ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 10/12/2010 10:00 pm ชื่อกระทู้: ให้น้ำสำปะหลัง สู้เพลี้ยแป้ง ผลผลิตเพิ่ม..... |
|
|
การปรับเปลี่ยนระบบการปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน
มาเป็นการปลูกแบบให้น้ำ
นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่แล้ว ยังเป็นหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ โดยใช้น้ำช่วยสร้างความชุ่มชื้นในแปลงและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจะช่วยควบคุมกำจัดเพลี้ยแป้งได้ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น
นายอภิชาติ เมืองซอง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมากล่าวว่า ปกติมันสำปะหลังจะชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง 6 เดือน หรือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน ดังนั้น ควรมีการพัฒนาระบบน้ำในแปลงปลูกเพื่อหล่อเลี้ยงต้นมันสำปะหลังในช่วงหน้าแล้งที่อาจขาดแคลนน้ำซึ่งจะทำให้ต้นมันสำปะหลังแข็งแรง เจริญเติบโตดีและมีการสะสมอาหารในหัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความชุ่มชื้นยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง อาทิแมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลาย และแตนเบียนซึ่งสามารถช่วยตัดวงจรและลดปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้งได้
ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดระบบมินิสปริงเกอร์ และสปริงเกอร์หัวใหญ่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เกษตรกรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับชาวไร่มันสำปะหลัง ช่วยให้เกษตรกรสามารถที่จะปลูกมันสำปะหลังได้ตลอดโดยไม่ต้องรอหน้าฝนที่สำคัญเกษตรกรที่พัฒนาระบบน้ำในแปลงปลูกยังสามารถวางแผนการผลิตและเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันสดป้อนตลาดได้อีกด้วย
แปลงปลูกมันสำปะหลังที่จะใช้ระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ ควรมีระดับความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 5 % เนื่องจากการปั๊มน้ำจากแหล่งน้ำขึ้นสู่ที่สูงและไหลเข้าสู่ระบบต้องใช้แรงดันมาก ทั้งยังต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี โดยเกษตรกรอาจขุดเป็นบ่อน้ำซับหรือสระขนาดเล็กเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรืออาจขุดเป็นบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ซึ่งสามารถที่จะหล่อเลี้ยงมันสำปะหลังได้ประมาณ 10-15 ไร่และค่า pH ของน้ำที่ป้อนเข้าระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ไม่ควรเป็นเบส (ด่าง) เพราะน้ำที่มี pH เป็นด่าง จะมีส่วนประกอบของหินปูนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตัวหัวน้ำหยดหรือหัวสปริงเกอร์ได้
สำหรับต้นทุนการจัดทำระบบน้ำหยดและระบบมินิสปริงเกอร์ในแปลงปลูกมันสำปะหลัง ลงทุนครั้งแรกไม่เกิน 6,000 บาท/ไร่ มีประสิทธิภาพการใช้งานยาวนาน 5-6 ปี หรือปลูกมันสำปะหลังได้ประมาณ 5 รอบการผลิต ซึ่งการให้น้ำทั้ง 2 วิธี สามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลังได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการให้น้ำแบบสปริงเกอร์มีข้อดี คือ สามารถชะล้าง และทำลายตัวเพลี้ยแป้งพร้อมถุงไข่ออกจากต้นมันสำปะหลังได้ด้วย ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น และคืนทุนได้ภายในปีแรก
นายอภิชาติกล่าวอีกว่า การให้น้ำมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสปริงเกอร์สามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตหัวมันสดได้ค่อนข้างมาก แตกต่างจากการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการปลูกมันสำปะหลัง
พันธุ์ระยอง 7 แบบให้น้ำและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 11-12 เดือน จะได้ผลผลิตประมาณ 7.5 ตัน/ไร่ สูงกว่าการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.9 ตัน/ไร่ และยังพบว่ามีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 29-29.5 %
พันธุ์ระยอง 9 จะได้ผลผลิตหัวมันสดเพิ่มจาก 5.2 ตัน/ไร่ เป็น 8.1 ตัน/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้ง 30-31 %
พันธุ์ห้วยบง ปกติจะผลผลิตเฉลี่ย 5.5 ตัน/ไร่ ถ้าปลูกแบบให้น้ำจะได้ผลผลิตสูงถึง9.8 ตัน/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์ 27%
เป็นช่องทางที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการให้น้ำมันสำปะหลังทั้งระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ควบคู่กับการให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์แล้วกว่า 6,000 ไร่ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะนี้มีชาวไร่มันสำปะหลังสนใจที่จะนำระบบการให้น้ำทั้ง 2 แบบไปใช้เพิ่มขึ้น
หากสนใจเทคโนโลยีการใช้ระบบน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ในแปลงปลูกมันสำปะหลัง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาโทร. 0-4432-5212 , 08-1859-8209 หรือ E-mail : cas_toom@yahoo.co.th
http://www.ryt9.com/s/bmnd/977045
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/12/2010 9:04 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 10/12/2010 10:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพลี้ยแป้งสีชมพู (ก) Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero ที่ระบาดอย่างรุนแรงในมันสำปะหลัง และสามารถควบคุมโดยใช้แตนเบียน (ข) Anagyrus lopezi ซึ่งนำเข้าจากประเทศเบนิน ทวีปอัฟริกา
ชนิดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งที่พบว่าระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทยมีด้วยกัน 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งตัวลาย (striped mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ferrisia virgata Cockerell เพลี้ยแป้งสีเขียว (madeira mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phenacoccus madeiresis Green เพลี้ยแป้งสีชมพู (pink mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jack-Beardsley mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel &Miller เพลี้ยแป้งทั้ง 4 ชนิด พบว่า เพลี้ยแป้งสีชมพูมีการระบาดอย่างรุนแรงที่สุด มีผลเสียหายทางเศรษฐกิจในทุกภาคของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ อย่างได้ผลดี ทำให้เกษตรกรเริ่มวิตกกังวลต่อการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ในมันสำปะหลัง โดย เกษตรกรบางรายได้หันกลับไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นแทนเพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง
http://www.thaitapiocastarch.org/article21_th.asp
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/12/2010 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 14/12/2010 10:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฝนพึ่งตกห่าใหญ่ที่ไร่ผม (ราชบุรี) ใจชื้นขึ้นเยอะครับ
(ถึงรอบใหม่นี้ผมจะให้น้ำแบบปั๊มพ่น ไป 3 รอบแล้วก็เถอะ)
ปีนี้ผมว่า คงไม่มีฝนหลงฤดูอย่างนี้มาช่วยอีกแล้ว
โอกาสที่เพลี้ยแป้งจะกลับมามีสูง ลุงคิมว่ามั้ยครับ
เดือนที่หน้ากลัวที่สุดคือ ตั้งแต่ มกราคม เป็นต้นไป
ปีก่อนผมเผลอ และไม่เชื่อรายงานวิจัย ไม่ยอมรดน้ำ แค่พ่นใบครั้งเดียว
ผ่านไปเดือน เข้ามีนาคม เพลี้ยแป้งมา จะมาพ่นยาอะไรตามก็สู้ไม่ได้แล้ว
(ถ้าเพลี้ยเกาะเมื่อไหร่ นับถอยหลังจบได้เลย) ที่ทำได้คือ เด็ดยอดทิ้ง
แล้วไล่พ่นน้ำขี้หมู. สมุนไพร. ผสมสบู่. กับน้ำส้มควันถ่าน. ช่วยฟื้นขึ้นมาได้
ข้างๆ ไปกันหมดแบบ ยิ่งกว่านรก[/img] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 14/12/2010 10:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงคิมว่า ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จะยุ่งยากมั้ยครับ ตอนรื้อถอนก่อนขุด กับติดตั้งใหม่หลังเตรียมดินปลูกมันเสร็จ
ถ้าให้น้ำหยดแบบท่อน้ำเลี้ยงอ้อย จะง่ายกว่ารึเปล่าครับ ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 15/12/2010 5:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Redmountain บันทึก: | ฝนพึ่งตกห่าใหญ่ที่ไร่ผม (ราชบุรี) ใจชื้นขึ้นเยอะครับ
(ถึงรอบใหม่นี้ผมจะให้น้ำแบบปั๊มพ่น ไป 3 รอบแล้วก็เถอะ)
ปีนี้ผมว่า คงไม่มีฝนหลงฤดูอย่างนี้มาช่วยอีกแล้ว
โอกาสที่เพลี้ยแป้งจะกลับมามีสูง ลุงคิมว่ามั้ยครับ
เดือนที่หน้ากลัวที่สุดคือ ตั้งแต่ มกราคม เป็นต้นไป
ปีก่อนผมเผลอ และไม่เชื่อรายงานวิจัย ไม่ยอมรดน้ำ แค่พ่นใบครั้งเดียว
ผ่านไปเดือน เข้ามีนาคม เพลี้ยแป้งมา จะมาพ่นยาอะไรตามก็สู้ไม่ได้แล้ว
(ถ้าเพลี้ยเกาะเมื่อไหร่ นับถอยหลังจบได้เลย) ที่ทำได้คือ เด็ดยอดทิ้ง
แล้วไล่พ่นน้ำขี้หมู. สมุนไพร. ผสมสบู่. กับน้ำส้มควันถ่าน. ช่วยฟื้นขึ้นมาได้
ข้างๆ ไปกันหมดแบบ ยิ่งกว่านรก[/img] |
ข่าวพยากรณ์อาการแจ้งมาแล้ว ช่วงปลายอาทิตย์นี้ฝนจะตกอีกราว 2-3 วัน (จังหวัดไหนไม่บอก) เป็นฝนชุดสุดท้ายของปีนี้ จากนั้นก็จะแล้งตามปกติ ดีหน่อยในข่าวพยากรณ์อากาศบอกว่า ไม่ใช่ "เอลนีโย่" (แล้งสุดๆ) เพราะฉนั้นเตรียมตัวได้แล้ว
บทพิสูจน์จากประสบการณ์ตรง...... "น้ำ + ความชื้น" เท่านั้นที่สู้กับเพลี้ยสีชมพูสำปะหลังได้ เท่าที่ติดตามข่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีตัวไหนๆ เชื้อบาวาเรีย. เอาไม่อยู่ซักกะตัว เพราะความชื้น (น้ำที่ใช้ผสม) ไม่พอนั่นแหละ เพราะฉนั้น แค่สารสมุนไพรที่คุณใช้น่ะ น่าจะพอแล้ว สำคัญที่ "น้ำ" ต้องบ่อยๆ ให้ดิ้นชื้น น้ำในดินจะเหยออกมากลายเป็นความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้
อย่าลืม.....ชื้น - ชุม - โชก - แฉะ - แช่ ..... นะ พลาดท่า น้ำมากเกินขึ้นมา สำปะหลังเน่าละก็.....เป็นเรื่อง
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 15/12/2010 5:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Redmountain บันทึก: | ลุงคิมว่า ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จะยุ่งยากมั้ยครับตอนรื้อถอนก่อนขุด กับติดตั้งใหม่หลังเตรียมดินปลูกมันเสร็จ
ถ้าให้น้ำหยดแบบท่อน้ำเลี้ยงอ้อย จะง่ายกว่ารึเปล่าครับ? |
ทุกขั้นตอน ยุ่งยาก หรือ ง่ายดาย มันอยู่ที่คุณ บอกแล้วไง COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้
แนวคิดลุงคิม ชอบแบบ โอเวอร์เฮด (ฉีดข้ามหัว) แบบรถดับเพลิงมากกว่านะ
ก่อนตัดสินใจอะไร น่าจะหาโอกาสไปดูของจริงที่เป็นประสบการณ์ตรงของคนอื่นซักครั้งสองครั้ง หรือเจ้าสองเจ้าก่อนนะ แล้วเอามา APPLY เป็นของเราเอง
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/12/2010 6:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 15/12/2010 10:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โอ้โห ลุงเล่นแบบยิงพ่นแบบอ้อยเลยเหรอครับ
ผมไม่กล้าพอครับ ใช้เดินลากสายเอา ให้น้ำที่ต้นโดยตรง
กลัวว่าฉีดแบบทั่วแปลง วัชพืชจะตามมาด้วยนี่สิครับ
ตอนนี้พื้นที่ยังไม่มาก แต่ถ้าต่อไปขยายเต็ม คงต้องหาทางใหม่ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 16/12/2010 7:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Redmountain บันทึก: | โอ้โห ลุงเล่นแบบยิงพ่นแบบอ้อยเลยเหรอครับ
ผมไม่กล้าพอครับ ใช้เดินลากสายเอา ให้น้ำที่ต้นโดยตรง
กลัวว่าฉีดแบบทั่วแปลง วัชพืชจะตามมาด้วย นี่สิครับ
ตอนนี้พื้นที่ยังไม่มาก แต่ถ้าต่อไปขยายเต็ม คงต้องหาทางใหม่ครับ |
หัวโอเวอร์เฮด.มีหลายแบบ พ่นน้ำแบบเป็นละอองฝอย เป็นเม็ด เป็นสาย มีทั้งนั้น ถ้าเป็นหัวโอเวอร์เฮดเพื่อการเกษตรจริงๆ เขาจะออกแบบมาให้ปรับได้ จะให้น้ำที่พ่นออกไปเป็นเม็ดน้ำ เป็นละออง หรือเป็นสาย เลือกได้ตามความเหมาะสมของชนิดพืช หรือรูปแบบของแปลง
ตามความเหมาะสมในที่นี้หมายถึง ปริมาณงาน ระยะเวลา ความต้องการของพืช กับอีกนานัปการ ตัวเองเท่านั้นที่จะรู้ว่า อย่างไรจึงเหมาะสม พอดี พอสมควร อย่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย และอย่าขี้ช้างจับตั๊กแตน
แนวคิดนี้เกิดจากประกายเล็กๆ เมื่อราว 10 ปีมาแล้ว คราวหนึ่งเดินทางผ่านไร่วาจกกสิกิจ ปากช่อง โคราช เห็นโอเวอร์เฮดกำลังพ่นน้ำ "ละอองน้ำ + เม็ดน้ำ" ระยะไกลซัก 30-50 ม. สบัดซ้ายขวา ให้กับแปลงข้าวโพด ต้นสูงท่วมหัวแล้ว ลุงคิมจินตนาการต่อ แบบนี้น่าจะเอาไปใช้กับ "พืชไร่" อย่างอื่นได้ด้วย ซึ่งอาจจะต้องปรับให้เหมาะสมกับพืชไร่ตัวนั้นๆ อีกสักนิด เท่านั้น
ชาวไร่สำปะหลังย่าน บ้านหนองจาน ต.หัวรำ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี เขาติดตั้งโอเวอร์เฮดในแปลงสำปะหลังกันหลายแปลง แต่ละแปลงได้ 10 (+) ตัน ทั้งนั้น จากจุดนี้ เดี๋ยวนี้แพร่หลายไปยังหลายๆพื้นที่ หลายๆจังหวัด แต่ละพื้นที่ แต่ละแปลง เขาจะดัดแปลง (APPLY) ให้เหมาะสมกับแปลงของตัวเองทั้งนั้น
เจ้าโอเวอร์เฮดแบบหัวฉีดดับเพลิงที่บอกน่ะ เป็นเพียง "แนวทาง" เบื้องต้นสำหรับวางแผนเท่านั้น บอกแล้วไง COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้.....อย่าเถรตรง ยายชีจะเดือดร้อน หลวงพ่อจะรำคาญ
เอาเถอะ ง่ายๆ ณ วันนี้ ทำยังไงก็ได้ ให้น้ำไปถึงสำปะหลังก็แล้วกัน ด้วย เครื่องมือ-คน-เวลา และ ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลของเนื้องาน แล้วอย่าลืม "ต้นทุน" ล่ะ ให้สำเร็จก่อนก็แล้วกัน
ให้น้ำด้วยสายยาง แล้ววัชพืชไม่ขึ้นเหรอ ?
อันที่จริง "ยาฆ่าหญ้า" ทั้งเคมี ทั้งชีวภาพ ก็มีให้พิจารณาใช้นะ ในยาฆ่าหญ้ามีทั้ง ดีและไม่ดี อยู่ในตัวเอง....ระวัง อย่าเผาบ้านฆ่าหนู ก็แล้วกัน
ใช้เป็น = ได้......ใช้ไม่เป็น = เสีย
ลุงคิม (ใจคิดนอกกรอบ ตัวอยู่ในกรอบ) ครับผม
ปล.
ถามว่า....นักเรียน 50 คน ........(สมมุติ)
ในห้องเดียวกัน
เรียนพร้อมกัน
เวลาเรียนเท่ากัน
ครูสอนคนเดียวกัน
หนังสือเล่มเดียวกัน
ทุกอย่างเดียวกันหมด
ทำไมนักเรียนจึงสอบได้ที่ 1 คนเดียว.....หรือ
ทำไมบางคนสอบได้ บางคนสอบตก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/12/2010 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 17/12/2010 7:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงคิมครับ นอกจากเรื่องให้น้ำแล้ว
ผมได้ยินมาว่า การใส่ปุ๋ยเพิ่มระหว่างเดือนที่สาม-สี่ ก็สำคัญ (นอกเหนือไปจากปุ๋ยรองก้น) โดยเฉพาะปุ๋ย K เพื่อระเบิดหัว
มีคำถามว่า
- การให้ปุ๋ยเพิ่มนี้ ผมต้องใช้จอบจ้วงระหว่างต้นมัน แล้วหยอดปุ๋ย มั้ยครับ
- ถ้าผมไม่ผสมแม่ปุ๋ยให้ออกมาเป็น 13-7-35 แล้วใช้ 0-0-50 หรือ 0-0-60 ไปเลยได้มั้ยครับ
- ถ้าให้แบบ เอา 0-0-50 หรือ 0-0-60 มาผสมน้ำพ่นทางดิน จะได้มั้ยครับ
- อีกอย่าง มีอะไรที่ K สูง แต่ไม่แพงเท่าแม่ปุ๋ยมั้ยครับ
- เห็นว่าขี้เถ้าก็มี K เยอะ แต่ไม่รู้สูงขนาดไหน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 17/12/2010 9:01 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Redmountain บันทึก: | ลุงคิมครับ นอกจากเรื่องให้น้ำแล้ว
ผมได้ยินมาว่า การใส่ปุ๋ยเพิ่มระหว่างเดือนที่สาม-สี่ ก็สำคัญ (นอกเหนือไปจากปุ๋ยรองก้น) โดยเฉพาะปุ๋ย K เพื่อ ระเบิดหัว
ตอบ :
- ที่พูดว่า "ได้ยินมา" น่ะ คำพูดคำนี้ไม่เห็นจะน่าเอามาบอกลุงคิมเลย เมื่อได้ยินมาแล้วทำไมไม่เก็บรายละเอียดมาด้วย เช่น ได้ผลผลิตเท่าไหร่ ? ลงทุนเท่าไหร่ ? บำรุงต้น-บำรุงหัวอย่างไร ? กับอีกหลายๆอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับสำปะหลัง นั่นแหละคือ "บทเรียน" และ "แนวทาง" ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ จะทำอย่างนั้นหรือจะเปลี้ยนปรับใหม่
- อย่าหาว่าลุงคิม (คนแก่) ขี้ "บ่น" เลยนะ....ได้ยินอะไรมา-เห็นอะไรมา-รู้อะไรมา คราวหน้าพยายามเก็บรายละเอียดมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ใช่ได้ยินแค่แว่วๆ เขาพูดลอยๆ แล้วเอามาถาม....เรื่องที่รู้มาเป็นเรื่องสำปะหลัง แล้วตัวเองก็จะปลูกสำปะหลังไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่เก็บข้อมูลมาเป็นบทเรียนของตัวเองล่ะ หัดเป็นคนละเอียดรอบคอบกว่านี้อีกนิด ชีวิตจะดีขึ้น....ว่ามั้ย
- แม้แต่คำว่า "ระเบิดหัว" บ้านลุงคิมบอกว่า "เชย" ทำไมไม่หัดใช้ "ศัพท์ทางเทคนิคเกษตร" ให้สมกับเป็นคนรุ่นใหม่หน่อย เขาเรียก "ลงหัว" ครับ
มีคำถามว่า......
- การให้ปุ๋ยเพิ่มนี้ ผมต้องใช้จอบจ้วงระหว่างต้นมัน แล้วหยอดปุ๋ย มั้ยครับ
ตอบ :
ทำไปเถอะ แบบประเทศไทยยุคพระเจ้าฟีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ถ้าคิดว่าไม่เสียเวลา ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน ไม่เปลืองทุน ..... มันน่าจะเทคนิคหรือวิธีการที่ดีกว่านี้ ใช้เวลาน้อนยกว่านี้ ใช้แรงงานน้อยกว่านี้ ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องานดีกว่านี้ ถูกต้องตรง และกับความต้องการของสำปะหลังมากกว่านี้นะ....บอกเสมอไงว่า COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ ที่ลุงคิมไม่ให้คำตอบโดยตรงเพราะ ไม่รู้ว่าคุณมีความพร้อมในเรื่องของ "ปัจจัยการผลิต" คือ เครื่องมือ อุปกรณ์ อย่างไร หรือไม่ ..... ค่อยๆคิด แล้วหาวิธีการดัดแปลงซี่ ทำไปเถอะ ตำรวจไม่จับ กำนันไม่ว่า อบต.ไม่บ่น แต่ขอให้คิดอยู่เสมอว่า "ทำอย่างข้างบ้านล้มเหลวเหมือนข้างบ้าน ทำอย่างเดิมล้มเหลวยิ่งกว่าเดิม....คิดใหม่ทำไม่ดีกว่า....คิดนอกกรอบไง
- ถ้าผมไม่ผสมแม่ปุ๋ยให้ออกมาเป็น 13-7-35 แล้วใช้ 0-0-50 หรือ 0-0-60 ไปเลยได้มั้ยครับ
ตอบ :
ปุ๋ยทั้งทางใบและทางรากสำหรับ "พืชกินหัว" (สำปะหลัง-มันเทศ-มันแกว-เผือก-ขิง-ข่า-ขมิ้น-ไชเท้า แถมสับปะรด-หน่อไม้ไผ่/รวก) ระยะเริ่มลงหัวถึงเก็บเกี่ยว ต้องการปุ๋ยตัวท้าย (K) สูง เรโช 1:2:8 เพราะฉนั้นสูตรที่ถามมา O.K. ใช้ได้
- ถ้าให้แบบ เอา 0-0-50 หรือ 0-0-60 มาผสมน้ำพ่นทางดิน จะได้มั้ยครับ
ตอบ :
- ขอถามย้อนหน่อย....ต้นพืชกินปุ๋ยที่ละลายน้ำจนเป็นน้ำแล้ว (ของเหลว) หรือปุ๋ยแห้งยังเป็นเม็ดๆ (ของแข็ง) อยู่ล่ะ ที่หว่านๆกันจนหน้าดินขาวโพลน หว่านแล้วรดน้ำตามก็เพื่อให้เม็ดปุ๋ยละลาย ใช่ไหม แต่ถ้าเอาปุ๋ยมาละลายน้ำก่อนแล้วราดรดให้ต้นพืชขกิน จะดีกว่าแล้วก็ต้นพืชได้กินเร็วกว่าไหมล่ะ
- เคยสังเกตุไหม ชาวไร่ (ทุกพืชไร่) มักหว่านปุ๋ยรอฝน วันนี้หว่านแล้วว่าอาทิตย์หน้าฝนจะตก ถามหน่อย .... (1) ชาวไร่รู้ได้ไงว่าอาทิตย์หน้าฝนจะตก .... (2) หว่านปุ๋ยตากแดด แล้วปุ๋ยจะเสื่อมไหม ..... (3) หว่านกันไร่ละ กส. 50 กก. ทั้งๆที่พืชต้องการใช้จริงแค่ 10 กก. ..... (4) ฯลฯ ..... สารพัดปัญหาพวกนี้ ค่อยๆคิด ค่อยๆวิเคราะห์ คิดเอง-วิเคราะห์ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เข้าใจ สุดท้ายก็จะทำได้
- อีกอย่าง มีอะไรที่ K สูง แต่ไม่แพงเท่าแม่ปุ๋ยมั้ยครับ
ตอบ :
มูลสัตว์ปีก....ขี้ค้างคาว - ขี้นกกระทา - ขี้ไก่ - ขี้เป็ด
- เห็นว่าขี้เถ้าก็มี K เยอะ แต่ไม่รู้สูงขนาดไหน
ตอบ :
ไม่ทราบ แล้วก็ไม่เชื่อด้วย เอาข้อมูลมาจากไหน....รู้แต่ว่า ขี้เถ้าเป็นด่างจัด เท่านั้น
นี่ไงล่ะ ฟังแล้วไม่เก็บรายละเอียด
ลุงคิม (ปราถนาดีจากใจจริง) ครับผม
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 17/12/2010 9:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
รูปที่ 1 กองกากปาล์มก่อนเผาเป็นเชื้อเพลิง
รูปที่ 2 กองเถ้าปาล์มน้ำมัน
รูปที่ 3 เถ้าปาล์มน้ำมันก่อนบด
รูปที่ 4 เถ้าปาล์มน้ำมันหลังบด
เถ้าปาล์มน้ำมัน : วัสดุปอซโซลานในอนาคตสำหรับคอนกรีต
ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
ศาสตราจารย์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เถ้าปาล์มน้ำมัน
เถ้าปาล์มน้ำมัน (palm oil fuel ash) เป็นวัสดุพลอยได้จากการนำกากของผลปาล์มน้ำมัน ได้แก่ เศษกะลา เส้นใย และทลายปาล์มเปล่าของผลปาล์ม (ดังแสดงในรูปที่ 1) เผาเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อกำเนิดไอน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า มีอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาไหม้ประมาณ 800-9000C
ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสหกรณ์ [1] พบว่าในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 1,457,000 ไร่ และมีผลผลิตเป็นอันดับ 4 ของโลกประมาณ 4,089,000 ตันต่อปี ทำให้กากของผลปาล์มมีปริมาณที่สูงตามผลการผลิตปาล์มหรือประมาณ 2,147,000 ตันต่อปี และหลังจากการเผาพบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันที่เกิดขึ้นมีปริมาณสูงถึง 107,000 ตันต่อปี เถ้าปาล์มน้ำมันมีลักษณะเป็นผงฝุ่นน้ำหนักเบาสามารถฟุ้งกระจายได้ง่าย (ดังแสดงในรูปที่ 2) เถ้าปาล์มน้ำมันที่เกิดขึ้นมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ส่วนใหญ่ต้องนำไปทิ้ง ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการกำจัดทิ้งตามมา เช่น ปัญหาทางด้านสภาวะแวดล้อม เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงองค์ประกอบทางเคมีของเถ้าปาล์มน้ำมัน พบว่าผลรวมของ SiO2, Al2O3 และ Fe2O3 ของเถ้าปาล์มน้ำมัน มีค่าร้อยละ 70 มีปริมาณ SO3 ต่ำกว่าร้อยละ 5 และปริมาณ LOI ร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง ซึ่งปริมาณ LOI ที่สูงนี้อาจเนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาไม่สูงมาก เพราะการเผาที่อุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และส่งผลให้ LOI มีค่าต่ำลง ดังนั้นเมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของเถ้าปาล์มน้ำมัน ตามมาตรฐาน ASTM C 618 [2] พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันสามารถจัดเป็นวัสดุปอซโซลาน Class N ได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีมาตรฐานโดยตรงในการนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้ในคอนกรีต
ลักษณะรูปร่างของเถ้าปาล์มน้ำมัน
ลักษณะอนุภาคของเถ้าปาล์มน้ำมันก่อนและหลังบดดังแสดงในรูปที่ 3 และ รูปที่ 4 พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันก่อนบดมีลักษณะรูปร่างโดยรวมค่อนข้างหยาบ ความพรุนสูง รูปร่างกลมมนติดต่อกันเป็นกลุ่มก้อน และขนาดไม่สม่ำเสมอ ส่วนเถ้าปาล์มน้ำมันหลังบดมีลักษณะอนุภาคเป็นเหลี่ยมมุม รูปร่างไม่แน่นอน อนุภาคมีขนาดและความพรุนลดลงเมื่อเทียบกับเถ้าปาล์มน้ำมันก่อนบด
ตารางที่ 1 องค์ประกอบทางเคมีโดยประมาณของเถ้าปาล์มน้ำมันเปรียบเทียบกับปูนซีเมนต์และวัสดุปอซโซลานชนิดอื่น
ออกไซด์
ร้อยละโดยน้ำหนัก (%)
ปูนซีเมนต์ประเภท I
เถ้าถ่านหินแม่เมาะ
เถ้าปาล์มน้ำมัน
ซิลิกาฟูม
เถ้าแกลบ
SiO2
Al2O3
Fe2O3
CaO 60
MgO
SO3
ออกไซด์อื่นๆ
LOI.
ผลกระทบของเถ้าปาล์มน้ำมันต่อคอนกรีตสด
เถ้าปาล์มน้ำมันที่บดละเอียดมีความพรุนน้อยกว่าเถ้าแกลบบดละเอียดที่มีขนาดเท่ากัน ดัง นั้นการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในการแทนที่ปูนซีเมนต์ไม่ทำให้ความต้องการน้ำใน ส่วนผสมเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการใช้ เถ้าแกลบบดละเอียด แต่การใช้เถ้าปาล์มที่ได้จากโรงงานโดยตรงจะใช้ปริมาณน้ำที่มากขึ้นในส่วนผสมคอนกรีตเนื่องจากการดูดน้ำของเถ้าปาล์มน้ำมัน
ระยะ เวลาการก่อตัวของคอนกรีตที่ใช้เถ้าปาล์มแทนที่ปูนซีเมนต์จะเป็นเช่นเดียวกับ กรณีของการใช้วัสดุปอซโซลานทั่วไป คือ จะทำให้ระยะเวลาการก่อตัวเริ่มต้นของคอนกรีตผสมเถ้าปาล์มน้ำมันยาวนานขึ้น กว่ากรณีของคอนกรีตที่ไม่มีเถ้าปาล์มน้ำมันประมาณ 15-20 นาทีเมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10-20 และการก่อตัวจะนานกว่าคอนกรีตที่ไม่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันประมาณ 40-60 นาทีเมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 30-40 [3]
ผลกระทบของเถ้าปาล์มน้ำมันต่อคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เถ้าปาล์มน้ำมันในงานคอนกรีตเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1990 โดย Tay [4] ได้ศึกษาการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราร้อยละ 10 ถึง 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสานเพื่อทำคอนกรีต พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันมีคุณสมบัติเป็นวัสดุปอซโซลานต่ำ และคอนกรีตที่แทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันมากกว่าร้อยละ 10 มีกำลังอัดต่ำกว่าคอนกรีตที่ไม่มีเถ้าปาล์มน้ำมันเป็นส่วนผสม ทั้งนี้เนื่องจากเถ้าปาล์มน้ำมันที่นำมาใช้มีอนุภาคขนาดใหญ่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 Hussin และ Awal [5] นักวิจัยชาวมาเลเซียได้ศึกษาการนำเถ้าปาล์มน้ำมันมาใช้เป็นวัสดุปอซโซลาน โดยบดเถ้าปาล์มน้ำมันให้มีความละเอียดมากกว่าปูนซีเมนต์ และแทนที่ในอัตราร้อยละ 10 ถึง 60 พบว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันร้อยละ 30 ให้กำลังอัดสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการแทนที่อื่นๆ และกำลังอัดที่ช่วงอายุก่อน 28 วันมีค่าต่ำกว่าคอนกรีตควบคุม แต่หลังจากนั้นกำลังอัดมีการพัฒนาสูงกว่าคอนกรีตที่ไม่มีเถ้าปาล์มน้ำมันเป็นส่วนผสมได้
การศึกษาเถ้าปาล์มน้ำมันในประเทศไทยโดย วีรชาติ และคณะ [6] พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันก่อนบดไม่เหมาะสมนำมาใช้เป็นวัสดุปอซโซลาน เนื่องจากให้ค่ากำลังอัดที่ต่ำ ส่วนการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันที่มีความละเอียดมากเป็นส่วนผสมมอร์ต้าร์ในอัตราร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สามารถให้กำลังอัดสูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่อายุ 90 วัน โดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 104 และ 101 ตามลำดับ
สุรพันธ์ และคณะ [7] ได้ทำการศึกษาการนำเถ้าปาล์มน้ำมันมาใช้เป็นวัสดุปอซโซลาน พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันมีองค์ประกอบทางเคมีหลัก คือ SiO2 มากกว่าร้อยละ 70 ซึ่ง เป็นองค์ประกอบหลักของวัสดุปอซโซลาน และมีศักยภาพเพียงพอสามารถใช้เป็นวัสดุปอซโซลานได้หากมีความละเอียดสูง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียดมากในอัตราร้อยละ 30 ยังมีค่าสูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่อายุ 28 วันขึ้นไป การศึกษาของ วีรชาติ และคณะ [8] พบว่าดัชนีกำลังอัดของเถ้าปาล์มน้ำมันที่บดละเอียดมากมีค่าสูงกว่าร้อยละ 75 ที่อายุ 7 และ 28 วัน และแท่งมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันมีการขยายตัวเนื่องจากซัลเฟตต่ำกว่าแท่งมอร์ต้าร์ที่ไม่มีเถ้าปาล์มน้ำมันเป็นส่วนผสมด้วย
การ ใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในส่วนผสมคอนกรีต พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียดจนมีขนาดอนุภาคประมาณ 7.3 ไมโครเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10 และ 20 สามารถให้กำลังอัดของคอนกรีตสูงกว่าคอนกรีตควบคุมที่ไม่มีเถ้าปาล์มน้ำมัน ที่อายุ 7 และ 60 วัน ตามลำดับ โดยที่การแทนที่ร้อยละ 30 ยังสามารถให้กำลังอัดได้ถึงร้อยละ 99 ที่ อายุ 90 วัน [3]
นอกจากนี้ วันชัย และคณะ [9] ยัง ได้ศึกษาการนำเถ้าปาล์มน้ำมันมาใช้ในงานคอนกรีตกำลังสูง พบว่าเถ้าปาล์มน้ำมันที่บดละเอียดสามารถนำมาใช้ในการแทนที่ปูนซีเมนต์ในการ ทำคอนกรีตกำลังสูงได้ โดยสามารถแทนที่ได้สูงถึงร้อยละ 30 และคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันร้อยละ 20 ยังมีค่ากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตที่ผสมซิลิกาฟูมร้อยละ 5 ด้วย โดยมีกำลังอัดสูงถึง 88-91 เมกาปาสกาลเมื่อใช้เถ้าปาล์มน้ำมันที่มีขนาด 10.1 ไมโครเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10-30
อนาคตของการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในงานคอนกรีต
ปัจจุบันมีนโยบายจากภาครัฐฯในการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น เพราะน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซลซึ่งเป็นเชื่อเพลิงสำหรับรถยนต์ ดังนั้นจะมีกากปาล์มตลอดจนเถ้าปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยคาดว่าอาจจะเพิ่มมากกว่า 3 เท่าใน10 ถึง 15 ปีข้างหน้า แต่การนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้ประโยชน์ยังน้อยมาก โดยเฉพาะการนำมาใช้ในงานคอนกรีต (ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ประโยชน์ได้ง่ายและปลอดภัยที่สุด) เนื่องจากยังเป็นวัสดุปอซโซลานชนิดใหม่ ซึ่งผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลส่วนผสมคอนกรีตยังไม่แน่ใจที่จะนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้งาน หรืออาจเข้าใจดีถึงผลของการนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้ในงานคอนกรีต แต่เจ้าของโครงการยังไม่ต้องการให้ใช้ในโครงการของตน ดังนั้นการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในส่วนผสมคอนกรีตจึงยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น เพราะเถ้าปาล์มน้ำมันเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในบ้านเรา มีจำนวนมากขึ้นทุกปี หากไม่สามารถนำมาใช้ได้ก็ต้องนำไปทิ้ง (ในบ้านเราเอง) แต่ถ้าหากนำไปใช้ได้จะเป็นการกำจัดทั้งเถ้าปาล์มน้ำมันและลดปัญหาที่เกดขึ้นจากการทิ้งเถ้าปาล์มน้ำมันได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในส่วนผสมคอนกรีตจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะจะเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม เรื่อง การใช้เถ้าปาล์มน้ำมันเพื่อเป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต ถ้าหากประเทศไทยสามารถมีมาตรฐานอุตสาหกรรมการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันในงานคอนกรีตเกิดขึ้น ย่อม เป็นแนวทางที่สำคัญในการนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้ในส่วนผสมคอนกรีตได้อย่างถูก ต้องและเหมาะสม และสร้างความเชื่อมั่นในการนำเถ้าปาล์มน้ำมันไปใช้ในส่วนผสมคอนกรีตต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2545, สถิติการเกษตรแห่งประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2544/45, เล่มที่ 43, 121 หน้า.
2. American Society for Testing and Materials, 2010, ASTM C 618 08a: Standard Specification for Coal Fly Ash and Raw or Calcined Natural Pozzolan for Use in Concrete, ASTM International, 3 pp.
3. ธิรสิทธิ์ แซ่ติ้ง วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, และ ไกรวุฒิ เกียรติโกมล, การพัฒนาเถ้าปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต เอกสารประกอบการประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ครั้งที่ 2, พ.ศ. 2547, สมาคมคอนกรีตไทย ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ, เชียงใหม่, หน้า 17-22
4. Tay, J.H., 1990, Ash from Oil-Palm Waste as Concrete Material, Journal of Material in Civil Engineering, ASCE, Vol. 2, pp. 94-105.
5. Hussin, M.W. and Awal, A.S.M.A., 1996, Palm Oil Fuel Ash-A Potential Pozzolanic Material in Concrete Construction, Proceedings of the International Conference on Urban Engineering in Asian Cities in the 21st Century, 20-23 November 1996, Bangkok, Thailand, pp. D361-D366.
6. วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, จตุพล ตั้งปกาศิต, ศักดิ์สินธุ์ แววคุ้ม และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, 2546, วัสดุปอซโซลานชนิดใหม่จากเถ้าปาล์มน้ำมัน, วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 26, ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม, หน้า 459-474
7. สุรพันธ์ สุคันธปรีย์, ชรินทร์ นมรักษ์ และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, 2545, การใช้กากแคลเซียม
คาร์ไบด์และเถ้าปาล์มน้ำมันในงานคอนกรีต, การประชุมใหญ่ทางวิศวกรรม ประจำปี 2545, 20-23 มิถุนายน, กรุงเทพฯ, หน้า 191-199.
8. วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และ ไกรวุฒิ เกียรติโกมล, 2547, การศึกษากำลังอัดและการยายตัวของมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน, วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 15 ฉบับที่ 3, หน้า 32-39.
9. วันชัย สะตะ, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และ ไกรวุฒิ เกียรติโกมล, 2546, การใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและเถ้าแกลบ-เปลือกไม้ในการทำคอนกรีตกำลังสูง, วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2, หน้า 27-32.
http://www.thaitca.or.th/index.php/journal/38-journal09/113-2010-11-13-20-24-02 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Soup สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2010 ตอบ: 181 ที่อยู่: อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
|
ตอบ: 17/12/2010 10:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอโทษนะครับลุงคิม แต่ขี้เถ้ามี K อยู่จริงครับ
K ก็คือ Potassium
ชื่อ Potassium มันมีที่มาครับ มันมาจากคำว่า pot ash คิือขี้เถ้าที่เหลืออยู่จากการจุดฟืนในหม้อ เอา pot+ash เป็น potash คนตั้งชื่อธาตุ potassium ก็ได้มาจากคำนี้แหละครับ
ในเกือบทุกส่วนของพืชมีธาตุนี้อยู่ครับ ถ้าเผาแล้วธาตุนี้ก็ไม่ได้ระเหยไปในอากาศแต่จะปะปนอยู่ในขี้เถ้า เวลาเราเอาขี้เถ้ามาชิมดูจะมีรสเค็ม ความเค็มนั้นไม่ได้มาจากเกลือโซเดียมนะครับ แต่มาจากเกลือโปแตสเซียม ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วจะมีฤทธิ์เป็นด่าง คนสมัยก่อนใช้น้ำด่างที่ได้มาจากการเทน้ำลงในขี้เถ้าแล้วเอาน้ำใส ๆ ที่ขี้เถ้าตกตะกอนแล้ว เอามาซักผ้าก็จะสะอาด ขี้เถ้าใช้ล้างจากมัน ๆ ก็ละอาดนะครับ (ลองล้างกะทะมัน ๆ ดูแล้ว มันหายหมดครับ ใช้แทนน้ำยาล้างจานได้เลย) เดี๋ยวนี้มีสบู่เหลวที่ใช้โปแตสเซียมขายด้วย อำนาจการชำระล้างของมันน้อยกว่าโซเดียม เป็นสบู่ถนอมผิวมันก็มาจากภูมิปัญญาโบราณเรานี่แหละครับ
แต่ขี้เถ้ามีปริมาณโปแตสเซียมน้อยกว่าในปุ๋ยเคมีมาก ต้องใส่ในปริมาณมากกว่าจึงจะเห็นผล และเราต้องใช้ไม้ปริมาณมากเพื่อที่จะได้ขี้เถ้านิดเดียว เพราะฉะนั้นการใช้ขี้เถ้าในการทดแทน K ในการทำเกษตรเชิงอุตสาหกรรมจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากเราจะหาขี้เถ้าเป็นผลพลอยได้จากโรงงานที่ต้องอบหรือเผาอะไรอย่างอื่น ซึ่งถ้าทุก ๆ สวนหันมาใช้ขี้เถ้าพร้อม ๆ กันก็จะหาขี้เถ้าไม่ได้
ถ้าใครสงสัยว่าขี้เถ้ามี K จริงหรือไม่ให้ลองเอาขี้เถ้าไปหว่านรอบทรงพุ่มของต้นอะไรก็ได้ จะสังเกตได้เลยว่าผลของมันหวานขึ้น แต่อาจจะไม่โตขึ้นเพราะการโตขึ้นของผลอาศัยหลายปัจจัยมากกว่า K ผมเคยลองเอาขี้เถ้าประมาณสองลิตรหว่านรอบต้นมะละกอ ปรากฏว่าหวานขึ้นเป็นกองเลยครับ อร่อย พี่นกขุนทองลองดูมั๊ยครับ ^_^ เห็นมีมะละกอน่ากินอยู่
เมื่อเราราดน้ำลงขี้เถ้า โปแตสเซียมในขี้เถ้าก็จะละลายออกมาด้วยครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ขี้เถ้าไปทำปุ๋ยอย่าทิ้งไว้ตากฝนเพราะโปแตสเซียมจะละลายออกไปกับน้ำซึมลงสู่ดิน จะสูญเสียครับ แต่ถ้าจะใส่ต้นไม้ก็ใส่ได้เลยครับ รดน้ำตามก็เสร็จ
เคยค้นเรื่องโปแตสเซียมจาก www.wikipedia.com ครับก็เลยจำได้ เขาีมีรูป pot ash ให้ดูด้วยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 17/12/2010 10:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นี่คือ A Man Called "Soup" ที่ลุงคิมมองเห็น...ขอบคุณมากๆ
คลิกไปที่ LINK แล้ว อ่านไม่ออก (ว่ะ)
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 17/12/2010 11:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตอบกันได้แซ่บอีหลี สะใจโก๋ ทุกท่านเลยครับ
สูตรที่ผมได้ยินมาเป็นแปลงทดลองที่อุบลฯ เค้าทำมาได้ ๒๐ ตัน/ไร่
ตามที่ลุงว่าแหละครับ เค้าโรยที่โคนต้น แต่ผมคิดว่ามันไม่น่ามีประสิทธิภาพเท่าไหร่
แต่ครั้นจะมาประยุกต์ใช้ ก็กลัวว่า
๑) ละลายน้ำให้ มันจะไหลลงดินเร็วเกินไปรึเปล่า (คิดเอาว่า ที่เค้าให้เป็นเม็ดๆ เพื่อที่จะค่อยๆละลายช้าๆ)
๒) ถ้าขุดหลุมให้ มันก็เปลืองแรงงานพอดูทีเดียว
แต่เท่าที่ฟังและวิเคราะห์จากคำแนะนำของลุง ผมว่าพ่นน้ำน่าจะเหมาะกว่า เพราะผมรองก้นหลุมไปแล้ว โพแทสเซี่ยมน่าจะไปหยุดรวมกันแถว เศษอินทรีย์วัตถุที่รองก้นหลุมอยู่
ผมพึ่งทราบนะครับว่าระเบิดหัวคือลงหัว
คิดมาตลอดว่า ลงหัวคือสิ่งที่มันฯต้องเป็นอยู่แล้ว แต่ถ้าจะเร่งให้มันโตใหญ่แบบผิดปกติด้วยวิธีต่างๆ ถึงจะเรียกว่าระเบิดหัว |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 18/12/2010 9:24 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Redmountain บันทึก: |
ตอบกันได้แซ่บอีหลี สะใจโก๋ ทุกท่านเลยครับ
ตอบ :
ที่นี่ เนื้อๆ ไม่มีน้ำครับ.....ที่นี่ ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า....ที่นี่ไม่มีโอ๊ะโอ๋ ที่นี่มีแต่ลุย ลุย ลุย.....เอามั้ย เอามั้ย เอามั้ย....
สูตรที่ผมได้ยินมาเป็นแปลงทดลองที่อุบลฯ เค้าทำมาได้ ๒๐ ตัน/ไร่
ตามที่ลุงว่าแหละครับ เค้าโรยที่โคนต้น แต่ผมคิดว่ามันไม่น่ามีประสิทธิภาพเท่าไหร่
ตอบ :
นี่คือ 1 เป็นจุดเริ่มที่เราต้องคิดต่อเพื่อให้ได้ 2 - 3 - 4 เขาทำแบบนี้เขาได้แค่นี้ ถ้าเป็นแบบเราน่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ได้มากกว่า....ทุกอย่าง ทุกขั้นตอน ต้องดีกว่า เหนือกว่า แม้แต่การ "โรยปุ๋ย" ก็คือ การเดินโรยที่ละต้น ทีละกอ ถ้าเราโรยที่ 10 ต้น 20 กอ ซะล่ะจะเหนือกว่าเขาไหม....
ทหารนโปเลียนประเภท 1 V.S. ทหารนโปเลียนประเภท 3 ....อย่างไหนดีกว่ากัน
แต่ครั้นจะมาประยุกต์ใช้ ก็กลัวว่า....
๑) ละลายน้ำให้ มันจะไหลลงดินเร็วเกินไปรึเปล่า (คิดเอาว่า ที่เค้าให้เป็นเม็ดๆ เพื่อที่จะค่อยๆละลายช้าๆ)
ตอบ :
ประสบการณ์ตรง.....เคยให้ปุ๋ยละลายน้ำแล้ว ฉีดอัดลงดินโดยตรงบริเวณทรงพุ่ม ลึก 1 คืบมือ เป็นจุดๆ ห่างกันจุดละ 1 ก้าว เป็นวงกลมล้อมรอบทรงพุ่ม 2-3 วง ตามขนาดทรงพุ่ม.....
สังเกตุเห็น ..... (1) การฉีดอัดลงดินโดยตรงใช้ปริมาณปุ๋ยน้อยกว่า ..... (2) การตอบสนองจากพืช ชัดเจนกว่า .... (3) ความสมบูรณ์สะสมอยู่ได้นานกว่า
เทคนิคการให้ปุ๋ยแบบนี้ คือ ป้อนถึงปากเลยไงล่ะ ชี้ให้เห็นชัดเจนเลยว่า ระหว่างโรยบนพื้น กับ ละลายน้ำรด วิธีไหนพืชรับได้ดีกว่ากัน.....เหลือแต่ว่า "กล้าบ้า" ไหม เพราะไม่มีใครเขาทำกัน เท่านั้นแหละ
๒) ถ้าขุดหลุมให้ มันก็เปลืองแรงงานพอดูทีเดียว
แต่เท่าที่ฟังและวิเคราะห์จากคำแนะนำของลุง ผมว่าพ่นน้ำน่าจะเหมาะกว่า เพราะผมรองก้นหลุมไปแล้ว โพแทสเซี่ยมน่าจะไปหยุดรวมกันแถว เศษอินทรีย์วัตถุที่รองก้นหลุมอยู่
ตอบ :
คำตอบ อยู่ในคำถามแล้ว.....ถ้ายังไม่เข้าใจก็ให้ไปถามนโปเลียน
ผมพึ่งทราบนะครับว่าระเบิดหัวคือลงหัว
คิดมาตลอดว่า ลงหัวคือสิ่งที่มันฯต้องเป็นอยู่แล้ว แต่ถ้าจะเร่งให้มันโตใหญ่แบบผิดปกติด้วยวิธีต่างๆ ถึงจะเรียกว่าระเบิดหัว
ตอบ :
ยังมีอีกเยอะ ที่เขาเรียกว่า "ภาษาพื้นบ้าน" แต่ละบ้านเรียกไม่เหมือนกัน ชาวบ้านคุยกันเองยังไม่รู้เรื่อง แล้วนักวิชาการพูดภาษาวิชาการ เพราะท่านๆไม่รู้ภาษาพื้นบ้าน เมื่อพูดแล้วชาวบ้านชาวบ้านจะรู้เรื่องไหมเนี่ยยยยย
ลุงคิม (โอ๋โอ๋ ไม่เป็น...พูดห้าวแต่จริงใจ) ครับผม |
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 18/12/2010 9:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สะใจวัยรุ่น ขอบคุณหลายๆเลยครับลุง
เดี๋ยวจะเอาไปทำขั้น ๖ ๗ ๘ ต่อ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 18/12/2010 10:05 am ชื่อกระทู้: |
|
|
จะสร้างอะไรก็สร้างเถอะ...แต่อย่าลืม
สร้างแรงจูงใจ....
สร้างแรงบันดาลใจ...
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 19/12/2010 11:27 pm ชื่อกระทู้: เครื่องผสมปุ๋ย/พลิกกองปุ๋ย |
|
|
ลุงครับ ผมทำไร่มันตอนนี้พื้นที่เพาะปลูกรวม ๑๘๐ ไร่ แล้ว
แต่ยังไม่ได้ซื้อรถไถเลย ใช้ outsource อยู่ เพราะคำนวณต้นทุนบวกเรื่องซ่อมแซม ฯลฯ แล้ว ดูว่ายังไม่จำเป็น (ปีนี้เข้าปีที่สามของชีวิตเกษตรกรแล้ว)
ผมหมักกองปุ๋ยเองด้วยจุลินทรีย์พื้นถิ่น และแรงคนพลิก
ทำมาปีกว่า กองที่แรงงานคนสี่คนทำได้เต็มที่ ๓ ตัน ใช้เวลาหมัก (จนความร้อนหมดและหอม) ๑๐วัน
ปุ๋ยเหล่านี้ ผมเอามาใช้ลองก้นหลุมมันสำปะหลัง และใช้กับนาข้าว สมุนไพรในไร่
แต่เมื่อพื้นที่เพิ่มขึ้น ความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเพิ่มตาม
กำลังคนกองละ ๓ ตัน/ครั้ง ไม่มีทางทัน งานที่ยากและเสียเวลาที่สุดคือการพลิกกองปุ๋ย
เท่าที่ผมเคยดูงานทำปุ๋ยแบบว่า ครั้งละ ๑๐๐ ตัน/อาทิตย์ เนี่ย ต้องใช้รถไถและเครื่องผสมปุ๋ย ตามภาพที่ให้ดูเครื่องผสมปุ๋ย
http://www.kamolindustry.com/product/moredetail.php?proid=15
แต่ผมยังไม่มีแผนซื้อรถไถ ผมควรทำยังไงดีครับ
๑) มีเครืองผสมปุ๋ย หรือการประยุกต์ที่สามารถเพิ่มอัตราการทำปุ๋ยได้หรือเปล่า
๒) ไอ้ที่ว่า ให้กองปุ๋ยบนท่ออัดลม ช่วยระบายความร้อนแล้วไม่ต้องพลิกมาก เนี่ย มันได้ผลจริงรึเปล่าครับ
๓) หรือ ผมซื้อเฉพาะ เครื่องผสมปุ๋ย แล้วไปจ้างรถไถมาลงแรงซักวันละชั่วโมงดีครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 20/12/2010 6:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าทำเพื่อใช้....เข้าข่าย "ขี่ช้างจับตั๊กแตน" นะ
แต่ถ้าทำเพื่อขาย ก็ว่าไปอีกเรื่องหนึ่ง....
ลุงคิม (ค่ำนี้จะมาตอบ) ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 20/12/2010 6:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เท่าที่เคยเห็นมาหลายราย เนื้อที่พืชไร่ขนาด 180 ไร่ ถือว่ายังไม่ใหญ่ขนาดต้องมีแทร็คเตอร์ส่วนตัว รายที่มีแทร็คเตอร์ส่วนตัวล้วนแต่ขนาด 500 ไร่ ขึ้นไป ทั้งนั้น
เนื้อที่ 180 ไร่ ทำงานในแปลงตัวเองเสร็จ ถ้าไม่ออกรับงานนอก จอดแทร็คเตอร์ไว้ที่บ้านเปล่าๆ สูญเสียไม่ใช่น้อยนะ แต่ถ้าออกรับงานนอกก็ต้องทิ้งงานแปลงตัวเองอีก ทั้งงานนอก งานใน ตีกันวุ่นไปหมด
แปลงใหญ่ขนาด 500 ไร่ นั่นเขาก็ไม่ได้ลุยปลูกทีเดียวพร้อมกันทั้ง 500 ไร่เลย เขาแบ่งเป็นโซน ๆละ 100 ไร่ แต่ละโซนห่างกันประมาณ 1 เดือน แบบนี้มีแทร็คเตอร์ส่วนตัว คนขับส่วนตัว ถือว่าคุ้ม
น่าจะพิจารณาจ้างเหมา ว่ากันเป็นงวดๆ ไปเลย เพราะเนื้อที่ 180 ไร่ คงไช้เวลาไม่นานเท่าหรอกมั้ง
ปลูกสำปะหลัง นอกจากขาย "หัว" แล้ว อยากให้มองปลูกแล้วขาย "ต้นพันธุ์" ดูบ้าง ราคาผลผลิตตัวนี้รายได้ไม่เบาเหมือนกันไม่ใช่เหรอ อยู่แต่ว่า ต้นพันธุ์ของเราน่าซื้อเอาไปทำพันธุ์ต่อไหมล่ะ ..... บำรุงซี่ บำรุงแบบไม่ให้ใบร่วงเลยทั้งต้น หรือร่วงแค่ 1 ใน 4 ของความสูงต้น คิดดู ถ้าต้นสำปะหลังใบไม่ร่วงเลย หรือร่วงน้อยมากๆ ลำต้นจะ "อวบ-อ้วน-อั๋น-อึ๋ม" แค่ไหน เทียบกับต้นสำปะหลังที่มีใบแค่กระจุกเดียวบนปลายยอด เหมือนผมโก๊ะน่ะ อย่างไหนน่าทำพันธุ์มากกว่ากัน
ทำกองปุ๋ยหมักจุลินทรีย์เอง ปริมาณแค่ 3 ตัน สำหรับเนื้อที่ 180 ไร่ มันพอเพียงหรือ ลุงคิมว่า ไม่ต้องใส่ดีกว่ามั้ง เสียเวลา เปลืองแรงงาน มันไม่ได้อะไรขึ้นมาหรอก ...... เนื้อที่ 180 ไร่ น่าจะต้องใช้ไร่ละ 2 ต้น เป็นอย่างน้อย เบ็ดเสร็จต้องใช้ถึง 360 ตัน มันถึงจะพอเห้นน้ำเห้นเนื้อบ้าง...... ไอ้ที่ไปเห็นมาน่ะ ถามเขาหรือเปล่าว่า "ทำใช้" หรือ "ทำขาย" 2 เป้าประสงค์นี้มันต่างกันโดยสิ้นเชิงนะ....ถึงจุดนี้ถ้าจะยังคิดทำเองอยู่อีก....เอ้า วางแผนซิ....
1. เนื้ออินทรีย์วัตถุ+ ส่วนผสม
2. ค่าเครื่องบดย่อย
3. พื้นที่ทำกอง
4. ระยะเวลาหมัก
5. การขนย้าย
6. เชื้อเพลิง
7. การเก็บรักษา
8. ค่าอุปกรณ์อื่นๆ
9. แรงงาน (ตั้งแต่เริ่มถึงจบ)
10. ค่าแก้ปัญหาโลกแตก
แนวคิดเรื่องทำปุ๋ยอิทรีย์ใช้เอง :
- ทำไมต้องเอาอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช) มาจากแหล่งอื่นด้วย ในแปลงตัวเองก็มีขึ้นชื่อว่าอินทรีย์วัตถุจากพืชจากที่ไหนๆมันก็เศษซากพืชเหมือนๆกันนั่นแหละ ใช้แทนกันได้ทั้งนั้น
- ทำไมต้องหมักในกอง ในเมื่อการหมักปุ๋ยอินทรีย์สามารถ "หมักในดิน" ได้ โดยไม่ต่างหรืออาจจะดีกว่าหมักในกองด้วยซ้ำไป.....หมักในถัง - หมักในกอง - หมักในดิน ทั้ง 3 แบบต่างกันย่างไร
- ทำไมต้องอาศัยแต่จุลินทรีย์ในกอง ในขวด ในถัง เท่านั้น ในเมื่อที่แปลง ในดิน ก็มี "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" คอยช่วยอยู่แล้ว
- ทำไมไม่คิดเปลี่ยน "ดิน-เศษซากพืช" ในแปลงให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ทำในแปลง แล้วให้มันอยู่ในแปลงนั่นแหละ ไม่ต้องย้ายไปย้ายมาให้ยุ่งยาก
แนวทางปฏิบัติ :
ใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อัตรา 3-5 ล. ผสมน้ำตามความเหมาะสม สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ สาดหรือฉีดพ่นให้ทั่วแปลงแล้วปล่อยทิ้งไว้ หรือไถกลบลงดิน ....ในน้ำหมักชีวภาพมีสารอาหารพืช (ได้จากส่วนผสมที่ตัวเองนำมาทำ และกรรมวิธีในการทำ) กับจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อลงไปอยู่ในดินแล้ว สามารถย่อยสลายเศษซากพืชสารพัดชนิดให้เปื่อยยุ่ยเป็นผงได้ กรณีที่เศษซากพืชที่มีอยู่เดิมในแปลงมีน้อยก็ใส่เพิ่มเข้าไปหรือสร้างขึ้นมาให้ก็ได้ คิดดู เมื่อเศษซากพืชพวกนี้ย่อยสลายมันก็คือ "ปุ๋ยอินทรีย์" ดีๆ นี่เองใช่หรือไม่ เผลอๆ ดีกว่าที่ซื้อมา หรือขนมาจากกองอีกด้วย
ปุ่ยอินทรีย์ คือ "เศษซากพืชบดป่นแล้วสเปร์ยด้วยหัวเชื้อชีวภาพ" ซื้อเขามา รู้หรือว่าเขาใช้อินทรีย์วัตถุอะไร ? หัวเชื้อที่สเปร์ยลงไปทำมาจากอะไร ? เคยได้ยินไหม ปุ่ยอินทรีย์สเปร์ย์ด้วย อามิอามิ (ของเสียจาก รง.ชูรส). ส่าเหล้า. กากน้ำตาลเปล่าๆ. ของเสียจากอุตสาหกรรม. ฯลฯ ..... ในเมื่อเราทำน้ำหมักชีวภาพเอง ทำจุลินทรีย์เอง อย่างนี้มั่นใจกว่าไหม ?
ลองๆ เอาปุ๋ยอินทรีย์ ซื้อหรือทำเองก็ได้ มาละลายน้ำซิ ถามว่าเห็นอะไรในกากกับน้ำนั้น.....แล้วถ้าเราเอาน้ำหมักสาดลงไปในแปลง รอเวลาให้มันย่อยเศษซากพืชก่อน คราวนี้ดูซิ ต่างกันตรงไหน ?
...... "ขนย้ายปุ่ยอินทรีย์ 360 ตัน" กับ "ขนย้ายน้ำหมักฯ ครั้งละ 100 ล" อย่างไหนดีกว่ากัน ?
...... "หว่านปุ๋ยอินทรีย์" กับ "สาดหรือฉีดพ่นน้ำหมักฯ" อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
ลุงคิม (อย่าเชื่อนะ) ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 20/12/2010 10:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จะทำขายได้ก็ต่อเมื่อ แสดงให้เพื่อนบ้านเห็นว่าของเราเจ๋งจริงครับ
(ใช่แล้วครับ เจ้าที่ไปดูนั่น เค้าขายปุ๋ยด้วย)
ผมบอกรายละเอียดลุงหน่อยดีกว่า ผมใช้กระบวนการบำรุงดินและให้สารอาหารต้นดังนี้
๑) ปุ๋ยหมัก (ขี้หมู ขี้วัว ขี้เค้ก ฟางตะไคร้หอม) ตกหลุมละสองกำ .... ประมาณ ๓ ขีด ดังนั้น ใช้ประมาณ ครึ่งตัน/ไร่
๒) รดน้ำหมัก (ส่า น้ำหมักขี้หมู สมุนไพร 9 อย่าง จุลินทรีย์พื้นถิ่น)
๓) เดี๋ยวได้ 4 เดือน จะผสม "แม่ปุ๋ยโพแทสเซี่ยม" ลงไปในน้ำหมักด้วย
น้ำหมักมีเพียงพอเลยครับ
แต่ยังไงก็อยากให้ได้ขี้หมูแบบเป็นเนื้อเป็นหนังด้วย ปกติตั้งกอง 3 ตัน 2 กอง ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ดังนั้น หน้าแล้งนี้ น่าจะทำขึ้นมาได้ประมาณ 60 ตัน ... ก็พอใช้ได้สำหรับ 120 ไร่
แต่ใจจริงอยากใส่มากกว่านั้น สัก 2 เท่าเลยหน่ะครับ
กำลังคิดว่า จะเพิ่มอีกวิธีนึง เคยเห็นลุงคิมแนะนำ
๔) ระหว่างร่อง หว่านปอเทือง แล้วพอออกดอก ก็วิ่งยางล้มต้นปอเทือง
โกล์ของผมสำหรับปีนี้คือ 10 ตัน/ไร่
และปีต่อไปที่ 14 ตัน/ไร่
สุดท้ายที่ 20 ตัน/ไร่ (ไม่รู้มันจะไปได้มากกว่านั้นรึเปล่า)
เรื่องขายท่อนพันธุ์ก็คิดอยู่เหมือนกันครับ
ยังไงจะเลี้ยงมันให้ดีที่สุดแหละครับ
เพราะถ้าเราทำออกมาดี เพื่อนบ้านเห็นก็คงสนใจและอยากรู้สูตร
ตอนนั้นค่อย สอน หรือไม่ก็ทำขายให้แบบราคาย่อมเยา |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 20/12/2010 10:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
งานนี้ไม่ใช่เล็กๆ เลยนะ......เอาใจช่วยครับ.....
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|