ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 17/01/2011 9:08 pm ชื่อกระทู้: มันแกวยักษ์..... |
|
|
มันแกว.....
มันแกวที่เห็นเป็น 1 ใน 10 หัว ซื้อริมถนนสายเข้าตัวเมืองอยุธยา กก.ละ 30 บาท
แต่ละหัวเฉลี่ย 3-4 กก. ตั้งใจเอาไปฝากหลายๆบ้าน
สอบถามคนขายแล้วทราบว่า ปลูกเอง-ขายเอง มาจากย่านตาคลี จันเสน
นครสวรรค์....ไม่รู้ชื่อสายพันธุ์ แต่บอกว่าเป็นพันธุ์พิ้นเมือง....ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร
เสมอ แถมยังคุยว่า "หวานเจี๊ยบ" ซะอีกแน่ะ....
ถึงบ้านผ่าออกพิสูจน์ ชิมแล้วหวานนิดๆ พอรู้สึกสัมผัส ชิมแค่ชิ้นเดียวพูดได้ 3 วัน
4 คืน (ไม่มีเอ้อนะครับอ้า อ้านะครั้บเอ้อ) เขียนหนังสือได้ 10 เล่ม
แกล้ง โง่-บ้า-เซ่อ เป็นคนเมืองไม่มีความีรู้เรื่องเกษตร ถามโน่นถามนี่ ซอกไป
แซกมา เออออห่อหมกไปกับเขา
..... เหรอ เหรอ ไม่บอกไม่รู้นะเยี่ยยยย
..... เกษตรกรนี่เก่งนะ ที่ทำได้หัวใหญ่ขนาดนี้
..... ถ้าทำซัก 100 ไร่ รวยแน่ๆเลย ........ ประมาณนี้
เรื่องมันแกวทั้งสิ้นทั้งปวง สรุปได้ดังนี้....
.... มันแกวพวกนี้ ถ้าขุดขึ้นมาใหม่ๆ สดๆ แล้วชิมจะจืดชืด แต่การที่รสออกหวาน
นิดๆ ได้ เพราะผ่านการลืมต้นมาแล้ว 2-3 วัน ประกอบกับสภาพอากาศช่วงนี้
"แล้ง + หนาว" พอดี มันจึงออกหวานพอสัมผัสได้
.... พืชหัว (มันแกว. เผือก. มันเทศ. สำปะหลัง. ไชเท้า. กระชาย. ขมิ้น. ขิง.
ข่า. แถมสับปะรด. ไผ่.) ต้องการปุ๋ย เรโช 2 : 1 : 8 โดยปุ๋ยตัวท้ายช่วยสร้าง
น้ำตาล ต่างจากการใช้ปุ๋ย เรโช 1 : 1 : 1 ที่ตัวท้ายต่ำ.....ปุ๋ยตัวหน้าสูง (เทียบ
กับตัวท้าย) ต่อพืชหัว มีผลให้ขนาดหัวไม่ใหญ่ และกลิ่น/รสไม่ดี
.... เนื้อมันแกว คือ แป้ง ปุ๋ยตัวสร้างแป้ง คือ สังกะสี.
.... ปุ๋ยตัวสร้างคุณภาพ คือ แคลเซียม. เนื้อมันแกวจะกรอบดี ถ้าได้รับโบรอน.
เพราะขาดสารอาหาร (ปุ๋ย/ฮอร์โมน และอื่นๆ) เพราะขาดเทคโนโลยีที่เหมะสมกับ
แมันแกว ผลผลิตจึงได้แค่ "เกรดฟุตบาธ" เท่านี้ไงล่ะ
ใครมีความคิดเห็นอย่างไร COMMENT หน่อยก็ดีนะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
catcaty หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010 ตอบ: 525
|
ตอบ: 17/01/2011 9:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไปมาไร้ร่องรอย......! |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 9:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ใจเยงเยง....จากิง ให้อาหล่อย ต้อง ใจเยงเยง.....
เดี๋ยวจะร่ายยาวเหยียดให้ฟัง.....O.K. ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 17/01/2011 9:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทิ้งร่องรอยไว้ตั้ง 4 โล นะพี่หมึก หนักเอาการ
รอสักครู่ กำลังตั้งหลักอยู่ ใจเย็นๆ
อยากรู้จังว่า...ลูกนี้หวานมั้ย ?
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nokkhuntong เมื่อ 17/01/2011 10:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 10:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มันแกว....
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyrhizus erosus (L.) Urb.
วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Pachyrhizus angulatus Rich ex DC.
Pachyrhizus bulbosus (L.) Kurz
ชื่อไทย :มันแกว*, เครือเขาขน, ถั่วกินหัว, ถั้วบ้ง, มันแกวละแวก, มันแกวลาว,
มันละแวก, มันลาว, หมากบ้ง, หัวแปะกัวะ
ชื่ออังกฤษ : JICAMA, YAM BEAN
ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความ
เหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง
ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลง
ไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม
หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้
ปลูกมันแกวน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฤดูปลูก
มันแก้วขึ้นได้ในดินฟ้าอากาศหลายชนิดชอบอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนปานกลาง ใน
อากาศที่หนาว ระยะเจริญเติบโตจะยาวนาน ในการผลิตหัวต้องการวันสั้น ถ้าปลูกใน
ที่ที่มีวันยาวถึง ๑๔-๑๕ ชั่วโมง การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ผลิตหัว ควรปลูกในระยะ
ต้นถึงปลายฤดูฝน เพื่อเก็บหัวในฤดูแล้ว ถ้าปลูกฤดูแล้งหลังจากฝนหมดแล้ว จะมีหัว
ในเวลาไม่นานนัก เช่น ปลูกเดือนพฤศจิกายน จุเก็บหัวได้ในราวเดือนมกราคม หรือ
กุมภาพันธ์ แต่จะได้หัวเล็ก เพื่อให้ได้หัวโต ควรปลูกราวเดือนมิถุนายน
การเลือกและการเตรียมที่
มันแกวชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีการเตรียมดินดี ไม่ชอบดินเหนียว น้ำขัง ชอบ
ดินร่วนทราย การเตรียมดินก็เป็นเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่อื่น ๆ มีการไถพรวน
พรวนให้ดินร่วนซุยดี เก็บวัชพืชให้หมดและยกร่องเพื่อปลูกมันแกวบนสันร่อง
วิธีปลูก
ปลูกด้วยเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งปลูกโดยใช้หัว เพื่อรักษาลักษณะที่ดีไว้ ปลูก
หลุมละ ๒-๓ เมล็ด ในบางประเทศปลูกโดยใช้ระยะระหว่างแถว ๖๐-๗๕ ซม. ระยะ
ระหว่างหลุม ๓๐-๔๐ ซม. อินเดียและฟิลิปปินส์ ใช้ระยะระหว่างแถว ๑๕-๒๐ ซม.
ระหว่างต้น ๑๐ ซม. ผลการทดลองใช้ระยะ ๑๕ x ๑๕ ซม. ให้ผลดี ประเทศไทย
ปลูกโดยวิธียกร่อง ระยะระหว่างแถว ๘๐-๑๐๐ ซม. ระหว่างต้นแตกต่างกัน ชนิดหัว
เล็กต้นห่างกัน ๑๐-๒๐ ซม. ชนิดหัวใหญ่ห่างกัน ๓๐-๕๐ ซม. ถ้าไม่ยกร่องระยะ
ระหว่างแถวแคบกว่านี้เล็กน้อย ในเนื้อที่ ๑ ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘ กก. หรือประมาณครึ่งถัง
การทำค้าง
มันแกวที่ปลูกฤดูฝน สิ่งสำคัญในการปฏิบัติได้แก่ การทำค้างให้ต้นมันแกวเลื้อย ใช้
ไม้ไผ่หรือกิ่งไม้สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ปัดให้ต้นมันแกวเลื้อยและช่วยจัดให้ยอด
ของมันแกวเลื้อยขึ้นไปตามไม้ที่ปัก การปลูกมันแกวฤดูแล้งไม่ต้องทำค้าง
การพรวนดิน
ถ้าปลูกฤดูฝน ควรพรวนดินพร้อมกับกำจัดวัชพืชไม่ให้วัชพืชขึ้นปกคลุม ต้นมันแกว
ปำติต้องกำจัดวัชพืช ๒-๓ ครั้ง สำหรับการปลูกมันแกวในฤดูแล้งไม่ให้น้ำ ไม่ต้อง
พรวนดินและกำจัดวัชพืช
การเด็ดยอด
การปลูกมันแกวในฤดูฝนนั้นจำเป็นต้องเด็ดยอดและดอก ถ้าไม่เด็ดมันแกวจะเจริญ
เติบโตทางต้น ใบ ดอก ฝัก ทำให้มีหัวเล็ก การเด็ดยอดและดอกจึงเป็นสิ่งที่
ต้องกระทำ ถ้าปลูกต้นฤดูฝนในราวเดือนมิถุนายน ทำการเด็ดยอด ๓ ครั้ง ครั้งแรก
อายุ ๒ เดือน ขณะที่เถายาวประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ครั้งที่สอง อายุประมาณ ๓
เดือน และครั้งที่สามอายุประมาณ ๔ เดือน หรือจะเด็ดเพียง ๒ ครั้ง เมื่ออายุ ๒ กับ
๔ เดือนก็ได้ ถ้าปลูกปลายฝนเด็ดยอดครั้งเดียวเป็นการเพียงพอ แต่ถ้าปลูกหลังฤดู
ฝน ไม่ต้องทำการเด็ดยอดเลย สำหรับการปลูกมันแกวเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์
ปลูก ไม่ต้องทำการเด็ดยอดและดอก ปล่อยให้เจริญเติบโตตามปกติ เพื่อให้ได้
เมล็ดมากและเมล็ด มีคุณภาพดี ในทางปฏิบัติกสิกรเด็ดยอดโดยการใช้ไม้คล้ายไม้
เรียวหวดให้ยอดขาด หรือหักไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป
การใส่ปุ๋ย
ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอก ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่ละแห่ง
ในต่างประเทศใช้ปุ๋ยผสม เกรด ๑๒-๒๔-๑๒ ในอัตรา ๕๐-๖๕ กก./ไร่ ก่อนปลูก
และเพิ่มแอมโมเนียมซัลเฟตอีกประมาณ ๓๐ กก./ไร่ เมื่อต้นมันแกวเริ่มเลื้อย
โรคและแมลง
ไม่ปรากฏว่ามีโรคและแมลงที่รบกวนต้นมันแกวมากนัก
ผลผลิตโดยทั่วไปในเนื้อที่ ๑ ไร่ จะได้หัวมันแกวสดประมาณ ๒-๖ ตัน
การเก็บหัวและรักษา
มันแกวที่ปลูกฤดูฝนจะแก่เมื่ออายุประมาร ๕-๘ เดือน แต่ถ้าจะเก็บเมล็ดต้องใช้
เวลาประมาณ ๑๐ เดือน ให้สังเกตดูใบมันแกว เมื่อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่า
เริ่มเก็บหัวได้แล้ว มันแกวชนิดหัวเล็กปลูกหลังฤดูฝน เก็บได้เมื่ออายุ ๓ เดือน
ถ้าปลูกน้อย เก็บโดยการขุดด้วยจอบ เสียม ถ้าปลูกมากอาจใช้ไถพลิกหัวมันแกวขึ้น
มา เมื่อเก็บหัวมาแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วส่งตลาดหรือเก็บรักษาไว้ต่อไป
การเก็บรักษามันแกวที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ไม่ขุดขึ้นจากดิน วิธีนี้จะสามารถทิ้งหัวมันแกวไว้
ในดินได้อีกประมาร ๒-๓ เดือน โดยไม่ให้น้ำ หัวจะไม่เสีย เพียงแต่แห้งไปบ้าง และ
จะมีรสหวานมากขึ้น ถ้าขุดขึ้นมาแล้วจะเก็บรักษาได้โดยเก็บไว้ในอุณหภูมิ ๐ องศา
เซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ ๒ เดือน
ประโยชน์ของมันแกว
องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
หัว ..... หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการ
วิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ
๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ
๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม
(Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรด
เอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม
ฝัก .....ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔
โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ
๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙
มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบ
ฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม
เมล็ด .... ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์
เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓
คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษ
เนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟู
ราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน
ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้
และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝัก
อ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลง
หรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อ
การบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย
น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำ
แห อวน ได้
http://www.doae.go.th/library/html/2549/1809/Jlcama/index.htm |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 17/01/2011 10:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ป๊าดดดด......... รูปที่ 2 ในเข่ง..นึกว่ามะพร้าว
ใหญ่ขนาดนี้ คงไม่หวานถ้ากินสด คงเอาไปแปรรูปอีกทีแน่เลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 10:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มันแกว
ส่วนที่เป็นพิษ :
มันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งรับประทานได้ แต่บางส่วนของมันแกวก็เป็นพิษได้เช่น
กัน เช่น ใบและเมล็ดของมันแกวนั้นเป็นพิษ
สารพิษ :
ฝักอ่อนของมันแกวสามารถรับประทานได้ แต่เมื่อแก่จะเป็นพิษ โดยเฉพาะที่เมล็ด
ของมันแกวนั้น มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin,
pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone,
dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone ,
neodehydrorautenone, 12-(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-
hydroxymundu- serone, rotenone นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่
pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย
ส่วนใบของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือ
มากกว่าม้า
อาการเกิดพิษ :
เมื่อศึกษาพิษของ rotenone พบว่า ถ้ารับประทาน rotenone เข้าไป จะทำให้
เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การหายใจเข้าไป
พิษจะรุนแรงกว่า โดยไปกระตุ้นระบบการหายใจ ตามด้วยการกดการหายใจ ชัก
และอาจถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยา
ระบาย และบางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง นอกจากนี้อาจเกิด
อาการพิษเรื้อรัง โดยทำให้ไขมันในตับและไตเปลี่ยนแปลง ส่วนพิษของสารซาโป
นิน จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่นกัน คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำ
ไส้อักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีปัญหาในระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อน
แรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติและทำให้ชักได้
การรักษา :
ล้างท้อง ให้รับประทานพวก demulcents เช่น นมและไข่ขาว ระวังการเสีย น้ำ
และ electrolyte balance ถ้าสูญเสียมากต้องให้น้ำเกลือ ทางเส้นเลือด
http://www.poisonplant.ob.tc/P_Mangew.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 17/01/2011 10:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารสกัดสมุนไพรกำจัดหนอน ที่มีสารออกฤทธิ์รุนแรงเทียบเท่าสารเคมีประเภท
ยาน็อค.....เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า. หัวกลอย. เปลือกต้นซาก.
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|