ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 19/11/2010 9:39 pm ชื่อกระทู้: แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช |
|
|
แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
(Zinc in fertilizers essential for crops)
ปุ๋ย (Fertilizers)
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการทำการเกษตร และการทำสวน เพื่อให้พืชและดินได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ในดินมักมีแร่ธาตุอยู่ตามธรรมชาติ แต่มักมีในปริมาณที่แตกต่างกัน และโดยส่วนมากมักจะน้อยกว่าปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การขาดแร่ธาตุในดินเป็นผลมาจากการทำการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการเติมแร่ธาตุเหล่านี้ให้แก่ดินอย่างเพียงพอ ปัญหานี้มักพบมากในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เป็นแหล่งอาการสำหรับพืชยังน้อย ปุ๋ยสามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับดินและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช มีการนำปุ๋ยมาใช้ในการทำไร่นามามากกว่าร้อยปี และพบว่ามันช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพืชผลได้ นอกจากนี้ปุ๋ยยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำสวน ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผลผลิตซึ่งเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์มากขึ้น และคุณภาพดีขึ้นด้วย
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช (Plant nutrients)
โดยทั่วไปพืชต้องการทั้งสารอาหารหลัก และสารอาหารรอง ซึ่งจำเป็นต่อความสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ สารอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม จะถูกใช้ในปริมาณมาก สารอาหารรองถึงแม้จะต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืช หนึ่งในสารอาหารรองที่จำเป็นก็คือ สังกะสี
ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช (Importance of zinc for plants)
สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสีมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
- การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
- การสังเคราะห์โปรตีน
- การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
- การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
- การต้านทานโรค
การขาดสังกะสี (Zinc deficiency)
เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (interveinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น (stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลาหลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช
จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึง พืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ
พืชไรเป็นแหล่งอาหารและมีผลต่อสุขภาพ (Crop nutrition and health)
พืชไร่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ ในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยพืชชนิดเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด โดยทั่วไปพืชไร่มักจะขาดสังกะสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการเพาะปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของพืชชนิดเมล็ดในโลกที่ขาดสังกะสี และประมาณการว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากาโลกมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งมีผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมถึงภูมิต้านทานร่างกายต่ำ การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า ในเรื่องนี้ การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของตัวแปรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของการเกิดโรค สำหรับทั่วโลก การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 11 จากทั้งหมด 20 ตัวแปร องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization / WHO) เชื่อว่าประชากรทั่วโลกที่เสียชีวิต 800,000 คนต่อปี เป็นผลมาจากการขาดสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการได้รับหรือการดูดซึมสังกะสีที่ไม่เพียงพอจากการอดอาหาร การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในอาหารพวกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินขาดสังกะสีอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆเพื่อที่จะต่อสู้กับการขาดอาหาร หรือความอดอยาก ในมนุษย์และสัตว์
การแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่ (Correcting zinc deficiency in crops)
วิธีที่รวดเร็วและคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่และดิน คือการใช้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีเป็นส่วนผสมอยู่ ธาตุสังกะสีที่ใส่ในปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- สารประกอบอนินทรีย์
- สารประกอบอินทรีย์
ในบรรดาสารประกอบอนินทรีย์ สังกะสีซัลเฟตถูกนำมาใช้มากที่สุด สังกะสีซัลเฟตละลายน้ำได้ดีมากมีทั้งในรูปที่เป็นผลึกและเป็นเม็ด การละลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์สังกะสีอื่นๆ ได้แก่ สังกะสีไนเตรท สังกะสีซัลฟอรัส สังกะสีซัลเฟตรูปแบบอื่น และสังกะสีออกไซด์
สารประกอบอินทรีย์สังกะสี โดยเฉพาะคีเลทสังเคราะห์ ได้แก่ Zn-EDTA, Zn-HEDTA, Zinc polyflavonoids และ Zinc lignosulfonates
สังกะสีอาจถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย single-nutrient หรือธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ได้ สังกะสีเป็นธาตุหลักของปุ๋ยพิเศษ ซึ่งมันประกอบด้วยธาตุต่างๆ ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับพืชไร่แต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ และแต่ละเวลา
วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี (Application methods of zinc fertilizers)
มีหลายวิธีในการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีแก่พืชไร และดิน:
สเปรย์ที่ใบ : ...............เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
ทางดิน : ...................เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : .....ให้แร่ธาตุโดยระบบกวน
ทางเมล็ด
แต่ละวิธีมีข้อดีต่างกัน ขึ้นกับลักษณะของพืช ดิน ชนิดของปุ๋ยและส่วนประกอบ การใช้หลายวิธีประกอบกันก็สามารถทำได้ และอาจได้ผลดีกว่าในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ วิธีการให้ปุ๋ยสังกะสีอาจกระทบสมดุลของธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแบบสมดุลด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะกับดินทั่วไปหรือการทดลองปลูกพืช
การใช้ปุ๋ย (The use of fertilizer)
โดยทั่วไปมักใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชและดิน อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยจะได้ผลดีที่สุดกับดินที่มีความเป็นธรรมชาติสูง หรือดินที่มีการบำรุงโดยใช้ปุ๋ย ด้วยภาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง, การขาดแคลนพืช และการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก เพราะฉะนั้นแหล่งอาหารของโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องมีการเพิ่มการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยสารอาหารรองเป็นตัวแปรหนึ่งที่จำกัดว่าที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มีสารอาหารรองสามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งคุณภาพผลผลิตได้
สรุป (Conclusion)
สังกะสีในปุ๋ยสามารถเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างมาก เมื่อเพิ่มปริมาณสังกะสีในพืช อีกทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ยังได้ประโยชน์จากปริมาณสังกะสีซึ่งเป็นธาตุที่ต้องการมากขึ้นด้วย
http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539192836&Ntype=13 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 20/11/2010 10:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงครับ
ในขั้นตอนการเตรียมดินเพื่อเพาะปลูก
ถ้าหากต้องการเพิ่มเติมแร่ธาตุสังกะสีลงในดิน คือ ทำให้ดินอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี
จะสามารถหาธาตุสังกะสีจากอินทรีย์วัตถุของธรรมชาติ ประเภทใดบ้างครับ ?
การที่มีแร่ธาตุสังกะสีมากๆในดิน นั้นไม่ส่งผลเสียใดๆ
ต่อกระบวนการห่วงโซ่อาหารของพืชและสิ่งแวดล้อม หรือเป็นเช่นใดครับ ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 20/11/2010 3:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
[quote="mangotree"]ลุงครับ
ในขั้นตอนการเตรียมดินเพื่อเพาะปลูก
ถ้าหากต้องการเพิ่มเติมแร่ธาตุสังกะสีลงในดิน คือ ทำให้ดินอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี
จะสามารถหา ธาตุสังกะสีจากอินทรีย์วัตถุของธรรมชาติ ประเภทใดบ้างครับ ?
การที่มีแร่ ธาตุสังกะสีมากๆ ในดิน นั้นไม่ส่งผลเสียใดๆ
ต่อกระบวนการห่วงโซ่อาหารของพืชและสิ่งแวดล้อม หรือเป็นเช่นใดครับ ?[/quote] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 20/11/2010 3:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ธาตุสังกะสีอินทรีย์มีมากใน "สัตว์ทะเล" ...... ข้อมูลใน "เมนูหลัก - อินทรีย์ชีวภาพ" เข้าไปอ่านเอง.....
อะไรๆ ในโลก ถ้า "มากเกิน หรือ น้อยเกิน" ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เป็นธรรมดา.....เปรียบเทียบกับอาหารที่คนกินก็ได้
ลุงคิม (พอดีบางเรื่อง ๆ เกินพอดี) ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 21/11/2010 2:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เป็นเช่นนั้น ดินที่มีอินทรีย์วัตถุหลากหลายทางชีวภาพ
และ/หรือเป็นดินที่ใช้น้ำหมักสกัดสารอาหารจากสัตว์ทะเล
รวมถึงอื่นๆในทะเล จะไม่ขาดแคลนธาตุแมกเนเซี่ยมกับสังกะสี ?
แต่อาจยังไม่ เพียงพอ ต่อการสร้างผลผลิตนอกฤดู |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 4:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การที่จะชี้ชัดว่า "เพียงพอ" หรือไม่นั้นต้องวิเคราะห์จาก....
1. ชนิดพืช (มะเขือ/พริก เปรียบเทียบกับ ทุเรียน/มังคุด...ปริมาณความต้องการ
ย่อมมากหรือน้อยไม่เท่ากัน
2. ระยะพัฒนาการ (ช่วงใบอ่อน เปรียบเทียบกับ ช่วงสร้างผล....ปริมาณความต้อง
การย่อมมากน้อยไม่เท่ากัน
3. ความสมบูรณ์ของต้น (ต้นที่สมบูรณ์สูง เปรียบเทียบกับ ต้นโทรม....การตอบรับ
หรือตอบสนองย่อมดีหรือไม่ดี ไม่เท่ากัน)
4. ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร/สายพันธุ์/โรค)
ทำให้สารอาหารแต่ละชนิดเกิดประสิทธิภาพต่างกัน
5. สมดุลระหว่างสารอาหารแต่ละตัวเหมาะสมด้วยปริมาณและปัจจัยประกอบ
6. เทคนิคการให้
7. ฯลฯ
พิจารณาแล้วเหมือนมีแต่ปัญหา ท่าทางจะไม่ได้แน่ อย่าเพิ่งกังวล ขอให้ได้ให้ไป
เถิด เพราะถึงอย่างไรต้นพืชพร้อมที่จะปรับตัวเองเข้าหา "ข้อผิดพลาด หรือ ปัจจัย
ต้าน" ต่างๆอยู่แล้ว
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 21/11/2010 4:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฮ่าๆ ผมไม่มีปัญหาหรอกครับ เขียวเสวยผมออกดอกปีละ 2-3 รอบ ไม่ราดสารยังออกเล้ย (แล้วของลุงล่ะครับ)
ดอกมะม่วงนะขอรับไม่ใช่ดอกเบี้ย ก็ผมไม่เคยกู้..
ก็ทำอย่างที่ลุงบอกไว้ในหนังสือที่ลุงเขียนล่ะครับแต่ตอนนี้ฉีกไปมวนยาสูบหมดแล้ว
ก็จิตสาธารณะไงครับผม ว่ามั้ย..
ผมไม่ใช่ทหารม้าก็เลยไม่มีอะไรจะอวด ผมทหารพราน
(ล้อเล่นกับลุงในวันลอยกะทงคงไม่ถือสานะครับ)
อีกอย่างหนึ่ง คือ ถามไปเพื่อป้องกันวันข้างหน้าลุงขึ้นราคาหัวเชื้อปุ๋ยไงครับ
จะได้ไม่ต้องเพิ่มต้นทุน(สามารถหามาทดแทน)แล้วไปสร้างทฤษฎีมาไล่เบี้ยกัน
พอไม่มีคนถาม ลุงก็ว่าที่เข้ามาอ่านนี่ฉลาด
ล้ำโลกกันแล้วหรือไรจึงไม่ถาม พอถามไป
ก็ดูคล้ายเป็นคำถามโง่ๆ ....... ฮ่าๆ ผมมึน
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=520
ถ้าผมทำการเกษตรไม่สำเร็จลุงช่วยผมได้ ? ครับ (ช่วยซ้ำ) ฮ่าๆ
ผมลืมขอบคุณกำลังใจที่ลุงส่งมา ผมขอบคุณครับลุงคิม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 23/11/2010 9:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
mangotree บันทึก: | ฮ่าๆ ผมไม่มีปัญหาหรอกครับ เขียวเสวยผมออกดอกปีละ 2-3 รอบ ไม่ราดสารยังออกเล้ย (แล้วของลุงล่ะครับ)
ดอกมะม่วงนะขอรับไม่ใช่ดอกเบี้ย ก็ผมไม่เคยกู้..
ก็ทำอย่างที่ลุงบอกไว้ในหนังสือที่ลุงเขียนล่ะครับแต่ตอนนี้ฉีกไปมวนยาสูบหมดแล้ว
ก็จิตสาธารณะไงครับผม ว่ามั้ย..
ผมไม่ใช่ทหารม้าก็เลยไม่มีอะไรจะอวด ผมทหารพราน
(ล้อเล่นกับลุงในวันลอยกะทงคงไม่ถือสานะครับ)
อีกอย่างหนึ่ง คือ ถามไปเพื่อป้องกันวันข้างหน้าลุงขึ้นราคาหัวเชื้อปุ๋ยไงครับ
จะได้ไม่ต้องเพิ่มต้นทุน(สามารถหามาทดแทน)แล้วไปสร้างทฤษฎีมาไล่เบี้ยกัน
พอไม่มีคนถาม ลุงก็ว่าที่เข้ามาอ่านนี่ฉลาด
ล้ำโลกกันแล้วหรือไรจึงไม่ถาม พอถามไป
ก็ดูคล้ายเป็นคำถามโง่ๆ ....... ฮ่าๆ ผมมึน
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=520
ถ้าผมทำการเกษตรไม่สำเร็จ
ลุงช่วยผมได้ ? ครับ (ช่วยซ้ำ) ฮ่าๆ |
ช่วยไม่ได้หรอกครับ อย่างดีก็แค่บอก "แนวทางวิเคราะห์"
แล้วก็บอกอีกว่า "ไม่ให้เชื่อลุงคิม แต่ให้เชื่อตัวเอง"
ลุงคิม (ไม่เชื่อคุณ แต่เชื่อตัวเอง) ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|