-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-"ข้าวกล่ำ" ธัญญพืชต้านอนุมูลอิสระ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - "ข้าวกล่ำ" ธัญญพืชต้านอนุมูลอิสระ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

"ข้าวกล่ำ" ธัญญพืชต้านอนุมูลอิสระ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2010 6:57 pm    ชื่อกระทู้: "ข้าวกล่ำ" ธัญญพืชต้านอนุมูลอิสระ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก “ข้าวกล่ำ” ไร้คนสนใจสู่ “ไรซ์เบอรี่” ธัญพืชต้านอนุมูลอิสระ

แบล็กเบอรี่ บลูเบอรี่ มิกซ์เบอรี่ ฤาจะสู้ “ไรซ์เบอรี่” ธัญพืชสีม่วงอันอุดมสารต้านอนุมูลอิสระจากผืนนาไทย ทั้งวิตามินอี เบตาแคโรทีนและโอเมกา-3 ผลงานพัฒนาคุณภาพพันธุ์ “ข้าวกล่ำ” ของ “ดร.อภิชาติ” นักวิจัยผู้ติดใจรสชาติข้าวสีม่วงมาตั้งแต่วัยเด็ก

น้อยคนนักที่จะรู้จัก “ข้าวกล่ำ” ธัญพืชแห่งพระแม่โพสพที่มีเมล็ดสีดำ แต่หากได้ลองลิ้มชิมรสเชื่อว่าจะทำให้หลายๆ คนติดใจได้ไม่ยาก นำไปทำขนมไทย เช่น ข้าวหลามหรือข้าวหลามตัดได้อร่อยต่างจากข้าวขาวทั่วไป แต่ด้วยความนิยมในข้าวขาวที่มีมากกว่าและการเพาะปลูกข้าวกร่ำยังให้ผลิตน้อยจึงไม่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร

โชคดีที่ข้าวกล่ำยังได้รับความสนใจจากนักวิจัยข้าวระดับประเทศอย่าง รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผู้มีความชื่นชอบในรสชาติของข้าวชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก เมื่อมีโอกาสจึงได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวกล่ำที่มีข้อเสียคือมีฤดูเพาะปลูกสั้น และให้ผลผลิตต่ำเพราะมีรูปทรงที่บานเมื่อมีเมล็ดข้าวมากๆ ก็ทำต้นล้ม ทั้งยังไม่ต้านทานต่อแมลงและแบคทีเรียอีกด้วย

“ผมเป็นคนชอบทานข้าวสีม่วงหรือข้าวกล่ำซึ่งมีสีดำมาตั้งแต่เด็กแล้ว เมื่อมีโอกาสทำงานวิจัยเรื่องข้าวจึงคิดว่าต้องทำเรื่องข้าวสีดำ ตอนเด็กๆ เคยนั่งรถผ่านทุ่งรังสิตจะเห็นในนาเป็นหย่อมสีม่วง ก็สงสัยว่าคืออะไรถึงรู้ว่าเป็นข้าวกร่ำหรือข้าวดำ เอาไปทำขนมก็อร่อย อย่างข้าวหลามก็ต้องเป็นข้าวเหนียวดำ ” รศ.ดร.อภิชาติกล่าวถึงข้าวสีดำหรือข้าวกร่ำที่นำมาพัฒนาเป็นข้าวสีม่วงและให้ชื่อว่า “ไรซ์เบอรี่” โดยเป็นงานวิจัยที่ทำควบคู่ไปกับการวิจัยข้าวทนน้ำท่วมตั้งแต่ลำดับยีนและหายีนความหอมในข้าวหอมมะลิ

ด้วยความอร่อยที่ดึงดูดให้ รศ.ดร.อภิชาติทำการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์จนได้ข้าวสีม่วงที่มีทรงต้นสวย และทนแมลงได้ระดับหนึ่ง ทั้งเมื่อวิเคราะห์สารอาหารของไรซ์เบอรี่แล้วยังพบความน่าสนใจที่ข้าวชนิดนี้มีสารอาหารที่มากกว่าข้าวกล้อง คือมีสารต้านอูลอิสระอย่างเบตาแคโรทีนซึ่งไม่พบในข้าวขาวสูงถึง 63 ไมโครกรัมต่อข้าว 100 กรัม และมีวิตามินอีสูงถึง 680 ไมโครกรัมต่อข้าว 100 กรัม ทั้งยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ธาตุเหล็ก โอเมกา-3 เป็นต้น

รศ.ดร.อภิชาติกล่าวว่าสารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีผลที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเรสเตอรอล ลดปัญหาโรคอ้วน เลือดข้น เลือดเป็นพิษ ซึ่งข้าวที่มีสารต้านอนุมูลจะช่วยได้ อีกทั้งโดยเฉลี่ยเรารับประทานข้าวกันวันละ 250 กรัม หากเรารับประทานข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระก็เหมือนได้รับยาจากแหล่งที่ดีและเป็นแหล่งที่มีโภชนาการสูง

“เนื่องจากข้าวดำไม่ค่อยมีการปรับปรุงพันธุ์ จึงนับว่างานวิจัยนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ” รศ.ดร.อภิชาติกล่าว แต่ข้าวสีม่วงก็ยังมีข้อเสียที่เหม็นหืนง่ายกว่าข้าวทั่วไป ทั้งนี้คาดว่าเพราะมีสารอาหารเยอะกว่า จึงยังมีงานที่ต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ข้าวมีเบตาแคโรทีนมากกว่านี้ รวมทั้งลดกรดไฟติก (Phytic Acid) ที่อยู่ในรำข้าว เนื่องจากรำข้าวเป็นอาหารสัตว์ที่สำคัญ เมื่อสัตว์ได้รับกรดดังกล่าวก็จะดูดซึมฟอสฟอรัสได้น้อยลง ฟอสฟอรัสจึงออกจากร่างกายสัตว์ไปกับพร้อมกับมูล หากปล่อยสู่ธรรมชาติจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแบคทีเรียและกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่สุด

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่รับช่วงต่อจากการปรับปรุงพันธุ์ไรซ์เบอรี่ของ รศ.ดร.อภิชาติ โดยการแปรรูปข้าว เช่น สกัดน้ำมันรำข้าวจากไรซ์เบอรี่ซึ่งให้สารต้านอนุมูลอิสระสูงและนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือใช้ในการประกอบอาหารก็ได้ รวมทั้งนำข้าวไปแปรรูปเป็นขนมปัง หม่านโถว หรือแป้งข้าว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยขยายตลาดให้กับข้าวสีม่วงได้

อย่างไรก็ดีก่อนที่จะหันมาวิจัยเรื่องข้าวอย่างจริงจัง รศ.ดร.อภิชาติได้ทำวิจัยเรื่องข้าวสาลีมาก่อนเมื่อครั้งเรียนปริญญาเอกทางด้านพืชไร่ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท (Oregon State University) สหรัฐอเมริกา รวมทั้งศึกษาเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดและถั่วเหลืองในระดับการศึกษาหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเจอร์เจีย (University of Georgia) ซึ่งในส่วนของข้าวสาลีนั้นเขาเห็นว่าไม่คุ้มที่จะปลูกในเมืองไทยแต่ก็มีคนพัฒนาจนสามารถปลูกได้ แต่ประสบการณ์ที่ศึกษาพืชเหล่านี้ทำให้การศึกษาเรื่องข้าวได้เร็วขึ้น

“ทำข้าวง่าย สนุก และทานได้ด้วย เพราะเป็นคนชอบทานข้าว แต่ข้าวสาลีเราต้องไปขอพันธุ์เขา ปลูกก็ยาก พอได้มาวิจัยข้าวถึงได้รู้ว่าโง่อยู่ตั้งนาน ทำข้าวสนุกกว่าตั้งเยอะ ถึงอย่างนั้นประสบการณ์ที่ได้ทำข้าวโพด ข้าวสาลีก็ช่วยให้ทำงานข้าวได้เร็วขึ้น” รศ.ดร.อภิชาติกล่าว

การทำวิจัยข้าวเป็นเวลา 8 ปีของ รศ.ดร.อภิชาติ ตั้งแต่ปี 2542 หลังจบการศึกษามาจากสหรัฐ ครอบคลุมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและมีสารอาหารที่เพิ่มขึ้น อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อศึกษาลงลึกในระดับยีนของข้าว ทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2549

…รศ.ดร.อภิชาติเป็นตัวอย่างหนึ่งของนักวิจัยที่นำสิ่งมีคุณค่าในชาติมาพัฒนาให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น เราเชื่อว่าทรัพยากรอันอุดมบนผืนแผ่นดินไทยจะจุดประกายให้ใครอีกหลายคนได้สร้างสรรค์งานที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป..


ที่มา : มก.บางเขน-BIOTEC


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2010 2:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©