ไร่ ทำให้ดินเสีย เสียจากรุ่นนี้เสียต่อถึงรุ่นหน้า เสียรุ่นต่อๆไป ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอีกด้วย

- เทียบกับปริมาณผลผลิตที่ได้รับ จากรุ่นนี้ต่อถึงรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไปอีกด้วย

ระยะปลูก :

ระยะปกติ 50 x 75 ซม.
ระยะชิด 45 x 50 ซม.

หมายเหตุ :

- การปลูกระยะชิดมากเกินไปเมื่อต้นโตขึ้นใบจะตั้งตรงเพราะเบียดกับต้นข้างเคียง การที่ใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบ ทำให้การสังเคราะห์อาหารไม่ดีจึงส่งผลให้ผลผลิตไม่ดีด้วย และการปลูกห่างเกินไปนอกจากทำให้เสียเนื้อที่แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นจนวัชพืชเจริญเติบโตได้อีกด้วย .... การจัดระยะปลูกที่พอดี ไม่ชิดหรือ ไม่ห่างจนเกินไปจะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากและคุณภาพดี

ระยะลงหัว – เก็บเกี่ยว
ทางใบ :

- ให้ ไบโออิ 5-10-40 (2-4 รอบ) สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (เน้นมูลค้างคาวหมัก) 2 ล. + 5-10-40 (1-2 กก.) /ไร่ /เดือน ใส่ถังสะพายฉีดโคนต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน
--------------------------------------------------------------------

เทคนิคเฉพาะเผือก (ไม่ใช่เคล็ดลับ) :

- เริ่มลงหัวเมื่ออายุประมาณ 4 เดือน ระหว่างลงหัวควรบำรุงรักษาให้มีใบ 8-11 ใบ ใบใหญ่ ก้านใหญ่ และสูง 1.20-1.50 ม. จะได้หัวขนาดใหญ่ น้ำหนักดี คุณภาพดี .... นั่นหมายความว่า จะต้องบำรุง “ปุ๋ยถูกสูตร ใช้ถูกวิธี” ตั้งแต่ต้นเล็กๆ

- กรณีปุ๋ยทางดินอาจพิจารณาใช้ 8-24-24 + 0-0-60 (1:1) แทน 5-10-40 ได้ด้วยอัตราใช้เดียวกัน
- การให้ฮอร์โมนน้ำดำ เดือนละ 1 ครั้ง จะได้แม็กเนเซียมบำรุงใบให้เขียวตลอดอายุและสังกะสีช่วยสร้างแป้ง
- ระหว่างลงหัวควรบำรุงรักษาให้มีใบ 8-11ใบขนาดใหญ่ ก้านใหญ่ และสูง 1.20-1.50 ม. จะได้ผลผลิตดี
- ก่อนลงมือเก็บเกี่ยวให้ตรวจสอบอายุ (ประจำสายพันธุ์) และสังเกตใบล่างเริ่มเหี่ยวเหลืองในขณะที่ใบบน 2-3 ใบยังเขียวสดอยู่

- ก่อนเก็บเกี่ยวงดน้ำ 10-15 วัน
- ก้านเผือกขนาดใหญ่ ตัดใบทิ้งส่งออกได้ (ญี่ปุ่น ฮ่องกง) ก้านเล็กส่งออกไม่ได้
- เผือกหัวใหญ่ไซส์เกือบ 2 กก. รายได้เท่ากับนาข้าว 7 ไร่ เทียบกันรุ่นต่อรุ่น
- ปล่อยน้ำเข้าไปในร่องระหว่างแปลงปลูก 20-30 วัน/ครั้ง ก็ได้
- งดยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด
– แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ช่วยบำรุงก้านใหญ่ ใบใหญ่ ใบหนาเขียวเข้มถึงวันขุด
- สังกะสี. ช่วยสร้างแป้ง หัวจะใหญ่ น้ำหนักดี

– โรคตากบตาเสือในเผือก คือ เชื้อไฟธอปเทอร่า เกิดจากดินที่เป็นกรด เชื้อปลิวตามลมไปเกาะที่ต้นเผือก แก้ไขด้วยการบำรุงรักษาดินอย่าให้เป็นกรด .... ทั้งนี้ สารเคมีกำจัดโรคแมลง, ยาฆ่าหญ้า, ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างเนื่องจากต้นเอาไปกินไม่หมด คือ สาเหตุหลักที่ทำให้ดินเป็นกรด

- ป้องกันและกำจัดเชื้อราไฟธอปเทอร่าด้วยสารสมุนไพรเผ็ดจัด

ประสบการณ์ตรง (1) :
(085) 294-7114 ปลูกเผือกในนาข้าว
- เผือกใช้น้ำมากกว่าข้าว
- เผือกต้องการน้ำระดับ "ชื้น" (ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่) สม่ำเสมอ
- ปลูกห่าง ต้นสูงท่วมหัว ได้หัวใหญ่ ไซส์ 2 กก. ราคาดี ส่งออก
- ปลูกถี่ ต้นสูงท่วมหัวเข่า ได้หัวเล็ก ไซส์กำปั้นมือ ราคาไม่ดี
- เผือกมี 4 ไซส์ เล็กสุดเรียกว่า "เผือกปาด" กก.ละ 3-4 บาท
- แม็กเนเซียม. สังกะสี. จำเป็นที่สุดสำหรับเผือก
- สปริงเกอร์ ช่วยงานหลายๆ อย่าง ได้ดีมากๆ
- หน้าหนาว น้ำค้างแรง โรคตากบตาเสือ แรงมาก ไตรโคเดอร์มาเอาไม่อยู่ แต่สปริงเกอร์ฉีดน้ำเปล่าล้างน้ำค้างก่อนน้ำค้างแห้ง ป้องกันตากบตาเสือได้


ประสบการณ์ตรง (2) :

เผือกสัญญา :
เรื่องการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตที่รับการส่งเสริมจากบริษัท เราจะต้องสอบถามรายละเอียดให้แน่นอนก่อน พร้อมกับทำสัญญากันให้แน่นอน เช่น
.... ได้ผลผลิต 4 ตัน/ไร่ เป็นผลผลิตแบบ "คละเกรด" หรือ "เฉพาะเกรด"
.... ต้นทุน 7,000 บาท/ไร่ เป็นต้นทุนค่าอะไรบ้าง (ปุ๋ย-สารเคมี-อื่นๆ)
.... มีสัญญาผูกมัดว่าต้องสั่งซื้อ ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมี จากบริษัทเท่านั้นหรือไม่ ?
.... การจ่ายเงินแบบตีราคาผลผลิตแล้วหักค่าปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมี ใช่หรือไม่ ?
.... ถ้าเป็นปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารเคมีของบริษัท ตรวจสอบซิว่า เป็นปุ๋ยประเภททางใบหรือทางราก ? ปุ๋ยสูตรอะไร ? ฮอร์โมนอะไร ? สารเคมีอะไร ?

.... เผือกที่มีราคาดี ต้องไซด์หัวละ 2 กก. ขึ้นไป
.... เผือก 1 ไร่ ไซด์หัวละ 2 กก.ขึ้น มีรายได้เท่ากับนาข้าว 7 ไร่
.... เผือกส่งออกต้องเกรด นน.2 กก./หัว ขึ้นไปเท่านั้น
.... เผือกต้องพรวนดินบ่อยๆ
.... เผือกต้องหมั่นตัดแต่งตะเกียง
.... เผือกไม่ถูกกับยาฆ่าหญ้าอย่างมากๆ
.... เผือกบนดินที่เป็นกรด จะเกิดโรคตากบตาเสือ (แอนแทร็คโนส)
.... เผือกหัวไซด์ขนาด 2 กก.ขึ้น ก้านใบจะขนาดใหญ่ยาว สามารถขาย (ส่งออก) ได้
.... เผือกต้นโตสูง 1.50 ม.ขึ้นไป จะได้หัวขนาดใหญ่ 2 กก.ขึ้น เสมอ
.... เผือกปลูกห่างได้จำนวนหัวน้อยแต่ขนาดใหญ่ ได้ราคาต่อหัวสูง ก้านขายได้
.... เผือกปลูกชิดได้จำนวนหัวมากแต่ขนาดหัวเล็ก ราคาต่อหัวต่ำ ก้านขายไม่ได้

ก่อนตกลงทำสัญญากับบริษัท ให้พิจารณาเงื่อนไขดีๆ อ่านข้อมูลทางวิชาการและประสบการณ์ตรงเรื่องเผือกให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสีนยก่อนก่อน.....เผือกไซด์ใหญ่ๆ ราคาดี ที่ไหนๆ ก็รับซื้อ เพราะฉนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ออก ขอให้ เกรด เอ. จัมโบ้. เถอะ.....รวยได้

------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©