-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* เกษตรไทย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เกษตรไทย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เกษตรไทย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2023 8:23 am    ชื่อกระทู้: * เกษตรไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

บอร์ดเกษตรแห่งชาติ คุมทิศทางวิจัย เพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร
https://tdri.or.th/2017/01/2017-01-07/



เกษตรไทย ทำไมยิ่งทำยิ่งจน
https://themomentum.co/agriculture-in-thailand-2019/



เกษตรกรไทยรุ่งเรืองได้ต้องมี “นวัตกรรม”
https://www.isranews.org/isranews-news/34732-agriculture_34732.html



‘Smart Farmer’ ไม่เกิดก็อยู่ยาก ‘เกษตรไทย’ ในวันเพื่อนบ้านไล่ทัน
https://www.naewna.com/likesara/316289


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/07/2023 8:06 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/07/2023 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
รู้จักความหมายของ "นวัตกรรม" หมายถึงอะไร ?

นวัตกรรม คือ แนวคิดใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ สามารถช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้

หมายเหตุ : คำว่า "นวัตกรรม" ในภาษาอังกฤษก็คือ Innovation ซึ่งเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินอย่าง "Innovare" หมายถึง "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา"

ฯลฯ

นวัตกรรมการเกษตร
การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ทางการเกษตร สามารถสร้าง "เกษตรดิจิทัล" ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุ่นแรง ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันช่วยประเมินปริมาณน้ำฝน, วันฝนตก เพื่อให้วางแผนเพาะปลูกได้สะดวก อีกทั้งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีชีวภาพอีกมากมาย ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด ลดการใช้ยาฆ่าแมลง คำนวณความชื้นและอุณหภูมิในฟาร์มต่างๆ ก็ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเรื่องการเพาะปลูกนั่นเอง

ฯลฯ

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2225171



ปรัชญาชีวิต
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6631&postdays=0&postorder=asc&start=0&sid=c3922616892a5a63e641bf5f70d9cfc0





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/10/2023 3:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี.....
.

ผลผลิตเพิ่ม :

.

ต้นทุนลด :

.

อนาคตดี :



หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 “โอกาส” .... เกษตรแจ๊คพ็อต”

110. มะลิหน้าหนาว ................................................ 483
111. กุหลาบ วาเลนไทน์ ......................................... 485
112. มะนาวหน้าแล้ง ................................................ 490
113. กล้วยหอมแจ๊คพ็อต ......................................... 495
114. แก้วมังกรตรุษจีน ............................................. 497
115. ส้มฯ .............................. .................................. 498
116. กระท้อน .......................................................... 501
117. ผักชีหน้าฝน .................................................... 504
118. บัวเข้าพรรษา ................................................... 506
119. ชะอมหน้าแล้ง ................................................ 506
120. ทุเรียนนอกฤดู ................................................. 508
121. มะม่วงนอกฤดู ............................................... 511
122. เงาะนอกฤดู .................................................... 513
123. ลำไยนอกฤดู ................................................... 515
124. ขนุนนอกฤดู .................................................. 521
125. แตงโมหน้าฝน ............................................... 523
126. เกษตรบนคันนา ............................................. 525
127. เกษตร ทำน้อย-ได้มาก ................................... 527
128. ส่วนลึกของใจ ................................................ 535

มะลิหน้าหนาว :
เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก
(หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

สายพันธุ์ :
มะลิลา, มะลิลาซ้อน, มะลิถอด, มะลิซ้อน, มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร, มะลิทะเล, มะลิพวง, มะลิเลื้อย, มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว), มะลิฝรั่ง , มะลิเถื่อน ฯลฯ

พันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ พันธุ์แม่กลอง, พันธุ์ราษฎร์บูรณะ, พันธุ์ชุมพร

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ มะลินิยมทำกันมากที่สุด คือ “ปักชำ” เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว นิยมทำเป็นเชิงการค้า

บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ : ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี .... เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิกแอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก)
ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

ปฏิบัติการแจ็คพ็อต :
- มะลิแจ๊คพ็อต หมายถึง มะลิออกดอกช่วงหน้าหนาว, วันครู, วันแม่
- มะลิดอกสีม่วง เกิดจากขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ แคลเซียม โบรอน
- มะลิร้อยมาลัย บำรุงถึงแคลเซียม โบรอน ก้านดอกแข็ง แทงเข็มไม่ฉีกขาด
- มะลิดอกใหญ่ จำนวนกลีบเท่าเดิม แต่ขนาดดอกใหญ่ขึ้น
- มะลิร้อยมาลัยคู่กับ จำปี พุด กุหลาบหนู รัก

ตัดแต่งกิ่ง :
- ต้นใหญ่ตัดออกยาวเหลือกิ่งติดต้นสั้น ต้นเล็กตัดออกสั้น (ตัดที่รอยแก่ต่ออ่อน) เหลือกิ่งติด ต้นยาว
- จากวันตัดแต่งกิ่งแล้วเปิดตาดอก อีก 6 อาทิตย์ มะลิจะมีดอกให้เก็บ
- ติดทิ้งกิ่งแก่หมดอายุแล้ว

ทางใบ :
- ใช้ ไทเป + ไธโอยูเรีย + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เดี่ยวๆ หรือถือโอกาสให้ร่วมกับแคลเซียม โบรอนก็ได้ 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกำจัด และป้องกันล่วงหน้า
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, พรวนดิน พูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมโคนต้น, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

บำรุงมะลิ ออกดอกแล้ว :
ทางใบ :
- ให้สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (1-2 กก.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, พรวนดินพูนดิน มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7267&view=previous

* เกษตรคิดใหม่ ที่น้อย-ได้มาก
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6645

เนื้อที่ 1 ไร่...
* หน่อไม้รวก. ให้ผลผลิต 300 ครั้ง /ปี

* มะพร้าว. ให้ผลผลิต 16-18 ครั้ง /ปี
* ปาล์มน้ำมัน. ให้ผลผลิต 20-24 ครั้ง /ปี
* สละ. ระกำ. ชมพู่. ฝรั่ง. มะกอกน้ำ. ขนุน. มะละกอ. ให้ผลผลิตหลายๆ ๆๆ ครั้ง /ปี

- สละแซมกับมะพร้าว.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7126&sid=5a8cf906ce96dbbf109dda8faa002831

- ฝรั่ง เกดรด เอ จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7162&sid=90740101e9c27efcc733af808d3209ac

* ไม้ผลทะวาย. ให้ผลผลิต 2-3 ครั้ง /ปี
- มะนาว.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7178&sid=6f5d31e939df4481e89e59a0ee6f8630

- ส้มเขียวหวาน ออกตลอดปี-แจ๊คพ็อต.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6741

- ทุเรียนหมอนทองระยะชิด :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5933

* ผักกินยอด ยืนต้น. ให้ผลผลิต 12 ครั้ง/ปี
- หวานป่า หวานบ้าน ชะอม กระถิน

* แตงโม. แคนตาลูป. ลงมือปลูกทุกวันที่ 1 ของเดือน ครบทุกเดือนในรอบปี จะมีผลผลิตให้เก็บได้เดือนละครั้ง
- ไอเดียร์สไตล์ลุงเรื่องแตงโม.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7192&sid=01daebbaacc07577ae868c83e2fe323d

* เกษตรแจ๊คพ็อต เช่น กล้วยหอมเทศกาล. ผักชีหน้าฝน. แก้วมังกรตรุษจีน.
- กล้วยหอมราคาแพงสุด.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7111&sid=18f4177264135a4703cab2f762ad1242

- ผักชีแจ๊คพ็อต.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7112&sid=b22e9e4bb321fb0e4a5899fed9181a01

- ต้นหอมแจ๊คพ็อต.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6991

- แก้วมังกรนอกฤดู.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6760

* ผลผลิตเพิ่ม เช่น สำปะหลังได้ 30+ ตัน/ไร่. อ้อยได้ 50+ ตัน/ไร่. ข้าวได้ 2+ ตัน/ไร่
- สำปะหลังแบบก้าวหน้า.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7188&sid=73710bdac44ed73515e357f26021eb79

- นาข้าว ยุคใหม่.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7198&sid=e2fbacd3447abc0d31f96706fb9a18fb

74.บราซิลเก่งเรื่องทำอ้อย (วังขนาย อ้อย 100 ตัน/ไร่) :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6829&sid=989848a10635c227462fa6dba33f1d73

* ฯลฯ
- ไอเดีย ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7093&sid=d4b23070dbe7072d4dbf4a3a4d0f45e0
**************************************************************



จาก W ไป H
- W. = WHO WHAT WHEN WHERE WHY
- H. = HOW

- 18. เกษตร 5W. 1H.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6829&sid=989848a10635c227462fa6dba33f1d73

- พืชใช้น้ำวันละ 1 ล. แต่คนให้ 20 ล.
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6107

วิธีฉีดพ่นฮอร์โมนและปุ๋ยน้ำทางใบให้ถูกวิธี :
การฉีดพ่นฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำ หรือสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ทางใบ ทำให้พืชดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้เร็ว แต่ถ้าจะให้ได้ผลที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องฉีดพ่นให้ถูกวิธี เพื่อให้พืชได้ประโยชน์สูงสุดที่ฉีดพ่นนั้น คือ

1. เลือกเวลาให้ถูก :
การใช้ปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน หรือสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ทางใบ แนะนำให้ฉีดพ่นตอนเช้าระหว่าง 06.00-09.00 น. จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด หรืออย่างช้าอย่าให้เกิน 10.00 น. เพราะช่วงเช้าอากาศยังไม่ร้อนมากพืชจะเปิดปากใบกว้างที่สุด ทำให้การดูดซึมทำได้เร็ว และพืชนำไปใช้ต่อในกิจกรรมสังเคราะห์แสงได้ทันที

หากฉีดพ่นตอนเที่ยงหรือบ่ายช่วงที่อากาศร้อนมาก พืชจะปิดปากใบเพื่อลดการระเหยของน้ำ ส่งผลให้ดูดซึมสารที่ฉีดพ่นได้ช้าหรือน้อยลง และสารที่ฉีดพ่นจะถูกแดดเผาและระเหยไปก่อนที่พืชจะดูดซึมไปใช้ได้หมด

ส่วนการฉีดพ่นตอนเย็นก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากพืชไม่ดูดซึมสารที่เราฉีดพ่น นอกจากนี้ยังกลับคายน้ำออกมาดันสารที่เราฉีดพ่นทิ้งไปเสียอีกด้วย และกลางคืนอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์สูง สารที่ฉีดพ่นจะเปียกใบอยู่อย่างนั้นตลอดทั้งคืน มีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

มีข้อยกเว้นสำหรับสารชีวภัณฑ์หรือจุลินทรีย์ ควรฉีดพ่นตอนเย็นถึงค่ำ เพราะจุลินทรีย์จะได้มีเวลาฟื้นตัวหรือขยายตัวตลอดทั้งคืน ขณะที่การฉีดพ่นตอนเช้าหรือเที่ยง จุลินทรีย์ส่วนมากจะถูกแดดเผาตายไปเป็นส่วนใหญ่

2. ดูสภาพอากาศที่เหมาะสม :
ควรฉีดพ่นตอนฟ้าเปิด อากาศไม่ครึ้ม ควรดูพยากรณ์อากาศด้วยว่าฝนจะไม่ตก เพราะช่วงที่ฟ้าปิด ครึ้มฟ้าครึ้มฝน เป็นช่วงที่ความชื้นในอากาศสูง พืชไม่ค่อยคายน้ำ ปากใบไม่เปิด ส่งผลให้กิจกรรมการดูดซึมทั้งทางรากและใบลดน้อยลงไปมาก และถ้าตามมาด้วยฝนตกด้วยจะยิ่งเสียหายเพราะสารที่ฉีดพ่นจะถูกน้ำฝนชะล้างไปเสียหมด
ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ผสมสารเร่งการดูดซึมลงไปด้วยก็พอช่วยได้บ้าง

3. ฉีดพ่นให้ถูกวิธี :
เน้นฉีดพ่นเข้าใต้ใบ เนื่องจากปากใบพืช 70% อยู่ใต้ใบ อีก 30% อยู่บนใบ การฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน หรือสารบำรุงพืชทางใบจึงควรฉีดเข้าไปที่ใต้ใบ

ด้วยหลักการง่ายๆ นี้ การฉีดพ่นฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำ หรือสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ทางใบ ก็จะมีประสิทธิภาพ พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

5. ลักษณะดินดี ปลูกอะไรก็ได้ผล :
ดินดี คือ ดินที่เพาะปลูกแล้วพืชงาม โตเร็ว ปลูกพืชหัวก็หัวใหญ่ ปลูกไม้ดอกก็ออกดอกดก ปลูกไม้ผลก็ผลดกน้ำหนักดี ดินแบบนี้มีลักษณะสำคัญ 5 อย่าง ลองมาดูกันว่าลักษณะ 5 อย่างของดินดีนั้นมีอะไรบ้าง

ข้อดีของการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง :
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มียอดการใช้ปุ๋ยเคมีรวมปีละประมาณ 6 ล้านตัน แต่การใช้ปุ๋ยนี้ไม่คุ้มค่ากับราคาปุ๋ยเคมีที่ค่อนข้างแพง ทางแก้คือต้องผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง

ปลูกพืชต้องรดน้ำเท่าไหร่จึงจะพอ :
การปลูกพืชให้ได้ผลดีเรามักพูดกันติดปากว่า ดินดี น้ำดี แต่คำว่าน้ำดีนั้นแค่ไหนถึงเรียกว่าน้ำดี ถ้าเราขุดบ่อมีแหล่งน้ำดีแล้วจะต้องดูดขึ้นไปรดน้ำให้พืชมากแค่ไหนพืชถึงจะพอ

ปุ๋ยเคมี ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน :
ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่มีราคาแพงแต่ใช้แล้วพืชให้ผลผลิตสูง เกิดความคุ้มค่าและได้กำไรดี แต่น่าเสียดายที่หากใช้ปุ๋ยเคมีผิดวิธีเงินที่จ่ายไปนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์เลย สุดท้ายมีแต่ขาดทุน

วิธีใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีด้วยคาถา 4 ถูก :
ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยละลายเร็ว สูญหายไว และราคาแพง การใส่ปุ๋ยเคมีจึงต้องใช้ให้ถูกวิธีเพื่อให้ประหยัดที่สุด และได้ผลดีสุด

https://npkthailand.com

6 เคล็ดลับการให้ปุ๋ยทางใบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด :
เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบในแต่ละครั้งนั้นมีต้นทุนเรื่องแรงงาน เวลา และต้นทุนเรื่องปุ๋ยดังนั้นการให้ปุ๋ยแต่ละครั้งควรคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของพืช และวิธีการ ให้อย่างไรพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด นั่นหมายถึงการลดต้นทุนการทำเกษตรอีกทางหนึ่ง เรามาดูเคล็ดลับ

1. ต้องให้น้ำพืชก่อนเสมอ หรือพืชต้องอยู่ในภาวะที่ไม่ขาดน้ำ
2. การให้ปุ๋ยทางใบในช่วงเช้าเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิ ความเข้มของแสงที่ไม่สูงเกินไปความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นในดินพอเหมาะ (ใบพืชมีความเต่ง) ใบพืชมีความเต่งเพราะอัตราการดูดน้ำของรากสมดุลกับอัตราการคายน้ำ เมื่อใบพืชเต่งไขและเคลือบผิวจะมีลักษณะฟู ยอมให้ตัวสารละลายผ่านได้ง่าย ในขณะเดียวกันถ้าพืชขาดน้ำจะทำให้ใบพืชสูญเสียความเต่ง ไขและเคลือบผิวของใบแฟบลงและแน่น ทำให้สารละลายผ่านยาก ดังนั้นการให้สารอาหารพืชทางใบในขณะที่ใบพืชเต่ง อัตราการดูดสารอาหารเข้าไปใช้จึงสูง

3. ใบพืชที่มีอายุน้อยสามารถดูดสารละลายธาตุอาหารได้ดีกว่าใบพืชที่แก่กว่า เพราะใบอ่อนมีการสะสมสารเคลือบผิวและสารคิวตินยังไม่หนา มากจึงทำให้สารละลายธาตุอาหารเคลื่อนที่ผ่านได้เร็วกว่าใบแก่

4. ปริมาณธาตุอาหารหลักในพืช มีผลต่อความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารเสริมทั้งทางใบและทางราก เช่น การมีไนโตรเจนในปริมาณเพียงพอ จะส่งเสริมการดูด Mg ทั้งทางใบและทางราก

5. ศึกษาการใช้ปุ๋ยอย่างละเอียด เนื่องจากความเป็นกรดและด่างอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อพืช การให้ปุ๋ยทางใบที่มีความเข้มข้นที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้

6. เพิ่มประสิทธิภาพด้วยสารจับใบ เพราะสารจับใบช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ช่วยเพิ่มการแพร่กระจายของสารละลายกับผิวใบทำให้เพิ่มพื้นที่สัมผัส ผิวใบจึงเปียกอย่างทั่วถึง

จะเห็นได้ว่าเคล็ดลับเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเราลดต้นทุนการทำการเกษตรได้ครับ อย่าลืมนำไปใช้กันนะครับ

https://www.cowboyplantfoods.com/6-secret-foliar-feeding/

ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ปุ๋ยทางใบ (ปุ๋ยน้ำและปุ๋ยเกล็ด) :
ปุ๋ยทางใบ :

ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช
เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสารละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลาส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะจากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ่ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

ชนิดของปุ๋ยทางใบ :
ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด
1) ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ มาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

2) ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่าง ๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรก ๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการใช้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช
6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว

7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้

ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้

2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้องให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูง ๆ ได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ (N+P2O5+K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อคุณภาพเร็ว

5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ดเพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช่ในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด

7. ปุ๋ยน้ำละลายาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต

8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

คุณสมบัติหรือลักษณะของปุ๋ยทางใบที่ดี :
ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ :

1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของ N+P2O3+K2O ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปุ๋ยน้ำและ 60 เปอร์เซ็นต์สำหรับปุ๋ยเกล็ด

2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุ หรือหลายๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K
3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25 – 0.30 เปอร์เซ็นต์ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5 – 6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดความเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต
7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูงได้ชื้นง่ายและไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูล : สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน
ที่มา : สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน

http://sql.ldd.go.th/KMBlog/Content.aspx?BlogID=101

......................................................................................................................


ชาวสวนทุเรียนควรรู้ อีก 5 ปีจะเกิดอะไร ทั้งโอกาสและความเสี่ยง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2651868

ทุเรียนไทย 2 แสนล้านบาท จะพังเพราะปุ๋ยและยา ? ?
https://www.palangkaset.com

พาณิชย์จับมือเกษตร ผลักดันผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก
https://www.nationtv.tv/news/pr/378920772

ปลื้ม 'ทุเรียน มังคุด ลำไย' สุดฮอต ชาวจีนแห่ซื้อ
https://www.thaipost.net/economy-news/395856/

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7234&sid=fcb37659b69cfae4d7f1aab736fc4d03


**************************************************************

.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©