-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไทโอยูเรีย.ต่อมะม่วง-มังคุด-ลิ้นจี่-ชมพู่-ลำไย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไทโอยูเรีย.ต่อมะม่วง-มังคุด-ลิ้นจี่-ชมพู่-ลำไย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 7:23 am    ชื่อกระทู้: ไทโอยูเรีย.ต่อมะม่วง-มังคุด-ลิ้นจี่-ชมพู่-ลำไย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารไทโอยูเรีย ต่อมะม่วง...

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ไทโอคาร์บาเมท" มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต ไทโอแมกซ์และคอมมานด์ เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบอ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทและพาโคลบิวทราโซลให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้ คือ

1. มะม่วงบางสายพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรทแล้ว ไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ ก็สามารถใช้สาร "ไทโอยูเรีย" แทนได้

2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซลแล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซลตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้ โดยฉีดพ่น ไทโอยูเรีย 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สาร ไทโอยูเรียความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตาม สารไทโอยูเรียนี้จะมี คุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด

ดังนั้น ถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสาร ไทโอยูเรีย มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้


http://www.giswebr06.ldd.go.th/lddweb/knowledge/plant/mango/6.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 6:53 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตมังคุดก่อนฤดู

แนวคิด
ต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด ก่อนว่าการทำมังคุดก่อนฤดูนั้นสามารถทำได้ เพื่อที่จะได้หาวิธีการทำให้ได้ตามเป้าหมาย

วิธีการ
1.การจัดการหลังเก็บเกี่ยว ต้องมีการจัดการต้นมังคุดทันทีโดยการ

1.1 ตัดยอดเพื่อควบคุมความสูง โดยต้นที่ยังไม่เคยตัดแต่งยอดให้ตัดยอดลงให้เหลือความสูง ในระยะที่สามารถทำงานได้สะดวก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะ 4-5 เมตร การตัดยอดให้ได้ความสูงในระยะที่ต้องการอาจต้องตัดหลายครั้ง การตัดครั้งเดียวในทันทีอาจทำให้กิ่งที่อยู่ด้านบนโดนแสงแดดเผา ทำให้กิ่งแห้งและผุได้ง่าย

1.2 ตัดแต่งกิ่งภายในต้นเพื่อให้โปร่งแสงแดดส่องได้ทั่วถึง ควรไว้กิ่งประมาณ 25 กิ่งต่อต้น

1.3 ตัดแต่งปลายกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม และป้องกันไม่ให้กิ่งหัก เนื่องจากกิ่งที่ยื่นยาวและมีปริมาณใบมาก ปลายกิ่งจะหนักจะทำให้กิ่งหักได้ง่าย

2. การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นมังคุดสมบูรณ์ควรมีการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี โดยให้ดูผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินและใบพืชจะทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต

2.1 การใส่ปุ๋ยครั้งที่1 ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่เน้นตัวหน้า ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อบำรุงใบให้สมบูรณ์และปรับโครงสร้างดิน ใส่ในช่วงปลายของการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้ทันเวลา เนื่องจากพืชจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการลำเลียงธาตุอาหารไปใช้ได้

2.2 การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรใส่ในช่วงดอกกลมๆ เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้มังคุดมีผลใหญ่ไปด้วย

2.3 การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ควรใส่ในช่วงที่ผลมังคุดมีขนาดเท่าผลหมาก เพื่อเพิ่มขนาดของผลให้มีน้ำหนักอย่างน้อย 70 กรัม

3. การกระตุ้นให้มังคุดแตกใบอ่อน โดยปกติถ้าต้นมังคุดสมบูรณ์ และมีการตัดแต่งกิ่ง มังคุดจะแตกใบอ่อนได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งในภาคตะวันออกจะแตกใบอ่อนช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม แต่ถ้ายังไม่แตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นด้วย ไธโอยูเรีย ในอัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แลควรผสมฮิวมิก และสาหร่ายด้วย เพื่อลดความเป็นพิษของ ไธโอยูเรีย ในกรณีที่แตกใบอ่อนช้า ให้เร่งโดยการฉีดพ่นด้วย "แมกนีเซียม" จะช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น


4. การกระตุ้นให้มังคุดออกดอก

4.1 ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ต้องกระตุ้นให้มังคุดออกดอก ทำโดยการใช้เครื่องตัดหญ้าตีใบมังคุดและเศษวัชพืชใต้โคนต้นให้แตกกระจุยจะทำให้รากมังคุดขาดและเกิดภาวะเครียด ห้ามทำให้โคนมังคุดโล่งเตียนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รากมังคุดยิ่งลงลึกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การทำให้มังคุดอยู่ในภาวะเครียดทำได้ยากยิ่งขึ้น

4.2 หลังจากนั้นงดน้ำจนกว่าจะเห็นก้านมังคุดเป็นร่อง แล้วจึงให้น้ำในปริมาณมาก จำนวน 1 ครั้ง จากนั้นเว้น 3 วันให้น้ำอีกครั้งหนึ่ง และรอดูอาการ 1 สัปดาห์ โดยก่อนการให้น้ำจะต้องสังเกตอุณหภูมิด้วย ถ้าอากาศเย็นไม่ควรให้น้ำ ควรให้ในช่วงอุณหภูมิสูง (อุ่น-ร้อน)

4.3 ก่อนการให้น้ำให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 + สาหร่าย เพื่อบังคับให้มีการออกดอก

5. การให้น้ำ ควรให้น้ำตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นดอก จนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยในช่วงพัฒนาการของผลจะเป็นช่วงที่มังคุดต้องการปริมาณน้ำมากที่สุด

6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

6.1 ในช่วงแตกใบอ่อนยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำกัดแมลง (หนอนชอนใบ) และโรคพืช (แอนแทรคโนส) และควรผสมธาตุอาหารเสริมลงไปด้วยเพื่อเพิ่มขนาดใบ

6.2 ในช่วงที่ยอดมังคุดเริ่มอวบอูม แสดงว่ามังคุดมีการออกดอก ให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 7 วัน เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นหน้าหนาว อากาศแห้ง และเย็น จะเป็นช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยไฟ

6.3 ในช่วงดอกบาน จนกระทั่งเป็นลูก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดไรและแมลงวี่ขาวด้วย และถ้ากรณีที่มีฝนตกใหญ่ ให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคราแอนแทรคโนส เพราะเชื้อราจะเข้าทำลายหู ทำให้หูมังคุดแห้งกรอบ

6.4 ช่วงหลังจากดอกมังคุดบานหมดแล้วใช้ปิโตเลียมออย ฉีดพ่นจะทำให้ผิวมัน

6.5ในช่วงผลเล็กให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีอะบาเม็กตินผสมไซเปอร์เมทธิน เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ โดยฉีดพ่นทุก 5-7 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน



Section: เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
คำสำคัญ: ส่งเสริมการเกษตร
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

http://gotoknow.org/blog/kasetchan/311276


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2020 7:12 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 5:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การให้ปุ๋ยทางใบลิ้นจี่

การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้ รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งควรใช้ในกรณีต่อไปนี้

- เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้าหรือไม่สม่ำเสมอ ควรใช้ปุ๋ย ไทโอยูเรีย อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและพร้อมกัน

- ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ คือ ใบไม่มีสีเขียวเข็มเป็นมัน ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังจากแทงช่อดอกแล้ว ควรฉีดพ่นอีกครั้ง เพื่อบำรุงช่อดอกและช่วยให้ติดผลดีขึ้น

- ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น และช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้

- ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ และกระตุ้นการสร้างตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17, 10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ล.


http://nan.doae.go.th/nan13/genaral/gen6.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 7:00 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 5:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชมพู่

3. ปุ๋ยทางใบ เป็นปุ๋ยที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ของการเจริญเติบโตของชมพู่ เช่น การใช้ ไทโอยูเรีย เพื่อการเร่งให้ชมพู่แตกใบอ่อนพร้อมกัน หรือการพัฒนาผลชมพู่ให้มีคุณภาพดี ในพื้นที่บางแห่งที่มีน้ำไม่เพียงพอก็สามารถใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-30 อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ควรห่างกันครั้งละ 7 วัน และไม่ควรงดการให้ปุ๋ยก่อนเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์


http://thailand-an-field.blogspot.com/2010/01/blog-post_27.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำให้ลำไยออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม


1) หลังเก็บเกี่ยวลำไยในเดือนสิงหาคม ให้ตัดแต่งกิ่งลำไย โดยการตัดกิ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้งของทรงพุ่ม ให้เหลือความยาว
เพียง 3 เมตรเป็นอย่างมาก พร้อมทั้ง เปิดทรงพุ่มตรงกลางทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึง

2) ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตในอัตรา 1:1 โรยหรือหว่านปุ๋ยบริเวณชายพุ่มของทรงต้นลำไย ต้นละ 1-2 กิโลกรัม จากนั้นรดน้ำทุก 3 วันโดยรดน้ำครั้งละประมาณ 150-250 ลิตร/ต้น ถ้าวันใดฝนตกก็งดไปแต่ต้องให้ต้นลำไยได้น้ำทุก 3 วัน

3) ประมาณ 30-40 วัน หลังการรดน้ำ และใส่ปุ๋ย ต้นลำไยจะแตกใบอ่อนชุดที่ 1 (ราวเดือนกันยายน) ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เหมือนการใส่ปุ๋ยครั้งแรก ลำไยจะออกใบอ่อนชุดที่ 2 ในราวกลางเดือนตุลาคม

4) ราวกลางเดือนตุลาคมให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1:1 โดยใส่ปุ๋ยต้นละ 2-3 กิโลกรัม เพื่อให้ลำไยพักตัวและสะสมอาหาร พร้อมทั้งลดปริมาณการให้น้ำเหลือเพียงครั้งละ 100 ลิตร/ต้น

5) ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 ในอัตรา 150 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยให้ใบอ่อนของลำไยแก่เร็วขึ้น และช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนชุดใหม่อีกด้วย โดยควรฉีดพ่นราวกลางเดือนตุลาคม

6) ในกลางเดือนตุลาคม ใบอ่อนชุดแรกจะแก่และมีสีเขียวเข้ม ให้สังเกตเส้นกลางใบจะมีสีอมเหลืองเล็กน้อย จับใบขยำดูจะรู้สึกว่าใบกรอบและหนาดี จังหวะนี้คือช่วงสำคัญที่จะต้องเลือกเพื่อใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างเหมาะสม ขอแนะนำว่าถ้าเป็นลำไยต้นอ่อนอายุ 4-5 ปี ควรฉีดพ่นทางใบในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มจากนั้นประมาณ 50-55 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง และในกรณีที่ลำไยมีอายุมากกว่า 6 ปีไปแล้ว แนะนำให้ใช้โพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 10 กรัมต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม1 ตารางเมตร โดยผสมน้ำรดให้ทั่วใต้ทรงพุ่มของต้นลำไย (กรณีที่เป็นดินเหนียวมากอาจจะต้องเพิ่มอัตราใช้เป็น 15 กรัม) จากนั้นประมาณ 45-50 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง

การนำเอาสารเคมีอื่นๆ มาประกอบใช้ในการฉีดพ่นทางใบอื่นๆ เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท ไธโอยูเรีย สารสกัดจากสาหร่าย หรือแม้กระทั่งสารปลดปล่อยแก็สเอทธีลีน (อีเทฟอน) จำเป็นต้องคำนึงถึงความพร้อมคืออายุของใบอ่อนชุดแรก และพิจารณาถึงการสะสมอาหารของต้นลำไยด้วย ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

อย่างไรก็ดีการฉีดพ่นช่อดอกลำไย ก่อนติดผลด้วยสารอะมิโน ซีเนกอน 2000 และฉีดพ่นสาร ไซฟามินบีเค หลังติดผลแล้วพบว่าจะช่วยเรื่องคุณภาพของช่อดอก และการติดผลได้ดีขึ้น ส่วนการป้องกันโรคและแมลงศัตรูลำไยในช่วงติดผลให้ดำเนินการดังนี้


http://www.erawanagri.com/htm/whatnew03.htm

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 20/11/2010 8:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารโลนึง ไทโอยูเรียโลนึง น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดสองครั้ง ฝ่อยๆ ให้ทั่วใบ รับรอง แซ็บ

รับรอง ๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 20/11/2010 8:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

bombon บันทึก:
สารโลนึง ไทโอยูเรียโลนึง น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดสองครั้ง ฝ่อยๆ ให้ทั่วใบ รับรอง แซ็บ

รับรอง ๆๆ



หมายถึงอะไร อธิบายด้วยภาษาวิชาการนะ.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 20/11/2010 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
bombon บันทึก:
สารโลนึง ไทโอยูเรียโลนึง น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดสองครั้ง ฝ่อยๆ ให้ทั่วใบ รับรอง แซ็บ

รับรอง ๆๆ



หมายถึงอะไร อธิบายด้วยภาษาวิชาการนะ.....



สาร= ช่วยให้ออกดอก
ไทโอยูเรีย = กระตุ้นการแตกตา

เมื่อพ่นสารสองตัวนี้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อการสะสมตาดอกเกิดขึ้น และมีการแตก
ตาดอกขึ้นมา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©