ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 12:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพชรบุรี ชมพู่เพชรสายรุ้ง
เป็นชมพู่สายพันธุ์ดั้งเดิมแท้ๆของไทย เมื่อก่อนนักชิมรู้จักกันในนาม "ชมพู่เพชร"
เช่นเดียวกันกับชมพู่อีกหลายสายพันธุ์ย่านบางกอกน้อย. นครปฐม. และที่อื่นๆ
แต่เนื่องจากขาดการ ปชส. จึงมีคนรู้จักในวงแคบๆเท่านั้น
กระแสตั้งชื่อใหม่ามาแรง ชมพู่เพชรต้องเปลี่ยนชื่อตัวเองบ้าง เป็น "ชมพู่เพชรสาย
รุ้ง" หรือบางคราวอาจได้ยินชื่อ "เพรชมพูพน" ก็ให้รู้เถิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
ต่อมาชมพู่พันธุ์ "ซีต้า" จากอินโดเนเซีย ซึ่งก็เป็นพันธุ์ดีเหมือนกัน เข้ามาในไทย
แล้วตั้งชื่อใหม่สารพัดชื่อตามใจชอบของคนขายกิ่งพันธุ์ แถมโฆษณาบ้าเลือด เลย
ดังกลบชมพู่สายพันธุ์ดั้งเดิมเสียสิ้น..... อ.ประเทือง อายุเจริญ เป็นคนหนึ่งในกลุ่ม
แรกของคนไทยที่นำผลไม้สายพันธุ์ดีจากอินโดเนเซีย เผยแพร่ในประเทศไทย
เช่น ชมพู่ซีต้า. ตั้งชื่อไทยว่า "ทับทิมจันทร์" นัยว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดของ
ตน กับฝรั่งไร้เมล็ด (จำชื่ออินโดเนเซียไม่ได้) ตั้งชื่อไทยว่า "สาลี่ทอง" .... ทั้ง
ชมพู่เพชร. และฝรั่งสาลี่ทอง. มีให้ชมและชิมที่ไร่กล้อมแกล้ม
http://atcloud.com/stories/76228
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2011 3:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 3:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นี่เป็นประกาศของท่านผู้ว่าของเมืองเพชรบุรีเรื่องการแอบอ้างหลอกนักท่องเที่ยว
เกี่ยวกับการเอาชมพู่พันอื่นมาหลอกขายว่าเป็นชมพู่เมืองเพชร
นี่คือชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ที่แม่ค้าชอบหลอกขายว่าเป็นชมพู่เพชรจนทำให้ชมพู่
เพชรแท้ๆเสียชื่อในเรืองของรสชาติ
ชมพู่เพชรสุวรรณเป็นอีกสายพันธุ์นึงที่วางขายกันมากแล้วมาอ้างว่าเป็นชมพู่
เพชรบุรี ซึ่งแตกต่างกันมากในเรืองของรสชาติและเนื้อบาง
http://atcloud.com/stories/76228 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 3:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ชมพู่เพชรสายรุ้ง สุดยอดผลไม้เมืองเพชรบุรี
หน้าร้อนเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงที่ชมพู่เพชรสายรุ้ง และชมพู่
สายพันธุ์อื่นๆ ของจังหวัดเพชรบุรี กำลังให้ผลผลิตชุกที่สุด ถ้าหากท่านได้ไปทำ
ธุระหรือไปท่องเที่ยวที่จังหวัดเพชรบุรีช่วงเวลานี้ จะหาซื้อรับประทานได้ง่ายราคา
พอประมาณ กิโลกรัมละประมาณ 80-140 บาท แล้วแต่ขนาดผลเล็กใหญ่และ
คุณภาพตามสายพันธุ์
ชมพู่เพชรสายรุ้ง หรือมีชื่ออีกอย่างหนึ่ง คือ ชมพู่เพชรชมพูพน
ชมพู่เริ่มนำเข้ามาปลูกที่จังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 150 ปี มาแล้ว โดยชมพู่ต้น
แรกปลูกที่บ้านนายหรั่ง แซ่โค้ว ณ หมู่บ้านริมแม่น้ำเพชรบุรี ต.หนองโสน อ.
เมือง ซึ่งตรงข้ามกับวัดขุนตรา ต.บ้านกุ่ม อ.เมือง
บริเวณหมู่บ้านริมแม่น้ำเพชรบุรี ต.หนองโสน อ.เมือง แหล่งปลูกชมพู่ต้นแรกของ
เพชรบุรี
ชมพู่เป็นพืชที่ชอบน้ำมากจึงปลูกได้ผลดีเฉพาะริมแม่น้ำ หรือในร่องสวนที่มีน้ำหล่อ
เลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ลักษณะดินที่ปลูกเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุ
ที่ไหลมาทับถมกันทุกปีที่เรียกว่า "ดินน้ำไหลทรายมูล"
บริเวณที่ปลูกชมพู่เพชรสายพันธุ์ต่างๆ มักจะอยู่ที่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ที่ ต.บ้านกุ่ม
ต.หนองโสน อ.เมืองเพชรบุรี
ชมพู่เพชรบุรี มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น เพชรสุวรรณ เพชรน้ำผึ้ง ทับทิมจันทร์
ทูลเกล้า นอกจากจะมีพื้นที่ปลูกในเขต อ.เมืองเพชรบุรี แล้วยังมีการปลูกชมพู่กัน
มากที่สองริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีในเขต อ.บ้านลาดและ อ.ท่ายาง อีกด้วย
ชมพู่เพชรสายรุ้ง ขนาด 7-9 ผล/1 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 80-140 บาท
ชมพู่เพชรสายรุ้ง มีรสหวานกรอบ เนื้อแน่น นายชาย พานิชพรพันธ์ ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเพชรบุรี ได้นำชมพู่สายรุ้งไปต้อนรับผู้นำและคณะในการประชุมอาเซี่ยม
ซัมมิท 2009 ที่ อ. ชะอำ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ชาวสวนชมพู่ประสบอยู่ คือชมพู่เป็นผลไม้ที่เน่าเสีย หรือมีตำหนิ
ง่าย ในการเก็บผลผลิตแต่ละครั้ง จะมีผลชมพู่เน่าเสียหรือมีตำหนิประมาณ 30
% นอกจากนั้นชมพู่เป็นผลไม้ที่ต้องรับประทานผลสดอย่างเดียว ไม่สามารถแปร
รูปเป็นอย่างอื่นได้ ราคาชมพู่ที่มีตำหนิจึงลดลงถึง 50 % หรือกว่านั้น
ถนนสายชมพู่เพชร คือ ถนนจาก อ.เมือง ไป อ.บ้านแหลม ตามฝั่งซ้ายของแม่น้ำ
เพชรบุรี ผ่านวัดเขาตะเครา
โดย เพชรพรหมาฯ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=422920 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 3:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=051027114341&ID=760107&SME=022159519
ผลักดันชมพู่เพชรสายรุ้งดังระดับโลก
เพชรบุรี - จดทะเบียนชมพู่เพชรสายรุ้ง ในฐานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แสดงความ
เป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา จังหวัดเพชรบุรีเตรียมผลักดันเป็นผลไม้มีชื่อ
เสียงระดับโลก หลังนำไปต้อนรับคณะผู้นำอาเซียนจนเป็นที่ชื่นชอบ มีการสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้น
นายชาย พานิชพรพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานลงนามข้อตกลง
ความร่วมมือระหว่างผู้แทนกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง กับผู้ประกอบ
การจำหน่ายสินค้าประเภทของฝากจากเมืองเพชร เมื่อวันที่ 24 กันยายนนี้ ตาม
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาศักยภาพชมพู่เพชรสายรุ้ง เพื่อให้เป็นผลไม้มีชื่อเสียง
ระดับโลก หลังจากชมพู่เพชรสายรุ้งถูกนำไปต้อนรับคณะผู้นำอาเซียนเมื่อไม่นานมา
นี้ จนเป็นที่ชื่นชอบอย่างมาก ทำให้มีการสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น
ผวจ.เพชรบุรีเปิดเผยว่า ล่าสุดได้จดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของชมพู่เพชร
สายรุ้งไว้แล้ว เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกลุ่ม
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนทั้งงบประมาณ การส่งเสริมการ
ตลาดและการผลิต ขณะนี้มีเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนำร่อง
2 กลุ่ม คือ เกษตรกรตำบลท่าไม้รวก อ.ท่ายาง และเกษตรกรหนองโสน อ.
เมืองฯ โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดอบรมให้ความรู้การผลิตชมพู่ที่ปลอดภัยเพื่อ
ให้ผลผลิตได้มาตรฐาน ตรงความต้องการของผู้บริโภคและตลาด โดยเฉพาะเป็น
เอกลักษณ์ที่แตกต่างจากชมพู่เพชรทั่วไป อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นชมพู่
เพชรพันธุ์เดียวกัน เพราะเวลาผลชมพู่เพชรสายรุ้งแก่จัดจะมองเห็นเส้นข้างผลเป็น
สาย
ชาวสวนในจังหวัดเพชรบุรียืนยันว่า ชมพู่ที่เป็นของเมืองเพชรแท้ๆ คือชมพู่เพชรสาย
รุ้ง ลักษณะผลที่สามารถสังเกตได้คือ ผลแก่จะมีสีออกชมพูเกือบแดง ตัวผลไม่เงา
แต่จะขุ่นขาว เนื้อแน่นกรอบ รสชาติหวานถึงหวานจัด บริเวณก้นชมพูแพชรสายรุ้ง
จะมี 4 กลีบเบียดกันแน่น.
http://www.ryt9.com/s/tpd/859885 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 3:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อำลาดงกล้วยหอมสู่บ้านหนองโสน
เข้าสวนชมพู่เพชรแบบฉบับชาวบ้าน
คมชัดลึก : ออกจากสวนกล้วยหอมทองส่งออกที่ อ.บ้านลาด มุ่งหน้าสู่ตัวเมือง
เพชรบุรี เป้าหมายสุดท้ายของโครงการเกษตรทัศนศึกษากับโต๊ะข่าวเกษตร คม
ชัด ลึก คือ สวนชมพู่เพชรพันธุ์สายรุ้งขนานแท้ ที่ ต.หนองโสน อ.เมือง จ.
เพชรบุรี
ซึ่งเป็นสวนชมพู่เพชรที่ปลูกแบบฉบับของชาวเพชรบุรีขนานแท้ และเป็นสวนที่
รัฐบาลไทยนำชมพู่เพชรไปให้ผู้นำอาเซียนรับประทาน เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเป็น
เจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้
ชมพู่เพชร หรือ ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของ จ.เพชรบุรี และได้รับ
การยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นสุดยอดชมพู่ของประเทศไทย หรือสุดยอดชมพู่
ของโลกก็ว่าได้ และที่สำคัญ ชมพู่เพชรสายรุ้งที่มีรสชาติอร่อยจะต้องปลูกในพื้นที่
ต.หนองโสน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เท่านั้น เพราะสภาพดินที่มีน้ำท่วมถึง มีปุ๋ยและ
อินทรียวัตถุอุดมสมบูรณ์ ที่เรียกว่า "น้ำไหลทรายมูล" มาทับถมไม่ขาดสาย เหตุนี้
ชมพู่เพชรจึงเจริญเติบโตงอกงามให้ผลดี สีสวยและมีรสชาติอร่อย แตกต่างไปจาก
ชมพู่เขียวที่มีอยู่เดิม
จะเห็นได้ในเวลาต่อมาว่า มีผู้ขยายพันธุ์ชมพู่เพชรไปปลูกบ้าง แต่รสชาติต่างกัน
อย่างชัดเจน ชมพู่เพชรสายรุ้ง มีตำนานไม่ชัดเจนนักว่าปลูกครั้งแรก ณ แห่งใด แต่มี
ความน่าเชื่อว่า น่าจะเป็นที่ อ.บ้านลาด เนื่องจากมีเรื่องเล่ากันว่า คนที่นำชมพู่เพชร
มาปลูกเป็นคนแรกคือ พระครูญาณวิมล หรือพระครูญาณเพชรรัตน์ (หลวงพ่อพ่วง)
อดีตเจ้าอาวาสวัดศาลาเขื่อน ต.ตำหรุ อ.บ้านลาด โดยหลวงพ่อพ่วงได้รับพระราช
ทานกิ่งตอนชมพู่จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกิ่งชมพู่ที่ตอน
จากต้นที่อยู่ในวังที่ประทับ เมื่อปี 2378 ครั้งแรกๆ เรียกว่า ชมพู่เขียวเสวย" เพราะ
เปลือกผลสีเขียว ตอนหลังกลายเป็นสีขาวอมเขียวนิดดุจดังสายรุ้งนั่นเอง
หลวงพ่อพ่วงนำกิ่งตอนชมพู่ดังกล่าวมาปลูกที่บันไดทางขึ้นกุฏิ และชมพู่ต้นนี้ตาย
เมื่อปี 2530 รวมอายุได้ 152 ปี ต่อมาระยะหลังมีการนำกิ่งพันธุ์ชมพู่ไปปลูกตามที่
ต่างๆ ทั่ว จ.เพชรบุรี แต่ชมพู่ที่ปลูกบริเวณวัดชมพูพน ต.หนองโสน อ.เมือง จ.
เพชรบุรี ให้ผลผลิตดีกว่าชมพู่ที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ
ขณะเดียวกันมีตำนานจาก ต.หนองโสน เล่าสืบต่อกันมาว่า คนที่เอาชมพู่เพชรสาย
รุ้งมาปลูกเป็นคนแรกใน ต.หนองโสน คือ นายหรั่ง แซ่โค้ว เกิดเมื่อปี พ.ศ.2438
ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำเมืองเพชรบุรี ฝั่งตรงข้ามวัดขุนตรา ซึ่งเดิมเรียกกันว่าบ้าน
สะพานยายนม
นายหรั่ง เป็นชาวหนองโสนโดยกำเนิด มีอาชีพค้าน้ำตาลทางเรือ ระหว่าง จ.
เพชรบุรี-กรุงเทพฯ ต่อมานายหรั่งได้นำกิ่งตอนพันธุ์ชมพู่เพชรมา 3 กิ่ง ไม่ปรากฏว่า
มาจากสวนแห่งใด ชมพู่เพชรทั้ง 3 กิ่งนี้ เป็นชมพู่เพชรรุ่นแรกที่นำมาปลูกในบริเวณ
แม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งริมน้ำมีดินดี มีความร่วนซุย น้ำท่วมถึง มีปุ๋ยและอินทรียวัตถุอุดม
สมบูรณ์ จึงเจริญเติบโตงอกงามให้ผลดี สีสวยและมีรสชาติอร่อย ต่อมามีผู้ขอขยาย
พันธุ์ชมพู่เพชรไปปลูกบ้าง แต่เจ้าของไม่ประสงค์จะให้ขยายกิ่งพันธุ์ชมพู่เพชรไป
ปลูกแพร่หลาย ดังนั้นในระยะแรกชมพู่เพชรทั้งสามต้นจึงยังไม่ได้แพร่พันธุ์ไปปลูก
ในที่แห่งใด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการขยายตอนกิ่งชมพู่เพชรออกจำหน่ายให้คนที่ต้อง
การในราคาประมาณกิ่งละ 200-250 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่แพงมากในสมัยนั้น
และภายหลังจากปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา กิ่งชมพู่เพชรก็เป็นที่แพร่หลายไป
อย่างกว้างขวางในทุกพื้นที่ของ จ.เพชรบุรี แต่ไม่อร่อยเท่าที่ ต.หนองโสน
การทำสวนชมพู่เพชรตามแบบฉบับของชาว ต.หนองโสนนั้น จะเป็นสวนหลังบ้านคน
ละ 5-30 ต้น ไม่นิยมปลูกมาก เนื่องจากต้องใช้แรง อย่างปัจจุบันต้นชมพู่เพชรสาย
รุ้งมีอายุกว่า 30 ปีแล้ว ต้นสูง เวลาจะห่อหรือเก็บเกี่ยวต้องทำห้างถึง 3 ชั้น สูงราว
8 เมตร แต่เนื่องจากใน ต.หนองโสน เป็นตำบลที่อยู่ใกล้เมือง บ้านเรือนของชาว
บ้านจะปลูกหันหน้าเข้าถนน ทำให้หลังบ้านติดกัน จึงมองเห็นว่า สวนชมพู่เพชรสาย
รุ้งกินพื้นที่กว้างนับร้อยไร่ แต่แท้จริงเจ้าของสวนชมพู่เพชรมีเฉลี่ยแล้วตกครอบครัว
ละกว่า 10 ต้นเท่านั้น และใต้ต้นชมพู่เพชรจะร่มรื่น เดินเล่นได้สบาย
ยุทธนา เหมืองเล็ก นายก อบต.หนองโสน เล่าว่า ชาวหนองโสนมีอาชีพหลักคือ
เกษตรกรรม อันดับแรกคือทำนา แต่ที่บ้านพักแต่ละบ้านจะปลูกต้นชมพู่เพชรไว้หลัง
บ้าน ทำให้หนองโสนเป็นแหล่งใหญ่ในการปลูกชมพู่เพชร แต่ด้วยหลังบ้านติดกัน ทำ
ให้สวนชมพู่เพชรหลังบ้านเชื่อมติดกัน ชาวบ้านจึงประหยัดในการทำห้าง คือทำต่อ
เชื่อมกันเลยเป็นสิบๆ บ้าน เห็นแล้วแปลกตาดี
ชมพูจะออกลูกปีละถึง 5 ครั้ง ออกดกมาก เจ้าของต้องมีเวลามาห่อ มาเก็บอีก แต่
ละต้นทำรายได้ให้เกษตรกรต้นละ 1.5-2 หมื่นบาทต่อปี แต่ละปีมีเงินสะพัดเข้า
พื้นที่เฉพาะขายชมพู่เพชรหลายสิบล้านบาททีเดียว เพราะทุกวันนี้ราคาชมพู่เพชรถือ
ว่าแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันคือ ตกกิโลกรัมละ 100 บาท นายก
อบต.หนองโสนกล่าว
ด้านสำอาง สีนวล เกษตรกรวัย 53 ปี ชาวบ้านฉาง หมู่ 1 ต.หนองโสน บอกว่า
ปลูกชมพู่เพชรขายมากว่า 30 ปี ปัจจุบันมี 40 ต้น โดยปลูกรอบๆ บ้าน กลางสวน
ขุดบ่อปลา บนพื้นที่ทั้งหมดราว 5 ไร่ แต่น่าเสียดายที่ผ่านมา ได้ฟันต้นชมพู่เก่าทิ้ง
เพราะช่วงหนึ่งราคาชมพู่ตกต่ำมาก ตอนนั้นชมพู่ของตนต้นเล็ก ทำให้เก็บผลได้
น้อย เฉลี่ยปีละ 500 ถุงต่อต้น แต่หากเป็น ชมพู่ต้นใหญ่จะเก็บผลผลิตได้
ปีละประมาณ 2,000 ถุงต่อต้น แต่กระนั้นจะมีรายได้จากขายชมพู่เพชรทั้งปี
ประมาณ 2 แสนบาท
กัมปนาท ขันตระกูล
http://www.komchadluek.net/detail/20090329/7310/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 3:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เทคนิคตัดแต่งชมพู่เพชรสายรุ้ง
คุณสมศักดิ์ สิทธิโชคธรรม เกษตรกรที่จังหวัดเพชรบุรี ได้ใช้เทคนิค การตัดแต่งทรง
พุ่มต้นชมพู่แบบใหม่ ทำให้ยังคงอนุรักษ์ต้นชมพู่สายพันธุ์นี้ไว้ได้ถึง 35 ไร่ เทคนิค
นี้ ได้รับคำแนะนำจากศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี และสำนักงาน เกษตรอำเภอท่ายาง
โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก จะเลือกกิ่งตอนลงปลูก ให้ระยะ ห่าง 6 คูณ 6 เมตร
ซึ่งจะชิดกว่าการปลูกแบบทั่วไป ที่ปลูกกันอยู่ที่ 10 คูณ 10 เมตร เมื่อต้นชมพู่อายุ
ได้ 1 ปี จะตัดลำต้นให้เหลือส่วนโคนต้น ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร แล้ว
ปล่อยให้แตกยอดใหม่ 3 ถึง 4 ยอด
จนกระทั่งอายุครบ 3 ปี ก็จะแตกเป็นทรงพุ่ม จะตัดยอดกลางลำต้น และกิ่งกระโดง
ออก ให้ต้นสูงไม่เกิน 2 เมตรครี่ง พร้อมกับตัดแต่งกิ่งแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออก โดย
จะตัดแต่งกิ่งปีละครั้ง หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว ในช่วงเดือนเมษายน ถึง
พฤษภาคม จากนั้นจึงให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้ง และดูแล บำรุงต้นด้วยวิธีการ
เดียวกับการปลูกชมพู่ทั่ว ๆ ไป
เทคนิคนี้ สามารถลงปลูกต้นชมพู่ เพชรสายรุ้งได้มากถึงไร่ละ 36 ต้น ขณะที่การ
ปลูกด้วยวิธีเดิม ๆ จะลงปลูกได้เพียง 16 ต้นเท่านั้น
ส่วนการให้ผลผลิตนั้น ต้นนึงจะให้ผลประมาณปีละ 50 ถึง 100 กิโลกรัม ใกล้เคียง
กับวิธีการเดิมของเกษตรกรทั่วไป
การตัดแต่งต้นชมพู่ให้เตี้ยลง นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกร
ได้ผลผลิตคุณภาพดี เพราะสามารถดูแลได้ง่ายขึ้น ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ ตลาดในช่วง
ต้นปี จำหน่ายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 150 ถึง 200 บาทเลย
ข้อมูลเพิ่มเติม,คุณศศิธร สิทธิโชคธรรม,โทร.081-984-3458
http://www.thailand14.com/News-detail-401879.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 30/01/2011 4:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พันธุ์ชมพู่
ชมพู่พันธุ์สุวรรณ
เป็นชมพู่ทีมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียเป็นพันธุ์ทีให้ผลผลิตเร็วจะให้ผลผลิต
หลังจากปลูก 78 เดือนเท่านั้นรูปทรงคล้ายชมพู่เพชร แต่มีผลคล้ำกว่าผิวมัน
มากกว่า รูที่ก้นผลจะกว้างกว่าชมพู่เพชรสายรุ้ง มีความกรอบและความหวานน้อย
กว่าซึ่งพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่หลอกผู้บริโภคว่าเป็นชมพู่เพชรสายรุ้ง
ชมพู่เพชรสายรุ้ง
เป็นชมพู่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพู่กระหลาป๋า
ของดินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทยอายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ
23 ปีแล้วแต่การบำรุงรักษา เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบและราคาแพงที่สุดใน
บรรดาชมพู่ด้วยกัน แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่จำเป็นต้องทำนั่ง
ร้าน ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าชมพู่พันธุ์อื่น ๆ
ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่ปี 2378 รูปทรงคล้าย
ระฆังคว่ำ ตรงกลางผลป่องเล็กน้อยเวลาแก่จัดจะเห็นเส้นเอ็นสีแดงที่ผลชัดเจน เนื้อ
แข็งกรอบหวาน มีความหวานระหว่าง 1115 % (เปอร์เซ็นความหวาน)
ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง
เป็นพันธุ์ที่มีเกษตรกรนำมาจากประเทสมาเลเซียแต่ตั้งเดิมเป็นพันธุ์มาจากประเทศ
อินโดนีเซีย มีลักษณะผลคล้ายชมพู่ทูเกล้าคือผลเรียวยาวสีแดงเข้ม รสหวาน
อมฝาดเล็กน้อย ความหวานประมาณ 1013 % (เปอร์เซ็นความหวาน)ข้อดีของ
ชมพู่พันธุ์นี้ คือ เปลือกของผลค่อนข้างหนาทำให้ไม่ช้ำง่ายเหมือนพันธุ์อื่น ๆ ขนส่ง
ได้ไกลไม่มีเมล็ด และน้ำหนักต่อผลดี สีสวยเหมาะแก่การจัดกระเช้าเป็นของฝาก
ญาติผู้ใหญ่
ชมพู่ทับทิมจันทร์
เป็นชมพู่ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย เดิมมีชื่อว่า ชีตา เกษตรกรนำเข้ามา
ปลูกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2538 นำมาขยายพันธุ์และตั้งชื่อใหม่หลายชื่อ
ลักษณะทรงผลคล้ายชมพู่เพชรน้ำผึ้ง แต่ก้นผลใหญ่กว่า เส้นเอ็นที่ผลเด่นชัดกว่า
ผิวมันเป็นประกายรสชาติหวาน เนื้อแน่นไม่มีเมล็ดผิวค่อนข้างหนาขนส่งได้ไกล ไม่
ช้ำง่ายแต่มีข้อเสีย คือ การออกผลจะไม่ออกทั้งปี และไม่ค่อยดกเหมือนชมพู่
พันธุ์อื่น ๆ
ชมพู่ทูลเกล้า
เป็นชมพู่ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียเหมือนกัน นำมาปลูกครั้งแรกที่อำเภอ
สามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อปี 2520 เป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่าย ลำ
ต้นไม่สูงมากนักจะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 68 เดือออกผลทะวายทั้งปีสีผลมีสี
เขียวอ่อ หวานไม่มากนัก ปัจจุบันมีผู้ปลูกไม่มากนัก เพราะราคาสู้ชมพู่พันธุ์อื่น ๆ
ไม่ได้
ชมพู่พันธุ์น้ำดอกไม้
เป็นชมพู่พันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีลักษณะต้นและใบคล้ายต้นหว้า ใบเรียวแหลมเป็น
มัน มีผลคล้ายลูกจันทร์ สีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว เนื้อบาง
สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ จะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 2 ปี
http://www.kln.ac.th/30204/03-301-29-%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93/index3.htm |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|