-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 มี.ค. .. * ทุเรียนนอกฤดู
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 มี.ค. .. * ทุเรียนนอกฤดู
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 มี.ค. .. * ทุเรียนนอกฤดู

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 01/03/2022 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 มี.ค. .. * ทุเรียนนอกฤดู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 มี.ค.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

ผู้สนับสนุนรายการ :
***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 5 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ....


* ส.ค.ส. ต้อนรับปีใหม่ ....
ขาย !
.... ซื้อปุ๋ยไซส์ใหญ่ขนาด 5 ล. แถม ไซส์เล็ก 1 ลิตร ...
ขาย ! .... ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....เทศกาลปีใหม่ ของขวัญที่คนรับภูมิใจ ได้ไปแล้วเก็บไว้นาน นานจนชั่วชีวิตก็ว่าได้ นั่นคือ หนังสือ ที่หน้าปกหนังสือเขียนลายเซ็นคนให้ไว้ คนที่ได้รับ ทุกครั้งที่หยิบหนังสือขึ้นมาเห็นลายเซ็นต์ จะยิ้ม ภูมิใจ แน่นอน

โชว์ ! .... หม้อปุ๋ยหน้าโซน
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
แจก ! .... ปฏิทินรูปพระ ขนาดใหญ่ติดผนัง 6 แผ่น 12 เดือน


*********************************************************
*********************************************************

จาก : (089) 627-01xx
ข้อความ :อยากให้ลุงพูดประสบการณ์ตรงส่งเสริมสวนทุเรียน

จาก : (063) 517-93xx
ข้อความ : ขอสูตรทุเรียนนอกฤดูครับ

จาก : (098) 721-69xx
ข้อความ : ขอสูตรบำรุงทุเรียนหมอนทองให้ออกดอกติดผลตลอดปี :
ตอบ : -

บ่น :
ภารกิจส่งเสริมการเกษตรด้านพืชอย่างเดียวที่รายการ “สีสันชีวิตไทย” พูด/เขียน มากที่สุด คือเรื่อง นาข้าว. ทุเรียน. ตัวอย่าง เรื่องทุเรียนจาก หนังสือ “ซีวิด ปิ้นปั๊บ” ต้นฉบับอยู่ในเน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ไม่ได้พิมพ์เป็นรูปเล่มเพราะธุรกิจขายสิ่งพิมพ์ถึงยุคเสื่อม

สิ่งพิมพ์เสมือน “คัมภีร์” อยู่ในบ้าน เก็บไว้ได้ถึงลูกหลานเหลนโหลน .... คนไทยไม่อ่านหนังสือ คนไทยไม่อ่านหนังสือ เรื่องนี้จริง แต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังมีบางส่วนแม้จะส่วนน้อย ยินดีอ่านหนังสือ ปัญหาจริงๆก็คือ มีหนังสือให้เขาอ่านมั้ย....

เวปเกษตรลุงคิมดอทคอม เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันนี้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 85,121,929 ครั้ง โดยเฉพาะกระทู้ “นานาสาระเรื่องเกษตร” ....
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6113&sid=fe49beae38ff9624c6f9504cf17be4b7...... กระทู้นี้มีคนเข้ามาอ่านแล้ว 32,545 ครั้ง


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

อ้างอิง :
หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ
ประสบการณ์ตรง :
134. ทุเรียนนนท์ :

ร.ต.ต.สุชิน แห่ง สน.พระราชวัง ทำสวนทุเรียนที่บ้านเกิดย่านบางกรวย นนทบุรี มีโอกาสพูดกับ ผู้พันคิม ในกองคาราวานที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ว่าด้วยเรื่อง “ทุเรียนทุเรียนทุเรียน” ตามประสาตำรวจทหาร ว่า....

ฉาก 1 :
ผู้หมวด :
ผู้พันครับ ก้านยาวบางกรวย ได้ต้นละ 10 ลูกก็บุญโขแล้ว
ผู้พัน : 10 ลูกเอง เอาไหม 100 ลูก ต้นละ 100 ลูกนะ ลูกโคนลูกยอดพูเต็มด้วย

ผู้หมวด : (หัวเราะในแววตา) ได้ก็ดีน่ะซีครับ
ผู้พัน : ผมรู้แล้วว่าชาวสวนเล่นทุเรียนยังไง อัดแต่สูตรเสมอ ธาตุรองธาตุเสริมฮอร์โมนไม่เคยให้

ผู้หมวด : (แววตาแสดงความสนใจขึ้นมาทันที) ทำยังไงครับ ?
ผู้พัน : เอางี้นะผู้หมวด ตอนนี้ทุเรียนบนต้นลูกขนาดไข่ไก่ กำลังดีเลย ไม่ใช่แค่ก้านยาวนะ หมอนทอง ชะนี กำปั่น ทุกพันธุ์ในบางกรวยนี่แหละ

ผู้หมวด : (ล้วงสมุดโน้ตออกมาเตรียมจด ตอบเสียงสั่นๆ) ครับ ?
ผู้พัน : (ขยับท่านั่ง เตรียมร่ายยาว) เอาทางดินก่อนนะ วันนี้ใส่ได้เลย ซื้อที่กองคาราวานี่แหละ .... ใส่กระดูกป่น หว่านให้ทั่วทรงพุ่มบางๆ ใส่มากเปลืองเปล่าๆ หาหญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมหนาหน้าดินๆ ช่วยรักษาความชื้นหน้าดิน แบบนี้รากชอบ .... เสร็จแล้วหว่านปุ๋ย 21-7-14 ให้ต้นละ 1 กก. หว่านบางๆให้ทั่วเขตทรงพุ่ม เน้นชายพุ่มมากๆหน่อยดี เพราะปลายรากดูดสารอาหารของเขาอยู่ที่นั่น หว่านปุ๋ยแล้วรดตามด้วยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 ใช้ 1 ล./10 ต้น ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ กะให้พอต่อ 10 ต้นก็แล้วกัน อันนี้เพื่อเอาสารอาหารกับจุลินทรีย์ในน้ำหมักช่วยบำรุงดิน .... การให้ปุ๋ยทุเรียน กะแบ่งช่วงเวลาให้ดีๆ แบ่งเป็น 4 รอบ ห่างกันรอบละ 1 เดือน รอบแรกให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง +21-7-14 ไปแล้ว รอบที่ 2 กับรอน 3 ให้แต่ 21-7-14 อย่างเดียว น้ำหมักฯไม่ต้อง จนกระทั่งรอบที่ 4 เดือนสุดท้ายของอายุผลบนต้นก็ให้ใส่ 13-13-21 เพื่อเร่งหวาน....สรุปก็คือ ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงครั้งแรกรอบเดียว รอบ 2 รอบ 3 ใส่ 21-7-14 เดี่ยวๆ จนถึงเดือนสุดท้ายก็ให้ 13-13-21 เดี่ยวๆเหมือนกัน .... ยากไหมเนี่้ย

ผู้หมวด : (ยิ้ม ก้มหน้าก้มตาจด อ่านซ้ำดังๆเหมือนทบทวน) ทางใบละครับ
ผู้พัน : ต่อเลยเหรอ ด้ายยย.... ทางใบเอาน้ำมา 200 ล.นะ ใส้น้ำส้มสายชูในครัวลงไปก่อน 200 ซีซี. คนให้เข้ากันดีๆ แล้วใส่น้ำดำไบโออิ 100 ซีซี. ตามลงไป คนให้เข้ากันดีๆอีก แล้วใส่น้ำเขียวยููเรก้าตาม 100 ซีซี. คนให้เข้ากันดี ฉีดทางใบได้เลย ฉีดให้เปียกใบทั่วๆทรงพุ่ม สูตรนี้ให้ 10 วัน/ครั้ง ให้น้ำดำ + น้ำเขียว 2 ครั้งแล้ว ให้น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 200 ซีซี. เป็นครบสูตร ให้แบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงเก็บเกี่ยวได้เลย

สรุป.ให้ ไบโออิน้ำดำ+ยูเรก้าน้ำเขียว 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ สำหรับทุเรียนห่างกันรอบละ 7 วัน ทุกครั้งที่ให้ +สารสมุนไพรรวมไปด้วยก็ได้ จะได้ไม่เสียเที่ยว

ผู้หมวด : ปุ๋ยเร่งหวานทางใบ ไม่ให้เหรอครับ ?
ผู้พัน : (อืมมม์ แสดงว่ามีพื้นฐานเรื่องปุ๋ยอยู่เหมือนกัน) เร่งหวานทางใบ ให้ก็ได้ไม่ให้ก็ได้ ทางใบไม่ได้ให้ ให้แต่ 13-13-21 ทางรากอย่างเดียวก็พอ แต่ถ้าจะให้เร่งหวานทางใบก็ให้ 0-21-74 ตัวเดียวเดี่ยวๆ ละลายน้ำให้ทางใบไปเลย ระวังนะ พูดแล้วจะว่าคุย ทุเรียนจะหวานจนแสบคอกินไม่ได้ แถมทางใบที่ให้คราวนี้ก้านยาวจะลูกใหญ่ เตะตาโดนใจคนซื้อ ....

ที่จริงไม้ผลทุกตัวที่ไร่กล้อมแกล้มไม่เคยให้ปุ๋ยหวานเลย ทั้งทางรากทางใบ รสชาติยังดีได้เรียกว่า รสจัดจ้าน อันนี้เป็นผลมาจาก ธาตุรอง/ธาตุเสริม กับ แคลเซียม โบรอน ที่ให้ประจำนั่นแหละ ทุกอย่างดีเอง

ผู้หมวด : ก้านยาวลูกใหญ่ขายไม่ค่อยออกนะครับ
ผู้พัน : เฮ่ยยยย ไม่ได้ใหญ่ขนาดหมอนทองหรอกนะ อย่าดีก็ใหญ่กว่าไซส์มาตรฐานสายพันธุ์ 20-30% เท่านั้น เรียกว่า “ใหญ่กว่าเป็นต่อ” ไงล่ะ แต่ที่แน่ๆ ลูกยอดไม่เป็นพูหลอก เปลือกบาง เมล็ดเล็ก เนื้อมาก สีดี กลิ่นรสจัดจ้าน แล้วต้นก็จะไม่โทรมสำหรับเอาผลรุ่นหน้าด้วย

ทบทวนรายละเอียดการปฎิบัติ กับซักซ้อมทำความเข้าใจให้รู้จักกับสารอาหารต่างๆที่ต้องให้ทั้งทางใบทางราก จนแน่ใจ กับกำชับว่า โทรมารายงานผลบ่อยๆเพื่อกันพลาด หรือแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิด

วันนี้นผู้หมวดตำรวจซื้ออะไรต่อมิอะไรสำหรับทุเรียน 100 ต่้นเต็มคันรถ บอกว่าซื้อครั้งเดียวไปเลย เพราะถึงอย่างไรก็ต้องใช้อยู่แล้ว .... 4-5 เดือนผ่านไป หลังเสร็จงาน “มหกรรมทุเรียนนนท์” ผู้หมวดตำรวจส่งข่าว

ผู้หมวด : ผู้พันครับ สุดยอดครับ ผมเอาทุเรียนไปฝากไว้ที่ร้านลูกสาว ได้รับหรือยังครับ
ผู้พัน : ขอบคุณมากผู้หมวด ได้รับแล่้ว อร่อยสไตล์ก้านยาวจริงๆ

ผู้หมวด : ยอมรับครับ “ใหญ่กว่าเป็นต่อ” จริงๆ ปกติก้ายาวลูกละโลกว่าๆเท่านั้น ปีนี้ผมได้ไซส์ 2 โลกว่า กว่า 50% ที่เหลือเป็นไซส์ใหญ่กับไซส์รอง ไซส์ฟุตบาธแทบไม่มีเลย ลูกยอดไม่เป็นพูหลอกด้วย
ผู้พัน : O.K. แล้วแม่บ้านว่าไงบ้างล่ะ

ผู้หมวด : หน้าบานซิครับ เขายังสั่งผมเลยว่า อย่าไปบอกใครว่าใช้ปุ๋ยผู้พัน
ผู้พัน : งั้นเหรอ บอกแม่บ้านไปเลย ถึงคุณไม่บอก ผมก็บอกทางอากาศอยู่แล้ว...ทุเรียนในงานนนท์ปีนี้โลเท่าไหร่น่ะ ?

ผู้หมวด : ของผมขายโลละ 500 เอง สวนข้างบ้านเขาบ่นผมทุกวันเลย หาว่าผมดั๊มราคาลง เขาขายโลละ 1,000
ผู้พัน : อืมมม เราก็น่าจะเอามั่งนะ นี่คือโอกาสของเกษตรกร ทุเรียนนนท์ลูกละ 10,000 เขาก็กล้าซื้อไม่ใช่เหรอ ?

ผู้หมวด : ก็อยากเอาอยู่หรอกครับ แต่ผมเหมือนผู้พันตรงที่ โหดไม่พอ น่ะครับ
ผู้พัน : เอางั้นนะ.....

ฉาก 2 :
ปี 54 น้ำท่วมใหญ่ (ใหญ่ครึ่งประเทศ) ลึก (บางกรวยน้ำถึงเอว) ทุเรียนผู้หมวดสุชินฯ ทั้ง 100 ต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทำการตรวจสอบประวัติต้นแล้วเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงเพื่อเอาผลผลิตรุ่นหน้า เริ่มจากขั้นตอนที่ 1 ฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา งานดำเนินไปเรื่อยตามสเต็ปจนได้ใบอ่อนชุดที่ 2 และแล้วผลงานของ ดร.ปลอดประสบการณ์ฯ ก็บังเกิด

ผู้หมวด : ผู้พันครับ ตอนนี้บางกรวยน้ำท่วมเอวแล้วครับ
ผู้พัน : ทำไมล่ะ แล้วบางอื่นเขาแค่ตาตุ่มรึไง ?

ผู้หมวด : มันก็เอวเหมือนกันแหละครับ ทุเรียนผมจะตายไหมครับ ?
ผู้พัน : ดูข่าว ทีวี. ของบางอื่นเขายืนแช่น้ำตายกันหมดแล้วไม่ใช่เหรอ ?

ผู้หมวด : ใช่ครับ รอบสวนผมแค่อาทิตย์เดียวตายหมด เหลือสวนผมสวนเดียว จะรอดไหมครับ ?
ผู้พัน : (นึกใจใน ทุเรียนทนน้ำท่วมขังค้างนานได้ประมาณ 1 เดือน) เอาวะผู้หมวด รอดคือรอด ตายคือตาย ถ้าวันนี้ยังรอดมันก็ต้องลุ้น.... เอางี้ ไบโออิ + กลูโคส ให้ 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียมโบรอน + กลูโคส 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ลงทุนพายเรือลงน้ำไปให้เลย

ผู้หมวด : แล้วจะรอดไหมครับ ?
ผู้พัน : ไม่รู้ว่ะ ผมไม่ได้เป็นทุเรียนนี่หว่า....
2 เดือนผ่านไปท่ามกลางข่าวน้ำท่วมสวนบางกรวย ปากเกร็ด เมืองนนท์ ศาลายา นครไชยศรี ไม้ผลยืนต้นทุกชนิดพร้อมใจกันตายตายร้อยเรียบ ผู้หมวดสุชินฯ ส่งข่าว....

ผู้หมวด : (น้ำเสียงดีใจ มั่นใจ) รอดครับ ผู้พันครับรอด ทุเรียนทุกต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่กลางน้ำเลย ใบใหญ่สวยมาก ผมว่ารอดครับ
ผู้พัน : (นี่ไง อานิสง แม็กเนเซียม-สังกะสี-แคลเซียม โบรอน-กลูโคส) ตอนนี้น้ำระดับไหน ?

ผู้หมวด : เอวเท่าเดิมครับ
ผู้พัน : อืมมม ถ้างั้น 50/50 ชินฯ ปกติทุกเรียนทนน้ำท่วมขังค้างนานได้แค่ 10-15 วันเท่านั้น ดูต่อไปก่อนวะ

ผู้หมวด : (เสียงอ่อย) ถ้าไม่รอดแล้วปีหน้าจะเอาทุเรียนที่ไหนมาขายครับ ?
ผู้พัน : ก็เอาจากสวนข้างๆซี่

ผู้หมวด : สวนข้างๆก็ตายเหมือนกันครับ
ผู้พัน : เขาตายเราก็ตาย เริ่มต้นใหม่ เริ่มพร้อมๆกัน เดี๋ยวก็ได้ลูกพร้อมๆกัน ถึงวันนั้นทุเรียนใครจะเหนือกว่าใคร ..... เฮ่ยยย งานนี้ สู้ว้อยยยย ชินฯ

ผู้หมวด : ครับผู้พัน สู้ครับ

3 เดือนเต็ม ท่ามกลางเสียงให้สัมภาษณ์ ดร.ปลอดประสบการณ์ฯ มาแนวใหม่ ปีหน้าไม่ท่วมปีหน้าไม่ท่วม
ผู้หมวด : ผู้พันครับ ทุเรียนยืนต้นตายหมดทั้งสวนเลยครับ
ผู้พัน : อืมมม สิริรวมเวลาแช่น้ำระดับเอว ตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ ได้กี่วันผู้หมวด

ผู้หมวด : กว่า 3 เดือนครับ ผมว่าที่มันทนอยู่ได้เพราะน้ำดำนั่นแหละ ข้างบ้านเขายังงงเลยครับ
ผู้พัน : อือว่ะ นี่ถ้าท่วมแค่ 2 เดือน รอดนะเนี่ย

ผู้หมวด : ผมว่าจะไม่เอาทุเรียนอีกแล้วนะครับ
ผู้พัน : เฮ่ยยย เอาทุเรียนนี่แหละ ถ้าจะทำสวนไม้ผล เลือกผลไม้ที่ราคาต่อกิโลกรัมสูงๆ เกรด เอ. จัมโบ้. ยี่ห้อทุเรียนนนท์การันตีตัวเองอยู่แล้ว

ผู้หมวด : ตกลงครับ งั้นผมสั่งต้นพันธุ์จากสวนคุณวันเพ็ญฯ เลยนะครับ
ผู้พัน : ดี.... แล้วจะช่วยพูดให้

135. ทุเรียนจันท์ :
คุณ EDDY (061) 334-03xx สมช.จันทบุรี อดีตเคยทำงานที่เท็กซัส รู้จักลุงคิมในอินเตอร์เน็ตบอก ให้ลูกชายบำรุงทุเรียนตามแนวในเน็ตเกษตรลุงคิมดอทคอม. ปีแรกที่ทำตามเน็ต มาซื้อและรับปุ๋ย ทั้งทางใบทางรากครบสูตรที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล ได้ปุ๋ยไปแล้วใช้ตามคำแนะนำในเน็ตเป๊ะๆ ปีนั้นปีแรกก็ได้ผลเกินคาด ชนิดที่ตั้งแต่ทำมาไม่เคยได้ผลผลิตสูง ทั้งปริมาณ คุณภาพ และต้น ทุนต่ำขนาดนี้มาก่อน ปีที่สองทำซ้ำ สั่งซื้อปุ๋ยสูตรเดิมจากชมรมฯ ก็ได้ผลเช่นเคย

2 ปี 2 รอบการผลิตของสวนของคุณ EDDY ข้างบ้าน สวนติดกัน ชอบพอกัน รู้และเห็นกับตากระทั่งกินกับปากมาตั้งแต่แรก กอร์ปกับได้รู้ข้อมูลทางวิชาการจากเน็ตฯ จากปากเพื่อนบ้านที่เล่าสู่ฟัง รู้แล้ว “คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ” สู่กันระหว่างเพื่อนบ้านกับสวนข้างบ้าน บังเกิดเป็นความเชื่อมั่นอย่าง เป็นเหตุเป็นผลขึ้นมาได้ ปีนี้สวนข้างบ้านจึงขอร่วมด้วย

ขึ้นปีที่ 3 ที่รู้จักกัน (ทางเน็ต) คุณ EDDY กลับมาเมืองไทยก็เลยมาทำความรู้จักตัวจริงเสียงจริงกันที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล แม้เพิ่งปะหน้ากันครั้งแรก แต่การสนทนาปราศรัยราบ รื่นเหมือนร้องเพลงเดียวกัน เพราะความความสำเร็จในสวนเป็นตัวเชื่อมประสานนั่นเอง

และขึ้นปีที่ 3 (2560) ของการใช้ปุ๋ย RKK คุณ EDDY พร้อมกับ สมช.จันทบุรี สวนติดกันร่วมมารับปุ๋ยสูตรตามสั่งที่บ้านพุทธมณฑลสาย 3 ด้วย เหมือนเพื่อยืนยันตัวตนลุงคิมจริงๆ

สวนคุณ EDDY ประจักษ์ผลการใช้มาแล้ว 3 รุ่น 3 รอบการผลิต กับสวนติดกันประจักษ์ผลชัดเจน 1 รุ่น 1 รอบการผลิต

ขึ้นปีที่ 4 (พ.ค. 2561) ราว 2-3 อาทิตย์ที่แล้ว คุณ EDDY กับ สมช.เก่า สวนติดกันเจ้าเดิม รวม 2 เจ้าหรือ 2 สวน สั่งซื้อปุ๋ย RKK ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10, 8-24-24, 21-7-14, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, แคล เซียมโบรอน. แบบซื้อครั้งเดียวใช้ได้ตลอดรอบการผลิตของปี 61 เลย ....

ปีนี้ปีที่ 4 ของการใช้ปุ๋ย RKK ทั้ง 2 สวน +ข้างบ้านฝากซื้ออีกเจ้าละ 2 สวน จึงรวมเป็น 6 สวน มาซื้อปุ๋ยตรงที่ RKK …. สูตรเดียวกันเดี๊ยะ ทุกสูตร

กรณีศึกษา 1 :
- สอบถามประสบการณ์การใช้ปุ๋ยที่ซื้อจากร้านขายปุ๋ย (เฉพาะปุ๋ยอย่างเดียว) ของทั้ง 2 สวนในแต่ละรุ่นการผลิต (สอบถาม-ซักถาม-ยืนยัน-นอนยัน-นั่งยัน-ตีลังกายัน-ตอกย้ำ-เน้นย้ำ เอาจะความจริงเพื่อเอามาปรับของเรา) คำตอบคือ เมื่อก่อนเคยซื้อปุ๋ยจากร้านค้า 200,000-250,000 /รุ่น /ปี /สวน ประจำเป็นเยี่ยงนี้มานาน กระทั่งเกิดหนี้เกิดสินเต็มบ้านเต็มเมืองเต็มประเทศ

- มาปีนี้ ทั้ง 6 สวนซื้อปุ๋ย RKK ครบสูตรรวมกันเป็นเงิน 130,000 /รุ่น /ปี /6 สวน หรือ = 20,000 (+) /รุ่น /ปี /สวน นั่นเอง

- ไปปีหน้าปีถัดไป ถ้าทั้ง 6 สวนทำเอง ตามสูตรในหนังสือหัวใจเกษตรไท ต้นทุนย่อมลดลงอีกแน่นอน

กรณีศึกษา 2 :
* ไบโออิ. บำรุงต้น สร้างความสมบูรณ์สะสม .... แม็กเนเซียม.สร้างคลอโรฟีลด์ คลอโรฟีลด์.สังเคราะห์อาหาร, สังกะสี.สร้างแป้ง แป้งคือเนื้อของผลและน้ำตาล .... ต้นได้รับแป้งและน้ำตาล สม่ำเสมอตลอดปี ทั้งช่วงมีผลและไม่มีผลบนต้น ถึงฤดูกาลออกดอกก็จะออกดี .... กรณีหมอนทองกลายเป็นทะวายออกดอกติดผลตลอดปี

* ยูเรก้า. บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ .... เปลือกบาง ขนาดผลใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ กรณีเมล็ดเล็กลีบ ลัษณะอาการที่เมล็ดเล็กลงกับขนาดผลที่ใหญ่ขึ้น คือ เนื้อของผลมากขึ้นนั่นเอง

* แคลเซียม โบรอน. สร้างคุณภาพ .... สร้าง กลิ่น/รส ป้องกันผลแตกผลร่วง
* ทุเรียน ก้านยาว-ชะนี-นกกระจิบ-พวงมณี เมล็ดเต็ม กลายเป็นเมล็ดลีบเหมือหมอนทอง

* บำรุงทางใบ ช่วงมีผล : ให้ทุก 7-10 วัน 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ .... หาโอกาสฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อ “กันก่อนแก้”

* บำรุงทางใบ ช่วงไม่มีผล : ให้ทุก 15-20 วัน 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ .... ในรอบ 2 เดือน หาโอกาสหรือช่วงจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1 รอบ .... หาโอกาสฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อ “กันก่อนแก้”

* บำรุงทางราก : ให้ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะพืช เดือนละ 1 ครั้ง ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 3 เดือน/ครั้ง (ให้ปุ๋ยเคมีเดี่ยวๆ 2 รอบ ให้น้ำหมักฯ +ปุ๋ยเคมี 1 รอบ)

136. ทุเรียนเขาคิชกูฎ :
สวนทุเรียนหมอนทองที่ อ.เขาคิฌกูฏ จ.จันทบุรี อายุต้น 5-10 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เตรียมดินโดยการใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่ ทุก 6 เดือน คลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า หนาประมาณประมาณ 50 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ปีละครั้ง ....

บำรุงต้นตามขั้นตอนทุกประการ ปรากฏว่าต้นสมบูรณ์มากเมื่อแหวกเศษพืชคลุมโคนต้นออกดู พบว่ามีรากจำนวนมากชอนไชขึ้นจากพื้นดินมาอยู่ในเศษพืชแห้งนั้น รากอวบใหญ่ยาวสวยมาก ....

หลังจากให้ผลผลิตรุ่นนั้นแล้ว หมอนทองต้นนั้นออกดอกต่อ แล้วก็ออกต่อเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุเรียนทะวายออกดอกติดผลไม่มีรุ่น ทำให้การบำรุงยุ่งยากมาก จึงตัดสินใจ “ลุย” บำรุงด้วยสูตร “สะสมตาดอก-บำรุงผล-ฮอร์โมนน้ำดำ-สาหร่าย + ไคติน ไคโตซาน + แคลเซียม โบรอน” ทั้ง 4 สูตร สลับกันสูตรละอาทิตย์ (ตอนนั้นยังไม่มีฮอร์โมนไข่) ....

ผลจากการบำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” ทำให้ได้ผลขนาดใหญ่กว่า 8-10 กก. และไม่สามารถบำรุงด้วยสูตร “ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว หรือ เร่งหวาน” ได้ ทุเรียนทำท่าจะไม่มีคุณภาพ

แนวทางแก้ไข คือ ขายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ คนซื้อนอกจากเหมารุ่นนี้หมดสวนแล้วยังจองรุ่นหน้าและรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย

- การทำให้ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดอกดอกติดลูกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้นั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุง ทั้งทางใบทางราก สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง สร้างความสมบูรณ์สะสมตลอดทั้งปี

- ทุเรียนก้านยาว บางกรวย นนทบุรี ของ ร.ต.ท.สุชินฯ สน.พระราชวัง ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 102 ผลต่อต้น ไซส์ลูกละ 2 กก. ราคาหน้าสวน กก.ละ 500 ไม่พอขาย ....

สองพ่อลูก ปากเกร็ด นนทบุรี ไปหาที่ไร่กล้อมแกล้ม ยืนยันทำตามแนวที่แนะนำ คือ ทำแบบของผู้หมวดสุชินฯ ก้านยาวต้นเดียวก็ได้กว่า 100 ลูกเหมือนกัน ....

การใช้สารพาโคบูตราโซล (paclobutrazol) :
ความเข้มข้น 0, 250, 500 และ 750 ppm. ฉีดผ่านให้ทางใบ แก่ทุเรียนพันธุ์ชะนี อายุ 7-8 ปี ที่ตำบลชึ้งล่าง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้ทำการฉีดพ่นให้แก่ทุเรียน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เพื่อชักนำให้ทุเรียนออกดอกก่อนฤดูปกติ เมื่อทุเรียนแทงช่อดอกอยู่ในระยะเหยียดตีนหนู หรือระยะตาปู ทำการฉีดพ่นจิบเบอเรลลิค แอซิค (GA) ความเข้มข้น 5 ppm. ให้กับต้นทุเรียนที่ได้รับการฉีดพ่น สารพาโคลบูตราโซล ทุกต้น ผลปรากฎว่าพาโคบูตราโซลที่ความเข้มข้น 750 ppm. ตามด้วยการฉีดพ่นจิบเบอเรลลิน ความเข้มข้น 5 ppm. สามารถชักนำให้ทุเรียนพันธุ์ชะนี ออกดอกก่อนฤดู 72 วัน มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกก่อนฤดู 93% ดอกและผลมีการพัฒนาอย่างปกติ ให้ผลผลิตก่อนฤดูสูงสุด (97.60 กิโลกรัมต่อต้น) โดยมีคุณภาพผลผลิต ไม่เปลี่ยนแปลง และมีรายได้สุทธิ ต่อต้นสูงที่สุด (4,626.69 บาทต่อต้น )

การผลิตทุเรียนทวาย :
1. ราดสารแพคโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา 20-80 กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอยออกดอกตามกิ่งประเภทต่างๆ ทั้งปี

2. เลือกกิ่งเพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ
3. จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอกผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง

4. ใช้สารแพคโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cyto- kinin) อยู่ด้วย 2-3 ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง

การผลิตทุเรียนล่า :
การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุกในระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน ก.ค.- ส.ค. (ภาคใต้)

วิธีการผลิตทุเรียนล่า :
1. ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ
2. ทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 ที่ออกตามมาในระยะหลัง

3. เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียนในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช

ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28

การใช้ไฟ ทำให้ทุเรียนออกนอกฤดู :
- ช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว กับ +เพิ่ม 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- จากนั้น 20-25 วัน ถ้าไม่มี่ฝนตก ให้สารพาโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 กก./น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งนอกและในทรงพุ่ม

- ฉีดสารแล้ว 1 เดือน ให้เปิดหน้าดินโคนต้นจนเห็นรากฝอยที่ผิวดิน นำใบไม้แห้งสุมกองไว้รอบนอกโคนต้น ที่ปลายเขตทรงพุ่ม (เขตทรงพุ่มอยู่ที่ปลายรากฝอย ล้อมรอบต้น หรือเส้นดิ่งตั้งฉาก จากปลายกิ่งลงมาที่พื้น) ให้เป็นควัน (ไม่มีเปลวไฟ ป้องกันใบเหี่ยว) พุ่งขึ้นหาทรงพุ่มจนทั่ว นาน 10-15 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3-5 วัน

- ระหว่างสุมควันให้งดน้ำ กระทั่งสุมควันครั้งสุดท้ายแล้วให้น้ำต่อประมาณ 5 วัน
- งดน้ำครบ 5 วัน แล้วให้ปุ๋ยสูตรกระตุ้นตาดอก
- ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สะสมสูง ประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะมีตาดอกแทงขึ้นมา

บำรุงทุเรียนหมอนทอง (ให้ออกดอกติดผลตลอดปี) :
ช่วงมีผลบนต้น (บำรุงต้น, สะสมตาดอก, เปิดตาดอก. บำรุงดอก, บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ)

ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน / ครั้ง

ทางราก : ใส่ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง ....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล. /ไร่) +8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล. /ไร่) +21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่)

หมายเหตุ :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ช่วยให้การทำงานได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน

- การให้ปุ๋ยทางใบบ่อยๆ สม่ำเสมอ นอกจากแก้ปัญหา ลูกยอด-พูหลอก ได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์สะสมแก่ต้นทุเรียนอีกด้วย

- ดินต้องมาก่อน ใส่อินทรีย์วัตถุ, สารปรับปรุงบำรุงดิน, จุลินทรีย์, สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้งใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ถึงหัวเข่า ระบบรากจะขึ้นมาอยู่ในเศษซากอินทรีย์ เพราะมีทั้งสารอาหาร อินทรีย์ เคมี และอากาศ เป็นรากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมากๆ

- เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน หมายถึง สารอาหารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินไม่เพียงต่อความต้องการของไม้ใหญ่อย่างทุเรียน แก้ไขด้วยการใส่เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี)

- หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ ลำต้น/โคนต้น/ท้องกิ่ง ออกเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แต่เลี้ยงไว้กิ่งด้านบนของกิ่งที่มีลูก เพื่อให้สังเคราะห์อาหารเลี้ยงลูกกลางกิ่ง

- หมั่นตัดแต่ง ช่อดอก (เริ่มออกดอก หางแย้ กำไร), ผลเล็กที่มากเกิน, ผลที่รูปทรงไม่สวย, อยู่เสมอ
- ปลูกทองหลางแซมแทรกเพื่อเอารากบำรุงทุเรียน ควบคุมทรงพุ่มทองหลางไม่ให้รบกวนแสงแดดต่อทุเรียน

- ทุเรียนอ่อนแอต่อโรค “ไฟธอปเทอร์ร่า” มาก แนะนำว่า ให้จุลินทรีย์กลุ่ม “ไตรโคเดอร์ม่า” บ้าง 2-3 เดือน / ครั้ง ให้ไว้ตั้งแต่ดินยังไม่เป็นกรดเพื่อป้องกัน เพราะถ้าดินเป็นกรดจัดจนเกิดไฟธอปเทอร์ร่าแล้ว ไตรโคเดอร์ม่าจะเอาไม่อยู่ เพราะไตรโคเดอร์ม่าอยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด

---------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©