ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11698
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11698
|
ตอบ: 02/04/2011 11:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เลือกเมล็ดทำพันธุ์ :
ปล่อยให้ผลแก่จัดสุกคาต้น ที่ผลเริ่มมีแต้มสีเหลืองราว 25% ของพื้นที่ผล เก็บลงมาผ่า เลือกเมล็ดสีดำสนิท รูปทรงสมบูรณ์ไว้ ส่วนเมล็ดสีขาวซีด สีขาวอมเทา หรือเมล็ดอ่อน เมล็ดลักษณะไม่สมบูรณ์ทิ้ง......นำเมล็ดที่เลือกเก็บไว้ลงน้ำ ขยำมล็ดเบาๆ มือนิ่มๆ ล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้หมด อย่าให้เมล็ดในช้ำ ....... ล้างเยื่อหุ้มเมล็ดจนสอาดดีแล้ว ผึ่งลมให้แห้ง 24-48 ชม. พร้อมนำลงเพาะในกระบะเพาะกล้า ....... ก่อนเพาะเมล็ดให้แช่เมล็ดพันธุ์ใน "น้ำ 1 ล. + ไคโตซาน 1 ซีซี. + อะมิโนโปรตีน 1 ซีซี." นาน 3-6 ชม.แล้วนำลงเพาะ.....การเพาะเมล็ดแล้วเลี้ยงต้นกล้าให้สมบูรณ์แข็งแรง ก่อนนำลงปลูกในแปลงจริง จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์ แข็งแรง เมื่อต้นโตขึ้นจะให้ผลผลิตดี
ปลูกมะละกอให้ต้นเตี้ย 1 :
ย้ายกล้ามะละกอลงปลูกในแปลงจริงช่วงเริ่มเข้าสู่หน้าแล้ง (พ.ย.-ธ.ค.) หรือเข้าสู่หน้าแล้งเต็มตัวแล้ว (ก.พ.-มี.ค.) ปลูกแล้วให้น้ำพอเลี้ยงต้นได้ อย่าบำรุงให้ต้นสมบูรณ์นัก แต่ก็อย่าให้ถึงกับยืนต้นตาย การที่ต้นมะละกอระยะกล้าเจริญเติบโตช้า ก็คือ มีความสูงน้อย แต่เมื่อถึงถึงอายุออกดอกติดผล (3 เดือนหลังปลูก) ก็จะออกดอกติดผลเองทั้งๆที่ต้นไม่สูง
ปลูกมะละกอให้ต้นเตี้ย 2 :
นิสัยทางธรรมชาติมะละกอประการหนึ่ง คือ เมื่ออายุต้นได้ 3 เดือนหลังปลูก หรือต้นสูงประมาณ 1.5 ม. (อย่างไหนถึงก่อนก็ได้) เป็นออกดอกติดผล ไม่ว่าต้นจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ออกดอก เพียงแต่ต้นที่สมบูรณ์กว่าจะออกดอกแล้วให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ไม่สมบูรณ์หรือสมบูรณ์น้อยกว่าเท่านั้น......จากนิสัยทางธรรมชาติดังกล่าว เมื่อต้นกล้ามะละกอสูงได้ 1 ม. ให้ล้มต้นให้นอนหรือเอนลง ส่วนของลำต้นที่เอนลงจะให้สัมผัสแนบพื้นดินเลยก็ได้ หรือให้มีไม้ง่ามปักรองรับต้นให้สูงจากพื้นผิวดิน (ตามต้องการ) ก็ได้ จากนั้นส่วนยอดจะงอนชี้ขึ้นฟ้าเพื่อขึ้นหาแสงแดดเอง เมื่อส่วนยอดที่งอนขึ้นสูง 50 ซม. หรือกว่าเล็กน้อยก็จะออกดอกแล้วติดเป็นผลเองอีกนั่นแหละ เพราะทั้งอายุและความสูงรวมจากโคนถึงยอดได้ระยะแล้ว นี่เท่ากับได้ต้นมะละกอเตี้ยหรือสูงเพียง 50 ซม.ออกดอกติดผลได้นั่นเอง
ปลูกมะละกอให้ต้นเตี้ย 3 :
ต้นมะละกอเมื่อสูงเต็มที่ประมาณ 5-7 ม. ซึ่งความสูงระดับนี้มักสร้างปัญหาในการเก็บเกี่ยว แก้ไขได้ด้วยวิธี "ตอน" โดยเลือกจุดตอน ณ ความสูงจากยอดลงมา 0.5-1 ม. หลังจากออกรากดี จำนวนมาก สมบูรณ์แข็งแรงดีแล้วก็ให้ตัดลงมาปลูกตามปกติ ระหว่างรอรากออกมานั้น ที่ยอดก็ยังคงออกดอกติดผลได้ตามปกติ และเมื่อตัดลงมาปลูกใหม่แล้วก็จะออกดอกติดผลต่อทันที เพียงเท่านี้ก็ได้ต้นมะละกอสูง 0.5-1 ม. ออกดอกติดผลได้แล้ว.......วิธีตอนมะละกอ ปฏิบัติเหมือนตอนชวนชม. โป๊ยเซียน.
สาเหตุต้นมะละกออายุสั้น :
ธรรมชาติของมะละกอมีอายุ 10-30 ปี และสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดอายุ โดยไม่มีรุ่น ....... มะละกอทุกสายพันธุ์ไม่ชอบ และไม่ถูกกันอย่างมากกับ "ยาฆ่าหญ้า - สารเคมีกำจัดโรคและแมลง - ดินเป็นกรดจัด - ดินแฉะ - ดินเหนียวจัด - ดินขาดอินทรีย์วัตถุ" เหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ต้นมะละกออายุสั้นลง ซึ่งนอกจากจะหมายรวมถึงอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สั้นลงแล้ว ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตยังด้อยลงอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องพยายามหลีกเลี่ยงการปฏิบัติต่อต้นมะละกอด้วยวิธีการเหล่านี้ แล้วหันหรือปรับเปลี่ยนมาใช้วิธี อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสมของมะละกอโดยเฉพาะ จะเป็นการดีที่สุด
โรคใบด่างเหลืองหงิก ในมะละกอ :
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงปากกัดปากดูด(ทุกชนิด)เป็นพาหะ ปัจจุบันในโลกนี้ยังไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดๆ กำจัดเชื้อโรคตัวนี้โดยตรงได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้มาตรการ "กันก่อนแก้" โดยป้องกันและกำจัดแมลงพาหะไม่ให้เข้าสู่ต้นมะละกอเท่านั้น......วิธีแก้ปัญหามะละกอใบด่างเหลืองหงิก เทคนิคหนึ่ง คือ ระหว่างที่ต้นยังสมบูรณ์ดีอยู่แล้วเกิดโรคดังกล่าว ให้เด็ดใบทิ้งทั้งหมด เหลือแต่ยอดโด่เด่ เหมือนตาลยอดด้วน จากนั้นให้บำรุงเรียกใบใหม่ เมื่อต้นแตกใบใหม่ก็จะออกดอกติดผลได้เหมือนเดิม.....กรณีที่ต้นได้รับเชื้อโรคกระทั่งเกิดการแพร่ขยายจนเต็มต้นแล้ว สภาพต้นจะมีลักษณะลำต้นส่วนยอดเรียวเล็ก ให้ผลผลิตลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ มาถึงขั้นนี้แม้จะเด็ดใบทิ้งแล้วเรียกใบชุดใหม่ สภาพต้นก็จะไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม หรือจะเรียกว่าสายเกินแก้ก็ไม่ผิด
มะละกอ 1 ตอ = 3 ต้น
เมื่อต้นมะละกอโตเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ให้ตัดตอเหนือพื้น 30-50 ซม. ด้วยมีดคมๆ ตัดแล้วรอให้ยางแห้ง เมื่อยางแห้งแล้วทาแผลด้วยปูนกินหมากหรือสีทาบ้านเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าแผล รอให้ปูนหรือสีแห้งอีกครั้ง แล้วคุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อป้องกันน้ำเข้าแผล จากนั้นบำรุงด้วยสูตร "บำรุงต้น" เพื่อเรียกยอดและใบอ่อน ไม่นานจะมียอดแตกใหม่ตามข้อของตอจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และความสมบูรณ์ของต้น ให้เลือกยอดแตกใหม่ 2-3 ยอดที่อยู่ตรงข้ามกัน นอกนั้นเด็ดทิ้งทั้งหมด เมื่อยอดใหม่ที่เหลือไว้โตขึ้นก็จะมีขนาดใหญ่เหมือนลำต้น แล้วก็ออกดอกติดผลตามปกติเมื่อได้อายุ
มะละกอเปลี่ยนเพศ
เพราะมะละกอขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเกิดอาการกลายพันธุ์ เป็นต้นตัวผู้ (มีดอกแต่ไม่ติดผล), ต้นตัวเมีย (มีดอก ติดผล แต่รูปทรงผลผิดจากพันธุ์เดิม), และต้นกระเทย (ออกดอก ติดผล รูปทรงผลตรงตามสายพันธุ์) การที่จะรู้ได้ว่าต้นไหนเป็นอะไรต้องรอกระทั่งมะละกอต้นนั้นออกดอกติดผลให้เห็น วิธีป้องกันปัญหานี้ของคนปลูกมะละกอ คือ ปลูกหลุมละ 3 ต้น เพื่อเผื่อเลือกไว้ต้นที่ต้องการ หรือเผื่อตัดทิ้งต้นที่ไม่ต้องการ......เมื่อมะละกอทุกต้นแสดงตนแน่แล้วว่าต้นไหนเป็นกระเทย-ตัวเมีย-ตัวผู้ ให้ตัดต้นกระเทยและต้นตัวเมียทุกต้นให้เหลือแต่ตอ พร้อมกันนั้นก็ให้ตัดต้นกระเทย 1 หรือ 2 ต้น แล้วบำรุงเรียกยอดใหม่ทุกตอ.....เมื่อยอดแตกใหม่จากทุกตอโตเท่าแท่งดินสอ ให้ตัดยอดต้นกระเทยมาเสียบให้กับยอดต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ด้วยวิธีการเสียบยอดเหมือนชวนชมหรือโป๊ยเซียน......เมื่อยอดที่เสียบใหม่บนตอต้นตัวผู้และตอต้นตัวเมียโตขึ้นก็จะให้ผลผลิตเป็นกระเทยตามสายพันธุ์เดิมทุกประการ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|