-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 18 N0V *สารสมุนไพร (15)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 18 N0V *สารสมุนไพร (15)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 18 N0V *สารสมุนไพร (15)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/11/2019 7:40 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 18 N0V *สารสมุนไพร (15) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 18 N0V
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม

ผลิตรายการโดย :
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ :
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

สนับสนุนรายการโดย :
*บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/

* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html


กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

----------------------------------------------------------------------------------


สายตรง : (099) 762-527xx
สรุปคำถาม : จำเป็นไหมที่ต้องใช้สารสมุนไพรสูตรเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลสูงสุด...
ตอบ : จำเป็นก็ได้ ไม่จำเป็นก็ได้ ธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีตัวเลข แต่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ...

จาก : (090) 167-36xx
ข้อความ : ขอรวมสูตรวิธีทำสารสมุนไพรด้วย....
ตอบ : O.K. จัดให้ ว่าแต่ว่า ฟังอย่างเดียว จำได้ทั้งหมดเหรอ ทำไมไม่อ่านหนังสือ อ่านแล้วอ่านอีก อ่านซ้ำ อ่านจนจำได้เหมือนพระสวดมนต์....

จาก : (083) 251-70xx
ข้อความ : สมุนไพรกลั่น ทำเอง กลิ่นไม่แรงเท่าซื้อ....
ตอบ : อยู่ที่เทคนิควิธีทำ โดยเฉพาะเครื่องมือ ต้องใช้เครื่องกลั่นแบบ “แยกน้ำมัน-แยกน้ำ” เท่านั้น ระหว่าง “ซื้อ-สำเร็จรูปพร้อมใช้” กับ “ทำเอง-ทำใช้ไม่ใช่ทำขาย” งานนี้ซื้อ น่าจะถูกกว่านะ .... ที่บางปะอิน รับซื้อใบตะไคร้อย่างเดียว เอาไปกลั่นทำน้ำมันตะไคร้ ได้น้ำมันตะไคร้ 100% ก็ไม่เหมือนกันว่า มะกรูด สะระแหน่ อย่างอื่นรับไหม...

บ่น :
ข่าว ทีวี. ค่ำวานนี้ ราชการเริ่มจับกุมร้านขาย “สารชีวภัณฑ์+ยาฆ่าหญ้า/ยาฆ่าแมลง” งานโทษทั้งจำทั้งปรับ และกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงเกษตรกรในฐานะ ผู้ครอบครอง/ผู้ใช้ อีกด้วย ก็ไม่รู้เหมือน กันว่าเกมส์นี้จะเกมส์ห้ามใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง นี้จบลงเอยแบบไหน

เมื่อราชการไม่ ส่งเสริม/แนะนำ สารที่ใช้แทนสารเคมี ทางออกของเกษตรกรมีทางเดียว คือ "ทำเอง" ทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชนี่แหละ

ก็ดีนะ งานนี้นอกจากช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังได้ สุขภาพทั้งคนใช้คนกิน เครดิตความน่าเชื่อถือจากคนไทยคนทั่วโลกอีกด้วย .... เชื่อไหม คนอเมริกา-คนยุโรป-คนทั่วโลก รังเกียจสารเคมีทั้งนั้น ถ้ามีอะไรที่ไม่เป็นพิษมาแทนสารเคมีได้ เขายินดีต้อนรับทั้งนั้น

ว่ามั้ย เส้นทางหมื่นลี้เริ่มจากก้าวแรก บันไดร้อยขั้นเริ่มจากขั้นแรก ตัวเลขหมื่นแสนเริ่มจากเลขหนึ่ง .... ลุกขึ้นมาเถอะคนไทย ทั้งเกษตรกร ทั้งไม่เกษตรกร ทำสารสมุนไพร-ทำ ไอพีเอ็ม. ใช้เอง ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง เย ! ....



จากหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ....
*** หลักการทำ-หลักการใช้ สารสมุนไพร :
*** แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน - มาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับ

1. หมักน้ำเปล่า :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 7-10 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภท ใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น
หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่ใส่กากน้ำตาล ไม่ใส่น้ำตาลทราย และไม่ใส่จุลินทรีย์ เพราะนี่คือทำยา ไม่ใช่ทำปุ๋ย

2. สูตรหมักเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) 10% ของน้ำ. เติมน้ำส้ม สายชู 10% ของเหล้าหรือแอลกอฮอร์ อัตราเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูให้ได้พอท่วมสมุนไพร ถ้าไม่ท่วมให้เติมน้ำเปล่าเพิ่มจนกระทั่งพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ เพื่อให้แอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูจะสกัดเอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรออกมา ครบกำหนด 24-48 ชม. แล้วให้เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. ได้สารสมุนไพร เข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่ใส่กากน้ำตาล ไม่ใส่น้ำตาลทราย และไม่ใส่จุลินทรีย์ เพราะนี่คือทำยา ไม่ใช่ทำปุ๋ย

3. สูตรแช่น้ำร้อน :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติกที่มีน้ำต้มเดือดแล้ว 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น

4. สูตรต้มพอร้อน :
วัสดุส่วนผสม :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบด ละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ) ที่มีน้ำ 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือด เสร็จแล้วยกลงปล่อยให้เย็น ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

เมื่อน้ำต้มเย็นลงแล้วให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งาน กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภท ใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง เท่านั้น

5. สูตรต้มเคี่ยว :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ) ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ
ต้มครั้งที่ 1 : ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรชนิดเดิมตัวใหม่ ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2

ต้มครั้งที่ 2 : เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรชนิดเดิมตัวใหม่ ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3

ต้มครั้งที่ 3 : เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุน ไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัด เป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วน ผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้งเท่านั้น

สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ :
แบบที่ 1 :
ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออก ได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งานได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น

แบบที่ 2 : ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อ โดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น
หมายเหตุ :
ซินแส แพทย์แผนโบราณ จัดยาสมุนไพรห่อผ้าขาวบางให้ 1 ห่อมัดเรียบร้อย หม้อดินเผา 1 หม้อ แล้วบอกว่า ใส่น้ำพอท่วม ต้มพอเดือด ดื่มครั้งละ 1 จอก (รสชาดยาสมุนไพรขมพอดีๆ ...รสขม คือ ฤทธิ์ยา) หรือบางครั้งใส่น้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวนานๆ จนเหลือน้ำ 1 จอก แล้วดื่ม (รสชาติยาสมุน ไพรจะขมจัดมากๆ ....รสขมนั้นคือ ฤทธิ์ยา)

6. สูตรกลั่น :
ถังกลั่น :

- เป็นถังโลหะทรงสูง
- ใส่น้ำเปล่าก้นถัง ปริมาณตามความเหมาะเมื่อเทียบกับปริมาณของพืชสมุนไพรที่จะกลั่น ไม่ควรเกิน 1 ใน 4 ของความสูงถัง
- มีตะแกงติดในถัง ณ ระดับความสูง 3 ใน 4 จากก้นถังของความสูงถัง
- มีฝาปิดสนิทป้องกันไอระเหยออกได้
- ที่ฝาปิดมีท่อให้ไอระเหยผ่านไปสูงระบบควบเย็นได้สะดวก
- ท่อนี้จะผ่านระบบควบเย็น ส่วนปลายดัดแปลงให้แทงเข้าไปในถังกลั่น เพื่อให้ไอระเหยที่ถูกควบเย็นจนกลายเป็นน้ำแล้วกลับเข้าไปกลั่นซ้ำในถังอีกครั้ง

ส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรประเภทสกัดด้วยวิธีกลั่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สดหรือแห้ง สับเล็กหรือบดละเอียด การกลั่นทำได้ 2 แบบ
แบบที่ 1 : กลั่นแบบต้มเหล้าป่า (ชาวบ้านแอบทำ /เหล้าเถื่อน) หรือเหล้าขาว (รัฐบาลทำ) การกลั่นแบบนี้ต้องอาศัยความร้อนสูง น้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยต้องเดือดจัด 100 องศา ซ. ทำให้ได้ "น้ำ + สารออกฤทธิ์" ซึ่งจะมีน้ำ 70% สารออกฤทธิ์ 30% ถ้าน้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยร้อน 60-70 องศา ซ. จะทำได้เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น อัตราส่วน น้ำ 30% สารออกฤทธิ์ 70% แต่เนื่องจากความร้อนเพียงเท่านี้ไอน้ำจะไม่พุ่งออกมาสู่ระบบควบเย็นได้ แก้ไขโดยการใช้ตัวดูดไอระเหย (แว็คกั้ม).... สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย หากต้องการเก็บนานให้เติมแอลกอฮอร์ 10% ของน้ำกลั่นสารออกฤทธิ์

แบบที่ 2 : กลั่นซ้ำ เป็นการกลั่นแบบให้ความร้อนสูงเดือดจัด ไอระเหยที่ถูกควบเย็นแล้วผ่านท่อที่ดัดแปลงเป็นการเฉพาะไหลกลับเข้าไปใน
หม้อกลั่นอย่างเดิมรวมกับน้ำก้นถังกลั่นอีกครั้ง แล้วถูกต้มกลายเป็นไอระเหยสูงขึ้นสู่ระบบควบเย็นซ้ำโดยอัตโนมัติ น้ำจะถูกกลั่นเป็นไอน้ำ ถูกควบเย็นเป็นน้ำไหลกลับเข้าถังกลั่น หมุนเวียนซ้ำอย่างนี้จนเป็นที่พอใจ น้ำก้นถังกลั่น คือ น้ำกลั่นสารออกฤทธิ์ มีน้ำกับสารออกฤทธิ์ 1 : 1 ใช้งานได้เลย

แบบที่ 3 : กลั่นด้วยเครื่องกลั่นเฉพาะแบบ "แยกน้ำ-แยกน้ำมัน" น้ำมันที่ได้เป็นสารออกฤทธิ์ 100% ไม่มีน้ำปน สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย และสามารถเก็บนานได้โดยไม่ต้องเติมแอลกอฮอร์
หมายเหตุ :
- กลิ่นตะไคร้/กลิ่นมะกรูด/สะระแหน่ สังเคราะห์ ที่คนนิยมทำ “อะโรม่า” นั้น นำมาใช้แทนกลิ่นที่กลั่นเอง เพราะกลิ่นสังเคราะห์แรงมากเมื่อเทียบกับกลิ่นที่กลั่นเอง กลิ่นสังเคราะห์ไม่เป็นอันตรายต่อตน เพราะใช้ในงานอะโรม่าอยู่แล้ว

---------------------------------------------------------------------------------






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©