ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
sugasza หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 11/12/2010 ตอบ: 15
|
ตอบ: 07/03/2011 4:20 pm ชื่อกระทู้: แช่ท่อนพันธ์สำปะหลัง..... |
|
|
การแช่ท่อนพันธ์ที่ถูกต้องเขาแช่กันยังไงหรือครับ
ระหว่างแช่เฉพาะบริเวณที่ตัด หรือ แช่ท่อนพันธ์ทั้งท่อนเลย
แถวบ้านผม คนที่แช่ท่อนพันธ์แทนที่จะได้รากมากขึ้น กลับตายยกไร่ หลังจากที่คุยๆกับผู้ปลูกเขาบอกว่า หลังจากแช่ท่อนพันธ์ ท่อนพันธ์จะเกิดการรัดตัว บริเวณรากมีรากเกิดมากขึ้นจริง แต่บริเวณตาตายเรียบ ส่วนอีกคนบอกว่าหลังจากแช่ท่อนพันธ์แล้วลองเอามาเปรียบเทียบดู ก็ไม่เห็นจะได้น้ำหนักมากขึ้นแต่อย่างใด กลับทำให้ท่อนพันธ์มีโอกาศตายมากขึ้นอีก เขาเลยไม่แนะนำให้จุ่มท้อนพันธ์ครับ
ขอบความคิดเห็นด้วยครับ เพราะเห็นเขาใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง มีใครเป็นแบบนี้บ้างครับ
ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 07/03/2011 5:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ่านเรื่องสำปะหลังให้มากๆ ยกกระทู้สำปะหลังมาให้ใกล้แล้ว อ่านในกระทู้ก่อนแล้วตามไปอ่านที่ "หน้าแรก-พืชไร่-สำปะหลัง" ต่ออีก
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1214#15147
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1668#15145
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1577#15144
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1347
อ่านมากๆ อ่านหลายๆรอบ ยิ่งอ่านยิ่งรู้ รู้เรื่องสำปะหลังและรู้ตัวเอง ท้ายสุด ยิ่งอ่านจะยิ่งรู้ตัวเองว่าไม่รู้อะไรมาก่อนเลย.....คนไม่รู้ย่อมตกเป็นเหยื่อคนฉลาด
ลุงคิมอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 3 ชม. ทุกวัน ตอด 20 ปีที่ผ่านมา....เดี๋ยวนี้ แก่ขนาดนี้ บางวันท่องเน็ต อ่าน-อ่าน-และอ่าน ตั้งแต่ ตี.5 ถึง 5 ทุ่ม
"วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + แรงจูงใจ + ใจตัวเอง" คือ ชัยชนะอย่างยั่งยืน
รู้เรื่อง .....สำปะหลัง ให้กระจ่าง แต่อย่างเดียว.....แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล
ที่บอกว่า "แช่ท่อนพันธุ์-แช่ท่อนพันธุ์" น่ะ แช่ในอะไร ในน้ำเปล่า. ในปุ๋ย. ในฮอร์โมน. ก็ไม่บอก แล้วจะรู้ไหมเนี่ยยยยย
อาการรากเน่า ไม่ลงหัว เกิดจากการแช่ท่อนพันธุ์แน่หรือ ? มีสาเหตุอื่นอีกไหม ?
ถ้าแช่ในสารอาหาร ไม่น่าจะเกิดปัญหาที่ว่า ครั้นจะว่า มันดูดสารอาหารมากเกินไปก็เเป็นไปไม่ได้ เพราะถึงยังไงๆ มันก็ดูดเข้าไปแค่เต็มหรือแค่อิ่ม อิ่มแล้วเต็มแล้วมันคงไม่ดูดเข้าไปอีกหรอก เว้นเสียแต่สารตัวนั้นเข้มข้นเกิน จนเกิดอาการท็อกซิกแก่พืชได้ เหมือนเด็กกินยาผู้ใหญ่ และสุดท้าย แช่สารผิดประเภท เหมือนกินยาผิด.....ตัยยยยยย
อันที่จริง ธรรมชาติสรีระวิทยาของพืช ทุกส่วนของพืชสามารถดูดน้ำได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าส่วนไหนจะดูดได้มาก ได้น้อยกว่ากันเท่านั้น.....เคยเห็นไหม ? กุหลาบตัดมาทั้งก้าน ตัดมาแล้วเอาโคนก้านจุ่มในน้ำละลายสี ปรากฏว่า ก้านกุหลาบดูดน้ำสีเข้าไป แล้วส่งไปให้ดอก จนกลีบดอกเปลี่ยนสีจากสีเดิมเป็นสีตามน้ำละลายสีได้
ท่อนพันธุ์สำปะหลังก็เหมือนกัน มันก็สามารถดูดน้ำเข้าไปไว้ในตัวมันได้.....คราวนี้มาพิจารณาซิ จาก "น้ำ" แทนที่จะเป็นน้ำเปล่าๆ ทำให้เป็น "น้ำ + สารอาหาร" จะดีกว่าไหม ?
อันที่จริงสารอาหาร ก็คือ สารอาหาร ที่นักส่งเสริมเชิงพานิชเรียกว่า "ปุ๋ย" นั่นแหละ ประกอบด้วย "ธาตุหลัก - ธาตุรอง - ธาตุเสริม - ฮอร์โมน และ อื่นๆ" ทุกตัวมีประโยชน์ต่อสำปะหลังในการเจริญเติบโตทั้งสิ้น เพียงแต่ตัวไหนช่วยให้ส่วนไหนเจริญเติบโตกว่าส่วนไหน หรือตัวไหนมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่าตัวไหนเท่านั้น
ตามหลักวิชาการที่รู้มา การแช่ท่อนพันธุ์สำปะหลังเพื่อให้ท่อนพันธุ์ได้สะสมสารอาหารไว้ตั้งแต่ก่อนปลูก (ก่อนเกิด....เหมือนเด็กอยู่ในท้องแม่)) ดังนี้....
- แช่ใน "สังกะสี" สารอาหารตัวนี้ช่วยสร้างแป้ง
- แช่ใน "บี-1 หรือ เอ็นเอเอ. อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่าง" สารอาหาร 2 ตัวนี้ช่วยสร้างราก
- แช่ใน "ไคโตซาน" สารไคติเนสในไคโตซานช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์
หมายเหตุ :
ถ้าไม่รู้จะแช่ในอะไรดี ก็ขอให้แข่ใน ธาตุรอง/ธาตุเสริม ที่มีสารอาหารครบทุกตัวก็ได้ เรียกว่า "เหมาจ่าย" ไปเลยก็ได้
ลุงคิมครับผม
ปล.
ย้อนไปถามคนที่บอกมาว่าแช่ซิ ว่า "แช่ในอะไร" เอาชื่อสารที่แช่มาให้ชัดเจน ไม่ใช่ว่าแช่ในเหล้าขาว หรือเหล้าแดง หรือสาโท. ไอ้เป้. กระเช่.......
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/11/2024 9:02 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 07/03/2011 7:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
กำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูก่อนปลูกมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลังค่อนข้างจะกำจัดยากกว่าเพลี้ยแป้งธรรมดา เพื่อยับยั้งการระบาดมิให้กระจายออกอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการศึกษาการใช้สารเคมีโดยการวิจัยของกลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังมา ตั้งแต่ต้น กล่าวว่า กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยาก็ได้ทำศึกษาวิจัยการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ด้วยสารเคมีก่อนปลูก โดยศึกษาการแช่ท่อนพันธุ์ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้สารเคมีสำหรับแช่ท่อนพันธุ์ คือ
1. ไทอะมีโทแซม 25 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
2. อิมิดาคลอพริด 70 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ไดโนทีฟูแรม 10 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู พี 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
อย่างใดอย่างหนึ่งนาน 5-10 นาที หลังจากแช่แล้วนำไปปลูก ได้ทดสอบแล้ว จะสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างน้อยประมาณ 1 เดือน
นายสุเทพ แนะนำวิธีการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีที่ได้ผลที่สุดคือ ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพร้อมปลูก แล้วนำไปแช่สารเคมีที่แนะนำไปแล้วข้างต้นประมาณ 5-10 นาที สารเคมีจะถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชได้มากที่สุดและไม่ทำให้พืชเกิดอาการเป็นพิษ
จากการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในแนวนอนจะต้องใช้เวลา 15 นาที สารเคมีจึงจะซึมเข้าได้หมด ขณะเดียวกันได้ทดลองแช่ท่อนพันธุ์ในแนวตั้ง ปรากฏว่าใช้เวลาแช่ 24 ชั่วโมง พบว่าสารเคมียังซึมไม่ถึงยอด ซึ่งเราจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่าการแช่ในแนวตั้งนานแค่ไหน สารเคมีจึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้
ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วพร้อมปลูกหรือแช่ท่อนพันธุ์ในแนวนอนไปก่อน
โดยปกติแล้วเกษตรกรมักจะทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยฮอร์โมนเร่งราก หรือฮอร์โมนที่มีสารอาหารต่าง ๆ ก่อนปลูกอยู่แล้ว หากเกษตรกรจะเพิ่มสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งโดยยอมเสียเวลาแช่ไปอีกสักหน่อย ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ซึ่งนอกจากเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์จะตายแล้ว เพลี้ยแป้งก็ไม่สามารถทำลายต้นมันสำปะหลังที่งอกออกมาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน[img]
นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่าหลังจากที่นำท่อนพันธุ์ที่แช่สารเคมีไปปลูก เมื่อต้นมันสำปะหลังงอก ได้ปล่อยเพลี้ยแป้งไปที่ต้นมันทุกสัปดาห์ และเฝ้าดูว่าวิธีไหนที่เพลี้ยแป้งมีชีวิตอยู่รอด เมื่อเปรียบเทียบกับต้นมันสำปะหลังที่ปลูกโดยแช่น้ำเปล่า พบว่าวิธีที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีได้ผลดีที่สุด คือหลังจากที่ปลูกไปแล้วระยะเวลาการทำลายของเพลี้ยแป้งจะช้าลง เพลี้ยแป้งไม่สามารถบินไปได้เนื่องจากไม่มีปีก โอกาสที่จะระบาดก็คือลมพัดมาติดมากับคนและสัตว์เลี้ยงหรือมดพามาเท่านั้น
มีข้อมูลจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย รายงานว่าได้ทำการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารไทอะมีโทแซม 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู่ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 5 บาท มูลนิธิได้รายงานด้วยว่า จากการทดลองปลูกไปแล้ว 6 เดือน ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเลย แต่ในแปลงที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ได้มีการพ่นสารเคมีไปแล้ว 3 ครั้ง
อย่างไรก็ตามในระยะนี้ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังไปก่อน เพราะอยู่ในช่วงหน้าแล้ง และยังอยู่ในช่วงของการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกในช่วงที่เหมาะสมคือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของฤดูปลูกปี 2553
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-5583, 0-2579-7542.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 25 มกราคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=44587
http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=39 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Redmountain สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/12/2010 ตอบ: 23
|
ตอบ: 09/03/2011 4:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมเคยแช่ในน้ำผสม น้ำหมักขี้หมู สมุนไพร น้ำส้มควันถ่าน มาแล้วหลายกระบวนท่า
แบบ ๑.๑) แช่แนวตั้งปลิ่มๆน้ำ ทั้งคืน
แบบ ๑.๒) แช่แนวตั้งปลิ่มๆน้ำ ๑ ชั่วโมง
แบบ ๒) แช่แนวตั้งแบบซ้อนทับกัน ทั้งคืน
แบบ ๓) แช่แนวนอน (ลอยน้ำ) ๓๐ นาที
พบว่า
แบบ ๑.๑) ต้นเปื่อยบ้าง ฟองน้ำชุ่ม
แบบ ๑.๒) ใ้ช้เวลานานกว่า ๑ ชม. กว่าฟองน้ำในท่อนจะชุ่ม
แบบ ๒) ต้นเปื่อยแบบลาโลกเลย เอาไปปักก็ไม่งอก
แบบ ๓) ฟองน้ำในต้นชุ่มเร็ว ไม่มีปัญหาหลังการปัก
คราวนี้จะทดลองป้ายปูนแดงที่ปลายด้านบน เพื่อช่วยเก็บความชื้นในฟองน้ำครับ
เอ้ออีกอย่างนึง เวลาตัดท่อนพันธุ์ จะมีท่อนพันธุ์ที่มีน้ำหนัก กับที่ดูเบาๆ
แบบมีน้ำหนักดูดน้ำชุ่มดีกว่า แบบไ่ม่มีน้ำหนักครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|