ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
ตอบ: 14/03/2011 5:09 pm ชื่อกระทู้: ฟักแม้ว...ซาโยเต้.... |
|
|
ฟักแม้ว...มะระหวาน...มะระแม้ว...มะเขือแม้ว...มะเขือเครือ...แตงกะเหรี่ยง...ซาโยเต้....
ฟักแม้ว ปลูกครั้งเดียวเก็บกินและขายได้ 3 ปี ที่โครงการหลวงทุ่งเริง
ระยะนี้อยู่ในช่วงของ "ข้าวยากหมากแพง" สินค้าทุกชนิดขึ้นราคาเป็นว่าเล่น หรือเพราะราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นราคาแทบทุกวัน
แต่ราคาสินค้าด้านการเกษตรยังคงที่ บางชนิดเท่านั้นที่ขึ้นราคา เพราะการเก็งกำไรของนักธุรกิจ จากคำขวัญของเทคโนโลยี
ชาวบ้านที่ว่า "เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง" จึงใช้ได้กับทุกวาระทุกสมัย ฉบับนี้มูลนิธิโครงการหลวงใคร่ขอเชิญชวน
ทุกท่านปลูกพืชผักรับประทานกันเองในบ้าน ไม่ต้องไปหาซื้อของแพงในตลาด
ปลูกได้ง่าย ใช้เวลาสั้นแต่เก็บกินได้นาน
สะอาดปลอดภัยไร้สารพิษ นั่นคือ ฟักแม้ว
บางท่านที่ชอบรับประทานข้าวต้ม มักจะสั่งอาหารประเภทนี้ จนพูดติดปากกันว่าถ้าสั่งฟักแม้วผัดน้ำมันหอย ราคาจานละ 30 บาท
หากสั่งซาโยเต้ผัดน้ำมันหอย จะราคาเพิ่มเป็น 50 บาท
ฟักแม้ว เป็นชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านภาคเหนือ หรือจะเรียกให้โก้หรูแบบภาษาญี่ปุ่นและได้ราคาสูงต้องเรียกว่า ซาโยเต้
ฟักแม้วเป็นพืชข้ามปี ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะที่เจริญจากข้อใบ ขยายพันธุ์ด้วยผลแก่ สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก
ฟักแม้วจะต้องสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 500-1,400 เมตร เป็นที่ราบหรือที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 15-28 องศา
เซลเซียส
การปลูกง่ายมาก เริ่มจากคัดเลือกหัวพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไวรัสและแก่เต็มที่ นำไปปักชำในขี้เถ้าแกลบและทรายในที่ร่มที่มีความชื้น
รอจนแตกรากและเริ่มแตกใบอ่อนจึงย้ายไปปลูกในหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ห่างกันประมาณ 1 เมตร ทำค้าง
ด้วยไม้ไผ่เพื่อให้เถาฟักแม้วเลื้อยเกาะ หลังปลูก 15 วัน จึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ทุก 15 วัน
ศัตรูพืชของฟักแม้ว ได้แก่ โรคราน้ำค้าง ราแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว การป้องกันกำจัด ควรใช้น้ำมัน
ปิโตรเลียม หรือผงฟู 70 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร อาจจะใช้สารเคมีกำจัดแมลงบ้างบางครั้งหากจำเป็นเมื่อเกิดศัตรูพืชระบาดมาก
แต่ไม่ขอแนะนำเนื่องจากเราจะต้องรับประทานยอดอ่อนและผลอ่อน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่พืชผักของ
มูลนิธิโครงการหลวง
ฟักแม้วสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่หลังจากปลูก 50-60 วัน และเก็บเกี่ยวยอดและผลอ่อนรับประทานหรือจำหน่ายได้ตลอด
ระยะเวลา 3 ปี จึงรื้อออกแล้วปลูกใหม่ เนื่องจากต้นฟักแม้วที่แก่จะให้ยอดอ่อนน้อย ในขณะเดียวกัน เกษตรกรสามารถเก็บ
ผลแก่ไว้ทำพันธุ์ได้เอง
คุณประโยชน์ของฟักแม้ว ด้วยการนำมาประกอบอาหาร เช่น ต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงเลียง ยำ ที่ชื่นชอบมากคือ นำ
ไปผัดน้ำมันหอย ฟักแม้วมีคุณค่าทางอาหารคือ ให้วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันหวัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์
(053) 318-304 หรือที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. (053) 810-765 ต่อ 108
http://www.rd1677.com/branch.php?id=37796
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/03/2011 8:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
ตอบ: 14/03/2011 5:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การปลูกฟักแม้ว
ฟักแม้ว (Chayote) ฟักแม้ว,ชาโยเต้ หรือมะเขือเครือ เป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย แคลเซียม วิตามินซี
และฟอสฟอรัส สามารถบริโภคได้ทั้งยอดและผล ปลูกเลี้ยงง่าย โรคและแมลงน้อยมีปลูกมาทางภาคเหนือ และภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเลย และเพชรบูรณ์ แต่การบริโภคยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากผลผลิตยังมีปริมาณไม่มากพอ
และมีจำหน่ายเฉพาะแหล่งผลิต สภาพแวดล้อม ฟักแม้วเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี อุณหภูมิที่
เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ถ้าต้องการให้ผลผลิตออกมาต่อเนื่องตลอดทั้งปี ต้องมีแหล่ง
น้ำอย่างพอเพียง
การปลูกและการดูแลรักษา
นำผลที่เห็นว่าแก่เต็มที่แล้ว โดยจะสังเกตเห็นได้จากเมล็ดและรากงอกออกมา แล้วนำไปเพาะลงถุงที่เตรียมไว้ โดยมีส่วนผสม
ของ แกลบเผา แกลบดิบ ดินร่วน อัตราส่วน 1:1:2 ผสมกับปุ๋ยคอกเล็กน้อยให้ลึกครึ่งผล จนกระทั่งแตกยอดออกมายาวประ
มาณ 20-35 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ที่มีขนาด 50 x 50 x 50 ซม. โดยใช้ระยะปลูก 2 & times; 2
เมตร จะทำให้ได้จำนวนต้น 400 ต้น/ไร่ ทำค้างสูงประมาณ 2 เมตรให้น้ำ 2 วัน/ครั้ง สำหรับดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว
ควรให้น้ำ 4-5 วัน/ครั้ง ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 และ 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โดยใส่
ปุ๋ยคอกทีมีเปอร์เซ็นต์ของธาตุอาหารสูง เช่น มูลไก่แห้ง ซึ่งมีธาตุอาหารสูง และเพิ่มปุ๋ยหมักเพื่อทำให้ดินร่วนขึ้น และจะทำให้อุ้ม
น้ำได้ดี โดยเฉพาะในดินทราย และควรมีการตัดแต่งเถา 3-4 ครั้ง/ปี โดยไว้เถาที่สมบูรณ์ ประมาณ 3-5 เถา/ต้น การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกจนถึงอายุ 6 เดือน ฟักแม้วจะเริ่มให้ผลผลิต
การเก็บผล
จะสังเกตได้จากสีของผลมีสีเขียวอ่อน ขนาดของผลปานกลาง มีหนามเล็กน้อย ถ้าเก็บผลผลิตแก่เกินไป ผลจะมีเส้นใยมาก ผล
ผลิต ประมาณ 100-160 ผล/ต้น/ปี หรือ 25-40 กก./ต้น
http://kasetonline.com
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/03/2016 4:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
ตอบ: 14/03/2011 5:31 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การปลูก ฟักแม้ว
มื้อนี้มีรูปการปลูกฟักแม้วมาฝากครับ ผมไปได้พันธุ์ฟักแม้วมาจากห้างสรรพสินค้า เลือกเอาลูกออกเหลือง ๆ แล้วเอามาทิ้งไว้
เกือบเดือนครับ..แล้วฟักแม้วจะแลบลิ้นออกมาตามรูป ฟักแม้วมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือชาโยเต้ครับ ปลูกทีหนึ่งก็อยู่ได้
ประมาณสองปี ยอดเก็บมารวก หรือผัด ส่วนลูกฟักแม้วก็เอามา ต้ม ผัด แกง ก็ได้ครับ
หลังจากที่ลูกฟักแม้วแลบลิ้นแล้วก็เอาลงปลูกครับ เอาดินกลบตรงลิ้นนิด ๆ แล้วประมาณอาทิตย์ก็แทงยอดขึ้นมาครับ ตาม
รูปผมเอาเพาะไว้ ก่อนจะอาลงปลูก แค่นี้ก็มียอดฟักแม้วไว้ผัดกินแซบ ๆ แบบพอเพียงและเพียงพอแล้วขอรับกระผม...
คลิกไปดูวิธีขยายพันธุ์ฟักแม้ตามลิงค์นะครับ.....
http://www.pirabkao.org/forum/index.php?topic=1440.0
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/03/2011 8:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 14/03/2011 6:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มันน่าจะปลูกแถวขอนแก่นได้เนอะลุงคิม เพราะเอ.ชอบกิน เอามาฝานบางๆ ชิ้นเล็กๆ ผัดใส่ไข่ แม่ผัดอร่อยที่สุด
ปล.
คิดถึงรสแคนตาลูปที่กินที่ไร่ลุงคิมมากเลยครับ ตอนนี้อยากกินอีก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tungo1 หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/03/2011 ตอบ: 1
|
ตอบ: 22/03/2011 4:32 pm ชื่อกระทู้: อยากทดลองปลูกฟักแม้วครับ |
|
|
อยากทดลองปลูกฟักแม้วครับ ต้องหาพันธุ์ได้ที่ไหนครับ สั่งได่ที่ไหน ตอนไหน ประมาณเดือนไหนครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
ตอบ: 25/03/2011 9:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ระบบข้อมูลพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลติกรรมการเกษตร
ซาโยเต้
นิพนธ์ ไชยมงคล
ซาโยเต้ Sechium edule (Jacq.) Swartz. ชื่ออื่น ๆ มะเขือเครือ มะเขือแม้ว Chayote, sayote, pipnella squash, vegetable
pear, mirliton, christophine, chuchu, chayotl, mango squash อยู่ในวงศ์Cucurbitaceae or Gourd Family เชน
เดียวกับแตงกวา แตงโม ฟักทอง มีถิ่ นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เมกซิโก และ แถบอเมริกากลาง เป็นพืชข้ามปี มีระบบรากสะสม
ขนาดใหญ่ ลำ ต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา ยาว 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มือเกาะเจริญที่ข้อ ใบมีขอบใบลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5
เหลี่ยม ยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกสีขาวปนเขียว ดอกตัวผู้และตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว
อยู่บนต้นเดียวกัน (monoecious) ผสมเกสรโดยแมลง
ผลทรงกลมยาว สีเขียวอ่อน มีขนาดความยาว 7-20 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร นํ้าหนักผล 200-400 กรัม การฉีดพ่นด้วย
จิบเบอเรลลิค แอซิด เข้มข้น 1,000 ppm ช่วยให้ผลเจริญได้โดยไม่มีเมล็ด
ใช้ ผล ใบ และรากประกอบอาหาร ในประเทศไทยนิยมรับประทานยอดซาโยเต้ (quelites) ผัดนํ้ามันหอย
ผลและใบสามารถใช้ดอง รากซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง ใช้ต้มหรือผัด ผลจะมีรสชาติคล้ายอาร์ติโช๊ค หรือมันฝรั่ง
ผลและเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโินที่สำคัญหลายชนิด เช่น aspartic acid, glutamic acid, alanine, argine, cistien, phenyl
alanine, glycine, histidine, isoleucine, leucine, metionine, proline, serine, tyrosine,
threonine, and valine (Flores 1989) น้ำต้มใบและผลใช้ช่วยขับปัสวะและสะลายนิ้วในไต
สภาพแวดล้อม
พบปลกู ทวั่ ไปในพื้นที่สูง 500-1700 เมตรเหนอืระดบั นา้ํ ทะเล มดี นิ อดุ มสมบรูณ ์แสงสว่างพอเพยีง (ช่วงแสง 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อ
ชักนำ ให้เกิดการเจริญของดอก) และใกล้แหล่งนํ้า เนื่องจากต้องการความชื้นสูง 80-85 % ปริมาณนํ้าฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตร
อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 13-21 o ซ อุณหภูมิตํ่ากว่า 5 o ซ ยอดอ่อนจะเป็นอันตรายได้ ตํ่ากว่า 13 o ซ เป็นอันตรายต่อผลอ่อน
อุณหภูมิสูงกว่า 28 o ซ อัตราการเจริญทางต้น ใบ สูง ดอกและผลอ่อนร่วง
สภาพดิน
เนื่องจากมีรากขนาดใหญ่ และเป็นพืชข้ามปีดินที่เหมาะสาํหรับการเจริญของซาโยเต้คือ ดินที่รว่นซุยมีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง หน้าดิน
ลึก pH 6.0-6.8
การปลูกและดูแลรักษา
การปลูกนิยมปลูกในฤดูฝน ใช้เวลาเตรียมกล้า 2-4 อาทิตย์ก่อนปลูก อาจจะขยายพันธุ์โดยการชำหน่อ หรือชำทั้งผล เนื่องจากเมล็ดไม่
สามารถงอกได้ หลังจากแกะออกจากผล
การชำผลในแนวนอน ลึก 5-8 เซนติเมตร ให้ส่วนปลายของผลฝังลึกกว่าส่วนหัว รากและหน่อใหม่จะเจริญจากส่วนปลายของผล ให้ความ
ชื้นพอเพียง การให้นํ้ามากเกินไปจะทำให้ผลเน่า ต้นอ่อนจะเจริญภายในเวลา 2 อาทิตย์ โดยรากเจริญก่อน หลังจากนั้นส่วนยอดจะเจริญ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำ หรับการเจริญของรากและหน่อ คือมีแสงพอเพียง อุณหภูมิ 24-27 o ซ หลังจากต้นอ่อนเจริญ ย้ายปลูก
ในพื้นที่ ๆเตรียมไว้ คัดต้นอ่อนที่ปราศจากโรค เนื่องจากในปัจจุบัน มีการระบาดของโรคทเี่กดิ จากเชอื้ ไวรสั มาก ทา ํใหพื้ชไม่สามารถเจริญ
เติบโต ใบหดหรือใบด่า่ง ไม่สามารถขายยอดอ่อนได้
วิธีการปลูก วิธีการปลูกมีสองวิธีคือ
1. การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวยอดอ่อน ปลูกโดยไม่ใช้ค้าง ขุดหลุมปลูกกว้าง 20-30 ซม. ลึก 20 ซม. ระยะระหว่างต้น 70 เซนติเมตร ระยะ
ระหว่างแถว 150 เซนติเมตร
2. การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผล หรือเตรียมผลเพื่อการขยายพันธุ์ุ ทำค้า้งให้แ้ข็งแรง เพื่อให้ต้นเจริญและรับนํ้าหนักของต้น และป้องกันผล
และยอดติดกับดิน ระยะห่างระหว่างต้น 60-200 เซนติเมตร ระหว่างแถว 300-400 เซนติเมตร
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 หรือ 12-24-12 คลุกลงไปในดิน ในระยะแรกอาจจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนช่วยสำหรับการเจริญ
เติบโต และหยุดให้ปุ๋ยเมื่อดอกแรกบาน การให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำ ให้การเจริญทางลำต้นใบ สูง อัตราการเจริญของดอกและ
การติดผลต่ำ
การเก็บเกี่ยว
โดยทั่วไปดอกจะบานหลังปลูก 3-5 เดือน และเก็บเกี่ยว 30-35 วันหลังดอกบาน ในเขตร้อนดอกจะบานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และ
ให้ผลผลิตสูงในระยะเวลา 3-4 ปีหลังปลูก
การปลูกในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถเก็บเกี่ยวได้ 300-500 ผลต่อต้นต่อปี เก็บเกี่ยวผล 2-4 ครั้งต่ออาทิตย์ จากการ
ทดลองปลูกเป็นเวลา 3 ปี ที่เมือง Georgia เป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซเวียตในอดีต สามารถเก็บเกี่ยวผลได้
48 ตัน ราก 3.5 ตัน และ ยอดอ่อน 14.5 ตัน ต่อไร่
การเก็บรักษา ในอณุหภูมิ 4.5 o ซ ความชื้นสัมพัทธ์ & # 63246 ; 90 % เก็บ รักษาได้ 60-90 วัน
การเก็บรักษาในอุณหภูมิ 10-15 o ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 90 % เก็บ รักษาได้ 2-4 อาทิตย์
ส่วนการเก็บรักษาใน 13-14 o ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ผลจะงอกในเวลา 15 วัน
ผลที่เตรียมไว้สำหรับการขยายพันธุ์จะเก็บรักษาในอุณหภูมิที่สูงกว่า 10 o ซ
การเก็บเกี่ยวยอด เก็บเกี่ยวทุกสองวัน หลังเก็บเกี่ยวควรเก็บไว้ในที่ร่ม ทำความสะอาด บรรจุในถุงพลาสติกใส่ในกล่องโฟม และ ใส่
นํ้าแข็งด้านบน เพื่อลดการหายใจและการคายนํ้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ยอดเหี่ยว
http://www.agric-prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/chayote.pdf |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11679
|
ตอบ: 25/03/2011 9:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่อง : ซาโยเต้ หรือฟักแม้ว พืชยอดนิยม
ปัญหา :
ผมเดินทางไปทางภาคเหนือ ระหว่างทางได้แวะจอดพักรถและซื้อฟักแม้วนำกลับมาทำอาหารที่บ้าน รู้สึกว่ารสชาติดี หวาน และกรอบ
จึงมีความสนใจนำมาปลูกที่บ้าน จะปลูกได้หรือไม่ มีวิธีปลูกและดูแลรักษาอย่างไร
วิธีแก้ไข :
ซาโยเต้ หรือ ฟักแม้ว บางท้องถิ่นเรียกว่า มะระหวาน ฟักแม้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก มีการนำเข้ามาปลูกใน
ประเทศไทยที่จังหวัดแพร่ โดยคณะมิชชันนารี ฟักแม้วเป็นไม้ประเภทเถาเลื้อย อยู่ในวงศ์เดียวกับแตงกวา แตงโม และฟักทอง มี
รากสะสมอาหารขนาดใหญ่ เถาเป็นเหลี่ยมยาว 4-7 เมตร มีเถาแขนงอีก 3-5 เถา มือเกาะแตกออกจากข้อ ใบมี 3-5 เหลี่ยม ยาว
8-15 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว ดอกเป็นชนิดไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกันคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน
การผสมเกสรอาศัยแมลงและลม ผลของฟักแม้วเป็นชนิดผลเดี่ยว เนื้อของผลพัฒนาจากฐานรองดอกที่ขยายใหญ่ขึ้นและห่อ
หุ้มเมล็ดไว้ หนึ่งผลมีเพียงเมล็ดเดียวเหมือนกับผลมะม่วงและมะปราง ลักษณะผลกลมยาว มีร่องตื้นๆ ตามความยาวของผล ยาว
7-20 เซนติเมตร และกว้าง 5-15 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 200-400 กรัม ต่อผล ฟักแม้วเจริญเติบโตได้ดีในที่
มีอากาศเย็น บนที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500-1,700 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
และแสงแดดจ้า ผลและยอดอ่อนนำมาประกอบอาหารรสชาติดีและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม วิตามิน ซี และฟอส
ฟอรัส
การปลูกและดูแลรักษา นำผลที่แก่เต็มที่เพาะลงในถุงเพาะชำ เพื่อป้องกันเนื้อผลเน่าเป็นแหล่งสะสมโรคจึงตัดให้เหลือครึ่งผล นำ
ส่วนบนออกเผาหรือฝังและกลบด้วยดินผสมที่ประกอบด้วยดิน 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน และขี้เถ้าแกลบอีก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้า
กันหรือแยกเมล็ดเพาะลงในถุงเพาะชำก็ได้ ใช้เวลา 2 สัปดาห์ รากจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครบ 45 วัน ต้นกล้าสูงประมาณ 20-35
เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าสมบูรณ์ให้นำปลูกลงดิน ใช้ระยะ 2x2 เมตร เตรียมหลุมกว้างและลึก 30-50 เซนติเมตรเท่ากัน คลุกเคล้า
ดินกับปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 2 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าแห้ง เกลี่ยดินกลับลงหลุม พร้อมฉีกถุงต้นกล้าออก ระวังอย่าให้ราก
ฉีกขาด วางลงตำแหน่งกลางหลุม ให้ดินในถุงสูงกว่าระดับพื้นดินเล็กน้อย กลบดินพอแน่นให้เป็นรูปหลังเต่าพร้อมรดน้ำตาม ทำค้าง
สูงจากพื้นดิน 2 เมตร ด้วยไม้ไผ่รวก วางลำไม้ไผ่เป็นบันไดให้เถาฟักแม้วเลื้อยขึ้นไปบนค้าง หมั่นรดน้ำทุกวันเช้าหรือเย็น ยกเว้นวันที่
ฝนตกให้ยืดเวลาออกไป ครบอายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 3 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม โรยให้รอบ
ระวังอย่าให้สัมผัสที่ใบหรือโคนต้นแล้วรดน้ำตาม เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ปุ๋ยเคมีสัมผัสกับต้นพืช ก็เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีความเข้มข้นสูงกว่า
ความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงในพืช หากเกิดการสัมผัสกัน ปุ๋ยจะทำให้เกิดแผลและดูดน้ำเลี้ยงออกจากเซลล์พืชเพื่อลดความเข้มข้นของปุ๋ย
ต่อมาเชื้อโรคจะเข้าทำลายซ้ำที่บริเวณรอยแผล เมื่อเกิดการเข้าทำลายอย่างรุนแรงต้นพืชจะตายในที่สุด จากนั้นให้ตัดแต่งเถา 3 ครั้ง
ต่อปี โดยให้ไว้เถาที่สมบูรณ์ไว้ 3-5 เถา ต่อต้น ต้นฟักแม้วมีอายุครบ 6 เดือน จะเริ่มออกดอก และเก็บผลผลิตได้หลังดอกบานแล้ว
30 วัน ฟักแม้วให้ผลผลิตเฉลี่ย 100-160 ผล ต่อต้น ต่อปี หรือ 25-40 กิโลกรัม ต่อต้น การดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม จะ
สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานตลอด 3-4 ปี จากนั้นควรรื้อแปลงปลูกหมุนเวียนกับพืชอื่นๆ เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคและแมลง
ศัตรู ที่ผ่านมายังไม่พบการระบาดของโรคและแมลงศัตรูอย่างรุนแรงแต่อย่างใด
http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=593 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|