-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 มี.ค. * ถั่วฝักยาวศัตรูมาก
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 มี.ค. * ถั่วฝักยาวศัตรูมาก
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 มี.ค. * ถั่วฝักยาวศัตรูมาก

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 20/03/2022 4:58 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 มี.ค. * ถั่วฝักยาวศัตรูมาก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 มี.ค.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

ผู้สนับสนุนรายการ วิทยุ/เน็ต :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 21 มี.ค. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.. .แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 26 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก ....งานนี้


.... ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....

แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
แจก ! .... ปฏิทินรูปพระ ขนาดใหญ่ติดผนัง 6 แผ่น 12 เดือน


*********************************************************
*********************************************************

จาก : (063) 417-93xx
ข้อความ : ถั่ว ถั่ว ถั่วฝักยาวคร้าบบบ

จาก : (088) 528-91xx
ข้อความ : ลุง ปลูกถั่วฝักยาวพันธุ์อะไรคะ

จาก : (088) 528-91xx
ข้อความ : ถั่วฝักยาวศัตรูมาก ล่มทั้งแปลง บริหารจัดการ ยังไงครับ
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จาก : (089) 783-01xx
ข้อความ : ถั่วเนื้อฝักคด แม่ค้าไม่ชอบ แก้ไขได้ไหม
ตอบ :

- ถั่วฝักยาว "พันธุ์ถั่วเนื้อ" เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ฝักยาวมากสุด 30-40 ซม. ถ้าบำรุงแบบ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม-สารเคมียาฆ่าแมลง ขนาดฝักจะ เล็ก-สั้น-คดงอ-หางหนูยาว แต่ถ้าบำรุงแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-สารสมุนไพร ขนาดฝักจะ ใหญ่-ตรง-หางหนูสั้น เนื้อมาก และรสชาดดีกว่า กินสดๆจะออกรสหวานชัดเจน

- ถั่วฝักยาว "พันธุ์ถั่วหลา" เป็นพันธุ์ลูกผสมใหม่ ฝักยาว 80 ซม.- 1 ม.กว่า นิยมบำรุงแบบ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม-สารเคมียาฆ่าแมลง แม้จะได้รูปทรงฝักตามสายพันธุ์ แต่เนื้อน้อย รสชาดอร่อยน้อยกว่าพันธุ์เนื้อ

- ระหว่างถั่วพันธุ์เนื้อไร่กล้อมแกล้ม (บำรุงสไตล์ไร่กล้อมแกล้ม) กับ ถั่วพันธุ์เนื้อบ้านข้างๆ อยู่ติดกัน (บำรุงตามประเพณี) .... แปลงของไร่กล้อมแกล้มเก็บได้นานกว่าแปลงบ้านข้างๆ นานนับเดือน .... สมช.ทุกคนที่ไปไร่กล้อมแกล้มเด็ดกินสดๆจากต้น ติดอกติดใจตามๆกัน จนต้องเก็บห่อใบตองเป็นของฝากให้เอากลับไปผัดไข่กินกับน้ำพริกนรก (พันท้ายนรสิงห์) อร่อย....

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อนดินต้องมาก่อนดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ดินดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์....ใส่ขี้วัวขี้ไก่ เศษซากวัชพืชในแปลง คลุกเคล้าให้กันดีกับเนื้อดิน ยกแปลงเป็นสันลูกฟูก กว้าง 1 ม. ยาวตลอดแปลง คลุมสันแปลงด้วยเศษหญ้าแห้งหนาๆ แล้วรดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ปล่อยทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ กระทั่งมีวัชพืชขึ้นเริ่มงอกขึ้นมาแล้ว แสดงว่าโครงสร้างดิน (สารอาหาร จุลินทรีย์ พีเอช. น้ำอากาศ) พร้อมปลูกได้แล้ว ถ้ามีวัชพืชขึ้นอีก ใช้วิธีถอนด้วยมือ

เตรียมเมล็ด :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน "น้ำ 1 ล.+ สหประชาชาติ 1 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 1 ซีซี." นาน 3-4 ชม. นำไปหยอดในหลุมปลูกจริงได้เลย หลุมละ 2 เมล็ด....เปอร์เซ็นต์งอก 100%

เตรียมค้าง :
เหนือแปลงตรงดิ่งตั้งฉาก ใช้ลวดราวตากผ้าเล็กๆ (ของฟรี) ขึงเป็นราวตากผ้า สูงจากพื้นราว 2 ม. มีเสาไม้หลักปักรับทุกระยะ 3-4 ม. ป้องกันตกท้องช้าง ลวดราวตากผ้าตัวนี้นอกจากสำหรับรับน้ำหนักท่อ พีอี.สปริงเกอร์แล้ว ยังใช้ทำค้างกระยาจก...(ค้างถั่วฝักยาวไร่กล้อมแกล้ม ต้นทุนไร่ละ 35 บาท ที่ไหนๆ เขาใช้ไม้รวก ใช้งานได้ 1 ปี ต้นทุนไร่ละ 3,500 บาท ถ้าใช้ไม้รวกใช้งานได้ข้ามปี ต้นทุนไร่ละ 5,000)....

ใช้เชือกปอพลาสติก 1 เส้นฉีกแบ่งเป็น 4 เส้น ปลายหนึ่งผูกที่ลวดราวตากผ้า อีกปลายหนึ่งผูกปลายไม้แทงลงดินที่โคนต้นถั่ว เนื่องจากต้นถั่วฝักยาวไม่มีมือจับ เมื่อต้นถั่วยาวสูงขึ้น ขั้นแรกให้คนช่วยจับเถาเกาะกับเชือกปอพลาสติกก่อน จับเกาะครั้งเดียวแล้วเถาจะพันเกาะเชือกปอพลาสติกขึ้นไปจนถึงลวดราวตากผ้าเอง เมื่อจับสะลิงได้แล้วเถาถั่วฝักยาวจะช่วยตัวเองตลอดอายุขัย

สังเกต :
ต้นถั่วฝักยาวสูงราว 1 ศอกแขน เริ่มขึ้นค้าง ถ้าสูงขึ้นอีก 1-2 ศอกแขนก็จะเริ่มให้ผลผลิต แต่สภาพ ณ วันนี้กำลัง "บ้าใบ" งานนี้ต้องแก้ไข....

บำรุง :
ระยะต้นเล็ก ถึง เริ่มออกดอกติดผล :

ไม่ต้องให้ปุ๋ยใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางรากหรือทางใบ เพราะต้นถั่วฝักยาวได้รับสารอาหารจากดินที่เตรียมไว้เมื่อช่วงเตรียมดินเตรียมแปลงอย่างเพียงพอแล้ว สิ่งบอกเหตุ คือ "บ้าใบ" แสดงว่า N. มากเกิน วิธีแก้ไข คือ ให้ ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร 50 ซีซี. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังให้ครั้งสุดท้าย 5-7 วัน ดอกชุดแรกก็จะเริ่มแทงออกมาให้เห็น....ระยะต้นเล็ก ตั้งแต่โชว์ใบได้ 2-4 คู่ ต้องฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพราะถั่วฝักยาวระยะมีศัตรูพืชหลายชนิดมาก

ระยะให้ผลผลิตแล้ว :
ให้สหประชาชาติ + สมุนไพรยาน็อค 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ทุก 5-7 วัน

ศัตรูพืช :
ถั่วฝักยาวเป็นผักสวนครัวที่มีศัตรูพืชมากที่สุด ในบรรดาผักสวนครัวด้วยกัน
เพลี้ยอ่อน ........ ใช้น้ำส้มสายชู + เหล้าขาว
เพลี้ยไฟ .......... ใช้น้ำเปล่า ฉีดพ่นตอนเที่ยง แดดจัด
เพลี้ยแป้ง ......... ใช้สมุนไพรสูตรรวมมิตร + น้ำยาล้างจาน (สารจับใบ)
หนอนเจาะฯ ...... ใช้ กลอย/สะเดา/น้อยหน่า/ฟ้าทะลายโจร/บอระเพ็ด
รา ................. ใช้พริกแกง

ฉีดบ่อยๆ วันเว้นวัน วันต่อวัน ถึงจะเอาอยู่ งานแบบนี้ต้องเครื่องใช้ทุ่นแรงเท่านั้น ขืนมัวแต่สะพายถัง ลากสายยางเดินฉีดพ่นจะเอาไม่อยู่ เพราะทำไม่ทัน

สปริงเกอร์ กะเหรี่ยงลอยฟ้า : ท่อ พีอี. ขนาด 1 นิ้ว ราคาเมตรละ 3 บาท (ตลาดบ้านโป่ง) ใช้หัวสปริงเกอร์แบบพ่นฝอยละเอียด ฝังลงไปในท่อ พีอี. ทุกระยะ 1-1.20 ม. ราคาหัวละ 50 สตางค์ .... หลายคนที่มาเห็นบอกว่า หัวแบบนี้ตันง่าย ใช้งาน 3-5-7 วันก็ตันแล้ว แต่ที่ไร่กล้อมแกล้มใช้งานมาจนถึงวันนี้ 4-5 ปี ไม่เคยตันเพราะเป็นระบบล้างตัวเองได้ ที่นี่ใช้กลองเพล เอามาจากวัด ไม่ใช่กรองอิสราเอล กรองไต้หวัน ใดๆทั้งสิ้น.... ไม่ได้โม้

หมายเหตุ :
- อากาศหนาว ดอกออกมาแล้วผสมไม่ติด แก้ไขโดยปรับสูตรปุ๋ยเป็นให้ "น้ำ 20 ล. + สหประชาชาติ + เอ็นเอเอ 10 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี." ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ..... ได้ผล ดอกพรึ่บ ฝักเพี่ยบ

- ธรรมชาติของถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ ฝักคด หางหนูยาว แก้ไขด้วยการให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม แคลเซียม โบรอน" สม่ำเสมอ .... ได้ผล ฝักตรง ไม่มีหางหนู เนื้อแน่น น้ำหนักดี รสชาติดี

- ถั่วฝักยาวถือเป็นผัก 1 ใน 10 ชนิด ที่พบสารเคมีตกค่างมากที่สุด เรื่องนี้ชาวสวนเกษตรกรผู้ปลูกรู้ดี เพราะข่าวค่อนข้างโด่งดังกว้างขวาง การที่เกษตรกรผู้ปลูกไม่ยอมใช้ “สารสมุนไพร + ไอพีเอ็ม” เพราะไม่ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ยัง “ยึดติด” กับการใช้สารเคมียาฆ่าแมลงอย่างไม่มีเหตุผลอีกด้วย

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่พบว่ามีโรค-แมลงรบกวนมาก จึงมีการใช้สารเคมีเข้าไปจัดการกันมาก เมื่อมีการสุ่มสำรวจพืชผักที่มีสารพิษตกค้างในทุกๆ ปี ถั่วฝักยาวจึงเป็นพืชที่มีสารเคมีตกค้างติดอันดับ 1 ใน 10 ของตัวอย่างที่ทำการสุ่มตรวจ

https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=31&s=tblheight

ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
วันที่ 1 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 1) +สารสมุนไพร

วันที่ 2, 3, 4 (ในปฏิทิน) ..................................... เว้น
วันที่ 5 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 6, 7, 8 (ในปฏิทิน) ..................................... เว้น
วันที่ 9 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 10, 11, 12 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น

วันที่ 13 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 2) +สารสมุนไพร

วันที่ 14, 15, 16 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 17 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 18, 19, 20 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 21 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 22, 23, 24 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น

วันที่ 25 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 3) +สารสมุนไพร

วันที่ 26, 27, 28 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 29 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 30, 31, 32 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 33 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 34, 35, 36 (ในปฏิทิน) ................................. เว้น
วันที่ 38 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ

หมายเหตุ :
* ใช้สารเคมีครั้งละ 1 อย่าง ตรงกับชนิดของศัตรูพืชอย่างแท้จริง
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 1 ใช้เต็มอัตราในฉลาก
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 ใช้ครึ่งหนึ่งของครั้งแรก
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 3 ใช้ครึ่งหนึ่งของครั้ง 2
* ใช้สารเคมี 3 ครั้งแล้ว ถ้าเอาศัตรูพืชไม่อยู่ต้องพิจารณาสมการสารเคมี
* ใช้สารสมุนไพรตามอัตราการใช้ ทุกครั้งที่ใช้
* ให้ปุ๋ยทางใบร่วมด้วยเมื่อครบรอบการให้ปุ๋ย

- แต่ละรอบห่างกัน 3 วัน,
- เลือกใช้ เคมี/สารสมุนไพร ถูกต้องตามสมการ
- สารสมุนไพร ใช้ร่วม/ไปร่วม กับปุ๋ยทางใบได้
- เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง (สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย) เครื่องช่วยที่ดีที่สุด

สมการสารสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสาม

ตัวสมุนไพรผิด + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังห้า

IPM (ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน) :
- กับดักสีเหลือง ..... เพลี้ยไฟ แมลงกลางวัน
- กาวเหนียว ......... คอสฟิกซ์
- แสงไฟล่อ .......... แสงไฟสีขาว
- แสงไฟไล่ .......... แสงไฟสีส้ม สีเหลือง
- กลิ่นล่อ ............ ฟลายแอต (แมลงวันทอง)
- กลิ่นไล่ ............. ข่า ตะไคร้ ผกากรอง ยูคาลิปตัส น้ำหมักชีวภาพ
- สัตว์ศัตรู ........... มดแดงกำจัดหนอน, นกฮูกกำจัดหนู, เป็ดกำจัดหอยเชอรี่
- พืชศัตรู ............ ดาวเรือง ตระไคร้ ผักกาดแก้ว
- แสงแดด ........... โรค หนอน แมลง อยู่ไม่ได้
- เชื้อปฏิปักษ์ ........ ไตรโคเดอร์ม่า, บีเอส., บีที., เอ็นพีวี.
- อื่นๆ ................ น้ำปูนใส กำจัด แคงเคอร์, น้ำส้มสายชู+เหล้าขาว กำจัด เพลี้ยอ่อน, น้ำเปล่า กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง ราน้ำค้าง ราสนิม ราแอนแทร็คโนส

ต้นทุนการเกษตร :
- ต้นทุน ค่าปุ๋ยเคมี 30%
- ต้นทุนค่าสารเคมียาฆ่าแมลง 30%
- ต้นทุนค่าแรง 20%

นั่นคือ ต้นทุน 80% ของต้นทุนทั้งหมดของการผลิตแต่ะรุ่นแต่ละรอบ ต้นทุนเหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพแวดล้อมและสังคม

- ค่าปุ๋ยจะเพิ่มขึ้น เพราะ ดินเสียทำให้ต้นพืชไม่โต คนปลูกคิดว่าอ่อนปุ๋ย ต้องใส่เพิ่ม
- ค่าสารเคมีจะเพิ่มขึ้น เพราะ โรคแมลงดื้อยา
- ค่าแรงจะเพิ่มขึ้น เพราะ ค่าครองชีพสูง คนรับจ้างแรงงานขอเพิ่มค่าแรง

แนวทางลดต้นทุน :
- ค่าปุ๋ยเคมี ทำเอง100% ทำเองครึ่งนึงซื้อครึ่งนึง
- เลิกสารเคมีแล้วใช้สารสมุนไพร ทำเอง 100%
- ปุ๋ยเคมีทางใบ ทำเอง ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก-ทำเททิ้ง
- สารสมุนไพร ทำเอง ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก-ทำเททิ้ง

วันนี้ทำแจกไปเลย แจกให้ทั่วตำบล ถึงวันเลือกตั้ง หยุดแจก แล้วชาวบ้านจะเลือกให้คุณ....เรื่องนี้ลุงคิมเคยเจอมาแล้ว

เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย คือเครื่องมือฉีดพ่นตัวหนึ่ง เหมือนถังสะพายลากสายยางเดินฉีดพ่น แต่ประสิทธิภาพในการทำงานต่างกัน....คิดดู

ตี.5 .......... ฉีดพ่นน้ำเปล่า หรือ น้ำ+สารสมุนไพร ล้างน้ำค้างออกจากต้น ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม

10 โมง ..... ฉีดพ่น ปุ๋ย+ฮอร์โมน บำรุงต้นพืช
เที่ยง ......... ฉีดพ่นน้ำเปล่า หรือ น้ำ+สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ
ฝนต่อแดด ... ฉีดพ่นน้ำเปล่า หรือ น้ำ+สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรคใบจุด
ค่ำ ............ ฉีดพ่น น้ำ+สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลง รา หนอน

----------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©