ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 17/01/2011 9:07 pm ชื่อกระทู้: เห็ดเข็มทอง..... |
|
|
เห็ดเข็มทอง.....
วันนี้ราวบ่าย 3 โมง กระทาชายนายหนึ่งโฉบเข้ามาหาลุงคิมที่ ชมรม (ใหญ่) สีสัน
ชีวิตไทย สีแยกบางแพ เพชรเกษม ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ในมือถือถุงพลาสติก
ซีลหัวท้าย ขนาดใหญ่กว่าข้อมือเล็กน้อย 6 ถุง.....สอบถามแล้วจึงทราบว่า
....ผมเป็นแฟนรายวิทยุลุงคิม ผมเอาของมาฝาก นี่คือ "เห็ดเข็ทอง" ฟาร์มอยู่
ใกล้ๆ เจ้าของเป็นญี่ปุ่น ลงทุนทำเห็ดตัวนี้เพื่อส่งญี่ปุ่นโดยเฉพาะ....
ซักไซร้ไร่เรียง ถึงความแตกต่างระหว่าง "เห็ดเข็มทอง" กับ "เห็ดเข็มเงิน"
.... เห็ดเข็มทองยาว แต่เห็ดเข็มเงินสั้น
ลุงคิมถึงบางอ้อ....ที่กินสุกี้ยากี้ เห็ดตัวนั้นสั้นประมาณนิ้วมือ คือ เห็ดเข็มเงิน แต่
ตัวนี้ยาวเกือบคืบมือ (เทียบปากกาเมจิก) จึงเป็นเห็ดเข็มทอง.....เห็ดเข็มทองราคา
สูงกว่าเข็มเงิน 5-6 เท่า......(วันนี้ได้กินของแพง....)
ถามเรื่องปุ๋ยบำรุง บอกว่าไม่ทราบชื่อยี่ห้อ เขาเอามาจากญี่ปุ่นโดยเฉพาะ.....ถาม
เรโช.ปุ๋ยว่า ใช่ 3:1:2 ไหม ก็บอกไม่ทราบอีก.....น่าจะเป็นความลับที่คนงานไทย
เข้าไม่ถึงไหม ?
.... เจ้าของลงทุนเกือบ 100 ล้าน (ไม่รู้ว่าบาท หรือเยน) แต่ไม่มีเว้บไซด์ ไม่งั้น
จะ COPY มาให้ดูกัน โฆษณาให้ ประมาณนั้น
ภาพที่เห็นนั่น แกะออกมาจากถุงแล้วถ่ายรูปเอามาให้ดูกัน เห็นว่า ตลาดเมืองไทย
เรียกร้องมาก ในอนาคนอันใกล้อาจจะเปิดร้านจำหน่ายก็ได้ แต่ราคาคงสูงหน่อย
เพราะโครงการเจาะตลาดบนเท่านั้น
ลุงคิม (ขอบคุณแฟนรายการ) ครับผม
ปล.
ท่องโลกเน็ตแล้วยังหาภาพ "เห็ดเข็มเงิน" ไม่ได้ จะได้เปรียบความแตกต่างกันไง
จะพยายามหาอีก.........คอยหน่อย นะน้องติ๋ม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
catcaty หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010 ตอบ: 525
|
ตอบ: 17/01/2011 9:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 9:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพาะเห็ดเข็มเงิน เข็มทอง
เห็ดเข็มเงินเข็มทอง อยู่ในตระกูลเดียวกัน แต่เดิมนั้นเกิดขึ้นเองบนตอไม้ผุ ในป่า
ต่อมาได้นำมาเพาะเลี้ยงและพัฒนาการเพาะเลี้ยงมาเรื่อย ๆ ถือเป็นเห็ดที่มีความ
สำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง
เห็ดเข็มเงินหรือเห็ดเข็มทองมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มี
คุณค่าทางโภชนาการเหมือนกันทุกประการ ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน เยื่อใย
และส่วนที่เป็นเถ้า ร้อยละ 31.2, 5.8, 3.3 และ 7.6 ตามลำดับ
ลักษณะของดอกเห็ด ทั้งหมวกดอก ก้านดอกเหมือนเข็มหมุด ยาวเรียวมีความกรอบ
สูง เป็นเห็ดที่เจริญได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่นเดียวกับเห็ดแชมปิญอง และเห็ดหอม
ข้อแตกต่างของเห็ดเข็มเงินและเข็มทอง เห็ดเข็มเงิน มีก้านดอกและหมวกดอกสี
ขาว เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมานานหลายศตวรรษ โดยประเทศญี่ปุ่นได้
พัฒนาการเพาะเลี้ยงจากขอนไม้มาเพาะลงในถุงอาหารขี้เลื่อย จนกลายเป็นเห็ด
เศรษฐกิจที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน
เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดตระกูลเดียวกันกับเห็ดเข็มเงิน มีก้านดอกและหมวกดอกมี
เหลืองทอง ส่วนบริเวณ โคนก้านมีสีน้ำตาลดำ นิยมเพาะเลี้ยงในประเทศจีน เพื่อ
สกัดเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเห็ดให้ได้ผลผลิต การแยกเชื้อ เชื้อเห็ดเข็มเงิน สายพันธุ์ที่นำ
มาศึกษานี้นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ในรูปก้อนเชื้อบรรจุในขวดพลาสติก ทำการ
แยกเชื้อบริสุทธิ์และศึกษาลักษณะทางชีววิทยาเบื้องต้นไว้ แม่เชื้อเห็ดเข็มเงินใน
อาหารวุ้น พี ดี เอ เจริญเต็มจากแก้วขนาด 9 เซนติเมตร ภายในเวลา 10 วัน ขยาย
ต่อลงในเมล็ดข้าวฟ่าง ซึ่งเส้นใยเมล็ดเห็ดเข็มเงินเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง 100 กรัม
ในเวลา 12 วัน
การเตรียมอาหาร วัสดุที่ใช้ผสมเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดเข็มเงิน ประกอบด้วย
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม
รำละเอียด 20 กิโลกรัม
ข้าวโพดอบ 5 กิโลกรัม ..... และ
น้ำ 60 กิโลกรัม
วัสดุทั้งหมดนี้นำมาคลุกให้เข้ากันอย่างดี จะมีความชื้น 60-65% นำอาหารที่เตรียม
แล้วนี้ไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อาจบรรจุในพลาสติกได้อัด
ให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ เช่นเดียวกับการเตรียมถุง
อาหารเห็ดโดยทั่วไป)
ใส่คอขวด ปิดจุกสำลี การนึ่งอาหาร ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้ นำไป
ผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 100 องศา
เซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ
212 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง
การใส่เชื้อเห็ดเข็มเงิน ถุงอาหารขี้เลื่อยผสม ซึ่งผ่านการนึ่งแล้วทิ้งไว้ให้เย็นลง นำมา
ใส่เชื้อเห็ดเข็มเงินที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ 15-20 เมล็ด
การบ่ม นำถุงขี้เลื่อยซึ่งใส่เชื้อเห็ดเข็มเงินแล้ว ไปบ่มในห้องอุณหภูมิประมาณ 20-
21 องศาเซลเซียส
การปฏิบัติในระยะให้ผลผลิต เมื่อเส้นใยเห็ดเข็มเงินเจริญเต็มถุง ย้ายถุงเพาะเลี้ยง
ไปยังห้องเปิดดอก อุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ 80-85% เปิดจุกสำลีออก เมื่อเกิดดอกเล็ก ๆ ให้แสงและถอดคอ
ขวดออก ปล่อยให้ดอกสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร จึงใช้ม้วนกระดาษสวมครอบถุง
เห็ด ก้านดอกจะชูหาแสงสว่าง ทำให้ก้านยาวและหมวกดอกโตอย่างสมบูรณ์ ช่วงนี้
ปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเป็น 16-18 องศาเซลเซียส
การเก็บดอกเห็ด ก้านดอกเห็ดยาวประมาณ 9-14 เซนติเมตร หมวกดอกจะมีขนาด
1-2 เซนติเมตร เก็บดอกโดยดึงกลุ่มดอกเห็ดทั้งหมด ดอกเข็มเงินเก็บรักษาไว้ในตู้
เย็นได้ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยยังคงความสดของดอก และสีไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก
เดิมอนาคตตลาดเห็ดเข็มเงินในประเทศไทย
เห็ดเข็มเงิน เป็นเห็ดเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฯลฯ นำเข้ามาขาย
ในประเทศไทยในราคากิโลกรัมละหลายร้อยบาท เพราะต้องขนส่งทางเครื่องบิน ซึ่ง
ราคาซื้อขายในประเทศญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 200-300 บาท ฉะนั้น หากจะมี
การเพาะเลี้ยงในประเทศไทย ควรจะเพาะเลี้ยงได้ในบริเวณพื้นที่สูงทางภาคเหนือ
ช่วงอากาศหนาวเย็น หรือเพาะเลี้ยงได้ทั่วไปในสภาพห้องควบคุมอุณหภูมิที่เห็ดชนิด
นี้ต้องการเพื่อการสร้างดอกเห็ด และหากมีการพัฒนาห้องเพาะเลี้ยงให้คุ้มค่าการลง
ทุน หรือปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดเข็มเงินให้สามารถเพาะได้อุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ใน
อนาคตเราคงจะมีโอกาสได้รับประทานเห็ดชนิดนี้กันมากขึ้น ในราคาถูกลง
http://www.rd1677.com/branch.php?id=44203 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 10:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นกไม่กินเห็ด.....งานนี้ "นกขุนทอง" อดกิน
ลุงคิม (กินผัดน้ำมันหอยเผื่อ) ครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 17/01/2011 10:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ใครบอกกกก... เห็ดเข็มทอง(เข็มเงิน)เนี่ย...อร่อยมาก
เพราะเหนียว ๆ นี่แหละ นกชอบนักแล(เป็นงั้นไป) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|