ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 10/10/2010 11:22 pm ชื่อกระทู้: ถกปัญหาเรื่องอ้อยเพื่อการพัฒนา |
|
|
ขอคำแนะนำด้วยนะครับผม
ผมมี อาชีพทำไร่อ้อยครับ ตอนนี้กำลังหาข้อมูลในการ "เพิ่มผลผลิต" หรือ "การ
ลดต้นทุน" การทำไร่อ้อยครับ
พอดี มาเจอ เวปนี้ เข้า เลยสนใจ การใช้ "ปุ๋ยทางใบ" ในเวปนี้เข้าอย่างจัง ใช้ใน
อ้อยตอ 2 ครับ
ตอนนี้ อ้อยตอแรกผมเฉลี่ยที่ 18 ตันต่อไร่ ให้น้ำทางระบบน้ำหยด
เลยอยากจะขอความรู้เรื่องการให้ "ปุ๋ยทางใบ" ว่าทางเวปนี้ใช้ปุ๋ยตัวไหนบ้างครับ
ทุกครั้งที่ทำมาหลังจากตัดอ้อยแล้วเสร็จ ผมจะ ใส้ 46-0-0 50 kg/ไร่ หลังจาก
นั้น 2 อาทิตย์ผมจะใส่ 16-16-8 (50 kg/ไร่) แล้วรออ้อยครบ 4-5 เดือน ผม
จะใส่ 21-7-18 (50 kg/ไร่) กระบวนการนี้ทำมาตั้งแต่ยุคพ่อแม่ครับ แล้วทุก
ครั้งอ้อยตอน้ำหนักจะลดลงเรื่อยๆ จะไว้ตอได้แค่ 3 ตอ สูงสุด 5 ตอ ครับ
อยากจะขอคำแนะนำในการเพิ่มผลผลิต หรือ การลดต้น ทุน ด้วยครับ
ปล.
ลืมบอกครับ อ้อยตอ 2 ผมจะเฉลี่ย ที่ 14-15 ตันต่อไร่ ครับ มันจะลดลงมากเลยครับ
ผมชื่อ "เอ" ครับ ....... ขอบคุณล่วงหน้าครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย A_Chumphae เมื่อ 21/10/2010 6:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
catcaty หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010 ตอบ: 525
|
ตอบ: 11/10/2010 12:00 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม่เห็นมีใครออกมาต้อนรับสมาชิกใหม่เลย ? ผมขอเสนอหน้าก็แล้วกันนะครับ ...
ยินดีต้อนรับสู่ชมรมคนเหงื่อหยดครับคุณเอ
ผมไม่มีความรู้เรื่องอ้อยเลย เรื่องอ้อยนี่น่าจะต้องเป็นคุณยุทธที่รู้เรื่องดี แต่พักนี้ไม่รู้หายไปไหนไม่ค่อยเห็นเข้ามาเลย
(ตาก็ทั้งเจ็บทั้งแสบ แต่มันนอนไม่หลับ อดไม่ได้ที่จะเข้ามาดูความเคลื่อนไหว)
หมึกครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 12:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณมากครับ ที่ต้อนรับ คิดว่าคงนอนกันหมดแล้วซะอีก
ขอบคุณอีกครั้งครับ ประทับใจมากๆ มีคนต้อนรับเรา
ผมก็ไล่อ่านบอร์ดอยุ่จนครบทุกหน้าแล้วครับ ก้เห็นมี "คุณยุทธ" ที่พูดถึงเรื่อง
อ้อย แต่ผมคิดว่าระบบเกษตรมันสามารถ "ประยุกต์" ใช้กันได้ครับ ตอนนี้กำลังคิด
ว่าถ้าได้ "ปุ๋ยน้ำ" แล้วเอา "บูมสเปยร์" พ่น มันจะได้ผลไหม อยากลองครับ แต่
ยังไม่ถึงฤดูตัดอ้อย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
jee_ex15 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 25/10/2009 ตอบ: 41
|
ตอบ: 11/10/2010 6:00 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ยินดีต้อนรับครับ
คำพูด: | มีการให้น้ำระบบน้ำหยด |
ปรับ เสริม เติม แต่ง น่าจะไปได้ไกล
คืบหน้าอย่างไร ช่วยส่งข่าวด้วย
จีรศักดิ์ ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 6:33 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ปุจฉาวิสัชชนา :
"ใคร" สอนเกษตรกรชาวไร่ว่า "..... พืชไร่ทนแล้ง ไม่ต้องให้น้ำ ถ้าให้น้ำจะทำให้เกิดเชื้อรา...."
"ใคร" สอนเกษตรกรชาวไร่ว่า "..... ใส่ปุ๋ยเคมีมากๆ จึงจะได้ผลผลิตมากๆ
เท่าที่ลุงคิมเห็นมา ทำอ้อยไม่ให้น้ำเลยแม้แต่แหมะเดียว ถ้าฝนตกก็ปล่อยไป ตอ
1 ได้ 8-10 ตัน....ตอ 2 ได้ 5-6 ตัน....ตอ 3 ได้ 2-3 ตัน....เท่ากับ ยิ่งทำยิ่ง
ลด บางรายเอาแค่ ตอ 2 ไม่เอาตอ 3 บอกว่าไม่คุ้มทุน
วังขนาย.ทำได้ 100 ตัน/ไร่....
มิตรผล.ทำได้ 30 ตัน/ไร่....
ไม่มีใครสนใจ แม้แต่แปลงข้างๆไปดูเขาตัดจนเห็นกับตา คนรับจ้างตัดๆ กับมือตัว
เอง แต่ละคนคุยโขมงโฉงเฉง รู้ไปหมดว่าเขาทำอย่างไร แต่ถึงคราวตัวเอง
บ้างกลับไม่ทำ..... แล้วไอ้ที่โขมงโฉงเฉงนั่นน่ะ "ขี้โม้-ขี้คุย" ใช่ไหม ?
คุณเอ. หรือใคร.ก็ได้ ช่วยหาคำตอบให้ทีซี่ว่า....ทำไม ทำไม และทำไม
- รู้ทั้งรู้/เห็นก็เห็น แปลงของคนข้างๆ ทำแล้วได้ผลดี ถึงดีมากๆ แต่ไม่ยอมทำตาม ?
- รู้ทั้งรู้/เห็นก็เห็น แปลงของคนข้างๆ ทำแล้วขาดทุน แต่กลับยอมทำตาม ?
- รู้ทั้งรู้/เห็นก็เห็น แปลงของตัวเอง ทำแล้วขาดทุน เป็นหนี้เป็นสิน ก็ยังทำแบบเดิม ?
- ปลูกอ้อยให้ตรงหน้าฝน อ้อยได้น้ำฝนจะโต ก็แสดงว่าอ้อยก็ต้องการน้ำ ครั้น
เมื่อฝนไม่ตก ทำไมไม่หาน้ำให้เขา อ้างแต่ไม่มีน้ำ ไม่มีน้ำ
- เศรษฐศาสตร์การลงทุน......อ้อย 1 ไร่ ให้น้ำ ได้ 50 ตัน ถ้าเป็น 10 ไร่ ก็น่าจะ
ได้ 500 ตัน แล้วอ้อย 1 ไร่ ไม่ให้น้ำได้ 5 ตัน จะเอาอ้อย 500 ตัน ต้องใช้พื้นที่
100 ไร่....อ้อย 10 ไร่ ลงทานซื้อน้ำมาใส่ แล้วได้ 500 ตัน คิดว่าคุ้มไหม ? กับ
อ้อย 100 ไร่ ไม่ยอมลงทุนให้น้ำ แต่ต้นทุนค่าอย่างอื่นๆ เท่าไหร ?
- อ้อยได้ "ยูเรีย" โตเร็ว เขียวเร็วแต่เขียวไม่ทน เขียวอ่อนแอ เขียวล่อแมลง ตัด
แล้วน้ำหนักจะลดลงมาก มากๆ แต่ถ้าให้ "แม็กเนเซียม" โตเรื่อยๆ เขียวเรื่อยๆ
แต่เขียวทนนานถึงวันตัด ตัดแล้วน้ำหนักไม่ลด..... แล้วทำไมจึงใช้แต่ยูเรีย ?
- สังคมเกษตรไทยวันนี้.... ผู้ส่งเสริม ไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการส่งเสริม แล้ว
ผู้รับการส่งเสริมจะไปทางทิศใด.... เกษตรยั่งยืน คนส่งเสริมยั่งยืน รวยเอา รวย
เอา แต่คนรับการส่งเสริมล้มทั้งยืนจนเอา จนเอา..... ทำไม ผู้ส่งเสริมจึงไม่รู้....
ทำไมผู้รับการส่งเสริมจึงไม่รู้
- เกษตรตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่เกษตรในเขตตำบล วันนี้เกษตรกรในตำบล
รับผิดชอบของตัวเองมีแต่ล้มเหลว หนี้สิน..... ทำไมเกษตรตำบลไม่รู้ ?
- เกษตรอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่เกษตรในเขตอำเภอ วันนี้เกษตรกรในอำเภอ
รับผิดชอบของตัวเอง และเกษตรตำบลในบังคับบัญชาของตัวเอง.....ทำไมเกษตร
อำเภอไม่รู้ ?
- จากเกษตรตำบล ไปหาเกษตรอำเภอ-เกษตรจังหวัด-เกษตรภาค-อธิบดี-ปลัด
กระทรวง-รัฐมนตรี ถึงนายกรัฐมนตรี.....ตามสายการบังคับบัญชา (CHAIN OF
COMMAND) ไม่มีใครรู้เลยเหรอ ?
- อาชีพที่มีคนออกมาส่งเสริมมากที่สุด (ราชการ-เอกชน...ทีวี./วิทยุ/หนังสือ/
โครงการ/มหกรรม/ฯลฯ) คือ "อาชีพเกษตรกรรม" แต่เกษตรกรเองกลับพูด
ว่า "ไม่มีใครมาส่งเสริม-ไม่มีใครมาสอน - ไม่มีใครมาบอก...ฯลฯ"
- จริงไหม เกษตรกรทำการเกษตรวันนี้....
.... ทำตามกระแส.
.... ทำตามประเพณี.
.... ทำตามโฆษณา.
.... มิจฉาทิฐิ (ยึดติด).
.... ไม่ช่วยตัวเอง.
.... ไม่ปรับตัวเอง.
.... โกหกตัวเอง.
.... หลอกตัวเอง.
.... ทำร้ายตัวเอง.
......................... ยังไม่จบ - แต่รอให้ใครซักคน เข้ามาแทรก ..................
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/10/2010 6:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 7:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีตอนเช้าครับลุงคิม และเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านอื่นที่ตื่นแต่เช้า
ผมเคยไปดูแปลงสาธิตของ บ.ไอออนิค อ้อยตอ 2 ได้ 31 ตัน/ไร่ แต่เค้าใช้ระบบน้ำหยด ใต้ดิน และ บนดิน ควบคู่กันครับ
ค่าลงทุนต่อไร่ ในการวางระบบตกไร่ละ 1 แสนบาท ผมรับไม่ไหวครับ เลยหาวิธีการอื่นมาดัดแปลงครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 7:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แต่ ผม เพิ่งมา ได้ความรู้ที่เวปนี้เอง ครับ ว่า การให้ ยูเรีย ไม่ใช่ สิ่งที่ดี เสมอไป ไป
อบรมณ์ ของ มิตร ผล หรือที่ไหน มีแต่ สอนว่า ตัด อ้อย ออก แล้ว ให้ อัด ยูเรีย
50 kg/ไร่ แล้วให้ น้ำ เพื่อ เพิ่ม จำนวน ลำต้น ของอ้อยตอ แต่พอทำ น้ำหนัก มันก็
ลดลง อยุ่ดีพอ โทรไป ถาม ทางที่อบรมณื เค้าก็ ตอบมาว่าที่ ลดลงเพราะเราให้ ปุ๋ย
ไม่ ถึง อ้อยตอ ต้องให้ ปุ๋ยเพิ่ม 30 % ของทุก ปีเพื่อให้พอกับความต้องการของ
จำนวนอ้อย ผมก็ทำตาม แล้วก็ ให้ทั้ง ปุ๋ย ขี้วัว+กากหม้อกรอง ผลออกมาเหมือน
เดิมครับ น้ำหนัก ลด ทั้งที่ มีจำนวนลำต้น เพิ่มแต่ทำไม น้ำหนักมัน ลดลง
ปล.ผมส่งอ้อยให้ มิตรผล ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 7:50 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ไร่ละแสน.....ลุงคิมก็รับไม่ได้....คนที่รับๆได้น่ะ "โง่" หรือไม่ก็เพื่อผลประโยชน์
แอบแฝง
ทำไม - ทำไม - ทำไม คนที่จะส่งเสริมอะไรซักอย่างสำหรับประช่าชน อย่าว่าแต่
เกษกรกรรมเลย ทุกสาขาอาขีพนั่นแหละ คนส่งเสริมมันคิดว่า
"....บ้านเมืองนี้ ผู้คนเขาปัญญาอ่อนกันรึยังไง .....
ไอ้ไร่ละแสนน่ะ กล้าเอาไปส่งเสริมให้ "พ่อ-แม่" มันทำไหม ?
ลุงคิมวางระบบ "กะเหรี่ยง" ตกไร่ละ ไม่เกิน 3,000 บาท ไม่รวมค่าปั๊ม. ไม่รวมค่าแรง.
ฉลาดเลือก-ฉลาดซื้อ-ฉลาดใช้-ฉลาดคิด-ฉลาดวางแผน....ขยัน + ฉลาด
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/10/2010 6:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 7:58 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ปลูกอ้อย ตามใจ "วังขนาย. + มิตรผล = มึงตัยยยยย ยกกำลัง 2"
เพราะ...... เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
เหมือน..... ขี่ข้างจับตั๊กแตน
อย่า........ เผาบ้านจับหนู
จง.......... เสริมธรรมชาติอ้อย
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/10/2010 8:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 8:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ครับ 1 แสนบาท แต่เค้าบอกว่าคุ้ม เพราะสามารถทำอ้อยให้ได้หลายตอ ผมก็ไป
นั่งฟัง เค้าเสนอระบบกับขายปุ๋ยเค้า แล้วดู vdo ตั้งแต่การเตรียมดินถึงปลูกทุกขั้น
ตอน แตกต่างจากผม แค่ 1 ขั้นตอนแค่นั้นครับ คือ
การลงริปเปอร์ตามแนวร่องปลูก แต่ของผมลงเป็นตารางหมากฮอท ผมถามเค้า
แล้วมันต่างกันยังไง เค้าตอบว่ามันจะทำให้ดินเสียน้ำง่ายเกินไปถ้าลงแบบตาราง
หมากฮอท ผมไม่สามารถทำตามได้ เพราะเครื่องริปเปอร์แบบ 1 เขี้ยวผมไม่มี จะ
ให้ลงทุนซื้อก็คิดว่ายังไม่รู้ผลมันจะคุ้มกันไหม
มาถึงเรื่องปุ๋ยก็ไม่มีความรู้นอกระบบเหมือนในเวปนี้ ที่มีธาตุอาหารพืชแปลกๆ เยอะ
แยะ มาอธิบาย มีแนะนำก็มี 16-16-16 หรือ 16-16-8 สำหรับรองพื้น กับ 21-
7-18 สำหรับแต่งหน้า มันก็กลับมาระบบเดิมที่เค้าทำได้ 31 ตัน ผมว่าเรื่องระบบ
น้ำที่เค้าวาง แล้วให้ปุ๋ยน้ำทุกช่วงเวลาครับ เค้าให้ปุ๋ยน้ำ 4 ช่วง เวลาช่วงอ้อย1
เดือน, 3 เดือน, 4 เดือน, แล้วก็ 5 เดือน
ปล.
เพื่อมีคนไม่รู้ บ.ไออนิค ก็ "เวปฟาร์มเกษตร" นั่นละครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 8:17 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คือตอนนี้ที่ผมสนใจก็ปุ๋ยน้ำให้ทางใบ ของลุงคิมครับ ว่าสามารถสั่งซื้อทาง ปณ. ได้ไหมครับ
ปล.
ผมเพิ่งมาคุมไร่อ้อยได้แค่ 4 ปีครับ เพราะพ่อเสีย
ปล2.
ผมไม่ได้เรียนเกี่ยวกับเกษตรมาเลย แต่อาศัยใจรัก กับเสียดายของ เพราะแม่จะขายหมด เลยต้องลาออกจากงานมา บริหารต่อ
ปล3.
มีอบรมณ์อ้อยที่ไหนผมไปมั่วหมด ของมิตรผลนะครับ ของ รง.อื่น เค้าจะไม่แจ้งมาให้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 717
|
ตอบ: 11/10/2010 9:45 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับคุณเอ แห่งเมืองชุมแพ ขอนแก่น เอ่ยถึงขอนแก่นทีไรนึกถึงความหลังทุกที
เข้าเรื่องดีกว่า ขอชื่นชมคุณเอว่าเป็นคนที่ใฝ่คว้าหาความรู้เรื่องเกษตรกรรมดีมาก ซึ่ง
ก็คล้ายๆ กับผมที่ชอบการอบรมเรื่องเกี่ยวกับเกษตร ไปมันทุกที่ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่
เกี่ยวกับพืชที่ตัวเองทำอยู่ ถึงแม้จะได้ความรู้มาใหม่แค่บรรทัดหรือสองบรรทัดก็ถือ
ว่าคุ้มแล้ว
เรื่องอ้อยที่คุณทำอยู่ผมก็ไม่รู้และไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าที่คุณทำน่ะมันถูกหรือ
ผิดประการใด ต้องขออภัยเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ทำอ้อย (พ่อเคยทำสมัยที่ผม
เป็นเด็ก ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปาล์มน้ำมันหมดแล้ว) แต่เรื่องการให้น้ำแก่อ้อยเป็น
เรื่องที่ถูกต้องอยู่แล้ว เรื่องที่คุณควรหาความรู้เพิ่มคือเรื่องของสารอาหารและ
ฮอร์โมน เพราะการที่มิตรผลหรือวังขนายก็แล้วแต่ ทำผลผลิตได้เท่านั้นเท่านี้ตันนั้น
เขาเล่นเรื่องสารอาหารและฮอร์โมนด้วยแต่เขาไม่ได้เอามาบอกเรา ที่เขาไม่บอก
เราก็เพราะเขาเอาไว้ทำขายไงล่ะ แต่ถ้าหากเราหาความรู้เรื่องนี้อีกนิด ซึ่งไม่ใช่เรื่อง
ที่ยากอะไรเลย ลองผิดลองถูกสักรุ่นสองรุ่น คุณก็จะได้สูตรของคุณขึ้นมาแล้ว
เดินมาถูกทางแล้วแต่ยังไม่ถึงจุดหมาย สู้ต่อไปนะครับ
อ๊อดระยอง(สมาชิกชมรมเหงื่อหยด) _________________ อ๊อด ระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 10:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณ มากครับ คุณ อ๊อด ที่พยายามหาความรู้ก้เพื่อ เอามาทำให้ ไร่ของตัวเองดีขึ้น
ผมมาเจอ เวปนี้ ช้าไปนิด ไม่งั้นคงได้ ความรู้ใหม่กว่า นักวิชาการ ของ รง. มาให้
ความรู้แล้วลองอะไรใหม่ๆ ทำให้ผลผลิตตัวเองดีขึ้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 10:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมมีเรื่องจะถามผู้รู้ อยู่ 1 เรื่อง เอาไว้ เป็น ความรู้ครับ พอดีเกิด เรื่องกับ ผม
เรื่องเกิดเมื่อ 2 ปี ที่แล้วนะครับ
อ้อยในพื้นที่ 30 ไร่ ก่อนปลุกผม ได้สั่งซื้อน้ำ วีแนช จาก รง.มิตรผล มาราด ทั้งสิ้น
10 รถ แล้ว ทิ้ง ดิน ไว้ 1 ปี เพราะ เห็น ว่า ปลุกมานานดินเรื่มเสื่อม พอ ถึงช่วง
เดือน พฤจิกายน เริ่ม ทำการไถ ปลูก อ้อยที่เกิดมา งาม มาก จนทาง รง. มาสำรวจ
ดูแล้วว่าน่าจะได้ เกิน 23 ตัน/ไร่ แต่ มาเกิด อาการ โรค เน่า หรือ ไส้ สับปะรด
อ้อย อายุได้ประมาณ 7-8 เดือน คือเดินเข้าไปจะได้กลิ่น เหม็นเน่า เป็นทั้ง แปลง
ครับ 30 ไร่ เลยติดต่อไป ทาง รง. ให้ ช่วย ส่ง ทีม นกวิชาการมาดูให้ทีว่า จะ แก้
ไข อย่างไร แล้วสาเหตุเกิด โรค นั้น เกิด จากไหน เค้า ส่ง คนมาดุ แล้ว บอกว่า
เป็น โรค ไส้สับปะรด วิธีแก้ ไม่มี ประเด็นมันอยู่ที่ ว่า สาเหตุเกิด โรค เค้าบอกว่า
ดินอุดมสมบูรณ์เกินไป มันมีด้วยหรอ ครับ สาเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่กล้า
เถียง เลยได้แต่พยักหน้ารับ ยืนงงกับหัวหน้าคนงานตั้งนาน เค้าบอกห้าม ใส่ ปุ๋ยอีก
โดยเฉพาะ ยูเรีย คือช่วง ให้น้ำหยดผมจะให้ เดือน ละ 1 ครั้ง แล้วเอา ยูเรียละลาย
น้ำให้ไปกับระบบน้ำหยดด้วย ตกไร่ละ 5 กก.
ผมถามนักวิชาการว่า เราเอา ปูนขาวมา ว่าน เพื่อ ฆ่า เชื่อ ได้ไหม เค้าบอกไม่เกี่ยว
เพราะมัน อยู่ที่ดิน อุดมสมบูรณ์เกินไป
ดิน สมบูรณ์เกินไปนี่มันทำให้เกิด โรคได้ด้วย หรอ ครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ
เอ ชุมแพ ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 10:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สำนักงานสิ่งแวดล้อมบราซิล ประกาศห้ามเผาอ้อยทุกพื้นที่ในรัฐเซาเปาโล
เลขาธิการสำนักงานสิ่งแวดล้อม ของรัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล เปิดเผยว่า ขณะ
นี้ พื้นที่รัฐเซาเปาโล มีสภาวะอากาศแห้ง และมีความชื้นต่ำกว่า 20% จึงประกาศให้
ทุกพื้นที่ ของรัฐเซาเปาโล ห้ามมีการจุดไฟเผาอ้อยตลอดทั้งวัน ด้านประเทศฟิจิ ได้
ออกมาสนับสนุนและ ขอร้องเกษตรกรของตนให้เลิกเผาอ้อย
Kingsman รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2551 เลขาธิการสำนักงานสิ่งแวด
ล้อม ของรัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล ได้ประกาศห้ามไม่ให้มีการเผาอ้อยตลอดทั้ง
วัน เนื่องจากสภาพอากาศในรัฐเซาเปาโล เกือบในทุกพื้นที่มีสภาพอากาศแห้ง
ประกอบกับมีความชื้นในอากาศต่ำกว่า 20% สำนักงานสิ่งแวดล้อมของบราซิล จึง
ประกาศให้ในทุกพื้นที่ของรัฐเซาเปาโล ห้ามทำการ เผาอ้อยอย่างเด็ดขาด ส่วนใน
ประเทศฟิจิ โดยสมาคม Fiji Sugar Corporation (FSC) ได้ออกมาสนับสนุน
การเลิกเผาอ้อยเช่นกัน และมีการขอร้องไปยังเกษตรกรชาวไร่อ้อยของตนให้เลิก
เผาอ้อย เพื่อช่วยรักษาคุณภาพของอ้อยก่อนเข้าหีบ และลดมลพิษทางอากาศจาก
การเผาอ้อย
ทั้งนี้หลายๆ ประเทศได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเลิกการเผาอ้อย เพราะ
การเผาอ้อย นอกจากจะทำให้สูญเสียน้ำหนักและค่าความหวานแล้ว ยังมีผลเสียอีก
หลายประการ เช่น
1. ทำให้ตออ้อยถูกทำลาย
2. อ้อยมีสิ่งปนเปื้อน
3. อ้อยถูกตัดราคา
4. สูญเสียอินทรียวัตถุในดิน
5. ทำลายแมลงที่มีประโยชน์
6. เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอ้อยเพิ่มขึ้น
7. ทำลายสิ่งแวดล้อม คือ การเผาอ้อย ทำให้เกิดสารคาร์บอนมอนออกไซด์ และ
ฝุ่นละอองต่างๆ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดิน
หายใจ
ที่มา : Kingsman News Summary, 19 August 2008
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
20 สิงหาคม 2551
http://oldweb.ocsb.go.th/uploads/contents/4/attachfiles/F6751_cane%2020A%20ugust51.pdf
เปิดยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน ชู"อีสาน" โอเปกแห่งที่ 2 ของโลก
ท่ามกลางวิกฤติการณ์ด้านพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ หลายประเทศต่าง
หามาตรการประหยัดพลังงาน รวมทั้งแสวงหาพืชพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้า
น้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
เช่นเดียวกับรัฐบาลไทย ภายใต้การบริหารงานของนายสมัคร สุนทรเวช นายก
รัฐมนตรี โดยมีการผลักดันเรื่องพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ และล่าสุดมีการ
ผลักดันเรื่องพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งอาเซียน
ในขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตอ้อยและ
มันสำปะหลังอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการเดินสายจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติ
เรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาพืชทดแทนพลังงาน" ตามภูมิภาคต่างๆ รวม 9 จังหวัด
ทั้งภาคอีสาน และภาคกลาง เพื่อชี้แจง สร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดความรู้แก่
เกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง
กลางเวทีการประชุมสัมมนาที่มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น
นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศขึ้น
กลางเวทีว่า "จะผลักดันให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโอเปก 2 แหล่งพืชพลังงาน
ของโลก รองจากประเทศบราซิล" ท่ามกลางเกษตรกรชาว จ.ขอนแก่น กว่า
1,500 คน โดยให้เหตุผลว่า "ภาคอีสานมีศักยภาพในการผลิตอ้อยและมัน
สำปะหลังในระดับสูง และพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ก็เป็นเป้าหมายสำคัญที่จะนำมาใช้ผลิตเอ
ทานอลทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
"ไทยเป็นผู้ผลิตอ้อยและมันสำปะหลังรายใหญ่ ขณะที่ประเทศบราซิลซึ่งเจริญ
รุ่งเรืองมากในด้านพืชพลังงานทดแลนและส่งไปจำหน่ายทั่วโลก โดยเฉพาะการผลิต
เอทานอล ซึ่งประเทศบราซิลสามารถปลูกอ้อยได้ปีละ 300 ตัน โดยเป็นการบริโภค
ในประเทศเพียง 60 ตัน ที่เหลือนำมาทำเป็นเอทานอล ส่วนไทยผมมองว่าน่าจะเป็น
ประเทศที่ 2 รองจากบราซิล เพราะประเทศอื่นไม่ได้ส่งเสริมกันอย่างเต็มที่ อีกทั้ง
พื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชดังกล่าว" นายธีระชัยกล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ด้าน
พลังงาน
เปิดแผนส่งเสริมจาก "ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ"
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับ
พืชพลังงานว่า ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมเรื่องพืชพลังงาน ซึ่ง
กระทรวงเกษตรฯ เองก็ได้เดินหน้าขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิต
อ้อยและมันสำปะหลังอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับแต่งตั้งคณะกรรมการผลิตและส่ง
เสริมการใช้เอทานอลเป็นพลังงานทดแทน จัดทำแผนการผลิตวัตถุดิบเพื่อยกระดับ
ผลผลิตของเกษตรกร แผนการผลิตเอทานอล แผนการส่งเสริมการใช้เอทานอลเป็น
พลังงานทดแทนอย่างครบวงจร
แผนการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรฯ ในภาคต้นน้ำคือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและ
มันสำปะหลัง ขณะนี้มีต้นพันธุ์อ้อยประมาณ 6.5 ล้านท่อนที่จะนำมาทำเป็นแปลง
พันธุ์ได้ประมาณ 10,000 ไร่ และจะกระจายไปตามศูนย์วิจัยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อ
ขยายพันธุ์สำหรับให้เกษตรกรนำไปปลูก
ส่วนในภาคกลางน้ำ คือโรงงานผู้ผลิตเอทานอลที่ปัจจุบันมีภาคเอกชนยื่นขออนุญาต
ตั้งโรงงานไปแล้ว 45 แห่ง แต่สามารถเดินเครื่องผลิตได้เพียง 10 แห่งเท่านั้น ส่วน
อีก 10 โรงอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งภายหลังจากที่กระทรวงจัดสัมมนา
ทั่วทุกภูมิภาคเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชพลังงาน และจะแจกพันธุ์อ้อย
พันธุ์มันให้เกษตรกรนำไปปลูก ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าจะสร้างความมั่นใจให้
ผู้ประกอบการโรงงานในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล
ภาคปลายน้ำก็คือ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมัน ว่าในอนาคตนี้
จะมีเอทานอลเพียงพอในการผลิตแก๊สโซฮอล์แน่นอน ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการเกิด
ความเชื่อมั่นแล้วก็จะมีการขยายปั๊มน้ำมันเพื่อรองรับแก๊สโซฮอล์อี หรือหากในช่วง
แรกมีปริมาณเอทานอลล้นเกินความต้องการ กระทรวงการคลังก็อาจจะสนับสนุน
ทางด้านภาษี ด้วยการปรับลดภาษีส่งออกเพื่อให้สามารถส่งออกเอทานอลไป
จำหน่ายยังต่างประเทศในระหว่างที่มีการส่งเสริมการผลิตเอทานอล
ย้ำไม่แย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร
นายธีระชัยยังเน้นย้ำว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาพืชทดแทนพลังงานนี้จะไม่ส่งผล
กระทบต่ออาหารอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตพืชเพื่อป้อน
อุตสาหกรรมอาหารอย่างเพียงพอแล้ว เมื่อเกินความต้องการจะมีการส่งออก ขณะ
เดียวกันการส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังและอ้อยนั้น จะไม่ไปแย่ง
พื้นที่ในการปลูกพืชอย่างอื่นแน่นอน เพราะมันกับอ้อยเหมาะสำหรับพื้นที่ราบสูง
ส่วนในที่ราบลุ่มก็เหมาะแก่การปลูกข้าว เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ มันและอ้อยไม่เหมาะ
ต่อการปลูก ซึ่งพื้นที่ปลูกก็ชัดเจนอยู่แล้ว
"นโยบายของกระทรวงคือจะไม่ขยายพื้นที่ปลูก แต่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่แทนเพื่อให้
เพียงพอสำหรับการบริโภคและการผลิตเอทานอล โดยที่เกษตรกรจะได้รับการส่ง
เสริมในเรื่องพันธุ์อ้อยและมัน ที่ดีจากกรมวิชาการเกษตร" นายธีระชัยกล่าวทิ้งท้าย
ชี้พื้นที่ขอนแก่นเหมาะปลูกมัน
เพียงเพ็ญ ศรวัต นักวิชาการ 8 ว. ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น เปิดเผยถึงสถานการณ์
การปลูกอ้อยในปัจจุบันว่า อ้อยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 6.4 ล้านไร่ ให้ผลผลิต
จำนวน 73.2 ล้านตัน คิดเป็นผลผลิตโดยเฉลี่ย 10.9 ตันต่อไร่ สามารถผลิตเป็น
น้ำตาลได้ 7.2 ล้านตัน ส่วนกากน้ำตาลจะได้ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี
ส่วนมันสำปะหลังมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 7.4 ล้านไร่ ผลผลิต 27 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย
3.7 ตันต่อไร่ โดยปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็น
อันดับ 1 ของโลก ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกได้แก่ มันเส้น และมันอัดเม็ด ตลาดส่งออก
ได้แก่ สหภาพยุโรป และจีน
ทั้งนี้พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมต่อพื้นที่ปลูกใน จ.ขอนแก่น ได้แก่ ระยอง 5
ระยอง 7 ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ระยอง 9 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย
8.4 ตัน-12 ตันต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงโดยเฉลี่ย 28.31%
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/2008/07/28/x_agi_b001_213248.php?news_id=213248
http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=460
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/10/2010 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 11:05 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี นักวิจัยและประดิษฐ์ “รถตัดอ้อยขนาดเล็ก” นำคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ไร่อ้อย ทดสอบประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้จริงกับชาวเกษตรกรชาวไร่อ้อย
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ณ แปลงไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลวังขนาย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี นักวิจัยและนักประดิษฐ์ “รถตัดอ้อยขนาดเล็ก” คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ไร่อ้อย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็ก ที่ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนารถตัดอ้อยขนาดเล็กที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างให้เป็นรถตัดอ้อยต้นแบบที่มีความสามารถลดการปนเปื้อนของใบอ้อย กับต้นอ้อยลง ให้สามารถตัดอ้อยได้วันละ 60 ตัน ต่อวัน และสามารถตัดอ้อยล้มได้
การใช้ประโยชน์จากรถตัดอ้อยขนาดเล็ก หากได้พัฒนาปรับปรุงให้สมบูรณ์ใช้งานได้จริงแล้ว จะสามารถลดต้นทุนของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าจ้างตัดอ้อย 1,250 บาทต่อไร่ ทำงานตลอดฤดูเก็บเกี่ยว 150 วัน หรือ 750 ไร่ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตลอดฤดู 937,500 บาท ต่อ ฤดู หรือสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 3-4 ปี ลดการนำเข้าของเครื่องจักรกลจากต่างประเทศ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ 50 คนต่อวัน สามารถลดแรงงานที่ใช้ในการตัดอ้อย 7,500 คนต่อฤดู และลดการเผาอ้อย ได้อีกด้วย
อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี กล่าวว่า รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โรงงานน้ำตาลวังขนาย และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งการลงพื้นที่ในวันนี้ ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวิจัยมาตรวจสอบ และชมการทดสอบรถตัดอ้อยขนาดเล็ก ในการทดลอง คือ ตัดยอด ตัดโคน และสางใบ ซึ่งปัญหาที่พบก็คือ การขับเคลื่อน และการลำเลียงลำอ้อยที่ถูกตัดแล้วยังพบใบอ้อยไปติดอยู่ที่ตัวใบมีด ก็ทำให้เครื่องหยุดทำงาน ซึ่งทางคณะผู้วิจัย ก็จะไปปรับปรุงแก้ไขและมาทดสอบดูอีกในครั้งต่อไป และวันนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คำแนะนำหลายอย่าง ทั้งระบบขับเคลื่อน และการลำเลียงอ้อย การบังคับเลี้ยว รายละเอียดย่อยต่างๆ สำหรับปริมาณในการตัด ถ้าปรับปรุงจนสมบูรณ์แล้ว ปริมาณและประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็กนี้ จะตัดอ้อยได้ประมาณวันล่ะ 60 - 80 ตัน แต่ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง ยังไม่ได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซนต์
ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีวิเวศน์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเรานำเข้ารถตัดอ้อย จากออสเตรเลีย บราซิล และประเทศอื่นๆ ซึ่งราคาจริงถ้าเป็นตัวใหม่ๆ ราคาประมาณ 8 ล้าน ถึง 10 ล้าน หรือซื้อของใช้แล้วประมาณ 5 ล้าน แต่เมื่อมีนักวิจัยที่จริงจังในการผลิตและพัฒนารถตัดอ้อย อย่างที่อาจารย์ทนงศักดิ์ ได้ทำอยู่ตอนนี้ ก็จะประหยัดและช่วยเกษตรกรได้มากขึ้นหลายเท่า เพราะจุดเด่นของรถที่อาจารย์ทนงศักดิ์ ผลิตขึ้นมาก็คือ ต้นทุนราคาถูก คนไทยทำเอง และใช้ระบบไฮดรอลิกค์ เข้ามาช่วยค่อนข้างมาก ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของเครื่องนิ่มมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ การทดลองใช้ประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย ยังไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของ การแก้ปัญหาอ้อยล้ม การพัฒนาด้วยการเพิ่มกำลังรถขึ้นอีก และให้ตัดได้มากขึ้น ซึ่งการต่อยอดแต่ละครั้ง ก็จะทำให้นักวิจัยมีประสบการณ์มากขึ้น พัฒนางานได้ดีขึ้น และที่สำคัญสามารถนำความรู้และประสบการณ์ตรงของตนเอง ไปสอนนิสิตนักศึกษาให้เกิดความรู้ และคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นต่อไปได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ ผู้ตรวจสอบทางวิชาการ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ได้คิดประดิษฐ์รถตัดอ้อยขนาดเล็ก เพื่อใช้ลดแรงงานคนในการตัดอ้อย ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน เพราะว่าเป็นการใช้งานได้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการนำเอาความคิดของการที่จะใช้รถตัดขนาดกลาง ขนาดเล็ก ให้เหมาะสมกับชาวไร่อ้อย ซึ่งจากการที่ได้ดูการทดสอบของรถตัดอ้อยขนาดเล็กแล้ว ก็ถือว่าพัฒนาไปได้เยอะ ในส่วนของการขับเคลื่อนและการตัด แต่ต้องมีปรับปรุงในส่วนของการส่งกำลังเพิ่มขึ้น เพราะใช้กำลังที่มาก และส่วนของการสางใบอ้อย ไม่ให้เข้าไปพันในแกน ก็ต้องมีการสางใบให้มากกว่านี้ การลำเลียงอ้อยเพื่อที่จะให้ไปกองด้านท้ายของเครื่อง จะต้องให้มันมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะทำให้เวลาตามเก็บมีความสะดวกมากขึ้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี โทรศัพท์ 086-5527493
ภาพ / ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : คณะเทคโนโลยี
http://web.msu.ac.th/hotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=707&uf=&qu=
http://web.msu.ac.th/hotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=707&uf=&qu= |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 11:21 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ทฤษฏี "สองเปิด"
แนวคิด “ทฤษฎีสองเปิด” โดย บำรุง บุญปัญญา เก็บความมาจากเวทีติดตามสถานการณ์ข้อมูล วิกฤติพลังงาน และความมั่นคงทางด้านอาหาร จัดโดย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ สำนักงานชลประทารที่ ๖ ขอนแก่น
บำรุง บุญปัญญา :ทฤษฏีสองเปิด
เรื่องที่สำคัญที่สุดคือว่า มันมีคนพวกหนึ่ง ที่เราเรียกว่าบริษัทข้ามชาติ บริษัทยักษ์ใหญ่ บริษัทผูกขาด มันกด มันบีบคอเรามาตลอด เรารู้ละว่ามันกดแน่ วิธีพูดจะพูดว่าเกษตรพันธะสัญญา เกษตรแบบไหน แต่มึงกดคอกูแน่ อันนี้ชัด ทีนี้กูคือใคร กูก็คือเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรที่ทำมาหากินมาชั่วนาตาปี ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่จนถึงปัจจุบัน เรามีสมัชชาเกษตรกรรายย่อยก่อนมีสมัชชาต่าง ๆ ในปัจจุบัน ตอนนั้นเราประกาศว่า ผู้ผลิตรายย่อยต่าง ๆ ต้องสู้กับบริษัท ซีพี ที่จะทำ พรบ.สภาการเกษตรแห่งชาติ
ตอนนี้จะกลับมาใหม่ เกษตรกรรายย่อยกับเกษตรรายใหญ่ เมื่อก่อนทำตัวลักษณะเลี้ยงไข้ แต่ตอนนี้ มันจะเอาเข้าระบบปิด คงคล้าย ๆ ไก่ ซีพี ที่เอาไว้ในกรง เขาจึงเสนอทฤษฎีสองสูง คือ ราคาสินค้าสูง และก็หยอดนิดว่าเกษตรกรจะต้องได้ราคาผลผลิตสูง แล้วพวกข้าราชการ แรงงานทั้งหลายจะได้เงินเดือนขึ้น ข้าแรงก็จะสูง คือการสร้างสวรรค์ให้คนฝันหา แต่ที่หลายคนสะท้อน คือ สัญชาติเสือยังไงก็ยังกินเนื้ออยู่วันยังค่ำ สันดานเป็นอย่างนั้น
ข้อมูลที่เราได้ต้องชัดเจน ว่าใครคือศัตรู ใครเป็นคนทำลาย ที่ต้องชี้ให้ชัด สองสูง คือ สองบีบ บีบให้เกษตรกรตกต่ำ เพื่อเอาเข้าโรงงาน ตอนปี ๒๕๔๐ มันพังเรื่องต้มยำกุ้ง วิกฤติต้มยำกุ้ง คนในโรงงานส่วนหนึ่งกลับมาบ้าน แต่ยังมีหลังอิง แต่คราวนี้ถ้าเกิดวิกฤตคราวนี้จะเข้ามาที่นาก็ไม่ได้ ไปโรงงานก็โดนบีบคอ นี่คือ สองบีบ นี่คิดว่าน่าจะได้ข้อวิเคราะห์ที่ชัดเจนแล้ว
ทีนี้ในความเข้าใจของผม กระแสการเคลื่อนตอนนี้จะเอาแต่ชาวนาไม่ได้ ผู้ที่เป็นคนชนชั้นกลาง ผู้บริโภคที่ต้องซื้อข้าวกิน กระแสการดิ้นรนที่จะข้ามพ้นวังวนชนิดนี้มีเสนอมาแล้ว ๒ แบบ
แบบหนึ่ง...เสนอว่า การผลิตชนิดที่ใส่ปุ๋ยใส่ยาใส่อะไรเยอะแยะเลย มันพังฉิบหายหมด เพราะสุขภาพมันแย่ มนุษย์ผู้เสพอาหารเป็นพิษโดยเนื้อมือของตัวเอง ต่อไปนี้เสนอว่าทุกอย่างน่าจะปลอดสารเคมี สารพิษ กระแสตัวนี้ผมว่ามันไปแล้ว เมื่อ ๑๐ ปีก่อนยังไม่ค่อยขึ้น คนที่ช่วยเราได้มากที่สุดคือคนชั้นกลาง สรุปแล้วคือทำลายมนุษย์ เราต้องทะลวงต่อไป
แบบสอง....กระแสว่า การผลิตทั้งหลายทั้งปวง ไม่เฉพาะเกษตรแม้กระทั่ง โรงงานก็ [color=red] เป็นการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ดินน้ำป่าอุดมสมบูรณ์ [/color]ผมคิดว่าเป็นกระแสที่ได้รับการตอบรับจากสังคม พูดง่าย ๆ ว่า เรามีตั้งสองประแสที่แบคอัพเราอยู่ แต่เราจะใช้ประโยชน์มันไหม ถ้าใช้ประโยชน์ การเคลื่อนไหวนี้ไม่เฉพาะชาวนา แต่เป็นการเคลื่อนไหวของคนทุกส่วนที่จะบอกว่าจินตนาการของซีพีที่ว่า “สองสูง” ที่จริงแล้ว มันคือ “สองบีบ”
เราต้องเสนอทฤษฏี ๒ เปิด คือ
หนึ่ง.... เปิดการผลิตแบบเดิม ที่ไปแบบนี้คือ ยุคของอุตสาหกรรม การผลิตแบบอุตสาหกรรม การผลิตแบบนี้น่าจะสิ้นสุดแล้ว ในความหมายที่ว่ามันทำลายสิ่งแวดล้อม นี่คือการต่อสู้ที่ยาวมาก เป็นการต่อสู้กันทางความคิด คือการเปิดโลกทัศน์ นั่นเอง อุดมการณ์ในการต่อสู้ยาว มีความจำเป็นมาก
สอง.... เปิดความสัมพันธ์ที่ข้ามเฉพาะกลุ่มชาวนา กลุ่มกรรมกรคือ ความสัมพันธ์ที่ข้ามระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ให้ตระหนักรู้ร่วมกันว่าผลกระทบ จากพวกนี้และทฤษฎีสองสูงนี้ มันเป็นการปิดล้อมพวกเรา
ส่วนเรื่องที่พวกเราทำมาเสมอคือ การต่อรองทางการเมือง อันนี้เราทำเสมอ และคิดว่าต้องทำกันต่อไป แต่ว่าแนวที่จะลึก กว้าง ต้องมีเวทีที่จะคิดให้เลยข้ามที่จะผลิตแบบอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ของประเทศตะวันตกทุกประเทศ คือ มุ่งที่ทำลายรายย่อย ประเทศใต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น มุ่งทำลายรายย่อย ในที่สุดก็พบว่า การเกษตรขนาดใหญ่ ฟาร์มขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งตอนหลังมันก็เป็นขี้ข้าของมอนเซนโต (พวกมารเส้นโต) มันก็เกิดกระแส ที่ว่าต้องฟื้นรายย่อยขึ้นมา เช่น ที่เกาหลี ที่ต่อต้าน เอฟทีเอ. นั้นคือรายย่อยที่ไม่กลัวตำรวจ ก็แสดงว่าประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมไปมาก ๆ ในที่สุด ก็ต้องกลับมาที่รายย่อย เพราะรายย่อยเป็นชุมชน เป็นท้องถิ่น รักษาทรัพยากร
สรุปแล้วต้องกลับมาแบบที่เราคิดนี่แหละ เราต้องคิดรูปแบบที่เหมาะสมกับรายย่อย เหมาะสมกับชุมชน ในต่างประเทศ เช่น คิวบา เป็นสังคมนิยมที่ต่อสู้กับอเมริกาอย่างหนักที่สุดมาตลอด คิวบาก็สามารถผลิตอ้อยได้เป็นที่หนึ่งของโลก ส่งออกน้ำตาลเป็นที่หนึ่งของโลก แต่ในที่สุดคิวบาก็พัง หลังจากพังก็คิดค้นว่าจะไปอย่างไร เพราะทุกตารางนิ้วปลูกอ้อยหมด ก็พบว่ามีชนกลุ่มน้อย ที่เป็นเกษตรกรรายย่อยอยู่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็น ถือว่ากำลังคนพวกนี้เป็นพลังพื้นฐานในการฟื้นคิวบามาใหม่ อีกครั้ง เป็นอุทาหรณ์ว่าหลายประเทศที่ก้าวล้ำไปเยอะ เป็นเสือตัวที่ ๔ เราจะเป็นเสือตัวที่ ๕ ซึ่ง ณ ตอนนี้เป็นไม่ได้แล้ว
กระแสโลกหวนกลับว่า ในที่สุดแล้วต้องมาคิดออกแบบการเคลื่อนไหวจากคนข้างล่าง ในประเทศไทยผมว่ามี ไม่น้อยกว่าประเทศอื่นที่มีการคิดค้น รวบรวมชูขึ้นเพื่อต่อสู้กับมอนเซนโต หรือซีพี ผมคิดว่า เมื่อกระแสโลกผันไปทั่ว การคิดค้นทางออก ทางเลือกเกษตรกร ไม่ใช่เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง ความหวังที่เรายืนอยู่ เป็นความคิดที่ถูกต้องแล้ว เราทบทวนบ่อย ๆ เราจะสามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง
http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=writebumrung&No=2219
http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B2&hl=th&ei=-o2yTKnBIYGSuwPBhoCDBw&start=20&sa=N |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 11/10/2010 11:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดี คุณA_Chumphae ค่ะ
ไม่ได้เรียนเกษตรมาเหมือนกันค่ะ แต่ใจรัก เท่านี้ก็ประเสริฐสุด ๆ แล้วค่ะ สำหรับอาชีพเกษตรกรรม
จากที่ลุงคิมตีไข่แตกให้..แล้วสอนให้นับหนึ่ง ที่นี่จึงมีบุคคลตัวอย่างที่สามารถนับสอง สาม สี่..ต่อยอดไปแล้วได้มากมาย
เอาใจช่วยนะค่ะ พวกเรามาถูกทางแล้ว แต่หา "แสงสว่างปากถ้ำให้เจอ" นะค่ะ สู้ สู้
อ่านข้อมูลอย่างเดียวไม่พอค่ะ...ไปคุยกับลุง...ไปพบลุงให้ได้..แล้วคุณจะต่อจิ๊กซอว์ง่ายขึ้น
.............................. เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ......................
กระทู้นี้มีโดนใจหลายประโยค
kimzagass บันทึก: | ปลูกอ้อย ตามใจ "วังขนาย. + มิตรผล = มึงตัยยยยย ยกกำลัง 2" |
A_Chumphae บันทึก: | สาเหตุเกิด โรค เค้าบอกว่า ดินอุดมสมบูรณ์เกินไป มันมีด้วยหรอ ครับ สาเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่กล้า เถียง เลยได้แต่พยักหน้ารับ ยืนงงกับหัวหน้าคนงานตั้งนาน |
เป็นตัวเองก็คงยืนงงเหมือนกัน ? (ตอบมาได้ไง)แล้วอยากจะเอากำปั้นเขกกะบาลตัวเอง นี่เราทำตามใคร แล้วเชื่อเขาได้ไง... เวรของตู...
คนเราร่างกายแข็งแรง อุดมสมบรูณ์ จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนรึ ?
ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ที่เล่าสู่กันฟังค่ะ....มันเจ็บจี๊ด ๆ ในใจเนอะ ....เกษตรกรไทย.......
นกขุนทอง(หัดนับหนึ่งอยู่) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 11:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
รอไปประชุมที่กาญฯอยู่ครับ จะไปขอความรู้จาก ลุงคิม ถึงไร่เลยครับ
เอ ชุมแพ ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 12:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
์ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยทั่วโลก
ในปี 2544 ผลผลิตอ้อยของโลกมีประมาณ 1,257 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 10.4 ตันต่อไร่ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอ้อยอันดับ 5 ของโลกรองจากประเทศบราซิล อินเดีย จีน และเม็กซิโก
อ้อยโรงงาน : เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ พ.ศ. 2544
บราซิล ..................................................... 10,802
อินเดีย...................................................... 11,299
จีน.......................................................... 12,038
เม็กซิโก.................................................... 12,183
ไทย 1/ ................................................... 9,496
ปากีสถาน ................................................. 7,262
คิวบา ...................................................... 5,091
โคลัมเบีย ................................................. 13,259
สหรัฐอเมริกา ............................................. 12,740
ออสเตรเลีย............................................... 12,082
อื่น ๆ ...................................................... 10,004
ที่มา : ประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเทศอื่น, องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
หมายเหตุ : 1/ เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก
ประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2544/45 มีพื้นที่เพาะปลูก 6.32 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 60.01 ล้านตัน เป็นผลผลิตเฉลี่ย 9.49 ตันต่อไร่
แหล่งปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา เพชรบรูณ์ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงสุดที่สุพรรณบุรี 10,819 กก./ไร่ (สถิติการเพาะปลูกอ้อย)
ที่มา : *เอกสารรับรองพันธุ์ *ข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร *ข้อมูลสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย
http://plantscience.igetweb.com/?mo=3&art=166946
plantscience.igetweb.com/?mo=3&art=166946 - |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 12:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่าสนใจหลายๆข้อมูลที่ ลุงเอามาให้อ่านครับผม
ถ้าผมไปหา ลุงที่ไร่ นี่ต้องโทรนัดลุงก่อนไหมครับ
จะไปขอความรู้ด้านการให้ปุ๋ยอ้อยครับ แล้วก็กะว่าจะไปซื้อปุ๋ยน้ำลุงด้วยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 2:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
A_Chumphae บันทึก: |
ถ้าผมไปหา ลุงที่ไร่ นี่ต้องโทรนัดลุงก่อนไหมครับ
จะไปขอความรู้ด้านการให้ปุ๋ยอ้อยครับ แล้วก็กะว่าจะไปซื้อปุ๋ยน้ำลุงด้วยครับ |
จะไปทำไมที่ไร่กล้อมแกล้ม ที่นั่นไม่มีอะไร ไม่มีอ้อย จะมีก็แต่ "อ้อย บีเอ็ม" ไหนเลยจะสู้ "อ้อย ชุมแพ" ได้
ปรึกษาลุงคิม ได้คำตอบเป็นเพียงคำพูด ในเมื่อทุกคำพูดแปลงเป็นตัวอักษรอยู่ใน
เว้บนี้ทั้งหมดแล้ว....ฟัง 100 ครั้งไม่เท่าอ่าน 1 ครั้ง....อ่าน 100 ครั้งไม่เท่าดู 1
ครั้ง....ดู 100 ครั้งไม่เท่าทำเอง 1 ครั้ง.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 11/10/2010 2:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยทั่วโลก ในปี 2544 (ต่อพื้นที่ 1 ไร่)
1. โคลัมเบีย .............................. 13,259
2. สหรัฐอเมริกา .......................... 12,740
3. เม็กซิโก................................ 12,183
4. ออสเตรเลีย............................ 12,082
5. จีน..................................... 12,038
6. อินเดีย................................. 11,299
7. บราซิล ................................ 10,802
8. อืน ๆ .................................. 10,004
9. ไทย 1/ ............................... 9,496
10. ปากีสถาน ............................ 7,262
11. คิวบา ................................. 5,091
ยกมาจัดเรียงอันดับให้เห็นชัดๆ ว่าฝีมือไทยระดับไหน ชี้ให้เห็นชัดว่า ทั้งผู้ส่งเสริม
และผู้รับการส่งเสริม ต่างเดินกันคนละทาง....
นี่เพียงอ้อยอย่างเดียว แล้วอย่างอื่นล่ะ เช่น ข้าว. สำปะหลัง. ถั่วเหลือง/
เขียว. ข้าวโพด. ล้วนแต่มีอัตราเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่าๆกัน ไทยได้น้อยกว่าทุกตัว....
อัตราเฉลี่ยที่รู้นี้ มิใช่เพิ่งรู้ในปีนี้หรือเมื่อปีที่แล้ว แต่รู้มานานกว่า 10 ปี แล้ว แสดง
ว่าตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ไม่มีการพัฒนาแก้ไขใดๆทั้งสิ้น
NATO....
N = NO,
A = ACTION,
T = TALK,
O = ONLY
แปลว่า ไม่มีการปฏิบัติ มีแต่พูดเท่านั้น
สมเด็จแม่แห่งแผ่นดิน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระปฏิสันฐาน
กับท่านภริยาประธานประเทศ สปปล.ลาว ทรงเล่าว่า ".....ประเทศไทยมี
ดอกเตอร์มากมาย เดินเพล่นพ่านเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด.... ฯลฯ"
ในความเป็นจริง ผู้มีคุณวุฒิสูงๆ ระดับด็อกเตอร์ เรียนจบต่างประเทศ จากประเทศที่
ทำการเกษตรเหมือนไทย ขนาด พ่อ-แม่-พี่-น้อง-ญาติสนิท-มิตรสหาย ของท่าน
เอง รวมทั้งตัวดอกเตอร์เองด้วยก็ยังล้มเหลวโดยสิ้นเชิง จึงให้สงสัยว่า ด็อกเตอร์
เหล่านั้นท่านไปเรียนอะไรมากัน
ในหลายๆบ้าน มีลูกหลานเรียนจบระดับปริญญาเอก เป็นด็อกเตอร์ ก็ยังล้มเหลวใน
ทางเกษตรได้ แม้ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางการเกษตรโดยตรง แต่ "กระบวนการคิด-
เทคนิควางแผน" แม้แต่ "ตรรกวิทยา" ว่าด้วย เหตุและผล ในทุกคณะ ทุกมหา-
ลัย ที่เรียน ก็น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวตัวเองได้
คุณหมง. จบเกษตรจาก มข. ยืนยันแน่นอนว่า ทุกอาจารย์สอนว่า "แม้แต่พืชไร่ก็
ต้องการน้ำ...." จึงเชื่อว่า ทุกอาจารย์ ทุกมหา-ลัย ก็ต้องสอนแบบนี้ แล้วทำไม
แล้วทำไมนักศึกษาที่จบแล้วไปทำงานด้านพืชไร่ จึงแนะนำชาวไร่ว่า "พืชไร่เป็นพืช
ทนแล้ง ไม่ต้องให้น้ำก็ได้....." กับอีกหลายๆ อย่างที่ผิดเพี้ยนไปจากตำรา จาก
งานวิจัย อย่างสิ้นเชิง
ฉนี้แล้ว ใครจะช่วยคุณ ถ้าคุณไม่ช่วยตัวเอง
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/10/2010 6:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 11/10/2010 7:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เป็นไปได้ก็ อยาก ไป ให้ ลุงคิม อบรม ครับ
ถึง ไร่ ลุง คิมจะไม่มี อ้อย แต่ผมอยากจะไปเรียนรู้ ถึงระบบ พืช ครับ ระบบน้ำ และ
อีก หลายๆ อย่าง คือ อยากเห็น ของจริง ครับ เห็น ใน บอร์ด ที่ไร่ ลุงคิม มี อบ
รมณ์ ด้วย ใช่ไหมครับ
แล้ว ช่วงนี้ ยังมี ฝึกอบรม บ้างหรือ ป่าวครับ ถ้ายังมี ผม สนใจ มากนะครับ อยาก
เข้าฝึก ครับ (ไม่ใช่ฝึก ทหาร นะครับ )
ถ้าไร่ กล้อมแกล้ม ต้อนรับ จะ ขอบพระคุณ อย่างสูง ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|