-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 SEP. * สารสมุนไพร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * สารพิษเกษตรตกค้าง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* สารพิษเกษตรตกค้าง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/03/2022 6:43 am    ชื่อกระทู้: * สารพิษเกษตรตกค้าง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

4 สารพิษตกค้าง อันตรายที่ต้องระวัง
เขียนโดย
thitima


กระแสออร์แกนิกหรือเกษตรอินทรีย์กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง เนื่องจากปัจจุบันคนเรา มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีจากการอุปโภค บริโภคและจากสิ่งแวดล้อมมากกว่า 15,000 ชนิด ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างยากจะคาดเดา ด้วยเหตุนี้ "ออร์แกนิก" จึง กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ ที่ผู้คนทั่วโลกหันมา ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์และ อาหารการกินต่างๆ ที่มีกระบวนการผลิตจากธรรมชาติ หรือการผลิตแบบดั้งเดิม โดยไม่มีการฉายรังสี การ ใช้สารเคมี หรือใช้วัตถุเจือปนอาหารทางเคมีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม แม้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญ ต่อเกษตรอินทรีย์ แต่ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขว่า คนไทยป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชปีละเกือบ 1,800 คน ซึ่งมีทั้งพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และพิษเรื้อรัง เช่น โรคผิวหนัง มะเร็ง โรคระบบประสาท ที่สำคัญผลการตรวจเลือดเกษตรกรไทยยังอยู่ในเกณฑ์ น่าห่วง และพบว่ากว่า 4 ล้านคนมีความเสี่ยงจะป่วย!

ตอกย้ำด้วยข้อมูลรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่พบว่าประเทศไทย มีการใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก ที่สำคัญจากการสำรวจในทุกปี ยังพบว่าพบสารเคมีตกค้าง ในผัก และสารพิษอันตรายที่ทั่วโลกห้ามใช้ ซึ่งนอกจาก เกษตรกรซึ่งถือเป็นต้นน้ำของการผลิตที่เสี่ยงแล้ว ผู้บริโภคก็เสี่ยงต่ออันตรายด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ 4 สารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ ที่วางขายในท้องตลาด

1) คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
สารชนิดนี้ใช้กำจัดแมลงในวงกว้าง ทั้งหนอนกอ หนอนแมลงวัน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฯลฯ นิยมใช้ในนาข้าว พืชไร่อย่าง ถั่วเหลือง ข้าวโพด แตงโม แตงกวา และพืชสวนอย่างกาแฟ ส้ม มะพร้าว ฯลฯ เมื่อได้รับสารพิษชนิดนี้ หากมีปริมาณมากพอ จะทำให้อาเจียน เสียการทรงตัว มองไม่ชัด เป็นสารก่อมะเร็งรุนแรง เซลล์ตับแบ่งตัวผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดเนื้องอก กลายพันธุ์ อสุจิตาย และทำลายเอนไซม์ที่เยื่อหุ้มสมอง

2) เมโทมิล (Methomyl)
ใช้กำจัดแมลงหลายประเภท เช่น แมลงปากกัด ปากดูด เพลี้ย และหนอนชนิดต่างๆ นิยมใช้ในองุ่น ลำไย ส้มเขียวหวาน สตรอว์เบอร์รี่ กะหล่ำปลี หัวหอม และมะเขือเทศ ฯลฯ สารชนิดนี้จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชัก พิษต่อหัวใจ ฮอร์โมนเพศชายลดลง ทำลายท่อในลูกอัณฑะ ในระยะยาวจะทำลายดีเอ็นเอ ทำให้โครโมโซมผิดปกติ และเป็นพิษต่อม้าม

3) ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
ใช้กำจัดแมลงประเภทปากดูด เจาะ หรือกัด ในพืชผักผลไม้ ข้าว กาแฟ ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว อ้อย คะน้า ส้ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฯลฯ พิษต่อยีน กลายพันธุ์ เกิดเนื้องอก ก่อมะเร็ง พิษต่อไต พิษเรื้อรังต่อระบบประสาท ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง เจ็บเหมือนเข็มแทง มือเท้าอ่อนล้า

4) อีพีเอ็น (EPN)
ใช้เป็นหัวยาและผสมกับสารเคมีเกษตรชนิดอื่นๆ ในการเพาะปลูก เพื่อกำจัดแมลงหลายชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกอข้าว แมลงดำหนาม ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลแตง ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ท้องเสีย แน่นหน้าอก มองไม่ชัด สูญเสียการทรงตัว ไอ ปอดปวม หยุดการหายใจ ทำลายระบบประสาท ไขสันหลังผิดปกติ น้ำหนัก สมองลดลง พิษเรื้อรังยังทำให้ทารกในครรภ์มีปัญหา การพัฒนาการของสมองปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว ห้ามใช้ในไทยแต่ยังตรวจพบในพืชผักผลไม้ บางชนิด

เทคนิคล้างผัก
ผักผลไม้ที่วางขายในท้องตลาด อาจเป็น "มัจจุราชเงียบ" ที่เต็มไปด้วยสารพิษจนนำไปสู่โรคร้าย ในระยะยาว นอกจากการเลือกบริโภค "ผักผลไม้ออร์แกนิก" แล้ว ทางเลือกหนึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การล้างผักผลไม้ให้สะอาด สำหรับวิธีการล้างผักผลไม้เพื่อขจัดสารเคมีตกค้างที่ปนเปื้อนสามารถทำได้หลายวิธี

1) การล้างด้วยน้ำธรรมดา และน้ำยาล้างผัก สามารถลดสารพิษได้ไม่น้อยกว่า 25%
2) การแช่ผัก ผลไม้ในด่างทับทิมสีชมพูอ่อนๆ (20-30 เกล็ด) จะช่วยลดสารพิษได้มากถึง 40%
3) การล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่านใช้มือช่วยคลี่ใบผักนาน 2 นาที จะช่วยลดสารพิษได้ถึง 60%
4) การใช้น้ำส้มสายชู (5%) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง (20 ลิตร) แล้วแช่ผักผลไม้นาน 30-45 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ถึง 80%

5) การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แล้วนำ ผักผลไม้ ลงแช่ 15 นาที จะช่วยลดสารพิษที่ตกค้างได้ถึง 90%

6) การใช้ผงถ่านแอคติเวตชาร์โคลหรือผงคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) แช่ผักผลไม้ โดย ผสมผงถ่าน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 5 ลิตร แล้วนำผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นล้างออก ด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยดูดซับสารเคมี สี และกลิ่น จากผักผลไม้ ได้มากกว่า 90%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 หน้า 5

https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/6037

....................................................................................................


ข่าวร้าย ! สายผัก-มังสวิรัติ-สายคลีน พบผักผลไม้สารพิษตกค้างอื้อ

สยามรัฐออนไลน์ 4 ธันวาคม 2563 20:21 น. คุณภาพชีวิต
ADVERTISEMENT


สะพรึง ! ไทยแพนสุ่มตลาด 10 จว.ทั่วไทย พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะมะเขือเทศสีดา พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า องุ่นแดงนอก พุทราจีน เจอ 100% ของแห้งทั้งเห็ดหอม พริกแห้ง ก็ยังเจอถึงกว่า 90% ขณะพบผักผลไม้ที่ขายในห้างแพงกว่าแต่ทว่าสารพิษตกค้างแตกต่างกับที่พบในตลาดสดทั่วไปเพียงแค่เล็กน้อย ตลาด จ.นนท์ พบมีสารพิษตกค้างสูงสุด และน้อยสุดตลาดสดที่เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.63 น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN ได้เปิดเผยผลการตรวจสอบผักและผลไม้ประจำปี 63 โดยสุ่มตรวจผักผลไม้ 509 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ โดยมี

ผลไม้ 9 ชนิดคือ ส้มโอ ส้มแมนดารินนำเข้า ลองกอง น้อยหน่า แก้วมังกร ฝรั่ง ส้มสายน้ำผึ้ง พุทราจีน และองุ่นแดงนอก

ผัก 18 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว แครอท ถั่วฝักยาว บร็อกโคลี หัวไชเท้า ผักบุ้ง มะระ กะเพรา กวางตุ้ง ผักชี มะเขือเทศผลเล็ก คะน้า ขึ้นฉ่าย พริกแดง และพริกขี้หนู และ

ของแห้ง 2 ชนิด ได้แก่ พริกแห้ง และเห็ดหอม ส่งตรวจวิเคราะห์พบว่า มีผักและผลไม้มากถึง 58.7 % ที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน

สำหรับผักที่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุดคือ
มะเขือเทศผลเล็ก พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง

รองลงมาได้แก่ กะเพรา (81%) มะระ (62%) ผักบุ้ง (62%) หัวไชเท้า (56%) บร็อกโคลี (50%) ถั่วฝักยาว (44%) แครอท (19%) กระเจี๊ยบเขียว (6%) และหน่อไม้ฝรั่ง (6%)

ส่วนมันฝรั่งไม่เกินมาตรฐาน และไม่พบการตกค้างในข้าวโพดหวาน

ผลไม้ที่พบสารพิษตกค้างมากที่สุดได้แก่ องุ่นแดงนอก (100%) พุทราจีน( 100%) ส้มสายน้ำผึ้ง (81%) ฝรั่ง (60%) แก้วมังกร (56%) น้อยหน่า (43%) ค้างน้อยได้แก่ ลองกอง (14%) ส้มแมนดารินนำเข้า (13%) และส้มโอไม่เกินมาตรฐาน

ขณะที่ของแห้งได้แก่ เห็ดหอมแห้ง และพริกแห้ง พบตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยมากถึง 94% และ 88% ตามลำดับ

รวมทั้งยังพบว่า ผักและผลไม้จากตลาดทั่วไป พบสารตกค้าง 60.1% ขณะที่ในห้างอยู่ที่ 56.7% ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งที่โดยส่วนใหญ่จะจำหน่ายราคาแพงกว่า โดยในส่วนตลาดสดทั่วไป ได้สุ่มตรวจผักจากตลาดทั่วประเทศ 10 จังหวัด พบที่ตลาดจังหวัดนนทบุรี มีตัวอย่างตกค้างเกินมาตรฐาน 72.4% และตลาดสดเชียงใหม่ตกค้างน้อยที่สุด 48.3%

https://thaipan.org/highlights/2283

..................................................................................................


เกษตรฯ เอกซเรย์สารตกค้างผัก ผลไม้ ปี 64 ตรวจเพิ่มกลุ่มพืชเสี่ยงนอกระบบ GAP พบสารพิษในผัก และผลไม้จำนวนมาก

กรมวิชาการเกษตร ดาวกระจายลุยตรวจสารตกค้างผัก ผลไม้ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ปรับแผนปี 64 ตรวจเพิ่มครอบคลุมผัก ผลไม้ ไม่เข้ามาตรฐาน GAP และกลุ่ม PGS รวมกว่า 900 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบปลอดภัยตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขเกินครึ่ง ส่วนผลผลิตไม่ผ่าน รุดแจ้งเตือนแหล่งจำหน่าย จี้หน่วยงานในพื้นที่เร่งตรวจสอบ หากพบไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานพักใช้ใบรับรอง พร้อมส่งสารวัตรเกษตรบุกร้านค้าหากพบลักลอบขายสารต้องห้ามจับดำเนินคดีทันที

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2564 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้สุ่มตรวจติดตามเฝ้าระวังสารตกค้างในผัก และผลไม้ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP จากแปลง และแหล่งจำหน่าย ซึ่งเป็นโครงการตรวจติดตามที่ทำต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นสุ่มตรวจชนิดผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีการแจ้งเตือนตรวจพบสารตกค้างบ่อยครั้ง เช่น พริก ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดขาว ส้ม และฝรั่ง

โดยในปีนี้กรมวิชาการเกษตรได้ปรับแผนขยายขอบข่ายสุ่มตรวจติดตามเฝ้าระวังสารตกค้างในผักผลไม้ ครอบคลุมไปถึงผลผลิตที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และสินค้าที่ได้รับการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) รวมทั้งยังสุ่มตรวจผักและผลไม้ที่อาจมีการลักลอบใช้วัตถุอัตรายที่ห้ามใช้แล้วในประเทศด้วย

ADVERTISEMENT
จากการดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชที่ได้รับการรับรอง GAP จำนวน 706 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์สารตกค้างพบเป็นไปตามมาตรฐาน 608 ตัวอย่าง

โดยพืชที่ปลอดภัยไม่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ขึ้นฉ่าย คะน้า แตงกวา แครอท ชะอม ซาโยเต้ ยอดฟักแม้ว ซูกินี ตะไคร้ แตงโม ตำลึง ตั้งโอ๋ บวบ แมงลัก ผักกูด ผักปลัง ผักหวาน ฟักทอง มะระ มะละกอ มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง โหระพา เห็ด กรีนโอ๊ค กระเจี๊ยบเขียว กระเจี้ยบแดง กะหล่ำดอก กุ่ยช่าย ข้าวโพดฝักสด ฝรั่ง มะขามหวาน มะม่วง สตรอเบอรี่ สับปะรด และส้มโอ

ส่วนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ พริก มะเขือเทศ ส้ม กวางตุ้ง กะเพรา กะหล่ำปลี กล้วย เซอรารี่ ต้นหอม ทุเรียน ฮ่องเต้ บล็อกโคลี่ ผักชี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอม ผักโขม ผักบุ้ง มะกรูด มะเขือ มะนาว หอมหัวใหญ่ แคนตาลูป สะระแหน่ ลำไย เสาวรส อะโวคาโด้ และองุ่น

สุ่มเก็บตัวอย่างพืชที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากศูนย์กระจายสินค้า ตลาดค้าส่ง ตลาดค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า จำนวน 202 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบ

ตัวอย่างพืชที่ผ่านเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 137 ตัวอย่าง

ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 73 ตัวอย่าง ได้แก่ พริก ผักชี คะน้า กวางตุ้ง โหระพา แมงลัก ใบบัวบก มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วฝักยาว ถั่วหวาน ถั่วแขก หัวไชเท้า มะระ ส้ม แก้วมังกร ฝรั่ง กล้วย และพุทรา

รวมทั้งพบสารตกค้างคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นสารที่ประเทศไทยห้ามใช้แล้ว จำนวน 14 ตัวอย่าง ได้แก่ ส้ม (3 ตัวอย่าง) พริก (2 ตัวอย่าง) มะม่วง มะเขือเทศ ผักชีฝรั่ง ใบบัวบก โหระพา แมงลัก หัวไชเท้า ฝรั่ง และพุทรา

สุ่มเก็บตัวอย่างพืชในกลุ่มที่ได้รับการรับรองแบบมีส่วนร่วม ( PGS) จำนวน 38 ตัวอย่าง

พบผ่านเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน จำนวน 33 ตัวอย่าง

ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ พริก โหระพา ขึ้นฉ่าย วอเตอร์เครส และแตงร้าน รวมทั้งพบสารตกค้างคลอร์ไพริฟอส จำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ วอเตอร์เครส และแตงร้าน

https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1657276/


.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/03/2022 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©