-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-พันธุ์ไผ่....ไผ่แดง ไผ่ขาว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์ไผ่....ไผ่แดง ไผ่ขาว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์ไผ่....ไผ่แดง ไผ่ขาว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/04/2010 7:01 pm    ชื่อกระทู้: พันธุ์ไผ่....ไผ่แดง ไผ่ขาว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะนำพันธุ์ไผ่....ไผ่แดง ไผ่ขาว

สวัสดีครับ

ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงไผ่เหลือง ไผ่ทอง และไผ่ดำ ซึ่งไผ่เหล่านี้สามารถพบได้ในประเทศไทย แต่ในฉบับนี้เป็นไผ่สีแปลกๆ ที่ไม่ค่อยจะได้เห็นเท่าไหร่นัก หรือน่าจะเป็นไผ่ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนก็ไม่มั่นใจนัก ว่าจะนำมาปลูกในบ้านเราได้หรือไม่ เพราะข้อมูลที่ได้มานั้นมาจากประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นนั่นเอง และเหตุที่เลือกนำมาเสนอนั้น ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้พบว่า ไผ่ มีความมหัศจรรย์จริงๆ มีหลายชนิด หลายสี โดยในฉบับนี้ผู้เขียนก็จะเริ่มนำเสนอเรื่องของการตัดไม้ไผ่ จนไปถึงวิธีการถนอมรักษาเนื้อไม้ไผ่ให้คงทนด้วยวิธีการต่างๆ และจะแทรกกับพันธุ์ไผ่ในฉบับต่อๆ ไป ฉบับนี้ผู้เขียนขอนำเสนอไผ่ 2 ชนิด ครับ หลังจากที่บางฉบับก็มีเรื่องของผู้เขียนให้อ่านบ้าง ไม่มีให้อ่านบ้าง ถ้าท่านผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์คนรักไผ่คงจะทราบกันดีครับ ซึ่งความจริงก็คือ ตัวของผู้เขียนเองกำลังหาข้อมูลที่แปลกใหม่ ไม่เพียงแค่เรื่องของการปลูกไผ่หรือพันธุ์ไผ่ แต่ผู้เขียนกำลังมองไปถึงการแปรรูปเพื่อนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า "ไผ่ ให้อะไรมากกว่าที่คิด" มีผู้สนใจหลายท่าน โทร.มาถามกับผู้เขียนเกี่ยวกับไผ่ ตั้งแต่ปลูกถึงวิธีแปรรูป ผู้เขียนก็กำลังหาคำตอบให้อยู่ครับ อย่างเช่น เรื่องของการทำหน่อไม้แห้ง ถ้ามีข้อมูลก็คงจะดีครับ จะได้ทำกินและขายกันเองได้บ้าง เพราะไหว้เจ้าทีไร ต้องซื้อหน่อไม้แห้งที่มาจากจีน กิโลตั้งหลายร้อย เอาล่ะครับ เข้าเรื่องไผ่สีต่อดีกว่า ฉบับนี้นำเสนอ 2 สี เลย คือ ไผ่แดง และไผ่ขาว

ไผ่แดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllostachys jiuzhaigou หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า red bamboo หากสังเกตจากชื่อวิทยาศาสตร์แล้วดูเหมือนว่าน่าจะเป็นไผ่ที่พบในประเทศจีน โดยมีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นกอ ลำไม่ใหญ่มากนัก มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 2-4 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 2 เซนติเมตร และมีความทนทานต่อความหนาวได้ถึง -7 องศาเซลเซียส ซึ่งยังไม่พบไผ่ชนิดนี้ในประเทศไทย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม และยังไม่มีผู้นำเข้ามา โดยที่อังกฤษขายกันต้นละ 20 ปอนด์ หรือเท่ากับเงินไทย ประมาณ 1,500 บาท/ต้น และถ้าต้นที่โตและมีความสวยงาม ในประเทศสหรัฐอเมริกาขายกันถึง 170 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณต้นละ 5,000 บาท เลยทีเดียว ส่วนไผ่อีกสีหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำมาเสนอก็คือ "ไผ่ขาว" โดยมีรายละเอียดดังนี้

ไผ่ขาว ในชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bambusa chungii พบแถวๆ มณฑลกวางสี ทางตอนใต้ของจีน ลักษณะเด่นของไผ่ชนิดนี้ก็คือ ขึ้นเป็นกอ และมีลำที่เป็นสีขาวจั๊วะ อันเนื่องมาจากมีผงแป้งจำนวนมากมาปกคลุมที่ลำ ซึ่งในบ้านเราก็มีไผ่ชนิดที่มีแป้งปกคลุมเยอะ อย่างเช่น ไผ่ซางนวล (Dendrocalamus membranaceus) แต่ไผ่ซางนวลจะมีสีขาวที่อ่อนกว่าหรือมีแป้งบางกว่า ทำให้มองเห็นลำเป็นสีเขียวชัดกว่า ซึ่งลักษณะของไผ่ขาวจะมีการเจริญเติบโตเป็นกอ กอไม่แน่น ลำไม่แข็งแรงมากนัก สังเกตได้ว่าลำโค้งงอไม่แข็ง มีปล้องยาว ประมาณ 50-80 เซนติเมตร มีแป้งปกคลุมทั่วทั้งลำ ยกเว้นบริเวณข้อ ตรงข้อมองผิวเผินแล้วเป็นสีดำ เนื่องจากมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดเล็ก โคนลำไม่ค่อยแตกกิ่ง ให้ผู้อ่านลองสังเกตจากภาพก็แล้วกันครับ

สำหรับประโยชน์ของไผ่ทั้ง 2 ชนิด ก็ใช้เป็นไผ่ประดับอาคารสถานที่ แต่ถ้าจะเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ก็คงได้ แต่คิดว่าเนื้อไม้คงไม่ดีเท่าไหร่นัก ไม่เหมาะสม ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์เป็นไม้ไผ่สีแดงก็เอาสีทา หรือนำลำไม้ไปย้อมสีก็ได้เช่นกัน

ในฉบับนี้ ผมขอฝากหลักการตัดต้นไผ่ก่อนก็แล้วกัน เผื่อจะนำลำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์เพื่อก่อสร้างหรือทำเฟอร์นิเจอร์ หลักการก็คือ ต้องตัดลำที่แก่ๆ อายุลำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพราะว่าเมื่อลำมีอายุมากขึ้น ปริมาณแป้งและอาหารในลำไม้ก็จะลดลง หากตัดลำที่ยังอ่อนอยู่ ก็มีโอกาสที่ศัตรูจะเข้าทำลายได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการถนอมเนื้อไม้ไผ่ ก็เพื่อลดปริมาณแป้งและอาหารในลำไผ่ให้น้อยลงนั่นเอง อย่างเช่น การแช่ลำไผ่ในน้ำ ก็เพื่อชะล้างอาหารและแป้งนั่นเอง แต่การนำไปแช่นั้นก็จะต้องนำไปแช่ในภาชนะที่ไม้สามารถลงไปได้พอดี อาจจะแช่ในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรือบ่อ หรืออาจจะทำที่แช่ อย่างเช่น เอาถังน้ำมัน ขนาด 200 ลิตร มาแบ่งครึ่ง ผ่าฝาออกแล้วนำมาต่อๆ กันตามความยาวที่ต้องการ ก็สามารถทำได้ แต่ถ้านำมาแช่ในภาชนะที่ทำเอาไว้นั้น ส่วนมากแล้วมักจะนำน้ำนั้นผสมกับน้ำยา โดยน้ำยาที่ใช้นั้นเป็นสารประกอบพวกโบรอน หรือที่เรียกกันว่า Boron compound และในการแช่นั้น จะต้องมีการกระทุ้งข้อลำไม้ไผ่ให้ทะลุถึงกัน เพื่อให้น้ำยาเดินได้ดีและทั่วถึง ซึ่งผู้เขียนจะนำมาอธิบายอีกที บางท่านก็นำลำไผ่ไปต้มน้ำร้อนก็สามารถทำได้ เพราะใช้หลักการเดียวกัน คือสลายอาหารและแป้งให้เหลือในลำไม้น้อยลง มีท่านผู้อ่านท่านหนึ่งโทรศัพท์มาคุยกับผู้เขียนว่า เขาเคยเห็นลำไม้ไผ่ลอยมาตามทะเล เมื่อนำมาดู พบว่าเนื้อไม้ยังแกร่งอยู่เลย แต่ไม่รู้ว่าเป็นไผ่อะไร เมื่อมาถึงจุดนี้ผู้เขียนก็คิดต่อไปว่า ผู้เขียนเคยเสนอประโยชน์ของไผ่ซางหม่น ที่สามารถนำไปใช้ให้เพรียงทะเลเกาะและสามารถเป็นอาหารให้กับเพรียงได้ หากถ้านำไผ่ชนิดที่มีปริมาณอาหารและแป้งในลำมาก อย่างเช่น ไผ่ตง ไผ่กิมซุ่ง ก็อาจจะใช้ในการเลี้ยงเพรียงได้ดีเช่นกัน อย่างไผ่ที่ปลูกแล้วได้ลำไม่ค่อยสวย ไม่ค่อยตรง ก็นำไปลงทะเลก็ได้ครับ ส่วนวิธีอื่นๆ ไว้จะมาอธิบายต่อครับ

สุดท้ายนี้ ทางชมรมคนรักไผ่ ได้ฝากให้ผู้เขียนประชาสัมพันธ์งานสัมมนาไผ่ ที่จะจัดขึ้นใน วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2553 ในหัวข้อเรื่อง "ปลูกไผ่ช่วยชาติหมื่นล้าน ทำได้จริงหรือ?" หากท่านใดสนใจสามารถโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่ ชมรมคนรักไผ่ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. (02) 564-4440-79 ต่อ 2350-1 หรือดูเว็บไซต์ของชมรม www.คนรักไผ่.com พิมพ์ไปตามนี้ได้เลยครับ เอาไว้ฉบับหน้าจะนำรายละเอียดของงานมาให้ท่านผู้อ่านทราบอีกครั้งครับ ส่วนเรื่องไผ่แดงกับไผ่ขาวก็คงมีเท่านี้ แต่เรื่องไผ่หลากสียังไม่จบครับ ไว้ค่อยดูแล้วกันว่าฉบับหน้าจะเป็นสีอะไร ฉบับนี้จบเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ

ภัทรพล จังสถิตย์กุล


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©