-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สีสันสัญจร สุพรรณบุรี *เสาร์ 1 JAN
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 28 ม.ค. * เครื่องวัดความแก่ทุเรียนพัฒนาถึงไหน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 28 ม.ค. * เครื่องวัดความแก่ทุเรียนพัฒนาถึงไหน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 27/01/2022 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 28 ม.ค. * เครื่องวัดความแก่ทุเรียนพัฒน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 ม.ค.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์สัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** พิเศษ เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือนไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด


- เดือนนี้มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ตรงกับวันที่ 29 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน สีสันสัญจรไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา ....


* ส.ค.ส. ต้อนรับปีใหม่ ....
ขาย !
.. ซื้อปุ๋ยไซส์ใหญ่ขนาด 5 ล. แถมไซส์เล็ก 1 ลิตร ...
ขาย ! .. ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถมไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....เทศกาลปีใหม่ ของขวัญที่คนรับภูมิใจ ได้ไปแล้วเก็บไว้นาน นานจนชั่วชีวิตก็ว่าได้ นั่นคือ หนังสือ ที่หน้าปกหนังสือเขียนลายเซ็นคนให้ไว้ คนที่ได้รับ ทุกครั้งที่หยิบหนังสือขึ้นมาเห็นลายเซ็นต์ จะยิ้ม ภูมิใจ แน่นอน

โชว์ ! .. หม้อปุ๋ยหน้าโซน



แจก 1 ! .. กับดักแมลงวันทอง


แจก 2 ! .. ปฎิทินติดผนัง แผ่นใหญ่ รูปพระเครื่อง 1ปี 6แผ่น

- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

*****************************************************
*****************************************************

จาก : (094) 267-91xx
ข้อความ : เกษตรลุงคิดดอทคอม กระทู้นานาสาระเรื่องเกษตร สนใจมากเรื่องเครื่องวัดความอ่อนแก่ของทุเรียน เครื่องมือตัวนี้มาขายที่ไหนครับ

จาก : (062) 286-52xx
ข้อความ : อ่านหัวข้อนานาสาระเรื่องเกษตรในเวบลุงคิม อยากรู้ว่าเครื่องวัดความแก่ของผลทุเรียนพัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว
ตอบ :
ถามย้อนกลับไปที่หน่วยงานที่ทำขึ้นมาแล้ว ได้คำตอบแล้วส่งข่าวด้วยจะ THANK YOU อย่างมากๆ ๆๆ ๆๆ

บ่น :
เวบเกษตรลุงคิมดอมคอม กำเนิดเมื่อ 1 ม.ค. 2553 ถึงวันนี้มีคนเข้าเยี่ยมชม 84,561,891 เฉพาะกระทู้ “นานาสาระเรื่องเกษตร” มีคนเข้ามาอ่านกระทู้นี้มีคนอ่าน กว่า 2 ล้านครั้ง....

กระทู้ “ประเทศไทยในฝัน” :
1. ประเทศเรา ประเทศไทย ประเทศเกษตร.... น่าจะมี
* เครื่องตรวจวัดคุณภาพผลไม้ :
แบบมือถือ วัด ความแก่-ความหวาน-ความเปรี้ยว ของ ผลไม้/พืชผัก แต่ละชนิด โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ผู้ซื้อมีความต้องการ เกรด-รส ของผลไม้ที่ต่างกัน

* เครื่องวัด ชนิด/ปริมาณ ของธาตุอาหารของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ความหวาน วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่า ชนิด/ปริมาณ ของธาตุอาหารของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย

* เครื่องวัด ปริมาณของเนื้อ ขนาดของเมล็ด ของธาตุอาหารของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกปริมาณเนื้อ ขนาดของเล็ด วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่าปริมาณเนื้อ ขนาดของเล็ด ของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย

* เครื่องวัด ปริมาณกลิ่นของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกปริมาณกลิ่นของผล วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจปริมาณของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย

* เครื่องวัดความหวานของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ความหวาน วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่าความหวาน ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย

* เครื่องตรวจวัดสารเคมี (สาระคมีที่มีโทษและไม่มีโทษต่อร่างกาย) :
แบบมือถือ ตรวจวัดสารเคมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนบนผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิด ทุกประเภท โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์สารเคมียาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนให้รู้



481. ทุเรียนติดเซนเซอร์..สุกพร้อมกินรู้ทันที :
โดย : สาลินีย์ ทับพิลา
นักวิจัยด้านวิศวกรรมไทรคมนาคม ประยุกต์คลื่นสัญญาณไมโครเวฟ ทำเซนเซอร์ตรวจวัดความแก่ของทุเรียน ไม่ต้องเดาผิดถูกๆจากเสียงไม้เคาะเปลือก

“ส้ม 2 ลูกที่ภายนอกเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แต่พอแกะทาน ลูกแรกหวานอร่อย แต่ลูกที่ 2 กลับฝ่อ จืด จึงเกิดเป็นไอเดีย หากสามารถตรวจวัดได้ว่าผลไม้ที่เราจะกิน ลูกไหนสุก ก็จะทำให้เราเลือกผลไม้รสดีได้ไม่ยาก จึงพัฒนาเครื่องมือถือสำหรับตรวจส้มก่อน” ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าว

จากความเป็นไปได้ของอุปกรณ์ตรวจส้มด้วยคลื่นไมโครเวฟ ศ.ดร.โมไนย จึงมองว่า คลื่นไมโครเวฟมีศักยภาพที่จะตรวจสอบความแก่ของผลไม้ได้ โดยเฉพาะผลไม้เศรษฐกิจ จึงศึกษาข้อมูลผลไม้ส่งออกพบว่า อันดับที่ 1 คือ ลำไย ตามด้วยทุเรียน แต่ด้วยลำไยมีความซับซ้อน จึงมุ่งไปที่ทุเรียน

นักวิจัยอธิบายว่า ปัญหาของชาวสวนทุเรียน คือ ต้องเก็บทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 80% ซึ่งแก่พอที่จะตัดมาขาย แต่หากทุเรียนอ่อนเกินไป ตัดมาแล้วจะไม่สุกเลย ไม่สามารถกินได้

“ชาวสวนวิธีนับอายุดอกทุเรียน โดยจะนับหลังจากทุเรียนออกดอกไปอีก 120 วัน แต่ก็มีปัญหาด้านความแม่นยำ เพราะความผันแปรของอากาศและความชื้น ทำให้ทุเรียนอาจจะแก่เร็วหรือช้ากว่าปกติได้”

ด้วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับทุเรียนจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาเซนเซอร์ส่งคลื่นไมโครเวฟตรวจความแก่ของลูกทุเรียน โดยคำนวณจากปริมาณแป้งและน้ำตาลที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อทุเรียนแก่ขึ้น และคำนวณหาเป็นเปอร์เซ็นต์ความแก่ของทุเรียน

ปี 2549 ทีมวิจัยเริ่มงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยเริ่มจากติดเซนเซอร์ที่ทุเรียน จากนั้นเขียนโปรแกรมตั้งเวลาวัดข้อมูลและส่งข้อมูลที่วัดได้กลัมาที่แม่ข่ายผ่านโครงข่ายไร้สายทุกวัน และสุ่มตัดลูกทุเรียนมาตรวจวัดแป้ง น้ำตาล และความชื้นทุก 3 วัน เพื่อหาข้อสรุปสำหรับการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความแก่

เซนเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาคลื่นผ่านเปลือก เนื้อ และสะท้อนกลับมายังเครื่องรับสัญญาณที่อยู่ติดกัน

“เราพบว่า เปลือกทุเรียนมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก แต่เนื้อทุเรียนจะเปลี่ยนปริมาณแป้งและน้ำตาล โดยทุเรียนดิบจะมีแป้งมาก น้ำตาลน้อย แต่ทุเรียนที่แก่ขึ้น ปริมาณแป้งจะลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่ม ทำให้ค่าฉนวนของเปลือกทุเรียนเปลี่ยน สัญญาณไมโครเวฟที่ส่งกลับมายังเครื่องรับก็จะเปลี่ยนด้วย” ศ.ดร.โมไนย อธิบาย

สำหรับความแม่นยำ นักวิจัยย้ำว่า ยังคงต้องปรับเพิ่ม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทารุณของการเกษตรไทย ทำให้เซนเซอร์ที่ติดกับลูกทุเรียนต้องตากแดดตากฝน ทำให้ส่งผลต่อการส่งสัญญาณไปยังแม่ข่าย อย่างไรก็ดี เราสามารถปรับการติดเซนเซอร์ให้ไม่ต้องติดกับทุเรียนทุกลูกในสวน ทำให้สามารถเลือกติดในพื้นที่ที่ปลอดภัยได้

งานวิจัยนี้ทำมาแล้ว 4 ปี ใช้เวลาศึกษาวิจัยและเริ่มต้นพัฒนา 2 ปี จากนั้นทดสอบในสวนทุเรียนที่จันทบุรี 1 ฤดู และนครศรีธรรมราชอีก 1 ฤดู โดย ศ.ดร.โมไนย ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พ.ศ. 2548 และ 2551

“4 ปีที่ผ่านมา เราได้ข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน ซึ่งใน 2 ปีที่เหลือ เราจะพัฒนาอุปกรณ์และโปรแกรมให้สมบูรณ์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่จะทำงานไปพร้อมๆ กัน คือ เราจำพัฒนาเซนเซอร์วัดความแก่ของทุเรียนในสวน ซึ่งจะต้องแม่นยำ 100% เพื่อให้ทำนายวันเก็บเกี่ยวได้อย่างถูกต้อง เหมาะกับชาวสวนทุเรียนที่ต้องการควบคุมคุณภาพผลผลิต ในขณะเดียวกันก็จะพัฒนาเซนเซอร์มือถือ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่จะคัดทุเรียนส่งออก รวมถึงผู้บริโภค ให้ไม่ต้องใช้ไม้เคาะ แค่แตะดูก็รู้ได้เลย” ศ.ดร.โมไนยกล่าว

ต่อจากนี้ นักวิจัยตั้งเป้าได้เครื่องมือต้นแบบในอีก 1 ปี และวางแผนที่จะพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ในปี 2554

http://www.bangkokbiznews.com


482. สติกเกอร์เปลี่ยนสีบอกทุเรียนสุก :
โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะฯ คิดค้นสติกเกอร์บอกระดับความสุกของทุเรียน แบ่งเป็น ดิบ-สีขาว สุกกรอบ-สีฟ้า สุกนิ่ม-สีน้ำเงิน ไม่ต้องพึ่งเสียงไม้เคาะ

น.ส.นวพร ศรีนวกุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) กล่าวว่า สติกเกอร์บอกระดับความสุกในทุเรียน ผลงานจากการคิดค้นของเอ็มเทค นำทีมโดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกทุเรียนได้ตรงกับความต้องการอย่างแม่นยำ โดยรายงานได้ 3 ระดับความสุก แบ่งเป็นทุเรียนดิบ สุกกรอบ และสุกนิ่ม แสดงเป็นแถบสีขาว สีฟ้า และสีน้ำเงิน ตามลำดับ

“ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อทุเรียนได้ตามที่ชอบ ไม่ต้องรอการคาดเดาจากแม่ค้า ซึ่งมีโอกาสคำนวณผิดพลาด ทำให้เราได้ทุเรียนระดับความสุกที่ไม่ตรงความต้องการ สติกเกอร์นี้น่าช่วยเพิ่มมูลค่าให้ทุเรียนส่งออก และลดปัญหาการกดราคาจากผู้นำเข้าต่างชาติ ซึ่งอ้างถึงจุดอ่อนเรื่องไทยขาดระบบการประกันคุณภาพและระดับการสุกของทุเรียน ที่ไม่สามารถยืนยันให้ชัดเจน"

นักวิจัย เอ็มเทค ทดลองใช้สติกเกอร์เปลี่ยนสีในสวนทุเรียนภาคตะวันออก สามารถรายงานระดับความสุกได้แม่นยำ จึงอยู่ระหว่างการขยายเพื่อศึกษาไปยังสวนทุเรียนภาคใต้ หากสำเร็จตามเป้าหมาย

ในส่วนของการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี/สวทช.) ได้เข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาด้านการงานแผนการตลาดและการยื่นจดสิทธิบัตร ทั้งยังเปิดคอร์สอบรมทีมวิจัยตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีประจำปี 2552

หลังผ่านการอบรมกับ ทีเอ็มซี แล้ว ทีมวิจัยสนใจจะตั้งบริษัทขึ้น เพื่อผลิตและส่งเสริมให้เทคโนโลยีสติกเกอร์เปลี่ยนสี เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้จำหน่ายทุเรียน จากนั้นจะขยายผลไปยังสติกเกอร์วัดระดับความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งไม่ว่าผลดิบหรือผลสุกต่างก็เป็นผิวสีทอง ทำให้ยากในการเก็บเกี่ยวและเลือกซื้อ

ในอนาคตยังสามารถปรับสูตรให้บอกระดับความสุกในผลไม้ชนิดอื่นในห้างสรรพสินค้าได้ด้วย เช่น อโวคาโด กีวี แอปเปิล เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า

http://www.bangkokbiznews.com


ตรวจวัดทุเรียนสุก เครื่องแรกของโลก :
ปัญหาทุเรียนอ่อนที่ทำลายชื่อเสียงผลไม้ไทย แม้ทางการจะรณรงค์มาทุกปี แต่ยังคงแก้ปัญหาไม่ได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค้นพบทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหา ด้วยการประดิษฐ์เครื่องวัดความสุก-อ่อนของทุเรียน ได้สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลก

ผศ.ดร.รณฤทธิ์ ฤทธิรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. กำแพงแสน เผยถึงเครื่องความสุก-อ่อนของทุเรียนว่า เป็นการนำเทคโนโลยีอินฟราเรดย่านใกล้ (NIR Technology) มาใช้ในการตรวจวัดทุเรียน ได้ทั้งทุเรียนที่ตัดมาแล้ว และทุเรียนที่ยังอยู่บนต้น เพราะเครื่องมือตัวนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ทำให้สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่

“โดยมีหลักการทำงาน ด้วยการปล่อยแสงอินฟราเรดผ่านปลายหัวเครื่อง ที่จิ้มไปสัมผัสเปลือกผลทุเรียน จากนั้นกดปุ่มยิงแสงอินฟราเรด ตัวเครื่องจะบอกให้รู้ได้ทันทีเลยว่าทุเรียนผลนั้นมีความสุก กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงเวลาที่จะตัดขายได้รึยัง ทำให้ล้งสามารถคำนวณระยะเวลาล่วงหน้าได้ด้วยว่าอีกกี่วันถึงร้านค้า และผู้บริโภคจะกินได้เมื่อไร เจ้าของสวนก็เช่นกัน สามารถใช้เครื่องตัวนี้วัดก่อนตัดทุเรียนได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

ดร.รณฤทธิ์ บอกถึงคุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือตัวนี้อีกว่า เนื่องจากทุเรียนแต่ละพันธุ์เปอร์เซ็นต์ความสุกเหมาะกับการบริโภคจะไม่เท่ากัน เครื่องมือตัวนี้ถูกออกแบบให้สามารถแยกขนาดความสุกของทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ได้ด้วย เช่น ทุเรียนหมอน จะมีค่าความสุก 32% ทุเรียนพวงมณี ชะนี มีค่า 30% ทุเรียนพันธุ์กระดุม 27%

นอกจากนั้นการใช้งานแต่ ละครั้ง เครื่องมือตัวนี้ตรวจวัดได้เป็นหลายหมื่นผล โดยมีเมมโมรีการ์ดในเครื่องเป็นตัวเก็บข้อมูลไว้ และหลังจากนำไปใช้ในการทดสอบภาคสนามในหลายพื้นที่ทั่วประเทศมา 1 ปี ผลการทดสอบ มีความแม่นยำมากถึง 99%

ที่สำคัญเครื่องมือตัวนี้ ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะวัดความสุก-แก่ของทุเรียนเท่านั้น ยังสามารถนำไปใช้กับผลไม้ชนิดอื่นได้ด้วย เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนปลายหัวเครื่องปล่อยแสงอินฟราเรดให้เหมาะสมกับผลไม้แต่ละชนิดเท่านั้น ชาวสวนทุเรียนและผู้ประกอบการที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ 08-5917-1017 หรือ e-mail: fengror@ ku.ac.th

---------------------------------------------


จะกินทุเรียนทั้งที ลูกไหนสุกไม่สุก เดี๋ยวรู้เลยย..?? :
จะกินทุเรียนทั้งที ลูกไหนสุกไม่สุก เดี๋ยวรู้เลยย..ด้วยอุปกรณ์วัดความสุกทุเรียน นวัตกรรมสุดแนว จากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ที่จะทำให้ชาวแบไต๋ เลือกทุเรียนกันอย่างมีความสุข เจ๋งอ่ะ..ไหน ๆ ไปชมหน่อยซิ!!

สิ่งประดิษฐ์สุดเก๋ จากเหล่านัหกเรียนอาชีวะ ทั่วประเทศกับ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ ที่ไอเดียบรรเจิดประดิษฐ์คิดค้น อุปกรณ์วัดความสุกทุเรียน จากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน

เครื่องวัดคุณภาพทุเรียน มีประสิทธิภาพอย่างมาก
• ไม่ว่าจะช่วยป้องกันการนำทุเรียนอ่อนออกขายในท้องตลาด
• พร้อมส่งเสริมทุเรียนที่มีคุณภาพดี ให้ขายดียิ่งขึ้นไป
• ป้องกันไม่ให้พ่อค้าบางรายฉวยโอกาส ตัดทุเรียนอ่อนออกไปจำหน่ายก่อน

การทำงานคือ
• สีแดง หมายถึง ทุเรียนดิบ
• สีเหลือง หมายถึง ทุเรียนห่าม และ
• สีเขียว หมายถึง ทุเรียนสุก
อุปกรณ์นี้ใช้งานง่าย และสามารถทราบผลได้ในทันที ปัจจุบันมีการตั้งราคาไว้ที่ 1000 บาทเท่านั้น ทำให้มีผู้สนใจจำนวนมากทั้งเกษตรกรและพ่อค้า

ADVERTISEMENT
See also 9.1

ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ชนะเลิศระดับตัวแทนภาคกลาง และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมโดดเด่นระดับชาติ ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ และการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษาระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2560 ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ

เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน (DURIAN MATURITY INSPECTION) โดยวิศวลาดกระบังคว้ารางวัลโลก

ตอบรับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โชว์ 458 นวัตกรรม ซึ่ง 1 ในนั้นมีนวัตกรรมที่โดดเด่นฝีมือคนไทย คือ เครื่องวัดความอ่อน- แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Durian Maturity Inspection) เป็นผลงานของทีมวิจัย นำโดย ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม และทีมนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สร้างชื่อเสียงโด่งดังได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกในงาน 44th International Exhibition and Invention of Geneva 2016 ณ สมาพันธรัฐสวิส เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งถือเป็นงานประกวดนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลกโดยในแต่ละปีจะมีผลงานนวัตกรรมจัดแสดงมากกว่า 1,000 ชิ้นจาก 48 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งผลงานเครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟนี้ยังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยสำนักข่าว BBC ของอังกฤษได้ยกย่องให้เป็น 1ใน7 ของสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดและน่าทึ่งของโลก “Seven of the Best and Weirdest New Inventions”

ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ที่มาของงานวิจัยเนื่องจากทุเรียนได้ฉายาว่าเป็น “The King Of Fruits” เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารและมีปริมาณส่งออกสูงถึง 381,470 ตัน คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 15,563 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2015) ปัจจุบันทุเรียนไทยโดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองเป็นที่นิยมทั้งคนไทยและนานาประเทศ จึงทำให้ตลาดการส่งออกทุเรียนไทยเติบโตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัญหาคือชาวสวนและผู้ส่งออกทุเรียนไทยไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าทุเรียนลูกไหนแก่หรืออ่อนเพียงใด เหมาะแก่การบริโภคหรือไม่ ต้องรอกี่วัน ปัจจุบันชาวสวนได้แต่ใช้วิธีการเคาะด้วยไม้ที่มีปลายหุ้มด้วยวัสดุยาง ซึ่งไม่แม่นยำ ทางทีมงานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.จึงคิดค้นพัฒนา เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ(Durian Maturity Inspection) ซึ่งจะช่วยคัดทุเรียนอ่อนออกจากคอนเทนเนอร์ส่งออก ลดปัญหาชาวสวนและผู้ส่งออกคัดทุเรียนอ่อนจำหน่ายและถูกตีกลับทั้งคอนเทนเนอร์จากประเทศคู่ค้าเมื่อมีการสุ่มตรวจเจอทุเรียนอ่อน สร้างความเสียหายจำนวนมหาศาล และบางครั้งผู้ส่งออกยังต้องเผชิญกับโทษรุนแรงทั้งจำคุกและเงินค่าปรับจากกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มงวดในต่างประเทศอีกด้วย

คำว่า “อ่อน” หมายถึง ทุเรียนที่ไม่พร้อมต่อการบริโภค ทิ้งไว้อย่างไรก็ไม่แก่ที่จะทานได้ ส่วนทุเรียน “แก่” หมายถึง เมื่อทิ้งไว้อีกระยะก็จะสามารถสุกพร้อมรับประทานได้

ผลงานการวิจัย เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Durian Maturity Inspection) เป็นผลผลิตจากโครงการวิจัย “เซ็นเซอร์ไมโครเวฟเพื่อการเกษตร” โดยมี ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม เป็นหัวหน้าโครงการ เราใช้เวลาศึกษาวิจัยต่อเนื่องนานหลายปี จนกระทั่งสามารถพัฒนาย่อส่วนอุปกรณ์ลงมาให้เล็กกะทัดรัด และยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหลือเพียงราคาหลักหมื่นบาท มุ่งเน้นการใช้งานที่ง่าย และที่สำคัญราคาต้องไม่สูงเพื่อเกษตรกรจะได้มีกำลังซื้อหามาใช้ได้ เครื่องวัดความของทุเรียนนี้ ทำงานด้วยคลื่นความถี่ 915 MHz. มีกำลังส่ง 10 มิลลิวัตต์ ใช้เสาอากาศ 2 ชุด คือ ด้านรับ TR-Ant และด้านส่ง TX-Ant จุดวัดทุเรียนจะอยู่ตรงกลาง สามารถสแกนวัดค่าได้รวดเร็วโดยจะรู้ผลเป็นภาษาไทยได้ภายในไม่ถึง 1 วินาที ว่าทุเรียนมีคุณภาพอ่อน หรือแก่สำหรับการบริโภค เพราะจากการศึกษาพบว่า ทุเรียนอ่อน และแก่จะได้ค่าแตกต่างกันหรือมีความต้านทานไม่เท่ากัน ทำให้เครื่องสแกนระบบไมโครเวฟเซ็นเซอร์สามารถวัดค่าได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ค่าความแก่-อ่อน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามตารางดังนี้

วิธีการใช้งาน เครื่องวัดความ อ่อน-แก่ ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Durian Maturity Inspection) นี้ใช้งานง่าย คนทั่วไปที่ไม่ใช่ชาวสวนก็สามารถวัดและทราบได้ ไม่ต้องกรีดผ่าดู จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อผลทุเรียน มีขั้นตอนการใช้เริ่มต้นเครื่องวัดโดยเลือกสุ่มทุเรียนไปวางไว้บนแท่นเครื่องวัด แล้วกดปุ่ม Calibrate ซึ่งจะส่งคลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียนไปยังสายอากาศตัวรับ แล้วกดที่ปุ่ม Measure ขณะที่คลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียน ขนาดของสัญญาณคลื่นจะถูกลดทอนลงและแปรผันไปตามความอ่อน หรือแก่ของทุเรียน จากนั้นข้อมูลจะส่งผ่านเครื่องส่ง-รับสัญญาณไปประมวลที่คอมพิวเตอร์ และจะแสดงผลบนหน้าจอให้รู้ผลได้ทันที ว่า PASSED หมายถึง ทุเรียนแก่, หากแสดงผลว่า FAILED หมายถึง ทุเรียนอ่อน

ขณะนี้มีผู้บริษัทผู้ส่งออกทุเรียน ผู้ประกอบการเกษตรและสำนักงานการเกษตรในจังหวัดต่างๆ เช่น ชุมพร ระยอง จันทบุรี สมุทรสาคร ได้สั่งเครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟไปใช้แล้ว ในอนาคตทีมวิจัยมีแผนจะพัฒนาให้สามารถบอกได้ว่าทุเรียนที่แก่นั้นจะพร้อมรับประทานในอีกกี่วัน นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังมีแนวคิดที่จะต่อยอดพัฒนาไปใช้กับผลไม้อื่น เช่น เมลอน โดยวัดว่ามีระดับความหวานเท่าใด ที่เหมาะแก่การบริโภคได้อร่อย นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะพัฒนาเป็นเทคโนโลยีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ( Pre-Harvest Inspection) ติดตั้งและใช้งานที่ต้นทุเรียนเลยก็เป็นไปได้

นับเป็นผลงานของคนไทยที่น่าภาคภูมิใจ อีกทั้งเป็นสมาร์ทเทคโนโลยีที่ราคาไม่สูง ขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่ายรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง เป็นประโยชน์ต่อชาวสวนและการส่งออกทุเรียนของไทย

ที่มา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1959#35279
นานาสาระเรื่องเกษตร

-------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©